1 | [๑] ปัจจัย 24 คือ เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนัน-ตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญามัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเร-ชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหาร-ปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัยอัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย (มาติกานิกเขปวาระ) 85/1/685/1/6 85/1/6 |
2 | ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน 24 นี้ ชื่อว่า ปักฐานมหาปกรณ์ ,ชื่อว่า ปัฎฐานเพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยมีประการต่างๆ, จำแนก, ตั้งอยู่ทั่วไป (วรรณนาอุทเทสวาระ) 85/6/385/6/3 85/5/16 |
3 | คำว่า ปัจจัย เหตุ การณะ นิทาน สัมภวะ ปภวะ ว่าโดยใจความแล้วเป็นอันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น. (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/9/1985/9/19 85/8/14 |
4 | อโลภะ พึงเป็นกุศล หรืออัพยากตะ ก็ได้ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/10/1685/10/16 85/9/6 |
5 | จิต และเจตสิก ต้องปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น จึงเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของจิต และเจตสิกแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า อารัมมณปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/11/885/11/8 85/9/18 |
6 | อธิปติปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยอรรถว่า เป็นใหญ่ที่สุด. (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/11/1985/11/19 85/10/3 |
7 | ธรรมที่สามารถให้จิตตุปบาทอันเหมาะสมแก่ตนเกิดขึ้นในลำดับของตนๆ ชื่อว่าอนันตรปัจจัย ธรรมใดเป็นอนันตรปัจจัย ธรรมนั้นแหละเป็น สมนันตรปัจจัยด้วยปัจจัย ทั้ง 2 อย่าง ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/13/285/13/2 85/10/25 |
8 | สหชาติปัจจัย คือ ธรรมที่เกิดขึ้นช่วยเป็นอุปการะ ด้วยอำนาจของการยังธรรมอื่นให้เกิดพร้อมกันเหมือนดวงประทีปเป็นอุปการะแก่แสงสว่าง (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/14/1085/14/10 85/12/3 |
9 | อัญญมัญญปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความอุดหนุนกันและกัน ให้เกิดขึ้น และค้ำจุนกันและกันไว้ เหมือนไม้ค้ำสามอันช่วยค้ำกันและกันเอาไว้.(อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/15/485/15/4 85/12/15 |
10 | นิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย เหมือนแผ่นดิน เป็นที่รองรับ และอิงอาศัยของต้นไม้ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/15/1385/15/13 85/12/21 |
11 | อุปนิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุที่มีกำลัง มี 3 อย่าง.(อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/16/1285/16/12 85/13/14 |
12 | ปุเรชาตปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยการเกิดขึ้นก่อนกว่า แล้วยังเป็นไปอยู่.(อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/19/285/19/2 85/15/12 |
13 | อรูปธรรมเป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ค้ำจุนแก่รูปธรรมที่เกิดก่อน ชื่อว่าปัจฉาชาตปัจจัย(อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/19/1985/19/19 85/16/5 |
14 | อาเสวนปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะเพื่อให้ธรรมทั้งหลายที่เกิดติดต่อกันคล่อง-แคล่ว และมีกำลังโดยอรรถว่า เสพซ้ำ, มี 3 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งกุศลชวนะอกุศลชวนะ และกิริยา ชวนะ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/20/785/20/7 85/16/9 |
15 | กัมมปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกิริยา คือ ความพยายามแห่งจิตมี 2 อย่าง คือ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนาที่เกิดในขณะต่างกัน และเจตนาทั้งหมด ที่เกิดพร้อมกัน (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/20/1685/20/16 85/16/19 |
16 | วิปากปัจจัย คือ วิบากที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีอุตสาหะ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/21/685/21/6 85/17/4 |
17 | อาหารปัจจัย คือ อาหาร 4 เป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ช่วยค้ำจุนแก่รูปและนาม (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/21/1885/21/18 85/17/14 |
18 | อินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ 20 เว้นอิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ ช่วยอุปการะโดยอรรถว่า เป็นใหญ่ยิ่ง (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/22/785/22/7 85/17/21 |
19 | ฌานปัจจัย ได้แก่ องค์ฌาน 7 อันต่างโดยเป็นกุศล เป็นต้น เว้นสุขเวทนา และทุกขเวทนาอันเป็นไปทางกาย ในทวิปัญจวิญญาณจิต ช่วยอุปการะโดยอรรถว่าเข้าไปเพ่งอารมณ์ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/22/1985/22/19 85/18/12 |
20 | มัคคปัจจัย ได้แก่ องค์มรรค 12 อันต่างโดยกุศล เป็นต้น ช่วยอุปการะ โดยอรรถว่าเป็นเหตุนำไปในทางใดทางหนึ่ง (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/23/985/23/9 85/18/20 |
21 | สัมปยุตตปัจจัย : อรูปธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นสภาพประกอบร่วมกันคือ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน และดับพร้อมกัน 85/23/1985/23/19 85/19/6 |
22 | วิปปยุตตปัจจัย : รูปธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยไม่เข้าถึงภาวะที่มีวัตถุอันเดียวกันเป็นต้น เป็นวิปปยุตตปัจจัย แก่อรูปธรรม แม้อรูปธรรมก็เป็นวิปปยุตตปัจจัย แก่รูปธรรม. วิปปยุตตปัจจัยมี 3 อย่าง คือ สหชาตวิปปยุต ปัจฉาชาตวิปปยุต ปุเร-ชาตวิปปยุต (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/24/685/24/6 85/19/10 |
23 | อัตถิปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ช่วยค้ำจุนแก่ธรรมที่เป็นเช่นเดียวกันโดยภาวะที่ยังมีอยู่ อันมีการเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นลักษณะ (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/25/485/25/4 85/20/2 |
24 | นัตถิปัจจัย : อรูปธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ช่วยอุปการะด้วยการให้โอกาสแก่อรูปธรรมที่จะเกิดในลำดับแห่งตนเป็นไป. (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/26/1185/26/11 85/21/1 |
25 | วิคตปัจจัย คือ ธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนั่นเอง เพราะช่วยอุดหนุนโดยภาวะที่ปราศ-จากไป (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/26/1885/26/18 85/21/6 |
26 | อวิคตปัจจัย คือ ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัย นั่นเอง เพราะช่วยอุดหนุนโดยภาวะที่ยังไม่ปราศจากไป (อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/27/485/27/4 85/21/10 |
27 | ในขณะปฏิสนธิ กัมมชรูปมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับจิต คือ ย่อมเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ด้วยอำนาจของจิต หลังจากนั้นแม้เว้นจากจิต กัมมชรูปก็ย่อมเป็นไปได้เพราะกรรม(อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/33/2085/33/20 85/27/22 |
28 | โอกาสมี 3 คือ โอกาสแห่ง นาม โอกาสแห่งรูป โอกาสแห่งนาม และรูป.(อ.ปัจจัยวิภังควาร) 85/35/585/35/5 85/28/25 |
29 | รูปเป็นไปในภูมิเดียว คือ เป็นกามาวจรเท่านั้น แม้นิพพาน ก็เป็นไปในภูมิเดียวคือ เป็นโลกุตตระเท่านั้น (อ.อารัมมณปัจจัย นิทเทส) 85/41/2085/41/20 85/34/22 |
30 | อธิบดี นี้มี 2 อย่าง คือ สหชาติธิปติ และอารัมมณาธิปติ (อ.อารัมมณปัจจัย นิทเทส) 85/45/1985/45/19 85/39/6 |
31 | กามาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรม 4 หมวด คือ กามาวจรวิบาก รูปาวจร-วิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก. (อ.อารัมมณปัจจัย นิทเทส) 85/52/1385/52/13 85/45/1 |
32 | [๗] จิต และเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย (ปัจจัยวิภังควระ) 85/57/985/57/9 85/49/8 |
33 | จิตใดเกิดในอรูปภูมิ จิตนั้นเป็นสหชาติปัจจัย แก่อรูปธรรมเท่านั้น (อ.สหชาตปัจจัยนิทเทส) 85/59/1385/59/13 85/51/8 |
34 | [๙] มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโน-วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย. (ปัจจัยวิภังควระ) 85/63/1185/63/11 85/54/21 |
35 | คำว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัย แก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย บาง-อย่าง เช่น บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ย่อมยินดี เพลิดเพลินอย่างแรงกล้า ความกำหนัดย่อมเกิด ทิฏฐิย่อมเกิด , คำว่า อกุศลธรรมเป็นปัจจัย แก่กุศลธรรม ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะย่อมให้ ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ.(อ.อุปนิสสยปัจจัยนิทเทส) 85/67/585/67/5 85/58/8 |
36 | [๑๑] รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเร-ชาตปัจจัย (ปัจจัยวิภังควระ) 85/72/1385/72/13 85/62/24 |
37 | วิบาก คือ ภาวะที่สุกงอม ด้วยอำนาจแห่งกรรม เป็นสภาพที่ถูกกรรมทำให้แปร-ปรวนไปย่อมเป็นไปอย่างไร้ความพยายาม (ในการให้ผล) และขาดกำลัง วิบากนั้นจึงไม่สามารถให้วิบากอื่น รับเอาสภาพของตน แล้วเกิดขึ้นด้วยคุณ คือ อาเสวนะได้ (อ.อาเสวนปัจจัยนิทเทส) 85/78/185/78/1 85/68/9 |
38 | จริงอยู่ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ เป็นกำเนิดแห่งเพศหญิงและเพศชาย แม้ก็จริงแต่ในกาลที่เป็นกลละ เป็นต้น แม้อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์จะมีอยู่ ก็ยังไม่สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัย แก่เพศหญิงและเพศชาย เพราะเพศชายและเพศหญิงยังไม่มี(อ.อินทริยปัจจัยนิทเทส) 85/89/585/89/5 85/77/23 |
39 | องค์มรรค 12 คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะสติ สมาธิ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในจิตที่เหลือ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท เป็นมัคคปัจจัย (อ.มัคคปัจจัยนิทเทส) 85/93/1385/93/13 85/82/3 |
40 | [๔๘๘] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย คือบุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศลนั้นเพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ (ปัญหาวาระ อารัมมณปัจจัย) 85/409/185/409/1 85/333/21 |
41 | [๔๙๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย คือ พระเสขบุคคล หรือปุถุชนก็ตามเห็นแจ้งอกุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา , ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโต-ปริยญาณ. (ปัญหาวาระ อารัมมณปัจจัย) 85/411/385/411/3 85/335/13 |
42 | สำหรับพระอรหันต์กุศลที่ทำไว้ก่อนก็ชื่อว่า เป็นกุศล ก็ท่านย่อมพิจารณาด้วยจิตใด จิตนั้นชื่อว่า กิริยาจิต (อ.ปัญหาวาระ อารัมมณปัจจัย) 85/415/1285/415/12 85/339/2 |
43 | [๕๔๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัย แก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่างคือ ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ (ปัญหาวาระ อุปนิสสยปัจจัย) 85/454/985/454/9 85/368/26 |
44 | บุคคลผู้มีศีล เป็นผู้ฉลาดในศีลานุภาพ และในอานิสงส์แห่งศีล เพราะอาศัยศีลจึงให้ทานแก่คนผู้มีศีล สมาทานศีลชั้นสูงๆ ขึ้นไป รักษาอุโบสถ ให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ขาด เพราะอาศัยศีลสมบัติย่อมยังคุณธรรม มีฌานเป็นต้น ให้เกิดขึ้น.(อ.ปัญหาวาระ อุปนิสสยปัจจัย) 85/469/1285/469/12 85/380/9 |
45 | กรรม และกิเลสทั้งหลาย ที่มีกำลังมากก็ดี ที่หย่อนกำลังก็ดี จัดว่าเป็นเหตุที่มีกำลังทั้งนั้น (อ.ปัญหาวาระ อุปนิสสยปัจจัย) 85/477/585/477/5 85/387/5 |
46 | [๕๕๖] หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-กิริยา ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย (ปัญหาวาระ ปุเรชาตปัจจัย) 85/482/1285/482/12 85/391/21 |
47 | [๕๙๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.(ปัญหาวาระ ฌานปัจจัย) 85/496/585/496/5 85/402/22 |