1 | [๒๙๕-๓๐๓] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ซึ่งขันธ์ 5 เป็นต้น ว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา (ทิฏฐิกถา) 69/1/15 69/2/1 |
2 | [๓๐๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ 8 ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลาย อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตกอโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่น ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ. (ทิฏฐิกถา) 69/4/12 69/4/14 |
3 | [๓๐๖] ทิฏฐิ 16 คือ อัสสาททิฏฐิ ฯลฯ วิภวทิฏฐิ (ทิฏฐิกถา)) 69/5/4 69/5/5 |
4 | [๓๐๙] บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์-ดิรัจฉาน (ทิฏฐิกถา) 69/6/12 69/6/17 |
5 | [๓๑๑] สักกายทิฏฐิ และสีสัพพตปรามาส เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ ส่วนที่เป็น สังโยชน์ฯ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิมี, กามราคสังโยชน์, ปฏิฆะ, มานะ,วิจิกิจฉา,ภวราคะ,อิสสา, มัจฉริยะ, อนุสัย, อวิชชาสังโยชน์ (ทิฏฐิกถา) 69/7/16 69/7/18 |
6 | [๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เปรียบเหมือน บุคคลเห็นเปลวไฟกับแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น. (ทิฏฐิกถา) 69/8/8 69/8/8 |
7 | [๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือน ต้นไม้มีเงา. (ทิฏฐิกถา) 69/9/10 69/9/7 |
8 | [๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นตน เปรียบเหมือน ดอกไม้มีกลิ่นหอม (ทิฏฐิกถา) 69/10/1 69/9/21 |
9 | [๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือน แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด.(ทิฏฐิกถา) 69/10/14 69/10/8 |
10 | [๓๓๗-๓๔๗] อันตคาหิกทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ 50 (ทิฏฐิกถา) 69/21/4 69/19/24 |
11 | [๓๕๖] เทวดาและมนุษย์ ผู้ถูกภวทิฏฐิ วิภวทิฏฐิ กลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ (ทิฏฐิกถา) 69/32/16 69/30/20 |
12 | [๓๕๗] บุคคล 3 จำพวก มีทิฏฐิวิบัติ คือ เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด 69/33/17 69/31/22 |
13 | [๓๖๐-๓๖๑] บุคคลเชื่อแน่ในธรรมนี้ 5 จำพวก บุคคลเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส5 จำพวก (ทิฏฐิกถา) 69/35/1 69/32/24 |
14 | โสดาปัตติมรรค เป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ (อ.อัสสาททิฏฐินิเทศ) 69/38/9 69/36/12 |
15 | ดูก่อนกัจจานะ ธาตุนี้ใหญ่นักแล คือ อวิชชาธาตุ ดูก่อนกัจจานะ สัญญาเลวทิฏฐิเลว ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุเลว (อ.อัสสาททิฏฐินิเทศ) 69/41/7 69/39/13 |
16 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นองค์อื่นใน ภายนอกแม้องค์เดียวที่จะเป็นไปเพื่อความฉิบหายอันใหญ่อย่างนั้นเหมือนความมีมิตรชั่วนี้เลย. (อ.อัสสาททิฏฐินิเทศ) 69/42/18 69/40/18 |
17 | ความคิดอันเกิดร่วมกันกับทิฏฐิ ชื่อว่า เจตนา ความต้องการอันเกิดร่วมกับทิฏฐิชื่อว่า ความปรารถนา การตั้งจิตด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาด้วยความตั้งใจชื่อว่า ความตั้งใจ (อ.อัสสาททิฏฐินิเทศ) 69/49/15 69/48/8 |
18 | " ผู้ใดแลเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง ย่อมทำกิจของผู้รับทุกข์โดยเคารพ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมกล่าวถึงผู้เป็นอย่างนั้นว่า เป็นสัตบุรุษ" (อ.อัตตานุทิฏฐินิเทศ) 69/54/5 69/53/1 |
19 | วินัยมี 2 อย่าง คือ สังวรวินัย ปหานวินัย (อ.อัตตานุทิฏฐินิเทศ) 69/55/12 69/54/6 |
20 | จริงอยู่ เพราะไม่สามารถแยกจิตและเจตสิกไว้ต่างหากกันได้ จึงทำขันธ์ทั้งหมดรวมกันแล้วถือ เอาว่าเป็นตัวตน (อ.อัตตานุทิฏฐินิเทศ) 69/60/6 69/58/24 |
21 | รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจมีประมาณเท่าใด โลกกล่าวว่ามีอยู่ อารมณ์ 6 อย่างเหล่านี้ โลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับอารมณ์ 6 เหล่านี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันกันว่าเป็นทุกข์... (อ.ภววิภวทิฏฐินิเทศ) 69/75/13 69/74/16 |
22 | พระโสดาบันแม้ 3 เหล่านี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามภพ แต่ในรูปภพ และอรูปภพ. ย่อมถือปฏิสนธิแม้มาก (อ.ภววิภวทิฏฐินิเทศ) 69/82/20 69/82/1 |
23 | พระอนาคามีทั้งหลาย เพราะยังละรูปราคะอรูปราคะไม่ได้ ยังหวังอยู่ย่อมเกิดในรูปภพ และอรูปภพที่เหลือ (อ.ภววิภวทิฏฐินิเทศ) 69/84/9 69/83/14 |
24 | [๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิ 8 และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะแก่สมาธิ 8 เป็นไฉน ? ( อานาปานกถา) 69/85/11 69/84/11 |
25 | [๓๖๖-๓๖๙] อุปกิเลส 18 เป็นอันตรายต่อสมาธิ (อานาปานกถา) 69/88/6 69/87/1 |
26 | [๓๗๐] จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ 6 ประการ ย่อมขาวผ่องถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว. (อานาปานกถา) 69/92/5 69/90/17 |
27 | [๓๗๒-๓๗๕] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน. (อานาปานกถา) 69/93/8 69/91/18 |
28 | [๓๘๖] " ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวเหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น" (อานาปานกถา) 69/99/1 69/96/25 |
29 | [๓๘๖] คำว่า พุทโธ , พุทธะ , พระพุทธเจ้า. (อานาปานกถา) 69/101/17 69/99/10 |
30 | [๓๘๗] ญาณใน ความทำสติ 32 เป็นไฉน ? (อานาปานกถา) 69/103/16 69/101/1 |
31 | [๓๙๐] กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น จึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ พิจารณาเห็นภายในกาย. (อานาปานกถา) 69/107/2 69/101/1 |
32 | [๓๙๒-๓๙๕] เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาว เวทนา สัญญา, วิตก, ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป (อานาปานกถา) 69/107/20 69/105/3 |
33 | [๔๐๓] กายมี 2 คือ นามกาย รูปกาย , นามกาย ได้แก่ เวทนา สัญญา, เจตนา,ผัสสะ, มนสิการ, เป็นนามด้วยเป็นนามกายด้วย และท่านกล่าว จิตสังขารว่าเป็นนามกาย , มหาภูตรูป 4 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ลมอัสสาสปัสสาสะ นิมิตและกายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย (อานาปานกถา) 69/116/5 69/112/12 |
34 | [๔๐๘] เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย (อานาปานกถา) 69/121/14 69/117/22 |
35 | [๔๐๙] สุข มี 2 คือ กายิกสุข เจตสิกสุข , ความสุขทางจิต ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแต่เจโต-สัมผัสนี้ เป็นเจตสิกสุข (อานาปานกถา) 69/122/7 69/118/14 |
36 | [๔๑๐] จิตสังขาร ได้แก่ สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาวเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร (อานาปานกถา) 69/123/12 69/119/16 |
37 | [๔๑๒] จิต คือ มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณวิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ , จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต. (อานาปานกถา) 69/126/1 69/121/21 |
38 | [๔๑๖] การพิจารณาในธรรม ในธรรม. (อานาปานกถา) 69/129/18 69/125/12 |
39 | [๔๒๒] ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา 72 , นิพพิทาญาณ 8 .(อานาปานกถา) 69/136/22 69/132/3 |
40 | ปลายจมูก หรือนิมิตปาก เป็นเบื้องต้น ของลมหายใจเข้า หัวใจเป็นท่ามกลางมีสะดือเป็นที่สุด เมื่อใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายในนั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว (อ.อุปกิเลสญาณนิเทศ) 69/144/15 69/139/15 |
41 | อธิบายคำว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางอันบุคคลคนเดียวพึงไป.(อ.โวทานญาณนิเทศ) 69/168/19 69/167/1 |
42 | อานาปานสติกรรมฐาน เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบันของการบรรลุคุณวิเศษ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง.(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/174/7 69/172/15 |
43 | เมื่อภิกษุนั่ง ตั้งกายตรง เวทนาที่เกิดขึ้นทุกๆ ขณะเพราะหนัง เนื้อ เอ็นน้อมลงเป็นเหตุจะไม่เกิดขึ้น เมื่อเวทนาไม่เกิดจิตก็มีอารมณ์เดียว กรรมฐานย่อมเข้าถึงความเจริญ. (อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/176/10 69/174/17 |
44 | ผู้ประสงค์จะเจริญกรรมฐาน ทำกิจทั้งปวงมียังศีลให้บริสุทธิ์ เป็นต้น แล้วพึงเรียนกรรมฐานมี การติดต่อ 5 ในสำนักอาจารย์ผู้ประกอบด้วยองค์ 7..(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/181/17 69/179/17 |
45 | กรรมฐานนิมิตต่างกันเพราะสัญญาต่างกัน (อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/189/6 69/186/25 |
46 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้มิใช่อยู่เพื่อหลอกลวงคน. .(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/198/1 69/195/10 |
47 | ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/198/13 69/196/1 |
48 | จิตย่อมหลีกออกจากลมอัสสาสปัสสาสะ คือ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิด เพราะอาศัยลมอัสสาสปัสสาสะจิตย่อมกลับ(ละ) จากลมอัสสาสปัสสาสะตามปกติ .(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/203/10 69/201/6 |
49 | กิจแห่งการเห็นแจ้ง เว้นวิตกย่อมไม่มี เพราะวิปัสสนามีวิตกเป็นสหาย ย่อมทำกิจของตน. (อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/207/1 69/205/3 |
50 | อุปาทายรูป (รูปอาศัยมหาภูตรูป) 24 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียงกลิ่น รส หญิง ชาย ชีวิต หทัยวัตถุ โอชะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาศธาตุรูปเบา อ่อน ควรแก่การงาน การสะสม การสืบต่อ ความคร่ำคร่า ความไม่เที่ยง.(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/212/2 69/210/19 |
51 | เมื่อกายมี ลมหายใจเข้า ออกก็มี เมื่อกายไม่มีลมหายใจเข้าออกก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ลมหายใจเข้าออกจึงชื่อว่า กายสังขาร เพราะลมเหล่านั้นปรุงขึ้นด้วยกาย.(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/213/12 69/212/5 |
52 | ชื่อว่า มโน เพราะรู้กำหนดอารมณ์. ชื่อว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน ชื่อว่าปัณฑระ หมายถึง ภวังคจิต (อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/219/8 69/218/12 |
53 | ความสงบ 3 อย่าง คือ จิตสงบ อธิกรณ์สงบ สังขารทั้งปวงสงบ.(อ.สโตการิญาณนิเทศ) 69/222/1 69/221/10 |
54 | [๔๒๔] อินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์ เป็นต้น ย่อมหมดจดด้วยอาการ 15.(อินทริยกถา) 69/231/2 69/231/12 |
55 | [๔๒๘] พระเสขบุคคล 7, กัลยาณปุถุชน เหล่านี้ เป็นผู้เจริญอินทรีย์ , พระอรหันต์พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า เป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว (อินทริยกถา) 69/233/15 69/234/2 |
56 | [๔๓๑] อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการ 40 (อินทริยกถา) 69/235/10 69/235/17 |
57 | [๔๓๓] อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการ 25 (อินทริยกถา) 69/239/17 69/239/16 |
58 | [๔๓๕] อินทรีย์ 5 มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ 180.(อินทริยกถา) 69/241/16 69/241/11 |
59 | [๔๓๖] จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ในที่ไหนบ้าง ? (อินทริยกถา) 69/246/3 69/245/11 |
60 | [๔๔๙] จริยา (ความประพฤติ) 8 มี อิริยาปถจริยา เป็นต้น (อินทริยกถา) 69/254/1 69/252/12 |
61 | [๔๕๐] สพรหมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศอย่างเดียวกันมีการศึกษาเสมอกัน (อินทริยกถา) 69/255/21 69/254/6 |
62 | [๔๕๑-๔๕๘] อินทรีย์ 5 พึงเห็นด้วยอาการ 6 คือ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น มีประมาณยิ่ง ตั้งมั่น ครอบงำ ให้ตั้งอยู่ .(อินทริยกถา) 69/256/13 69/254/22 |
63 | [๔๖๔-๔๖๕] อินทรีย์ 3 คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญา-ตาวินทรีย์ (อินทริยกถา) 69/269/15 69/266/20 |
64 | [๔๖๖-๔๖๘] คำว่า สมันตจักษุ (อินทริยกถา) 69/271/18 69/268/16 |
65 | เมื่อมีเทวดา และมนุษย์ เหล่าอื่น อยู่ด้วยเพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกเฉพาะภิกษุทั้งหลายเท่านั้นก่อนจะทรงแสดงธรรม ? (อ.ปฐมสุตตันตนิเทศ) 69/287/13 69/283/7 |
66 | โสดาปัตติยังคะ (องค์แห่งการแรกถึงกระแสธรรม) 4 อย่าง คือ การคบสัตบุรุษการฟังสัทธรรม โยนิโสมนสิการ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.(อ.ตติยสุตตันตนิเทส) 69/300/7 69/296/19 |
67 | เมื่อจิตฟุ้งซ่านด้วยความเป็นผู้เริ่มทำความเพียรเกินไป เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ ความสงบจิตด้วยอำนาจแห่งการเจริญ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (อ.อินทริยสโมธาน) 69/315/12 69/312/22 |
68 | [๔๖๙-๔๗๐] วิโมกข์ 3 คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์...(วิโมกขกถา) 69/320/4 69/318/5 |
69 | [๔๗๔-๔๗๗] วิโมกข์ 8 (วิโมกขกถา) 69/324/5 69/321/21 |
70 | [๔๗๘] สมยวิโมกข์ ได้แก่ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 , อสมยวิโมกข์ ได้แก่อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน. (วิโมกขกถา) 69/326/19 69/324/9 |
71 | [๔๘๐] สัญญาวิโมกข์ เป็นไฉน ? (วิโมกขกถา) 69/328/15 69/325/24 |
72 | [๔๘๖] อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน 3 คือ ทิฏฐุปาทาน , สีลัพ-พตุปาทาน , อัตตวาทุปาทาน. (วิโมกขกถา) 69/334/21 69/331/17 |
73 | [๔๘๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความสิ้นไป , มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว,มนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของสูญ.(วิโมกขกถา) 69/337/1 69/333/17 |
74 | [๔๙๒] บุคคล 3 จำพวก คือ สัทธาธิมุตบุคคล กายสักขีบุคคล ทิฏฐิปัตตบุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย. (วิโมกขกถา) 69/340/15 69/336/21 |
75 | [๔๙๙] การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ 4 (วิโมกขกถา) 69/346/16 69/342/18 |
76 | [๕๐๐] บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ ,มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ ย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์,มนสิการโดยความเป็น อนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมได้สุญญตวิโมกข์.(วิโมกขกถา) 69/348/7 69/344/10 |
77 | [๕๐๑] การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด (วิโมกขกถา) 69/349/1 69/345/1 |
78 | [๕๐๔] เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ , เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ , เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์.(วิโมกขกถา) 69/351/15 69/347/13 |
79 | [๕๐๘] ปัญญาในความออกไป และความหลีกไปภายนอก และโคตรภูธรรม มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น (วิโมกขกถา) 69/355/18 69/351/11 |
80 | [๕๐๙-๕๑๐] วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ 4 ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ 7 (วิโมกขกถา) 69/356/11 69/352/6 |
81 | [๕๑๖] การเจริญวิโมกข์ เป็นไฉน ? (วิโมกขกถา) 69/363/10 69/358/12 |
82 | ภิกษุรูปหนึ่งพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความไม่เที่ยงแต่ต้นนั่นเอง เพราะเพียงพิจารณาด้วยความไม่เที่ยงเท่านั้น ยังไม่เป็นการออกไปแห่งมรรค ควรพิจารณาโดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นการออกไปแห่งมรรค (อ. วิโมกขุเทศ) 69/364/16 69/359/18 |
83 | มรรคย่อมได้ชื่อด้วยเหตุ 5 ประการ คือ ด้วยเป็นไปกับหน้าที่ ด้วยเป็นข้าศึกด้วยมีคุณ ด้วยอารมณ์ ด้วยการมา (อ. วิโมกขุเทศ) 69/365/16 69/360/15 |
84 | การพิจารณาเห็นความสิ้นไป พิจารณาเห็นความเสื่อม พิจารณาเห็นความแปรปรวนเป็นความวิเศษแห่งภังคานุปัสสา (ปัญญาพิจารณาการแตกทำลาย) เพราะเป็นกำลังแห่งอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น.(อ. วิโมกขนิเทศ) 69/381/16 69/377/2 |
85 | ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ คือ ปัญญินทรีย์นั้นแล ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งมรรค ย่อมเป็นใหญ่ด้วยสามารถทำกิจ คือ เห็นสัจจะ และด้วยสามารถทำกิจคือ ละกิเลส (อ. วิโมกขนิเทศ) 69/388/6 69/384/2 |
86 | บุคคลบรรลุอรูปฌานแล้วบรรลุผลเลิศ ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ชื่อว่าปัญญาวิมุตเพราะรู้อยู่จึงพ้น (อ. วิโมกขนิเทศ) 69/393/4 69/389/7 |
87 | [๕๑๘] ในกรรมอันประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ (คติกถา) 69/403/12 69/400/14 |
88 | [๕๑๙] ในกรรมอันประกอบด้วยญาณ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลคฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ.(คติกถา) 69/404/15 69/401/18 |
89 | [๕๒๐] เทวดาชั้นอรูปาวจร ย่อมอุบัติ เพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ.(คติกถา) 69/405/21 69/402/26 |
90 | [๕๒๒] ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่งเหตุ 6 ประการ (คติกถา) 69/406/21 69/403/25 |
91 | คติสมบัติ 5 คือ นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ และเทพ , อสุรกายจัดเป็นเปรตวิสัย พวกอสูรจัดเป็นเทพ (อ.คติกถา) 69/408/13 69/405/17 |
92 | ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คือ ในขณะปฏิสนธิสัมปยุตด้วยญาณ.(อ.คติกถา) 69/409/1 69/406/3 |
93 | เทพชั้นรูปาวจร และเทพชั้นอรูปาวจรเป็นติเหตุกะ โดยส่วนเดียว , แต่ในมนุษย์ทั้งหลาย มีทุเหตุกะ และอเหตุกะ ในเทพชั้นกามาวจร มีทุเหตุกะ (อ.คติกถา) 69/409/19 69/406/26 |
94 | เหตุ 3 ประการ เป็นกุศล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุศลเหตุ.(อ.คติกถา) 69/410/10 69/407/14 |
95 | เหตุ 2 ประการ คือ โลภะ โมหะ เป็นอกุศลเหตุ (อ.คติกถา) 69/411/5 69/408/8 |
96 | เหตุ 3 ประการ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นอัพยากตเหตุ (อ.คติกถา) 69/411/12 69/408/18 |
97 | ขันธ์ 5 คือ รูปที่ได้ในขณะปฏิสนธิ ด้วยปฏิสนธิจิตเป็นรูปขันธ์ เวทนาที่เกิดร่วมกันเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิตเป็นวิญญาณขันธ์ (อ.คติกถา) 69/412/3 69/409/9 |
98 | เครื่องปรุงชีวิต 3 ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ (อ.คติกถา) 69/412/21 69/410/5 |
99 | เป็นวิปปยุตตปัจจัย คือ อรูปชีวิตินทรีย์ และปฏิสนธิวิญญาณย่อมเป็นวิปปยุตต-ปัจจัยของปฏิสนธิรูป (อ.คติกถา) 69/413/14 69/410/20 |
100 | เป็น สัมปยุตตปัจจัย คือ ธรรมทั้งหลายเป็นอุปการะโดยความสัมปยุตกันกล่าวคือมีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน (อ.คติกถา) 69/414/1 69/411/4 |
101 | ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ 8 ประการ คือ กุศลเหตุ 3 ในขณะประมวลกรรมอกุศลเหตุ 2 ในขณะพอใจ อัพยากต เหตุ 3 ในขณะปฏิสนธิ (อ.คติกถา) 69/414/14 69/411/21 |
102 | [๕๒๓] กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมได้มีแล้ว , กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมไม่มี อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่มี, อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี ฯลฯ (กรรมกถา) 69/416/10 69/414/4 |
103 | ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพนี้ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัย ของกรรมปัจจุบันนั้น และยังไม่ให้ผลในภพนี้ ของผู้ปรินิพพานในปัจจุบันแล้วจึงกล่าวว่ากรรมมีอยู่วิบากของกรรมไม่มีอยู่ (อ.กรรมกถา) 69/419/12 69/417/12 |
104 | กรรม 4 อย่าง คือ ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพนี้) , อุปปัชชเวทนียกรรม(ให้ในภพหน้า) , อปราปริยเวทนียกรรม (ให้ผลในภพสืบๆไป) , อโหสิกรรม(กรรมที่เลิกแล้วต่อกัน) (อ.กรรมกถา) 69/420/12 69/418/13 |
105 | กรรมใดหนักเป็นฝ่ายกุศล หรืออกุศล เช่นฆ่ามารดา เป็นต้น กรรมนั้นแลให้ผลก่อน , กรรมใดหนามีความเป็นผู้ทุศีล หรือมีศีลก็ดี กรรมนั้นย่อมให้ผลก่อน , กรรมใดที่ระลึกถึง หรือทำตอนใกล้ตาย กรรมนั้นให้ผลก่อน (อ.กรรมกถา) 69/421/4 69/419/1 |
106 | กรรมอีก 4 อย่าง คือ กรรมแต่งให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมบีบคั้น กรรมตัดรอน.(อ.กรรมกถา) 69/421/14 69/419/12 |
107 | ระหว่างกรรม และวิบากแห่งกรรม 12 เหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยความเป็นสิ่งที่แน่นอนแห่งกรรมวิบากญาณไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย. นักวิปัสสนาพึงรู้ระหว่างกรรม และวิบากโดยเอกเทศ (อ.กรรมกถา) 69/422/4 69/420/1 |
108 | [๕๒๕] สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส มี 4 คือ ความสำคัญผิด คิดผิดเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม (วิปัลลาสกถา) 69/423/4 69/421/5 |
109 | สัญญาวิปลาส มีกำลังอ่อนกว่าทั้งหมด, จิตวิปลาสมีกำลังมากกว่าสัญญาวิปลาสนั้น , ทิฏฐิวิปลาสมีกำลังมากกว่าทั้งหมด. (อ.วิปัลลาสกถา) 69/425/11 69/423/12 |
110 | ความสำคัญ ความคิดในความทุกข์ว่า เป็นความสุข ย่อมเกิดขึ้น คือ เพียงความสำคัญ หรือเพียงความคิดย่อมเกิดขึ้น เพราะยังละความสะสมโมหกาลไม่ได้ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่พระอนาคามี (อ.วิปัลลาสกถา) 69/427/17 69/426/1 |
111 | [๕๒๗-๕๒๙] คำว่า มรรค ในขณะอริยมรรคทั้ง 4 (มรรคกถา) 69/429/3 69/427/4 |
112 | ศีล และทิฏฐิเป็นเบื้องต้นแห่งสัจจปฏิเวธโดยพระบาลีว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลบริสุทธิด้วยดี และทิฏฐิอันตรงนั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยมรรคใน เบื้องต้น (อ.มรรคกถา) 69/432/20 69/431/1 |
113 | [๕๓๐] ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่งมีอยู่เฉพาะหน้ามี 3 ประการ คือ ความผ่องใสแห่งเทศนา ความผ่องใสแห่งการรับ ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์.(มัณฑเปยยกถา) 69/434/8 69/433/4 |
114 | นิพพาน ชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่าสูงสุด ไตรสิกขาเป็นความประพฤติ เพื่อประโยชน์แก่ความสูงสุด เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่นิพพาน เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้า ตรัสว่า เป็นพรหมจรรย์ ศาสนพรหมจรรย์ก็คือ ไตรสิกขานั้นนั่นเอง.(อ.มัณฑเปยยกถา) 69/443/16 69/441/17 |
115 | ชื่อว่า สัตถา เพราะตามสั่งสอนตามสมควร ซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้า ประโยชน์อันสูงสุด (อ.มัณฑเปยยกถา) 69/444/6 69/442/5 |
116 | ความผ่องใสแห่งการรับ คือ ผู้รับเทศนานั่นแหละเป็นผู้ผ่องใส (อ.มัณฑเปยยกถา) 69/444/20 69/442/22 |
117 | [๕๓๔] มรรค 4 ได้แก่ เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น , เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น , เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป , มีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ (ยุคนัทธกถา) 69/449/9 69/448/10 |
118 | [๕๓๕] ภาวนา มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน , อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน , นำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน , เป็นที่เสพ (ยุคนัทธกถา) 69/450/14 69/449/19 |
119 | [๕๓๕] คำว่า ย่อมเสพ ได้แก่ ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ, รู้อยู่ชื่อว่าเสพ, เห็นอยู่ชื่อว่า เสพ , พิจารณาอยู่ ชื่อว่าเสพ , อธิษฐานจิตอยู่ ชื่อว่าเสพ ฯลฯ.(ยุคนัทธกถา) 69/451/4 69/450/7 |
120 | [๕๓๗] ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร (ยุคนัทธกถา) 69/453/17 69/452/15 |
121 | [๕๓๘-๕๔๑] ภิกษุย่อมเจริญสมถะ และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอาการ 16 (ยุคนัทธกถา) 69/455/1 69/453/23 |
122 | [๕๔๒-๕๔๓] ภิกษุมีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ อย่างไร ?.(ยุคนัทธกถา) 69/460/11 69/459/9 |
123 | เมื่อพระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก บรรลุโสดาปัตติมรรค อันมีธรรมมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น แล้วบรรลุมรรค 3 ที่เหลือด้วยวิปัสสนาล้วน ย่อมเป็นมรรคมีธรรมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น. (อ.ยุคธนัทกถา) 69/465/14 69/464/20 |
124 | ชื่อว่า ธรรมุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน ด้วยบังเกิดจิตอันประกอบด้วยอุทธัจจะ ด้วยสามารถแห่งความหมุนเคว้งไปในธรรม 10 ประการ มีโอภาส เป็นต้น อันเป็นที่รู้กันว่าเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เพราะผู้เจริญวิปัสสนามีปัญญาอ่อน.(อ.ยุคธนัทกถา) 69/467/2 69/466/10 |
125 | หากสมถะล่วงเกินวิปัสสนา จิตพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน หากว่าวิปัสสนาล่วงเกินสมถะ จิตพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ฉะนั้น สมถะและวิปัสสนา ไม่ล่วงเกินกันและกัน ย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จ (อ.สุตตันตนิเทศ) 69/471/15 69/471/9 |
126 | ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาไม่ฉลาด เมื่อโอภาสนั้นเกิดคิดว่า โอภาสเห็นปานนี้ ยังไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้เลยหนอ เราเป็นผู้บรรลุมรรคผลแน่แท้แล้ว จึงถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคว่า เป็นมรรค.(อ.ธรรมุทธัจจวารนิเทศ) 69/473/10 69/473/11 |
127 | ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมโดยชอบแต่กาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาความเกิดและความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย แต่กาลนั้นๆ ภิกษุย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะของภิกษุผู้รู้แจ้งทั้งหลาย (อ.ธรรมุทธัจจวารนิเทศ) 69/475/17 69/475/23 |
128 | พระโยคาวจรผู้ฉลาด เมื่อโอภาส เป็นต้น เกิดขึ้นย่อมสอบสวนด้วยปัญญาว่าโอภาสนี้เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นสิ่งปรุงแต่ง (อ.ธรรมุทธัจจวารนิเทศ) 69/479/19 69/479/26 |
129 | พระโยคาวจรผู้มีปัญญาอ่อนย่อมถึงความฟุ้งซ่าน คือ ธรรมุทธัจจะ.(อ.ธรรมุทธัจจวารนิเทศ) 69/481/12 69/481/21 |
130 | [๕๔๔-๕๔๕] สัจจะ 4 ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น.(สัจจกถา) 69/483/4 69/484/5 |
131 | [๕๔๖] สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ 4 คือ ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ.(สัจจกถา) 69/484/14 69/485/10 |
132 | [๕๕๐] สัจจะ มีลักษณะ 2 คือ สังขตลักษณะ อสังขตลักษณะ.(สัจจกถา) 69/489/20 69/490/22 |
133 | [๕๕๕-๕๕๖] สัจจะด้วยอาการ 3 คือ ด้วยความแสวงหา ด้วยความกำหนดด้วยความแทงตลอด (สัจจกถา) 69/492/17 69/493/13 |
134 | ธรรมชาติทั้งหลายอันเป็นความจริงนั้นแหละชื่อว่า สัจจะ (อ.สัจจกถา) 69/496/16 69/497/8 |
135 | ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ ใครๆ เป็นทุกข์หามีไม่ การกระทำมีอยู่ ใครๆ ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่ใครๆ ผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่คนผู้เดินทางหามีไม่.(อ.ปฐมสุตตันตนิเทศ) 69/498/1 69/498/14 |
136 | เมื่อเห็นขันธ์หนึ่ง โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นต้น ขันธ์ที่เหลือก็เป็นอันเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นต้น เหมือนกัน. (อ.ปฐมสุตตันตนิเทศ) 69/499/3 69/499/22 |
137 | อธิบายสังขตลักษณะ และอสังขตลักษณะ (อ.ปฐมสุตตันตนิเทศ) 69/500/16 69/501/17 |
138 | [๕๕๗-๕๖๘] โพชฌงค์ 7 ประการ , ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ เป็นต้น (โพชฌงคกถา) 69/509/4 69/511/5 |
139 | [๕๗๑] สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 (โพชฌงคกถา) 69/521/6 69/524/5 |
140 | พระอริยสาวกใดย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนั้น ท่านเรียกพระอริยสาวกนั้นว่าโพธิ (อ.โพชฌงคกถา) 69/524/6 69/526/21 |
141 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดีมีประมาณเพียงใด เรากล่าววิราคะว่าเป็นธรรมเลิศกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น.(อ.โพชฌงคกถา) 69/530/15 69/534/20 |
142 | [๕๗๔] ผู้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ มีอานิสงส์ 11 ประการ มีย่อมหลับเป็นสุขตื่นเป็นสุข เป็นต้น (เมตตากถา) 69/531/4 69/536/5 |
143 | [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 , แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ 7 (เมตตากถา) 69/532/1 69/536/17 |
144 | [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลาย ด้วยอาการ 10 (เมตตากถา) 69/532/12 69/537/12 |
145 | [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ 8 มี ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง เป็นต้น (เมตตากถา) 69/533/8 69/538/8 |
146 | [๕๗๖] จิต ชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่า วิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาท และปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง (เมตตากถา) 69/533/14 69/538/14 |
147 | [๕๘๘-๕๙๒] วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล , วิราคะนี้มี 2 คือ นิพพานเป็นวิราคะ , ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ.(วิราคกถา) 69/551/4 69/556/4 |
148 | [๕๙๓-๕๙๗] วิมุตติเป็นผลอย่างไร ? (วิราคกถา) 69/555/7 69/559/20 |
149 | แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ชื่อว่า พุทธะ เหมือนกัน เพราะพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า 2 เหล่านี้ คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า (อ.วิราคกถา) 69/559/18 69/564/1 |
150 | " อัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย บททั้ง 4 ประเสริฐ กว่าสัจจะทั้งหลายวิราคะประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย" (อ.วิราคกถา) 69/560/17 69/565/6 |
151 | ผลในนิเทศนี้ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นด้วยความสงบ. นิพพาน ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นด้วยการนำออกไป (อ.วิราคกถา) 69/561/17 69/566/13 |
152 | [๕๙๘-๖๐๑] พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ภิกษุ เบญจวัคคีย์.(ปฏิสัมภิทากถา) 69/562/4 69/567/4 |
153 | [๖๐๒] คำว่าจักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่าญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้,คำว่าปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าแทงตลอด, คำว่าแสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว (ปฏิสัมภิทากถา) 69/565/20 69/570/16 |
154 | [๖๐๒] ญาณในธรรมทั้งหลาย เรียก ธรรมปฏิสัมภิทา , ญาณในอรรถทั้งหลายเรียก อรรถปฏิสัมภิทา, ธรรมและอรรถเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา , ญาณในธรรม 5 ญาณในอรรถ 5 ญาณในนิรุตติ 10 เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิ-ภาณปฏิสัมภิทา (ปฏิสัมภิทากถา) 69/566/1 69/570/20 |
155 | การรู้ตามเป็นจริงในสัจจะ 4 ชื่อว่าสัจจะญาณ ในสัจจญาณเหล่านั้น ญาณ คือ ความรู้กิจอันควรทำอย่างนี้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ ชื่อว่า กิจจญาณ (อ.ธรรมจักกัปปวัตตนวาระ) 69/580/14 69/584/15 |
156 | คำว่า ธรรมจักษุ ในที่บางแห่งได้แก่ญาณในปฐมมรรค ในที่บางแห่งได้แก่มรรคญาณ 3 เป็นต้น , ในที่บางแห่งได้แก่มรรคญาณ 4 (อ.ธรรมจักกัปปวัตตนวาระ) 69/581/11 69/585/15 |
157 | เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา สถิตอยู่ ณ ท่ามกลางภูเขาสิเนรุ อยู่ในอากาศก็มีสืบต่อไปจนถึงจักรวาลบรรพต (อ.ธรรมจักกัปปวัตตนวาระ) 69/582/13 69/586/20 |
158 | ในคราวประกาศพระธรรมจักร แผ่นดินได้หวั่นไหวด้วยเทวานุภาพ ดุจให้สาธุการด้วยเดชแห่งญาณ คือ เทศนา (อ.ธรรมจักกัปปวัตตนวาระ) 69/583/19 69/588/3 |
159 | [๖๑๕] ชื่อว่า ธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระพุทธเจ้าทรงให้ธรรม และจักรเป็นไปทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ฯลฯ (ธรรมจักกกถา) 69/588/18 69/593/18 |
160 | ธรรมจักรมี 2 อย่าง คือ ปฏิเวธธรรมจักร และเทศนาธรรมจักร (อ.สัจจวาระ) 69/595/18 69/600/25 |
161 | [๖๒๐] สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7มรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4 สามัญผล 4 และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตระ ,ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่าข้ามพ้นโลก (โลกุตตรกถา) 69/599/3 69/605/8 |
162 | ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะความสำเร็จโดยปริยายนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความสำเร็จนี้ เป็นผู้เจริญถึงชั้นอุกฤษฏ์ (อ.โลกุตตรกถา) 69/601/1 69/607/11 |
163 | ในขณะแห่งมรรค 4 โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายย่อมได้ในจิตดวงเดียวกัน ในขณะแห่งผลย่อมได้โพธิปัยขิยธรรมที่เหลือ เว้นสัมมัปปธาน 4 (อ.โลกุตตรกถา) 69/602/13 69/608/24 |
164 | โสดาปัตติมรรค ข้ามอบายโลกได้ อนาคามิมรรคข้ามกามาวจรโลกได้ อรหัตมรรคข้ามรูปาวจรโลกและอรูปาวจรโลกได้ (อ.โลกุตตรกถา) 69/604/17 69/611/2 |
165 | [๖๒๑] พละ 5 ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญา-พละ (พลกถา) 69/607/4 69/614/5 |
166 | [๖๒๖] ชื่อว่า สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ ด้วยปฐมฌานเป็นต้น (พลกถา) 69/611/1 69/617/10 |
167 | [๖๒๗] ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น (พลกถา) 69/611/19 69/617/21 |
168 | [๖๒๙] ขีณาสวพละ 10 ประการ (พลกถา) 69/612/14 69/618/24 |
169 | [๖๓๑] ตถาคตพละ 10 ประการ (พลกถา) 69/614/3 69/620/8 |
170 | หิริมีความเคารพเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความเห็นภัยจากความกลัวโทษ เป็นลักษณะ (อ.พลกถา) 69/618/3 69/623/21 |
171 | ธรรมใดไม่หวั่นไหวเป็นธรรมมีกำลัง ธรรมนั้นย่อมอุปถัมภ์ธรรมที่เกิดร่วมกันพระโยคาวจรควบคุมกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ของตนไว้ได้ ชำระศีลและทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้น แห่งการแทงตลอดไว้ได้ ยังจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ ทำจิตให้ผ่องใสให้ผ่องแผ้ว ถึงความชำนาญย่อมให้บรรลุคุณวิเศษ (อ.พลกถา) 69/618/21 69/624/24 |
172 | กำลังพระกายของพระตถาคต เท่ากับกำลังของบุรุษ 10,000 โกฏิ เท่ากับกำลังของช้างปกติ 1,000 โกฏิ (อ.พลกถา) 69/623/12 69/629/22 |
173 | จักกศัพท์ปรากฏใน สมบัติ ลักษณะ เครื่องประกอบรถ อิริยาบถ ทาน รัตนจักรธรรมจักร อุรจักร เป็นต้น (อ.พลกถา) 69/625/16 69/632/1 |
174 | ทศพลญาณ ย่อมรู้กิจของตนๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้กิจนั้นบ้าง กิจที่เหลือจากนั้นบ้าง (อ.พลกถา) 69/629/17 69/636/15 |
175 | [๖๓๓] ที่ว่าโลกสูญ เพราะ สูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน.(สุญญกถา) 69/634/8 69/641/9 |
176 | [๖๓๔-๖๕๘] สิ่งที่สูญ สูญเป็นไฉน ? (สุญญกถา) 69/635/3 69/642/2 |
177 | บทว่า สุญโญ ท่านกล่าวถึงความไม่มีตน และสาระอันเนื่องด้วยตนในธรรมนั้น.(อ.สุญญกถา) 69/644/7 69/650/24 |
178 | ชื่อว่า วิปริณามสูญ เพราะสูญผิดรูป เปลี่ยนแปลง แปรปรวนไปด้วยชรา และความดับ สูญเพราะวิปริณามธรรมนั้น (อ.สุญญกถา) 69/644/22 69/651/18 |
179 | ชื่อว่า บุญ เพราะกลั่นกรองการกระทำของตน ยังอัธยาศัยของบุคคลนั้นให้เต็มและยังความเจริญน่าบูชาให้เกิด (อ.สุญญกถา) 69/647/2 69/653/24 |
180 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามีอยู่ แม้เราก็กล่าวว่า สิ่งนั้นมีอยู่ (อ.สุญญกถา) 69/649/15 69/656/12 |
181 | สังขตลักษณะของสังขตธรรม 3 เหล่านี้ คือ ความเกิดปรากฏ ความเสื่อมปรากฏเมื่อตั้งอยู่ ความแปรไปปรากฏ (อ.สุญญกถา) 69/651/14 69/658/7 |
182 | ธรรมทั้งปวงที่เป็นโลกิยธรรม ชื่อว่า สูญจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและตัวตนเพราะ ปราศจากความยั่งยืน ความงามความสุขและตัวตน นิพพาน-ธรรม ชื่อว่า สูญจากตัวตนเพราะไม่มีตัวตน (อ.สุญญกถา) 69/656/1 69/662/25 |
183 | [๖๕๙] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ชวนปัญญา(ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา ย่อมยังปัญญาทำลายกิเลสให้บริบูรณ์ ,อนัตตานุปัสสนา ย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์ (มหาปัญญากถา) 69/657/7 69/664/9 |
184 | [๖๖๒-๖๖๓] ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอริยผล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส (มหาปัญญากถา) 69/661/16 69/668/17 |
185 | [๖๖๕] ชื่อว่า มหาปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถใหญ่ กำหนดธรรมใหญ่ กำหนดนิรุตติใหญ่ กำหนดปฏิภาณใหญ่ ฯลฯ .(มหาปัญญากถา) 69/663/15 69/670/8 |
186 | [๖๗๘] บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน (มหาปัญญากถา) 69/673/21 69/679/20 |
187 | อนุปัสสนา 7 ย่อมยังปัญญาต่างๆ ให้บริบูรณ์ (อ.มหาปัญญากถา) 69/676/18 69/682/11 |
188 | ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ปฏิบัติธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติมีศีล เป็นต้น อันเนื่องในโลกุตรธรรม (อ.มหาปัญญากถา) 69/681/16 69/687/10 |
189 | พระพุทธเจ้าทรงทำปัญหาที่มีผู้จะถาม ทำให้มีสาระซับซ้อน ใส่ไว้ในระหว่างธรรมกถาแล้วจึงทรงแสดงธรรม (อ.โสฬสปัญญานิเทส) 69/696/17 69/704/7 |
190 | [๖๘๐] ฤทธิ์ 10 อย่าง คือ ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์แผ่ไปด้วยญาณ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ฤทธิ์ของพระอริยะ ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์สำเร็จแต่วิชา ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น. (อิทธิกถา) 69/706/7 69/715/9 |
191 | [๖๘๑-๖๘๒] ภูมิ 4 แห่งฤทธิ์ และบาท 4 แห่งฤทธิ์ (อิทธิกถา) 69/706/13 69/715/14 |
192 | [๖๘๔] จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน จึงชื่อว่า อเนญชา(จิตไม่หวั่นไหว) (อิทธิกถา) 69/707/14 69/716/14 |
193 | [๖๘๕] ฤทธิ์ที่อธิษฐาน เป็นไฉน ? (อิทธิกถา) 69/708/10 69/717/7 |
194 | [๖๘๗] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ เป็นไฉน ? (อิทธิกถา) 69/712/19 69/721/6 |
195 | [๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะ เป็นไฉน ? (อิทธิกถา) 69/714/9 69/722/16 |
196 | [๖๙๑] นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก มีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม (อิทธิกถา) 69/715/21 69/724/2 |
197 | ชื่อว่า อิทธิ เพราะเนกขัมมะย่อมสำเร็จ ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะ (อ.อิทธิกถา) 69/717/15 69/725/17 |
198 | การอธิษฐาน ทำคนเดียวให้เป็นหลายคน. (อ.ทสอิทธินิเทศ) 69/722/17 69/731/7 |
199 | สัญญาอันประกอบด้วยอุเบกขา ชื่อ สุขสัญญา เพราะอุเบกขาท่านกล่าวว่าความสงบเป็นความสุข สัญญานั่นแหละ พึงทราบว่าเป็นลหุสัญญาเพราะพ้นจากนิวรณ์ และธรรมเป็นข้าศึกมีวิตก เป็นต้น. (อ.ทสอิทธินิเทศ) 69/730/20 69/739/13 |
200 | มโนมยิทธิ (อ.ทสอิทธินิเทศ) 69/737/13 69/745/17 |
201 | ยักษ์ตนหนึ่ง ตีศีรษะของพระสารีบุตร แล้วยักษ์นั้นเกิดความเร่าร้อน ตกลงในมหานรก (อ.ทสอิทธินิเทศ) 69/742/20 69/751/6 |
202 | นางอุตตรา ถูกนางสิริมา ราดศีรษะด้วยเนยใสเดือดๆ (อ.ทสอิทธินิเทศ) 69/747/7 69/755/8 |
203 | [๖๙๕-๖๙๖] คำว่า ความตรัสรู้ บุคคลย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบัน และญาณในขณะโลกุตรมรรค อย่างไร ? (อภิสมยกถา) 69/770/3 69/777/7 |
204 | การสืบต่อขันธ์อันเป็น ปัจจุบัน ด้วยเหตุ 4 ประการ คือ การเกิด ความเป็นไปนิมิต การประมวล(กรรม) (อ.อภิสมยกถา) 69/779/3 69/786/18 |
205 | เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ คือ เพราะความไม่เกิดสันดานอันเป็นพืชของกิเลสทั้ง-หลายดับ ก็เป็นอันดับความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ อันเป็นขันธ์ในอนาคต (อ.อภิสมยกถา) 69/779/10 69/787/1 |
206 | [๗๐๑-๗๐๒] ภิกษุอาศัย ศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ อริยมรรคได้ .(วิเวกกถา) 69/780/4 69/788/5 |
207 | [๗๐๓-๗๑๑] ภิกษุอาศัย ศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. (วิเวกกถา) 69/781/3 69/788/23 |
208 | พืช 5 อย่าง คือ พืชจากราก จากต้น จากยอด จากข้อ จากพืช ชื่อว่าภูต-คามจำเดิมแต่ความปรากฏแห่งหน่อเขียวสมบูรณ์แล้ว เมื่อเทวดาหวงแหนย่อมเป็นตั้งแต่เวลามีหน่อสีเขียว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูตคาม เพราะเป็นบ้านของภูต คือ เทวดาเหล่านั้น (อ.วิเวกกถา) 69/787/16 69/795/2 |
209 | [๗๑๕-๗๑๗] จริยา 8 คือ อริยาปถจริยา อายตนจริยา สติจริยา สมาธิจริยาญาณจริยา มรรคจริยา ปัตติจริยา โลกัตถจริยา (จริยากถา) 69/791/3 69/799/4 |
210 | [๗๑๘-๗๒๑] ปฏิหาริย์ 3 ประการ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์อนุศาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริยกถา) 69/793/10 69/801/4 |
211 | [๗๒๒] อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อาโลกสัญญาย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้นเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลก-สัญญา เป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริยกถา) 69/795/17 69/803/3 |
212 | ชื่อว่า อิทธิ ด้วยความสำเร็จ ชื่อว่า ปาฏิหาริยะ ด้วยการนำออกไป..(อ.ปาฏิหาริยกถา) 69/797/8 69/804/17 |
213 | [๗๒๓] คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรมอกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรมโลกุตรธรรม (สมสีสกถา) 69/801/13 69/810/6 |
214 | [๗๒๕] สีสธรรม มี 13 อย่าง (สมสีสกถา) 69/803/1 69/811/11 |
215 | [๗๒๗] ภาวนามี 4 คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน , ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน , ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น , ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ .(สติปัฏฐานกถา) 69/805/6 69/814/3 |
216 | [๗๒๘-๗๓๐] ภิกษุมีปกติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา, เห็นจิตในจิต, เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่อย่างไร ? (สติปัฏฐานกถา) 69/806/3 69/814/25 |
217 | กายานุปัสสนา อย่างหยาบเป็นทางหมดจดของผู้มี ตัณหาจริตอ่อน , เวทนานุปัสสนาอย่างละเอียด เป็นทางหมดจดของผู้เฉียบแหลม , จิตตานุปัสสนาอันมีประเภทไม่ยิ่งเกิน เป็นทางหมดจดของผู้มีทิฏฐิจริตอ่อน , ธัมมานุปัสสนาอันมีประเภทยิ่งเกินเป็นทางบริสุทธิ์ของผู้มีทิฏฐิจริตเฉียบแหลม (อ.สติปัฏฐานกถา) 69/810/16 69/819/12 |
218 | [๗๓๑-๗๓๓] ภิกษุพิจารณาสังขารไรๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามจักทำให้แจ้งซึ่ง อริยผลข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ (วิปัสสนากถา) 69/813/4 69/822/5 |
219 | [๗๓๔] ภิกษุพิจารณาเห็นนิพพาน โดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่ง อริยผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ (วิปัสสนากถา) 69/814/14 69/823/12 |
220 | [๗๓๕-๗๓๖] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติ ด้วยอาการ 40 ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ 40 (วิปัสสนากถา) 69/815/1 69/823/22 |
221 | ชื่อว่า ขันติ เพราะสังขารทั้งปวงย่อมชอบใจแก่ภิกษุนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขันตินั้น มี 3 อย่าง คือ อย่างอ่อน อย่างกลาง อย่างกล้า.(อ.วิปัสสนากถา) 69/821/4 69/829/15 |
222 | ชื่อว่า นิยาม เพราะเป็นความแน่นอนด้วยการให้ผลในลำดับและด้วยการบรรลุพระอรหัต ความว่า การตั้งใจแน่วแน่. ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม เพราะความชอบ และความแน่นอน (อ.วิปัสสนากถา) 69/821/17 69/829/24 |
223 | [๗๓๗] บุคคลผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้น (มาติกากถา) 69/828/3 69/837/4 |
224 | [๗๓๘] ข้อว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (มาติกากถา) 69/829/3 69/838/3 |
225 | [๗๔๐] คำว่า เนกขัมมะ (มาติกากถา) 69/830/4 69/839/2 |
226 | [๗๔๑] ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะ เข้าสู่ที่ประชุมใด ย่อมองอาจไม่เก้อเขิน (มาติกากถา) 69/832/1 69/840/22 |