1 | [๙๑] ภิกษุเขลาไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้สามารถ มีพรรษาได้ 10 หรือเกิน 10ให้อุปสมบทได้ . (มหาขันธกะ) 6/178/116/178/11 6/105/12 |
2 | ถ้อยคำของอาจารย์ ผู้ไม่รู้ สูตร และสุตตานุโลม หาเป็นประมาณได้ไม่ . (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/649/144/649/14 4/651/5 |
3 | ถ้าอุปัชฌาย์ โง่ ไม่เฉียบแหลม แม้สัทธิวิหาริกลา 3 ครั้ง ก็ยังไม่ให้ไป จะขืนไปก็ควร (อรรถกถามหาขันธกะ) 6/153/96/153/9 6/259/7 |
4 | [๒๘๙] บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนมักมาก เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ทำความเพียร ชนรุ่นหลังถือเอาพระเถระนั้นเป็นแบบอย่าง บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทไม่มีอัครบุคคล (สูตรที่ ๓) 33/402/1833/402/18 33/361/12 |
5 | บทว่า คุณหีนา ได้แก่ ผู้ทุศีลปราศจากคุณ มีศีลเป็นต้น และไม่มีความละอาย.บทว่า อสฺสุตาวิโน ได้แก่ ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน คือเป็นผู้ทรงคุณ โดยอาศัยลาภสักการะ...เพื่อประโยชน์ที่ตนต้องการอย่างนี้ว่า สิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็นอธรรม และสิ่งที่เป็นอธรรมว่าเป็นธรรม, สิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่ใช่วินัย และสิ่งที่ไม่ใช่วินัย ว่าเป็นวินัย ดังนี้. (อ.ปุสสเถรคาถา) 53/215/753/215/7 53/205/1 |
6 | [๔๕๐] ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ คือ ชักชวนในกายกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลาย อันไม่สมควร ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อทุกข์แก่ชนมากทั้งเทวดาและทั้งมนุษย์. (ญาตกสูตร) 34/21/434/21/4 34/21/4 |
7 | [๘๓] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่เคารพ ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ คือ พูดหลอกลวง, พูดหวังลาภ, พูดเลียบเคียงหาลาภ, พูดคาด-คั้นให้บริจาค , แสวงหาลาภด้วยลาภ. (กุหกสูตร) 36/203/1236/203/12 36/201/11 |
8 | เมื่อภิกษุ 2 รูปวิวาทกัน ย่อมเกิดแยกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งมนุษย์ และเทวดา จนกระทั่งถึงพรหมโลก (อ.สังคีติสูตร) 16/373/916/373/9 16/353/24 |
9 | [๒๘๔] สมัยใด ภิกษุเลวทรามมีกำลัง ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง เป็นผู้นิ่งเงียบในท่ามกลางสงฆ์ หรือ คบชนบทปลายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (สูตรที่ ๘) 33/395/333/395/3 33/353/9 |
10 | ในอนาคตภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต... ไม่อบรมปัญญา การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จัก บังเกิดในกาลต่อไป (ตติยอนาคตสูตร) 36/194/1036/194/10 36/192/6 |
11 | บุคคลเหล่าใด เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีสุตน้อย เป็นผู้ตระหนี่เป็นผู้มีปัญญาทราม การเสพ การคบหา ความจงรักบุคคลเหล่านั้น มีบุคคลเหล่านั้นเป็นเพื่อน นี้ เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (อ.สูตรที่ ๑๐) 32/141/1232/141/12 32/120/5 |
12 | บุคคลที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ (ผู้มีกิเลสมากๆ) เปรียบเหมือนถาดสัมฤทธิ์ที่มัวหมองการที่บุคคลนั้นเมื่อจะได้บวช ก็กลับได้บวชในสำนักของบุคคลผู้ขวนขวายในอเนสนา (การแสวงหาที่ไม่สมควร) ทั้งหลาย มีเวชกรรม(เป็นหมอ) เป็นต้น...ผู้สำเหนียกอยู่ตามอาจารย์และอุปัชฌาย์เช่นนั้น เป็นผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษ(โทษที่เกิดจากการละเมิดพระวินัย) เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหมองยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก. (อ.อนังคณสูตร) 17/368/717/368/7 17/298/15 |
13 | บุคคลบางคน บวชในสถานอันไม่สมควร ก็เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรม . (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/417/128/417/1 28/404/16 |