1 | [๑] แม่บทหมวด 3 ทั้งหมด 22 หมวด มีธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นอกุศล ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นเบื้องต้น... มีธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นที่สุด (ติกมาติกา) 75/1/775/1/7 75/1/9 |
2 | พระพุทธมารดา ไปเกิดเป็นสันดุสิตเทพบุตร (อารัมภกถา) 75/8/275/8/2 75/8/14 |
3 | ชื่อว่า อภิธรรมเพราะอรรถว่า เป็นธรรมอันยิ่ง และวิเศษ (นิทานกถา) 75/10/1375/10/13 75/10/10 |
4 | พระอภิธรรมนี้ ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจปกรณ์ 7 คือ ธรรมสังคณีปกรณ์, วิภังคปกรณ์ธาตุกถาปกรณ์, ปุคคลบัญญัติปกรณ์, กถาวัตถุปกรณ์, ยมกปกรณ์, ปัฏฐานปกรณ์ .(นิทานกถา) 75/12/1275/12/12 75/12/2 |
5 | เมื่อพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว 218 ปี พระโมคคัลลีบุตรติสสะ จะจำแนก กถา-วัตถุปกรณ์ ตามแม่บทที่พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้ ดังนั้น ปกรณ์นี้ จึงชื่อว่าเป็น พุทธภาษิต เหมือนกัน. (นิทานกถา) 75/15/1275/15/12 75/15/5 |
6 | ในปกรณ์ธรรมสังคณี มีการจำแนกไว้ 4 คือ การจำแนกจิต การจำแนกรูป การจำแนกกองธรรมที่ตั้งไว้ การยกอรรถขึ้นแสดง, จิตนั้นเมื่อว่าโดยพิสดารก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ. (นิทานกถา) 75/17/1875/17/18 75/17/9 |
7 | วิภังคปกรณ์ นั้นพระพุทธเจ้าทรงจำแนกธรรม 18 อย่าง มีขันธวิภังค์ เป็นเบื้องต้นมีธรรมหทยวิภังค์ เป็นที่สุด วิภังคปกรณ์นี้ เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ (นิทานกถา) 75/20/1275/20/12 75/19/19 |
8 | ธาตุกถาปกรณ์ ทรงจำแนก 14 อย่าง มีธรรมสงเคราะห์ได้ ธรรมสงเคราะห์ไม่ได้เป็นเบื้องต้น. มีธรรมที่สงเคราะห์กันได้ ธรรมที่สงเคราะห์กันไม่ได้ ด้วยธรรมที่วิปปยุตกัน. เป็นที่สุด. ธาตุกถาปกรณ์นั้น เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ (นิทานกถา) 75/22/1075/22/10 75/21/14 |
9 | ปุคคลบัญญัติ ปกรณ์ นั้น จำแนกไว้ 6 อย่าง , ยมกปกรณ์ ทรงจำแนกไว้ 10 อย่าง.(นิทานกถา) 75/24/875/24/8 75/22/13 |
10 | มหาปกรณ์นั้น เบื้องต้นทรงจำแนกไว้ 24 อย่าง ด้วยอำนาจปัจจัย มีเหตุเป็นปัจจัยเป็นเบื้องต้น มีอวิคตปัจจัยเป็นที่สุด (นิทานกถา) 75/25/1775/25/17 75/24/2 |
11 | ธรรมนี้ คือ ติกะ 22 (หมวด 3, 22 หมวด) ทุกะ 100 (หมวด 2 , 100 หมวด) ชื่อว่ามาติกาแห่งปกรณ์ทั้ง 7 เป็นพุทธพจน์อันพระชินเจ้าตรัสภาษิตไว้ (นิทานกถา) 75/27/675/27/6 75/25/11 |
12 | สาคร (ทะเล) 4 คือ สงสาร น้ำมหาสมุทร นัย พระญาณ (นิทานกถา) 75/29/1475/29/14 75/27/14 |
13 | การบัญญัติสิกขาบท ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น. (นิทานกถา) 75/31/175/31/1 75/28/22 |
14 | ในสัปดาห์ที่ 4 หลังการตรัสรู้ ทรงพิจารณาธรรมอันละเดียดสุขุม ในอภิธรรม เมื่อก้าวลงสู่มหาปกรณ์ พระรัศมีย่อมซ่านออกจากพระสรีระ แล่นไปสู่โลกธาตุทั้งหลายอันหาที่สุดมิได้ (นิทานกถา) 75/33/1075/33/10 75/31/1 |
15 | สมัยที่พระศาสดาจำพรรษาอยู่ดาวดึงส์ ได้มาบิณฑบาตที่อุตตรกุรุทวีป แล้วตรัสบอกนัยที่พระองค์ แสดงอภิธรรมแก่พระสารีบุตร (นิทานกถา) 75/38/775/38/7 75/35/4 |
16 | ในกาลแห่งพระกัสสปทศพล ค้างคาว 500 ได้ฟังภิกษุ 2 รูป สาธยาย พระอภิธรรมอยู่ ก็ถือเอานิมิตในเสียง ตายไปเกิดในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง (นิทานกถา) 75/39/1975/39/19 75/36/12 |
17 | วินัย เพราะมีนัยต่างๆ , มีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา (นิทานกถา) 75/43/875/43/8 75/39/3 |
18 | เรียกว่า พระสูตร เพราะการแสดงถึงประโยชน์ เพราะเป็นดำรัสอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเป็นที่ต้านทานอย่างดี (นิทานกถา) 75/44/275/44/2 75/39/20 |
19 | พระอภิธรรม เพราะเหตุที่ในอภิธรรมปิฎกนี้ พระพุทธเจ้าตรัสธรรมที่มีความเจริญที่ควรกำหนด , ที่ควรบูชา , ที่กำหนดไว้ , และเป็นที่ยิ่ง (นิทานกถา) 75/45/475/45/4 75/40/22 |
20 | ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่า เป็นปริยัติ และภาชนะ (เครื่องรองรับ) (นิทานกถา) 75/46/1675/46/16 75/42/6 |
21 | คัมภีรภาพ (ความลึกซึ้ง) 4 อย่าง คือ โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนาและโดยปฏิเวธ. ในปิฎกทั้ง 3 นั้น ลึกซึ้ง สัตว์ทั้งกลายผู้มีปัญญาน้อยหยั่งลงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันสัตว์เล็กๆ มีกระต่าย เป็นต้น หยั่งให้ถึงได้โดยยาก.(นิทานกถา) 75/50/275/50/2 75/45/13 |
22 | ปริยัติ 3 คือ ปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษร้าย , เพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก , เปรียบด้วยขุนคลัง (นิทานกถา) 75/52/275/52/2 75/47/6 |
23 | ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว ในพระวินัย ย่อมบรรลุวิชชา 3 , ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระสูตรย่อมบรรลุอภิญญา 6 , ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระอภิธรรมย่อมบรรลุ ปฏิสัมภิทา 4.(นิทานกถา) 75/53/1575/53/15 75/48/18 |
24 | ภิกษุปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความเป็นผู้ทุศีลความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิต. (นิทานกถา) 75/54/1975/54/19 75/49/21 |
25 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นนิกายอื่นแม้สักอย่างหนึ่งที่วิจิตร เหมือนพวกสัตว์ดิรัจฉานนี้ คือ นิกายของสัตว์เล็กๆ ที่รวมกันอยู่ , นิกายของสัตว์ที่อยู่ตามโคลนตม (นิทานกถา) 75/56/675/56/6 75/51/5 |
26 | พระพุทธพจน์ มี 9 ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ (นิทานกถา) 75/57/1775/57/17 75/52/14 |
27 | พระพุทธพจน์ 84,000 พระธรรมขันธ์ เป็นไฉน ? (นิทานกถา) 75/58/1975/58/19 75/53/14 |
28 | บุคคลผู้คัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ทำลายชินจักร (นิทานกถา) 75/63/975/63/9 75/58/2 |
29 | พระอภิธรรมนี้ เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ใช่วิสัยของคนเหล่าอื่น (นิทานกถา) 75/64/175/64/1 75/58/15 |
30 | โทษแห่งที่จงกรมมี 5 อย่าง (นิทานกถา) 75/75/1275/75/12 75/67/17 |
31 | ความสุขของสมณะ 8 อย่าง (นิทานกถา) 75/76/1975/76/19 75/69/2 |
32 | โคนต้นไม้มีคุณ 10 อย่าง (นิทานกถา) 75/83/275/83/2 75/74/15 |
33 | นิมิตที่ปรากฏว่าสุเมธดาบส จะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ (นิทานกถา) 75/91/275/91/2 75/80/11 |
34 | พุทธการกธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) 10 ประการ (นิทานกถา) 75/96/875/96/8 75/84/2 |
35 | พระพุทธเจ้า 24 พระองค์ที่พยากรณ์ พระโพธิสัตว์ของเราว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า.(นิทานกถา) 75/106/1975/106/19 75/91/2 |
36 | ผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมสำเร็จด้วยประมวลธรรม 8 ประการ.(นิทานกถา) 75/136/975/136/9 75/117/13 |
37 | อานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ผู้ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว (นิทานกถา) 75/137/375/137/3 75/118/12 |
38 | ปรมัตถ์บารมีที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญมา (นิทานกถา) 75/138/1475/138/14 75/119/13 |
39 | พระโพธิสัตว์ทรงเสวยสมบัติอยู่ชั้นดุสิต 576 ล้านปี โดยการนับปีมนุษย์ ครั้นอีก7 วัน จะสิ้นอายุ ก็มีบุพนิมิต 5 เกิดขึ้น (นิทานกถา) 75/143/175/143/1 75/123/1 |
40 | กุศลใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค, ความไม่มีโทษ, ความฉลาดและมีสุขเป็นวิบาก,สภาวะที่ ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ยังบาปธรรมให้พินาศ , สภาวะที่ชื่อว่า ธรรมเพราะอรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน (อ.มาติกานุบุพบท) 75/151/375/151/3 75/130/6 |
41 | คำว่า กุศล บัณฑิตรับรองแล้ว คือ ความไม่มีโทษ และมีสุขเป็นวิบาก , อกุศล คือ เป็นโทษและมีทุกข์ เป็นวิบาก , อัพยากต บัณฑิตรับรองโดยความส่องถึงอรรถว่าไม่มีวิบาก (อ.มาติกานุบุพบท) 75/155/1275/155/12 75/134/10 |
42 | ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย , ชื่อว่าทุกข์ เพราะทนได้ยาก , ชื่อว่า สัมปยุตตะเพราะอรรถว่า ประกอบด้วยการกระทำต่างๆ โดยชอบ มีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น (อ.มาติกานุบุพบท) 75/158/975/158/9 75/136/19 |
43 | ชื่อว่า วิบาก เพราะอรรถว่า เป็นผลของกุศล และอกุศลกรรม ทั้งหลายซึ่งพิเศษกว่ากัน และกัน (อ.มาติกานุบุพบท) 75/159/1075/159/10 75/137/19 |
44 | ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง ย่อมเบียดเบียน ให้สัตว์เร่าร้อน (อ.มาติกานุบุพบท) 75/160/1075/160/10 75/138/19 |
45 | ทัสสนะ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก ส่วนโคตรภูญาณนั้น แม้เห็นพระนิพพานแล้วก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรกระทำ (อ.มาติกานุบุพบท) 75/161/1975/161/19 75/140/5 |
46 | ชื่อว่า เสกขะ เพราะเป็นธรรมของพระเสกขะ 7 เพราะกำลังศึกษาอยู่โดยยังไม่สำเร็จ การศึกษา ชื่อว่า อเสกขะ เพราะไม่ต้องศึกษาเพราะไม่มีสิ่งที่พึงศึกษาให้ยิ่งขึ้นไปอีก (อ.มาติกานุบุพบท) 75/164/375/164/3 75/142/13 |
47 | หีนา ได้แก่ ลามก คือ อกุศล , โลกุตระ ชื่อว่า ธรรมอันประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด.(อ.มาติกานุบุพบท) 75/165/775/165/7 75/143/15 |
48 | ธรรมที่ ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า กระทำตนให้เป็นใหญ่ ใช้ในความหมาย4 อย่าง (อ.มาติกานุบุพบท) 75/167/1775/167/17 75/146/3 |
49 | [๒-๑๔] แม่บทแห่งอภิธรรมหมวด 2 , 100 หมวด. มีธรรมเป็นเหตุ ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นเบื้องต้น มีธรรมเกิดกับกิเลส ธรรมไม่เกิดกับกิเลส เป็นที่สุด.(อภิธรรมมาติกาทุกะ) 75/170/575/170/5 75/148/5 |
50 | [๑๕] แม่บทแห่งสุตตันตะหมวด 2 , 42 หมวด. มีธรรมเป็นไปส่วนวิชชา ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา เป็นเบื้องต้น มีญาณในอริยมรรค ญาณในอริยผลเป็นที่สุด..(สุตตันตมาติกาทุกะ) 75/190/275/190/2 75/173/3 |
51 | ธรรมที่ชื่อว่า สังขตะ เพราะปัจจัย ทั้งหลายประชุมกันปรุงแต่ง , ชื่อว่า อสังขตะเพราะไม่ประชุมกันปรุงแต่ง , ธรรมใดข้ามพ้นแล้วจากโลก โดยความเป็นไปไม่นับเนื่องในโลก เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า โลกุตระ (อ.มาติกานุบุพบท) 75/198/1075/198/10 75/183/22 |
52 | ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหลไป , เป็นดุจเครื่องหมักดอง.(อ.มาติกานุบุพบท) 75/199/875/199/8 75/184/17 |
53 | ธรรมที่ชื่อว่า สัญโยชน์ เพราะอรรถว่า ย่อมประกอบ คือ ผูกพัน บุคคลผู้มีสัญโยชน์ไว้ในวัฏฏะ , ชื่อว่า คัณฐะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ เชื่อมต่อบุคคลผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ , ที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมท่วมทับ คือ ยังสัตว์มีกิเลส ให้จมลงในวัฏฏะ , ที่ชื่อว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ผู้มีกิเลสไว้ในในวัฏฏะ (อ.มาติกานุบุพบท) 75/200/1375/200/13 75/185/19 |
54 | ธรรมที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า คิด เพราะอรรถว่า วิจิตร , ธรรมที่ประกอบจิตโดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก (อ.มาติกานุบุพบท) 75/202/1275/202/12 75/187/20 |
55 | ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไป(อาศัยอยู่) ในกาม ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า กามาวจรชื่อว่า รูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในรูป , ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป (อ.มาติกานุบุพบท) 75/203/1975/203/19 75/189/9 |
56 | ธรรมเหล่าใดตัดมูลแห่งวัฏฏะ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ออกไปจากวัฏฏะเพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า นิยยานิกะ ธรรมที่ไม่นำออกไปโดยลักษณะนี้ ชื่อว่า อนิยยานิกะ (อ.มาติกานุบุพบท) 75/204/475/204/4 75/189/17 |
57 | รณธรรม นี้ เป็นชื่อของกิเลสมีราคะ เป็นต้น ที่สัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสครอบงำแล้วย่อมร้องไห้คร่ำครวญโดยประการต่างๆ (อ.มาติกานุบุพบท) 75/204/1375/204/13 75/190/6 |
58 | วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อภิญญา 6 (อ.มาติกานุบุพบท) 75/205/175/205/1 75/190/20 |
59 | [๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? (กามาวจรมหากุศลจิต๘) 75/211/675/211/6 75/197/7 |
60 | คำถามมี 5 อย่าง คือ ถามเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้ ถามเทียบเคียงกับสิ่งที่รู้แล้ว ถามเพื่อตัดความสงสัย ถามเพื่อความเห็นชอบ ถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/213/775/213/7 75/199/4 |
61 | จักร (การถึงพร้อม) 4 คือ การอยู่ในประเทศที่สมควร การคบสัตบุรุษ การตั้งตนไว้ชอบ ความเป็นผู้มีบุญทำไว้ก่อน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/219/575/219/5 75/204/7 |
62 | " จิตนี้แทงตลอดได้ยากเหมือน การร้อยแก้วมุกดาโดยแสงสว่างแห่งฟ้าแลบ เพราะความที่จิตมีเวลาเป็นไปน้อยยิ่ง เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงทำความอุตสาหะให้มากและความเอื้อเฟื้อให้มาก ในการแทงตลอดจิตนี้" (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/223/1675/223/16 75/208/5 |
63 | ธรรมเป็นกามาวจร คือ เบื้องต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรค์ชั้นปรนิม-มิตวสวัตดีเป็นที่สุด (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/225/275/225/2 75/209/14 |
64 | อธิบายคำว่า กุศล (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/226/1375/226/13 75/211/2 |
65 | อธิบายคำว่า จิต (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/228/1075/228/10 75/212/15 |
66 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตเท่านั้น วิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแล .(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/230/475/230/4 75/214/3 |
67 | อุปปันนธรรม (ความเกิดขึ้น) 4 ประเภท (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/233/775/233/7 75/217/2 |
68 | เพ่งถึงโลกิยธรรมแล้ว จิตเป็นใหญ่เป็นธุระ เป็นประธาน, แต่เพ่งถึงโลกุตรธรรมแล้วปัญญาเป็นใหญ่เป็นธุระ เป็นประธาน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/235/2175/235/21 75/219/15 |
69 | สัตว์โลกอันจิตย่อมนำไป ย่อมกระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมดทีเดียวย่อมเป็นไปตามอำนาจธรรมอันหนึ่ง คือ จิต (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/237/175/237/1 75/220/14 |
70 | สหคต ศัพท์ใช้ในอรรถเหล่านี้คือ ความเป็นอย่างนั้น , เจือแล้ว , ที่อาศัย , อารมณ์และความเกี่ยวข้อง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/238/975/238/9 75/221/19 |
71 | เมื่อรูปธรรมกับอรูปธรรมเกิด รูปย่อมเกิดพร้อมกับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่-สัมปยุตกัน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/240/675/240/6 75/223/11 |
72 | อธิบายคำว่า ญาณสัมปยุต (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/240/1375/240/13 75/223/19 |
73 | อินทรีย์ 5 มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับเอาโคจรวิสัยของกันและกัน(รับเฉพาะของตนเอง) มีใจเป็นที่พึ่ง ใจเท่านั้นย่อมรับโคจรวิสัยของอินทรีย์ 5 เหล่านั้น (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/243/875/243/8 75/226/2 |
74 | อธิบายคำว่า อารมณ์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/241/1875/241/18 75/224/22 |
75 | ธรรม 11 อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยปีติสัมโพชฌงค์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/249/1175/249/11 75/231/15 |
76 | กุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตโดยเหตุ เหล่านี้ คือ โดยกรรม ,โดยความเกิดขึ้น โดยความแก่รอบ แห่งอินทรีย์, โดยความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/250/575/250/5 75/232/5 |
77 | ธรรม 7 อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/251/1675/251/16 75/233/8 |
78 | กุศลจิตที่ชื่อว่า อสังขาริก (คือไม่มีการปรุงแต่งหรือชักชวน) ย่อมเกิดขึ้นโดยกำหนด 3 อย่าง คือ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย แต่ละอย่างก็กระทำด้วยอำนาจแห่ง กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/252/875/252/8 75/233/19 |
79 | จิตนั้นย่อมเป็นกุศลจำเดิมแต่เวลาที่ใจคิดปรารภถึงวัตถุที่มีอยู่ว่า เราจักให้.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/253/1875/253/18 75/234/26 |
80 | กายมี 4 อย่าง คือ กายที่มีใจครอง , อาหารสมุฏฐานกาย , อุตุสมุฏฐานกาย ,จิตตสมุฏฐานกาย (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/261/1075/261/10 75/242/7 |
81 | เรียกว่า วิญญัติ เพราะประกาศให้รู้ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/263/1775/263/17 75/244/6 |
82 | เมื่อกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานกำลังไหว กายที่มีสมุฏฐาน 3 นั้น ก็ย่อมไหวไปด้วยเหมือนกัน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/264/2175/264/21 75/245/10 |
83 | วาจามี 3 อย่าง คือ เจตนา วิรติ สัททะ(เสียง) (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/268/275/268/2 75/248/2 |
84 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/272/875/272/8 75/251/15 |
85 | บุคคลใดคิดว่าจักไปล่าเนื้อ จัดเตรียมเครื่องมือแล้ว เมื่อไปทั้งวันก็ไม่ได้เนื้อ อกุศลนี้ ยังไม่เป็นกายกรรม เพราะไม่ถึงกรรมบถ แต่พึงทราบว่า อกุศลจิตนี้ ชื่อว่า กายทุจริตอย่างเดียว (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/274/1075/274/10 75/253/15 |
86 | เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงไปฆ่าผู้นี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้ กรรมเป็นกายกรรม สำหรับทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ส่วนอภิชฌาพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น เป็นไปในฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริก (กล่าวอ้างไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี) บ้าง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/275/975/275/9 75/254/18 |
87 | กายกรรมย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร , เมื่อบุคคลกล่าวมุสาวาท เป็นต้น ด้วยศีรษะและมือ กรรมเป็นวจีกรรม แต่ทวาร เป็นกายทวาร (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/277/1875/277/18 75/257/1 |
88 | พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ อาบัติ ทั้งหมดในทวารทั้ง 2 เท่านั้น ขึ้นชื่อว่า การบัญญัติอาบัติในมโนทวารย่อมไม่มี (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/278/2075/278/20 75/258/2 |
89 | มโนกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมตั้งขึ้นในทวารแม้ทั้ง 3 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/280/1675/280/16 75/259/19 |
90 | ความเป็นผู้ทุศีล ผู้หลงลืมสติ ความไม่รู้ ไม่อดทน เกียจคร้าน เหล่านี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นในจิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดใน ทวาร 5 แต่ย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น ธรรมนั้นแม้เกิดขึ้นในชวนจิต ท่านเรียกว่า อสังวรในทวาร 5.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/283/2175/283/21 75/262/20 |
91 | อกุศลกรรมบถ 10 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/286/275/286/2 75/264/13 |
92 | วิรัติ (การงดเว้น ) มี 3 ประเภท (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/299/575/299/5 75/276/18 |
93 | กุศลกรรมบถทั้งหมดเป็นสุขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา จริงอยู่ เพ่งถึงกุศล แล้วชื่อว่า ทุกขเวทนาย่อมไม่มี (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/301/1975/301/19 75/278/23 |
94 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมเสวยอารมณ์ ผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมจำอารมณ์ ผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมคิดอารมณ์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/307/1775/307/17 75/284/7 |
95 | ความหมายของคำว่า ผัสสะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/308/1775/308/17 75/285/4 |
96 | ความหมายของคำว่า เวทนา (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/311/575/311/5 75/287/13 |
97 | ความหมายของคำว่า สัญญา (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/312/1975/312/19 75/289/2 |
98 | ความหมายของคำว่า เจตนา , ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า ตั้งใจ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/314/275/314/2 75/290/4 |
99 | ความหมายของคำว่า จิต, ที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิดซึ่งอารมณ์. จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/315/2175/315/21 75/292/2 |
100 | ความหมายของคำว่า วิตก, การตรึก คือ การจดอารมณ์ มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/319/275/319/2 75/295/3 |
101 | ปีติมี 5 อย่าง , เรื่องกุลธิดาผู้ลอยขึ้นไปในอากาศด้วยปีติ มีพระพุทธคุณที่มีกำลังเป็นอารมณ์ แล้วหยั่งลงที่ลานเจดีย์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/321/775/321/7 75/297/13 |
102 | ปีติ สงเคราะห์เข้าในสังสารขันธ์ , สุข สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/324/475/324/4 75/300/6 |
103 | เอกัคคตาแห่งจิต เป็นชื่อของ สมาธิ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/325/775/325/7 75/301/7 |
104 | ศรัทธา มีการเลื่อมใสเป็นลักษณะ ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อมข่มนิวรณ์ ทั้งหลาย ย่อมให้กิเลสสงบ ย่อมให้จิตผ่องใส ย่อมทำจิตไม่ให้ขุ่นมัว (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/326/1575/326/15 75/302/14 |
105 | ชื่อว่า สติ เพราะเป็นเหตุระลึก หรือย่อมระลึกเอง หรือเป็นเพียงการระลึกเท่านั้น.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/329/1875/329/18 75/306/2 |
106 | ชื่อว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น , ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว , ชื่อว่า มนะเพราะย่อมรู้ คือ ย่อมรู้แจ้ง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/331/1875/331/18 75/308/2 |
107 | ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุ ให้ธรรมที่สัมปยุตด้วยชีวิตินทรีย์นั้นเป็นอยู่ , องค์มรรคที่ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า การเห็น (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/334/875/334/8 75/310/11 |
108 | หิริ นี้เป็นชื่อของความละอาย เพราะมีเหตุภายในเป็นสมุฏฐาน , โอตตัปปะ เป็นชื่อของความเกรงกลัวต่อบาป เพราะมีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/336/775/336/7 75/312/18 |
109 | บุคคลทรงจำโทษที่มีอยู่โดยความเป็นโทษ ย่อมเปิดเผยโทษทั้งหลายไป เพราะความไม่โลภ เพราะว่าคนโลภย่อมปกปิดโทษ. บุคคลทรงจำคุณที่มีอยู่โดยความเป็นคุณ ย่อมประกาศคุณทั้งหลายให้เป็นไป เพราะความไม่มีโทสะ เพราะว่า คนมีโทสะประทุษร้ายแล้วย่อมลบหลู่คุณท่าน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/341/875/341/8 75/317/18 |
110 | ความเกิดขึ้นในเปรตวิสัย ย่อมไม่มีเพราะความไม่โลภ , ความเกิดในนรกย่อมไม่มีเพราะความไม่มีโทสะ, การเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานย่อมไม่มีเพราะความไม่หลง.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/342/975/342/9 75/318/16 |
111 | ความไม่โลภย่อมเป็นปัจจัย แก่ความไม่มีโรค , ความไม่มีโทสะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นหนุ่มสาว , ความไม่หลงย่อมเป็นปัจจัยแก่ความมีอายุยืน..(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/343/775/343/7 75/319/13 |
112 | หิริ และโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลก (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/345/575/345/5 75/321/14 |
113 | ความเบาแห่งกาย ชื่อว่า กายลหุตา , ความเบาแห่งจิตชื่อว่า จิตตลหุตา, สมถะ เพราะสงบธรรมที่เป็นข้าศึก , วิปัสสนา เพราะเป็นธรรมทั้งหลายโดยอาการต่างๆ.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/346/375/346/3 75/322/16 |
114 | การกระทำ ชื่อว่า การะ การกระทำไว้ในใจ ชื่อว่า มนสิการ เพราะทำใจให้ขึ้นสู่วิถีจากภวังคจิต , มนสิการนั้น มี 3 ประการ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/350/1375/350/13 75/328/1 |
115 | อโลภะ เพ่งถึงมูลเรียกว่า อโลภะ เพ่งถึงกรรมบถ เรียกว่า อนภิชฌา , ส่วนปัญญาเพ่งถึงอินทรีย์ เรียกว่า ปัญญินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรค เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงมูล เรียกว่า อโมหะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/353/375/353/3 75/330/22 |
116 | [๒๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คือ การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ที่สมกันในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.(บาลีนิทเทสวาร) 75/356/1375/356/13 75/333/20 |
117 | [๒๑] จิตมีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คือ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่สมกันในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น (บาลีนิทเทสวาร) 75/356/1675/356/16 75/334/1 |
118 | [๓๔] อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตินทรีย์ คือ ชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น. (บาลีนิทเทสวาร) 75/359/1575/359/15 75/336/12 |
119 | [๓๕-๓๙] สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? (บาลีนิทเทสวาร) 75/359/1975/359/19 75/336/17 |
120 | [๕๗-๕๘] กายลหุตา ได้แก่ ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้างแห่งเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, จิตตลหุตา ได้แก่ ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้างแห่งวิญญาณขันธ์ (บาลีนิทเทสวาร) 75/365/375/365/3 75/341/8 |
121 | [๗๑-๗๒] ปัคคาหะ(การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ) , อวิกเขปะ (ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ) มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? (บาลีนิทเทสวาร) 75/368/175/368/1 75/343/21 |
122 | การจำแนกบทธรรมในกามาวจรมหากุศลจิตดวงที่หนึ่งย่อมถึงการจำแนกด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ด้วยอำนาจพยัญชนะ, ด้วยอำนาจอุปสรรค, ด้วยอำนาจอรรถะ(เนื้อความ)(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/370/375/370/3 75/345/12 |
123 | ธรรมทั้งหลายแม้เมื่อมีบทต่างกัน ชื่อว่า ย่อมต่างกันด้วยเหตุ 4 ประการ คือ ต่างกันโดยชื่อ, โดยลักษณะ, โดยกิจ, โดยการปฏิเสธ. (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/371/575/371/5 75/346/11 |
124 | คำว่า ปัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์ หมายเอา ภวังคจิต (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/376/375/376/3 75/351/11 |
125 | ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เป็นสถานที่ประชุม เป็นการณะ (เหตุ).(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/377/375/377/3 75/352/14 |
126 | สมถะ 3 อย่าง คือ จิตตสมถะ อธิกรณสมถะ และสัพพสังขารสมถะ.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/382/1375/382/13 75/357/24 |
127 | " ทุกข์ทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะกรรมดับโดยไม่เหลือ ทุกข์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น" (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/384/1375/384/13 75/359/19 |
128 | ชื่อว่า อนุสสติ ด้วยสามารถ การตามระลึกเพราะการระลึกบ่อย(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/386/1175/386/11 75/361/22 |
129 | เมื่ออายุนั้นมีอยู่ อรูปธรรมทั้งหลายย่อมมีต่อไป ดำเนินไปเป็นไปทั่ว เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า อายุ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/390/275/390/2 75/365/18 |
130 | [๗๓] สภาวธรรมเหล่านี้ คือ ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 ฯลฯ ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล (โกฏฐสวาร) 75/396/275/396/2 75/372/2 |
131 | [๗๖] ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น (โกฏฐสวาร) 75/398/775/398/7 75/374/1 |
132 | [๗๗] มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คือ การคิด กิริยาที่คิด ความคิด สมัยนั้นอันใดชื่อว่า มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น. (โกฏฐสวาร) 75/398/1575/398/15 75/374/9 |
133 | [๗๙] ฌานมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา (โกฏฐสวาร) 75/401/275/401/2 75/376/12 |
134 | [๘๒] เหตุ 3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ (โกฏฐสวาร) 75/405/675/405/6 75/380/7 |
135 | ผัสสาหาร ย่อมนำมาซึ่งเวทนา 3 , มโนสัญเจตนาหาร ย่อมนำมาซึ่งภพ 3 , วิญ-ญาณาหาร ย่อมนำมาซึ่งปฏิสนธิ นามและรูป (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/410/675/410/6 75/384/17 |
136 | ในโลกิยมรรคได้มรรคมีองค์ 5 เท่านั้น (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/411/2375/411/23 75/386/5 |
137 | [๙๘-๑๓๘] จิตดวงที่ 1 ถึง จิตดวงที่ 8 (บาลีสุญญตวาร) 75/413/875/413/8 75/388/2 |
138 | ในสมัยใด กามาวจรมหากุศลจิต ดวงที่ 1 ย่อมเกิดขึ้น ธรรมเกิน 50 ที่เกิดขึ้นด้วยองค์ประกอบของจิตในสมัยนั้น ธรรมนั้นแหละ ย่อมมีด้วยอรรถว่าเป็น สภาวะ ไม่ใช่อะไรๆ อื่น คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ภาวะ ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่โปสะ ไม่ใช่บุคคล.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/424/575/424/5 75/392/12 |
139 | ธรรมที่ชื่อว่า สสังขาร (การชักชวน) เพราะเป็นไปกับด้วยสังขาร คือ มีการประกอบ มีอุบาย มีปัจจัย เป็นหมู่ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/425/975/425/9 75/400/10 |
140 | ในจิตดวงที่ 3 พึงทราบว่า จิตไม่ประกอบด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณวิปปยุต ถึงจิตจะร่าเริงยินดีแล้วในอารมณ์แต่ว่า ไม่มีญาณเป็นเครื่องกำหนด พึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นในกาลที่พวกเด็กเล็กๆ ไหว้เจดีย์ และฟังธรรม เป็นต้น (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/426/275/426/2 75/401/8 |
141 | ในจิตดวงที่ 4 พึงทราบว่า ย่อมมีในกาลที่ มารดาบิดาจับศีรษะเด็กเล็กๆ ให้ก้มไหว้พระเจดีย์ เป็นต้น ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะไหว้ ก็ร่าเริงยินดี .(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/426/1275/426/12 75/401/17 |
142 | กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/427/1475/427/14 75/402/21 |
143 | บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/427/1675/427/16 75/403/2 |
144 | บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยย่อมเกิดขึ้น ในขณะก่อนให้ ในขณะกำลังให้ และหลังจากให้แล้ว (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/431/375/431/3 75/406/2 |
145 | อนันตะ (สิ่งไม่มีที่สุด) 4 อย่าง คือ อากาศ จักรวาล หมู่สัตว์ พุทธญาณ.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/433/2075/433/20 75/408/4 |
146 | การประมาลมาซึ่งบุญ 6 อย่าง คือ บุญที่ทำตามธรรมดาของตน,ที่เห็นคนอื่นกระทำ ก็กระทำ, ที่ทำด้วยมือของตนเอง, ที่ใช้ให้บุคคลกระทำ, ที่เชื่อกรรมและผลแล้วกระทำ ที่ไม่รู้กรรมก็ดี ผลก็ดี กระทำแล้ว (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/435/1375/435/13 75/409/16 |
147 | ทักขิณาวิสุทธิ 4 อย่าง คือ ปัจจัยเกิดขึ้นโดยธรรม เจตนามีกำลังมาก วัตถุสมบัติความเป็นผู้มากยิ่งด้วยคุณ , เมื่อสามารถประมวลวิสุทธิ 4 แล้วถวายอยู่ กามาวจรกุศลย่อมให้วิบากในอัตภาพนี้โดยแท้ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/436/575/436/5 75/410/7 |
148 | [๑๓๙-๑๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ. ในฌานหมวด 4 (จตุกนัย) 75/437/1375/437/13 75/412/4 |
149 | เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ชื่อว่า มรรค (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/442/675/442/6 75/416/5 |
150 | สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบทีเดียว (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/442/1975/442/19 75/416/17 |
151 | สมาธิเป็นปฏิปักษ์ ต่อกามฉันทะ, ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ, สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ, วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/446/1175/446/11 75/420/2 |
152 | ผรณาปีติ (ความอิ่มใจซาบซ่าน) เป็นมูลรากแห่งอัปปนาสมาธิ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/448/775/448/7 75/421/17 |
153 | ฌาน 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/449/475/449/4 75/422/13 |
154 | กุลบุตรผู้ใคร่บรรลุพระอรหัต เบื้องต้นพึงชำระศีลให้หมดจด ตัดวังวล 10 เข้าหาครูผู้ให้กรรมฐานที่ควรแก่จริต ใคร่ครวญกรรมฐานที่สมควรแก่จริตของตน.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/450/1275/450/12 75/423/18 |
155 | อุเบกขามี 10 อย่าง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/457/775/457/7 75/430/8 |
156 | เมื่อพระโยคาวจรมีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ แม้แต่เพียงอุปจารฌานก็ย่อมไม่สำเร็จ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/461/1275/461/12 75/434/9 |
157 | อธิบายฌาน 4 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/464/375/464/3 75/436/14 |
158 | [๑๔๙-๑๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ในฌานหมวด 5 (ปัญจกนัย) 75/470/975/470/9 75/442/2 |
159 | ปฐมฌานมีองค์ 5, ทุติยฌานมีองค์ 4 คือ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร, ตติยฌานมีองค์ 3,จตุตถฌานมีองค์ 2 , ปัญจมฌานมีองค์ 2 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/476/175/476/1 75/446/15 |
160 | [๑๖๒-๑๖๖] ปฏิปทา 4 คือ ปฏิบัติลำบาก รู้ช้า , ปฏิบัติลำบาก แต่รู้เร็ว , ปฏิบัติสะดวก รู้ช้า , ปฏิบัติสะดวก รู้เร็ว ในฌานหมวด 4 และหมวด 5 (ปฏิปทา ๔) 75/480/275/480/2 75/451/2 |
161 | [๑๖๗-๑๗๑] อารมณ์ 4 คือ มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย , มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ , มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย , มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ในฌานหมวด 4 และหมวด 5 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/482/275/482/2 75/452/13 |
162 | [๑๗๒-๑๗๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ในฌานหมวด 4 และหมวด 5 อันมีปฐวีกสินเป็นอารมณ์ เป็นต้น ด้วยปฏิปทา 4 มี อารมณ์ 4 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/483/1675/483/16 75/454/2 |
163 | การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจครั้งแรกจนถึงอุปจารแห่งฌานนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่า ปฏิปทา ส่วนปัญญาที่ดำเนินไปตั้งแต่อุปจาร จนถึงอัปปนา เรียกว่าอภิญญา (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/490/1075/490/10 75/460/17 |
164 | ผู้ไม่ทำบุรพกิจ มีการตัดกังวล ก่อนแล้วเจริญภาวนา ปฏิปทาของเขา เป็นทุกขาปฏิปทา (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/491/1375/491/13 75/461/18 |
165 | ปฏิปทาของบุคคลผู้สร้างความดีในสมถะไว้ เป็นสุขาปฏิปทา ก็บุคคลใดไม่ทำอธิการ(ความดี) ไว้ในวิปัสสนา ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทันธาภิญญา(รู้ได้ช้า).(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/492/175/492/1 75/462/2 |
166 | ฌานใดไม่คล่องแคล่ว (มีคุณน้อย) ไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานในเบื้องบน ฌานนี้ ชื่อว่า มีกำลังน้อยส่วนฌานใดเป็นไปในอารมณ์ มีนิมิตเท่ากระด้ง หรือเท่าขันน้ำ ซึ่งขยายขึ้นไม่ได้ ฌานนี้ชื่อว่า มีอารมณ์ เล็กน้อย (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/493/975/493/9 75/463/9 |
167 | ผู้ปรารถนาแสดงฤทธิ์ต่างๆ ทำสมาบัติ 8 ให้เกิดในกสิณ 8 อันเป็นเบื้องต้น แล้วพึงฝึกจิตโดยอาการ 14 อย่าง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/497/1775/497/17 75/467/9 |
168 | [๑๗๘-๑๘๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ด้วยอภิภายตนะแล้วเข้าฌานหมวด 4 และหมวด 5 ในปฏิปทา 4 มีอารมณ์ 2 (อภิภายตนะ) 75/500/275/500/2 75/469/3 |
169 | อภิภายตนะที่เป็นรูปที่เล็กน้อย เหมาะแก่วิตกจริต , อภิภายตนะที่เป็นรูปที่ไพบูลย์เหมาะแก่โมหจริต อภิภายตนะที่มีสีงาม เหมาะแก่โทสะจริต , อภิภายตนะที่มีสีไม่งาม เหมาะแก่ราคจริต (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/519/775/519/7 75/486/16 |
170 | [๑๘๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญ มรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ด้วยวิโมกข์ 3 (วิโมกข์ ๓) 75/521/275/521/2 75/488/10 |
171 | [๑๙๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ด้วยพรหมวิหารฌาน 4 (พรหมวิหารฌาน ๔) 75/522/275/522/2 75/492/2 |
172 | รูปาวจรฌานนั้น ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า ทั่วไปแก่อารมณ์ ชื่อว่า อภิภายตนะเพราะอรรถว่า ครอบงำอารมณ์ ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า น้อมใจในอารมณ์ ,หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/527/975/527/9 75/491/9 |
173 | ความหมายในพรหมวิหาร 4 (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/529/175/529/1 75/495/17 |
174 | บุคคลจักแผ่เมตตา และจักโกรธพร้อมกัน นั้นมิใช่เหตุที่มีได้ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/531/775/531/7 75/497/25 |
175 | ขั้นตอนการเจริญพรหมวิหาร (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/532/1775/532/17 75/499/7 |
176 | เพราะเหตุไร เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จึงเรียกว่า พรหมวิหาร ? .(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/533/2175/533/21 75/500/7 |
177 | [๑๙๑] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ด้วยอสุภฌาน (อสุภฌาน) 75/538/275/538/2 75/503/2 |
178 | อสุภฌานเหมาะแก่ราคจริต , ซากศพ ชื่อว่า อุทธุมาตะ เพราะพองขึ้นโดยความพองอืดขึ้นตามลำดับเพราะสิ้นชีวิต (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/539/475/539/4 75/504/2 |
179 | สัปปายะ 10 อย่าง มีซากศพที่พองขึ้น เหมาะแก่ผู้ยินดีในสรีรสัณฐาน เป็นต้น 75/543/575/543/5 75/507/3 |
180 | ในอสุภกรรมฐานนี้ ย่อมมีเพียงปฐมฌาน เท่านั้น ทุติยฌาน เป็นต้น หามีได้ไม่.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/544/1075/544/10 75/508/7 |
181 | [๑๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ ด้วยอรูปฌาน 4 (อรูปฌาน ๔) 75/546/375/546/3 75/509/15 |
182 | พระโยคาวจรไม่สามารถเข้าอากาสานัญจายตนะนั้น โดยยังมิได้ก้าวล่วงรูป-สัญญาโดยประการทั้งปวงในรูปสัญญาเหล่านั้น เพราะผู้ยังไม่คลายความยินดีในอารมณ์ก็ก้าวล่วงสัญญาไปไม่ได้ และเมื่อก้าวล่วงสัญญาทั้งหลายได้แล้ว อารมณ์ก็ย่อมเป็นอันก้าวล่วงไปได้ เหมือนกัน. (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/548/1875/548/18 75/512/4 |
183 | สัญญาที่เกิดขึ้นเพราะการกระทบวัตถุมีจักษุ เป็นต้น และอารมณ์มีรูปารมณ์ เป็นต้น ชื่อว่าปฏิฆสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญาโผฏฐัพพสัญญา เหล่านี้ เรียกว่า ปฏิฆสัญญา (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/549/1075/549/10 75/512/20 |
184 | พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เสียงเป็นข้าศึกของผู้เข้าปฐมฌาน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/550/975/550/9 75/513/16 |
185 | สัญญาเหล่านี้แม้ทั้ง 44 อย่าง คือ กามาวจรกุศลสัญญา 8 , อกุศลสัญญา 12 ,กามาวจรกุศลวิปากสัญญา 11, อกุศลวิปากสัญญา 2 , กามาวจรกิริยสัญญา 11มีความแตกต่างกันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่านานัตตสัญญา(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/551/475/551/4 75/514/5 |
186 | วินิจฉัย คำว่า อากาสานัญจายตนะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/554/675/554/6 75/516/18 |
187 | วินิจฉัย คำว่า วิญญาณัญจายตนะ คือ เป็นชื่อของฌานซึ่งมีวิญญาณที่เป็นไปในอากาศเป็นอารมณ์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/556/175/556/1 75/518/11 |
188 | วินิจฉัย คำว่า อากิญจัญญายตนะ คือ ไม่มีอะไรแม้หน่อยหนึ่ง โดยที่สุดแม้เพียงภังคขณะก็ไม่พึงเหลือ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/557/575/557/5 75/519/15 |
189 | วินิจฉัย คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือ ไม่สามารถทำกิจของสัญญาได้โดยเฉพาะเป็นธรรมมีอยู่โดยละเอียดของสังขารที่เหลือ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/558/1075/558/10 75/520/19 |
190 | [๑๙๒-๑๙๕] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล อย่างต่ำอย่างกลาง อย่างประณีต (เตภูมิกกุศลธรรม) 75/568/375/568/3 75/529/3 |
191 | บรรดากุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 เหล่านี้ กามาวจรกุศล เป็นทุเหตุกะโดยการไม่ประกอบญาณสัมปยุตบ้าง แต่รูปาวจรและอรูปาวจร เป็นติเหตุกะอย่างเดียว คือ เป็นญาณสัมปยุตเท่านั้น (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/575/1475/575/14 75/536/2 |
192 | [๑๙๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน (มรรคจิตดวงที่ ๑) 75/577/375/577/3 75/537/3 |
193 | [๒๑๕] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? (มรรคจิตดวงที่ ๑) 75/581/1775/581/17 75/541/10 |
194 | [๒๑๖-๒๒๓] มรรคมีองค์ 8 (มรรคจิตดวงที่ ๑) 75/582/875/582/8 75/541/24 |
195 | [๒๖๐-๒๖๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระอันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิ เบื้องต้นด้วยปฏิปทา 4 (สุทธิกปฏิปทา) 75/593/375/593/3 75/552/3 |
196 | [๒๖๕-๒๖๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระชนิดสุญญตะ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น ด้วยปฏิปทา 4 (สุญญตะ) 75/594/1675/594/16 75/553/19 |
197 | [๒๖๗-๒๖๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระชนิดอัปปณิหิตะ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น. ด้วยปฏิปทา 4 (อัปปณิหิตะ) 75/597/275/597/2 75/556/2 |
198 | โลกุตรมรรคนั้น ย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ 3 อย่าง คือ เพราะการบรรลุ เพราะคุณของตน เพราะอารมณ์ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/615/275/615/2 75/572/13 |
199 | เมื่อพระโยคาวจรออกจากอนิจจลักษณะ มรรคก็เป็นอนิมิตตะ, เมื่อออกจากทุกข-ลักษณะมรรคก็เป็นอัปปณิหิตะ, เมื่อออกจากอนัตตลักษณะ มรรคก็เป็นสุญญตะ.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/620/1575/620/15 75/577/14 |
200 | ในโลกุตรมรรค ภิกษุอาศัยธรรมภายในแล้วย่อมออกจากธรรมภายใน, อาศัยธรรมภายในแล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก, อาศัยธรรมภายนอกแล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก, อาศัยธรรมภายนอกแล้วย่อมออกจากธรรมภายใน ภิกษุอาศัยรูปย่อมออกจากรูป , อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากอรูป, อาศัยอรูปแล้วออกจากอรูป,อาศัยอรูปแล้วย่อมออกจากรูป ย่อมออกจากขันธ์ 5 พร้อมกัน (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/622/175/622/1 75/578/16 |
201 | มรรคที่พระโยคาวจรออกจากสมาบัติใดๆ แล้วพิจารณาธรรมในสมาบัติใดๆ เกิดขึ้นมรรคก็เป็นเช่นสมาบัตินั้น ๆ นั่นแหละ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/626/375/626/3 75/582/16 |
202 | โคตรภูย่อม ออกจากนิมิตก่อน แต่ไม่อาจตัดกิเลสที่เป็นไปได้ เพราะโคตรภูนั้นมีการออกไปอย่างเดียว มรรคย่อมออกจากนิมิต ย่อมตัดกิเลสที่เป็นไปได้เพราะมรรคนี้มีการออกไปทั้ง 2 อย่าง บรรดาการออกไปแห่งโคตรภูและมรรคนั้น พึงทราบนัยที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/629/1775/629/17 75/585/20 |
203 | โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากเอกเทศแห่งสุคติกามภพ อนาคามิมรรคย่อมออกจากกามภพ อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพ และอรูปภพ. (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/636/975/636/9 75/591/22 |
204 | ปฏิปทา ในแต่ละมรรค อาจไม่ใช่เป็นปฏิปทาเดียวกันก็ได้ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/637/2075/637/20 75/593/6 |
205 | [๒๗๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อบรรลุภูมิที่ 2 (มรรคจิตดวงที่ ๒) 75/641/275/641/2 75/596/2 |
206 | [๒๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ 3 (มรรคจิตดวงที่ ๓) 75/641/1175/641/11 75/596/11 |
207 | [๒๗๓-๒๗๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เมื่อโยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ 4 (มรรคจิตดวงที่ ๔) 75/642/275/642/2 75/597/2 |
208 | กิเลสทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นเนืองๆ แก่พระสกทาคามี ย่อมเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว แม้เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นการเกิดขึ้นที่เบาบาง (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/643/975/643/9 75/598/8 |
209 | สังกัปปะที่เกิดขึ้นพร้อมกับอกุศลจิต 7 ดวง ก็ยังมีอยู่แก่พระโสดาบัน การเคลื่อนไหวองค์แห่งวาจา และกายก็มีอยู่ด้วยอกุศลจิตเหล่านั้น การบริโภคปัจจัยก็มีอยู่ความเพียรที่เกิดพร้อมกันก็มีอยู่ ความไม่มีสติก็มีอยู่ เอกัคคตาแห่งจิตที่เกิดพร้อมกันก็มีอยู่ ทั้งหมดเหล่านั้น ชื่อว่า มิจฉาสังกัปปะ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/646/1175/646/11 75/601/10 |
210 | ข้อเปรียบเทียบการเห็นหีบรัตนะในห้องมืด กับการเห็นสัจจะที่ไม่เคยเห็นมาก่อน.(อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) 75/648/1475/648/14 75/603/7 |