1 | [๑] ความประพฤติทั้งหมดใน 4 อสงไขยแสนกัป เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ พระศาสดาทรงเว้นความประพฤติในภพน้อยใหญ่ในกัปที่ล่วงแล้ว ทรงตรัสความประพฤติในกัปนี้ (อกิตติจริยา) 74/1/574/1/5 74/1/7 |
2 | จริยาปิฎกมี 3 วรรค 35 จริยา (คันถารัมภกถา) 74/7/474/7/4 74/5/21 |
3 | " แม้พระพุทธเจ้าก็กล่าวคุณของพระพุทธเจ้า หากว่ากล่าวถึงคุณอื่นแม้ตลอดกัปกัปย่อมสิ้นไปในระหว่างเวลายาวนาน คุณของพระตถาคต หาได้สิ้นไปไม่".(นิทานกถา) 74/17/1774/17/17 74/13/8 |
4 | ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ต้องตกอบาย ตกนรก ตั้งอยู่กัปหนึ่ง และไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป หมายเอาอันตรกัป (นิทานกถา) 74/20/1474/20/14 74/15/12 |
5 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัปมี 4 อสงไขย . กัปในที่นี้ได้แก่มหากัป (นิทานกถา) 74/21/774/21/7 74/15/23 |
6 | เปรียบเทียบกัป ด้วยกองเมล็ดผักกาด (นิทานกถา) 74/21/1374/21/13 74/16/3 |
7 | สังวัฏฏกัป มี 3 คือ เตโชสังวัฏฏกัป อาโปสังวัฏฏกัป วาโยสังวัฏฏกัป (นิทานกถา) 74/22/674/22/6 74/16/15 |
8 | 4 อสงไขยแสนกัป หมายถึง 4 อสงไขยแห่งมหากัป และแสนมหากัป (นิทานกถา) 74/23/1574/23/15 74/17/19 |
9 | จริยา มี 8 ประการ (นิทานกถา) 74/32/1574/32/15 74/24/12 |
10 | การอบรมตนในโพธิสมภารมี 4 อย่าง (นิทานกถา) 74/35/1474/35/14 74/26/19 |
11 | [๒] พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า สังขะ ได้ถวายร่มและรองเท้าแด่พระปัจเจก-พุทธเจ้า ซึ่งเดินสวนทางมาตามทางกันดาร เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นผู้ละเอียด-อ่อน เจริญด้วยสุขได้ร้อยเท่าพันทวี (สังขพราหมณจริยา) 74/56/374/56/3 74/41/11 |
12 | เมื่อผู้มีศีลประสบภัยในทะเล จะมีเทวดาคอยช่วยเหลือ (อ.สังขพราหมณจริยา) 74/62/174/62/1 74/46/11 |
13 | ยิฏฐัง คือ บูชาแล้วด้วยการให้ , หุตัง คือ ให้แล้วด้วยการบูชาและต้อนรับ.(อ.สังขพราหมณจริยา) 74/63/974/63/9 74/47/13 |
14 | ยินดีในบุญผู้อื่นช่วยให้พ้นภัย (อ.สังขพราหมณจริยา) 74/65/574/65/5 74/49/1 |
15 | [๓] พระโพธิสัตว์เป็นพระราชามีนามว่า ธนญชัย อยู่ในอินทปัตถบุรี ได้พระราชทานพระยาคชสารแก่พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ซึ่งมาขอ ด้วยเหตุเกิดทุพภิกขภัยในเมืองของตน (กุรุธรรมจริยา) 74/69/374/69/3 74/51/9 |
16 | ชื่อว่า ราชา คือ ยังบริษัทให้ยินดีด้วยสังคหวัตถุ 4 โดยธรรม โดยเสมอ ..(อ.กุรุธรรมจริยา) 74/70/1474/70/14 74/52/19 |
17 | พระราชา บำเพ็ญศีล 5 ให้บริบูรณ์ ภัย 3 ประการ ย่อมสงบ ฝนตกทั่วแคว้น.(อ.กุรุธรรมจริยา) 74/78/1974/78/19 74/59/8 |
18 | [๔] พระโพธิสัตว์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า มหาสุทัศนะ ได้ให้มหาทานแก่วณิพก จนตราบเท่าสิ้นชีวิต บำเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีเศษเหลือ เพื่อยังใจที่บกพร่องให้เต็ม เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ (มหาสุทัศนจริยา) 74/80/374/80/3 74/60/3 |
19 | อานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ถวาย บรรณศาลา เตียงตั่ง ประทีป สระ เครื่องบริขารของบรรพชิต ถวายโครส 5 เครื่องนุ่งห่ม (อ.มหาสุทัศนจริยา) 74/84/174/84/1 74/63/3 |
20 | " สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอมีการเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สังขารทั้งหลาย ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นเป็นสุข".(อ.มหาสุทัศนจริยา) 74/90/1174/90/11 74/68/8 |
21 | [๕] พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า มหาโควินท์ เป็นปุโรหิตของพระราชา 7 พระองค์ ได้ให้มหาทานร้อยล้านแสนโกฏิ (มหาโควินทจริยา) 74/92/374/92/3 74/69/3 |
22 | " ท่านผู้ประเสริฐ สัตว์ละความเป็นของเราในสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ผู้เดียว น้อมไปในกรุณา ไม่มีกลิ่นน่ายินดี เว้นจากเมถุน ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น และศึกษาอยู่ในธรรมเหล่านี้ ย่อมถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะ" (อ.มหาโควินทจริยา) 74/99/174/99/1 74/74/13 |
23 | [๖] พระโพธิสัตว์ เป็นมหาราชพระนามว่า เนมิ เป็นบัณฑิต ให้สร้างศาลา 4 แห่งเพื่อให้มหาทาน คือ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน โภชนะ ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยทานแล้วปรารถนาโพธิญาณอันอุดม (เนมิราชจริยา) 74/104/374/104/3 74/78/14 |
24 | พระราชาพระนามว่า มฆเทพ ทรงเป็นกุมารอยู่ 84,000 ปี รับตำแหน่งอุปราชอยู่84,000 ปี ทรงครองราชย์สมบัติอยู่ 84,000 ปี เมื่อเห็นพระเกศาหงอก ก็สละราชสมบัติออกบวชอยู่ 84,000 ปี สิ้นชีวิตแล้ว ไปเกิดพรหมโลก วัตรนี้สืบวงศ์มาถึงพระเจ้าเนมิราช (อ.เนมิราชจริยา) 74/105/974/105/9 74/79/14 |
25 | พระเจ้าเนมิราช ให้ทานแล้ว ทรงให้ส่วนบุญแก่เปรตทุกๆ วัน (อ.เนมิราชจริยา) 74/109/1474/109/14 74/82/19 |
26 | ในศาสนานี้ เมื่อภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาหมู่เทพ ชื่อว่าพรหมจรรย์ต่ำ.การที่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ยังสมาบัติ 8 ใ ห้เกิด ชื่อว่า พรหมจรรย์ปานกลาง. ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า พรหมจรรย์สูงสุด (อ.เนมิราชจริยา) 74/113/1074/113/10 74/85/16 |
27 | พระเจ้าเนมิราช ไปอยู่ดาวดึงส์ 7 วัน นับจำนวนวันของมนุษย์ (อ.เนมิราชจริยา) 74/115/574/115/5 74/86/25 |
28 | [๗] พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช มีนามว่าจันทกุมาร เมื่อพ้นจากการบูชายัญ แล้วเกิดความสังเวช จึงยังมหาทานให้เป็นไป เมื่อยังมิให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคล แล้วย่อมไม่ดื่มน้ำ ไม่บริโภคโภชนะ (จันทกุมารจริยา) 74/117/374/117/3 74/88/5 |
29 | ชนเหล่าใดบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์เองก็ดี ให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี พลอยยินดีก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดจะต้องตกนรก (อ.จันทกุมารจริยา) 74/122/874/122/8 74/92/8 |
30 | [๘] พระโพธิสัตว์ เป็นพระเจ้าสิวิราช ได้ให้หมอควักนัยน์ตาทั้งสองของตนมอบแก่อินทพราหมณ์ เมื่อจะให้ก็ดี กำลังให้ก็ดี ให้แล้วก็ดี จิตของท่านไม่เป็นอย่างอื่นเพราะเหตุแห่งโพธิญาณ (สิวิราชจริยา) 74/128/374/128/3 74/96/8 |
31 | พระเจ้าสิวิราช ตั้งสัตยาธิษฐาน แล้วได้ดวงตาอันเป็นทิพย์เกิดขึ้น มองเห็นได้100 โยชน์ ผ่านนอกฝา และภูเขา (อ.สิวิราชจริยา) 74/145/1274/145/12 74/109/21 |
32 | ทิพยจักษุ ย่อมไม่เกิดแก่ผู้มีดวงตาถูกทำลายแล้ว (อ.สิวิราชจริยา) 74/147/1174/147/11 74/111/7 |
33 | [๙] พระโพธิสัตว์ เป็นพระเวสสันดร ทรงบริจาคทานอันยิ่ง เป็นเหตุให้แผ่นดินได้หวั่นไหวถึง 7 ครั้ง เพราะกำลังแห่งทาน (เวสสันตรจริยา) 74/153/374/153/3 74/115/8 |
34 | ในกัปที่ 91 พระราชธิดาองค์ใหญ่ ของพระเจ้าพันธุมราช ได้เอาแก่นจันทน์บดบูชาพระสรีระของพระวิปัสสีพุทธเจ้า เกลี่ยผงที่เหลือลงในพระคันธกุฎี ตั้งความปรารถนาเป็นพุทธมารดา (อ.เวสสันตรจริยา) 74/163/1174/163/11 74/122/19 |
35 | พร 10 ประการ ที่นางผุสดี ได้รับจากท้าวสักกเทวราช (อ.เวสสันตรจริยา) 74/166/474/166/4 74/124/23 |
36 | เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตินั่นเอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ ให้พระมารดา ตรัสว่า แม่จ๋าลูกจักให้ทานมีอะไรบ้าง. พระมารดาทรงมอบถุงทรัพย์ 1,000 ใกล้ พระหัตถ์ของพระโพธิสัตว์. (อ.เวสสันตรจริยา) 74/170/974/170/9 74/128/6 |
37 | พระเวสสันดรขอพร 8 ประการ จากท้าวสักกเทวราช (อ.เวสสันตรจริยา) 74/208/1274/208/12 74/157/6 |
38 | เทวดาดลใจให้หลงทาง (อ.เวสสันตรจริยา) 74/209/1274/209/12 74/158/3 |
39 | [๑๐] พระโพธิสัตว์เป็นกระต่าย ได้สละชีวิตให้ทานแก่ ท้าวสักกะที่แปลงเป็นพราหมณ์มาขออาหารเพื่อทดลองพระโพธิสัตว์ (สสปัณฑิตจริยา) 74/216/374/216/3 74/163/3 |
40 | ท้าวสักกะ ทรงบีบภูเขา เอายางภูเขาวาดรูปกระต่ายไว้ ณ ดวงจันทร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในคุณธรรมของสสบัณฑิต ปรากฏตั้งอยู่ตลอดกัป (อ.สสปัณฑิตจริยา) 74/229/1174/229/11 74/173/20 |
41 | [๑๑] พระโพธิสัตว์เป็นช้างเลี้ยงมารดาอยู่ในป่าหิมพานต์ ในกาลนั้น ในพื้นแผ่นดินนี้ ไม่มีอะไรที่จะเสมอด้วยศีลคุณของพระองค์ (สีลวนาคจริยา) 74/234/574/234/5 74/178/4 |
42 | ช้างผู้กตัญญู เลี้ยงมารดาที่ตาบอด (อ.สีลวนาคจริยา) 74/236/874/236/8 74/179/19 |
43 | [๑๒] พระโพธิสัตว์ เป็นพระยานาค ชื่อภูริทัต มีฤทธิ์มาก ได้อธิษฐานอุโบสถ มีองค์4 ประการว่า ผู้ใดพึงทำกิจด้วยผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูกก็ดี ขอผู้นั้นจงนำอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด (ภูริทัตตจริยา) 74/246/374/246/3 74/187/6 |
44 | โอรสของพระเจ้าพาราณสีอยู่ร่วมกับนางนาคมาณวิกา ได้ลูกออกมาเป็นมนุษย์.(อ.ภูริทัตตจริยา) 74/248/774/248/7 74/189/7 |
45 | พระธิดาของพระเจ้าพาราณสี อยู่ร่วมกับท้าวธตรัฐ ได้ลูกออกมาเป็นนาค.(อ.ภูริทัตตจริยา) 74/249/174/249/1 74/189/20 |
46 | ผู้มีบุญน้อย จะใช้สมบัติทิพย์ไม่ได้นาน(อ.ภูริทัตตจริยา) 74/253/574/253/5 74/193/4 |
47 | อาลัมพายน์ คือ วิชาสะกดจิต (อ.ภูริทัตตจริยา) 74/258/774/258/7 74/197/3 |
48 | ความร้ายแรงแห่งพิษของนาค (อ.ภูริทัตตจริยา) 74/260/1574/260/15 74/198/23 |
49 | [๑๓] พระโพธิสัตว์ เป็นพระยานาค ชื่อ จัมเปยยกะมีฤทธิ์มาก เป็นผู้ประพฤติธรรม เพียบพร้อมด้วยศีลวัตร แม้หมองูจับไป ก็ไม่โกรธเพราะกลัวจะเสื่อมจากศีล.(จัมเปยยจริยา) 74/264/374/264/3 74/201/9 |
50 | มนตร์อาลัมพายน์ คือมนตร์สะกดจิต เมื่อนาคได้ยินมนตร์นี้จะเป็นดุจซี่เหล็กร้อนยอนเข้าไปในหู (อ.จัมเปยยจริยา) 74/266/1674/266/16 74/203/21 |
51 | พระโพธิสัตว์ พาพระราชาและข้าราชบริพารไปยังนาคพิภพ พร้อมกับมอบทรัพย์ให้พระราชา 100 เล่มเกวียน (อ.จัมเปยยจริยา) 74/273/974/273/9 74/209/3 |
52 | [๑๔] พระโพธิสัตว์ เป็นปริพาชก ชื่อจูฬโพธิ มีศีลงาม นางพราหมณี ซึ่งเป็นภรรยาเก่า ก็ออกบวชแม้พระราชาจะใช้กำลังบังคับนางพราหมณีไป พระโพธิสัตว์ก็ข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้น แม้ใครๆ จะเอาหอกแทงนางพราหมณีนั้น พระโพธิสัตว์ก็ไม่พึงทำลายศีลของตนเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณ (จูฬโพธิจริยา) 74/275/374/275/3 74/210/3 |
53 | เมื่อความโกรธใดเกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นประโยชน์ เมื่อความโกรธไม่เกิดย่อมเห็นเป็นอย่างดี ความโกรธนั้นเป็นโคจรของคนไร้ปัญญา (อ.จูฬโพธิจริยา) 74/286/574/286/5 74/219/2 |
54 | [๑๕] พระโพธิสัตว์ เป็นกระบือ เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่แม้ถูกลิงป่าผู้ลามก ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด ที่คอ ที่หน้าผาก เบียดเบียนอยู่ ก็ไม่โกรธต่อลิงนั้น เพราะกลัวศีลจะถูกทำลาย (มหิสราชจริยา) 74/291/374/291/3 74/222/12 |
55 | [๑๖] พระโพธิสัตว์ เป็นพระยาเนื้อ ชื่อ รุรุ มีขนสีเหลืองคล้ายทองคำ ได้ช่วยชีวิตของบุรุษคนหนึ่งจากแม่น้ำคงคา แต่บุรุษนั้นกลับนำพระราชามายังที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ตามรักษาศีล ไม่ใช่ตามรักษาชีวิต (รุรุมิคจริยา) 74/299/374/299/3 74/229/3 |
56 | [๑๗] พระโพธิสัตว์ เป็นชฎิล มีความเพียรอันแรงกล้า ชื่อว่า มาตังคะ เป็นผู้มีศีลมีจิตมั่นคง พราหมณ์คนหนึ่งได้ด่าบริภาษท่านแล้วแช่งให้ท่านศีรษะแตก คำแช่งนั้นได้ตกลงที่ศีรษะของพราหมณ์นั้นเอง พระโพธิสัตว์ได้ช่วยเปลื้องพราหมณ์นั้นให้พ้นโดยควร. (มาตังคจริยา) 74/314/374/314/3 74/241/12 |
57 | คนจัณฑาล ชื่อมาตังคะ ได้บวชเป็นดาบส ทำนางทิฏฐมังคลิกาให้เป็นผู้เลิศด้วยลาภยศในชมพูทวีป. (อ.มาตังคจริยา) 74/315/1474/315/14 74/243/4 |
58 | [๑๘] พระโพธิสัตว์ เป็นเทพบุตรชื่อว่า ธัมโม มีอานุภาพมาก มีบริวารมาก ได้เที่ยวไปตามบ้านและนิคม ชักชวนมหาชนให้สมาทาน กุศลกรรมบถ 10 ประการได้พบกับอธรรมเทพบุตร ซึ่งเที่ยวชักชวนมหาชนในอกุศลกรรมบถ 10 ประการเมื่อมหาสงครามปรากฏ เพื่อต้องการจะให้กันและกันหลีกทาง พระโพธิสัตว์จึงยอมหลีกทางให้ ในขณะนั้น แผ่นดินก็ให้ช่องแก่อธรรมเทพบุตรจมลงในแผ่นดินนั้นเอง (ธรรมเทวปุตตจริยา) 74/330/374/330/3 74/254/3 |
59 | อธรรมเทพบุตร หัวทิ่มลงบนแผ่นดินไปบังเกิดในอเวจีมหานรก (อ.ธรรมเทวปุตตจริยา) 74/339/474/339/4 74/262/9 |
60 | [๑๙] พระโพธิสัตว์ เป็นอลีนสัตตกุมาร ได้สละชีวิตของตนเป็นอาหารของพระยา-โปริสาทแทนพระราชบิดา ทำพระยาโปริสาทให้เลิกกินเนื้อมนุษย์ แล้วออกบวช.(ชยทิสจริยา) 74/343/374/343/3 74/263/16 |
61 | ปกติยักษ์มีนัยน์ตาสีแดงไม่กระพริบ เงาไม่ปรากฏ ไม่หวาดสะดุ้ง (อ.ชยทิสจริยา) 74/355/974/355/9 74/273/13 |
62 | [๒๐] พระโพธิสัตว์เป็นพระยานาค ชื่อ สังขปาละ ได้อธิษฐานอุโบสถอยู่ ณ ที่ใกล้ทางใหญ่ 4 แยก แม้ถูกพวกบุตรของนายพราน แทงด้วยหอกที่จมูก ที่หาง ที่กระ-ดูกสันหลัง เอาหวายร้อยแล้วหามไปก็ไม่โกรธเคือง นี้เป็นศีลบารมี.(สังขปาลจริยา) 74/358/374/358/3 74/275/19 |
63 | สังขปาลนาคราช รอดชีวิตจากพวกลูกนายพราน เพราะกุฎุมพีชื่อ อาฬาระ จึงได้พากุฎุมพีนั้นไป นาคพิภพ บริโภคกามทิพย์ (อ.สังขปาลจริยา) 74/364/574/364/5 74/280/19 |
64 | [๒๑] พระโพธิสัตว์ เป็นพระราชโอรสนามว่า ยุธัญชัย สลดใจเพราะได้เห็นหยาดน้ำค้างอันเหือดแห้ง เพราะแสงอาทิตย์ ทำความไม่เที่ยงเป็นเบื้องหน้า ทูลขอบวชแม้มหาชนพร้อมทั้งพระราชบิดา ร้องไห้ร่ำไรอยู่ ก็ไม่ห่วงใย สละราชสมบัติในแผ่นดิน หมู่ญาติ บริวารชน และยศศักดิ์ทั้งสิ้นได้ ไม่คิดถึงเลยเพราะเหตุแห่งโพธิญาณ (ยุธัญชยจริยา) 74/371/574/371/5 74/285/4 |
65 | [๒๒] พระโพธิสัตว์ เป็นโสมนัสกุมาร เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณอันเฉียบแหลม เคารพ นบนอบต่อบุคคลผู้เจริญมีหิริ ถูกพระราชาสั่งประหารเพราะเหตุแห่งดาบสโกงผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระราชา เมื่อชี้แจงให้พระราชาเข้าใจแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต (โสมนัสสจริยา) 74/381/374/381/3 74/292/9 |
66 | กรรมที่บุคคลไม่ใคร่ครวญแล้วทำลงไป ไม่กำหนดความคิด เหมือนความวิบัติของยา ย่อมเป็นผลชั่ว (อ.โสมนัสสจริยา) 74/396/374/396/3 74/304/13 |
67 | โสมสัสกุมารบวชตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เทวดาแปลงเพศเป็นคนในวังคอยรับใช้อยู่16 ปี (อ.โสมนัสสจริยา) 74/400/574/400/5 74/306/25 |
68 | [๒๓] พระโพธิสัตว์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสี มีนามว่า อโยฆระ ได้เจริญ-วัย อยู่ในเรือนเหล็กไม่ปรารถนาราชสมบัติ ตัดเครื่องผูกแล้วเข้าป่าใหญ่ แสวงหาธรรมเครื่องดับ (อโยฆรจริยา) 74/402/374/402/3 74/308/3 |
69 | ธรรมดา อมนุษย์ย่อมกลัว เรือนเหล็ก (อ.อโยฆรจริยา) 74/404/1374/404/13 74/309/22 |
70 | อโยฆรกุมารออกบวชแม้พระราชา พระมารดา อำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี เป็นต้น ก็ทิ้งโภคทรัพย์ออกบวชได้ เป็นมหาสมาคม มีบริษัทประมาณ 12 โยชน์ท้าวสักกะสั่งวิษณุกรรมเทพให้สร้างอาศรมให้ (อ.อโยฆรจริยา) 74/409/1674/409/16 74/314/24 |
71 | [๒๔] พระโพธิสัตว์อยู่ในพระนครกาสี มีน้องหญิงชาย 7 คน เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ได้เห็นภัยในภพยินดีในการออกบวช แม้มารดาบิดา และน้องหญิงชายทั้ง 7 ก็สละทิ้งทรัพย์นับไม่ถ้วน เข้าไปยังป่าใหญ่ (ภิงสจริยา) 74/411/374/411/3 74/315/19 |
72 | เทพบุตรนั้น เมื่อครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า อาศัยคชังคลนคร เป็นพระสังฆเถระผู้ดูแลวัดในมหาวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง กระทำการก่อสร้างในวิหารได้รับทุกข์อย่างมาก (อ.ภิงสจริยา) 74/424/274/424/2 74/326/12 |
73 | [๒๕] พระโพธิสัตว์เป็นโสณบัณฑิต เกิดในตระกูลมหาศาล เห็นสัตว์โลกเป็นผู้ถูกความมืดครอบงำ จึงมีจิตเบื่อหน่ายในภพ แม้ในกาลนั้น มารดา บิดา และน้องชาย คือ นันทบัณฑิต ก็ละทิ้งโภคสมบัติทั้งหลายแล้วเข้าป่าใหญ่ .(โสณนันทปัณฑิตจริยา) 74/428/374/428/3 74/329/12 |
74 | " การสงเคราะห์เหล่านี้แลในโลก ตามสมควรในธรรมนั้น ๆ คือ การให้ การเจรจาด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน การประพฤติเป็นประโยชน์ การวางตนเสมอต้นเสมอปลายดุจลิ่มรถที่แล่นไปฉะนั้น" (อ.โสณนันทปัณฑิตจริยา) 74/436/774/436/7 74/337/1 |
75 | [๒๖] พระโพธิสัตว์เป็นเตมิยกุมาร ได้อธิฐานองค์ 3 ประการ คือ เป็นคนใบ้ คนหนวก คนง่อยเปลี้ย อยู่ 16 ปี นี้เป็นอธิษฐานบารมี (มูคผักขจริยา) 74/439/374/439/3 74/339/3 |
76 | ผู้มีศีลปรารถนาบุตร เทวดาย่อมอนุเคราะห์ (อ.มูคผักขจริยา) 74/443/1374/443/13 74/342/18 |
77 | พระโพธิสัตว์เคยครองราชย์สมบัติอยู่ *200 ปี (ในฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็น 20 ปี) หมกไหม้อยู่ในอุสสทนรก 80,000 ปี.(อ.มูคผักขจริยา) 74/445/1674/445/16 74/344/11 |
78 | ในเศวตฉัตร มีเทวดาสิงสถิตอยู่ (อ.มูคผักขจริยา) 74/447/774/447/7 74/346/12 |
79 | เตมิยบัณฑิตออกบวช แม้พระราชา ชาวพระนครทั้งสิ้น พระราชาสามนตราชทั้งหลาย ก็ออกบวชทั้งหมดบริโภคผลาผล แล้วบำเพ็ญสมณธรรม.(อ.มูคผักขจริยา) 74/460/1474/460/14 74/356/16 |
80 | [๒๗] พระโพธิสัตว์เป็นพระยาวานร มีกำลังดุจช้างสาร ได้โดดจากฝั่ง ไปบนหินกลางน้ำ แล้วโดดไปอีกฝั่งหนึ่งเพื่อหากินผลไม้ ครั้นจระเข้มานอนขวางอยู่บน แผ่นหิน พระโพธิสัตว์ยังกระโดดเหยียบหัวจระเข้ แล้วกระโดดไปถึงฝั่งได้อย่างปลอดภัย(กปิลราชจริยา) 74/464/374/464/3 74/359/3 |
81 | ผู้ประกอบธรรม 4 อย่าง คือ สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ ย่อมครอบงำศัตรูได้. (อ.กปิลราชจริยา) 74/468/1274/468/12 74/362/19 |
82 | [๒๘] พระโพธิสัตว์เป็นดาบส ปรากฏนามว่า สัจจะ ได้รักษาสัตว์โลกไว้ด้วยคำสัจทำหมู่ชนให้สามัคคีกัน บางพวกให้ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 บางพวกให้บวชแล้วตั้งอยู่ในศีลสังวร (สัจจสวหยปัณฑิตจริยา) 74/470/374/470/3 74/364/3 |
83 | [๒๙] พระโพธิสัตว์เป็นลูกนกคุ่ม เมื่อไฟไหม้ป่ามา ได้คำนึงถึงกำลังพระธรรมระลึกถึงพระพุทธเจ้า ในกาลก่อน ได้ทำสัจจกิริยา (วัฏฏกโปตกจริยา) 74/473/374/473/3 74/366/17 |
84 | สถานที่ ที่พระโพธิสัตว์ทำสัจจกิริยานั้น จะไม่ถูกไฟไหม้เลยตลอดกัป.(อ.วัฏฏกโปตกจริยา) 74/480/474/480/4 74/372/21 |
85 | [๓๐] พระโพธิสัตว์เป็นพระยาปลาอยู่ในสระใหญ่ เมื่อน้ำในสระใหญ่แห้งขอดได้นึกถึงธรรมของสัตบุรุษคิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์ ทำสัจจกิริยา ยังฝนห่าใหญ่ให้ตก(มัจฉราชจริยา) 74/481/374/481/3 74/373/10 |
86 | ด้วยเดชแห่งศีลของพระโพธิสัตว์ อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะจึงบัญชา วัสสวลาหกเทวราช วัสสวลาหกนุ่งวลาหกก้อนหนึ่งห่มก้อนหนึ่ง ขับเพลงขับสายฝนทำฝนให้ตก (อ.มัจฉราชจริยา) 74/488/1274/488/12 74/379/3 |
87 | [๓๑] พระโพธิสัตว์เป็นฤๅษีชื่อว่า กัณหทีปายนะ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ยิ่งกว่า 50 ปี ได้อาศัยสัจจะนี้ทำสัจจะกิริยา ทำให้เด็กที่ถูกงูกัดฟื้น ลุกขึ้นได้ .(กัณหทีปายนจริยา) 74/492/374/492/3 74/381/3 |
88 | เพราะกรรมแห่งการนำเอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบแมลงวัน ดาบสจึงถูกเสียบ-หลาว (อ.กัณหทีปายนจริยา) 74/497/1874/497/18 74/385/25 |
89 | พระโพธิสัตว์ บิดาและมารดาของยัญญทัตตกุมาร อาศัยความจริงของตน ทำ-สัจจกิริยา ช่วยให้พิษงูในกุมารนั้นระงับไป (อ.กัณหทีปายนจริยา) 74/503/674/503/6 74/389/25 |
90 | [๓๒] พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าสุตโสม ถูกพระเจ้าโปริสาทจับไป เพื่อต้องการทำพลีกรรม ได้ขอกลับพระนครเพื่อมอบราชสมบัติและให้ทรัพย์แก่พราหมณ์แล้วตามรักษาสัจวาจายอมสละชีวิต เข้าไปหาพระยาโปริสาทอีก (สุตโสมจริยา) 74/507/374/507/3 74/393/3 |
91 | มารดาและบิดาของสุวรรณสาม ได้อาศัยอานุภาพบุญของสุวรรณสามทำสัตยา-ธิษฐานให้พิษในสุวรรณสามหายไป. (อ.สุวรรณสามจริยา) 74/532/774/532/7 74/412/8 |
92 | [๓๔] พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าเอกราช ปกครองแผ่นดินใหญ่ สมาทานกุศลกรรมบถ 10 ประการ ประพฤติโดยไม่มีเศษ ถูกพระเจ้าโกศลพระนามว่า ทัพพเสนะ ยกทัพมาชิงเอาราชสมบัติแล้วสั่งให้ฝังพระองค์ในหลุม พระโพธิสัตว์ก็ยังเห็นพระเจ้า-ทัพพเสนะเหมือนบุตรสุดที่รัก นี้เป็นเมตตาบารมี (เอกราชจริยา) 74/535/374/535/3 74/414/3 |
93 | แผ่เมตตาให้ผู้ประทุษร้าย ทำให้เกิดความเร่าร้อน เหมือนถูกไฟไหม้แก่ผู้ประทุษ-ร้ายนั้น (อ.เอกราชจริยา) 74/541/1574/541/15 74/419/15 |
94 | [๓๕] พระโพธิสัตว์นอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุนเป็นผู้มีจิตเสมอแก่ผู้นำทุกข์และสุขมาให้ ไม่มีความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศ และความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวงนี้เป็นอุเบกขาบารมี (มหาโลมหังสจริยา) 74/545/374/545/3 74/421/10 |
95 | ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรโดยเป็นทางเกษม แล้วจงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (บทสรุปจริยาปิฎก) 74/553/1674/553/16 74/428/15 |
96 | [๓๖] สรุปการบำเพ็ญบารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 (สโมธานกถา) 74/555/374/555/3 74/429/7 |
97 | พระโพธิสัตว์ทรงมีการบริจาคใหญ่ 5 อย่าง (อ.สโมธานกถา) 74/561/1274/561/12 74/433/25 |
98 | บารมี คือ คุณธรรมทั้งหลาย กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือ กรุณาอันตัณหา มานะ และทิฏฐิไม่เข้าไปกำจัด (ปกิณณกกถา) 74/570/1174/570/11 74/440/1 |
99 | ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี 10 ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญาวีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา (ปกิณณกกถา) 74/572/1374/572/13 74/441/14 |
100 | อุทธัจจะ และโทสะ จะละได้ด้วยความอดทนในการเพ่งธรรม (ปกิณณกกถา) 74/575/1174/575/11 74/443/21 |
101 | บารมีแม้ทั้งหมดมีการอนุเคราะห์ผู้อื่นเป็นลักษณะ มีการทำอุปการะแก่ผู้อื่นเป็นรส (ปกิณณกกถา) 74/577/274/577/2 74/445/5 |
102 | การตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าย่อมสำเร็จเพราะ ถึงพร้อมด้วยธรรม8 ประการ (ปกิณณกกถา) 74/580/674/580/6 74/447/18 |
103 | ปัจจัย 4 เหตุ 4 พละ 4 แห่งอภินิหารของมหาบุรุษ (ปกิณณกกถา) 74/585/1174/585/11 74/451/18 |
104 | ความอุตสาหะ ปัญญา ความมั่นคง และการประพฤติประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย (ปกิณณกกถา) 74/594/1474/594/14 74/458/17 |
105 | อัธยาศัย 6 อย่าง ของพระโพธิสัตว์ (ปกิณณกกถา) 74/595/374/595/3 74/458/24 |
106 | จรณธรรม 15 และอภิญญา 5 พร้อมด้วยธรรมเป็นบริวาร (ปกิณณกกถา) 74/614/374/614/3 74/473/21 |
107 | ในทานบารมีนั้นมีทาน 3 อย่าง โดยเป็นวัตถุที่ควรให้ คือ อามิสทาน อภัยทานธรรมทาน (ปกิณณกกถา) 74/618/174/618/1 74/476/24 |
108 | ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ 4 อย่าง คือ โดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย โดยการสมาน โดยไม่ก้าวล่วง และโดยทำให้เป็นปกติเมื่อมีการก้าวล่วง (ปกิณณกกถา) 74/627/1674/627/16 74/484/8 |
109 | ศีลมี 2 อย่าง คือ วาริตตศีล(ข้อควรงดเว้น) จาริตตศีล(ข้อควรปฏิบัติ) (ปกิณณกกถา) 74/628/874/628/8 74/484/18 |
110 | เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติแล้ว พระโพธิสัตว์ควรบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น (ปกิณณกกถา) 74/637/874/637/8 74/491/10 |
111 | อะไรเป็นการจำแนกบารมี 30 คือ บารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10 (ปกิณณกกถา) 74/646/1274/646/12 74/498/17 |
112 | อธิษฐานธรรม 4 โดยรวมบารมี ทั้งหมดไว้ คือ สัจจาธิษฐาน , จาคาธิษฐาน , อุปสมาธิษฐาน , ปัญญาธิษฐาน (ปกิณณกกถา) 74/650/1774/650/17 74/502/12 |
113 | การผูกใจในทาน 4 คือ การไม่สะสมทานในกาลก่อน, ความที่วัตถุหวงแหนมีน้อย,ความพอใจยิ่ง ความคิดถึงความหมดสิ้น (ปกิณณกกถา) 74/658/874/658/8 74/508/7 |
114 | พระตถาคตเป็นผู้เสมอด้วยพระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงในการปรินิพพาน ในการปรินิพพานนั้น ท่านเหล่านั้นเป็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต่างกันเลย.(ปกิณณกกถา) 74/661/1974/661/19 74/511/4 |
115 | พระโพธิสัตว์ผู้ปัญญาธิกะ กำหนดอย่างต่ำ 4 อสงไขยแสนมหากัป , ผู้ศรัทธาธิกะกำหนด 8 อสงไขยแสนมหากัป , ผู้วิริยาธิกะ กำหนด 16 อสงไขยแสนมหากัป.(ปกิณณกกถา) 74/662/1774/662/17 74/511/21 |
116 | อานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้สะสมบุญญาภินิหารไว้ (ปกิณณกกถา) 74/665/174/665/1 74/513/12 |
117 | "การไม่ทำบาปทั้งปวง การเข้าถึงกุศล การทำจิตของตนให้ผ่องใส ทั้ง 3 นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" (ปกิณณกกถา) 74/670/774/670/7 74/517/9 |
118 | อธิบายคำว่า ความไม่ประมาท (ปกิณณกกถา) 74/672/674/672/6 74/518/24 |