1 | [๑-๓๑] ขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คือ รูปหยาบ ได้แก่ จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ , รูปละเอียด ได้แก่ อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร (ขันธวิภังค์สุตตันตภาชนีย์) 77/1/777/1/7 77/1/7 |
2 | ศัพท์ว่า ขันธ์ นี้ใช้ในฐานะว่า กอง , คุณ , โดยเป็นบัญญัติ , ในความเป็นคำติดปาก.(อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/21/1077/21/10 77/20/10 |
3 | ทรงประมวล สังขารทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งเจตนา อันเป็นไปในภูมิ 4 ซึ่งจำแนกว่า เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาเกิดแต่มโนสัมผัส , ทรงประมวลวิญญาณทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งจิตอันเป็นไปในภูมิ 4 (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/23/1577/23/15 77/22/11 |
4 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไปแล ฉะนั้นจึงเรียกว่ารูป.(อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/25/177/25/1 77/23/16 |
5 | โลกันตริกนรก ตั้งอยู่ในระหว่างทุกๆ สามจักรวาล สัตว์นรกมีอัตภาพ 3 คาวุต.(อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/25/1877/25/18 77/24/9 |
6 | ภิกษุ 30 รูป ตักน้ำเทลงในปาก กาลกัญชิกาสูรตนหนึ่ง เขาก็ยังไม่ได้กินน้ำ แม้เพียงฝายมือจากน้ำที่เทลงด้วยบาตร 30 ใบ (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/27/1677/27/16 77/25/16 |
7 | โรคลมเกิดขึ้นในร่างกายแล้ว ย่อมทำลาย มือเท้า และเบื้องหลัง เป็นต้น ย่อมทำให้เป็นคนบอด คนง่อย คนเปลี้ย (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/28/677/28/6 77/26/14 |
8 | รูปที่ชื่อว่า รูปอดีต เป็นรูปอนาคต และเป็นรูปปัจจุบัน โดยส่วนทั้ง 4 ด้วยอำนาจอัทธา สันตติ สมัย ขณะ (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/31/1577/31/15 77/29/20 |
9 | พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้า หรือพระสงฆ์ ย่อมถึงโทมนัส ฟังเสียงแสดงธรรมอยู่ย่อมอุดหู ถึงอย่างนั้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ของพวกเขาย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น. (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/38/377/38/3 77/35/11 |
10 | เมื่อบุคคลพูดอยู่ด้วยถ้อยคำปรกติ 12 ศอก ชื่อว่า อุปจาร คือ ใกล้ต่อการฟัง รูปภายในแห่งอุปจาร คือ ใกล้ต่อการฟังนั้น ชื่อว่า รูปใกล้ (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/41/777/41/7 77/38/12 |
11 | เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า ละเอียด ด้วยอรรถว่า ไม่มีความอุตสาหะ และด้วยอรรถว่า ไม่มีวิบาก. (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/44/277/44/2 77/41/2 |
12 | เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากที่เป็นอเหตุกะ (ไม่ประกอบด้วยเหตุ) มีอยู่ ที่เป็นสเหตุกะ(ประกอบด้วยเหตุ 2 หรือ ประกอบด้วยเหตุ 3) ก็มีอยู่ ที่เป็นอเหตุกะ เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นสเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/49/1577/49/15 77/46/7 |
13 | จักขุวิญญาณ ชื่อว่า มโน ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส สัญญาเกิดในมโนสัมผัสนั้น หรือเกิดแต่มโนสัมผัสนั้นมีอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัสสชา.(อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/53/2077/53/20 77/50/3 |
14 | ปกิณกะ ในขันธ์ทั้ง 5 โดยอาการ 16 อย่าง คือ โดยการเกิดครั้งแรก ฯลฯ โดยเป็นของปรุงแต่ง (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/56/1577/56/15 77/53/2 |
15 | ขันธ์ 5 ของพวกสัตว์เกิดในครรภ์ และโอปปาติกะ ย่อมปรากฏพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลังกันในขณะปฏิสนธิ (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/57/1977/57/19 77/54/1 |
16 | จิต 16 ดวง คือ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหมด 1 จุติจิตของพระขีณาสพ 1 ทวิปัญจ-วิญญาณ 10 อรูปวิปากจิต 4 ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/60/1277/60/12 77/56/11 |
17 | รูปมีการเปลี่ยนแปลงนาน ดับก็ช้า,อรูป(นาม) เปลี่ยนแปลงเร็วดับก็เร็ว ถึงอย่างนั้น รูปละทิ้งอรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ หรืออรูปละทิ้งรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้.(อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/64/1477/64/14 77/60/1 |
18 | สันตติรูป 4 คือ กรรมชรูป (รูปเกิดแก่กรรม) จิตตชรูป (รูปเกิดแต่จิต) อุตุชรูป(รูปเกิดแต่อุตุ) อาหารชรูป (รูปเกิดแต่อาหาร) (เชิงอรรถ) 77/69/2277/69/22 77/64/22 |
19 | นิโรธสมาบัติ ไม่พึงเรียกว่า เป็นโลกิยโลกุตระ หรือสังขตอสังขตะ เป็นของสำเร็จแล้วหรือไม่สำเร็จแล้วแต่ว่า. นิโรธสมาบัตินั้นเป็นของอันบุคคลให้สำเร็จ ไม่ใช่ไม่สำเร็จ. (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/70/1077/70/10 77/65/7 |
20 | ทรงแสดงรูปเปรียบดังก้อนฟองน้ำ , เวทนาเปรียบดังต่อมน้ำ สัญญาเปรียบดังพยับแดด สังขารเปรียบดังต้นกล้วย และวิญญาณเปรียบดังเล่ห์กล.(อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/77/677/77/6 77/71/5 |
21 | รูปนั้นแหละ เป็นบ้านเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล เป็นสุสาน ของตระกูลกิมิชาติ(หนอน) 80 ตระกูล (อ.ขันธวิภังคนิเทศ) 77/78/277/78/2 77/71/23 |
22 | เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลมีอยู่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจกามาวจรกุศลจิต 8 ดวง , ที่เป็นอกุศลด้วยอำนาจอกุศลจิต 12 ดวง , ที่เป็นอัพยากฤตด้วยจิต24 ดวง คือ มโนธาตุ 3 อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ 3 มหาวิบาก 8 และกามาวจร-กิริยา 10 (อ.ขันธวิภังคนิเทศ อภิธรรมภาชนีย์) 77/139/1977/139/19 77/130/5 |
23 | ก่อนจะเจริญกสินเบื้องต้น พึงชำระศีลให้หมดจด ตัดความกังวล 10 เรียนกรรมฐานกระทำกสิณบริกรรมยังสมาบัติให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นบาทแล้วบรรลุอรหัต. (อ.ขันธวิภังคนิเทศ อภิธรรมภาชนีย์) 77/141/777/141/7 77/131/17 |
24 | [๘๗] รูปขันธ์ เป็นโลกิยะ ขันธ์ 4 เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระก็มี. (ขันธวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ) 77/150/1377/150/13 77/140/11 |
25 | ขันธ์ 4 เหล่านั้น เป็นอารมณ์แห่งมรรคในเวลาที่พระเสขะ และพระอเสขะพิจารณามรรค (อ.ขันธวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ) 77/159/177/159/1 77/148/21 |
26 | [๙๗-๙๘] อายตนะ 12 คือ จักขายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ.(อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/161/377/161/3 77/150/3 |
27 | ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเครื่องต่อ , เป็นที่อยู่ , เป็นที่ประชุม , เป็นถิ่นเกิด.(อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/165/177/165/1 77/153/2 |
28 | อายตนะที่เป็นเอกเทศแห่งมนายตนะ กล่าวคือ ภวังคจิตนั่นเอง เป็นทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายที่ 6 (อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/167/1077/167/10 77/155/20 |
29 | จักขุ ชื่อว่า ไม่เที่ยง ด้วยเหตุ 4 คือ โดยมีความเกิด และความเสื่อมเป็นที่สุด, โดยความแปรปรวนไป , โดยความเป็นของชั่วคราว , โดยปฏิเสธความเที่ยง..(อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/171/1077/171/10 77/159/10 |
30 | จักขุ ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะเหตุ 4 คือ เป็นของบีบคั้นเนืองๆ เป็นของทนได้ยากเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ , โดยปฏิเสธความสุข. (อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/171/1477/171/14 77/159/15 |
31 | จักขุ ชื่อว่า อนัตตา เพราะเหตุ 4 คือ โดยความเป็นของสูญ โดยความไม่มีเจ้าของโดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ โดยปฏิเสธต่ออัตตา .(อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/171/1977/171/19 77/159/21 |
32 | อนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามย่อมปรากฏ ส่วนอนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อมไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น .(อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/174/677/174/6 77/162/1 |
33 | อนิจจลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏเพราะ ไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เพราะความสืบต่อปิดบังไว้ , ทุกขลักษณะ ไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอด ความบีบคั้นเนืองๆ และเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ ,อนัตตลักษณะ ไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่างๆ และเพราะอันฆนสัญญาปกปิดไว้ (อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/175/177/175/1 77/162/18 |
34 | ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 นี้ทั้งหมด ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.(อ.อายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/176/977/176/9 77/163/19 |
35 | [๑๑๔-๑๒๐] ธาตุ 6 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ(ธาตุวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/200/477/200/4 77/185/4 |
36 | [๑๒๑] ธาตุ 6 คือ สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสสธาตุ โทมนัสสธาตุ อุเปกขาธาตุอวิชชาธาตุ (ธาตุวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/205/677/205/6 77/189/13 |
37 | [๑๒๒-๑๒๓] ธาตุ 6 คือ กามธาตุ พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุอัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ (ธาตุวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/206/1877/206/18 77/191/2 |
38 | ธาตุมีความหมายว่า เป็นสภาวะ ชื่อว่า สภาวะ มีความหมายว่าเป็นของสูญ , ชื่อว่า ของสูญ มีความหมายว่า มิใช่สัตว์ ฉะนั้น ธาตุดิน ด้วยอรรถว่า มีสภาพสูญและไม่ใช่สัตว์ (อ.ธาตุวิภังคนิเทศ) 77/209/1377/209/13 77/193/10 |
39 | กุลบุตร ผู้ปรารถนาจะทำกรรมฐาน ด้วยมนสิการธาตุนี้ พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์ตัดกังวล แล้วเข้าหาอาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงฉลาดในการเรียน 7 อย่าง และการมนสิการ 10 อย่าง (อ.ธาตุวิภังคนิเทศ) 77/212/777/212/7 77/195/20 |
40 | [๑๒๔-๑๓๐] ธาตุ 18 คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.(ธาตุวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์) 77/250/277/250/2 77/226/2 |
41 | ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า ย่อมจัดแจง , ย่อมทรงไว้ , เป็นการจัดแจง , เป็นเหตุทรงไว้โดยประการต่างๆ (อ.ธาตุวิภังคนิเทศ อภิธรรมภาชนีย์) 77/256/1177/256/11 77/231/10 |
42 | ธาตุ ทุกอย่างมีอยู่โดยสภาวะรวมอยู่ในธาตุ 18 เหล่านั้น..(อ.ธาตุวิภังคนิเทศ อภิธรรมภาชนีย์) 77/259/577/259/5 77/233/21 |
43 | [๑๔๕-๑๕๗] ทุกขอริยสัจ. (สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/281/1077/281/10 77/253/9 |
44 | [๑๕๘-๑๕๙] ทุกขสมุทยอริยสัจ (สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/285/277/285/2 77/256/19 |
45 | [๑๖๐-๑๖๑] ทุกขนิโรธอริยสัจ (สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/287/1377/287/13 77/259/2 |
46 | [๑๖๒-๑๗๐] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์) 77/290/277/290/2 77/261/8 |
47 | ทุกข์ มีอรรถว่า บีบคั้น , อันปัจจัยปรุงแต่ง , ให้เร่าร้อน , ปรวนแปร..(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/293/1477/293/14 77/264/5 |
48 | ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของพระอริยะ , เป็นสัจจะอันประเสริฐ.(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/296/577/296/5 77/266/12 |
49 | " นอกจากทุกข์แล้ว ตัวเบียดเบียนย่อมไม่มี ตัวเบียดเบียนอื่นนอกจากทุกข์ก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น ทุกข์นี้บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นตัวเบียดเบียน" (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/298/1477/298/14 77/268/14 |
50 | สัจจญาณ มี 2 อย่าง คือ ญาณที่รู้โดยลำดับ ญาณที่แทงตลอด.(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/303/377/303/3 77/272/3 |
51 | ความจริงทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่บุคคลไรๆ ผู้เป็นทุกข์หามีไม่ การทำมีอยู่ แต่ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่แต่บุคคลผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่บุคคลผู้เดินทางหามีไม่.(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/308/577/308/5 77/276/6 |
52 | ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) ไม่อาจวินิจฉัย อารมณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาตามธรรมดาของตนได้ แต่เมื่อวิตก (สัมมาสังกัปปะ) กระทบแล้วๆ ให้อยู่ ก็อาจตัดสินได้ เปรียบเหมือนเหรัญญิก(เจ้าหน้าที่ดูเงิน)ใช้มือพลิกเหรียญ เพื่อตรวจดูส่วนทั้งปวงของเหรียญ (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/312/1177/312/11 77/279/24 |
53 | ขึ้นชื่อว่าทุกข์ นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ ทุกข์เพราะทนได้ยาก ฯลฯ ทุกข์โดยตรง. (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/316/177/316/1 77/283/6 |
54 | ชื่อว่า ชาติ ด้วยอรรถว่า การเกิด ชาตินั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้มีอายตนะบกพร่อง ชื่อว่า สัญชาติ ด้วยอรรถว่า เกิดพร้อม สัญชาตินั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้มีอายตนะสมบูรณ์ (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/319/877/319/8 77/286/6 |
55 | ทุกข์ ในท้องแม่ (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/321/277/321/2 77/287/19 |
56 | ชรา มี 2 อย่าง (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/327/2077/327/20 77/292/23 |
57 | โดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมแตกไป ขึ้นชื่อว่า สัตว์ไรๆ ย่อมตายหามีไม่.(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/331/977/331/9 77/295/15 |
58 | คำว่า ตาย อีก 3 ประเภท คือ ตายทุกขณะ ตายโดยสมมติ ตายโดยตัดขาด ,การตายของพระอรหันต์ ชื่อว่า ตายโดยตัดขาด (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/332/977/332/9 77/296/13 |
59 | จริงอยู่ ด้วยกำลังแรงของความโศก ฝีใหญ่ย่อมตั้งขึ้นที่หัวใจสุกงอม แล้วย่อมแตกออก และโลหิตดำย่อมไหลออกทางปากแผล ทุกข์ทางกายรุนแรงย่อมเกิดขึ้น.(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/337/1677/337/16 77/301/7 |
60 | " เพราะโทมนัส ย่อมบีบคั้นจิต และย่อมนำความบีบคั้นมาแก่ร่างกาย ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลาย จึงกล่าวแม้โทมนัสว่าเป็นทุกข์ เพราะความเสียใจนั้นแล".(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/341/1777/341/17 77/304/6 |
61 | ธรรมที่เรียกแทนพระนิพพาน เป็นต้นว่า ความสำรอกโดยไม่เหลือ ความดับ ฯลฯความไม่เศร้าหมอง (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/356/1377/356/13 77/316/9 |
62 | กรรมฐานที่เป็นข้าศึกต่อ อกุศลวิตก 3 (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/367/277/367/2 77/325/8 |
63 | ความจริง ปฐมมรรคของคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน แม้มรรคที่ 2 เป็นต้น ก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน หรือฌานใดฌานหนึ่ง.(อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/370/1777/370/17 77/328/18 |
64 | ในโลกิยมรรค องค์มรรคทั้งหมด ย่อมมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ 6ตามสมควร แต่ในโลกุตรมรรค ปัญญาจักษุ มีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถอนเสียซึ่งอวิชชานุสัย ของพระอริยสาวกผู้ประพฤติเพื่อแทงตลอดสัจจะ 4 เป็นสัมมาทิฏฐิ. (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/372/677/372/6 77/330/7 |
65 | โลกุตรมรรค พร้อมทั้งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับว่าเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์มรรคนั้นแลเป็นทั้งวิชชา และจรณะ (อ.สัจจวิภังคนิเทศ สุตตันตภาชนีย์) 77/373/1077/373/10 77/331/9 |
66 | [๒๐๔-๒๐๙] มรรคมีองค์ 5 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (สัจจวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์) 77/381/1277/381/12 77/338/19 |
67 | มรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นปฏิปทาอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ก็เมื่อกายกรรมวจีกรรม อาชีวะ ของบุคคลนั้นบริสุทธิ์ดีแล้ว มรรคแม้ประกอบด้วยองค์ 5 ก็ย่อมเป็นปฏิปทาเหมือนกัน (อ.สัจจวิภังค์ อภิธรรมภาชนีย์) 77/386/1577/386/15 77/344/6 |
68 | [๒๓๖] อินทรีย์ 22 คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ (อินทริยวิภังค์) 77/402/277/402/2 77/359/3 |
69 | [๒๓๘] ชีวิตินทรีย์มี 2 อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ (อินทริยวิภังค์) 77/404/277/404/2 77/360/19 |
70 | [๒๔๑] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน ?.(อินทริยวิภังค์) 77/406/877/406/8 77/362/19 |
71 | ความหมายของอินทรีย์ 22 (อ.อินทริยวิภังคนิเทศ) 77/407/1077/407/10 77/364/4 |
72 | " ภิกษุ ผู้มากด้วยความสลดใจ ดำรงอยู่ในอินทรีย์สังวร กำหนดรู้อินทรีย์ทั้งหลายได้แล้ว ย่อมเข้าถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์ได้แล" (อ.อินทริยวิภังคนิเทศ) 77/415/177/415/1 77/370/19 |
73 | [๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัยชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์) 77/433/377/433/3 77/388/3 |
74 | [๒๕๗] ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ศีล ภาวนา , อาเนญชาภิสังขาร ได้แก่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ,อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร (ปัจจยาการวิภังค์) 77/434/177/434/1 77/388/21 |
75 | [๒๕๙] นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ , รูป ได้แก่ มหา-ภูตรูป 4 และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 (ปัจจยาการวิภังค์) 77/434/1877/434/18 77/389/17 |
76 | [๒๖๕] ภพ 2 คือ กรรมภพ, อุปปัตติภพ,คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งหมด เรียกว่า กรรมภพ , กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ(ปัจจยาการวิภังค์) 77/435/1877/435/18 77/390/14 |
77 | [๒๖๖-๒๗๓] ชาติ ชรา มรณะ จนถึง ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวล.(ปัจจยาการวิภังค์) 77/436/677/436/6 77/390/24 |
78 | อันกุลบุตรผู้ที่จะทำการสังวรรณนาเนื้อความแห่งพระบาลีนั้น ควรเข้าสู่ที่ประชุมพุทธสาวกผู้เป็นวิภัชชวาที พึงเป็นผู้ไม่กล่าวตู่อาจารย์ ไม่เลี่ยงไปสู่ลัทธิของตนไม่กังวลขวนขวายลัทธิอื่น ไม่ปฏิเสธพระสูตร คล้อยตามพระวินัย ตรวจดูมหา-ประเทศแสดงธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) รวบรวมอรรถไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อความ และแสดงโดยปริยายแม้อย่างอื่น จึงสมควรทำการสังวรรณนาความตามพระบาลี.(อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/439/177/439/1 77/393/7 |
79 | ธรรม 4 อย่าง คือ สัจจะ สัตว์บัญญัติ ปฏิสนธิ ปัจจยาการ เป็นธรรมเห็นได้โดยยาก และแสดงได้แสนยาก. (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/439/1177/439/11 77/393/16 |
80 | อวิชชา เป็นเหตุพิเศษ แห่งกรรมให้สัตว์ถึงสุคติ หรือทุคติ (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/446/577/446/5 77/398/14 |
81 | สังขาร 4 คือ สังขตสังขาร อภิสังขตสังขาร อภิสังขรณกสังขาร ปโยคาภิสังขาร.(อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/450/377/450/3 77/401/18 |
82 | ลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/453/777/453/7 77/404/2 |
83 | อวิชชา มีลักษณะ 25 (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/461/977/461/9 77/411/2 |
84 | บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นบุญ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นบุญ บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นบาป วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นบาป บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นอาเนญชะ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอาเนญชะ (อ.ปฏิจจสมุปปาท)วิภังค์) 77/467/377/467/3 77/415/13 |
85 | กามาวจรกุศลเจตนา 8 และรูปาวจรกุศลเจตนา 5 ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร.(อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/468/577/468/5 77/416/10 |
86 | อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว และเพราะปรุงแต่งความไม่หวั่นไหว. (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/470/1077/470/10 77/418/14 |
87 | กายสัญเจตนา ได้แก่ กามาวจรกุศลเจตนา 8 อกุศลเจตนา 12 ที่เป็นไปโดยกายทวาร ซึ่งยังกายวิญญัติให้ตั้งขึ้น (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/471/1877/471/18 77/419/23 |
88 | กายสังขาร วจีสังขาร เป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี แต่ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร. ส่วนจิตตสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี อปุญญาภิ-สังขารก็มี อาเนญชาภิสังขารก็มี (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/473/577/473/5 77/421/6 |
89 | บุญเป็นทุกข์พิเศษ (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/474/577/474/5 77/422/3 |
90 | เหตุที่ตทารัมมณะ ไม่เป็นไปในรูป และอรูปภูมิ (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/490/277/490/2 77/434/24 |
91 | ปฏิสนธิ 20 ประเภท รวมทั้ง อสัญญีปฏิสนธิ (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/492/1177/492/11 77/437/3 |
92 | อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี 3 คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต คือ คตินิมิตของผู้เกิดในนรกก็จะปรากฏภาพเช่นกับ โลหกุมภี , เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ จะปรากฏภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล ยาน, เมื่อเทวโลกจะปรากฏ จะปรากฏเป็นภาพต้น-กัลปพฤกษ์ วิมานที่นอน (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/493/277/493/2 77/437/15 |
93 | ปฏิสนธิที่มีอารมณ์อดีต , และปัจจุบัน ต่อจากจุติจิตมีอารมณ์อดีต .(อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/495/1877/495/18 77/439/16 |
94 | เมื่อมีผู้ป่วยใกล้ตาย พวกญาติพึงแสดงอารมณ์ที่เป็นกุศล เช่น การฟังธรรมแก่ผู้ป่วยนั้น (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/498/1677/498/16 77/441/24 |
95 | ปฏิสนธิของผู้มีฌาน (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/499/1577/499/15 77/442/15 |
96 | สัตว์ดิรัจฉาน เปรต มนุษย์และพวกภุมมเทวดา มีกำเนิด 4 , ในสังเสทชะกำเนิดและโอปปาติกะกำเนิด ย่อมได้รูป 70 หมวดอย่างสูง (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/503/777/503/7 77/445/16 |
97 | วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ววิญญาณนั้น ก็ไม่ปรากฏในภพนี้.(อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/505/1677/505/16 77/447/19 |
98 | อสัญญีสัตว์ทั้งหลาย ได้ชีวิตินทรีย์ 9 กลาป โดยรูปอย่างเดียว ในปฏิสนธิกาล..(อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/519/577/519/5 77/459/13 |
99 | วิญญาณใด เป็นเหตุแห่งนามรูป วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ 2 อย่าง คือ วิญญาณที่เป็นวิบาก และวิญญาณที่ไม่เป็นวิบาก. วิญญาณนี้ จึงสมควร เป็นปัจจัย แก่รูปในอสัญญีภพนั้นทีเดียว (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/521/1877/521/18 77/461/19 |
100 | ตัณหา 108 (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/537/1177/537/11 77/474/15 |
101 | การยังจิตให้เกิดขึ้นด้วยคิดว่า "เราจักถวายทาน" แล้วจัดแจงอยู่ซึ่งอุปกรณ์แห่งการให้ทาน หนึ่งเดือนบ้างหนึ่งปีบ้าง ก็เจตนาของบุคคลที่ยังทักษิณาให้ตั้งขึ้นในมือของปฏิคาหกทั้งหลาย ท่านเรียกว่า ภพ (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์) 77/560/1677/560/16 77/494/19 |
102 | [๒๙๑-๓๐๔] อกุศลจิตดวงที่ 1 คือ อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิมีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์ หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (อกุศลนิเทศ) 77/605/777/605/7 77/534/7 |
103 | [๓๔๗-๓๔๘] อกุศลจิตดวงที่ 2-3-4 คือ อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิมีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสม-นัส วิปปยุตจากทิฏฐิ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ (อกุศลนิเทศ) 77/642/1477/642/14 77/566/14 |
104 | [๓๔๙-๓๕๑] อกุศลจิตดวงที่ 5-6-7-8 คือ อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิมีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ เกิดขึ้น , ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจุงฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ... เกิดขึ้นโดยฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใดในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ (อกุศลนิเทศ) 77/643/2077/643/20 77/567/17 |
105 | [๓๕๒] อกุศลจิตดวงที่ 9-10 คือ อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะมีรูปเป็นอารมณ์... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ ในสมัยใดในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ.(อกุศลนิเทศ) 77/645/1077/645/10 77/569/3 |
106 | [๓๕๔-๓๕๗] อกุศลจิตดวงที่ 11-12 คือ อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉามีรูปเป็นอารมณ์... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์...เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(อกุศลนิเทศ) 77/646/2177/646/21 77/570/9 |
107 | [๓๕๘-๓๕๙] กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 คือ กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์...เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/655/577/655/5 77/578/6 |
108 | [๓๖๐] กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 2-3-4 คือ กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงในสมัยใด สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยฯลฯ.(ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/657/877/657/8 77/580/3 |
109 | [๓๖๒] กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 5- 6 คือ กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขาสัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ . (ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/658/1777/658/17 77/581/6 |
110 | [๓๖๔] กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 7 - 8 คือ กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขาวิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ . (ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/660/377/660/3 77/582/6 |
111 | [๓๖๖] รูปาวจรกุศลจิต คือ โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพบรรลุปฐมฌาน มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ (ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/661/377/661/3 77/583/3 |
112 | [๓๖๘] อรูปาวจรกุศลจิต คือ โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/662/377/662/3 77/583/22 |
113 | [๓๗๐-๓๗๑] โลกุตรกุศลจิต คือ โยคาวจรบุคคลเจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ... บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูล เป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ กุศลนิเทศ) 77/663/577/663/5 77/585/3 |
114 | [๓๗๒-๓๗๓] อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ 1 คือ จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด ในสมัยนั้นวิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/666/577/666/5 77/588/6 |
115 | [๓๗๗] อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ 2-3-4-5 คือ โสตวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์ , ฆานวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขามีกลิ่นเป็นอารมณ์ , ชิวหาวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ , กายวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้นวิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/668/2077/668/20 77/590/14 |
116 | [๓๗๙] อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ 6 คือ มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขามีรูปเป็นอารมณ์... หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ.(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/670/377/670/3 77/591/14 |
117 | [๓๘๑] อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ 7 คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์... หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/671/1177/671/11 77/592/19 |
118 | [๓๘๓] อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ 8 คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์... หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศล-กรรม อันได้ทำไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขาร เป็นปัจจัยฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/672/1877/672/18 77/593/24 |
119 | [๓๘๕] กามาวจรวิบากจิต 8 คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้นวิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/674/377/674/3 77/595/3 |
120 | [๓๘๗] รูปาวจรวิบากจิต คือ โยคาวจรบุคคล บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบากเพราะรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล... อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/676/177/676/1 77/596/12 |
121 | [๓๘๘] อรูปาวจรวิบากจิต คือ โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตน-สัญญา... อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/676/1377/676/13 77/597/4 |
122 | [๓๘๙] โลกุตรวิบากจิต คือ โยคาวจรบุคคล บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบากเพราะโลกุตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาชนิดสุญญตะอยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯความเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/677/1177/677/11 77/598/3 |
123 | [๓๙๐] อกุศลวิบากจิตดวงที่ 1-2-3-4-5 คือ จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา , โสตวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา , ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา, กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏ-ฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/678/1077/678/10 77/599/4 |
124 | [๓๙๒] อกุศลวิบากจิตดวงที่ 6 คือ มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์... หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ .(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/679/1777/679/17 77/600/7 |
125 | [๓๙๔] อกุศลวิบากจิตดวงที่ 7 คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์... หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/681/377/681/3 77/601/11 |
126 | [๓๙๖] อเหตุกกิริยาจิต 3 คือ มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ , มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต ด้วยโสมนัส ฯลฯ , มโน-วิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/681/2077/681/20 77/602/5 |
127 | [๓๙๗] กามาวจรกิริยาจิต 8 คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้นฯลฯสหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/682/1477/682/14 77/602/21 |
128 | [๓๙๘] รูปาวจรกิริยาจิต คือ พระขีณาสพ เจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร บรรลุปฐมฌานอยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/683/1077/683/10 77/603/17 |
129 | [๓๙๙] อรูปาวจรกิริยาจิต คือ พระขีณาสพ เจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนว-สัญญานาสัญญายตนสัญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.(ปัจจยาการวิภังค์ อัพยากตนิเทศ) 77/684/377/684/3 77/604/6 |