1 | [๓๑๔] ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วย พระไตรรัตน์ (รตนสูตร) 47/1/847/1/8 47/1/7 |
2 | กำเนิดเมืองเวสาลี (อ.รตนสูตร) 47/7/1647/7/16 47/7/2 |
3 | เมื่อมีคนตายมาก พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง โรคระบาดก็ย่อมเกิดขึ้น.(อ.รตนสูตร) 47/11/1247/11/12 47/10/4 |
4 | เมื่อเกิดภัยร้ายแรงต่อแผ่นดิน พระราชาให้ประชาชน ทั้งปวงประชุมกัน ตรวจหาว่าพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรมประการใด (อ.รตนสูตร) 47/12/147/12/1 47/10/14 |
5 | เมื่อเทพยดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน พวกอมนุษย์ก็หนีไปโดยมาก (อ.รตนสูตร) 47/15/1947/15/19 47/13/21 |
6 | พระอานนท์ เรียนรตนสูตร ที่หน้าประตูเมือง แล้วถืออุปกรณ์แห่งพลีกรรม เที่ยวทำพระปริตร ไประหว่างกำแพงเมือง อมนุษย์ทั้งหลายได้พังกำแพงเมืองหนีไปโรคก็สงบ (อ.รตนสูตร) 47/16/247/16/2 47/13/25 |
7 | ความหมายของคำว่า ภูต. (อ.รตนสูตร) 47/17/1347/17/13 47/15/6 |
8 | ตั้งแต่ชั้นยามาจนถึงอกนิฏฐภพ จัดว่าในอากาศ จากใต้ชั้นอากาศจนถึงภาคพื้นดิน จัดว่าเกิดบนพื้นดิน (อ.รตนสูตร) 47/18/2147/18/21 47/16/14 |
9 | พระพุทธเจ้าให้ชาวทิพย์ จงตั้งใจฟังรตนสูตร ประมวลมาด้วยใจทั้งหมด ซึ่งจะนำสมบัติอันเป็นทิพย์ และโลกุตตรสุขมาให้ (อ.รตนสูตร) 47/19/1547/19/15 47/17/5 |
10 | มนุษย์พึงให้ส่วนบุญแก่อารักขเทวดาจนถึงพรหม และเมื่อเทวดาได้บุญแล้วต้องรักษา คุ้มครองมนุษย์ และตั้งความเป็นผู้กตัญญูไว้ในใจ ระลึกอยู่เป็นนิจ.(อ.รตนสูตร) 47/23/2047/23/20 47/20/9 |
11 | " สิ่งที่บุคคล ทำความยำเกรง มีค่ามากชั่งไม่ได้เห็นได้ยาก และไม่ใช่ของที่สัตว์ต่ำทรามบริโภค เพราะเหตุนี้เราจึงเรียกว่า รัตนะ " (อ.รตนสูตร) 47/26/447/26/4 47/22/1 |
12 | แก้ว 7 ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ (อ.รตนสูตร) 47/29/347/29/3 47/24/12 |
13 | จักรวาลหนึ่งๆ จะมีทวีปใหญ่ 4 ทวีป และทวีปน้อย 2 พันทวีป (อ.รตนสูตร) 47/35/2047/35/20 47/29/26 |
14 | พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งสมาธิอยู่ทั่วชมพูทวีป ก็ย่อมไม่เข้าถึงส่วนแห่งเสี้ยวแห่งคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง (อ.รตนสูตร) 47/39/647/39/6 47/32/13 |
15 | อำนาจป้องกันของพระปริตรนี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว (อ.รตนสูตร) 47/41/947/41/9 47/34/2 |
16 | บุคคลที่เรียกว่า ฐิตกัปปี ผู้มีกัปอันตั้งอยู่แล้ว เพราะถ้าเป็นเวลาที่ไฟไหม้กัปเมื่อบุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผลตราบใด กัปก็ยังไม่ไหม้ตราบนั้น..(อ.รตนสูตร) 47/44/1747/44/17 47/36/18 |
17 | พระอริยบุคคล 108 จำพวก (อ.รตนสูตร) 47/47/347/47/3 47/38/13 |
18 | บุคคลที่ฟังซึ่งคำสอน ของพระสุคตเจ้า และกระทำตามจึงชื่อว่า สาวก แต่คนเหล่าอื่น ฟังคำสอนของพระสุคตก็จริงแต่ว่า ฟังแล้วหาได้กระทำกิจที่ตนจะพึงกระทำไม่ (อ.รตนสูตร) 47/48/1647/48/16 47/39/21 |
19 | พระโสดาบัน 3 จำพวก (อ.รตนสูตร) 47/54/1647/54/16 47/44/14 |
20 | พระโสดาบันไม่ทำอภิฐานะ 6 (กรรมที่หยาบช้า) คือ อนันตริยกรรม 5 และการถือศาสดาอื่น (อ.รตนสูตร) 47/59/1447/59/14 47/48/15 |
21 | พระอริยบุคคล แม้ประมาทหรือ หลงลืมสติบ้าง ทำการล่วงละเมิด เมื่อรู้ว่ากรรมนี้ไม่ควร ย่อมกระทำคืนตามธรรม (อ.รตนสูตร) 47/61/747/61/7 47/49/24 |
22 | ท้าวสักกะเทวราช อาศัยคุณพระรัตนตรัย ประกอบสัจวาจา เพื่อความสวัสดีแก่ชาวเวสาลี (อ.รตนสูตร) 47/71/647/71/6 47/57/22 |
23 | การบูชาอันพิเศษที่ปรากฏในสูตรนี้ เป็นผลมาจากทานที่พระโพธิสัตว์กระทำต่อเจดีย์ของพระสุสิมปัจเจกพุทธเจ้า สมัยที่พระโพธิสัตว์นั้นเป็นสังขพราหมณ์.(อ.รตนสูตร) 47/75/647/75/6 47/60/21 |
24 | " ถ้าหากว่า บุคคลพึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะการสละความสุขอันพอประมาณไซร้ (ก็พึงสละความสุขอันพอประมาณเสีย) นักปราชญ์ เมื่อเห็นความสุขอันไพบูลย์ ก็พึงละความสุขพอประมาณเสีย " (อ.รตนสูตร) 47/79/1347/79/13 47/64/8 |
25 | [๓๑๕] เนื้อ และโภชนะ ไม่ชื่อว่า กลิ่นดิบ , เหตุที่จัดเป็นกลิ่นดิบ (อามคันธสูตร) 47/81/447/81/4 47/65/19 |
26 | [๓๑๕] การไม่กินปลาและเนื้อ มนตร์และการเซ่นสรวง ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจดได้ (อามคันธสูตร) 47/83/747/83/7 47/66/24 |
27 | พระโพธิสัตว์ พระนามว่ากัสสปะ บำเพ็ญบารมี 8 อสงไขยกับแสนกัป ทำความ-เพียรเพื่อโพธิญาณ 7 วัน (อ.อามคันธสูตร) 47/88/1747/88/17 47/71/6 |
28 | ติสสดาบส โกรธที่เห็นพระกัสสปพุทธเจ้า ฉันเนื้อ (อ.อามคันธสูตร) 47/92/1047/92/10 47/74/7 |
29 | ความประพฤติด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่า กลิ่นดิบคือ เป็นกลิ่นที่มีพิษ เป็นกลิ่นดุจซากศพ (อ.อามคันธสูตร) 47/97/147/97/1 47/77/25 |
30 | เนื้อ และโภชนะ ที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือ ไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งที่หาโทษมิได้. (อ.อามคันธสูตร) 47/97/1147/97/11 47/78/7 |
31 | คนที่มีปกติไม่ให้ แม้จะมีผู้ขอก็ไม่ยอมให้อะไรๆ แก่ใคร ย่อมเกิดเป็น นิชฌาม-ตัณหิกเปรต (เปรตผู้มีความอยากมาก) (อ.อามคันธสูตร) 47/100/347/100/3 47/80/6 |
32 | ชื่อว่าผู้ดุร้าย เป็นผู้มีการงานหยาบช้า เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนเลือด มีชาว-ประมง นายพราน เป็นต้น. (อ.อามคันธสูตร) 47/103/1747/103/17 47/83/6 |
33 | [๓๑๖] มิตรเช่นไร ไม่ควรคบ ? มิตรเช่นไรควรคบ ? ความพยายามเช่นไรควรประกอบ ? รสอะไรเลิศกว่ารสทั้งหลาย ? (หิริสูตร) 47/113/347/113/3 47/90/3 |
34 | ดาบส มีอยู่ 8 จำพวก (อ.หิริสูตร) 47/116/147/116/1 47/92/11 |
35 | [๓๑๘] อุดมมงคล ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย 38 ประการ (มงคลสูตร) 47/124/947/124/9 47/99/10 |
36 | เมื่อมนุษย์มีความเห็นแตกแยกกัน ย่อมมีการแบ่งกันเป็นพวกๆ ไปจนถึงพรหมโลก. (อ.มงคลสูตร) 47/129/347/129/3 47/103/9 |
37 | โกลาหลมี 5 อย่าง (อ.มงคลสูตร) 47/129/1947/129/19 47/103/26 |
38 | ความหมายของคำว่า กัป (อ.มงคลสูตร) 47/138/147/138/1 47/110/11 |
39 | การยืนเว้นโทษ 8 อย่าง (อ.มงคลสูตร) 47/140/947/140/9 47/112/8 |
40 | โดยปกติมนุษยโลก เป็นของปฏิกูลแก่เทวดา เพราะมีกลิ่นเหม็นไป 100 โยชน์. (อ.มงคลสูตร) 47/140/1647/140/16 47/112/13 |
41 | ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมเล่นด้วยกามคุณ 5 , เทพ 3 ประเภท. (อ.มงคลสูตร) 47/141/1347/141/13 47/113/11 |
42 | ชื่อว่า มนุษย์ เพราะเป็นมีใจสูง , มนุษย์มี 4 จำพวก (อ.มงคลสูตร) 47/142/647/142/6 47/113/18 |
43 | เทวดาในหมื่นจักรวาล เนรมิตอัตภาพอยู่ 80 องค์บ้าง ในที่เท่าปลายขนทราย. (อ.มงคลสูตร) 47/143/447/143/4 47/114/9 |
44 | พี่ชายของพระเจ้าทีฆวิท และสกุล 500 ที่ชอบใจความเห็นของเขา ต้องไหม้อยู่ในมหานรกสิ้น 4 พุทธันดร (อ.มงคลสูตร) 47/147/1747/147/17 47/118/6 |
45 | "นรชนใดย่อมใช้ปลายหญ้าคาผูกซึ่งปลาเน่า แม้หญ้าคาก็เหม็นเน่า มีกลิ่นฟุ้งไปฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น" (อ.มงคลสูตร) 47/148/1647/148/16 47/118/23 |
46 | สกุล 80,000 สกุล อุปัฏฐาก พระสารีบุตร ได้บังเกิดในสวรรค์ (อ.มงคลสูตร) 47/150/1147/150/11 47/120/9 |
47 | นายสุมนมาลาการได้ถวายดอกไม้บูชา พระพุทธเจ้าด้วยความเลื่อมใส เขาจะท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนกัป แล้วจะเป็นพระปัจเจก-พุทธเจ้า ชื่อว่า สุมนิสสระ (อ.มงคลสูตร) 47/153/647/153/6 47/122/6 |
48 | พี่ชายพี่หญิงเป็นผู้ควรบูชาของน้อง พ่อแม่เป็นผู้ควรบูชาของลูก สามี แม่ผัวพ่อผัว เป็นผู้ควรบูชาของสะใภ้ (อ.มงคลสูตร) 47/154/1847/154/18 47/123/24 |
49 | ประเทศใดที่บริษัท ทั้ง 4 เที่ยวไป ยังมีบุญกิริยาวัตถุ เป็นไปอยู่ มีคำสอนของพระพุทธเจ้า ยังรุ่งเรืองอยู่ ชื่อว่า ประเทศอันเป็นมงคล (อ.มงคลสูตร) 47/157/147/157/1 47/125/22 |
50 | การฝึก กาย วาจา และจิต ชื่อว่า วินัย. (อ.มงคลสูตร) 47/160/1247/160/12 47/128/15 |
51 | ภิกษุย่อมเข้าไปเพ่ง ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงไว้แล้ว อดทนเพ่งพินิจธรรมอยู่ ความพอใจก็เกิดขึ้น ย่อมอุตสาหะไตร่ตรอง เพียรพยายาม ก็ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วย นามกาย เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา (อ.มงคลสูตร) 47/161/847/161/8 47/129/8 |
52 | การจัดทำสมณบริขาร เป็นผู้ขยันในกิจที่ควรทำ ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายพึงทราบว่า เป็นมงคล (อ.มงคลสูตร) 47/161/2047/161/20 47/129/20 |
53 | บุตรพึงบำรุงมารดา บิดา ด้วยสถาน 5 (อ.มงคลสูตร) 47/166/147/166/1 47/133/7 |
54 | มารดา บิดา จะอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 5 (อ.มงคลสูตร) 47/166/1347/166/13 47/133/13 |
55 | ผู้ใดบำรุงมารดา บิดา ด้วยให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ให้รักษาศีลหรือให้บรรพชาผู้นั้นจัดว่า ได้ตอบแทนอุปการคุณของมารดา บิดา (อ.มงคลสูตร) 47/167/147/167/1 47/133/16 |
56 | สามี พึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน 5 (อ.มงคลสูตร) 47/167/1647/167/16 47/134/8 |
57 | ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี ด้วยฐานะ 5 (อ.มงคลสูตร) 47/168/147/168/1 47/134/13 |
58 | ท้าวสักกะย่อมนอบน้อมคฤหัสถ์ ผู้กระทำบุญ มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงภรรยาโดยธรรม (อ.มงคลสูตร) 47/168/1747/168/17 47/134/23 |
59 | การงานทั้งหลาย มีเกษตรกรรม โครักขกรรม พาณิชกรรม ที่ประกอบด้วยความเป็นผู้รู้กาล มีปกติกระทำเหมาะสมไม่เกียจคร้าน ถึงพร้อมด้วยความอุตสาหะและความเพียร เป็นการงานที่ไม่เสื่อมเสีย ชื่อว่า การงานที่ไม่อากูล พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล (อ.มงคลสูตร) 47/169/147/169/1 47/135/2 |
60 | ชนทั้งหลายอันเราทั้งหลายย่อมรู้จัก จึงชื่อว่า ญาติ (อ.มงคลสูตร) 47/171/547/171/5 47/136/16 |
61 | " การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ".(อ.มงคลสูตร) 47/172/547/172/5 47/137/17 |
62 | วิรัติ 3 อย่าง (อ.มงคลสูตร) 47/175/147/175/1 47/140/3 |
63 | การกระทำความเคารพ ความเป็นผู้มีคารวะตามสมควรในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดาบิดา พี่ชายพี่สาว ชื่อว่า คารวะ เป็นเหตุแห่งการไปสู่สุคติภพ. (อ.มงคลสูตร) 47/178/547/178/5 47/142/16 |
64 | ความสันโดษ นั้นมี 12 อย่าง (อ.มงคลสูตร) 47/179/647/179/6 47/143/16 |
65 | บุคคลที่หาได้ยากในโลก มีอยู่ 2 จำพวก คือ ผู้ที่ทำอุปการะก่อน ผู้กตัญญูกตเวที.(อ.มงคลสูตร) 47/183/347/183/3 47/146/22 |
66 | " ผู้ใดไม่โกรธไม่ประทุษร้าย ย่อมอดกลั้นต่อการฆ่า และการจองจำ เราเรียกผู้นั้นซึ่งมีขันติเป็นพลัง ผู้มีพลังเป็นเสนา ว่าเป็นพราหมณ์ " (อ.มงคลสูตร) 47/186/1847/186/18 47/149/21 |
67 | การมองด้วยจิตที่เลื่อมใสในภิกษุผู้มีศีล บุญนี้เป็นเหตุให้ไม่มีโรคนัยน์ตา โทษฝ้าไฝ ตลอดพันชาติ เป็นอเนก เป็นผู้มีปกติได้สมบัติทุกอย่าง ทั้งในเทวโลกทั้งในมนุษย์โลกประมาณสิ้นแสนกัป.(อ.มงคลสูตร) 47/187/2147/187/21 47/150/22 |
68 | นกฮูก ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า จะไม่ไปทุคติสิ้นแสนกัป (อ.มงคลสูตร) 47/188/847/188/8 47/151/7 |
69 | อธิบาย คำว่า พรหมจรรย์ (อ.มงคลสูตร) 47/190/947/190/9 47/153/2 |
70 | " ภูเขาศิลาแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด รูป รส เสียง กลิ่น สัมผัสรวมทั้งธรรมที่น่าปรารถนาและธรรมที่ไม่น่าปรารถนา หาได้ทำจิตซึ่งตั้งมั่นหลุดพ้นแล้วของท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ ทั้งท่านย่อมเห็นความสิ้นไปแห่งสภาวะธรรมเหล่านั้นด้วย " (อ.มงคลสูตร) 47/192/1947/192/19 47/155/9 |
71 | บุคคลกระทำตามมงคล เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ที่มาร ให้แพ้ไม่ได้ ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง (อ.มงคลสูตร) 47/195/347/195/3 47/157/6 |
72 | [๓๒๐] ราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุเกิด ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุกขนพองเกิดแต่อัตภาพนี้ วิตกทั้งหลาย เกิดแต่อัตภาพนี้ แล้วปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศลเหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกา แล้วปล่อยลงไปฉะนั้น " (สูจิโลมสูตร) 47/200/447/200/4 47/161/11 |
73 | ชายผู้หนึ่งไม่ได้บอกกล่าวเลย ถือเอาน้ำมันของสงฆ์ไปทาสรีระของตน เพราะกรรมนั้นเขาจึงไหม้ในนรก และมาเกิดเป็นยักษ์ มีผิวหนังหยาบเช่นกับกระเบื้องชื่อว่า ขรยักษ์ (อ.สูจิโลมสูตร) 47/203/447/203/4 47/163/12 |
74 | อุบาสกคนหนึ่ง มีเนื้อตัวสกปรก แล้วมานอนบนเครื่องลาดอันมีค่าของสงฆ์ ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ เขาจึงไหม้ในนรก แล้วมาเกิดเป็นยักษ์ มีขนเหมือนเข็ม ชื่อ สูจิโลมยักษ์ (อ.สูจิโลมสูตร) 47/203/1147/203/11 47/163/20 |
75 | ยักษ์ที่เป็นสหายกันทั้งสอง ฟังถ้อยคำที่แสดงสัจจะ 4 ของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ได้เป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง ประดับด้วยอลังการอันเป็นทิพย์ (อ.สูจิโลมสูตร) 47/209/1447/209/14 47/168/23 |
76 | [๓๒๑] พระพุทธเจ้าตรัสให้กำจัด บุคคลผู้เป็นดังแกลบ.(ธรรมจริยสูตร) 47/211/1347/211/13 47/170/9 |
77 | ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระกปิละ ทำพระศาสนาให้เสื่อมถอยพินาศแล้ว ตายไปอเวจีนรก พร้อมทั้งภิกษุณีผู้เป็นแม่ และน้องสาวก็ที่ประพฤติตามพระกปิละ ก็ไปอเวจีด้วย (อ.ธรรมจริยสูตร) 47/212/1147/212/11 47/171/6 |
78 | โจร 500 คน รับศีลก่อนตายได้ไปสวรรค์ (อ.ธรรมจริยสูตร) 47/215/147/215/1 47/173/6 |
79 | ปลากปิละ สีเหมือนทอง แต่ปากเหม็น. (อ.ธรรมจริยสูตร) 47/216/647/216/6 47/174/7 |
80 | พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าการปฏิบัติชอบเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของคฤหัสถ์และบรรพชิตได้ (อ.ธรรมจริยสูตร) 47/218/1247/218/12 47/176/7 |
81 | ผู้มีการงานเศร้าหมอง ทำบาปมานาน เปรียบเหมือน หลุมคูถเต็มหลุม ล้างให้สะอาดได้ยาก (อ.ธรรมจริยสูตร) 47/221/147/221/1 47/178/3 |
82 | สังฆารามเขาสร้างไว้สำหรับผู้มีศีลทั้งหลาย ไม่ได้สร้างไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ทุศีล (อ.ธรรมจริยสูตร) 47/222/1447/222/14 47/179/10 |
83 | [๓๒๓] พระพุทธองค์ ตรัสถึง ธรรมอันงามของพราหมณ์ครั้งก่อน และมาเสียเพราะพราหมณ์รุ่นหลัง อยากได้สมบัติของพระราชาในสมัยของพระเจ้าโอกกากราช พราหมณ์แต่งมนตร์หลอกให้พระราชาบูชายัญ (พราหมณธัมมิกสูตร) 47/226/147/226/1 47/181/20 |
84 | พราหมณ์ที่มีทรัพย์ฝังไว้ได้ 80 โกฏิ เรียกว่า พราหมณ์มหาศาล .(อ.พราหมณธัมมิกสูตร) 47/233/1047/233/10 47/186/18 |
85 | สัตว์ที่งมงาย 4 จำพวก คือ ไส้เดือน นกต้อยตีวิด นางนกกระเรียน พราหมณ์.(อ.พราหมณธัมมิกสูตร) 47/241/447/241/4 47/192/21 |
86 | รสแห่งโค 5 ชนิด อันเป็นเภสัช สำหรับโรคทั้งหลาย มีโรคน้ำดี เป็นต้น. .(อ.พราหมณธัมมิกสูตร) 47/245/947/245/9 47/196/3 |
87 | ชนทั้งหลาย ย่อมดื่มน้ำที่ให้กำลังในยัญพิธี หรือน้ำศักดิ์สิทธิ์ เหตุนั้น ยัญพิธีนี้จึงชื่อว่า วาชเปยยะ (อ.พราหมณธัมมิกสูตร) 47/252/1547/252/15 47/201/17 |
88 | เหตุที่โคทั้งหลาย เห็นสีเหลือง ขาว แดง แล้วเกิดความหวาดเสียว .(อ.พราหมณธัมมิกสูตร) 47/256/847/256/8 47/204/21 |
89 | เมื่อแม่โคทั้งหลายถูกฆ่าในยัญพิธี โรคก็แพร่หลายออกเป็น 98 ชนิด.(อ.พราหมณธัมมิกสูตร) 47/257/147/257/1 47/205/10 |
90 | [๓๒๕] รู้แจ้งธรรมจากบุคคลใด พึงบูชาบุคคลนั้น เหมือนเทวดา บูชาพระอินทร์ฉะนั้น (นาวาสูตร) 47/260/447/260/4 47/208/4 |
91 | [๓๒๕] " บุคคลไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งแล้ว ไม่ใคร่ครวญเนื้อความในสำนักแห่งบุคคลผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ไม่รู้ด้วยตนเอง ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ จะสามารถให้ผู้อื่น เพ่งพินิจได้อย่างไร " (นาวาสูตร) 47/260/1947/260/19 47/208/16 |
92 | เมื่อพระสารีบุตร รู้ว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านก็จะไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีนมัสการ ไปทางทิศนั้น. ภิกษุอื่นเข้าใจว่าท่านยังไหว้ทิศอยู่ (อ.นาวาสูตร) 47/265/1447/265/14 47/212/12 |
93 | [๓๒๖] " นรชนพึงเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครูก็พึงรู้จักกาล พึงรู้จักขณะ ฟังธรรมีกถาที่ครูกล่าวแล้ว พึงฟังสุภาษิตโดยเคารพ " (กิงสีลสูตร) 47/273/1047/273/10 47/218/9 |
94 | ผู้เจริญ 4 จำพวก เจริญด้วยปัญญา เจริญด้วยคุณ เจริญด้วยชาติ เจริญด้วยวัย.(อ.กิงสีลสูตร) 47/276/1047/276/10 47/220/17 |
95 | บุคคลผู้ไปหาครู เพื่อจะบรรเทาอกุศลธรรมนั้น ๆ ก็ชื่อว่า ผู้รู้จักกาล..(อ.กิงสีลสูตร) 47/277/1647/277/16 47/222/5 |
96 | ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงทำสักว่าความยิ้มแย้มในเรื่องที่ควรหรรษา ไม่พึงพูดคำกระซิบที่ไร้ประโยชน์ ไม่พึงคร่ำครวญในความฉิบหายแห่งญาติ ไม่พึงฉุนเฉียว ในเมื่อถูกตอ และหนาม (อ.กิงสีลสูตร) 47/280/1947/280/19 47/224/1 |
97 | ก็สาระจะพึงมีได้ ก็เพราะรู้แจ้งสุภาษิตที่ประกอบด้วยสมถะ และวิปัสสนา.(อ.กิงสีลสูตร) 47/282/647/282/6 47/225/4 |
98 | [๓๒๗] " เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไรด้วยความหลับเพราะความหลับจะเป็นประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อนเพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูกลูกศร คือ ราคะ เป็นต้น แทงแล้ว ย่อมยับอยู่ เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จงหมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด ".(อุฏฐานสูตร) 47/285/447/285/4 47/227/11 |
99 | พระพุทธเจ้าให้พระมหาโมคคัลลานะ ทำให้ภิกษุใหม่ 500 รูป ในปราสาทของนางวิสาขาให้สลดใจ พระเถระจึงใช้ฤทธิ์เขย่าปราสาท. (อ.อุฏฐานสูตร) 47/288/847/288/8 47/229/21 |
100 | [๓๒๘] พระพุทธองค์ตรัสสอนพระราหุลเนืองๆ ให้ละกามคุณ 5 จงคบกัลยาณ-มิตร จงเสพที่นั่ง ที่นอนอันสงัด จงรู้จักประมาณอาหาร อย่ากระทำความอยากในวัตถุอย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก จงสำรวมในปาติโมกข์ และอินทรีย์ 5 จงมีสติไปแล้วในกายจงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย จงเว้นสุภนิมิต อบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ให้ตั้งมั่นดีแล้วในอสุภภาวนา จงอบรมวิปัสสนา จงละมานานุสัยแต่นั้นจะเป็นผู้สงบ เพราะการละมานะเที่ยวไป. (ราหุลสูตร) 47/294/447/294/4 47/234/13 |
101 | พระราหุล ตั้งความปรารถนาต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ครั้งเป็นพญานาค ชื่อสังขะ (อ.ราหุลสูตร) 47/298/347/298/3 47/237/18 |
102 | การรู้จักประมาณในการรับ (อ.ราหุลสูตร) 47/299/747/299/7 47/238/16 |
103 | [๓๒๙-๓๓๐] พระวังคีสะ ได้ปริวิตก ถึงพระนิโครธกัปป อุปัชฌาย์ของตนว่าได้ปรินิพพานหรือไม่ จึงเข้าไปถามพระพุทธเจ้า (วังคีสสูตร) 47/305/447/305/4 47/243/9 |
104 | วังคีสปริพาชก มีวิชาเคาะกระโหลกคนตาย แล้ว รู้คติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายเขาจึงมีบริวาร 5,000 คน เที่ยวไปได้ขอบวชเพื่อหวังเรียนวิชาจากพระพุทธเจ้าพระองค์บอกกรรมฐาน 5 แล้ว ท่านได้บรรลุอรหัต ได้เป็นเลิศของสาวกผู้มี ปฏิภาณ(อ.นิโครธกัปปสูตร) 47/312/147/312/1 47/248/4 |
105 | การกระทำของพระอรหันต์ บางองค์ ทำโดยคุ้นเคยด้วยความประพฤติในกาลก่อน..(อ.นิโครธกัปปสูตร) 47/315/247/315/2 47/250/11 |
106 | [๓๓๑] พระพุทธองค์ตรัสตอบ ปัญหาของพระพุทธนิมิต ว่าด้วยผู้เว้นรอบโดยชอบในโลก อันเป็นสัปปายะแห่งพวกเทวดาราคจริต (สัมมาปริพพาชนิยสูตร) 47/328/447/328/4 47/260/4 |
107 | ครั้นปฐมกัป พระเจ้ามหาสมมติราช จนถึงพระเจ้าโอกกากราช และการอุบัติของสากิยวงศ์กับโกลิยวงศ์ (อ.สัมมาปริพพาชนิยสูตร) 47/332/1047/332/10 47/263/2 |
108 | [๓๓๓] เอราวัณเทพบุตร ได้บรรลุธรรมแล้ว (ธรรมิกสูตร) 47/356/747/356/7 47/284/5 |
109 | [๓๓๓] พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฏิปทาของบรรพชิต ผู้จะยังประโยชน์ให้สำเร็จ.(ธรรมิกสูตร) 47/358/147/358/1 47/285/8 |
110 | [๓๓๓] พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฏิปทาแห่งสาวกคฤหัสถ์ ผู้จะยังประโยชน์ให้สำเร็จ (ธรรมิกสูตร) 47/360/147/360/1 47/286/12 |
111 | ธรรมิกอุบาสก เป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎก เป็นอนาคามี ได้อภิญญา เที่ยวไปทางอากาศ มีอุบาสก 500 เป็นบริวาร ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นนั้นเหมือนกัน.(อ.ธรรมิกสูตร) 47/363/347/363/3 47/288/13 |
112 | ท้าวเวสวัณ จะมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แต่ได้หยุดฟัง นันทมาตาอุบาสิกาในเวฬุกัณฑกนคร ท่องปารายนสูตร จนจบแล้วให้สาธุการพร้อมกับสั่งยักษ์บริวารขนข้าวสาลีใส่ฉาง1,350 ฉางจนเต็ม แล้วก็ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า (อ.ธรรมิกสูตร) 47/366/1347/366/13 47/291/19 |
113 | พวกอุบาสก 500 มีเตียงที่เป็นกัปปิยะ มีเท้าประมาณศอกกำ ตั้งไว้ในห้องเฉพาะตน (อ.ธรรมิกสูตร) 47/368/447/368/4 47/293/3 |
114 | ภิกษานั้น ท่านเรียกว่า ปิณฑะ เพราะอรรถว่า สำรวมจากของนั้นๆ แล้วนำมาคลุกกัน (อ.ธรรมิกสูตร) 47/372/1847/372/18 47/297/15 |
115 | เมื่อประคารมกัน ย่อมส่งจิตไปในคารมนั้น จิตย่อมไปไกลจากสมถะ และวิปัสสนา(อ.ธรรมิกสูตร) 47/373/1447/373/14 47/298/9 |
116 | อปัสเสนธรรม คือ ธรรมเป็นที่พึ่งพิง 4 อย่าง คือ พิจารณาจึงเสพ พิจารณาแล้วจึงอาศัย พิจารณาแล้วจึงเว้น พิจารณาแล้วจึงบรรเทา (อ.ธรรมิกสูตร) 47/374/1947/374/19 47/299/11 |
117 | ผลของการดื่มน้ำเมา อย่างเบาเมื่อมาเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า (อ.ธรรมิกสูตร) 47/377/747/377/7 47/301/16 |
118 | ผู้รักษาอุโบสถ จะนอนบนพื้นที่เขาลาดด้วยเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ หรือแม้ลาดด้วยเครื่องลาดมีพรหมทำด้วยขนแกะ เป็นต้นบนพื้น ก็ควร. (อ.ธรรมิกสูตร) 47/378/647/378/6 47/302/14 |
119 | อธิบาย คำว่า ปาฏิหาริยปักษ์ (อ.ธรรมิกสูตร) 47/378/1847/378/18 47/303/2 |
120 | ผู้ใดกำจัดความมืดด้วยรัศมีของตน เป็นเทพชั้นกามาพจร 6 ชั้น มีชื่อว่า สยัมปภา.(อ.ธรรมิกสูตร) 47/380/847/380/8 47/304/15 |
121 | [๓๕๔] พระเจ้าพิมพิสาร เห็นพระโพธิสัตว์บิณฑบาตอยู่ แล้วเสด็จตามไปที่ภูเขาปัณฑวะ ทูลเชิญครองราชสมบัติ (ปัพพชาสูตร) 47/381/447/381/4 47/306/4 |
122 | [๓๕๔] พระพุทธองค์โดยโคตร ชื่อว่า อาทิตย์ โดยชาติ ชื่อว่า ศากยะ (ปัพพชาสูตร) 47/384/747/384/7 47/308/9 |
123 | คิริพชนคร ตั้งอยู่ ดุจคอกในท่ามกลางภูเขา 5 ลูก ที่มีชื่อว่า ปัณฑวะ คิชฌกูฏเวภาระ อิสิคิลิ เวปุลละ (อ.ปัพพชาสูตร) 47/387/1147/387/11 47/311/11 |
124 | [๓๕๕] เสนามาร 10 มีกามทั้งหลาย ความไม่ยินดี เป็นต้น. (ปธานสูตร) 47/394/2047/394/20 47/318/6 |
125 | [๓๕๕] มารติดตามพระพุทธองค์ อยู่ 7 ปี (ปธานสูตร) 47/397/147/397/1 47/319/14 |
126 | นมุจิได้แก่มาร เพราะไม่ยอมปล่อยเทวดา และมนุษย์ให้ออกจากวิสัยของตนจะทำอันตรายแก่พวกเขา (อ.ปธานสูตร) 47/399/347/399/3 47/320/24 |
127 | พิณของมารดีดครั้งเดียวเปล่งเสียงไพเราะไปถึง 4 เดือน มารนั้นทำพิณตกก็ไม่รู้สึก ท้าวสักกะจึงเอาพิณนั้นมอบให้ปัญจสิขเทพบุตร (อ.ปธานสูตร) 47/409/1947/409/19 47/330/12 |
128 | [๓๕๖] วาจาอันประกอบด้วยองค์ 4 เป็นวาจาสุภาษิต (สุภาษิตสูตร) 47/411/747/411/7 47/331/8 |
129 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาหยาบที่เสพมาก อบรมแล้วทำให้มากจะยังสัตว์ให้ไปนรก. (อ.สุภาษิตสูตร) 47/415/1647/415/16 47/335/5 |
130 | วาจาประกอบด้วยองค์ 4 เหล่านี้ แม้หากว่านับเนื่องด้วยภาษาของชาวมิลักขะ(คนป่าเถื่อน) หรือภาษาของหญิงรับใช้และนักขับร้อง ก็เป็นวาจาสุภาษิตได้เหมือนกัน (อ.สุภาษิตสูตร) 47/417/1447/417/14 47/336/24 |
131 | ภิกษุประมาณ 60 รูป ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา เดินมาได้ยิน เสียงหญิงผู้ดูแลข้าวกล้าขับเพลงขับเกี่ยวกับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยภาษาสีหล ก็ได้บรรลุพระอรหัต.(อ.สุภาษิตสูตร) 47/417/1747/417/17 47/337/1 |
132 | ภิกษุผู้เริ่มวิปัสสนา ชื่อ ติสสะไปใกล้สระบัว ได้ยินหญิงรับใช้ขับเพลงเกี่ยวกับชรา ภิกษุก็บรรลุพระอรหัต (อ.สุภาษิตสูตร) 47/417/2047/417/20 47/337/5 |
133 | บุรุษผู้หนึ่งมาจากป่าพร้อมด้วยบุตร 7 คน ได้ยินเพลงขับของหญิงซ้อมข้าวอยู่บุรุษนั้น และบุตร 7 คน ก็ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ(อ.สุภาษิตสูตร) 47/418/847/418/8 47/337/11 |
134 | [๓๕๙] พระพุทธเจ้าตรัสบอกที่เป็นที่สำเร็จแห่งการบูชา แก่สุนทริกพราหมณ์.(สุนทริกสูตร) 47/425/1747/425/17 47/343/4 |
135 | [๓๕๙] พระพุทธเจ้าไม่พึงบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา (สุนทริกสูตร) 47/430/547/430/5 47/346/2 |
136 | พระพุทธเจ้ามีความต่างกันด้วย กาล อายุ ตระกูล ประมาณ การบรรพชาความเพียร ที่ตรัสรู้ และพระรัศมี (อ.ปูรฬาสสูตร) 47/445/1847/445/18 47/359/13 |
137 | พระรัศมีของพระพุทธมงคลแผ่ไปถึงหมื่นจักรวาล (อ.ปูรฬาสสูตร) 47/446/1947/446/19 47/360/12 |
138 | [๓๖๒] พระพุทธเจ้าตรัส บอก ทักขิไณยบุคคล แก่มาฆมาณพซึ่งเป็นทานบดี.(มาฆสูตร) 47/455/247/455/2 47/368/6 |
139 | นครราชคฤห์นี้ เป็นนครในครั้งพุทธกาล และครั้งจักรพรรดิกาล ในกาลที่เหลือเป็นนครว่างเปล่าถูกยักษ์ครอง (อ.มาฆสูตร) 47/461/1247/461/12 47/373/6 |
140 | เมื่อภิกษุประกอบการภาวนาเนืองๆ อยู่ แม้จะไม่เกิดความปรารถนาว่าจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ถึงดังนั้น จิตของภิกษุนั้นก็ย่อมพ้นจากอาสวะ (อ.มาฆสูตร) 47/465/347/465/3 47/376/8 |
141 | ก่อนให้มีใจผ่องใส ขณะให้จิตก็ผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็ชื่นใจ นี้ คือ ความสมบูรณ์แห่งยัญ. (อ.มาฆสูตร) 47/467/2047/467/20 47/378/23 |
142 | ภิกษุใดยังฌาน 3 ในจตุกกนัย และฌาน 4 ในปัญจกนัย ให้เกิดด้วยเมตตาทำฌานนั้นให้เป็นบาท แล้วเห็นแจ้งย่อมบรรลุพระอรหัต (อ.มาฆสูตร) 47/469/1047/469/10 47/380/7 |
143 | [๓๖๔-๓๗๒] เทวดาที่เป็นญาติของสภิยปริพาชก แต่งปัญหาให้เขาไปถามสมณะหรือพราหมณ์ ต่างๆ ดู ถ้าใครตอบได้ก็ให้เข้าประพฤติพรหมจรรย์ใน สำนักนั้น สภิยะไปถามพวกคณาจารย์ และเจ้าลัทธิทั้งหลายแล้ว สุดท้ายไปถาม พุทธเจ้า เมื่อจบการพยากรณ์ สภิยปริพาชก หมอบลงแทบพระบาทขอบรรพชา อุปสมบท ครั้นอุปสมบทแล้วไม่นานนัก เขาก็ได้เป็นพระอรหันต์. (สภิยสูตร) 47/471/447/471/4 47/381/11 |
144 | เทวดาแปลงเป็นกระแต ช่วยชีวิตพระราชา (อ.สภิยสูตร) 47/486/1747/486/17 47/392/13 |
145 | อดีตของสภิยะในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า (อ.สภิยสูตร) 47/487/847/487/8 47/393/4 |
146 | [๓๗๗] พระพุทธเจ้าตรัสแก่เสลพราหมณ์ ถึงความที่พระองค์เป็นธรรมราชา ยังจักรที่ใครๆ พึงให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปโดยธรรม จงขจัดความสงสัยในพระองค์จงน้อมใจเชื่อ การได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเนือง ๆ เป็นการได้โดยยากเสลพราหมณ์และบริวาร 300 คน จึงได้อุปสมบทในสำนัก ของพระองค์(เสลสูตร) 47/519/247/519/2 47/421/18 |
147 | ต้นกำเนิด แม่น้ำใหญ่ 5 สาย(อ.เสลสูตร) 47/524/1247/524/12 47/426/1 |
148 | อาปณะนิคม นั้น มีตลาดมาก มีตลาดใหญ่จ่ายของกัน ถึง 20,000 ตลาด.(อ.เสลสูตร) 47/527/1747/527/17 47/428/23 |
149 | จักรวาลหนึ่งโดยยาวและโดยกว้าง 1,203,450 โยชน์ โดยรอบ 3,610,350 โยชน์.(อ.เสลสูตร) 47/531/947/531/9 47/431/14 |
150 | เทวดาชั้นสุทธาวาส ได้ข่าวว่าพระตถาคตจะอุบัติ ถึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์แล้วใส่มหาปุริสลักษณะ ลงในเวททั้งหลายของพราหมณ์ แต่ครั้นพระตถาคตปรินิพพานแล้วเวททั้งหลายก็หายไป (อ.เสลสูตร) 47/540/1447/540/14 47/440/1 |
151 | [๓๘๐] สัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดแล้ว จะไม่ตายไม่มี บิดาจะป้องกันบุตรไว้ หรือญาติจะป้องกันญาติไว้ก็ไม่ได้ ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์ (สัลลสูตร) 47/556/347/556/3 47/453/3 |
152 | อุบาสกคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ บุตรเขาตาย เขาจึงเศร้าโศกอดอาหารถึง 7 วัน พระองค์ จึงเสด็จไปที่บ้านเขา แสดงธรรมเพื่อคลายความโศก.(อ.สัลลสูตร) 47/560/447/560/4 47/455/20 |
153 | ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้า หายใจออก มหาภูตรูป กวฬีการาหาร ไออุ่น วิญญาณ. (อ.สัลลสูตร) 47/560/1847/560/18 47/456/13 |
154 | " ชีวิตและอัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งสิ้นล้วนเป็นธรรมประกอบร่วมอยู่กับจิตดวงหนึ่งๆขณะผ่านไปรวดเร็ว เทวดาเหล่าใดตั้งอยู่ตลอด 84,000 กัป แม้เทวดาเหล่านั้นก็หาดำรงอยู่ด้วยจิต 2 ดวงไม่ " (อ.สัลลสูตร) 47/563/1247/563/12 47/458/2 |
155 | [๓๘๒] วาเสฏฐะ และภารทวาชมาณพ เข้าไปถามพระพุทธองค์ ถึงบุคคลเป็นพราหมณ์ ได้เพราะชาติ หรือ เพราะกรรม พระองค์ทรงแสดงบัญญัติที่ชาวโลกเรียกกัน ตั้งแต่ หญ้า แมลง สัตว์ปีก สัตว์น้ำ มนุษย์ ซึ่งมนุษย์นั้นต่างกันเพราะกรรม และทรงแสดงเหตุที่เรียกว่า พราหมณ์ (วาเสฏฐสูตร) 47/571/1247/571/12 47/464/15 |
156 | [๓๘๔-๓๘๕] พระโกกาลิกะตำหนิพระอัครสาวกว่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ต่อหน้าพระพุทธเจ้า แล้วเกิดตุ่มขึ้นเต็มตัว ตายไปตกปทุมนรก (โกกาลิกสูตร) 47/599/447/599/4 47/488/4 |
157 | [๓๘๖] หน่วยการนับจาก อัพพุทนรก ถึง ปทุมนรก (โกกาลิกสูตร) 47/601/1447/601/14 47/490/12 |
158 | [๓๘๗] ผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกตลอดกาลประมาณด้วยการนับปี100,000 นิรัพพุทะ และ 40 อัพพุทะ (โกกาลิกสูตร) 47/602/1247/602/12 47/491/5 |
159 | [๓๘๗] " ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้เป็นบุรุษหมดจด ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับมาถึงผู้เป็นพาลนั้นเอง เหมือนธุลี ละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น " (โกกาลิกสูตร) 47/603/147/603/1 47/491/12 |
160 | [๓๘๗] การลงโทษสัตว์นรก ของนายนิรยบาล ในโรรุวนรก เป็นต้น (โกกาลิกสูตร) 47/604/147/604/1 47/492/14 |
161 | เหตุที่พระโกกาลิก อาฆาต พระอัครสาวก (อ.โกกาลิกสูตร) 47/607/847/607/8 47/494/11 |
162 | มนุษย์ และเทวดาต่างติเตียนพระโกกาลิกะ จนถึงอกนิฏฐภพ (อ.โกกาลิกสูตร) 47/610/1947/610/19 47/497/13 |
163 | ครั้งศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ภิกษุชื่อสหกะ เป็นพระอนาคามีบังเกิดใน สุธาวาสมหาพรหม พรหมทั้งหลายเรียกท่านว่า สหัมบดีพรหม (อ.โกกาลิกสูตร) 47/611/1547/611/15 47/498/7 |
164 | การนับปีจาก 100 แสน จนถึงนิรัพพุทะ (อ.โกกาลิกสูตร) 47/612/1347/612/13 47/499/1 |
165 | โลหกุมภี (หม้อเหล็ก) นี้อยู่สุดแผ่นดินมีความลึก 240,000 โยชน์ เต็มไปด้วยโลหะร้อนเต็มเปี่ยม. (อ.โกกาลิกสูตร) 47/617/2047/617/20 47/503/26 |
166 | [๓๘๘] อสิตฤษี เมื่อทราบข่าวการประสูติของพระโพธิสัตว์จากเทวดาแล้ว ก็รีบมาดูลักษณะของพระกุมาร และรู้ว่าพระกุมารจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแต่ตนเองจะมีชีวิตอยู่ไม่ทันเห็นพระพุทธเจ้า จึงไปบวชหลานชายชื่อ นาลกะ สั่งไว้ว่าถ้าได้ยินข่าว พุทโธ ให้มาศึกษาประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระพุทธเจ้าเถิด..(นาลกสูตร) 47/621/347/621/3 47/507/3 |
167 | [๓๘๙] ปฏิปทาของมุนี (นาลกสูตร) 47/626/1247/626/12 47/510/24 |
168 | ดาบสชื่อ นาลกะ ปรารถนา ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา ครั้ง พระปทุมุตตรพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมจักรแล้ว 7 วัน นาลกดาบส ก็มาเข้าเฝ้า.(อ.นาลกสูตร) 47/631/1547/631/15 47/514/6 |
169 | อสิตฤษี เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าสีหหนุ พระชนกของพระเจ้าสุทโธทนะ ครั้งพระเจ้าสุทโธทนะครองราช ก็ขอราชานุญาตบวช ท่านได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8ชอบพักกลางวันอยู่ นาคพิภพบ้าง สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาบ้าง ป่าหิมพานต์บ้าง (อ.นาลกสูตร) 47/632/1747/632/17 47/515/7 |
170 | สงครามระหว่าง ท้าวสักกะ กับอสูร (อ.นาลกสูตร) 47/634/847/634/8 47/516/13 |
171 | พื้นชั้นล่างของเขาสิเนรุ มีอสุรภพ ประมาณ 10,000 โยชน์ ณ พื้นชั้นกลางมีมหาทวีป 4 มีทวีปน้อย 2,000 เป็นบริวาร ณ พื้นชั้นบน มีดาวดึงส์พิภพ10,000 โยชน์ (อ.นาลกสูตร) 47/635/1747/635/17 47/517/24 |
172 | ฤษี ชื่อ อสิตะ ชื่อที่สองว่า กัณหเทวิลฤษี (อ.นาลกสูตร) 47/637/1647/637/16 47/519/14 |
173 | ถ้าอสิตฤษี นี้น้อมจิตไป ในรูปภพ ก็จะไม่เดือดร้อน แต่เพราะความไม่ฉลาดไม่รู้จักวิธี จึงเป็นผู้เสียใจด้วยระลึกถึงการอุบัติในอรูปภพของตน (อ.นาลกสูตร) 47/639/1547/639/15 47/521/13 |
174 | กิเลสทั้งหลายที่ตัดขาดด้วยมรรคภาวนาจะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นได้เพราะปัจจัยมีกำลังแห่งการได้สมาบัติ (อ.นาลกสูตร) 47/640/247/640/2 47/521/20 |
175 | สาวกรูปเดียวเท่านั้นของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ย่อมปฏิบัติปฏิปทาของมุนีได้ (อ.นาลกสูตร) 47/645/147/645/1 47/526/9 |
176 | ความปรารถนาน้อย 4 อย่าง คือ ปัจจัย ธุดงค์ ปริยัติ อธิคม (อ.นาลกสูตร) 47/650/547/650/5 47/530/18 |
177 | ภิกษุผู้บำเพ็ญโมเนยยปฏิปทาไม่พึงยินดี การนิมนต์ และโภชนะที่มีวิตกอย่างนี้ว่าจะให้หรือไม่ให้ ให้ดีหรือไม่ให้ดีหนอ ดังนี้ ก็ไม่ควรรับ (อ.นาลกสูตร) 47/653/1747/653/17 47/533/17 |
178 | มุนีไม่พึงกล่าววาจา เกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน ประกอบด้วย โอภาส(ชี้นำ)ปริกถา (เลียบเคียง) นิมิต (เครื่องหมาย) วิญญัตติ (การขอร้อง) หากพึงหวังเป็นไข้ควรกล่าวเพื่อปัดเป่าความเจ็บไข้ (อ.นาลกสูตร) 47/654/1147/654/11 47/534/6 |
179 | ผู้เป็นพุทธมามกะ คือ ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา (อ.นาลกสูตร) 47/659/147/659/1 47/538/8 |
180 | สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นย่อมดัง สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นย่อมสงบ (อ.นาลกสูตร) 47/659/447/659/4 47/538/10 |
181 | พระนาลกเถระ ได้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ในฐานะ 3 คือ ในการเห็น ในการฟัง ในการถาม (อ.นาลกสูตร) 47/660/1147/660/11 47/539/13 |
182 | ภิกษุผู้บำเพ็ญโมเนยยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ จะมีชีวิตอยู่ได้ 7 เดือน อย่างกลางจะมีชีวิตอยู่ได้ 7 ปี อย่างอ่อนจะมีชีวิตอยู่ได้ 16 ปี พระนาลกะนี้มีชีวิตอยู่ได้7 เดือน ท่านรู้ว่าจะปรินิพพาน ก็ถวายบังคมไปทางพระทศพล แล้วยืนพิงภูเขาปรินิพพาน พระศาสดาเสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ณ ภูเขานั้น ทำฌาปนกิจให้เก็บพระธาตุไปบรรจุยังเจดีย์ แล้วเสด็จกลับ (อ.นาลกสูตร) 47/661/447/661/4 47/540/1 |
183 | [๓๙๐] ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม 2 อย่าง โดยชอบเนืองๆ อย่างนี้ว่า ข้อที่1 นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ ข้อที่ 2 นี้ความดับทุก นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว พึงหวังผล 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล หรือ พระอนาคามี (ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/662/847/662/8 47/540/20 |
184 | [๓๙๕] " ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เพราะวิญญาณดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด" (ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/666/747/666/7 47/543/24 |
185 | [๓๙๗] " ภิกษุรู้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา หรือทุกขเวทนากับอทุกขมสุขเวทนา ที่มีอยู่ทั้งภายใน และภายนอกว่าเวทนานี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ มีความสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา ถูกต้องด้วยอุทยัพพยญาณแล้วเห็นความเสื่อมไปอยู่ ย่อมรู้แจ่มแจ้ง ความเป็นทุกข์ในเวทนานั้นอย่างนี้เพราะเวทนาทั้งหลายสิ้นไปนั้นเอง ทุกข์จึงไม่เกิด " (ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/667/1347/667/13 47/544/23 |
186 | [๔๐๔] " สัตว์เหล่าใดผู้เขาถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดอยู่ในอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้ชัดซึ่งนิพพาน ก็ยังเป็นผู้จะต้องมาสู่ภพใหม่ ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปภพแล้วไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพ ชนเหล่านั้นน้อมไปในนิพพานทีเดียว เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ " (ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/672/1147/672/11 47/548/10 |
187 | [๔๐๕] นามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั้นเป็นของเท็จ (ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/672/1747/672/17 47/548/16 |
188 | อรหัตผลอัน ตัณหาจริตบุคคลข่มกิเลสทั้งหลายด้วยผลแห่งอัปปนาฌานแล้วจึงบรรลุ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ อรหัตผลอันทิฏฐิจริตบุคคลยังเพียงอุปจารฌานให้เกิด เห็นแจ้งแล้ว จึงบรรลุ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา (อ.ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/681/1447/681/14 47/556/6 |
189 | สังขารเป็นปัจจัย คือ ปุญญาภิสังขาร(สภาพผู้ตกแต่งคือ บุญ) อปุญญาภิสังขาร(สภาพผู้ตกแต่งคือ บาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพผู้ตกแต่ง คือ ความไม่หวั่นไหว).(อ.ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/683/947/683/9 47/557/22 |
190 | อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญากำหนดรู้ความเกิด และความเสื่อม .(อ.ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/685/447/685/4 47/559/11 |
191 | สัตว์ 4 ประเภท คือ รูปูปคา (เข้าถึงรูป) เวทนูปคา (เข้าถึงเวทนา) สัญญูปคา(เข้าถึงสัญญา) สังขารูปคา (เข้าถึงสังขาร) (อ.ทวยตานุปัสสนาสูตร) 47/686/1147/686/11 47/560/14 |
192 | [๔๐๘] " นรชนใดย่อมยินดีกามเป็นอันมาก คือ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส กรรมกรเหล่าสตรี และพวกพ้อง กิเลสทั้งหลายอันมีกำลังน้อย ย่อมครอบงำย่ำยีนรชนนั้นได้ อันตรายทั้งหลายก็ย่อมย่ำยีนรชนนั้น แต่นั่นทุกข์ย่อมติดตามนรชนผู้ถูกอันตรายครอบงำ เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้ว ฉะนั้น " (อ.กามสูตร) 47/693/1447/693/14 47/566/13 |
193 | พราหมณ์ผู้หนึ่งกำลังไถนาอยู่ ริมแม่น้ำอจิรวดี พระศาสดาทรงเสด็จไปทำปฏิ-สันถาร กับพราหมณ์ นั้นทุกวัน เพื่อให้พราหมณ์มีจิตอ่อนต่อพระองค์ เมื่อถึงคราวจะเกี่ยวข้าว พราหมณ์ตั้งใจจะแบ่งส่วนทำบุญ แต่ฝนตกหนัก ทำข้าวเสียหายหมด พระศาสดาจึงเสด็จไปที่บ้านเขาตรัสว่า พราหมณ์ เมื่อถึงคราววิบัติ ไม่ก็ไม่ควรเสียใจ และเมื่อถึงครามสมบูรณ์ ก็ไม่ควรดีใจ เพราะชื่อว่า กามทั้ง-หลายย่อมสมบูรณ์บ้าง วิบัติบ้าง (อ.กามสูตร) 47/694/1347/694/13 47/567/9 |
194 | [๔๐๙] ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ กาย เป็นผู้ไกลจากวิเวก. (คุหัฏฐกสูตร) 47/699/347/699/3 47/571/6 |
195 | พระเจ้าอุเทนโกรธ จะเอารังมดแดง มาใส่พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ท่านจึงเหาะหนีแล้วดำลงแผ่นดินมาโผล่ภายในพระคันธกุฎี พระศาสดาทรงบรรทมด้วยพระปรัศว์เบื้องขวา นั่นแหละ แสดงธรรมแก่พระเถระ (อ.คุหัฏฐกสูตร) 47/703/547/703/5 47/574/24 |
196 | " เพราะเหตุนั้นแล สัตว์พึงศึกษาไตรสิกขาในศาสนานี้พึงรู้ว่าสิ่งอะไรๆ ในโลกไม่เป็นความสงบ ไม่พึงประพฤติความไม่สงบ เพราะเหตุแห่งสิ่งนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิตนั้นว่า เป็นของน้อยนัก " (อ.คุหัฏฐกสูตร) 47/706/1847/706/18 47/577/8 |
197 | [๔๑๐] " ผู้ใดไม่ถูกถามเลย กล่าวอวดอ้างศีล และวัตรของตนแก่ผู้อื่น ผู้ฉลาดกล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรมผู้ใดกล่าวอวดตนด้วยตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวการอวดของผู้นั้นว่า ผู้นี้ไม่มีอริยธรรม " (ทุฏฐัฏฐกสูตร) 47/710/1547/710/15 47/580/13 |
198 | พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ถูกพวกเดียรถีย์ กล่าวหาว่าฆ่านางสุนทรี ชนทั้งหลายจึงด่าอย่างเสียหาย พระอานนท์เข้ากราบทูลให้เสด็จไปเมืองอื่น พระองค์ตรัสว่าเสียงนี้จักมีอยู่ 7 วัน เท่านั้น ผู้ใดทำความเสื่อมยศไว้ ความเสื่อมยศนั้นก็จะตกไปบนผู้นั้น (อ.ทุฏฐัฏฐกสูตร) 47/713/547/713/5 47/581/20 |
199 | [๔๑๑] คนพาลสำคัญว่าได้เห็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ยิ่งใหญ่ หาโรคมิได้ แล้วตัวเองจะบริสุทธิ์ ผู้นั้นย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้ (สุทธัฏฐกสูตร) 47/721/347/721/3 47/589/3 |
200 | [๔๑๑] " ชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นผู้กล่าวความบริสุทธิ์โดยทางมรรคอย่างอื่นเหล่านั้น ละศาสดาเบื้องต้น อาศัยศาสดาอื่น อันตัณหาครอบงำย่อมข้ามธรรมเป็นเครื่องข้องไม่ได้ ชื่อว่า ถือเอาธรรมนั้นด้วย สละธรรมนั้นด้วยเปรียบเหมือนวานรจับ และปล่อยกิ่งไม้ที่ตรงหน้าเสีย เพื่อจับกิ่งอื่นฉะนั้น " (สุทธัฏฐกสูตร) 47/722/547/722/5 47/589/16 |
201 | บุรพกรรม ของพระจันทาภะ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว.(อ.สุทธัฏฐกสูตร) 47/724/547/724/5 47/590/22 |
202 | [๔๑๒] ภิกษุไม่พึงยึดมั่นรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีลและพรต (ปรมัฏฐกสูตร) 47/732/2047/732/20 47/598/15 |
203 | พระพุทธเจ้าเปรียบพวกเดียรถีย์ เหมือนพวกตาบอดคลำช้าง (อ.ปรมัฏฐกสูตร) 47/735/947/735/9 47/600/16 |
204 | [๔๑๓] ชีวิตนี้น้อยนักสัตว์ย่อมตายแม้ภายใน 100 ปี ถ้าแม้สัตว์เป็นอยู่ไซร้ สัตว์นั้นก็ย่อมตายแม้เพราะชราโดยแท้แล เมื่อตายแล้ว ชื่อเท่านั้นที่ควรกล่าวขวัญถึง. (ชราสูตร) 47/738/347/738/3 47/603/3 |
205 | พราหมณ์ และพราหมณี คู่หนึ่ง ชาวเมืองสาเกตุ เห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความรักดังว่าเป็นบุตร (อ.ชราสูตร) 47/740/1347/740/13 47/605/8 |
206 | ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะเคยอยู่ร่วมกันมาก่อน หรือเพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบันเหมือนดอกบัวเกิดในน้ำฉะนั้น. (อ.ชราสูตร) 47/742/2047/742/20 47/606/21 |
207 | พระพุทธเจ้าให้บูชาอริยสาวกคฤหัสถ์ผู้เป็นเสขะ เหมือนบูชาพระอเสขะ.(อ.ชราสูตร) 47/743/1547/743/15 47/607/16 |
208 | [๔๑๔] บุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรม ย่อมลืมแม้คำสั่งสอน และย่อมปฏิบัติผิด.(ติสสเมตเตยยสูตร) 47/746/1047/746/10 47/610/9 |
209 | [๔๑๔] ผู้ใดถูกผู้อื่นตักเตือนแล้ว ยังทำกายทุจริต พึงเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือเอาโทษแห่งมุสาวาท (ติสสเมตเตยยสูตร) 47/747/847/747/8 47/610/24 |
210 | [๔๑๔] บุคคลอันผู้อื่นรู้กันดี แล้วว่าเป็นบัณฑิต เที่ยวไปผู้เดียว แล้วยังมาเสพเมถุนธรรมย่อมมัวหมอง เหมือนคนงมงาย (ติสสเมตเตยยสูตร) 47/747/1247/747/12 47/611/2 |
211 | [๔๑๕] " การยกตนของบุคคลนั้น เป็นพื้นฐานแห่งความกระทบกัน และบุคคลนั้นย่อมกล่าวถึงการถือตัว และการดูหมิ่นผู้อื่น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงเว้นความทะเลาะกันเสียผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความบริสุทธิ์ ด้วยการทะเลาะกันนั้น " (ปสูรสูตร) 47/754/1847/754/18 47/617/7 |
212 | ปสูรปริพาชก ทนงตนว่ามีวาทะจัดจ้าน ได้โต้วาทะแพ้พระสารีบุตร แล้วคิดบวชเพื่อเรียนการพูด แต่ไปบวชกับพระโลฬุทายี จึงเที่ยวข่มท่าน แล้วหลีกไปสู่ลัทธิเดิม ต่อมาคิดจะโต้วาทะกับพระพุทธองค์ แต่เทวดาผู้สิงอยู่ที่ซุ้มประตูพระเชตวันได้บันดาลปิดปากเขาไว้ เขาเข้าไปนั่งในเชตวันแล้วพูดไม่ได้ พระพุทธองค์จึงแสดงธรรมกับบริษัทที่มา (อ.ปสูรสูตร) 47/756/1547/756/15 47/618/11 |
213 | [๔๑๖] " เราไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น การฟัง การรู้ ทั้งด้วยศีลและพรต เราไม่กล่าวความบริสุทธิ์เว้นจากการเห็น จากการฟัง จากศีล การรู้และพรต ก็บุคคลสละธรรม เป็นไปในฝ่ายดำมีทิฏฐิ เป็นต้น เหล่านี้แล้ว ไม่ถือมั่นเป็นผู้สงบ ไม่อาศัยธรรมอะไรแล้วไม่พึงปรารถนาภพ " (มาคันทิยสูตร) 47/766/1547/766/15 47/626/18 |
214 | พระพุทธองค์ ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของมาคันทิยพราหมณ์ และภรรยา จึงเสด็จไปที่แคว้นกุรุ พราหมณ์ เห็นลักษณะของพระองค์แล้วต้องการยกธิดาให้.(อ.มาคันทิยสูตร) 47/769/1947/769/19 47/628/19 |
215 | [๔๑๗] " ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระแตก เป็นผู้ไม่อาศัย กาลเบื้องต้นและ(อดีต)เบื้องปลาย (อนาคต) อันใครๆ จะพึงนับว่า เป็นผู้ยินดีแล้ว ในกาลท่ามกลาง(ปัจจุบัน) ไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อมไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้สงบ ".(ปุราเภทสูตร) 47/779/1047/779/10 47/637/9 |
216 | [๔๑๘] " ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำส่อเสียด ต่างเกิดจากของที่รักความทะเลาะ ความวิวาท ต่างประกอบด้วยความตระหนี่ ก็เมื่อความวิวาทเกิด แล้ว คำส่อเสียดย่อมเกิด " (กลหวิวาทสูตร) 47/787/1247/787/12 47/644/10 |
217 | [๔๑๘] ความรัก ความโลภ ความหวัง และความสำเร็จของนรชน มีความพอใจเป็นเหตุ (กลหวิวาทสูตร) 47/788/847/788/8 47/644/22 |
218 | [๔๑๘] " ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความยินดี และความไม่ยินดีทั้งสองอย่างนั้นแหละมีอยู่ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึงกล่าวธรรมทั้งหลาย " (กลหวิวาทสูตร) 47/789/747/789/7 47/645/12 |
219 | [๔๑๘] ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะเป็นเหตุ. (กลหวิวาทสูตร) 47/790/147/790/1 47/645/24 |
220 | [๔๑๘] " ผัสสะ อาศัยนามและรูป จึงเกิดขึ้น ความหวงแหน มีความปรารถนาเป็นเหตุ เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่า สิ่งนี้เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มีผัสสะจึงไม่ถูกต้อง " (กลหวิวาทสูตร) 47/790/1247/790/12 47/646/8 |
221 | [๔๑๙] " หากว่าผู้ใดไม่ยินยอมตามธรรม คือความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนพาลคนเขลาเป็นคนมีปัญญาทราม ชนเหล่านี้ทั้งหมด ก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าชนเหล่านี้ทั้งหมดถือมั่นอยู่ในทิฏฐิ " (จูฬวิยูหสูตร) 47/800/1747/800/17 47/655/8 |
222 | [๔๑๙] ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทรามด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทรามไปด้วยกัน (จูฬวิยูหสูตร) 47/804/147/804/1 47/657/7 |
223 | [๔๒๐] " มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีมารและเสนามาร ในธรรมทั้งปวง คือ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว หรือ ได้ทราบแล้ว ปลงภาระลงแล้ว หลุดพ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีเครื่องกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา ฉะนี้แล ".(มหาวิยูหสูตร) 47/818/1447/818/14 47/667/19 |
224 | [๔๒๑] " ภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ไม่พึงประกอบอาถรรพ์ ตำรา-ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ นักขัตฤกษ์ การทำนายเสียงสัตว์ร้อง การทำยาให้หญิงมีครรภ์ และการเยียวยารักษา " (ตุวฏกสูตร) 47/830/147/830/1 47/677/7 |
225 | [๔๒๒] ภัยเกิดแล้วแต่อาชญาของตน (อัตตทัณฑสูตร) 47/839/347/839/3 47/685/4 |
226 | [๔๒๓] " ภิกษุอันผัสสะแห่งโรค คือ ความหิว เย็นจัด ร้อนจัด ถูกต้องแล้ว พึงอดกลั้นได้ ภิกษุนั้นเป็นผู้อันโรคเหล่านั้นถูกต้องแล้วด้วยอาการต่างๆ ก็มิได้ทำโอกาสให้แก่อภิสังขาร เป็นต้น พึงบากบั่นกระทำความเพียรให้มั่นคง " .(สารีปุตตสูตร) 47/852/1247/852/12 47/695/24 |
227 | [๔๒๓] " ผู้เป็นเสขะ ไม่มีความกังวลเที่ยวไป พึงปราบวิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่ำไรเหล่านี้ว่า เราจักบริโภคอะไร หรือว่าเราจักบริโภคที่ไหน เมื่อคืนนี้เรานอนเป็นทุกข์นัก ค่ำวันนี้เราจักนอนที่ไหน " (สารีปุตตสูตร) 47/853/1147/853/11 47/696/14 |
228 | [๔๒๔] " พราหมณ์พาวรี ถูกพราหมณ์ผู้หลอกลวงคนหนึ่งขู่ว่าขอให้ศีรษะแตก7 เสี่ยง จึงเป็นทุกข์ เทวดาผู้หวังประโยชน์ได้เข้ามาบอกความจริงให้ แล้วให้ไปถามพระพุทธเจ้าถึงธรรมเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป พราหมณ์พาวรีจึงส่งลูกศิษย์ ไปถาม. (วัตถุกถา) 47/864/447/864/4 47/708/11 |
229 | [๔๒๔] พราหมณ์พาวรีมีอายุ 120 ปี มีลักษณะมหาบุรุษ 3 ประการ คือ ปกปิดหน้าด้วยลิ้นได้ มีอุณาโลมชาติในระหว่างคิ้ว มีคุยหฐานอยู่ในฝัก (วัตถุกถา) 47/872/1247/872/12 47/712/20 |
230 | [๔๒๔] อวิชชาชื่อว่า ธรรมเป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะและวิริยะ ชื่อว่าธรรมเครื่องให้ ศีรษะตกไป (วัตถุกถา) 47/874/747/874/7 47/713/24 |
231 | ช่างไม้และศิษย์ 16,017 คน ทำนกไม้ติดยนต์บินไปในอากาศ ยึดราชสมบัติในหิมวันต์ประเทศ แล้วตั้งเป็นกัฏฐวาหนนคร (อ.วัตถุกถา) 47/875/1647/875/16 47/715/7 |
232 | ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า พระเจ้าพาราณสีได้ส่งข่าวว่า พระรัตนตรัยเกิดขึ้นแล้วและให้จารึกการปฏิบัติของภิกษุรูปหนึ่งจนถึงพระอรหัตลงบนแผ่นทอง ส่งไปให้พระเจ้ากัฏฐวาหนะ (อ.วัตถุกถา) 47/879/547/879/5 47/718/12 |
233 | พระเจ้ากัฏฐวาหน ส่งอำมาตย์ 16 คน พร้อมด้วยบริวาร 16,000 คน ไปฟังข่าวพระรัตนตรัย ที่เมืองพาราณสีแต่พระกัสสปพุทธเจ้าทรงปรินิพพานก่อน.(อ.วัตถุกถา) 47/880/1547/880/15 47/719/22 |
234 | พาวรีพราหมณ์ และศิษย์ 16 คน บริวารอีก 16,000 คน ได้บวชเป็นดาบส สร้างอาศรม อยู่ระหว่าง พรหมแดนในแคว้นอัสสกะและแคว้น มุฬกะ (อ.วัตถุกถา) 47/882/447/882/4 47/721/1 |
235 | [๔๒๕] " โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่ (เพราะความประมาท) เรากล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น " (อชิตสูตร) 47/891/947/891/9 47/729/20 |
236 | [๔๒๕] " สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลกเรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลายกระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา " (อชิตสูตร) 47/891/1847/891/18 47/730/8 |
237 | [๔๒๕] นามและรูปย่อมดับไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด สติและปัญญานี้ ย่อมดับไปณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ (อชิตสูตร) 47/892/647/892/6 47/730/16 |
238 | [๔๒๕] " ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวงมีสติ พึงเว้นรอบ " (อชิตสูตร) 47/892/1747/892/17 47/731/2 |
239 | [๔๒๖] ภิกษุเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วประพฤติพรหมจรรย์ มีตัณหาปราศจากไปแล้ว มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าผู้ยินดีในโลกนี้.(ติสสเมตเตยยปัญหา) 47/897/1147/897/11 47/735/3 |
240 | [๔๒๗] " สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอันมากในโลกนี้ คือ ฤๅษี กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนา ความเป็นมนุษย์ เป็นต้น อาศัยของมีชราจึงบูชายัญ แก่เทวดาทั้งหลาย " (ปุณณกปัญหา) 47/900/1347/900/13 47/737/11 |
241 | [๔๒๗] สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหวัง ย่อมชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพัน ถึงกามก็เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นประกอบการบูชา ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้ (ปุณณกปัญหา) 47/901/747/901/7 47/737/24 |
242 | [๔๒๗] ผู้ใด ไม่มีความหวั่นไหว ในโลกไหนๆ เพราะได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก ผู้นั้นสงบแล้วไม่มี ความประพฤติชั่วอันจะทำให้มัวหมองดุจควันไฟไม่มีกิเลสอันกระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นข้ามพ้นชาติและชราไปได้แล้ว (ปุณณกปัญหา) 47/902/147/902/1 47/738/12 |
243 | [๔๒๘] ความทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็นอันมาก ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุผู้ใดไม่รู้แจ้งย่อมกระทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคลมารู้ชัดเห็นชาติว่า เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่พึงกระทำอุปธิ.(เมตตคูปัญหา) 47/905/1147/905/11 47/741/4 |
244 | [๔๒๘] " ท่านพึงรู้ ผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวทไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามโอฆะนี้ ได้แน่แล้ว ผู้นั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ไม่มีตะปูคือ กิเลส ไม่มีความสงสัย นรชนนั้นรู้แจ้งแล้วแล เป็นผู้ถึงเวทในศาสนานี้สละธรรมเป็นเครื่องข้องนี้ ในภพน้อยและภพใหญ่เสียได้แล้ว เป็นผู้มีตัณหาปราศไปแล้ว ไม่มีกิเลสอันกระทบจิตหาความหวังมิได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นข้ามชาติและชราได้แล้ว " (เมตตคูปัญหา) 47/908/347/908/3 47/743/2 |
245 | [๔๒๙] " ดูก่อนโธตกะ เราจักไม่อาจเพื่อจะปลดเปลื้องใครๆ ผู้ยังมีความสงสัยในโลกให้พ้นไปได้ ก็เมื่อท่านรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ จะข้ามโอฆะนี้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ " (โธตกปัญหา) 47/913/447/913/4 47/747/17 |
246 | [๔๒๙] " ท่านรู้ชัดซึ่งส่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในส่วนเบื้องบน ทั้งในส่วนเบื้องต่ำแม้ในส่วนเบื้องขวาง คือ ท่ามกลาง ท่านรู้แจ้งสิ่งนั้นว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกอย่างนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย " (โธตกปัญหา) 47/914/447/914/4 47/748/11 |
247 | [๔๓๐] " ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มีดังนี้แล้ว ข้ามห้วงน้ำ คือ กิเลสเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด " (อุปสีวปัญหา) 47/917/1247/917/12 47/751/5 |
248 | [๔๓๐] " ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวง ละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้น " (อุปสีวปัญหา) 47/918/647/918/6 47/751/16 |
249 | [๔๓๐] " มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการนับ ฉันใด เปรียบเหมือนเปลวไฟ อันถูกกำลังลมพัดไปแล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการนับฉันนั้น " (อุปสีวปัญหา) 47/918/1947/918/19 47/752/2 |
250 | [๔๓๐] " ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายจะพึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะ เป็นต้นใด กิเลสมีราคะ เป็นต้น นั้นของท่านไม่มี เมื่อธรรม(มีขันธ์ เป็นต้น) ทั้งปวง ท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมดก็เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว " (อุปสีวปัญหา) 47/919/847/919/8 47/752/13 |
251 | เพ่ง คือ มีสติเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น และออกจากอากิญจัญญา-ยตนสมาบัติ แล้วพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น. (อ.อุปสีวปัญหา) 47/920/1147/920/11 47/753/10 |
252 | [๔๓๑] " ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวบุคคลว่า เป็นมุนี ด้วยความเห็น ด้วยการฟังหรือด้วยญาณ ชนเหล่าใดกำจัดเสนามารให้พินาศแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไปอยู่เรากล่าวชนเหล่านั้นว่าเป็น มุนี " (นันทปัญหา) 47/924/1047/924/10 47/756/15 |
253 | [๔๓๑] " คนเหล่าใดในโลกนี้ละเสีย ซึ่งรูปที่ได้เห็นแล้วก็ดี เสียงที่ได้ฟังแล้วก็ดีอารมณ์ที่ได้ทราบแล้วก็ดี ละเสียแม้ซึ่งศีล และพรตทั้งหลายก็ดี ละเสียซึ่งมงคลตื่นข่าว เป็นต้น เป็นอันมากทั้งหมดก็ดี กำหนดรู้ตัณหาแล้วเป็นผู้หาอาสวะมิได้คนเหล่านั้นแลข้ามโอฆะได้แล้ว " (นันทปัญหา) 47/926/1047/926/10 47/758/1 |
254 | [๔๓๒] " ชนเหล่าใดได้รู้ทั่วถึงบท คือ นิพพาน อันไม่แปรผัน เป็นที่บรรเทาฉันทราคะในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟังและสิ่งที่ได้ทราบ อันน่ารัก ณ ที่นี้ เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นสงบระงับแล้ว มีสติข้ามตัณหาอัน ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้แล้ว " (เหมกปัญหา) 47/930/1647/930/16 47/761/2 |
255 | [๔๓๓] " ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย ไม่มีตัณหาและข้ามความสงสัยได้แล้ว ความพ้นวิเศษ อย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี " (โตเทยยปัญหา) 47/933/847/933/8 47/762/20 |
256 | [๔๓๓] " ผู้นั้นไม่มีความปรารถนา และไม่เป็นผู้ปรารถนาอยู่ด้วย ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญามิใช่เป็นผู้มีปรกติกำหนด ด้วยปัญญาอยู่ด้วย ท่านจงรู้จักมุนีว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องอยู่แล้วในกาม และภพแม้อย่างนี้ " (โตเทยยปัญหา) 47/933/1847/933/18 47/763/9 |
257 | [๔๓๔] " ธรรมชาติไม่มีเครื่องกังวลไม่มีความถือมั่น นี้เป็นที่พึ่ง หาใช่อย่างอื่นไม่เรากล่าวที่พึ่งอันเป็นที่สิ้นไปแห่งชรา และมรณะว่านิพพาน ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นไม่อยู่ใต้อำนาจของมารไม่เดินไปในทางของมาร " (กัปปปัญหา) 47/936/1247/936/12 47/765/4 |
258 | [๔๓๕] " ท่านได้เห็นซึ่งเนกขัมมะ โดยความเป็นธรรมอันเกษมแล้ว จงนำความกำหนัดในกามทั้งหลายออกไปเสียให้สิ้นเถิด อนึ่งกิเลสชาติเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้แล้ว (ด้วยอำนาจตัณหา และทิฏฐิ) ซึ่งควรจะปลดเปลื้องเสีย อย่ามีแล้วแก่ท่าน " (ชตุกัณณีปัญหา) 47/939/147/939/1 47/767/11 |
259 | [๔๓๖] " หมู่ชนควรจะนำเสียซึ่งตัณหา เป็นเครื่องถือมั่นทั้งปวงในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำในส่วนเบื้องขวาง คือในท่ามกลางให้สิ้นเชิง เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ได้เพราะสิ่งนั้นแหละ " (ภัทราวุธปัญหา) 47/942/1847/942/18 47/770/2 |
260 | [๔๓๖] " เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดอยู่ เพ่งเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้ติดข้องอยู่แล้วในวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารนี้ว่า เป็นหมู่สัตว์ติดข้องอยู่แล้ว เพราะการถือมั่นดังนี้พึงเป็นผู้มีสติ ไม่ถือมั่นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง " (ภัทราวุธปัญหา) 47/943/547/943/5 47/770/7 |
261 | [๔๓๗] " เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในกาม และโทมนัสทั้งสองอย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วงเหงา เป็นเครื่องห้ามความรำคราญ บริสุทธิ์ดี เพราะ อุเบกขา และสติ มีความตรึกถึงธรรมแล่นไปในเบื้องหน้าว่าเป็น อัญญาวิโมกข์สำหรับทำลายอวิชชา " (อุทยปัญหา) 47/946/1147/946/11 47/772/19 |
262 | [๔๓๗] " โลกมีความเพลิดเพลินประกอบไว้ ความตรึกไปต่าง ๆ เป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เพราะละตัณหาได้เด็ดขาดท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน ".(อุทยปัญหา) 47/947/147/947/1 47/773/6 |
263 | [๔๓๗] " เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายใน และภายนอก มีสติ อย่างนี้เที่ยวไปอยู่ วิญญาณจึงจะดับ " (อุทยปัญหา) 47/947/947/947/9 47/773/14 |
264 | [๔๓๘] " พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง ซึ่งภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งปวง ทรงทราบบุคคลนั้นผู้ยังดำรงอยู่ ผู้น้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นต้น ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นต้น นั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ผู้ที่เกิดในอากิญจัญญายตนภพว่า มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้แล้ว แต่นั้นย่อมเห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ญาณของบุคคลนั้น ผู้เป็นพราหมณ์ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เป็นญาณอันถ่องแท้อย่างนี้ " (โปสาลปัญหา) 47/950/1647/950/16 47/776/6 |
265 | [๔๓๙] " ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่าเถิด จงถอนความตามเห็นว่าเป็นตัวตนเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น " (โมฆราชปัญหา) 47/954/1947/954/19 47/779/8 |
266 | การพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่า ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยลักษณะอันเป็นไปแล้วไม่มีเหลือ ด้วยพิจารณาเห็นเนืองๆ ถึงสังขารเป็นของว่างเปล่า (อ.โมฆราชปัญหา) 47/956/1047/956/10 47/780/22 |
267 | [๔๔๐] " ชนทั้งหลายได้เห็นเหล่าสัตว์ ผู้เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังเป็นผู้ประมาท ก็ย่อยยับอยู่เพราะรูปทั้งหลาย ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาท ละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดอีก " (ปิงคิยปัญหา) 47/957/1247/957/12 47/781/15 |
268 | [๔๔๐] " เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เกิดความเดือดร้อน อันชราถึงรอบข้าง ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละตัณหาเสียเพื่อความไม่เกิดอีก " (ปิงคิยปัญหา) 47/958/347/958/3 47/782/4 |
269 | [๔๔๓] " ศรัทธา ปีติ มานะ และสติของอาตมา ย่อมน้อมไปในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้โคดม พระพุทธเจ้า ผู้โคดม ผู้มีปัญญากว้างขวาง ประทับอยู่ยังทิศาภาคใด ๆ อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาคนั้นๆ นั้นแล ".(ปารายนานุสังคีติคาถา) 47/965/947/965/9 47/787/7 |
270 | เมื่อทรงแสดงปารายนสูตรจบแล้ว ชฎิล 16,000 ได้บรรลุพระอรหัต เทวดาและมนุษย์นับได้ 14 โกฏิที่เหลือได้บรรลุธรรม มนุษย์ที่มาจากที่ต่างๆ ได้กลับไปที่อยู่ของตนด้วย พุทธานุภาพ (อ.ปารายนานุสังคีติคาถา) 47/969/347/969/3 47/789/20 |