1 | [๓] วิธีทำตัชชนียกรรม (การข่มขู่) พึงทำอย่างนี้ คือ ชั้นต้น พึงโจท แล้วพึงให้พวกเธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา (ตัชชนียกรรม) 8/4/168/4/16 8/4/13 |
2 | [๔-๑๕] ตัชชนียกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด (ตัชชนียกรรม) 8/8/38/8/3 8/7/10 |
3 | [๒๘-๓๓] ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด พึงลงตัชชนียกรรมได้ (ตัชชนียกรรม) 8/15/168/15/16 8/15/10 |
4 | [๓๔] วัตร 18 ข้อในตัชชนียกรรม (ตัชชนียกรรม) 8/17/18/17/1 8/17/15 |
5 | [๔๔] พระพุทธองค์สั่งให้ลง นิยสกรรม แก่ พระเสยยสกะ ผู้เป็นพาลไม่ฉลาด...ผู้คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร คือ ให้กลับถือ นิสัยอีก ด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา (นิสยกรรม) 8/26/78/26/7 8/26/10 |
6 | [๔๕-๕๖] กรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด ในนิยสกรรม (นิสยกรรม) 8/28/68/28/6 8/28/3 |
7 | [๖๙-๗๔] ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด พึงลงนิยสกรรมได้ (นิสยกรรม) 8/35/168/35/16 8/36/3 |
8 | [๗๕] วัตร 18 ข้อในนิยสกรรม (นิสยกรรม) 8/37/178/37/17 8/38/2 |
9 | [๘๔] การประพฤติอนาจาร ของพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ (ปัพพาชนียกรรม) 8/45/28/45/2 8/44/17 |
10 | [๘๗-๘๘] ทรงติเตียน การกระทำของพวก พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ รับสั่งให้ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ไปลงปัพพาชนียกรรม (ขับออกจากหมู่) แก่ภิกษุเหล่านั้น (ปัพพาชนียกรรม) 8/52/108/52/10 8/51/3 |
11 | [๘๙-๙๒] กรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด ในปัพพาชนียกรรม (ปัพพาชนียกรรม) 8/58/88/58/8 8/56/3 |
12 | [๑๐๕-๑๑๘] ข้อที่สงฆ์จำนง 14 หมวด พึงลงปัพพาชนียกรรมได้ (ปัพพาชนียกรรม) 8/66/38/66/3 8/64/3 |
13 | [๑๒๑] พวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ถูกลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ไม่ยอมแก้ตัว ยังด่าการกสงฆ์ แล้วหลีกไปก็มี สึกเสียก็มี พระพุทธองค์ทรงตำหนิแล้วรับสั่งให้ระงับปัพพาชนียกรรม (ปัพพาชนียกรรม) 8/73/98/73/9 8/71/6 |
14 | [๑๓๔] ทรงให้ลงปฏิสารณียกรรม แก่พระสุธรรม คือ ให้ขอขมาจิตตคหบดี (ปฏิสารณียกรรม) 8/84/28/84/2 8/81/13 |
15 | [๑๕๙-๑๖๒] ข้อที่สงฆ์จำนง 4 หมวด พึงลงปฏิสารณียกรรมได้ (ปฏิสารณียกรรม) 8/93/108/93/10 8/91/10 |
16 | [๑๖๓] วัตร 18 ข้อ ในปฏิสารณียกรรม (ปฏิสารณียกรรม) 8/95/88/95/8 8/93/9 |
17 | [๑๖๔] สงฆ์จงให้อนุทูตแก่ ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตคหบดี ก็แล พึงให้อย่างนี้ คือ พึงขอให้ภิกษุรับก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา (ปฏิสารณียกรรม) 8/97/18/97/1 8/94/20 |
18 | [๑๖๕] วิธีขมาของพระสุธรรม (ปฏิสารณียกรรม) 8/98/28/98/2 8/95/18 |
19 | [๑๗๕] ทรงให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์ (อุกเขปนียกรรม) 8/106/18/106/1 8/103/2 |
20 | [๒๐๐-๒๐๕] ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด พึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่อาบัติได้ (อุกเขปนียกรรม) 8/116/168/116/16 8/114/3 |
21 | [๒๐๖] วัตร 43 ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่เห็นอาบัติ (อุกเขปนียกรรม) 8/119/28/119/2 8/116/9 |
22 | [๒๒๕-๒๒๖] ทรงให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่พระฉันนะ (อุกเขปนียกรรม) 8/134/118/134/11 8/131/8 |
23 | [๒๗๗-๒๗๘] ทรงให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่พระอริฏฐะ (อุกเขปนียกรรม) 8/165/168/165/16 8/160/18 |
24 | [๓๑๐-๓๑๑] พระอริฏฐะถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแล้ว สึกเสีย พระพุทธองค์จึงให้สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป (อุกเขปนียกรรม) 8/182/158/182/15 8/177/16 |
25 | อธิบาย คำว่า ข้อที่สงฆ์จำนง (กัมมักขันธกวรรณนา) 8/196/78/196/7 8/190/5 |
26 | ภิกษุผู้ถูกนิสสารณา พึงบำเพ็ญวัตร 10วัน หรือ 20วัน ก็ได้ (กัมมักขันธกวรรณนา) 8/198/118/198/11 8/191/26 |
27 | การหุงน้ำมัน และดองยา เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรม ที่ทำแก่คนที่ทรงห้ามเป็นต้น เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพ เป็นไปทางกาย, การรับและบอกข่าวสาสน์เป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์ เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพ เป็นไปทางวาจา (กัมมักขันธกวรรณนา) 8/199/138/199/13 8/192/21 |
28 | [๓๒๑] ภิกษุผู้อยู่ปาริวาส ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรมการนำอาสนะมาให้... การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายรูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/205/148/205/14 8/197/20 |
29 | [๓๒๑] ทรงอนุญาตการกราบไหว้...การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/206/18/206/1 8/198/2 |
30 | [๓๒๑] ทรงอนุญาตกิจ 5 อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร การรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/206/58/206/5 8/198/6 |
31 | [๓๒๒-๓๓๐] ปาริวาสิกวัตร (ข้อปฏิบัติของผู้อยู่ปริวาส) 94 ข้อ (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/206/128/206/12 8/198/13 |
32 | [๓๓๐] ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ 4 พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมพึงให้มานัต , สงฆ์ 20 รูป ทั้งภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/212/168/212/16 8/203/23 |
33 | [๓๓๑] ความขาดแห่งราตรี ของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มี 3 คือ อยู่ร่วม อยู่ปราศไม่บอก (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/213/68/213/6 8/204/9 |
34 | [๓๓๒] เมื่อมีภิกษุมามาก ทรงอนุญาตให้เก็บปริวาส (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/213/108/213/10 8/204/16 |
35 | [๓๓๓] ทรงอนุญาตให้สมาทานปริวาส (ปาริวาสิกขันธกะ) 8/214/48/214/4 8/205/8 |
36 | [๓๓๕] ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงยินดีการกราบไหว้...ของปกตัตตะภิกษุ รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ (มูลายปฏิกัสสนารหวัตร) 8/216/98/216/9 8/207/5 |
37 | [๓๓๕] ทรงอนุญาตการกราบไหว้...ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา (มูลายปฏิกัสสนารหวัตร) 8/216/148/216/14 8/207/11 |
38 | [๓๓๕] ทรงอนุญาตกิจ 5 อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร การรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมตามลำดับผู้แก่พรรษา (มูลายปฏิกัสสนารหวัตร) 8/216/198/216/19 8/207/16 |
39 | [๓๓๖-๓๔๒] มูลายปฏิกัสสนารหวัตร ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม พึงประพฤติ-ชอบ 7 หมวด (มูลายปฏิกัสสนารหวัตร) 8/217/68/217/6 8/208/3 |
40 | [๓๔๔] ภิกษุผู้ควรมานัต ไม่พึงยินดีการกราบไหว้...ของปกตัตตะภิกษุ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ (มานัตตารหวัตร) 8/224/188/224/18 8/214/16 |
41 | [๓๔๔] ทรงอนุญาตการกราบไหว้...ของภิกษุผู้ควรมานัตด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา (มานัตตารหวัตร) 8/225/58/225/5 8/214/21 |
42 | [๓๔๔] ทรงอนุญาตกิจ 5 อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร การรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา (มานัตตารหวัตร) 8/225/108/225/10 8/215/2 |
43 | [๓๔๕-๓๕๓] มานัตตารหวัตร ภิกษุผู้ควรมานัตพึงประพฤติชอบ 8 หมวด (มานัตตารหวัตร) 8/225/178/225/17 8/215/9 |
44 | [๓๕๕] ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ไม่พึงยินดีการกราบไหว้... ของปกตัตตะภิกษุ รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ (มานัตตารหวัตร) 8/233/158/233/15 8/222/10 |
45 | [๓๕๕] ทรงอนุญาตการกราบไหว้... ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา (มานัตตารหวัตร) 8/234/18/234/1 8/222/15 |
46 | [๓๕๕] ทรงอนุญาตกิจ 5 อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร การรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา (มานัตตารหวัตร) 8/234/68/234/6 8/222/19 |
47 | [๓๕๖-๓๖๔] มานัตตจาริกวัตร ภิกษุผู้ประพฤติมานัต พึงประพฤติชอบ 8 หมวด เช่น บอกทุกวัน บอกในอุโบสถ ในปวารณา ต้องไปกับสงฆ์ มีอาคันตุกะมา ก็พึงบอก ฯลฯ (มานัตตารหวัตร) 8/234/148/234/14 8/223/3 |
48 | [๓๖๕] ความขาดแห่งราตรี ของภิกษุผู้ประพฤติมานัต มี 4 คือ อยู่ร่วม อยู่ปราศ ไม่บอก ประพฤติในคณะอันพร่อง (มานัตตารหวัตร) 8/241/68/241/6 8/228/19 |
49 | [๓๖๖] เมื่อมีภิกษุมามาก ทรงอนุญาตให้เก็บมานัต (มานัตตารหวัตร) 8/241/108/241/10 8/229/2 |
50 | [๓๖๗] ทรงอนุญาตให้สมาทาน มานัต (มานัตตารหวัตร) 8/242/98/242/9 8/229/13 |
51 | [๓๖๙] ภิกษุผู้ควรอัพภาน ไม่พึงยินดีการกราบไหว้... ของปกตัตตะภิกษุ รูปใดยินดีต้องอาบัติทุกกฏ (อัพภานารหวัตร) 8/244/98/244/9 8/231/11 |
52 | [๓๖๙] ทรงอนุญาตการกราบไหว้...ของภิกษุผู้ควรอัพภานด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา (อัพภานารหวัตร) 8/244/148/244/14 8/231/16 |
53 | [๓๖๙] ทรงอนุญาตกิจ 5 อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร การรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรอัพภานด้วยกันตามลำดับผู้แก่พรรษา (อัพภานารหวัตร) 8/244/198/244/19 8/231/20 |
54 | ปริวาสมี 4 อย่าง คือ อัปปฏิจฉันนปริวาส ปฏิจฉันนปริวาส สุทธันตปริวาสสโมธานปริวาส (ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา) 8/253/58/253/5 8/239/5 |
55 | อธิบายกิจ 5 อย่าง (ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา) 8/255/78/255/7 8/240/22 |
56 | ภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงละการไป ใกล้กันเสีย 12 ศอก ไปตามลำพัง ในโรงอาหารพึงนั่งบนอาสนะสุดท้าย พึงอยู่ในเสนาสนะที่เลวกว่า ภิกษุปกตัตตะ (ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา) 8/260/78/260/7 8/244/20 |
57 | ถ้าภิกษุอาคันตุกะมาในกลางคืน แล้วไปเสียในกลางคืนนั้นเอง แม้ภิกษุอาคันตุกะนั้น ย่อมทำรัตติเฉท(การขาดราตรี) แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น แต่เพราะไม่รู้จึงไม่มีอาบัติทุกกฏ เพราะวัตตเภท (ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา) 8/263/158/263/15 8/247/14 |
58 | ควรนับราตรีให้เกินไว้ แล้วจึงค่อยทำอัพภานกรรม นี้เป็นข้อปฏิบัติไม่ผิด (ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา) 8/263/188/263/18 8/247/17 |
59 | ภิกษุผู้สมาทานวัตร อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว เมื่อจะถือมานัต ไม่ต้องสมาทานวัตรอีก . (ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา) 8/270/98/270/9 8/253/1 |
60 | [๓๗๗] ภิกษุใดต้องสังฆาทิเสส มิได้ปิดบังไว้ สงฆ์จงให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่งไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุนั้น (สมุจจยขันธกะ) 8/273/68/273/6 8/255/6 |
61 | [๓๙๒-๓๙๔] ภิกษุใดต้องสังฆาทิเสสตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ 1 วัน , 2 วัน , 3 วัน4 วัน , 5 วัน บ้าง สงฆ์จงให้ปริวาส 5 วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ปิดบังไว้ 5 วัน แก่ภิกษุนั้น (สมุจจยขันธกะ) 8/291/88/291/8 8/271/6 |
62 | [๓๙๕-๓๙๗] ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสตัวหนึ่งในระหว่างไม่ได้ปิดบังไว้ สงฆ์จงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม ต้องไปอยู่ปริวาสใหม่ (สมุจจยขันธกะ) 8/294/28/294/2 8/273/17 |
63 | [๓๙๘-๔๐๒] ภิกษุอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรมานัตต้องอาบัติสังฆาทิเสส ตัวหนึ่งในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วอยู่ปริวาสใหม่ (สมุจจยขันธกะ) 8/298/48/298/4 8/277/5 |
64 | [๔๐๔-๔๐๘] ภิกษุกำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ตัวหนึ่งในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วให้มานัต 6 ราตรี (สมุจจยขันธกะ) 8/307/78/307/7 8/285/2 |
65 | [๔๐๙-๔๑๔] ภิกษุอยู่มานัตแล้ว เป็นผู้ควรอัพภาน ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ตัวหนึ่งในระหว่าง ไม่ได้ปิดบังไว้ สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วให้ มานัต 6 ราตรี (สมุจจยขันธกะ) 8/316/88/316/8 8/292/18 |
66 | [๔๑๘-๔๒๒] ภิกษุอยู่ปริวาส 1 ปักษ์ กำลังอยู่ปริวาสได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสตัวหนึ่งในระหว่าง ปิดบังไว้ 5 วัน สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วให้ปริวาส ประมวลอาบัติตัวก่อน เข้าด้วยกัน (สมุจจยขันธกะ) 8/326/68/326/6 8/301/18 |
67 | [๔๒๓-๔๒๘] ภิกษุอยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรมานัต ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสตัวหนึ่งในระหว่าง ปิดบังไว้ 5 วัน สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วให้ปริวาส ประมวลอาบัติตัวก่อน เข้าด้วยกัน (สมุจจยขันธกะ) 8/333/68/333/6 8/307/21 |
68 | [๔๒๙-๔๓๒] ภิกษุกำลังประพฤติมานัต ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสตัวหนึ่ง ในระหว่าง ปิดบังไว้ 5 วัน สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วให้ปริวาส ประมวลอาบัติตัวก่อน เข้าด้วยกัน เมื่ออยู่ปริวาสแล้วจงให้มานัต 6 ราตรี(สมุจจยขันธกะ) 8/337/178/337/17 8/312/2 |
69 | [๔๓๓-๔๓๙] ภิกษุประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรอัพภาน ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสตัวหนึ่งในระหว่าง ปิดบังไว้ 5 วัน สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม แล้วให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้าด้วยกัน เมื่ออยู่ปริวาสแล้ว จงให้มานัต 6 ราตรี 8/340/188/340/18 8/315/2 |
70 | [๔๔๐-๔๔๕] อัคฆสโมธานปริวาส คือ ภิกษุต้องอาบัติหลายคราว มีจำนวนวันปิดบังไว้ไม่เท่ากัน ให้ประมวลอาบัติและวันเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่ปิดบังไว้มากที่สุด (สมุจจยขันธกะ) 8/352/28/352/2 8/324/17 |
71 | [๔๕๓] ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2 ตัว ปิดบังไว้ 2 เดือน ตัวหนึ่งรู้ปิดบังไว้ตัวหนึ่งไม่รู้ปิดบังไว้ ได้ขอปริวาส 2 เดือนต่อสงฆ์...การให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ไม่รู้ปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรม ย่อมฟังไม่ขึ้น ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต เพื่ออาบัตินี้ (สมุจจยขันธกะ) 8/365/138/365/13 8/336/14 |
72 | [๔๕๕] ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2 ตัว ปิดบังไว้ 2 เดือน ตัวหนึ่งไม่สงสัย ปิดบังไว้ ตัวหนึ่งสงสัยปิดบังไว้ ได้ขอปริวาส 2 เดือนต่อสงฆ์... การให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่สงสัยปิดบังไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรม ย่อมฟังไม่ขึ้น ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต เพื่ออาบัตินี้ (สมุจจยขันธกะ) 8/367/78/367/7 8/337/26 |
73 | [๔๖๖-๔๗๐] สงฆ์พึงให้ สุทธันตปริวาส แก่ภิกษุผู้ไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดที่สุดราตรี ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้... สงสัยในที่สุดราตรี (สมุจจยขันธกะ) 8/379/158/379/15 8/348/4 |
74 | [๔๗๒] ภิกษุกำลังอยู่ปริวาสแล้วสึก หากเธออุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมแก่เธอนั่นแหละ ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (สมุจจยขันธกะ) 8/384/58/384/5 8/352/2 |
75 | [๔๘๘-๕๐๗] สงฆ์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร กับภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติในระหว่าง, ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต ต้องอาบัติในระหว่าง, ภิกษุกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติในระหว่าง, ภิกษุเป็นผู้ควรอัพภาน ต้องอาบัติในระหว่าง (สมุจจยขันธกะ) 8/395/98/395/9 8/361/16 |
76 | [๕๕๕] ภิกษุ 2 รูปต้องอาบัติ สังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดบัง รูปหนึ่งไม่ได้ปิดบังพึงให้รูปที่ปิดบังแสดงอาบัติทุกกฏ และให้ปริวาสตามที่ปิดบังไว้ แก่รูปที่ปิดบังแล้วให้มานัตแก่ภิกษุ 2 รูป (สมุจจยขันธกะ) 8/444/168/444/16 8/401/22 |
77 | [๕๖๖-๕๗๔] ภิกษุไม่หมดจดจากอาบัติเดิม 9 หมวด (สมุจจยขันธกะ) 8/447/158/447/15 8/404-408 |
78 | มานัต (ข้อปฏิบัติในการออกจากอาบัติ สังฆาทิเสสโดยการนับราตรี 6 ราตรี)มีอยู่ 4 อย่าง... (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/468/48/468/4 8/421/9 |
79 | ภิกษุอยู่มานัตแล้ว เมื่อจะขออัพภาน ถ้าเธอได้เก็บวัตรไว้ พึงให้เธอสมาทานวัตร แล้วบอก แล้วขออัพภาน (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/471/168/471/16 8/424/10 |
80 | ปริวาส 3 อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สุทธันตปริวาส สโมธานปริวาส (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/472/208/472/20 8/425/11 |
81 | อาการปิดอาบัติ 10 อย่าง... ภิกษุใดอาจเพื่อจะไปสู่ สำนักภิกษุ เธอมีความสำคัญว่าไม่อาจ อาบัติแม้ที่ภิกษุนี้ปิดไว้ จัดว่าไม่เป็นอันปิด... (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/473/108/473/10 8/425/22 |
82 | ฝ่ายภิกษุใดเป็นวิสภาคกัน(ไม่ถูกกัน) เป็นผู้มุ่งจะฟัง แล้วประจานไม่ควรบอกในสำนักภิกษุเห็นปานนั้น แม้เป็นอุปัชฌาย์ (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/477/18/477/1 8/428/18 |
83 | ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่าปิดไว้ สำหรับอาบัติที่มิได้ปิด... ฝ่ายภิกษุใดต้องอาบัติตัวเดียว ทำวินัยกรรมว่าหลายตัว อาบัติของภิกษุแม้นั้น ย่อมออก (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/487/48/487/4 8/438/3 |
84 | ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ครบ 60 ปี แม้เป็นผู้ควรมานัต แล้วปิด อันตราบัติ (ต้องอาบัติสังฆาทิเสสในระหว่างประพฤติวัตร ที่ยังไม่ได้อัพภาน )ไว้วันหนึ่งย่อมเป็นผู้ควรอยู่ปริวาสอีก 60 ปี (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/489/68/489/6 8/439/22 |
85 | ภิกษุเก็บวัตรแล้ว ต้องสังฆาทิเสส ย่อมเป็นผู้ไม่ควร แก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมพึงแยกประพฤติมานัต เพื่ออาบัตินั้น ถ้าเธอผู้เก็บวัตร ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ไซร้ ต้องอยู่ปริวาสด้วย (สมุจจยักขันธกวรรณนา) 8/499/78/499/7 8/448/6 |
86 | [๕๘๕] ภิกษุใดทำกรรมลับหลัง ต้องอาบัติทุกกฏ (สมถขันธกะ) 8/505/68/505/6 8/452/18 |
87 | [๕๘๖] ธรรมวาที และอธรรมวาทีบุคคล 6 จำพวก (สมถขันธกะ) 8/505/118/505/11 8/453/2 |
88 | [๕๘๗] ธรรมฝ่ายดำ 9 อย่าง , อธรรมวาที ยังธรรมวาที ให้ยินยอม...ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม (การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าเทียม) (สมถขันธกะ) 8/505/158/505/15 8/453/6 |
89 | [๕๘๘] ธรรมฝ่ายขาว 9 อย่าง, ธรรมวาที ยังอธรรมวาที ให้ยินยอม... ถ้าอธิกรณ์ระงับอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (สมถขันธกะ) 8/507/158/507/15 8/454/21 |
90 | [๕๙๒] สงฆ์สมมติ พระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะ และแจก อาหาร ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา (สมถขันธกะ) 8/511/78/511/7 8/457/17 |
91 | [๕๙๗-๕๙๘] ทรงรับสั่งให้สงฆ์ ให้สติวินัย แก่พระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ คือ พระทัพพมัลลบุตร พึงกล่าวคำ ขอต่อสงฆ์ แล้วภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา (สมถขันธกะ) 8/519/168/519/16 8/464/20 |
92 | [๕๙๙] การให้สติวินัย ที่เป็นธรรมมี 5 อย่าง คือ ภิกษุเป็นผู้หมดจดไม่ต้องอาบัติ, ผู้อื่นโจทเธอ, เธอขอ, สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ, สงฆ์พร้อมเพรียงกัน โดยธรรมให้ (สมถขันธกะ) 8/522/28/522/2 8/466/20 |
93 | [๖๐๐-๖๐๑] สงฆ์จงให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุคัคคะ ผู้หายวิกลจริตแล้ว ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา (สมถขันธกะ) 8/523/118/523/11 8/468/2 |
94 | [๖๐๒-๖๐๔] การให้อมูฬหวินัยไม่เป็นธรรม 3 หมวด (สมถขันธกะ) 8/527/108/527/10 8/471/12 |
95 | [๖๐๘] กรรม คือ ตัชชนียกรรม เป็นต้น อันภิกษุไม่พึงทำแก่ภิกษุทั้งหลายไม่ตามปฏิญาณ (การยืนยัน) รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ (สมถขันธกะ) 8/530/158/530/15 8/474/23 |
96 | [๖๐๙] การทำตามปฏิญาณที่ไม่เป็นธรรม 17 อย่าง , ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกเธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิกแต่เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิ-เสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ชื่อว่า ทำตามปฏิญาณไม่เป็นธรรม (สมถขันธกะ) 8/530/208/530/20 8/475/5 |
97 | [๖๑๑] เมื่อภิกษุ ถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่อาจระงับอธิกรณ์ นั้นได้ ทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย เยภุยยสิกา (วิธีตัดสินระงับอธิกรณ์ โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก) (สมถขันธกะ) 8/534/198/534/19 8/478/13 |
98 | [๖๑๒] การจับสลากไม่เป็นธรรม 10 อย่าง (สมถขันธกะ) 8/536/58/536/5 8/479/16 |
99 | [๖๑๔] สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่พระอุปวาฬ ผู้ถูกซักถาม ถึงอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ ให้การกลับไป กลับมา (สมถขันธกะ) 8/538/68/538/6 8/481/13 |
100 | [๖๑๕] ตัสสปาปิยสิกากรรม(กรรมที่สงฆ์พึงทำ แก่ภิกษุผู้เลวทราม) เป็นธรรม5 อย่าง (สมถขันธกะ) 8/539/128/539/12 8/482/16 |
101 | [๖๑๖] ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม 12 หมวด ในตัสสปาปิยสิกากรรม (สมถขันธกะ) 8/540/38/540/3 8/483-486 |
102 | [๖๑๘-๖๒๓] ข้อที่สงฆ์จำนง 6 หมวด พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรม (สมถขันธกะ) 8/547/38/547/3 8/490-492 |
103 | [๖๒๔] วัตร 18 ข้อ ในตัสสปาปิยสิกากรรม (สมถขันธกะ) 8/549/58/549/5 8/492/4 |
104 | [๖๒๖-๖๓๐] ทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ (ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า) (สมถขันธกะ) 8/551/38/551/3 8/493/16 |
105 | [๖๓๑] เมื่อระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะแล้ว ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ออกจากอาบัติ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์ เว้นผู้แสดงความเห็นแย้งเว้นผู้ไม่ได้อยู่ที่นั้น (สมถขันธกะ) 8/556/198/556/19 8/499/1 |
106 | [๖๓๓] ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความทุ่มเถียง ความกล่าวต่างกัน ความกล่าวประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่นในเรื่องนั้นอันใด ในธรรมวินัยนี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ (สมถขันธกะ) 8/558/118/558/11 8/500/17 |
107 | [๖๓๔] การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตามการทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในการโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัตินี้ เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ (สมถขันธกะ) 8/558/158/558/15 8/500/21 |
108 | [๖๓๗-๖๓๘] รากแห่งการเถียงกัน 6 อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อันเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์ (สมถขันธกะ) 8/559/118/559/11 8/501/14 |
109 | [๖๔๘] สมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 อย่าง เป็นมูลแห่งอาปัตตาธิกรณ์ (สมถขันธกะ) 8/565/168/565/16 8/507/7 |
110 | [๖๕๐-๖๖๓] วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มีอัพยากฤตก็มี (สมถขันธกะ) 8/566-5698/566-569 8/508-511 |
111 | [๖๕๘-๖๕๙] อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี อัพยากฤตก็มี (สมถขันธกะ) 8/568/178/568/17 8/510/4 |
112 | อรรถกถาอธิบายไว้ : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกุศลไม่มี (สมถักขันธกวรรณนา) 8/616/148/616/14 8/550/17 |
113 | [๖๗๒] วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วย สมถะ (วิธีระงับเรื่องราว) 2 อย่างคือ สัมมุขาวินัย(วิธีระงับในที่พร้อมหน้า) เยภุยยสิกา(วิธีตัดสินอธิกรณ์โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก) (สมถักขันธกวรรณนา) 8/574/48/574/4 8/514/13 |
114 | [๖๗๒] สัมมุขาวินัย นั้น มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล (สมถขันธกะ) 8/575/58/575/5 8/515/10 |
115 | [๖๗๕-๖๗๗] เมื่อมีเสียง เซ็งแซ่ในระหว่าง วินิจฉัยอธิกรณ์ให้ใช้ อุพพาหิกวิธี(เลือกคณะภิกษุ ให้เป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์) สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 10 8/578/198/578/19 8/518/8 |
116 | [๖๗๘] ถ้ามีพระธรรมกถึกจำสูตรไม่ได้ จำวิภังค์แห่งสูตรก็ไม่ได้ ย่อมค้านใจ ความแห่งพยัญชนะ ให้ภิกษุผู้ฉลาด ประกาศด้วยคณะญัตติ ขับภิกษุนั้น ออกไป แล้วระงับอธิกรณ์ (สมถขันธกะ) 8/581/78/581/7 8/520/13 |
117 | [๖๘๐] ถ้าอุพพาหิกวิธีใช้ไม่ได้ให้มอบ อธิกรณ์ ให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา (สมถขันธกะ) 8/583/38/583/3 8/522/2 |
118 | [๖๘๑] วิธีจับสลาก 3 วิธี (สมถขันธกะ) 8/585/108/585/10 8/524/2 |
119 | [๖๘๒-๖๘๘] อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ 4 อย่าง (สมถขันธกะ) 8/588/78/588/7 8/526/8 |
120 | [๖๘๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ 3 อย่าง (สมถขันธกะ) 8/598/28/598/2 8/534/18 |
121 | [๖๙๐] การแสดงอาบัติต่อสงฆ์ (สมถขันธกะ) 8/600/68/600/6 8/536/12 |
122 | [๖๙๔] กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ อย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย (สมถขันธกะ) 8/606/128/606/12 8/542/2 |
123 | ธรรมวาทีบุคคล ไม่ยังอธรรมวาทีบุคคลให้หลง แสดงธรรมนั้นเอง โดยนัยมีคำว่า นี้เป็นธรรม อธิกรณ์ จึงชื่อว่าระงับโดยธรรม (สมถักขันธกวรรณนา) 8/608/18/608/1 8/543/5 |
124 | การให้สติวินัย ต้องประกอบด้วยองค์ทั้ง 5 จึงชอบธรรม สติวินัยพึงให้แก่พระขีณาสพ ซึ่งถูกโจทเท่านั้น ไม่พึงให้แก่ภิกษุอื่น โดยที่สุด แม้พระอนาคามี (สมถักขันธกวรรณนา) 8/608/98/608/9 8/543/15 |
125 | เมื่อจบติณวัตถารกกรรมวาจา ภิกษุที่อยู่ในที่ประชุมนั้น ต้องอาบัติในจำเดิมแต่มณฑล อุปสมบท ย่อมเป็นผู้ออกจากอาบัตินั้น นอกจากอาบัติที่ชั่วหยาบและอาบัติที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ (สมถักขันธกวรรณนา) 8/612/138/612/13 8/547/14 |
126 | สังฆกรรม 4 (สมถักขันธกวรรณนา) 8/614/118/614/11 8/549/1 |
127 | ญัตติทุติยกรรม ที่ต้องอปโลกน์ทำก็มี, สมมติ 6 อย่างไม่ควรอปโลกน์ คือ สมมติสีมา ถอนสีมา ให้ผ้ากฐิน รื้อกฐิน แสดงที่สร้างกุฎี แสดงที่สร้างวัด,สมมติ 13 ที่เหลือ และสมมติในการถือเสนาสนะ และให้มรดกจีวร เป็นต้นแม้อปโลกน์ทำ ก็ควร (สมถักขันธกวรรณนา) 8/615/38/615/3 8/549/14 |
128 | อาปัตตาธิกรณ์ใด เป็น โลกวัชชะ ย่อมเป็นอกุศล โดยส่วนเดียวเท่านั้น (สมถักขันธกวรรณนา) 8/616/178/616/17 8/550/20 |
129 | ภิกษุเจ้าถิ่นผู้จะระงับอธิกรณ์ พึงทำให้เป็นการอันตนป้องกันรอบคอบดีแล้วจึงรับ พึงปล่อยให้ล่วงไป 2-3 วัน เพื่อประโยชน์แก่การข่มมานะ (สมถักขันธกวรรณนา) 8/618/188/618/18 8/552/15 |