1 | อนึ่งภิกษุใด เมื่อพระวินัยธร (ผู้ช่ำชองวินัย) สวดปาติโมกข์อยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า ฉันเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้นี้ก็มาแล้วในสูตร ด้วยเหตุว่าเมื่อปาติโมกข์กำลังสวดอยู่ เธอหาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่นี้เป็นปาจิตตีย์(การทำความดีให้ตกไป) ในความเป็นผู้แสร้งทำหลงนั้น (สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓) 4/758/74/758/7 4/754/4 |
2 | บทว่า โอกฺกมฺม จ สตฺถุ สาสเน ความว่า เมื่อจงใจล่วงอาบัติ แม้เพียงทุกกฏและทุพภาษิต ชื่อว่าประพฤติหลีกเลี่ยง (คือ ทำตัวเป็นศัตรูต่อคำสอน ของศาสดา) (มหาสุญญตสูตร) 23/24/623/24/6 23/23/2 |
3 | ภิกษุที่เคยเป็นพราหมณ์ 500 คน มีมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์ จึงไม่ไปอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ไม่ไปฟังธรรม พระองค์จึงแสดงสูตรนี้ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/46/217/46/2 17/40/6 |
4 | [๙๓] ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง ของจิต 16 ประการ (วัตถูปมสูตร) 17/433/1617/433/16 17/351/18 |
5 | รู้จักประมาณในโภชนะ มี 2 อย่าง คือ ประมาณในการรับ และประมาณในการบริโภค (อ.รถสูตร) 28/398/428/398/4 28/387/19 |
6 | บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชนํ ความว่า เทศนาของพระธรรมกถึก (พระนักเทศน์)ใดอาศัยการพรรณนา เรื่องข้าวต้ม-ข้าวสวย หรือพรรณนาเรื่องของผู้หญิง-ผู้ชายเป็นต้น พระธรรมกถึกนั้นชื่อว่าไม่แสดงธรรมเป็นสาตถะ(มีประโยชน์) . (อ.จุลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/496/518/496/5 18/483/3 |
7 | [๑๙๘] สงฆ์หวังอยู่ พึงกระทำปฏิสารณียกรรม (กรรมที่สงฆ์สั่งให้ภิกษุไม่ขอขมาคฤหัสถ์) แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ (ปฏิสารณียสูตร) 37/689/237/689/2 37/565/3 |
8 | [๒๐๙] โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับที่ยาว 5 ประการ (คีตสูตร) 36/458/336/458/3 36/451/7 |
9 | มหาศีล ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา . (สามัญญผลสูตร) 11/315/1111/315/11 11/268/8 |
10 | พระฉัพพัคคีย์เรียนคัมภีร์โลกายตะ (คำสอนวิชาทางโลกที่ขัดกับคำสอนเพื่อพระนิพพาน)ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม . (ขุททกวัตถุขันธกะ) 9/65/219/65/21 9/69/10 |
11 | ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อยมีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่ามีกำลังและอยู่สำราญ (กีฏาคิริสูตร) 20/419/1720/419/17 20/397/13 |
12 | ถ้าพระพุทธองค์ จะบัญญัติปาราชิก ข้อที่5 ขึ้นได้ พระองค์จะบัญญัติ การบริโภคอาหารโดยไม่พิจารณา ให้เป็นปาราชิกข้อที่ 5 (อ.ปุตตมังสสูตร) 26/310/926/310/9 26/285/4 |
13 | ครั้งนั้นภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ เป็นเจ้าถิ่นในชนบทกิฏาคีรีเป็นภิกษุอลัชชีชั่วช้า ภิกษุพวกนั้นประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือปลูกต้นไม้ดอก-ไม้เองบ้าง
. ประพฤติอนาจารมีอย่างต่าง ๆ บ้าง.. (สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓) 3/608/93/608/9 3/575/16 |
14 | [๒๘๘] ภิกษุผู้หลอกลวงมีใจกระด้าง ประจบประแจง ชื่อว่าไม่นับถือพระพุทธเจ้าภิกษุนั้นปราศไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ (กุหนาสูตร) 45/682/345/682/3 45/656/6 |
15 | การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ? (ตุวฏกสุตตนิเทสที่ ๑๔) 66/345/1666/345/16 66/320/7 |
16 | บทว่า อสนฺตสนฺนิวาสํ ได้แก่ การอยู่ร่วมกันของเหล่าอสัตบุรุษ.(คนเลว). (อ.ปุคคลวรรค สูตรที่ ๑๑) 33/429/833/429/8 33/389/3 |
17 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่พึงประกาศความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ (อัปปสาทสูตร) 37/687/237/687/2 37/563/12 |