1 | [๑-๓] แรกตรัสรู้ พระพุทธองค์ ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลม และ ปฏิโลม (มหาขันธกะ) 6/1-66/1-6 6/1-6 |
2 | ที่มาของ อุรุเวลา หรือกองทรายใหญ่ จากกติกาวัตรของดาบส หมื่นคน (อ.มหาขันธก) 6/8/156/8/15 6/211/1 |
3 | [๔] สัปดาห์ที่ 5 หลังจากตรัสรู้ พระพุทธองค์ ทรงประทับนั่งใต้ต้น อชปาลนิโครธได้มีพราหมณ์ หุหุกชาติ มาถามธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ (มหาขันธกะ) 6/16/36/16/3 6/7/4 |
4 | สัปดาห์ที่ 1 เทวดาบางพวกสงสัยว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงเสด็จลุกขึ้น ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า แม้อื่น จะมีอีกกระมัง (อ.มหาขันธก) 6/17/186/17/18 6/218/16 |
5 | 4 สัปดาห์ ที่พระพุทธเจ้า ทรงอยู่บริเวณใกล้เคียง โพธิพฤกษ์ (อ.มหาขันธก) 6/18/156/18/15 6/219/8 |
6 | [๕] สัปดาห์ที่ 6 ทรงประทับนั่ง ที่ใต้ต้นมุจจลินท์ ซึ่งมุจจลินทนาคราช มาทำขนดรอบ กันความหนาวแก่พระพุทธองค์ (มหาขันธกะ) 6/20/156/20/15 6/8/4 |
7 | [๖] สัปดาห์ที่ 7 ทรงประทับนั่งใต้ต้น ราชายตนะ แล้วพ่อค้า 2 พี่น้อง นำสัตตุก้อน สัตตุผง มาถวาย และประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้าและ พระธรรมว่าเป็นสรณะ (มหาขันธกะ) 6/24/86/24/8 6/9/7 |
8 | เทวาดาผู้เป็นญาติ ของพ่อค้า 2 พี่น้อง ได้บอกให้เขา ไปถวายอาหารแด่พระพุทธองค์ (อ.มหาขันธก) 6/27/36/27/3 6/224/13 |
9 | พ่อค้า 2 พี่น้อง ได้พระเกศธาตุ (อ.มหาขันธก) 6/29/36/29/3 6/226/9 |
10 | ความรำพึงที่ไม่อยากแสดงธรรม ย่อมเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เพื่อให้พรหมกราบทูลเชิญแสดงธรรม (อ.มหาขันธก) 6/34/56/34/5 6/226/24 |
11 | [๑๑] พระพุทธองค์ ทรงพบอุปกาชีวก ระหว่างแม่น้ำคงคา และโพธิพฤกษ์ (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) 6/40/106/40/10 6/15/18 |
12 | [๑๓-๑๗] ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) 6/44/96/44/9 6/19/4 |
13 | [๑๗] ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนจากเหล่าภุมมเทวดา ขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้สะเทือนสะท้าน (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) 6/48/86/48/8 6/22/14 |
14 | [๑๘] พระปัญจวัคคีย์ ทูลขอ บรรพชา อุปสมบท (มหาขันธกะ) 6/50/26/50/2 6/23/14 |
15 | [๒๐-๒๔] ทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ (มหาขันธกะ) 6/52/26/52/2 6/25/6 |
16 | ในวันแรม 5 ค่ำ มนุษย์ 6 คน เป็นพระอรหันต์ในโลก (อ.มหาขันธกะ) 6/61/136/61/13 6/235/6 |
17 | [๒๗] พ่อของพระยส ได้เป็นโสดาบัน และเป็นอุบาสก กล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นคนแรกในโลก (มหาขันธกะ) 6/64/216/64/21 6/31/25 |
18 | [๒๙] มารดา และภรรยาเก่าของท่านพระยส ได้เป็นโสดาบัน และเป็น อุบาสิกากล่าวอ้างพระรัตนตรัย เป็นชุดแรกในโลก (มหาขันธกะ) 6/67/206/67/20 6/34/16 |
19 | [๓๒] ทรงส่งพระอรหันต์ 60 รูปแรก ไปประกาศธรรม เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่ทวยเทพ และมนุษย์ (มหาขันธกะ) 6/72/26/72/2 6/38/11 |
20 | [๓๔] ทรงอนุญาต ให้ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ให้อุปสมบท โดยการให้กุลบุตร ปลงผม และหนวด...บวชด้วยไตรสรณคมน์ (มหาขันธกะ) 6/74/126/74/12 6/40/24 |
21 | บุรพกรรม ของสหาย 55 คน ในการจัดเผาศพ คนอนาถา จึงได้อสุภสัญญา (อ.มหาขันธกะ) 6/75/146/75/14 6/235/14 |
22 | ในอุปสัมปทา ถ้าอาจารย์ทำกรรมเว้นญัตติโทษ และ กรรมวาจาโทษแล้ว กรรมเป็นอันทำถูกต้อง ส่วนในบรรพชา ทั้งอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิก ต้องว่า สรณะ 3 ให้ถูกต้อง (อ.มหาขันธกะ) 6/80/166/80/16 6/240/2 |
23 | บรรพชา ย่อมขึ้นด้วยมาตรว่าสรณะเท่านั้น (อ.มหาขันธกะ) 6/81/146/81/14 6/240/25 |
24 | ควรสงวนสามเณรผู้บวชใหม่ เหมือนเด็กอ่อน ควรบอกสิ่งที่ควร และไม่ควรทุกอย่างแก่เธอ (อ.มหาขันธกะ) 6/83/26/83/2 6/242/4 |
25 | สหาย ภัททวัคคีย์ 30 คน เคยเป็นนักเลง 30 คน ในตุณฑิลชาดก บางพวกได้โสดาบัน บางพวกได้สกทาคามี บางพวกได้อนาคามี (อ.มหาขันธกะ) 6/86/176/86/17 6/242/20 |
26 | [๓๗-๕๐] พระพุทธองค์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์ แก่ อุรุเวลกัสสป และบริวาร (มหาขันธกะ) 6/87-1016/87-101 6/44 - 58 |
27 | [๕๕] ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร แก่ชฎิล 1000 รูป ที่ใกล้แม่น้ำ คยา (อาทิตตปริยายสูตร) 6/105/26/105/2 6/60/23 |
28 | [๕๘] พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมบริวาร 11 นหุต ( 110,000 คน) ได้ดวงตาเห็นธรรม (มหาขันธกะ) 6/113/16/113/1 6/65/16 |
29 | [๕๙] ความปรารถนา ของพระเจ้าพิมพิสาร 5 ประการ (มหาขันธกะ) 6/113/136/113/13 6/66/1 |
30 | [๖๑-๖๓] ท้าวสักกะนิรมิตเพศเป็นมาณพ เสด็จพระดำเนินหน้าภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข สู่พระราชนิเวศน์ ของพระเจ้าพิมพิสาร (มหาขันธกะ) 6/115/46/115/4 6/67/14 |
31 | [๖๓] ทรงอนุญาต อาราม (มหาขันธกะ) 6/118/16/118/1 6/69/23 |
32 | [๖๖-๖๙] สารีบุตร และโมคคัลลานปริพาชก ได้ดวงตาเห็นธรรม (มหาขันธกะ) 6/124-1266/124-126 6/71-73 |
33 | [๗๑] พระพุทธเจ้าทรงเห็น สารีบุตร และโมคคัลลานปริพาชก กำลังมา แล้วรับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายว่า 2 ท่านนี้ จักเป็นคู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญของเรา (มหาขันธกะ) 6/127/156/127/15 6/75/1 |
34 | [๗๓-๗๖] ประชาชนชาวมคธ ติเตียนพระพุทธเจ้าว่า พระสมณะโคดมปฏิบัติเพื่อให้หญิงเป็นหม้าย พระองค์ทรงให้ภิกษุทั้งหลาย กล่าวตอบโดยธรรม (มหาขันธกะ) 6/128/146/128/14 6/76/1 |
35 | พระมหาโมคคัลลานเถระ 7 วัน จึงได้สำเร็จพระอรหัต พระสารีบุตรเถระ กึ่งเดือนจึงได้สำเร็จ พระอรหัต (อ.มหาขันธกะ) 6/134/126/134/12 6/251/6 |
36 | [๘๐] ทรงอนุญาต อุปัชฌายะ (มหาขันธกะ) 6/138/116/138/11 6/80/4 |
37 | [๘๐] อุปัชฌายะ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกาย วาจาก็ได้ เป็นอันสัทธิวิหาริก ถืออุปัชฌาย์แล้ว. ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยกาย วาจาไม่เป็นอันสัทธิวิหาริก ถืออุปัชฌายะ (มหาขันธกะ) 6/139/16/139/1 6/80/16 |
38 | ในที่ใดๆ ท่านทำการห้ามไว้ด้วย น อักษรที่แปลว่า ไม่ หรือ อย่า พึงทราบว่าเป็นอาบัติทุกกฏ (อ.มหาขันธกะ) 6/148/46/148/4 6/255/3 |
39 | ไม่ควรวางบาตรบนดินร่วนฝุ่น และกรวด แต่พึงวางใบไม้ หรือเชิงบาตร บนสิ่งเหล่านั้น แล้วจึงวางบาตร (อ.มหาขันธกะ) 6/149/146/149/14 6/256/10 |
40 | สัทธิวิหาริก ผู้ไม่เจ็บไข้ แม้มีพรรษา 60 ก็ควรทำอุปัชฌายวัตรทุกอย่าง เมื่อไม่ทำด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ (อ.มหาขันธกะ) 6/150/126/150/12 6/257/4 |
41 | ถ้าอุปัชฌาย์ โง่ ไม่เฉียบแหลม แม้สัทธิวิหาริก ลา 3 ครั้ง ก็ยังไม่ให้ไป จะขืนไปก็ควร (อ.มหาขันธกะ) 6/153/96/153/9 6/259/7 |
42 | [๘๓] สัทธิวิหาริก จะไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/160/136/160/13 6/91/6 |
43 | [๘๓] ทรงอนุญาต ให้ประณาม สัทธิวิหาริก ผู้ไม่ประพฤติชอบ (มหาขันธกะ) 6/160/166/160/16 6/91/12 |
44 | [๘๓] ทรงอนุญาต ให้สัทธิวิหาริก ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ (มหาขันธกะ) 6/161/76/161/7 6/92/4 |
45 | [๘๓] สัทธิวิหาริก ถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/161/116/161/11 6/92/8 |
46 | [๘๓] อุปัชฌายะอันพวกสัทธิวิหาริก ขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้รูปใดไม่ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/161/186/161/18 6/92/18 |
47 | [๘๔] สัทธิวิหาริก ผู้ประพฤติชอบ อุปัชฌายะไม่พึงประณาม รูปใดประณามต้องอาบัติทุกกฏ สัทธิวิหาริก ผู้ประพฤติมิชอบ อุปัชฌายะจะไม่ประณามไม่ได้ รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/162/16/162/1 6/93/3 |
48 | สัทธิวิหาริกใด ไม่ทำวัตรตามที่บัญญัติไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าอุปัชฌายะบอกว่าอุปัฏฐากของฉันมี พวกเธอพึงทำความเพียรของตนเถิด ไม่เป็นอาบัติแก่พวกสัทธิวิหาริก หรือมีภิกษุผู้ฉลาด รับเป็นภาระแทน (อ.มหาขันธกะ) 6/164/186/164/18 6/261/7 |
49 | [๘๕] ทรงห้ามการอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์ , อนุญาต การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม (มหาขันธกะ) 6/167/116/167/11 6/97/6 |
50 | [๘๖] กุลบุตรมิได้ขอร้อง ไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกขอร้อง อุปสมบทให้ (มหาขันธกะ) 6/169/36/169/3 6/98/14 |
51 | [๘๗] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ให้อุปสมบท บอกนิสัย 4 (มหาขันธกะ) 6/171/136/171/13 6/100/20 |
52 | [๘๘] ภิกษุไม่พึงบอกนิสัย ก่อนบวช รูปใดบอกต้องอาบัติทุกกฏ พออุปสมบทแล้ว ทรงอนุญาตให้บอกนิสัย (มหาขันธกะ) 6/174/76/174/7 6/101/18 |
53 | [๘๙] ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ด้วยคณะ มีพวกหย่อน 10 รูปใดให้อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/174/136/174/13 6/102/1 |
54 | [๙๐] ภิกษุมีพรรษาหย่อน 10 ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/176/126/176/12 6/103/21 |
55 | [๙๑] ภิกษุเขลาไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้สามารถ มีพรรษาได้ 10 หรือเกิน 10 ให้อุปสมบทได้ (มหาขันธกะ) 6/178/116/178/11 6/105/12 |
56 | [๙๒] ทรงอนุญาตให้อาศัยภิกษุมีพรรษา 10 อยู่ อนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้10ให้นิสัย (มหาขันธกะ) 6/180/36/180/3 6/106/23 |
57 | [๙๒] อาจารย์รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกาย และวาจาเป็นอันว่าอันเตวาสิก ถืออาจารย์แล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้ง กาย และวาจา ไม่เป็นอันว่า อันเตวาสิก ถืออาจารย์แล้ว (มหาขันธกะ) 6/180/126/180/12 6/107/8 |
58 | [๙๕] อันเตวาสิกจะไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/191/136/191/13 6/117/10 |
59 | [๙๕] เมื่ออันเตวาสิกถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อาจารย์อดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/192/106/192/10 6/118/12 |
60 | [๙๕] อาจารย์อันพวกอันเตวาสิก ขอให้อดโทษอยู่ จะไม่อดโทษไม่ได้ รูปใดไม่อดโทษต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/192/186/192/18 6/118/20 |
61 | [๙๕] อันเตวาสิกผู้ประพฤติชอบอาจารย์ไม่พึงประณาม รูปใดประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ แต่อันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ อาจารย์จะไม่ประณาม ไม่ได้ รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/192/216/192/21 6/119/4 |
62 | [๙๖] ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้นิสัย รูปใดให้ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/196/176/196/17 6/122/24 |
63 | [๙๗] นิสัยระงับจากอุปัชฌาย์ 5 อย่าง, นิสัยระงับจากอาจารย์ 6 อย่าง (มหาขันธกะ) 6/197/26/197/2 6/123/4 |
64 | [๙๘-๙๙] องค์ 5 และองค์ 6 ของผู้ควร และ ไม่ควรให้อุปสมบท ให้นิสัย ให้สามเณรอุปัฏฐาก (มหาขันธกะ) 6/198-2146/198-214 6/124-140 |
65 | ถ้าอุปัชฌาย์ จากไป และได้สั่งไว้ว่า ฉันจักไป สัก 2-3 วัน ได้ความคุ้มอาบัติในการถือนิสัย จนกว่าท่านจะกลับ (อ.มหาขันธกะ) 6/218/36/218/3 6/265/22 |
66 | วินิจฉัยการที่พระอุปัชฌายะ สั่งบังคับ ผลักออก ด้วยประณามนิสัย และ การขอให้อดโทษ (อ.มหาขันธกะ) 6/218/146/218/14 6/266/10 |
67 | วินิจฉัยการที่อาจารย์ สั่งบังคับ ผลักลูกศิษย์ออก ด้วยการประณามนิสัยถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยังมีอาลัยอยู่ นิสัยย่อมไม่ระงับ (อ.มหาขันธกะ) 6/220/156/220/15 6/268/4 |
68 | ผู้ต้องอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส ชื่อว่า ผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล ผู้ต้องอาบัติ5 กอง นอกจากนี้ ชื่อว่า ผู้วิบัติด้วยอาจาระในอัชฌาจาร (อ.มหาขันธกะ) 6/222/246/222/24 6/270/13 |
69 | [๑๐๐] ภิกษุที่ไปเข้ารีดเดียรถีย์ มาขอบวชอีก ไม่พึงอุปสมบทให้ แม้ผู้ที่เคยเป็นเดียรถีย์หวังบรรพชา อุปสมบท พึงให้ปริวาส 4 เดือนแก่เธอ (มหาขันธกะ) กะ) 6/225/66/225/6 6/140/17 |
70 | [๑๐๐] ข้อปฏิบัติที่ทำให้สงฆ์ยินดี และไม่ยินดี ของผู้อยู่ ติตถิยปริวาส 6/227-2306/227-230 6/142-145 |
71 | [๑๐๐] เดียรถีย์เปลือยกายมา ต้องแสวงหาจีวร ซึ่งมีอุปัชฌายะ เป็นเจ้าของถ้ายังไม่ได้ปลงผมมา สงฆ์พึงอปโลกน์ เพื่อปลงผม (มหาขันธกะ) 6/230/126/230/12 6/145/7 |
72 | [๑๐๐] ชฎิลผู้บูชาไฟ หรือศากยะโดยกำเนิด เคยเป็นอัญญเดียรถีย์มา พึงอุปสมบทให้ ไม่ต้องอยู่ปริวาส (มหาขันธกะ) 6/230/156/230/15 6/145/10 |
73 | ติตถิยปริวาส พึงให้แก่อาชีวก หรืออเจลก ผู้เป็นปริพาชกเปลือย เท่านั้น 6/231/96/231/9 6/272/12 |
74 | กุลบุตรผู้เคยเป็น อัญญเดียรถีย์ กำลังบำเพ็ญ ติตถิยวัตร ถ้าวัตรอันหนึ่งเสีย ทำลาย พึงอยู่ปริวาสครบ 4 เดือนอีก แต่ถ้าได้โสดาปัตติมรรค ควรให้ อุปสมบทวันนั้นแท้ (อ.มหาขันธกะ) 6/236/86/236/8 6/276/22 |
75 | [๑๐๑] กุลบุตรผู้ถูกโรค 5 ชนิด กระทบเข้า ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/241/206/241/20 6/148/17 |
76 | โรค 5 ชนิด เป็นโรค ดื่นดาด คือ ลุกลาม แพร่หลาย แก่หมู่มนุษย์ และอมนุษย์ในชนบทมีชื่อว่า มคธ (อ.มหาขันธกะ) 6/242/36/242/3 6/279/4 |
77 | ผู้มีร่างกายพรุนไปด้วยรอย จุดๆ คล้ายหนังเหี้ย ก็ไม่ควรจะให้บวช (อ.มหาขันธกะ) 6/242/166/242/16 6/279/20 |
78 | บุคคลผู้ถูกอมนุษย์ ซึ่งเคยเป็นคู่เวรกัน สิงแล้ว ย่อมเป็นผู้เยียวยาได้อยาก ก็ไม่ควรให้บวช (อ.มหาขันธกะ) 6/243/156/243/15 6/280/15 |
79 | [๑๐๒] ราชภัฏ (ข้าราชการ) ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/245/196/245/19 6/150/8 |
80 | ราชภัฏ ผู้ใดได้รับบรมราชานุญาต จากพระราชาแล้ว จะให้บวช ควรอยู่ (อ.มหาขันธกะ) 6/246/216/246/21 6/281/13 |
81 | [๑๐๓] โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/247/86/247/8 6/150/17 |
82 | [๑๐๔] โจรผู้หนีเรือนจำ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/248/96/248/9 6/151/20 |
83 | [๑๐๕] โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/249/36/249/3 6/152/16 |
84 | [๑๐๖] บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/249/106/249/10 6/153/1 |
85 | [๑๐๗] บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/249/176/249/17 6/153/9 |
86 | โจรลือชื่อในกาลก่อน ภายหลังเลิกแล้ว กลับสมาทานศีล 5 ถ้าชาวบ้านรู้จัก อย่างนั้น ควรให้บวช (อ.มหาขันธกะ) 6/251/16/251/1 6/282/8 |
87 | ผู้ถูกส่อเสียดใส่ความ หนีไปบวช ที่ตำบลอื่นได้อยู่ (อ.มหาขันธกะ) 6/252/56/252/5 6/283/17 |
88 | ผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย เมื่อแผลหายแล้ว บวชได้ (อ.มหาขันธกะ) 6/252/206/252/20 6/284/9 |
89 | ถ้ารอยแผลที่ถูกนาบด้วยเหล็กแดงนั้น เป็นแผลเป็น อยู่บริเวณที่มิได้ปกปิด ไม่ควรให้บวช (อ.มหาขันธกะ) 6/253/66/253/6 6/284/18 |
90 | [๑๐๘] คนมีหนี้ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/254/136/254/13 6/154/3 |
91 | คนมีหนี้มาขอบวช เมื่อภิกษุไม่ทราบให้บวช ไม่เป็นอาบัติ (อ.มหาขันธกะ) 6/256/106/256/10 6/285/21 |
92 | [๑๐๙] คนเป็นทาส ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/258/136/258/13 6/154/17 |
93 | [๑๑๐] ทรงอนุญาต ให้อปโลกน์ ต่อสงฆ์เพื่อการปลงผม (มหาขันธกะ) 6/259/76/259/7 6/155/12 |
94 | [๑๑๑]ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงให้บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องปรับอาบัติตามธรรม (มหาขันธกะ) 6/261/216/261/21 6/158/2 |
95 | เรื่องบุตรนางทาสี เมื่อบวชแล้วรู้ว่าตนเป็นลูกทาส จึงเดินทางไปหา ผู้เป็นนายของมารดาตน แจ้งเรื่องทั้งหมด ทำตนให้เป็นไท (อ.มหาขันธกะ) 6/264/56/264/5 6/288/18 |
96 | [๑๑๓] ทรงอนุญาตให้บวชเด็กชาย มีอายุหย่อน 15 ปี แต่สามารถไล่กาได้ (มหาขันธกะ) 6/266/36/266/3 6/159/9 |
97 | [๑๑๔] ภิกษุรูปเดียวไม่พึงให้สามเณร 2 รูป อุปัฏฐาก รูปใดให้อุปัฏฐากต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/266/96/266/9 6/159/18 |
98 | ภิกษุอปโลกน์ ต่อสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ ภัณฑุกรรม(การปลงผม) จะบอก 3 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง หรือ ครั้งเดียวก็ได้ (อ.มหาขันธกะ) 6/266/146/266/14 6/289/11 |
99 | ฝ่ายผู้ใดโกนผมแล้ว หรือเป็นนิครนถ์มีผม 2 องคุลี กิจที่จะต้องปลงผมของผู้นั้นไม่มี จะไม่บอกภัณฑุกรรม ของผู้นั้นก็ควร (อ.มหาขันธกะ) 6/267/136/267/13 6/290/10 |
100 | [๑๑๕] ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ ถือนิสัยอยู่ 5 พรรษา และให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต (อ.มหาขันธกะ) 6/269/106/269/10 6/161/2 |
101 | ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ถ้าไม่ได้อาจารย์ผู้แก่กว่าตน เธอแม้พรรษา 60 จะอยู่ ถือนิสัยในสำนักของภิกษุแม้อ่อนกว่า แต่เป็นผู้ฉลาดได้ (อ.มหาขันธกะ) 6/279/66/279/6 6/291/9 |
102 | [๑๑๘] ทรงอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณร ด้วยไตรสรณคมน์ ชั้นต้นพึงให้โกนผม และหนวด .. (มหาขันธกะ) 6/281/36/281/3 6/171/2 |
103 | [๑๑๘] บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/283/126/283/12 6/173/1 |
104 | [๑๑๙] ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปเดียวรับสามเณร 2 รูป ไว้อุปัฏฐากได้ หรือถ้าอาจจะโอวาทอนุศาสน์ สามเณรจำนวนเท่าใด ก็ให้รับไว้จำนวนเท่านั้น (มหาขันธกะ) 6/284/46/284/4 6/173/14 |
105 | พระเจ้าสุทโธทนะ ในมรณสมัย ได้บรรลุพระอรหัต ภายใต้เศวตฉัตร นั้นแล 6/291/66/291/6 6/297/19 |
106 | พระมหาโมคคัลลานเถระ ปลงพระเกศาของ ราหุลกุมาร แล้วมอบผ้ากาสายะพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ พระมหากัสสปได้เป็นโอวาทาจารย์ (อ.มหาขันธกะ) 6/294/226/294/22 6/301/5 |
107 | [๑๒๑] ทรงอนุญาตให้ลง ทัณฑกรรม คือ ห้ามปรามแก่สามเณร ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 (มหาขันธกะ) 6/299/76/299/7 6/174/24 |
108 | [๑๒๑] ภิกษุไม่พึงลงทัณฑกรรม คือ ห้ามสังฆารามทุกแห่ง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ อนุญาตให้ ห้ามเฉพาะสถานที่ ที่สามเณรจะอยู่หรือจะเข้าไปได้ (มหาขันธกะ) 6/300/16/300/1 6/175/19 |
109 | [๑๒๑] ภิกษุไม่พึงลงทัณฑกรรม คือ ห้ามอาหารที่จะกลืนเข้าไปทางช่องปาก รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/300/136/300/13 6/176/10 |
110 | [๑๒๒] ภิกษุไม่บอกอุปัชฌาย์ก่อนแล้ว ไม่พึงทำการกักกัน สามเณร รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/301/46/301/4 6/176/22 |
111 | [๑๒๓] บริษัทของภิกษุอื่น ภิกษุไม่พึงเกลี้ยกล่อม รูปใดเกลี้ยกล่อม ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/301/106/301/10 6/177/6 |
112 | [๑๒๔] ให้นาสนะสามเณร ผู้ประกอบด้วยองค์ 10 (มหาขันธกะ) 6/301/176/301/17 6/177/9 |
113 | จะลงทัณฑกรรมแก่สัทธิวิหาริก และอันเตวาสิก อย่างสามเณรก็ควร (มหาขันธกะ) 6/304/146/304/14 6/307/4 |
114 | สามเณรผู้มีโทษซับซ้อน และจะไม่ตั้งอยู่ในสังวร พึงกำจัดออกเสีย แต่ถ้าเธอจะตั้งอยู่ในสังวร พึงให้สรณะ พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอ ซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิม (อ.มหาขันธกะ) 6/305/86/305/8 6/307/23 |
115 | การดื่มน้ำเมาของเหล่าสามเณร เป็นสจิตตกะ จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก 6/306/46/306/4 6/308/16 |
116 | สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ย่อมไม่ได้แม้บรรพชา และอุปสมบท (อ.มหาขันธกะ) 6/307/86/307/8 6/309/20 |
117 | [๑๒๕] กะเทย ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึก (มหาขันธกะ) 6/308/166/308/16 6/178/22 |
118 | [๑๒๖] คนลักเพศ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึก (มหาขันธกะ) 6/312/16/312/1 6/179/21 |
119 | [๑๒๖] อนุปสัมบันผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึก (มหาขันธกะ) 6/312/46/312/4 6/179/24 |
120 | คนเถยยสังวาสก์ ทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นอนุปสัมบัน ไม่ควรให้อุปสมบท เป็นอุปสัมบันควรให้ฉิบหายเสีย แม้ขอบวชอีก ก็ไม่ควรให้บวช (อ.มหาขันธกะ) 6/314/16/314/1 6/312/2 |
121 | [๑๒๗] เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค มี 2 ประการ (มหาขันธกะ) 6/323/146/323/14 6/181/12 |
122 | [๑๒๗] สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึก 6/325/76/325/7 6/181/16 |
123 | กรรมซึ่งปรากฏตามสภาพ ย่อมมีแก่นาคใน 5 กาล (อ.มหาขันธกะ) 6/323/176/323/17 6/320/5 |
124 | [๑๒๘] คนฆ่ามารดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึก (มหาขันธกะ) 6/326/146/326/14 6/182/7 |
125 | [๑๒๙] คนฆ่าบิดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึก (มหาขันธกะ) 6/327/76/327/7 6/182/24 |
126 | [๑๓๐] คนฆ่าพระอรหันต์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึก (มหาขันธกะ) 6/327/206/327/20 6/183/15 |
127 | บุคคลผู้ฆ่ามารดา หรือพระอรหันต์ ที่ไม่ใช่มนุษย์ บรรพชาของบุคคลนั้นพระพุทธเจ้าไม่ทรงห้าม และเขาเป็นผู้ไม่มีอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก (อ.มหาขันธกะ) 6/328/96/328/9 6/320/24 |
128 | [๑๓๑] คนประทุษร้ายภิกษุณี คนผู้ทำสังฆเภท คนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อ พระโลหิต ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย 6/330/126/330/12 6/184/9 |
129 | [๑๓๒] อุภโตพยัญชนก (คน 2 เพศ) ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย (มหาขันธกะ) 6/333/56/333/5 6/184/21 |
130 | [๑๓๓] กุลบุตร ผู้ไม่มีอุปัชฌาย์...กุลบุตรผู้มี อุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดอุปสมบทให้ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/335/56/335/5 6/185/4 |
131 | [๑๓๕] บุคคลไม่ควรให้บรรพชา 32 จำพวก รูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/338/196/338/19 6/187/21 |
132 | ปัณฑุปลาส (ผู้เตรียมจะบวช) นั้น จะบริโภคในบาตรก็ควร ในส่วนแห่งอามิส และเภสัช พึงให้ส่วนเท่ากับสามเณร ถ้าป่วยพึงทำยาให้ และปรนนิบัติแก่เขาเหมือนทำแก่สามเณร (อ.มหาขันธกะ) 6/342/16/342/1 6/326/2 |
133 | อวัยวะน้อยใหญ่บางส่วนของผู้ใด โกงไปนิดหน่อย จะให้ผู้นั้นบวชสมควรอยู่ (อ.มหาขันธกะ) 6/344/26/344/2 6/328/1 |
134 | ผู้ประทุษร้ายบริษัท เพราะมีรูปแปลก เช่น ไม่มีขนคิ้วบ้าง ไม่ควรให้บวช (อ.มหาขันธกะ) 6/345/96/345/9 6/329 -330 |
135 | พระพุทธเจ้าทรงห้ามบรรพชา ของชนเหล่าใด แม้อุปสมบทของชนเหล่านั้นก็ทรงห้ามด้วย ถ้าสงฆ์ให้ผู้ประทุษร้ายบริษัทบวช ก็เป็นอันบวชด้วยดี แต่อุปัชฌาย์ อาจารย์ และการกสงฆ์ ไม่พ้นอาบัติ (อ.มหาขันธกะ) 6/350/126/350/12 6/333/21 |
136 | [๑๓๖] ภิกษุไม่พึงให้นิสัย แก่ภิกษุพวกอลัชชี รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ 6/351/46/351/4 6/189/12 |
137 | [๑๓๖] ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัย ภิกษุพวกอลัชชี รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/351/106/351/10 6/189/17 |
138 | [๑๓๖] ทรงอนุญาตให้รอ 4-5 วัน พอจะสืบสวนรู้ว่า ภิกษุผู้ให้นิสัย เป็นสภาคกัน (มหาขันธกะ) 6/351/176/351/17 6/190/3 |
139 | [๑๓๗-๑๓๘] ทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุผู้อาพาธ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ (มหาขันธกะ) 6/352/66/352/6 6/190/11 |
140 | [๑๓๘] ทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้พยาบาลไข้ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย ถูกภิกษุอาพาธขอร้อง ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ (มหาขันธกะ) 6/352/216/352/21 6/191/6 |
141 | [๑๓๘] ทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร กำหนดการอยู่เป็นผาสุก เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย ไม่ต้องถือนิสัยด้วยผูกใจว่า เมื่อใดมีภิกษุผู้ให้นิสัยที่สมควรมาอยู่ จักอาศัยภิกษุนั้นอยู่ (มหาขันธกะ) 6/353/76/353/7 6/191/15 |
142 | [๑๓๙] ทรงอนุญาตให้ สวดอุปสัมปทาเปกขะ (ผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ) ระบุโคตรได้ (มหาขันธกะ) 6/353/176/353/17 6/192/5 |
143 | [๑๔๐] ทรงอนุญาตให้ทำ ผู้จะเข้าอุปสมบท 2 รูป 3 รูป ในอนุสาวนาเดียวกันแต่ต้องมีอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน จะมีอุปัชฌาย์ต่างกันไม่ได้ เป็นอันขาด (มหาขันธกะ) 6/354/106/354/10 6/192/19 |
144 | [๑๔๑] ทรงอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตร มีอายุ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์ (มหาขันธกะ) 6/355/26/355/2 6/193/10 |
145 | [๑๔๒] ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบท ถามอันตรายิกธรรม 13 ข้อ (มหาขันธกะ) 6/355/86/355/8 6/193/15 |
146 | [๑๔๒] ทรงอนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วจึงถามอันตรายิกธรรม ทีหลัง (มหาขันธกะ) 6/356/16/356/1 6/194/8 |
147 | [๑๔๒] ทรงอนุญาตให้สอนซ้อม ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงถามอันตรายิกธรรม ในท่ามกลางสงฆ์ (มหาขันธกะ) 6/356/66/356/6 6/194/13 |
148 | [๑๔๒] ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อมต้องอาบัติทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/356/166/356/16 6/195/5 |
149 | [๑๔๒] ภิกษุที่ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อมต้องอาบัติ ทุกกฏ (มหาขันธกะ) 6/356/216/356/21 6/195/11 |
150 | [๑๔๓] หลังจากสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา อุปสมบทแล้ว ทันใดนั้นแหละ พึงวัดเงา พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่งวัน พึงบอกสังคีติ พึงบอกนิสัย 4 (มหาขันธกะ) 6/361/76/361/7 6/199/22 |
151 | [๑๔๔] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ให้อุปสมบทแล้ว ให้ภิกษุอยู่เป็นเพื่อน และให้บอก อกรณียกิจ 4 (มหาขันธกะ) 6/362/136/362/13 6/201/6 |
152 | [๑๔๕] วิธีปฏิบัติในภิกษุ ผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ได้สึกแล้วกลับมาขออุปสมบทอีก (มหาขันธกะ) 6/364/26/364/2 6/202/12 |
153 | พระกรรมวาจาจารย์ สวดประกาศรูปเดียวก็ได้ (อ.มหาขันธกะ) 6/374/66/374/6 6/336/8 |
154 | อธิบายการบอกสังคีติ หลังจากจบกรรมวาจาอุปสมบท (อ.มหาขันธกะ) 6/375/206/375/20 6/337/23 |
155 | [๑๔๘] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ (อุโบสถขันธกะ) 6/379/76/379/7 6/341/6 |
156 | [๑๔๙] ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ (อุโบสถขันธกะ) 6/379/206/379/20 6/341/18 |
157 | [๑๕๐] ภิกษุผู้รู้ว่า ตนมีอาบัติไม่ยอมเปิดเผย แล้วไปร่วมทำอุโบสถ กับภิกษุทั้งหลายต้องอาบัติทุกกฏ เพราะโกหกทั้งๆ รู้ (อุโบสถขันธกะ) 6/382/36/382/3 6/343/20 |
158 | อรรถกถาอธิบายไว้ 6/386/166/386/16 6/417/20 |
159 | [๑๕๑] ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ ปักษ์ ละ 3 ครั้ง รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏอนุญาตให้สวด ปักษ์ละ 1 ครั้ง คือในวันที่ 14 หรือ วันที่ 15 (อุโบสถขันธกะ) 6/383/196/383/19 6/345/9 |
160 | [๑๕๒] ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือ เฉพาะบริษัทของตนๆ รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตความพร้อมเพรียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้น (อุโบสถขันธกะ) 6/384/56/384/5 6/345/17 |
161 | [๑๕๓] พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ พระมหากัปปินะ ที่คิดว่าตนเองเป็นผู้หมดจด อย่างยิ่งแล้ว ควรไปทำอุโบสถหรือไม่ (อุโบสถขันธกะ) 6/384/166/384/16 6/346/7 |
162 | [๑๕๔] ทรงอนุญาตให้ สมมติสีมา ชั้นต้นพึงทักนิมิต ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/395/66/395/6 6/347/17 |
163 | [๑๕๕] ทรงอนุญาตให้ สมมติสีมา ประมาณ 3 โยชน์ เป็นอย่างมาก (อุโบสถขันธกะ) 6/396/146/396/14 6/349/2 |
164 | [๑๕๖] ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้ สมมติสีมาคร่อมแม่น้ำที่มีเรือจอดประจำ หรือมีสะพานถาวร (อุโบสถขันธกะ) 6/396/206/396/20 6/349/8 |
165 | [๑๕๗] ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ ตามบริเวณวิหาร โดยมิได้กำหนดที่ รูปใด สวดต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/397/76/397/7 6/349/17 |
166 | [๑๕๗] ทรงอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้นหรือถ้ำที่สงฆ์จำนง ให้เป็นโรงอุโบสถ แล้วทำอุโบสถ สมมติด้วยญัตติทุติย-กรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/397/96/397/9 6/349/20 |
167 | [๑๕๘] ในอาวาสแห่งหนึ่งสงฆ์ไม่พึงสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่ง รูปใดสมมติต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/398/136/398/13 6/350/18 |
168 | [๑๕๘] ทรงอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง แล้วทำอุโบสถในโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง ถอนโรงอุโบสถด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/398/156/398/15 6/350/20 |
169 | [๑๕๙] ภิกษุนั่งในพื้นที่ซึ่งสมมติแล้วหรือมิได้สมมติก็ตาม เพราะได้ฟังปาติโมกข์ฉะนั้นในการลงอุโบสถ ย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้วเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นสงฆ์จงสมมติ พื้นที่ด้านหน้า โรงอุโบสถ ให้ใหญ่ เท่าที่จำนง (อุโบสถขันธกะ) 6/399/166/399/16 6/351/20 |
170 | [๑๕๙] วิธีสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ ชั้นต้น พึงทักนิมิตก่อน ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/400/26/400/2 6/352/1 |
171 | [๑๖๐] ในวันอุโบสถ ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระทั้งหลายลงประชุมก่อน (อุโบสถขันธกะ) 6/401/16/401/1 6/352/20 |
172 | [๑๖๑] ภิกษุเหล่านั้นทุกๆ รูปพึงประชุมทำอุโบสถแห่งเดียวกัน หรือภิกษุผู้เถระอยู่ในอาวาสใด พึงประชุมทำอุโบสถ ในอาวาสนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำอุโบสถ รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/401/106/401/10 6/353/6 |
173 | [๑๖๒] สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันสงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา(อุโบสถขันธกะ) 6/402/36/402/3 6/354/1 |
174 | [๑๖๒] สีมานั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดน ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้าน และอุปจารแห่งบ้าน 6/403/146/403/14 6/355/8 |
175 | [๑๖๓] เมื่อจะสมมติสีมา พึงสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน ภายหลังจึงสมมติติจีวราวิปปวาส เมื่อจะถอน พึงถอนติจีวราวิปปวาสก่อน ภายหลังจึงถอนสมานสังวาสสีมา (อุโบสถขันธกะ) 6/404/156/404/15 6/356/5 |
176 | [๑๖๔] ถ้ายังไม่กำหนดสีมา ภิกษุเข้าอาศัยบ้าน หรือนิคมใดอยู่ เขตของบ้านนั้นเป็นคามสีมา เขตของนิคมนั้น เป็นนิคมสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ในบ้านหรือนิคมนั้น (อุโบสถขันธกะ) 6/406/96/406/9 6/357/16 |
177 | [๑๖๔] ในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนไม่ได้ ชั่ว 7 อัพภันดร (196 ศอก) โดยรอบเป็นสัตตัพภันตรสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันในป่านั้น (อุโบสถขันธกะ) 6/406/136/406/13 6/357/20 |
178 | [๑๖๔] แม่น้ำทั้งหมด สมุทรทั้งหมด ชาตสระทั้งหมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้ 6/406/166/406/16 6/358/1 |
179 | [๑๖๔] ในแม่น้ำ ในสมุทร ในชาตสระ ชั่ววักน้ำโดยรอบแห่งบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง เป็นอุทกุกเขปสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโปสถเดียวกัน ในน่านน้ำนั้น (อุโบสถขันธกะ) 6/406/186/406/18 6/358/3 |
180 | [๑๖๕] ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา รูปใดสมมติคาบเกี่ยว ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/407/86/407/8 6/358/14 |
181 | [๑๖๕] ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา รูปใดสมมติทับ ต้องอาบัติทุกกฏ 6/407/166/407/16 6/359/2 |
182 | [๑๖๕] ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จะสมมติสีมา เว้นสีมันตริกไว้แล้ว สมมติสีมา 6/407/186/407/18 6/359/4 |
183 | อธิบายวิธี ทักนิมิต (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/388/26/388/2 6/419/1 |
184 | ภูเขา 3 ชนิด ได้แก่ ภูเขาดินล้วน ภูเขาศิลาล้วน ภูเขาศิลาปนดิน ตั้งแต่ขนาดเท่าช้างขึ้นไป ใช้เป็นนิมิตได้ ทั้ง 3 ชนิด แต่กองทรายใช้ไม่ได้ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/389/56/389/5 6/420/6 |
185 | แม้ก้อนเหล็กใหญ่ ก็นับว่า ศิลาได้เหมือนกัน ขนาดเล็กสุดเท่าก้อนน้ำอ้อยหนัก 32 ปะละ( 5 ชั่ง), ขนาดใหญ่เท่าโคเขื่อง กองศิลาที่ไม่นับเข้าในนิมิต ก็ใช้ไม่ได้ไม่ได้ 6/390/16/390/1 6/421/2 |
186 | ป่าที่มีไม้ปนไม้มีแก่น แม้เพียง 4-5 ต้น ก็ใช้เป็นนิมิตได้ ดงหญ้าหรือ ป่าไม้ที่มีเปลือกแข็ง เช่น ตาล มะพร้าว ใช้ไม่ได้ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/390/176/390/17 6/421/18 |
187 | การกำหนดต้นไม้เป็นนิมิต ต้องเป็นไม้มีแก่น แม้ที่ปลูกลงดินในวันนั้น ก็ใช้ได้ ต้นไม้มีเปลือกแข็ง เช่น ต้นตาล ต้นมะพร้าว ใช้ไม่ได้ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/391/56/391/5 6/422/5 |
188 | ทางป่า ทางนา ทางแม่น้ำ ทางเหมือง ใช้เป็นนิมิตไม่ได้. ทางเดินเท้า หรือทางเกวียนซึ่งผ่านไป 2-3 ระยะบ้าน จึงใช้ได้ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/391/176/391/17 6/423/2 |
189 | จอมปลวก โดยกำหนด เล็กที่สุด แม้เกิดในวันนั้น สูง 8 นิ้ว ขนาดเท่าเขาโคก็เป็นนิมิตได้ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/392/186/392/18 6/423/23 |
190 | ในที่ซึ่งน้ำไหล ทำให้เป็นนทีนิมิต ในที่ซึ่งน้ำไม่ไหล ทำให้เป็น อุทกนิมิต ควรอยู่ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/393/166/393/16 6/424/21 |
191 | น้ำที่ถึงแผ่นดิน และสามารถขังอยู่ จนถึงสวดกรรมวาจาจบได้ จึงจะทำเป็นอุทกนิมิตได้ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/394/116/394/11 6/425/15 |
192 | สีมาที่สมมติผูกอย่างนั้น ไม่เป็นอันผูกด้วยนิมิตเดียว หรือ 2 นิมิต ส่วนสีมาที่ผูกด้วย 3 นิมิตขึ้นไปย่อมเป็นอันผูก (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/408/36/408/3 6/426/3 |
193 | สีมาย่อมหยั่งลงไปในเบื้องล่าง ลึกถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/409/126/409/12 6/427/7 |
194 | ควรผูกขันฑสีมาก่อน ในบริเวณที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน ขนาดอย่างต่ำที่สุดจุภิกษุได้ 21 รูป อย่ายืนอยู่ในขันฑสีมาผูก มหาสีมา อย่ายืนอยู่ในมหาสีมาผูกขันฑสีมา (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/409/166/409/16 6/427/11 |
195 | วีธีผูกสีมา 2 ชั้น จะกำหนดนิมิต แห่งขันฑสีมา แห่งสีมันตริก และแห่งมหาสีมาก่อนแล้ว ปรารถนา จะผูกสีมาใดก่อน ก็ควร หรือจะผูกตั้งแต่ ขันฑสีมาเป็นลำดับไป (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/410/96/410/9 6/428/3 |
196 | จะผูกสีมาไว้บนศิลาดาด ในกุฎี ในกุฎีที่เร้น ในปราสาท หรือบนยอดเขาก็จัด เป็นอันผูกแล้วเหมือนกัน (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/411/166/411/16 6/429/5 |
197 | เมื่อผูกสีมาบนปราสาท ถ้าภายใต้ปราสาทมีฝาจากชั้นล่าง จรดพื้นชั้นบนและอยู่ภายในนิมิต สีมาย่อมหยั่งลงถึงชั้นล่างด้วย (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/412/176/412/17 6/430/6 |
198 | ชนทั้งหลายทำเรือนในสีมา เรือนนั้นเป็นอันอยู่ในสีมาด้วย ขุดสระโบกขรณีในสีมา สีมานั้น ก็คงเป็นสีมาอยู่นั้นเอง (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/414/136/414/13 6/431/25 |
199 | การสมมติสีมามี 3 โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุจะสมมติสีมาสี่เหลี่ยมเท่ากัน หรือสามเหลี่ยม พึงสมมติให้วัดจากมุมหนึ่ง ไปหามุมหนึ่ง ให้ได้ระยะ 3 โยชน์ เกินกว่านั้น ต้องอาบัติ ทั้งสีมาไม่เป็นสีมาด้วย (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/415/146/415/14 6/433/1 |
200 | วิธีสมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/416-4196/416-419 6/434/19 |
201 | ถ้าพระเถระไม่มา พึงนำฉันทะ และปาริสุทธิของท่านมา แล้วทำอุโบสถในที่เพียงพอกับภิกษุทั้งปวง (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/420/136/420/13 6/437/20 |
202 | ภิกษุณีทั้งหลายจะสมมติสีมา ครอบสีมาแห่งภิกษุสงฆ์ หรือสมมติสีมาอยู่ภายในสีมาของภิกษุทั้งหลาย ย่อมควร (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/421/146/421/14 6/438/23 |
203 | ถ้าในเวลาสมมติ อวิปปวาสสีมา มีบ้านอยู่ อวิปปวาสสีมานั้น ย่อมไม่ครอบถึงบ้านนั้น (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/422/56/422/5 6/439/13 |
204 | ภิกษุผู้ยืนอยู่ในขันฑสีมาไม่พึงถอนอวิปปวาสสีมา ยืนอยู่ในอวิปปวาสสีมาไม่พึงถอน ขันฑสีมา (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/422/186/422/18 6/440/5 |
205 | ภิกษุทั้งหลายถอนสีมาด้วยเหตุ 2 ประการ 1.เพื่อทำสีมาที่เล็กให้ใหญ่ขึ้นอีกเพื่อประโยชน์แก่การขยายอาวาสออกไป 2. เพื่อจะร่นสีมาที่ใหญ่ให้เล็กลงอีกเพื่อประโยชน์แก่การให้โอกาสแห่งวิหารแก่ภิกษุเหล่าอื่นบ้าง (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/423/16/423/1 6/440/9 |
206 | สีมา ย่อมไม่เป็นสีมาด้วยกรรมวาจาบ้าง ด้วยความสาบสูญแห่งศาสนาบ้าง (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/423/136/423/13 6/440/22 |
207 | พระราชาทรงกำหนดประเทศอันหนึ่งแม้ใด ในคามเขตอันหนึ่ง เท่านั้นว่านี้จงเป็นวิสุงคาม พระราชทานแก่บุคคลบางคน ประเทศแม้นั้น ย่อมเป็นวิสุงคาม-สีมา ก็วิสุงคามสีมา คามสีมา นครสีมา นิคมสีมา ย่อมเป็นเช่นกับ พัทธสีมาเหมือนกันแต่สีมา เหล่านี้ ไม่ได้ความคุ้มครองการอ ยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างเดียว (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/424/76/424/7 6/441/14 |
208 | ในป่า 7 อัพภันดรโดยรอบ จากโอกาสที่ภิกษุนั้นยืน เป็นสนานสังวาสกสีมาสีมานี้ ย่อมได้ความคุ้มครองการอยู่ปราศจากไตรจีวรด้วย (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/424/196/424/19 6/442/5 |
209 | อัพภันดร 1 ประมาณ 28 ศอก 7 อัพภันดรโดยรอบแห่งสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ตรงกลางย่อมเป็น 14 อัพภันดรโดยทแยง (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/425/16/425/1 6/442/8 |
210 | ระยะชั่ววักน้ำสาดแห่งบุรุษผู้มีกำลังปานกลางเป็นอุทกุกเขป ภิกษุผู้ละหัตถบาสแต่อยู่ในอุทกุกเขปนั้น ย่อมทำกรรมให้เสีย (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/426/16/426/1 6/443/10 |
211 | ถ้าแม่น้ำเต็มเสมอฝั่ง จะต้องนุ่งผ้าอาบน้ำก็ได้ พึงทำกรรมในแม่น้ำนั้นแล แต่ไม่ควรทำในเรือ ซึ่งกำลังเดิน (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/427/26/427/2 6/444/4 |
212 | จะทำกรรมบนสะพาน ที่มีเชิงสะพานตั้งอยู่ในแม่น้ำ ส่วนตัวสะพานเชิดอยู่ในอากาศ บนฝั่งทั้ง 2 ย่อมควร (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/427/156/427/15 6/444/18 |
213 | แม่น้ำบางสาย ขึ้นท่วมคามสีมา และนิคมสีมา ไหลไปตามฤดูกาล แม่น้ำนั้นย่อมเป็นแม่น้ำสมควรทำกรรมได้ แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่าวิหารสีมาด้วย (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/428/156/428/15 6/445/15 |
214 | ศิลาดาดมีอยู่ในทะเล บางคราวคลื่นมาท่วม บางคราวไม่ท่วม ไม่พึงทำกรรมบนศิลาดาดนั้น เพราะจัดเป็นคามสีมา แต่ถ้าศิลาดาดนั้น อันน้ำปกติท่วมอยู่ย่อมควร (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/429/76/429/7 6/446/4 |
215 | เกาะ หรือภูเขา ที่ไม่เป็นทางไป ของพวกชาวประมง นับเข้าเป็นอรัญญสีมา 6/429/116/429/11 6/446/8 |
216 | พึงเว้นสีมันตริกไว้ กำหนดอย่างต่ำ ศอกหนึ่งก็มี คืบเดียวก็มี 4 นิ้วก็มี 6/431/146/431/14 6/448/4 |
217 | [๑๖๖] วันอุโบสถมี 2 คือ อุโบสถมีในวัน 14 ค่ำ อุโบสถมีในวัน 15 ค่ำ 6/432/46/432/4 6/359/10 |
218 | [๑๖๖] ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ทำอุโบสถกรรม ด้วยความพร้อมเพรียงโดยธรรม (อุโบสถขันธกะ) 6/433/16/433/1 6/360/7 |
219 | [๑๖๗] ปาติโมกข์ขุทเทสมี 5 (อุโบสถขันธกะ) 6/434/46/434/4 6/360/16 |
220 | [๑๖๗] เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมีอันตรายทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ (อุโบสถขันธกะ) 6/435/96/435/9 6/361/19 |
221 | ฝนตกหรือน้ำหลากมานี้ ชื่อว่า อุทกันตราย (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/436/176/436/17 6/449/20 |
222 | [๑๖๘] ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดแสดงต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/438/46/438/4 6/362/18 |
223 | [๑๖๘] ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระ แสดงธรรมเอง หรือให้อาราธนาผู้อื่นแสดง (อุโบสถขันธกะ) 6/438/56/438/5 6/362/20 |
224 | [๑๖๙] ภิกษุยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงถามวินัย ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดถามต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ได้รับสมมติแล้ว ถามวินัย ในท่ามกลางสงฆ์ได้, วิธีสมมติพึงทำด้วยญัตติกรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/438/116/438/11 6/363/4 |
225 | [๑๖๙] ทรงอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลแล้ว จึงถามวินัย ในท่ามกลางสงฆ์ (อุโบสถขันธกะ) 6/439/186/439/18 6/364/10 |
226 | [๑๖๙] ภิกษุผู้ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงวิสัชนา(ชี้แจง) วินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดวิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว วิสัชนาวินัย ในท่ามกลางสงฆ์ (อุโบสถขันธกะ) 6/440/36/440/3 6/364/16 |
227 | [๑๖๙] ทรงอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาบุคคลก่อนจึงวิสัชนา วินัยในท่ามกลางสงฆ์ (อุโบสถขันธกะ) 6/441/96/441/9 6/365/19 |
228 | [๑๗๐] ภิกษุไม่พึงโจท ภิกษุผู้มิได้ทำโอกาส ด้วยอาบัติ รูปใดโจทต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้โจทขอให้จำเลยทำโอกาสด้วยคำว่า "ขอท่านจงทำโอกาสผมใคร่จะกล่าวกะท่าน" ดังนี้ แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ (อุโบสถขันธกะ) 6/441/156/441/15 6/366/4 |
229 | [๑๗๐] ทรงอนุญาตให้โจท เมื่อจำเลยทำโอกาสแล้ว พิจารณาดูบุคคลก่อนจึงโจทด้วยอาบัติ (อุโบสถขันธกะ) 6/442/26/442/2 6/366/12 |
230 | [๑๗๐] ภิกษุไม่พึงขอให้ ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ทำโอกาส ในอธิกรณ์ ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ รูปใดขอให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ให้พิจารณาดูบุคคลก่อนจึงขอให้ทำโอกาส (อุโบสถขันธกะ) 6/442/96/442/9 6/366/19 |
231 | [๑๗๑] ภิกษุไม่พึงทำกรรม ไม่เป็นธรรมในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้คัดค้าน ในเมื่อภิกษุทำกรรมไม่เป็นธรรม (อุโบสถขันธกะ) 6/442/166/442/16 6/367/7 |
232 | [๑๗๑] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ 4-5 รูปคัดค้าน ให้ ภิกษุ 2-3 รูป ทำความเห็นแย้ง ให้ภิกษุรูปเดียวนึกในใจว่า กรรมนั้นไม่สมควรแก่เรา (อุโบสถขันธกะ) 6/443/96/443/9 6/367/22 |
233 | [๑๗๒] ภิกษุผู้สวดปาติโมกข์ ไม่พึงแกล้งสวด ไม่ให้ได้ยิน รูปใดสวดไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/443/146/443/14 6/368/7 |
234 | [๑๗๒] ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่สวดปาติโมกข์ พยายามสวด ด้วยตั้งใจว่า จะสวดให้ได้ยินถ้อยคำ ทั่วกัน เมื่อพยายามไม่ต้องอาบัติ (อุโบสถขันธกะ) 6/443/226/443/22 6/368/15 |
235 | [๑๗๓] ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/444/66/444/6 6/368/21 |
236 | [๑๗๔] ภิกษุไม่ได้รับอาราธนา ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตปาติโมกข์ ให้เป็นหน้าที่ของพระเถระ (อุโบสถขันธกะ) 6/444/116/444/11 6/369/5 |
237 | พระเถระผู้นั่งบนอาสนะ สูงกว่า ย่อมไม่ได้เพื่ออัญเชิญ ถ้าพระอุปัชฌาย์ผู้นั่งบนอาสนะสูง สั่งพระธรรมกถึก ผู้เป็นลูกศิษย์ว่า เธอจงสวด พึงตั้งใจว่า สวดให้แก่ภิกษุเหล่าอื่นในที่นั้น (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/445/126/445/12 6/450/20 |
238 | ถ้าเริ่มแสดงธรรมไปแล้ว พระสังฆเถระมากลางคัน กิจที่จะต้องหยุดขอโอกาสไม่มี (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/445/216/445/21 6/451/5 |
239 | อุปนิสินนกถา (การนั่งคุยสนทนาอย่างเป็นกันเอง เพื่อตอบคำซักถาม)เป็นหน้าที่ของพระเถระ ถ้าเขาถามต่อภิกษุในที่นั้น ภิกษุนั้นพึงขอโอกาส ต่อพระเถระก่อน จึงตอบ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/446/36/446/3 6/451/9 |
240 | เราตถาคต อนุญาตให้ภิกษุประกาศความเห็นของตน ในสำนักภิกษุอื่นว่ากรรมนี้ ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบใจข้าพเจ้า (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/447/116/447/11 6/452/18 |
241 | [๑๗๕] ถ้าพระเถระเป็นผู้เขลา บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาดสามารถ ทรงอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของภิกษุนั้น (อุโบสถขันธกะ) 6/448/76/448/7 6/369/18 |
242 | [๑๗๖] ถ้าในอาวาสนั้น ไม่มีภิกษุผู้สวดปาติโมกข์ได้เลย ให้ส่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปอาวาสใกล้เคียง ที่พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า จงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อ หรือพิสดาร (อุโบสถขันธกะ) 6/449/176/449/17 6/371/6 |
243 | [๑๗๖] ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ยอมไปเรียนปาติโมกข์ไม่ได้รูปใดไม่ยอมไป ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/450/36/450/3 6/371/15 |
244 | [๑๗๗] ทรงอนุญาตให้ภิกษุทุกรูป เรียนปักขคณานา (วิธีคำนวณหาวันขึ้นวันแรม กี่ค่ำๆ) (อุโบสถขันธกะ) 6/450/166/450/16 6/372/8 |
245 | [๑๗๗] ทรงอนุญาตให้นับภิกษุด้วยเรียกชื่อ หรือให้จับสลากในวันอุโบสถ 6/451/56/451/5 6/372/20 |
246 | [๑๗๘] ทรงอนุญาตให้ภิกษุเถระ บอกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ แต่เช้าตรู่ หรือเวลาภัตกาล หรือในการที่ตน ระลึกได้ (อุโบสถขันธกะ) 6/451/86/451/8 6/373/2 |
247 | [๑๗๙] ทรงอนุญาตให้กวาดโรงอุโบสถ ให้พระเถระบัญชาพระนวกะ พระนวกะผู้ไม่ป่วย ถูกบัญชาแล้ว ไม่กวาดต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/452/26/452/2 6/373/20 |
248 | [๑๗๙] ให้พระเถระใช้พระนวกะ ปูอาสนะ พระนวกะผู้ไม่ป่วย ถูกใช้แล้วไม่ปูอาสนะต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/452/156/452/15 6/374/11 |
249 | [๑๗๙] ให้พระเถระใช้พระนวกะ ตามประทีป พระนวกะผู้ไม่ป่วย ถูกใช้แล้ว ไม่ตามประทีป ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/453/56/453/5 6/375/2 |
250 | [๑๘๐] ถ้าภิกษุทั้งหลายผู้เขลา จะเดินทางไปด้วยกัน พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ต้องถามไถ่ก่อน ถ้าเขาจะไปสู่สำนักภิกษุอื่นผู้ไม่ฉลาด ไม่ควรอนุญาตให้ไปถ้าพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ อนุญาต ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/453/216/453/21 6/375/20 |
251 | [๑๘๐] พวกภิกษุผู้เขลาไม่ฉลาดเมื่อพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่อนุญาตให้ไปยังขืนไป ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/454/46/454/4 6/376/3 |
252 | [๑๘๐] ถ้าในสำนักมีแต่ผู้เขลา เมื่อมีภิกษุพหูสูตมา ต้องอนุเคราะห์ บำรุงปราศรัย แก่ภิกษุนั้น ถ้าไม่ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/454/76/454/7 6/376/6 |
253 | [๑๘๐] ถึงวันอุโบสถถ้าในอาวาสนั้น ไม่มีผู้รู้ปาติโมกข์ และจะส่งไปก็ไม่ได้ ต้องพากันไปสู่อาวาส ที่มีภิกษุผู้รู้วิธีทำอุโบสถ ไม่ไปต้องอาบัติ ทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/454/166/454/16 6/376/15 |
254 | [๑๘๐] ภิกษุไม่พึงจำพรรษา ในอาวาสที่ไม่มีผู้สวดปาติโมกข์ ถ้าขืนอยู่ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/455/66/455/6 6/377/3 |
255 | อย่าบังคับภิกษุผู้โง่ ไปเรียนปาติโมกข์ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/456/106/456/10 6/454/6 |
256 | [๑๘๑] ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ มอบปาริสุทธิ, ภิกษุผู้รับด้วยกาย รับด้วยวาจารับด้วยทั้งกายและวาจา ก็เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว (อุโบสถขันธกะ) 6/460/66/460/6 6/377/18 |
257 | [๑๘๑] สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำอุโบสถเลย ถ้าขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/461/26/461/2 6/378/16 |
258 | [๑๘๑] ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิไม่มาเข้าประชุม ปาริสุทธิไม่เป็นอันนำมา ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิเข้าประชุมแล้วหลบไปเสีย ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิมา แกล้งไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/461/36/461/3 6/379/9 |
259 | [๑๘๒] เมื่อสงฆ์ประชุมกันทำกรรม ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธ มอบฉันทะ 6/462/116/462/11 6/380/4 |
260 | [๑๘๒] ในวันอุโบสถ ให้ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิ มอบฉันทะด้วย เผื่อสงฆ์จะมีกรณียกิจ (อุโบสถขันธกะ) 6/464/196/464/19 6/382/13 |
261 | [๑๘๓] วิธีปฏิบัติ เมื่อมีผู้จับภิกษุไว้ ในวันอุโบสถ (อุโบสถขันธกะ) 6/465/26/465/2 6/382/16 |
262 | [๑๘๔] ทรงอนุญาตให้อุมมัตตกสมมติ แก่ภิกษุวิกลจริตที่ระลึกได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/466/126/466/12 6/384/6 |
263 | [๑๘๕] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ 3 รูปทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน ภิกษุผู้ฉลาด พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วย ญัตติกรรมวาจา (อุโบสถขันธกะ) 6/469/26/469/2 6/386/7 |
264 | [๑๘๕] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ 2 รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ, ภิกษุ 1 รูป พึงอธิษฐานว่าอธิษฐาน" วันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา " ถ้าไม่อธิษฐานต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/470/116/470/11 6/387/10 |
265 | ถ้าภิกษุรูปหนึ่ง นำปาริสุทธิ ของภิกษุหลายรูปมา แล้วมอบปาริสุทธิของตนและของภิกษุอื่นที่ตนนำมา แก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งในระหว่างทาง ดังนี้ ปาริสุทธิของภิกษุผู้นำนั้นเท่านั้นย่อมมา ส่วนปาริสุทธิของภิกษุหลายรูป ไม่เป็นอันนำมา 6/473/56/473/5 6/457/18 |
266 | ถ้าภิกษุบางรูปอธิษฐานอุโบสถ แล้วเข้ามาในสีมา เธอไม่ควรอยู่เฉย พึงให้สามัคคี หรือให้ฉันทะ (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/474/26/474/2 6/458/13 |
267 | [๑๘๖] ภิกษุใด ต้องอาบัติในวันอุโบสถ ให้แสดงอาบัติในสำนักภิกษุรูปหนึ่งก่อนลงอุโบสถ ถ้าสงสัยในอาบัติ ก็ให้แสดงความสงสัยนั้น ในสำนักภิกษุรูปหนึ่งก่อนลงอุโบสถ (อุโบสถขันธกะ) 6/476/76/476/7 6/389/11 |
268 | [๑๘๗] ภิกษุไม่พึงแสดง สภาคาบัติ รูปใดแสดงต้องอาบัติทุกกฏ. ทั้งผู้รับและผู้แสดง (อุโบสถขันธกะ) 6/477/46/477/4 6/390/7 |
269 | [๑๘๘] แม้ในระหว่างกำลังสวดปาติโมกข์ ถ้าระลึกอาบัติได้ หรือเกิดความสงสัยในอาบัติ ให้บอกภิกษุผู้อยู่ใกล้เคียง (อุโบสถขันธกะ) 6/477/146/477/14 6/390/19 |
270 | [๑๘๙] เมื่อสงฆ์ต้องสภาคาบัติ ในวันอุโบสถ ถ้าไม่ได้ภิกษุผู้จะไปแสดงคืนอาบัติในสำนักใกล้เคียง ก็ให้ประกาศด้วย ญัตติกรรมวาจา ว่าต้องสภาคาบัติ เมื่อมีภิกษุอื่นมา จะกระทำคืน แล้วลงอุโบสถ (อุโบสถขันธกะ) 6/478/96/478/9 6/391/13 |
271 | วิธีแสดงอาบัติที่สงสัย ถ้าเป็นผู้ไม่หมดความสงสัยทีเดียว แม้จะแสดงระบุวัตถุก็ควร (อ.อุโบสถขันธกะ) 6/482/136/482/13 6/460/22 |
272 | [๑๙๑] ถึงวันอุโบสถ ภิกษุเจ้าถิ่นไม่รู้ว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นอื่นที่ยังไม่มา มีความสำคัญว่าเป็นธรรม จึงทำอุโบสถ เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ มีภิกษุมามากกว่าให้สวดใหม่พวกที่มาน้อยกว่า หรือเท่ากัน ให้ฟังที่ยังเหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.ถ้าสวดจบแล้ว มีภิกษุมาจำนวนเท่ากัน หรือน้อยกว่าก็ให้ภิกษุที่มาบอกปาริสุทธิในสำนักนั้น ถ้ามามากกว่า ให้สวดปาติโมกข์ใหม่ (อุโบสถขันธกะ) 6/484-4886/484-488 6/394/16 |
273 | [๑๙๒] ถึงวันอุโบสถภิกษุเจ้าถิ่น รู้อยู่ว่ายังมีภิกษุพวกอื่นที่ยังไม่มา มีความสำคัญว่าเป็นธรรม จึงทำอุโบสถ ขณะกำลังสวดปาติโมกข์ ถ้ามีภิกษุอื่นมามากกว่าให้สวดใหม่ ถ้าภิกษุที่มามีจำนวนน้อยกว่า หรือเท่ากัน ก็ให้ฟังที่ยังเหลือต่อไป แต่ภิกษุพวกสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. ถ้าสวดจบแล้วพวกภิกษุอื่นมาทีหลัง มีจำนวนน้อยกว่า หรือเท่ากัน ก็ให้บอกปริสุทธิในสำนักนั้น ถ้ามามากกว่า ให้สวดใหม่ แต่ภิกษุพวกสวดต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/488/176/488/17 6/399-400 |
274 | [๑๙๓-๑๙๔] ภิกษุรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุพวกอื่นที่ยังไม่มา มีความสงสัยว่า ควรหรือไม่ควรทำอุโบสถ แล้วยังขืนทำ พวกภิกษุผู้สวดต้องอาบัติทุกกฏ และถ้ารู้อยู่ว่าภิกษุพวกอื่นยังไม่มา แต่ฝืนใจทำอุโบสถด้วยเข้าใจว่าควรทำอุปโบสถ พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/490/176/490/17 6/401-403 |
275 | [๑๙๕] ภิกษุรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุพวกอื่นยังไม่มา...ถ้ามุ่งความแตกร้าวทำอุโบสถ...พวกภิกษุผู้สวดต้องอาบัติถุลลัจจัย (อุโบสถขันธกะ) 6/493/126/493/12 6/404-405 |
276 | [๑๙๗] วันอุโบสถของพวกภิกษุเจ้าถิ่น 14 ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ 15 ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่น มีจำนวนมากกว่า หรือเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตร ตามพวกภิกษุเจ้าถิ่น, ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นน้อยกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่น พึงอนุวัตรตามพวกภิกษุอาคันตุกะ (อุโบสถขันธกะ) 6/495/146/495/14 6/406/12 |
277 | [๑๙๗] วันอุโบสถของพวกภิกษุเจ้าถิ่น 1 ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ15 ค่ำถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่น มีจำนวนมากกว่า หรือเท่ากับ พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนา ก็ไม่ต้องให้ความสามัคคี แก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงออกไปนอกสีมา ทำอุโบสถ , ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวนน้อยกว่าพวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ หรือพึงไปนอกสีมา (อุโบสถขันธกะ) 6/496/46/496/4 6/407/1 |
278 | [๑๙๙] สังวาสต่างกัน กลับเห็นว่ามีสังวาสเสมอกัน ไม่ได้ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ. สังวาสต่างกัน กลับเห็นว่ามีสังวาสเสมอกัน ได้ไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. สังวาสต่างกัน กลับเห็นว่ามีสังวาสเสมอกัน ได้ไต่ถาม แล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้อง อาบัติ (อุโบสถขันธกะ) 6/499/56/499/5 6/409/24 |
279 | [๑๙๙] สังวาสเสมอกัน กลับเห็นว่ามีสังวาสต่างกัน แล้วไม่ได้ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. สังวาสเสมอกัน กลับเห็นว่ามีสังวาสต่าง กันได้ไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. สังวาสเสมอ กัน กลับเห็นว่ามีสังวาสต่างกัน ได้ไต่ถาม แล้วรังเกียจ ทำอุโบสถรวมกัน ไม่ต้องอาบัติ (อุโบสถขันธกะ) 6/499/106/499/10 6/410/6 |
280 | [๒๐๑] ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่มีภิกษุณี...อุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ (อุโบสถขันธกะ) 6/502/196/502/19 6/413/15 |
281 | [๒๐๒] ภิกษุไม่พึงทำอุโบสถ ด้วยการให้ปาริสุทธิ ค้างคราว เว้นแต่บริษัทยังไม่ลุก (อุโบสถขันธกะ) 6/504/36/504/3 6/414/19 |
282 | [๒๐๓] ภิกษุไม่พึงทำอุโบสถ ในกาลมิใช่วันอุโบสถ เว้นแต่วันสังฆสามัคคี (อุโบสถขันธกะ) 6/504/56/504/5 6/414/21 |
283 | ภิกษุเหล่าใด ทะเลาะวิวาทกันเล็กน้อย จึงงดอุโบสถ แล้วกลับพร้อมเพรียงกันภิกษุเหล่านั้น ต้องทำอุโบสถแท้ (อุโบสถขันธกะ) 6/510/156/510/15 6/466/17 |
284 | [๒๐๕] ทรงอนุญาตให้จำพรรษา (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/511/196/511/19 6/467/20 |
285 | [๒๐๖] ทรงอนุญาตให้จำพรรษา ในฤดูฝน, วันเข้าพรรษามี 2 คือ วันเข้าพรรษาต้น วันเข้าพรรษาหลัง (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/512/46/512/4 6/468/4 |
286 | [๒๐๗] ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ตลอด 3 เดือนต้น หรือ 3 เดือนหลัง ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก รูปใดหลีกไปต้องอาบัติทุกกฏ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/513/56/513/5 6/469/11 |
287 | [๒๐๘] ภิกษุจะไม่จำพรรษาไม่ได้ รูปใดไม่พรรษา ต้องอาบัติทุกกฏ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/513/106/513/10 6/469/16 |
288 | [๒๐๘] ภิกษุไม่ประสงค์จะจำพรรษา ในวันเข้าพรรษา ไม่พึงแกล้งล่วงเลย อาวาสไปเสีย รูปใดล่วงเลยไป ต้องอาบัติทุกกฏ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/513/146/513/14 6/469/20 |
289 | [๒๐๙] ทรงอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าแผ่นดินประสงค์ จะเลื่อนกาลฝนออกไป ) (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/513/226/513/22 6/470/6 |
290 | ภิกษุควรอนุวัตรตาม ในกรรมที่เป็นธรรม แต่ไม่ควรอนุวัตรตามแก่ใครๆ ในกรรมอันไม่เป็นธรรม (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/516/66/516/6 6/509/15 |
291 | [๒๑๐] อุบาสกให้สร้างนิเวศน์ เพื่อประโยชน์ตน...อนึ่งจะมีการมงคล แก่บุตรธิดา, เขาเจ็บไข้ จะกล่าวพระสูตรที่รู้เฉพาะให้ภิกษุเรียนในวิธีที่พระสูตรจะไม่เสื่อมสูญไปเสีย หรือว่าเขามีกิจ หรือกรณียะอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเขาส่งทูตมาภิกษุพึงไปได้ 7 วัน ถ้าเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/522/56/522/5 6/474/26 |
292 | [๒๑๑] สหธรรมิกทั้ง 5 (ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี) แม้ไม่ส่งทูตมา ก็ให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/530/16/530/1 6/481/20 |
293 | [๒๑๒] บุคคล 7 จำพวกได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี บิดา มารดา แม้ไม่ได้ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/539/46/539/4 6/489/16 |
294 | [๒๑๒] พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง ญาติ, บุคคลผู้ภักดีต่อภิกษุ ถ้าเขาส่งทูตมา ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะ ถ้าเขาไม่ส่งทูตมาภิกษุไม่พึงไป (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/539/216/539/21 6/490/16 |
295 | [๒๑๓] ทรงอนุญาต สัตตาหกรณียะเพราะกิจของสงฆ์ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/541/36/541/3 6/491/13 |
296 | [๒๑๔] ภิกษุจำพรรษาแล้ว ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนด้วย งู หรือโจร ปีศาจ หมู่บ้านถูกไฟไหม้ หมู่บ้านน้ำท่วม เสนาสนะน้ำท่วม พึงหลีกไปได้ ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/544/76/544/7 6/492/2 |
297 | [๒๑๕] ชาวบ้านหนีโจร แยกเป็น 2 พวก ให้ภิกษุไปกับชาวบ้านที่มากกว่า ถ้าชาวบ้านที่มากกว่าไม่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็ให้ไปกับชาวบ้านที่ศรัทธาเลื่อมใส (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/545/106/545/10 6/493/1 |
298 | [๒๑๖] ภิกษุจำพรรษาแล้ว ไม่ได้อาหาร เภสัช อุปัฏฐากที่สมควร พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่านั่นแลอันตราย หรือมีสตรี, พบขุมทรัพย์ จะหลีกไปด้วยอันตรายต่อพรหมจรรย์ ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/545/186/545/18 6/493/10 |
299 | [๒๑๖] ภิกษุจำพรรษาแล้ว เห็นภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ ถ้าภิกษุนั้นคิดว่า เมื่อเราอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/547/136/547/13 6/495/1 |
300 | [๒๑๗] ทรงอนุญาตให้จำพรรษา ในหมู่โคต่างได้ เมื่อหมู่โคต่างย้ายไปก็เดินไปกับหมู่โคต่างได้, ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่เกวียน, ในเรือ ได้ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/550/186/550/18 6/498/5 |
301 | [๒๑๘-๒๑๙] ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในโพรงไม้, บนค่าคบไม้, ในที่แจ้ง, ในที่ไม่มีเสนาสนะ, ในกระท่อมผี, ในร่ม, ในตุ่ม, รูปใดจำต้องอาบัติทุกกฏ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/551/86/551/8 6/498/21 |
302 | [๒๒๐] ภิกษุไม่พึงตั้งกติกา ห้ามการบรรพชาในระหว่างพรรษา รูปใดตั้งต้องอาบัติทุกกฏ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/553/96/553/9 6/500/15 |
303 | [๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ เธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/554/196/554/19 6/502/2 |
304 | [๒๒๑] ภิกษุรับคำว่าจะจำพรรษาต้น เธอพักอยู่ 2-3 วัน แล้วหลีกไป ด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภายนอกเกิน 7 วัน เป็นอันว่า วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/555/226/555/22 6/502/24 |
305 | [๒๒๑] ยังอีก 7 วันจะถึงวันปวารณา ภิกษุมีกิจจำเป็นหลีกไป เธอจะกลับมาหรือไม่กลับมา สู่อาวาสนั้นก็ตามไม่ต้องอาบัติ (วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/557/96/557/9 6/504/5 |
306 | ภิกษุผู้พรรษาขาด ไม่มีส่วนแบ่งในผ้าจำนำพรรษา (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/562/36/562/3 6/512/11 |
307 | ของสงฆ์ที่ควรแจกกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัดหรือภายนอกสีมาก็ตาม สมควรแม้ที่จะอปโลกน์แจก แก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในภายในสีมา (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/562/146/562/14 6/512/22 |
308 | ถ้าไม่ได้ที่อยู่ในการจำพรรษา ในหมู่เกวียน พึงทำความอาลัยเถิด ถ้าหมู่เกวียนเดินทางอยู่ เมื่อถึงสถานที่ที่ตนปรารถนา พึงอยู่ในที่นั้น ปวารณา กับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นเถิด (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/563/156/563/15 6/513/22 |
309 | เสนาสนะที่มุงแล้ว ด้วยเครื่องมุง 5 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดประตู สำหรับเปิด ปิดได้ ของภิกษุใดไม่มี ภิกษุนั้นไม่ควรจำพรรษา (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/565/56/565/5 6/515/7 |
310 | จะปักร่มไว้ใน 4 เสา ทำฝารอบ ติดประตูไว้จำพรรษาก็ควร. กุฎีนี้ชื่อว่า กุฎีร่ม (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/565/136/565/13 6/515/17 |
311 | ปฏิสสวทุกกฏ คือ แกล้งกล่าวให้คลาดในภายหลัง ของภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์ ในชั้นต้นแต่สำหรับผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ในชั้นเดิมควรปรับทุกกฏ เพราะรับคำ และ ปาจิตตีย์เพราะแกล้งกล่าวให้คลาด (อ.วัสสูปนายิกขันธกะ) 6/566/116/566/11 6/516/12 |
312 | [๒๒๖] ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตร (ถือการไม่พูด) ที่พวกเดียรถีย์สมาทานกันรูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฏ (ปวารณาขันธกะ) 6/572/156/572/15 6/522/14 |
313 | [๒๒๖] ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย อยู่จำพรรษาแล้ว ปวารณาด้วยเหตุ 3 สถานคือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ฟัง ด้วยสงสัย. (ปวารณาขันธกะ) 6/572/186/572/18 6/522/17 |
314 | [๒๒๗] เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระ นั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ภิกษุไม่พึงนั่งบนอาสนะ รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ (ปวารณาขันธกะ) 6/575/56/575/5 6/525/3 |
315 | [๒๒๗] ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่ง ในระหว่างที่ยังปวารณา ให้ภิกษุปวารณาแล้ว นั่งบนอาสนะ (ปวารณาขันธกะ) 6/575/126/575/12 6/525/10 |
316 | [๒๒๘] วันปวารณามี 2 คือ วัน 14 ค่ำ วัน 15 ค่ำ (ปวารณาขันธกะ) 6/575/166/575/16 6/525/15 |
317 | [๒๒๘] อาการที่ทำปวารณามี 4 แต่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ปวารณากรรมชนิดพร้อมเพรียงโดยธรรม (ปวารณาขันธกะ) 6/576/16/576/1 6/526/4 |
318 | [๒๒๙] ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธ มอบปวารณา หรือพึงหามเตียงภิกษุอาพาธมา หรือสงฆ์ไปปวารณา ในสำนักภิกษุผู้อาพาธ แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ (ปวารณาขันธกะ) 6/576/216/576/21 6/527/19 |
319 | [๒๒๙] ในวันปวารณา ทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้มอบปวารณามอบฉันทะด้วยเผื่อสงฆ์จะมีกรณียกิจ (ปวารณาขันธกะ) 6/579/76/579/7 6/529/18 |
320 | [๒๓๐] ถ้ามีผู้จับตัวภิกษุ ในวันปวารณาพึงขอให้เขาปล่อยตัว หรือให้รอสักครู่เพื่อมอบปวารณา หรือให้เขาพาภิกษุนี้ไปนอกสีมา หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณาต้องอาบัติทุกกฏ (ปวารณาขันธกะ) 6/579/106/579/10 6/529/21 |
321 | [๒๑๓] ทรงอนุญาตให้ภิกษุ5 รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์, ภิกษุ 4 รูปปวารณาต่อกันด้วยตั้งญัตติกรรมวาจาก่อน, ภิกษุ 3 รูปปวารณาต่อกัน ด้วยตั้งญัตติก่อน, ภิกษุ 2 รูปไม่ต้องตั้งญัตติ, ภิกษุรูปเดียวให้อธิษฐาน (ปวารณาขันธกะ) 6/580/176/580/17 6/531-536 |
322 | [๒๓๒] ก่อนปวารณา ถ้าภิกษุมีอาบัติ ให้แสดงอาบัติก่อน ถ้าสงสัยก็ให้บอกความสงสัย แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ถ้ากำลังปวารณาอยู่ ระลึกอาบัติได้ หรือสงสัย ให้บอกภิกษุ ที่อยู่ใกล้เคียง (ปวารณาขันธกะ) 6/587/126/587/12 6/537-538 |
323 | [๒๓๒] สงฆ์ต้องสภาคาบัติ ในวันปวารณา พึงส่งภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่อาวาสใกล้เคียงเพื่อออกจากอาบัติ ถ้าไม่ได้ ให้ตั้งญัตติกรรมวาจา แล้วจึงปวารณา (ปวารณาขันธกะ) 6/588/206/588/20 6/538/17 |
324 | [๒๓๓] เรื่องปวารณาไม่ต้องอาบัติ 15 ข้อ (ปวารณาขันธกะ) 6/590/96/590/9 6/540-543 |
325 | [๒๓๔] รู้อยู่ว่ายังมีภิกษุอื่นที่ยังไม่มา มีความสำคัญว่าเป็นธรรม ปวารณาพวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าพวกภิกษุอื่นที่มา มีจำนวนมากกว่าต้องปวารณาใหม่ มีจำนวนน้อยกว่า หรือเท่ากัน ให้ปวารณาต่อไปในวัดนั้น 6/594/26/594/2 6/543/19 |
326 | [๒๓๗] มุ่งความแตกร้าว ปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย (ปวารณาขันธกะ) 6/598/186/598/18 6/549-550 |
327 | [๒๓๙] วันปวารณาของภิกษุเจ้าถิ่น เป็น 14 ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะ 15 ค่ำ ถ้าพวกเจ้าถิ่นมีจำนวนมากกว่า หรือเท่ากับพวกอาคันตุกะ พวกอาคันตุกะ พึงอนุวัตรตาม พวกเจ้าถิ่น ถ้าจำนวนพวกเจ้าถิ่นน้อยกว่า พึงอนุวัตรตามพวกอาคันตุกะ (ปวารณาขันธกะ) 6/601/26/601/2 6/552/4 |
328 | [๒๓๙] วันปวารณาของภิกษุเจ้าถิ่น เป็น 1 ค่ำ ของภิกษุอาคันตุกะ 15 ค่ำ ถ้าพวกเจ้าถิ่นมีจำนวนมากกว่า หรือเท่ากับพวกอาคันตุกะ พวกเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ความสามัคคี แก่พวกอาคันตุกะ พวกอาคันตุกะ พึงไปปวารณานอกสีมา , ถ้าพวกเจ้าถิ่นมีจำนวนน้อยกว่า พึงให้ความสามัคคี แก่พวกอาคันตุกะหรือไปนอกสีมา (ปวารณาขันธกะ) 6/601/126/601/12 6/552/16 |
329 | [๒๔๑] นานาสังวาส กลับเห็นว่า สมานสังวาส แล้วไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกันไม่ต้องอาบัติ. นานาสังวาส แล้วได้ไต่ถาม ไม่รังเกียจ ปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ, นานาสังวาส แล้วได้ไต่ถาม ไม่รังเกียจ แยกกันปวารณา ไม่ต้องอาบัติ (ปวารณาขันธกะ) 6/605/26/605/2 6/556 -557 |
330 | [๒๔๑] สมานสังวาส กลับเห็นว่า นานาสังวาส แล้วไม่ไต่ถาม ปวารณาร่วมกันต้องอาบัติทุกกฏ , สมานสังวาส ได้ไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ, สมานสังวาส ได้ไต่ถาม แล้วรังเกียจ ปวารณาร่วมกันไม่ต้องอาบัติ (ปวารณาขันธกะ) 6/605/96/605/9 6/556/9 |
331 | [๒๔๓] ภิกษุไม่พึงปวารณา ในบริษัทที่มีภิกษุณี... อุภโตพยัญชนก นั่งอยู่ด้วยรูปใดปวารณาต้องอาบัติทุกกฏ (ปวารณาขันธกะ) 6/609/186/609/18 6/560/8 |
332 | [๒๔๓] ภิกษุไม่พึงปวารณา ด้วยการให้ปวารณาค้างคราว นอกจากบริษัทยังไม่ลุกไป (ปวารณาขันธกะ) 6/611/56/611/5 6/561/13 |
333 | [๒๔๓] ภิกษุไม่พึงปวารณา ในดิถีมิใช่วันปวารณา นอกจากวันสังฆสามัคคี (ปวารณาขันธกะ) 6/611/76/611/7 6/561/15 |
334 | [๒๔๕] ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณาต้องอาบัติทุกกฏ ,ทรงอนุญาตให้งดปวารณา ของภิกษุผู้ไม่ยอมทำโอกาส (ปวารณาขันธกะ) 6/615/76/615/7 6/565/17 |
335 | [๒๔๕] ภิกษุไม่พึงงดปวารณา ของภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุอันไม่สมควร รูปใดงดต้องอาบัติทุกกฏ แม้ปวารณาของภิกษุที่ปวารณาแล้วก็ไม่พึงงด รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ (ปวารณาขันธกะ) 6/616/56/616/5 6/566/15 |
336 | [๒๔๖] ภิกษุกล่าวปวารณายังไม่ทันจบจึงงดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด (ปวารณาขันธกะ) 6/616/206/616/20 6/567/12 |
337 | [๒๔๗] การฟังคำปฏิญาณของภิกษุผู้เป็นโจทก์และจำเลย (ปวารณาขันธกะ) 6/620/156/620/15 6/571/11 |
338 | [๒๔๘] วิธีปฏิบัติ เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันในอาบัติที่ต้อง ในวันปวารณา (ปวารณาขันธกะ) 6/621/136/621/13 6/572/7 |
339 | [๒๔๙] หากวัตถุปรากฏก่อนปวารณา ภายหลังบุคคลจึงปรากฏ ควรพูดขึ้นหากบุคคลปรากฏ ก่อนปวารณา ภายหลังวัตถุจึงปรากฏ ก็ควรพูดขึ้น หากวัตถุและบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ถ้าเมื่อทำปวารณาแล้ว ฟื้นเรื่องนั้นขึ้นมาเป็นปาจิตตีย์ เพราะฟื้นเรื่องขึ้น (ปวารณาขันธกะ) 6/624/126/624/12 6/574/24 |
340 | [๒๕๐] วิธีเลื่อนวันปวารณา ในกรณีที่จะมีภิกษุมาก่อความบาดหมางในวันปวารณา (ปวารณาขันธกะ) 6/624/176/624/17 6/575/4 |
341 | [๒๕๑] ทรงอนุญาตให้ทำการเลื่อนปวารณาออกไป , ภิกษุทุกรูปต้องประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วให้ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา (ปวารณาขันธกะ) 6/628/116/628/11 6/578/13 |
342 | แม้ภิกษุผู้อธิษฐานปวารณาภายนอกสีมาแล้วจึงมา ก็ควรให้ฉันทะ ปวารณากรรม ของสงฆ์จึงไม่กำเริบเพราะเธอ (อ.ปวารณาขันธกะ) 6/636/206/636/20 6/586/9 |
343 | ภิกษุ 5 รูปจำพรรษาต้น อีก 5 รูปจำพรรษาหลัง เมื่อพวกแรกตั้งญัตติปวารณาแล้ว พวกหลังพึงทำปาริสุทธิอุโบสถ ในสำนักของพวกเธอ อย่าพึงตั้งญัตติ 2 อย่างในโรงอุโบสถเดียวกัน (อ.ปวารณาขันธกะ) 6/637/196/637/19 6/587/11 |
344 | ภิกษุผู้จำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง มีจำนวนน้อยกว่า หรือเท่ากับภิกษุผู้จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น และให้ครบคณะ สังฆปวารณาได้ พึงตั้งญัตติด้วยอำนาจ สังฆปวารณา (อ.ปวารณาขันธกะ) 6/638/66/638/6 6/587/20 |
345 | ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุผู้จำพรรษาต้น พึงสวดปาติโมกข์ก่อน แล้วพวกจำพรรษาต้นพึงปวารณาในสำนักของภิกษุฝ่ายข้างมาก (อ.ปวารณาขันธกะ) 6/638/166/638/16 6/588/6 |
346 | การมอบฉันทะย่อมไม่ควรในฐานะ 3 คือ ในคราวที่ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ผู้แตกกัน ในคราวระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย (ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า) ในปวารณาสังคหะนี้ (อ.ปวารณาขันธกะ) 6/645/156/645/15 6/594/19 |