1 | เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติก็ดี ยังมิได้อุบัติก็ดี สังขารทั้งหลายก็ย่อมเกิดเพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ความตั้งอยู่อันใด เพราะอรรถว่า เป็นเหตุแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย ธรรมนั้นจึงชื่อว่า ธัมมฐิติ อนึ่งความที่ธรรมเหล่านั้น เป็นนิยามเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ฉะนั้นธรรมนั้น จึงชื่อว่า ธัมมนิยาม เพราะฉะนั้น ธัมมฐิติก็ดี ธัมมนิยามก็ดี ท่านจึงเรียกว่า อวิชชา (อ.ปฏิจจสมุปปาทกถา) 81/13/18 81/12/21 |
2 | นิโรธสมาบัติ ไม่พึงกล่าว เป็นสังขตธรรม หรือเป็นอสังขตธรรม เพราะไม่มีลักษณะแห่งสังขตธรรม และอสังขตธรรม. (อ.นิโรธสมาปัตติกถา) 81/27/4 81/24/14 |
3 | อากาศมี 3 อย่าง คือ ช่องว่างอันเป็นที่กำหนด ช่องว่างที่เพิกขึ้นของกสิณ ช่องว่างของท้องฟ้า (อ.อากาสกถา) 81/31/3 81/28/11 |
4 | ชื่อว่า ทานมี 3 อย่าง คือ จาคเจตนา วิรติ ไทยธรรม. เมื่อว่าโดยอรรถ มีอยู่เพียง2 อย่าง คือ เจตสิกธรรม และไทยธรรม (อ.ทานกถา) 81/57/3 81/52/7 |
5 | [๑๑๔๕-๑๑๕๒] คำซักถาม ถึง ลัทธิที่ว่า บุญชื่อว่า สำเร็จแต่การบริโภคใช้-สอยมีอยู่แก่ชนทั้งหลาย (ปริโภคมยปุญญกถา) 81/60/2 81/55/3 |
6 | โลกิยกุศลวิบาก ชื่อว่า อาจยคามี เพราะอรรถว่า มีปกติ ไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิและวัฏฏะ เป็นไป โลกุตตรกุศลนี้ ย่อมเป็นธรรมมีวิบากทั้งนั้น มิใช่ไม่มีวิบากด้วยเหตุสักแต่คำว่า เป็นอปจยคามี คือ เป็นธรรมไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะ.(อ.อริยธัมมวิปกากถา) 81/93/13 81/84/4 |
7 | พวกอสูร ชื่อว่า กาลกัญชิกาในจำพวก อสุรกาย ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งเปรต บริษัทของท้าวเวปจิตติ ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งพวกเทพ (อ.ฉคติกถา) 81/101/14 81/92/13 |
8 | วัตถุกาม กิเลสกาม กามภพก็ดี ท่านเรียกว่า กามธาตุ. (อ.กามคุณกถา) 81/121/3 81/109/4 |
9 | จริงอยู่ อนุสัยใดอันบุคคลใดยังละไม่ได้ อนุสัยนั้นไม่นับว่าเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ก็แต่ว่าอนุสัยนั้น ชื่อว่า เป็นกิเลสที่พึงละด้วยมรรค เพราะความเป็นผู้ยังละไม่ได้ นั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นของมีอยู่ (อ.อนุสยา อนารัมมณาติกถา) 81/205/4 81/184/8 |
10 | กัลป์ มี 3 อย่าง คือ มหากัลป์ กัลปเอกเทส อายุกัลป์ คือ มหากัลป์ เท่านั้นท่านหมายเอาอสงไขยแห่งกัลป์ 4. กัลป์อันเป็นการประมาณอายุเทพชั้นพรหมณทั้ง-หลายนี้ ท่านเรียกว่า กัลปเอกเทส , พระบาลีว่า ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัลป์ นี้เรียกว่า อายุกัลป์ อธิบายว่า การกำหนดอายุด้วยอำนาจแห่งกรรม หรือด้วยการนับปี (อ.อิทธิพลกถา) 81/313/16 81/286/8 |
11 | [๑๔๙๒-๑๕๐๑] คำซักถามเกี่ยวกับ พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด 7 ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ? (สัตตักขัตตุปรมกถา-โกลังโกลเอกพีชีกถา) 81/344/2 81/314/3 |
12 | ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ท่านกล่าวหมายเอาอายุกัลป์ (อ.กัปปัฏฐกถา) 81/363/1 81/331/19 |
13 | [๑๕๑๘-๑๕๒๐] คำซักถามเกี่ยวกับ บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม (ธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ถูก) ได้ หรือ ? (อนันตราปยุตตกถา) 81/366/2 81/335/3 |
14 | นิยาม คือ ความแน่นอนมี 2 คือ อนันตริยกรรม ชื่อว่า มิจฉัตตนิยาม และอริย-มรรค ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม เว้นนิยาม 2 นี้แล้ว ธรรมอื่นชื่อว่านิยาม ย่อมไม่มี.(อ.นิยตัสสนิยามกถา) 81/372/12 81/341/9 |
15 | ชื่อว่า อาวัชชา เพราะอรรถว่า ยังภวังคจิตนั้นให้เคลื่อนไป ชื่อว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่า ย่อมดำรง คือ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์.(อ.กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา) 81/400/12 81/367/2 |
16 | อายตนะภายใน 6 ของโอปปาติกะกำเนิด ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับปฏิสนธิจิตส่วนสัตว์ที่เกิดในครรภ์ มีมนายตนะกับกายายตนะเท่านั้น เกิดขึ้นพร้อมกับปฏิ-สนธิจิต ส่วนอายตนะ 4 ที่เหลือย่อมเกิดขึ้นในทุกๆ หนึ่งสัปดาห์ .(อ.สฬายตนุปปัตติกถา) 81/404/9 81/370/6 |
17 | อัพยากตะมี 4 คือ วิปาก กิริยา รูปและพระนิพพาน (อ.อัพยากตกถา) 81/432/19 81/398/7 |
18 | [๑๖๒๕-๑๖๒๙] คำซักถามเกี่ยวกับ บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงกระทำกาละคือ ตาย หรือ (สัญญาเวทยิตกถาที่ ๓) 81/459/2 81/423/3 |
19 | ภาวนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ เป็นอสัญญสมาบัติบ้าง เป็นนิโรธ-สมาบัติบ้าง ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เพราะฉะนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธ-สมาบัติจึงมี 2 คือ เป็นโลกิยะและโลกุตตระสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงอสัญญ-สัตว์ของปุถุชน เป็นโลกิยะ (อ.อสัญญาสัตตูปิกากถา) 81/466/9 81/430/3 |
20 | [๑๖๗๙-๑๖๘๑] คำซักถามเกี่ยวกับ รูปเป็น รูปาวจร และอรูปาวจร มีอยู่หรือ ? .(รูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา) 81/506/2 81/468/3 |
21 | [๑๖๙๕-๑๖๙๘] คำซักถามเกี่ยวกับ การตายในเวลาอันไม่สมควรของพระอรหันต์ไม่มี หรือ ? (นัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา) 81/519/2 81/481/3 |
22 | ทุกข์มี 2 คือ สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นทุกข์ และสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์เพราะพระพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์ ไว้ในคำว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้น ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าถูก ความเกิดและความดับบีบคั้น (อ.อินทริยพัทธกถา) 81/530/12 81/491/5 |
23 | ชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะท่านอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่บริสุทธิ์ โดยความปรากฏเกิดขึ้นแห่งมรรค และผล (อ.นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา) 81/538/19 81/498/23 |
24 | ทานมีปริมาณน้อยที่เขาถวายแล้วในสงฆ์ ย่อมเป็นทานที่มีผลมาก คำว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ได้แก่ผู้ควรแก่ทักษิณาคือ สมควรแก่ท่านที่เขาให้ด้วยความเคารพ.(อ.นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา) 81/541/12 81/502/12 |
25 | [๑๗๕๐-๑๗๕๔] คำซักถามเกี่ยวกับการเลื่อนฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่ง โดยเว้นจากความเป็นไปแห่งอุปจาระของฌานนั้นๆ ได้หรือ ? (ฌานสังกันติกถา) 81/572/2 81/532/3 |
26 | สุญญตา 2 คือ อนัตตลักขณะของขันธ์ทั้งหลาย และนิพพาน (อ.สุญญตากถา) 81/603/3 81/559/3 |
27 | ญาณ 2 คือ โลกิยญาณ และโลกุตตรญาณ (อ.ญานกถา) 81/643/13 81/595/10 |
28 | [๑๘๑๘-๑๘๒๒] คำซักถามเกี่ยวกับนายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ ?. (นิรยปาลกถา) 81/645/2 81/597/3 |
29 | [๑๘๒๓-๑๘๒๕] คำซักถามเกี่ยวกับ สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?.(ติรัจฉานกถา) 81/650/2 81/602/3 |
30 | [๑๘๓๓-๑๘๓๕] คำซักถามในความเห็นผิดของนิกายอุตตราปถกะบางพวกว่าศาสนาแปลงใหม่ได้ โดยหมายเอาสังคายนาทั้ง 3 ครั้ง (สาสนกถา) 81/662/3 81/614/5 |
31 | ฤทธิ์นี้ ย่อมให้สำเร็จในบางอย่าง ย่อมไม่ให้สำเร็จในบางอย่าง (อ.อิทธิกถา) 81/672/11 81/624/5 |
32 | ยกเว้นความต่างกันแห่งสรีระ ความต่างกันแห่งอายุ และความต่างกันแห่งรัศมีที่มีในกาลนั้นๆ แล้ว ชื่อว่า ความหย่อนและความยิ่งของพระพุทธเจ้า กับพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยการตรัสรู้ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือย่อมไม่มี (อ.พุทธกถา) 81/674/14 81/626/14 |
33 | [๑๘๔๖] คำซักถาม ในความเห็นผิดของลัทธิของนิกาย มหาสังฆิกะว่า โลกธาตุสันนิวาสโดยรอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่ในโลกธาตุทั้งสิ้น. (สัพพทิสากถา) 81/676/2 81/628/3 |
34 | สัตว์ทั้งปวงผู้มีสัญญา ดำรงอยู่ในภวังคจิตแล้วจิตย่อมทำกาละด้วยจุติ จิตอันมีภวังค์เป็นที่สุด (อ.อาเนญชกถา) 81/694/10 81/646/8 |
35 | อกุศลจิตของผู้ฝันย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปาณาติบาตเป็นต้น ก็จริง ถึงอย่างนั้นจิตนั้นก็เป็นเพียงอัพโพหาริก (กล่าวไม่ได้ว่ามี) ไม่ใช่อัพยากฤต. (อ.อัพยากตกถา) 81/701/20 81/653/16 |
36 | กถาวัตถุปกรณ์ อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระทำพระสูตรให้เป็นมูลตั้งไว้ ให้เป็นเครื่องย่ำยีปรับวาท (คำกล่าวของนิกายอื่น) 81/725/5 81/676/1 |