1 | [๑๑๔๓] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยบุคคลทั้งหลาย พิจารณาเห็นขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยความเป็นไปของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมยินดีเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ (เวทนาติกะ ปัญหาวาระ) 86/21/2 86/20/2 |
2 | [๑๑๔๔] ธรรมที่เป็นปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกข-เวทนา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย คือ เมื่อบุคคลให้ทาน สมาทานศีลกระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตทีสัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีวิปปฏิสาร (เวทนาติกะ ปัญหาวาระ) 86/21/16 86/20/11 |
3 | [๑๑๖๙] ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ยังฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว , ก่อมานะ ถือทิฏฐิ. ฯลฯ. (เวทนาติกะ ปัญหาวาระ) 86/34/18 86/31/16 |
4 | [๑๔๘๓] พระเสกขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะย่อมเกิดขึ้น โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น (อุปาทินนติกะ ปัญหาวาระ) 86/215/4 86/180/7 |
5 | อาหารเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจการเลี้ยงรักษา และค้ำจุนแก่ กัมมชรูป เหมือนรูป-ชีวิตินทรีย์ ไม่ได้เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจการยังรูปให้เกิดขึ้น. (อ.อุปาทินนติกะ ปัญหาวาระ) 86/285/1 86/229/12 |