1 | [๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศลได้แก่ อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิมีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ (จิตดวงที่ ๑) 76/1/8 76/1/11 |
2 | อกุศลนี้แม้เป็นกามาวจรอย่างเดียว พระองค์ก็มิได้ตรัสว่าเป็นกามาวจร.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/3/10 76/3/11 |
3 | ความเกิดขึ้นแห่งความเห็นผิด มีด้วยเหตุอย่างนี้ คือ การฟังแต่อสัทธรรม ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ความเป็นผู้ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ การทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/3/19 76/4/1 |
4 | เอกัคคตา แห่งจิตย่อมมีแม้ในเพราะประพฤติอกุศล. (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/5/5 76/5/2 |
5 | โลภะ มีการยึดอารมณ์เป็นลักษณะ มีความติดในอารมณ์เป็นรส เมื่อเจริญขึ้นโดยความเป็นแม่น้ำ คือ ตัณหา ย่อมพาไปสู่อบายเท่านั้น , โมหะ มีความมืดมนแห่งจิตเป็นลักษณะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/6/17 76/6/13 |
6 | ในอกุศลจิตนี้มีเยวาปนกธรรม 4 ประการ เป็นองค์ที่แน่นอน คือ ฉันทะ อธิโมกข์มนสิการ อุทธัจจะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/9/11 76/8/24 |
7 | [๒๙๑-๒๙๔] มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? (บาลีนิทเทสวาร) 76/14/15 76/13/21 |
8 | [๒๙๙-๓๐๐] โลภะ โมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? (บาลีนิทเทสวาร) 76/16/13 76/15/11 |
9 | [๓๑๑-๓๓๗] อกุศลจิตดวงที่ 2-12 มีอกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เป็นต้น และมีอกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ เป็นที่สุด (จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/24/13 76/22/20 |
10 | อธิบายอกุศลจิต ที่เป็น สสังขาริก (มีการชักจูง) (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/36/11 76/33/11 |
11 | ถีนมิทธะ เป็นธรรมยิ่งในอกุศลจิตดวงที่ 2 นี้ ความหดหู่ ชื่อว่า ถีนะ ความง่วงโงกชื่อว่า มิทธะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/37/3 76/34/3 |
12 | สภาวะที่ชื่อว่า ปฏิฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมกระทบในอารมณ์โดยภาวะที่ไม่พอใจอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะนั้น ชื่อว่า ปฏิฆสัมปยุต. (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/39/18 76/37/2 |
13 | โทสะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนประทุษร้าย หรือประทุษร้ายเอง. มีความดุร้ายเป็นลักษณะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/40/11 76/37/16 |
14 | อิสสา นั้นมีการริษยาสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ , มัจฉริยะนั้นมีการปกปิดสมบัติของตนที่ได้มาแล้ว หรือที่ควรได้เป็นลักษณะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/41/10 76/38/10 |
15 | อกุศลจิตดวงที่ 10 ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ถูกคนอื่นๆ ให้เกิดอุตสาหะบ้าง ผู้ถูกคนอื่นๆ ตักเตือนให้นึกถึงความผิดบ้าง ตนเองนั้นแหละนึกถึงความผิดของคนอื่นๆ แล้วโกรธบ้าง เพราะความที่อกุศลจิตนี้เป็นไปกับการชักจูง. .(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/43/15 76/40/5 |
16 | สภาวธรรมที่ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ปราศจากความแก้ไข เป็นเหตุให้คนเมื่อคิดสภาวธรรมย่อมยุ่งยาก ย่อมลำบาก (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/44/15 76/41/9 |
17 | วิจิกิจฉา เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำจิตให้กระด้าง ก็เพราะวิจิกิจฉานั้นเมื่อเกิดเป็นดุจการจับอารมณ์มาขัดอยู่ซึ่งใจ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/46/11 76/42/26 |
18 | อกุศลจิตที่เหลือ 11 ดวง เว้นอุทธัจจสัมปยุตจิต ย่อมชักปฏิสนธิมา เมื่อกรรมอันอกุศลธรรมดวงใดดวงหนึ่งในบรรดา อกุศลธรรมเหล่านั้น ประมวลมาแล้ว ปฏิสนธิจิตย่อมมีในอบาย 4 บรรดาอกุศลวิบากทั้งหลาย สัตว์ย่อมถือปฏิสนธิด้วยเจตนาอันสหรคตด้วยอุเบกขา คือ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม) 76/48/14 76/44/26 |
19 | [๓๓๘-๓๖๕] วิญญาณ 5 ที่เป็นกุศลวิบาก คือ จักขุวิญญาณ เป็นต้น อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ฯลฯ สภาวะธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.(กามาวจรวิบาก) 76/49/3 76/46/5 |
20 | [๓๖๖-๓๘๑] มโนธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์ฯลฯ สภาวะธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (กามาวจรวิบาก) 76/54/12 76/51/2 |
21 | [๓๘๒-๓๙๘] มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูป เป็นต้นเป็นอารมณ์ ฯลฯ สภาวะธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็น อัพยากฤต (กามาวจรวิบาก) 76/57/17 76/54/3 |
22 | [๓๙๙-๔๑๔] มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูป เป็นต้นเป็นอารมณ์ ฯลฯ สภาวะธรรมเหล่านี้ ธรรมเป็นอัพยากฤต (กามาวจรวิบาก) 76/61/4 76/57/3 |
23 | อัพยากตะ มี 4 อย่าง คือ วิบาก กิริยา รูป พระนิพพาน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/64/4 76/60/6 |
24 | ชื่อว่า มโนธาตุ ด้วยอรรถว่า สูญจากสภาวะและมิใช่สัตว์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/67/12 76/63/8 |
25 | มโนวิญญาณธาตุ แม้ทั้ง 2 เป็นอเหตุกวิบาก (วิบากจิตไม่มีเหตุประกอบ). มีการรู้อารมณ์ 6 เป็นลักษณะ มีการพิจารณาอารมณ์ เป็นต้น เป็นรส (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/69/3 76/64/20 |
26 | มโนวิญญาณธาตุดวงที่ 2 ย่อมให้ผลใน 5 ฐาน คือ 1.ในเบื้องต้นให้ผลเป็นปฏิสนธิ-จิต ในเวลาถือปฏิสนธิของคนบอดแต่เกิด เป็นต้น ในมนุษยโลก 2. เมื่อปฏิสนธิผ่านไปแล้วก็ให้ผลเป็นภวังค์ตลอดอายุ 3. ย่อมให้ผลเป็นสันติรณะ (พิจารณา)ในวิถีแห่งอารมณ์ 5 ในอิฏฐมัชฌัตตตารมณ์ 4.ย่อมให้ผลเป็นตทารัมมณะ ในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร 6 5. ในเวลามรณะให้ผลเป็นจุติจิต .(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/70/1 76/65/19 |
27 | [๔๑๕-๔๑๖] มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต..(มหาวิบาก ๘) 76/70/11 76/66/5 |
28 | กุศลเป็นอสังขาริก (ไม่มีการชักจูง) วิบากก็เป็นอสังขาริก , กุศลเป็นสสังขาริก(มีการชักจูง) วิบาก ก็เป็น สสังขาริก (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/72/15 76/68/6 |
29 | มหาวิบาก ย่อมให้ผลในที่ทั้ง 4 คือ ในปฏิสนธิ ในภวังค์ ในจุติ ในตทารัมมณะ.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/73/4 76/68/18 |
30 | พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ทุกพระองค์ ย่อมถือ ปฏิสนธิ ด้วยมหาวิบากจิตที่เป็นอสังขาริก สหรคตด้วยโสมนัส เป็นติเหตุกะดวงที่ 1 ในการถือปฏิสนธิภพสุดท้าย.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/73/11 76/68/26 |
31 | ในขณะการประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะ อโทสะ อโมหะ มีกำลังแรง อโลภะโทสะ โมหะมีกำลังอ่อน บุคคลนั้นเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิอันกรรมนั้นให้ผลแล้วย่อมเป็นคนมักได้ มีความสุข เป็นปกติ มักไม่โกรธ แต่มีปัญญา มีญาณเปรียบดังเพชร (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/75/10 76/70/20 |
32 | นิยาม 5 อย่าง คือ พีชนิยาม อุตุนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม จิตนิยาม.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/81/14 76/76/6 |
33 | อเหตุกปฏิสนธิ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/87/13 76/81/9 |
34 | พระมหาโมคคัลลานะ เนรมิตดอกปทุมในนรก นั่งแสดงธรรมแก่สัตว์นรก เมื่อนั้นจักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก ก็เกิดขึ้น แก่พวกเขาผู้เห็นพระเถระ .(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/88/11 76/82/7 |
35 | เมื่อบุคคลถือปฏิสนธิสหรคต ด้วยโสมนัสยังฌานให้เกิดในปวัตติกาลแล้ว มีฌานอันเสื่อมแล้วด้วยความประมาท. โทมนัสย่อมเกิดขึ้น ในกาลนั้น จิตอะไรย่อมเกิดขึ้น ? (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/90/6 76/83/20 |
36 | เปรียบเทียบจิตกับเรื่องใยแมลงมุม เรื่องนายทวาร เรื่องเด็กชาวบ้าน เรื่องมะม่วงกับเจ้าของโรงหีบอ้อย เรื่องชายบอดกับคนเปลี้ย เรื่องการรับอารมณ์โดยอุปนิสัยปัจจัยเป็นประโยชน์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/91/21 76/84/19 |
37 | จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย 4 เกิดขึ้น คือ เพราะจักขุประสาทยังไม่แตกดับ, รูปมาสู่คลอง , อาศัยแสงสว่าง , อาศัยมนสิการเป็นเหตุ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/96/16 76/89/10 |
38 | ภวังคจิตนั้นแตกดับแล้วก็ดี หรือมีกำลังอ่อนไม่สามารถเป็นปัจจัย แก่อาวัชชนจิตให้เป็นไปก็ดี ชื่อว่า แตกดับ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/99/17 76/92/3 |
39 | วิบากจิต ในวาทะของพระเถระต่างๆ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/100/17 76/93/2 |
40 | [๔๑๗-๔๒๑] สภาวธรรมอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.(รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก) 76/107/7 76/100/6 |
41 | กามาวจรกุศล ย่อมให้วิบากในกาลบางครั้งบางคราวก็ได้ ส่วนรูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลย่อมให้วิบากเฉพาะอัตภาพในภพที่สองทีเดียว โดยไม่มีอันตราย.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 76/111/4 76/103/23 |
42 | [๔๒๒-๔๒๖] สภาวธรรมอันเป็นวิบากเพราะกุศล ฌานเป็นโลกุตระ ชนิดสุญญตะ, ชนิดอนิมิตตะ , ชนิดอัปปณิหิตะ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น อันได้กระทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้น ด้วยปฏิปทา 4 นี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (โลกุตตรวิบาก) 76/112/5 76/105/5 |
43 | [๔๗๑] อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? (โลกุตตรวิบาก) 76/139/19 76/131/22 |
44 | มรรคย่อมได้ชื่อ เพราะเหตุ 3 คือ เพราะการบรรลุ เพราะคุณของตน เพราะอารมณ์(อ.แสดงโลกุตตรวิบาก) 76/141/4 76/133/1 |
45 | เปรียบโลกุตรกุศล ยังวิบากให้เป็นอธิบดี ด้วยการดับไฟกองใหญ่แล้ว แต่ความร้อนยังไม่สงบลงทันที (อ.แสดงโลกุตตรวิบาก) 76/143/5 76/134/23 |
46 | อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ คือ โสดาปัตติมรรค , อัญญินทรีย์ คือ ผลเบื้องต่ำ 3มรรคเบื้องบน 3 อัญญาตาวินทรีย์ คือ อรหัตผล (อ.แสดงโลกุตตรวิบาก) 76/144/9 76/135/23 |
47 | [๔๗๒-๔๗๕] จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูป เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯเพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด ผัสสะ ...หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต(อกุศลวิบากอัพยากฤต) 76/145/8 76/136/18 |
48 | [๔๗๖-๔๗๘] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ มโนธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นต้น เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วฯลฯ. ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (อกุศลวิบากอัพยากฤต) 76/147/7 76/138/14 |
49 | [๔๗๙-๔๘๑] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นต้น เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่ง-สมไว้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (อกุศลวิบากอัพยากฤต) 76/148/2 76/139/5 |
50 | ในอกุศลวิบากนี้ เมื่ออกุศลจิต 11 อย่าง ประกอบกรรมไว้แล้ว ก็ทำกรรมนิมิต และคตินิมิตทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นอารมณ์แล้ว ย่อมให้ผลในฐานะทั้ง 5 อย่าง (อ.อกุศลวิบาก) 76/149/15 76/140/14 |
51 | [๔๘๒-๔๘๔] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นต้น ฯลฯ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. (กามาวจรกิริยา) 76/150/7 76/141/4 |
52 | [๔๘๕-๔๘๘] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นต้น ฯลฯชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (กามาวจรกิริยา) 76/151/6 76/141/21 |
53 | [๔๘๙-๔๙๑] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นต้น ฯลฯชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (กามาวจรกิริยา) 76/152/19 76/143/9 |
54 | [๔๙๒-๔๙๓] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นต้น ฯลฯ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (กามาวจรกิริยา) 76/153/14 76/144/3 |
55 | กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ เหมือนดอกไม้ที่ต้นมีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น เพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้นๆ ให้สำเร็จ .(อ.แสดงกิริยาอัพยากฤต) 76/154/13 76/145/6 |
56 | มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตนี้ ย่อมเกิดก่อนทุกดวงในปวัตติกาล ในวิถีแห่ง ทวารทั้ง 5.(อ.แสดงกิริยาอัพยากฤต) 76/155/18 76/146/2 |
57 | มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส นี้เป็นจิตเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมได้ในทวาร 6.(อ.แสดงกิริยาอัพยากฤต) 76/156/6 76/146/12 |
58 | มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา จิตดวงนี้ ทั่วไปแก่สัตว์ผู้มีจิตทุกจำพวกในภพทั้ง 3 แต่ว่า เมื่อเกิดในทวาร 5 ย่อมทำหน้าที่ตัดสิน (โวฏฐัพพนกิจ) เกิดในมโนทวารย่อมทำหน้าที่ รำพึงถึงอารมณ์ (อาวัชชนกิจ) (อ.แสดงกิริยาอัพยากฤต) 76/157/17 76/148/3 |
59 | [๔๙๔-๔๙๕] พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (รูปาวจรกิริยา) 76/159/5 76/149/14 |
60 | [๔๙๖-๕๐๐] พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (อรูปาวจรกิริยา) 76/160/2 76/150/7 |
61 | สมาบัติที่พระขีณาสพให้เกิดขึ้น ในเวลายังเป็นปุถุชนมีอยู่ ตราบใดที่ยังไม่เข้าสมาบัติอันนั้น สมาบัตินั้นก็เป็นกุศลนั้นแหละ เมื่อท่านเข้าสมาบัตินั้นแล้ว สมาบัตินั้นก็เป็นกิริยา แต่สมาบัติที่พระขีณาสพนั้นให้บังเกิดขึ้นในเวลาที่ท่านเป็นพระขีณาสพแล้ว สมาบัตินั้นย่อมเป็นกิริยาเท่านั้น. (อ.แสดงรูปาวจรอรูปาวจรกิริยา) 76/161/17 76/151/22 |
62 | [๕๐๑] วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปา-วจร เป็นโลกุตระ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์อนึ่ง ธรรมเหล่าใด เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมดและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต (รูปกัณฑ์) 76/163/3 76/153/4 |
63 | [๕๐๒-๕๐๓] รูปทั้งหมด ได้แก่ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 คือ ไม่ใช่เหตุ ไม่มีเหตุ ฯลฯ ไม่เที่ยงอันชราครอบงำแล้ว (รูปกัณฑ์) 76/163/8 76/153/9 |
64 | [๕๐๗] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 5 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุและรูปที่เป็นอุปาทา (รูปกัณฑ์) 76/175/2 76/163/11 |
65 | [๕๐๙] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ , รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ , รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ , รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ , รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ , รูปอันมโนธาตุพึงรู้ ,รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้. สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 7 อย่างนี้ (รูปกัณฑ์) 76/175/14 76/164/2 |
66 | [๕๑๓] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 11 คือ จักขายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ,ชิวหายตนะ , กายายตนะ , รูปายตนะ , สัททายตนะ , คันธายตนะ , รสายตนะ ,โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ.(รูปกัณฑ์) 76/177/2 76/165/11 |
67 | รูป เรียกว่า มหาภูตะ ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ ปรากฏเป็นของใหญ่, เหมือนมหาภูตคือ นักเล่นกล เป็นต้น , เพราะต้องบำรุงรักษามาก , เพราะวิการ (เปลี่ยนแปลง)ใหญ่ , เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่ (อ.รูปกัณฑ์) 76/179/17 76/168/6 |
68 | องค์ประกอบของจักรวาล (อ.รูปกัณฑ์) 76/180/7 76/168/18 |
69 | รูป ชื่อว่า มหาภูต เพราะเหมือนนางยักษิณี ปกปิดความน่ากลัว ย่อมล่อลวงคนเขลา.(อ.รูปกัณฑ์) 76/184/4 76/171/8 |
70 | ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยลมกำเริบ ในคราวนั้น ลมย่อมยังแสนโกฏิจักรวาลให้กระจัดกระจายไปเป็นอันเดียวกัน (อ.รูปกัณฑ์) 76/185/7 76/172/7 |
71 | [๕๑๔] ความเป็นจริงของรูปทั้งหมด (รูปวิภัตติ) 76/191/8 76/177/8 |
72 | [๕๑๕-๕๓๘] รูปที่เป็นอุปาทานนั้น คือ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตารูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร (รูปวิภัตติ) 76/192/12 76/182/13 |
73 | ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น เหตุมี 4 อย่าง คือ เหตุที่เป็นมูล เหตุที่เป็นปัจจัย เหตุที่เป็นประธาน เหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์ (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/211/5 76/178/22 |
74 | สังคหสงเคราะห์ มี 4 อย่าง คือ ชาติสงเคราะห์ สัญชาติสงเคราะห์ กิริยาสงเคราะห์ และคณนสงเคราะห์ (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/213/14 76/181/6 |
75 | จักษุมี 2 อย่าง คือ มังสจักษุ และปัญญาจักษุ (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/215/11 76/231/16 |
76 | ประสาทรูปต่างกัน เพราะว่าความต่างกันแห่งกรรม (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/227/12 76/242/9 |
77 | วิมานของจันทเทพบุตร ยาวและกว้าง 49 โยชน์ สำเร็จด้วยแก้วมณีปิดบังไว้ด้วยเงิน ชื่อว่า ดวงจันทร์ วิมานของสุริยเทพบุตร ยาวและกว้าง 50 โยชน์ สำเร็จด้วยทองปิดบังไว้ด้วยแก้วผลึก ชื่อว่า ดวงอาทิตย์ (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/234/23 76/249/9 |
78 | น้ำผึ้งผสมกับรสฝาดเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสฝาด น้ำอ้อยผสมกับรสขื่นเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสขื่น แต่เนยใส เก็บไว้นานแม้ละสี และกลิ่นแต่ก็ไม่ละรส เพราะฉะนั้น เนยใส ชื่อว่า หวานโดยส่วนเดียว (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/239/8 76/253/15 |
79 | อิตถินทรีย์ ไม่พึงรู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณเท่านั้น.(อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/241/18 76/255/19 |
80 | เพศชายเป็นอุดมเพศ เพศหญิงเป็นหีนเพศฉะนั้น เพศชายย่อมอันตรธานไปเพราะอกุศลมีกำลัง เพศหญิงย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศลที่ทุรพล (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/243/7 76/257/3 |
81 | อิตถีอุภโตพยัญชนกะ แม้ตนเองก็ตั้งครรภ์ได้ ทำผู้อื่นให้ตั้งครรภ์ก็ได้ ส่วน ปุริส-อุภโตพยัญชนกะย่อมทำผู้อื่นให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ตนเองตั้งครรภ์ไม่ได้.(อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/244/9 76/258/5 |
82 | สภาวะที่ชื่อว่า วิญญัติ เพราะอรรถว่า ความที่คนหรือสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งหลาย ให้รู้ภาวะของตนด้วยกาย แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ความหมายของคนได้ แม้คนก็รู้ความหมายของสัตว์ได้ด้วยสภาวธรรมที่ถือเอานี้ โดยทำนองแห่งการถือเอากาย. 76/245/5 76/258/21 |
83 | ชรา 2 อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ ชราที่ปกปิด (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/255/6 76/268/7 |
84 | อาหารที่เป็นวัตถุย่อมนำอันตรายออกแต่ไม่อาจเพื่อรักษาร่างกาย อาหารที่เป็นโอชาย่อมรักษาร่างกาย แต่ไม่อาจเพื่อนำอันตรายออกไป (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/259/8 76/271/21 |
85 | ในวัตถุหยาบมีโอชาน้อย ในวัตถุละเอียดมีโอชาแรง (อ.แสดงรูปวิภัตติ) 76/260/10 76/272/20 |
86 | [๕๔๐] รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะนั้นเป็นไฉน ? (รูปกัณฑ์ทุกนิเทศ) 76/262/4 76/199/13 |
87 | [๕๔๑] ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ (รูปกัณฑ์ทุกนิเทศ) 76/263/15 76/200/23 |
88 | [๕๔๙] รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน ? (รูปกัณฑ์ทุกนิเทศ) 76/265/19 76/203/1 |
89 | [๕๗๕] รูปเป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ? (รูปกัณฑ์ทุกนิเทศ) 76/272/15 76/209/2 |
90 | เมื่อหย่อนมือลงในน้ำร้อนทดลองดู ในน้ำร้อนนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ วาโยธาตุ ถึงอย่างนั้นเขาก็ย่อมคำนึงถึงเตโชธาตุเท่านั้น (อ.รูปกัณฑ์) 76/300/1 76/276/25 |
91 | จิตก้าวไปจากอารมณ์ได้ด้วยอาการ 2 อย่าง คือ โดยความปรารถนา หรือโดยอารมณ์มีกำลังแรง (อ.รูปกัณฑ์) 76/301/4 76/277/25 |
92 | อาโปธาตุควบคุมวัตถุทั้งหลายมีแท่งเหล็ก เป็นต้น ไว้แล้วย่อมทำให้ติดกัน แม้ในแผ่นหิน ภูเขา ต้นตาล หน่อไม้ งาช้าง เป็นต้น ก็มีอาโปธาตุเท่านั้นเกาะกุมวัตถุเหล่านั้นให้ติดกัน. (อ.รูปกัณฑ์) 76/302/2 76/278/19 |
93 | ดูก่อนอานนท์ ก็มหาภูตรูป 4 คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ จะพึงแปรเป็นอื่นไปได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจะแปรเป็นอื่นไป ข้อนี้ไม่พึงมีได้เลย (อ.รูปกัณฑ์) 76/303/22 76/280/7 |
94 | รูปทั้ง 2 นี้ คือ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ย่อมปรากฏเพราะอาศัยภูตรูป (อ.รูปกัณฑ์) 76/305/14 76/281/18 |
95 | [๖๕๖] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เป็นไฉน ? (รูปกัณฑ์ ปัญจกนิเทศ) 76/320/14 76/295/8 |
96 | รูปทั้งหมดทีเดียวว่าโดยการประมวลมา นับได้ 25 คือ จักขายตนะ ฯลฯ อาโปธาตุรวมกับรูป คือ หทัยวัตถุ พึงทราบว่ามี 26 ชื่อว่า รูปอื่นจากนี้มิได้มี (อ.รูปกัณฑ์) 76/329/6 76/303/3 |
97 | [๖๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ? (นิกเขปกัณฑ์) 76/336/3 76/309/4 |
98 | [๖๖๕] วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจรโลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันณ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก (นิกเขปกัณฑ์) 76/337/10 76/310/12 |
99 | [๖๗๐-๖๗๔] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส (นิกเขปกัณฑ์) 76/340/13 76/313/3 |
100 | [๖๗๖] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ (นิกเขปกัณฑ์) 76/344/6 76/316/13 |
101 | [๖๗๘] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ (นิกเขปกัณฑ์) 76/345/10 76/317/13 |
102 | [๖๘๑] อนันตริยกรรม 5 และนิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะ และให้ผลแน่นอน (นิกเขปกัณฑ์) 76/346/19 76/318/19 |
103 | แม้ว่ารูปธรรมทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานยังมีอยู่เหมือนอรูปธรรม ก็จริง ถึงอย่างนั้น. รูปธรรมก็ไม่เหมือนกับกรรม เพราะความที่รูปธรรมเหล่านั้น ไม่มีอารมณ์ เพราะฉะนั้น อรูปธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้น ตรัสเรียกว่า วิบาก (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/357/21 76/328/12 |
104 | ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ย่อมยังกิเลสมากให้เกิด (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/360/20 76/331/10 |
105 | " บุคคลใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญาเป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้ภักดีมั่นคงย่อมทำกิจโดยเคารพแก่บุคคลผู้มีทุกข์ บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ" (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/362/17 76/332/22 |
106 | เรื่องการไม่เห็นพระอริยะ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/363/15 76/333/13 |
107 | วินัยมี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย และปหานวินัย. (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/364/18 76/334/11 |
108 | อธิบาย คำว่า ย่อมเห็นรูปเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป.(อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/368/9 76/337/17 |
109 | เมื่อสร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ สร้างวิหารด้วยแก้วเท่าเขาจักรวาล ถวายปัจจัย 4 แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่งเต็มวิหารนั้นตลอดชีวิต ก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนันตริยกรรมนั้นได้ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/377/4 76/345/21 |
110 | พระอริยสาวกเมื่อพิจารณามรรคของผู้อื่นด้วยเจโตปริยญาณ แม้กระทำให้หนักก็กระทำให้หนักเหมือนมรรคอันตนแทงตลอดแล้วไม่ได้ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/378/6 76/346/20 |
111 | ชื่อว่า สัญชาติ (เกิดพร้อมแล้ว) เพราะเกิดขึ้นด้วยการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลาย (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/379/2 76/347/18 |
112 | อนันตริยกรรม 5 สมาบัติ 8 อริยมรรค 4 ชื่อว่า กรรมมีวิบากที่แน่นอน (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/380/13 76/349/4 |
113 | [๖๘๙-๖๙๔] ธรรมเป็นเหตุ คือ กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 อัพยากตเหตุ 3 กามาวจรเหตุ 9 รูปาวจรเหตุ 6 อรูปาวจรเหตุ 6 โลกุตรเหตุ 6 ; รูปาวจรเหตุ 6 คือ กุศลเหตุ 3 อัพยากตเหตุ 3 (เหตุโคจฉกะ) 76/383/2 76/352/4 |
114 | [๗๐๑] ขันธ์ 5 ชื่อว่า ธรรมมีปัจจัย , อสังขตธาตุ ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย.(จูฬันตรทุกะ) 76/391/2 76/370/3 |
115 | [๗๐๖] มรรค และผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกุตระ (จูฬันตรทุกะ) 76/392/11 76/371/7 |
116 | ตัณหาชื่อว่า วิสัตติกา เพราะอรรถว่า ซึมซาบไป กระสับกระส่าย หลอกลวงมีรากเป็นพิษ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/398/11 76/362/16 |
117 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตัดป่า(คือกิเลสมีราคะ เป็นต้น) อย่าตัดต้นไม้,ภัย (มีความเกิด เป็นต้น) ย่อมเกิดแต่ป่า คือ กิเลส เธอทั้งหลายครั้นตัดป่า (คือ กิเลสอันเกิดขึ้นก่อน) และหมู่ไม้ในป่า (คือ กิเลสที่เกิดภายหลัง) แล้วจักเป็นผู้ไม่มีป่า คือ ตัณหา" (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/400/7 76/364/3 |
118 | ตัณหาที่ชื่อว่า อาสา (การหวัง) เพราะการหวังอารมณ์ทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะครอบงำและเพราะการบริโภคไม่รู้จักอิ่ม (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/401/11 76/364/23 |
119 | ตัณหาที่ชื่อว่า ชปฺปา (ธรรมชาติผู้กระซิบ) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้พูดอุบอิบอย่างนี้ว่า นี่ของฉัน นี่ของฉัน หรือว่า สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/402/3 76/365/10 |
120 | ชื่อว่า ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่ง) ด้วยอำนาจความหงุดหงิด (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/405/20 76/368/22 |
121 | ธรรมที่เป็นเหตุ ย่อมเป็นเหตุอย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน 3 เหตุ หรือ 2 เหตุ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/406/22 76/369/22 |
122 | [๗๐๘-๗๑๒] อาสวะ 4 คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.(อาสวโคจฉกะ) 76/409/11 76/375/11 |
123 | [๗๑๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะ (อาสวโคจฉกะ) 76/412/4 76/377/19 |
124 | ฉันทราคะ ย่อมเกิดขึ้นในวิมาน ต้นกัลปพฤกษ์และอาภรณ์ของพรหม ไม่เป็น กามาสวะ เพราะราคะอันเป็นกามคุณ 5 ท่านละได้แล้วในโลกนี้แหละ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/416/20 76/382/6 |
125 | โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐาสวะ อนาคามิมรรคย่อมละกามาสวะ อรหัตมรรคย่อมละภวาสวะและอวิชชาสวะ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/417/8 76/382/16 |
126 | [๗๑๙-๗๒๙] สัญโญชน์ 10 คือ กามราคสัญโญชน์ ฯลฯ อวิชชาสัญโญชน์. (สัญโญชนโคจฉกะ) 76/417/14 76/383/3 |
127 | [๗๓๕] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ (สัญโญชนโคจฉกะ) 76/424/9 76/388/26 |
128 | การริษยาใดที่มีลักษณะติเตียนในสมบัติของผู้อื่น ในสิ่งทั้งหลายมีลาภเป็นต้นของชนเหล่าอื่นนั้นว่า ลาภเป็นต้นเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไรแก่คนพวกนี้.(อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/427/1 76/391/8 |
129 | ความตระหนี่ 5 คือ ตระหนี่อาวาส ตระกูล ลาภ วรรณะ ธรรม (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/428/11 76/392/12 |
130 | บุคคลใดใคร่ครวญถึงบุคคล หรือใคร่ครวญธรรมด้วยการประคองธรรมไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล ภิกษุนี้ไม่ชื่อว่า ตระหนี่ธรรม (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/430/3 76/394/1 |
131 | ตระหนี่อาวาส ย่อมเกิดเป็นยักษ์ เปรต ตกโลหะกุมภี , ตระหนี่ลาภ ย่อมเกิดเป็นเปรต งูเหลือม เกิดในคูถนรก , ตระหนี่ธรรม ย่อมเป็นบ้า เกิดในกุกกุลนรก.(อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/430/15 76/394/14 |
132 | ทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสา มัจฉริยะ อันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ,กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ อันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ , มานะ ภวราคะและอวิชชา อรหัตมรรคย่อมประหาณ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/433/1 76/396/15 |
133 | [๗๓๖] คันถะ (กิเลสที่ร้อยรัดใจสัตว์) 4 มี อภิชฌากายคันถะ เป็นต้น.(คันถโคจฉกะ) 76/433/11 76/397/3 |
134 | กายคัณฐะ เพราะอรรถว่า ย่อมผูกนามกาย คือ ย่อมยังนามกายให้สืบต่อในวัฏฏะด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/439/7 76/402/9 |
135 | [๗๔๘-๗๕๔] นิวรณ์ 6 มี กามฉันทนิวรณ์ เป็นต้น (นีวรณโคจฉกะ) 76/440/6 76/403/6 |
136 | [๗๖๖] เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์ , รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์ (มหันตรทุกะ) 76/449/7 76/411/2 |
137 | [๗๖๗] ธรรมเป็นจิต คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-วิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (มหันตรทุกะ) 76/449/13 76/411/8 |
138 | [๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (มหันตรทุกะ) 76/449/19 76/411/15 |
139 | [๗๖๙] รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากจิต , ส่วนจิตจะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้ (มหันตรทุกะ) 76/450/8 76/411/24 |
140 | [๗๗๑] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน (มหันตรทุกะ) 76/450/18 76/412/10 |
141 | การก้าวลงสู่ภวังค์ของพระอรหันต์ ย่อมมีด้วยความทุรพล แห่งร่างกาย เมื่อภวังค์นั้นไม่ระคนด้วยอารมณ์อื่น พระอรหันต์ย่อมหลับ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/455/22 76/416/17 |
142 | พระอรหันต์ เดินทางไกล หรือทำการงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ร่างกายย่อมอ่อน-เพลีย (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/456/8 76/416/25 |
143 | นามกาย ชื่อว่า กาย , ความหาวนอน และความโงกง่วงเป็นผลของ มิทธะ.(อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/457/4 76/417/18 |
144 | โทษในการดื่มสุรา และเมรัย ที่เห็นในปัจจุบันมี 6 อย่าง คือ เสียทรัพย์ ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นบ่อเกิดของโรค ทำให้เสียชื่อเสียง ทำให้ไม่รู้จักอาย บั่นทอนปัญญา (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/458/11 76/418/24 |
145 | กุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค , กามฉันทะและพยาบาทย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค ถีนมิทธะ อุทธัจจะ และอวิชชาย่อมละได้ด้วยอรหัตมรรค (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/466/9 76/425/19 |
146 | [๗๘๐-๗๘๔] อุปาทาน 4 คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทานอัตตวาทุปาทาน (อุปาทานโคจฉกะ) 76/467/3 76/426/7 |
147 | อุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่น (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/471/15 76/430/7 |
148 | [๗๙๑-๘๐๑] กิเลสวัตถุ 10 คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉาถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ (กิเลสโคจฉกะ) 76/474/10 76/433/3 |
149 | กิเลสเท่านั้น ชื่อว่า กิเลสวัตถุ ที่ชื่อว่า วัตถุ เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้มีอาสวะยังไม่สิ้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกิเลสมีโลภะ เป็นต้น.(อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/484/21 76/442/2 |
150 | โลภะอันมรรคทั้ง 4 ย่อมประหาณ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ โมหะและมานะ อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิและวิจิกิจฉา โสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ. ถีนะเป็นต้น อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/485/21 76/443/1 |
151 | [๘๒๘] ธรรมเป็นกามาวจร ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่าง อเวจีนรก ถึงเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ปิฏฐิทุกะ) 76/492/20 76/448/25 |
152 | [๘๒๙] ธรรมเป็นรูปาวจร ได้แก่ จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ(กุศลฌาน) หรือของท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรม-สุขวิหาร (กิริยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวนับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างพรหมโลก ถึงเทพชั้นอกนิษฐ์ (ปิฏฐิทุกะ) 76/493/5 76/449/7 |
153 | [๘๓๐] ธรรมเป็นอรูปาวจร ได้แก่ จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ(กุศลฌาน) หรือของท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (กิริยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างอากาสานัญ-จายตนภูมิ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ปิฏฐิทุกะ) 76/493/14 76/449/16 |
154 | [๘๓๒] มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ ชื่อว่า นิยยานิกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์) (ปิฏฐิทุกะ) 76/494/9 76/450/7 |
155 | [๘๓๓] อนันตริยกรรม 5 นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ ชื่อว่า ธรรมที่ให้ผลแน่นอน (ปิฏฐิทุกะ) 76/494/17 76/450/17 |
156 | อเวจีนรก เพราะว่า ในนรกนี้ ไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งเปลวไฟทั้งหลาย ที่ ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่า ในที่นี้ไม่มีความเจริญกล่าว คือ ความสุข (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/495/22 76/452/4 |
157 | [๘๔๒] นิรุตติธรรม ได้แก่ การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนามการตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ .(นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ) 76/499/15 76/456/12 |
158 | [๘๔๔] เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุนี้เรียกว่า นามธรรม มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นั้น เรียกว่า รูปธรรม.(นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ) 76/500/3 76/456/22 |
159 | [๘๖๓] ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน ? (นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ) 76/508/6 76/463/15 |
160 | [๘๖๕] สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่าสติ (นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ) 76/509/2 76/464/25 |
161 | [๘๗๐] ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทางกายและวาจา อันใด นี้เรียกว่า สีลวิบัติ , ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด จัดเป็นสีลวิบัติ (นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ) 76/510/10 76/466/4 |
162 | นาม 4 อย่าง คือ สามัญนาม (ชื่อทั่วไป) คุณนาม (ชื่อโคยคุณ) กิตติมนาม (ชื่อโดยการยกย่อง) อุปปาติกนาม (ชื่อตามที่เกิดขึ้น) (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/517/1 76/472/7 |
163 | ที่ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าเป็นนามกรณะ (การให้ชื่อ) ด้วยอรรถว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ และด้วยอรรถว่าการยังอารมณ์ให้น้อมลงในตน (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/519/9 76/474/3 |
164 | ช่องของโลกสันนิวาส มี 2 เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร ย่อมอุดช่องทั้ง 2 นั้น ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธรรมปฏิสันถาร (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/529/19 76/483/9 |
165 | ในขณะแห่งชวนจิต ความเป็นผู้ทุศีลบ้าง ความหลงลืมสติบ้าง ความไม่รู้บ้างความไม่อดทนบ้าง ความเกียจคร้านบ้าง ย่อมเกิดขึ้น อสังวรย่อมมี.(อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/534/3 76/487/3 |
166 | ภิกษุไม่บริโภคอาหาร 4-5 คำ แล้วพึงดื่มน้ำแทน การบริโภคอย่างนั้น สมควรเพื่ออยู่เป็นผาสุกของภิกษุผู้มีจิตเป็นไปในกรรมฐาน (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/540/7 76/492/17 |
167 | องค์แห่งพิจารณาในการบริโภคอาหารของภิกษุ (อ.นิกเขปกัณฑ์) 76/540/13 76/492/20 |
168 | [๘๗๘] กุศลในภูมิ 4 ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล 12 ดวงชื่อว่าธรรมเป็นอกุศล , วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน ชื่อว่าธรรมเป็น อัพยากฤต (อัตถุทธารกัณฑ์) 76/549/4 76/501/4 |
169 | [๘๘๗] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ ได้แก่ กุศลในภูมิ 3 และอกุศล, ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ได้แก่ วิบากในภูมิ 4 กิริยา-อัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน (อัตถุทธารกัณฑ์) 76/555/8 76/506/15 |
170 | [๘๙๔] นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็ไม่ได้ (อัตถุทธารกัณฑ์) 76/559/19 76/510/13 |
171 | ธรรมดาพระอภิธรรมไม่ใช่เป็นวิสัยของพระสาวก ไม่ใช่เป็นโคจรของพระสาวกเป็นพุทธวิสัย เป็นโคจรของพระพุทธเจ้า (อัฏฐกถากันฑวรรณนา) 76/562/20 76/513/15 |
172 | จตุตถฌาน 12 อย่าง (อัฏฐกถากันฑวรรณนา) 76/567/11 76/517/22 |
173 | ปัจจุบัน นี้มี 3 อย่าง คือ ขณปัจจุบัน สันตติปัจจุบัน อัทธาปัจจุบัน.(อัฏฐกถากันฑวรรณนา) 76/578/2 76/527/4 |
174 | แม้เจโตปริยญาณจะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึงอย่างนั้น เจโตปริยญาณนั้นก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน 7 วัน เท่านั้นให้เป็นอารมณ์ อนาคตตังสญาณนี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง,ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง, ธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์บ้าง, ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้.(อัฏฐกถากันฑวรรณนา) 76/582/6 76/530/14 |
175 | [๙๐๐] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ? (อัตถุทธารกัณฑ์) 76/589/13 76/537/3 |
176 | [๙๑๔] กุศลในภูมิ 3, อกุศล วิบากในภูมิ 3, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ (อาสวโคจฉกะ) 76/595/9 76/542/6 |
177 | [๙๘๐-๙๘๒] กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม (ปิฏิฐิทุกะ) 76/624/5 76/568/9 |