1 | สุตตนิบาตนี้มี 5 วรรค รวม 70 สูตร (อ.อุรคสูตร) 46/7/19 46/6/15 |
2 | " ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่ซ่าน ไปแล้วด้วยโอสถฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้เหมือน งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น " (อ.อุรคสูตร) 46/8/17 46/7/3 |
3 | ภิกษุตัดต้นไม้เป็นอันตรายต่อเทวดา (อ.อุรคสูตร) 46/10/19 46/8/19 |
4 | ความโกรธที่บังเกิดขึ้นมี 4 ประเภท (อ.อุรคสูตร) 46/12/17 46/10/8 |
5 | สังวรวินัย 5 อย่าง และปหานวินัย 5 อย่าง (อ.อุรคสูตร) 46/19/5 46/15/10 |
6 | พระพุทธเจ้าตรัสการกำจัดอาฆาตไว้ 5 อย่าง (อ.อุรคสูตร) 46/23/14 46/18/24 |
7 | ผู้ใดย่อมโกรธตอบต่อผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นแลเลวเสียกว่าผู้โกรธทีแรกนั้นอีก .(อ.อุรคสูตร) 46/24/17 46/19/23 |
8 | ธรรม 7 ประการ อันบุคคลผู้เป็นศัตรูพึงทำแก่กัน ย่อมมาถึงหญิง หรือชายผู้เป็น คนขี้โกรธ (อ.อุรคสูตร) 46/25/4 46/20/3 |
9 | " ความโกรธก่อให้เกิดเสื่อมเสีย ความโกรธทำจิตให้กำเริบ คนย่อมไม่รู้จักความ โกรธที่เกิดขึ้นแล้ว แต่จิตว่า เป็นภัย " (อ.อุรคสูตร) 46/26/20 46/21/12 |
10 | ความโกรธละได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรค (อ.อุรคสูตร) 46/28/7 46/22/14 |
11 | งูทั้งหลายย่อมไม่ล่วงชาติกำเนิดของตน ในฐานะทั้ง 5 คือ ในกาลอุบัติ ในกาล จุติ ในกาลล่วงความหลับที่ตนปล่อยแล้ว ในกาลเสพเมถุนกับนางนาคที่มีชาติ เสมอกัน ในกาลลอกคราบ (อ.อุรคสูตร) 46/30/1 46/23/22 |
12 | บุตรนายช่างทองคนหนึ่ง บวชเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตร พระเถระ ให้กรรมฐานไม่ ถูกจริตของเขา ภายหลังจึงต้องนำไปหาพระพุทธเจ้า (อ.อุรคสูตร) 46/32/14 46/26/1 |
13 | " ไฟที่จะเสมอด้วยราคะไม่มี เราย่อมเร่าร้อนด้วยกามราคะ จิตของเราถูกกาม ราคะเผาไหม้อยู่ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกลงไปสู่กระแส แห่งกิเลสทั้งหลาย ประดุจแมลงมุมตกลงไปสู่สายใยที่ตนเองทำไว้ฉะนั้น " .(อ.อุรคสูตร) 46/35/7 46/28/5 |
14 | ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เห็นสะพานไม้อ้อ ถูกกระแสน้ำใหญ่ไหลพัดแล้ว เกิด ความสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง พระศาสดาเปล่งโอภาสตรัสคาถาด้วย การสอนมานะ จบเทศนาภิกษุนั้นได้บรรลุพระอรหัต (อ.อุรคสูตร) 46/37/12 46/30/1 |
15 | วิตก 9 อย่าง (อ.อุรคสูตร) 46/42/13 46/34/9 |
16 | อกุศลธรรมเหล่าใด ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานทั้งหลาย เพราะอรรถว่ายังละ ไม่ได้ เหตุนั้นอกุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนุสัย. (อ.อุรคสูตร) 46/46/13 46/37/19 |
17 | ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย ละได้ด้วยมรรคที่ 1 , กามราคานุสัย และปฏิฆา-นุสัย ละได้ด้วยมรรคที่ 3 , มานานุสัย ภวราคานุสัยและอวิชชานุสัย ละได้ด้วยมรรคที่ 4 (อ.อุรคสูตร) 46/47/17 46/38/18 |
18 | [๒๙๕] " คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีบุตร ย่อม เศร้าโศกเพราะบุตร บุคคลผู้มีโค ย่อมเศร้าโศกเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่เศร้าโศกเลย " (ธนิยสูตร) 46/56/12 46/45/14 |
19 | เมื่อใดนกทั้งหลายทำรังบนยอดไม้ ปูทั้งหลายปิดรูที่ใกล้แม่น้ำ ย่อมใช้รูใหม่ใกล้ ที่ดอน ในกาลนั้นคนเลี้ยงโค ทั้งหลายย่อมถือว่า จะมีฝนตกชุก .(อ.ธนิยสูตร) 46/58/6 46/47/2 |
20 | ผู้ใดเลี้ยงโคของตน ผู้นั้นชื่อว่า โคปะ ส่วนผู้ใดรับจ้างเลี้ยงโคของคนเหล่าอื่น ผู้นั้นชื่อว่า นายโคบาล (อ.ธนิยสูตร) 46/60/15 46/48/21 |
21 | อัตภาพชื่อว่า กุฎี ก็เพราะเป็นที่อยู่ของลิง คือ จิต (อ.ธนิยสูตร) 46/66/3 46/53/9 |
22 | ผู้หญิง เป็นผู้โลเลด้วยความโลเล 5 ประการ คือ โลเลในอาหาร ในเครื่องประดับ ในบุรุษอื่น ในทรัพย์ ในการเดินทาง (อ.ธนิยสูตร) 46/73/13 46/59/9 |
23 | มารตามพระพุทธเจ้าอยู่ 7 ปี ตั้งแต่ออกบวช ก็ไม่เห็นความผิดของพระองค์ และ อุตตรมาณพ ก็ตามดูความประพฤติของพระองค์ อยู่ 7 เดือน (อ.ธนิยสูตร) 46/76/6 46/61/19 |
24 | สิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษา มีอยู่ 4 ประการ (อ.ธนิยสูตร) 46/76/19 46/62/7 |
25 | อธิบาย คำว่า อุปธิ 4 ประการ (อ.ธนิยสูตร) 46/90/13 46/73/13 |
26 | อานิสงส์ ของผู้เจริญภาวนา 5 ประการ คือ บรรลุอรหัตผลปัจจุบัน , ถ้าไม่บรรลุ ในปัจจุบัน ต่อมาก็บรรลุอรหัตผลในเวลาตาย, ต่อมาเป็นเทวบุตรก็บรรลุอรหัตผล, ต่อมาก็เป็นขิปปาภิญญบุคคลในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า , ต่อมาก็ ย่อมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในภายหลัง. (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/105/4 46/84/5 |
27 | ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรนานโดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดถึง 4 อสงไขย และแสนกัป สำหรับพระพุทธเจ้าผู้ปัญญาธิกะ โดยกำหนดปานกลาง 8 อสงไขยและแสนกัป สำหรับพระพุทธเจ้าผู้สัทธาธิกะ โดยกำหนดอย่างสูง 16 อสงไขยและแสนกัป สำหรับพระพุทธเจ้าผู้วิริยาธิกะ .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/105/13 46/84/15 |
28 | การตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าจะสำเร็จได้ต้องพร้อมด้วย ธรรม 8 ประการ .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/106/17 46/85/14 |
29 | พระโพธิสัตว์ผู้ได้พยากรณ์แล้วว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนแล้ว จะไม่เข้าถึง ฐานะ 18 ประการ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/109/15 46/88/1 |
30 | พุทธภูมิ 4 คือ ความเพียร ปัญญา อธิษฐาน เมตตาภาวนา (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/110/6 46/88/13 |
31 | อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ 6 ประการ มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เป็นต้น. .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/110/10 46/88/17 |
32 | การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานถึง 2 อสงไขยและแสนกัปต่ำกว่านั้นไม่ควร และต้องอาศัยสมบัติ 5 ประการ ในการสร้างอภินิหาร คือ เป็นมนุษย์ ถึงพร้อมด้วยเพศ การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ อธิการ ความพอใจ . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/111/1 46/89/3 |
33 | การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งหลาย ควรนานถึง 1อสงไขยแสนกัป ต่ำกว่า นั้นไม่ควร และต้องอาศัยอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ 2 อย่าง คือ อธิการ ความ พอใจ เท่านั้น (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/111/12 46/89/16 |
34 | พระพุทธเจ้า ย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือพราหมณ์ , พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อม เกิดในตระกูลพราหมณ์ กษัตริย์ หรือ คหบดี , ส่วนพระอัครสาวก ย่อมเกิดใน ตระกูลกษัตริย์ หรือ พราหมณ์ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/112/1 46/89/24 |
35 | พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง แต่ไม่อาจสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ ย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ย่อมไม่แทงตลอดธรรมรส ไม่สามารถยกโลกุตรธรรมเป็น บัญญัติขึ้นแสดงได้ ย่อมประชุมทำอุโบสถที่ โคนต้นไม้มัญชุสะในภูเขาคันธมาทน์ .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/112/8 46/90/6 |
36 | พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมบำเพ็ญ คตปัจจาคตวัตร คือ การนำกรรมฐานไปและ นำกลับมา. (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/113/9 46/91/2 |
37 | กรรมฐาน 2 อย่าง คือ สัพพัตถกกรรมฐาน เพราะพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง เช่น เมตตาและมรณสติ , ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะพึงบริหารทุกเมื่อ ยึดถือแล้ว โดยสมควรแก่จริต (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/115/6 46/92/15 |
38 | กรรมฐาน ที่ภิกษุพิจารณากายนี้ โดยความเป็นธาตุ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/116/5 46/93/9 |
39 | พระมหาปุสสเทวเถระ บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อยู่ 19 ปี บรรลุพระอรหัตใน ภายใน 20 พรรษา เทวดาส่องประทีปทางจงกรมให้ ท้าวมหาราชทั้ง 4 ท้าวสักกะ และสหัมบดีพรหมก็ได้ไปสู่ที่บำรุง. (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/118/16 46/95/11 |
40 | พระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อธิษฐาน จงกรมตลอด 7 ปี บำเพ็ญวัตรต่ออีก 16 ปี ได้บรรลุพระอรหัต (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/119/8 46/95/26 |
41 | ภิกษุ 50 รูป จำพรรษาร่วมกัน และบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ได้บรรลุพระอรหัต ทั้ง 50 รูป ภายในพรรษานั่นเอง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/119/20 46/96/13 |
42 | วิธีการบริหารครรภ์ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/122/4 46/98/13 |
43 | บุตร 4 จำพวก คือ บุตรเกิดจากตน บุตรเกิดในเขต บุตรบุญธรรม บุตรคือ ลูกศิษย์ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/129/19 46/105/1 |
44 | " คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนาน ไม่ก้าวล่วงสงสาร ซึ่งมีความ เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเป็นอย่างอื่น ภิกษุมีสติปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่นรู้โทษ นั้นแล้ว พึงละเว้นตัณหา อันเป็นแดนเกิดของทุกข์เสีย ดังนี้ " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/130/9 46/105/14 |
45 | จริยา (ความประพฤติ) 8 อย่าง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/131/1 46/105/25 |
46 | ภูเขาคันธมาทน์ อยู่เลยภูเขา 7 ลูกในหิมวันตประเทศ มีเงื้อมผาชื่อว่า นันทมูลกะ เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/133/16 46/108/6 |
47 | ลักษณะนิสัยของผู้ที่มาจากพรหมโลกแล้วเกิดเป็นมนุษย์ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/135/6 46/109/18 |
48 | ความเกี่ยวข้องมี 5 อย่าง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/139/1 46/113/2 |
49 | มิตรสหายผู้มีอุปการะ พึงทราบด้วยฐานะ 4 อย่าง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/143/10 46/116/22 |
50 | มิตรสหายผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบด้วยฐานะ 4 อย่าง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/143/16 46/117/1 |
51 | มิตรสหายผู้อนุเคราะห์ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/144/1 46/117/7 |
52 | มิตรสหายผู้บอกประโยชน์ (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/144/7 46/117/13 |
53 | ผลจากการประพฤติล่วงภรรยาคนอื่น เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วเป็นที่เกลียดชัง ของมารดาบิดา และพวกพ้อง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/148/15 46/121/15 |
54 | ธิดาเศรษฐีได้ทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วทำให้บาปซึ่งกำลังให้ผลกับนาง อยู่ ถึงความระงับไป (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/151/6 46/123/23 |
55 | มนุษย์ผู้เกิดในดอกบัว (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/153/8 46/125/19 |
56 | " เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อมไปหากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชนผู้ รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือน นอแรดฉะนั้น ดังนี้ " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/156/13 46/128/6 |
57 | " การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติตามความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยว ไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/159/5 46/130/9 |
58 | " แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์อยู่ครองเรือน สงเคราะห์ ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/167/11 46/137/16 |
59 | " นักปราชญ์ละเหตุอันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น " . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/169/15 46/139/6 |
60 | " หากว่าบุคคลไม่ได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละ แว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียวดุจพญาช้าง ชื่อ มาตังคะ ละโขลงเที่ยวอยู่ในป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/173/14 46/142/13 |
61 | " เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์ เป็นต้น พึงคบหาสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้เสมอกันเหล่านี้ แล้ว พึงเป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น " . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/176/9 46/144/22 |
62 | " การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/182/17 46/150/1 |
63 | " ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูป แปลกๆ บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไป ผู้เดียวเหมือน นอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/185/1 46/151/21 |
64 | " บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ฝี อุปัทวะ โรค ลูกศร และความกลัวนี้ ในกามคุณ ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/186/18 46/153/9 |
65 | " บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้ แม้ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลมแดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ". (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/189/1 46/155/4 |
66 | หนาว 2 ชนิด คือ ธาตุในภายในกำเริบเป็นปัจจัย ธาตุในภายนอกกำเริบเป็น ปัจจัย (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/189/6 46/155/8 |
67 | เป็นพระราชาอยู่ 20 ปี ตายไปตกนรกตลอด 20 ปี แล้วมาเกิดเป็นพญาช้างใหญ่ . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/189/14 46/155/17 |
68 | " การที่บุคคลผู้ยินดีแล้ว ด้วยการคลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีใน สมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/194/16 46/160/7 |
69 | " เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มี ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น " .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/197/1 46/162/17 |
70 | " บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยากครอบงำโลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/199/15 46/165/1 |
71 | " กุลบุตร พึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึงเสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความ ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยว ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/202/17 46/167/17 |
72 | " บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรมผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณรู้จักประโยชน์ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น " . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/205/14 46/169/25 |
73 | มิตรผู้พหูสูต มี 2 อย่าง คือ พหูสูตทางปริยัติ เชี่ยวชาญโดยเนื้อความในไตรปิฎก, ผู้พหูสูตทางปฏิเวธ เพราะความที่มรรค ผล วิชชาและอภิญญาอันตนแทงตลอด แล้ว (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/205/20 46/170/4 |
74 | ผู้มีปฏิภาณ 3 อย่าง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/206/5 46/170/8 |
75 | " บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดีและกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่เว้นจาก ฐานะแห่งการประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น" (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/208/1 46/171/18 |
76 | " บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่ง ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/209/14 46/173/4 |
77 | พวกพ้อง 4 ประเภท คือ ญาติ โคตร มิตร และเพื่อนเรียนศิลปะ . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/210/1 46/173/11 |
78 | " บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้ มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว มีความรู้พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/211/16 46/174/22 |
79 | " บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เหมือนปลาทำลายข่ายหนีไป เหมือนไฟไม่หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น" .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/214/1 46/176/18 |
80 | " บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และไฟคือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/215/12 46/177/20 |
81 | " บุคคลละเพศ แห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/218/1 46/180/2 |
82 | " ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปกติเที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน นอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/219/11 46/181/17 |
83 | " บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต 5 อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฏฐิ ไม่อาศัย ตัดโทษ คือ ความเยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น " .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/221/5 46/183/5 |
84 | " บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสในก่อนได้ ได้อุเบกขา และสมถะอัน บริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/222/14 46/184/7 |
85 | ปฐมฌาน เป็นฐานะในการละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานะในการละโทมนัส ตติยฌานเป็นฐานะในการละสุข จตุตถฌานเป็นฐานะในการละโสมนัส .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/223/11 46/185/1 |
86 | พระเจ้าขุททกราช มีทหารหนึ่งพันแต่สามารถยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ด้วย ปัญญา(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/224/3 46/185/14 |
87 | " บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติ ไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/227/5 46/187/25 |
88 | " บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/231/5 46/191/8 |
89 | " บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์ และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติด อยู่ด้วยความยินดี และความโลภ เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำพึงเที่ยวไป ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/234/1 46/193/13 |
90 | พระราชา ให้ตีกลอง ทดลอง ความที่ราชสีห์ไม่สะดุ้งต่อเสียง (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/236/1 46/195/3 |
91 | " บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขาวิมุตติ ใน กาลอันสมควรไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น " .(อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/239/1 46/197/8 |
92 | พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ มาตังคะ เป็นองค์สุดท้ายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อ เทวดาบอกท่านว่า พระโพธิสัตว์ของเราอุบัติแล้ว ท่านก็เหาะไปปรินิพพาน. . (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/240/18 46/198/19 |
93 | " มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ไม่สะอาด มีปัญญา มุ่งประโยชน์ตนผู้ไม่มีเหตุ ย่อมคบหาสมาคม มิตรผู้หาได้ยากในทุกวันนี้เพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น " (อ.ขัคควิสาณสูตร) 46/243/18 46/200/25 |
94 | [๒๙๗-๒๙๘] พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังที่การงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ เพื่อ บิณฑบาตพราหมณ์บอกให้พระองค์ไถ หว่าน บริโภคเองเถิด พระองค์ทรงตรัส การไถหว่านของพระองค์ ด้วยศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน มีปัญญาเป็น แอก และไถ การไถนานั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ (กสิภารทวาชสูตร) 46/246/4 46/202/11 |
95 | [๒๙๙] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่บริโภคโภชนะ ที่ขับกล่อมได้มา (กสิภารทวาชสูตร) 46/248/6 46/204/4 |
96 | ปุเรภัตกิจ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/251/2 46/206/9 |
97 | ปัจฉาภัตกิจ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/252/17 46/207/22 |
98 | พิธีพืชมงคล ของพราหมณ์ (อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/259/4 46/213/12 |
99 | เมื่อใด พระพุทธเจ้าทรงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี แล้วปิดประตูไว้ ภิกษุทั้งหลาย จะรู้ว่า พระองค์มีพระประสงค์เสด็จเข้าบ้านแต่พระองค์เดียว (อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/262/2 46/215/22 |
100 | พืช 5 ชนิดทั้งหมด ย่อมถึงการนับว่า พืชทั้งนั้น เพราะอรรถว่า งอกขึ้น. .(อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/268/19 46/221/20 |
101 | สติ เป็นเครื่องระลึกของบุคคล มีความไม่หลงลืมเป็นลักษณะ .(อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/273/9 46/225/19 |
102 | เทวดาใส่โอชะอันละเอียดลงในข้าวปายาสของกสิภารทวาชพราหมณ์ .(อ.กสิภารทวาชสูตร) 46/284/9 46/235/7 |
103 | [๓๐๒] สมณะ มี 4 ประเภท คือ สมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค สมณผู้แสดง มรรค สมณะเป็นอยู่ในมรรค สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค (จุนทสูตร) 46/293/11 46/242/14 |
104 | [๓๐๒] บุคคลกระทำเพศเป็นสมณะผู้มีวัตรอันงามให้เป็นเครื่องปกปิด แล้วมัก ประพฤติ ประทุษร้ายตระกูล เป็นผู้คะนอง มีมายา ไม่สำรวม เป็นคนแกลบ บุคคลนั้นแล ชื่อว่า เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรคอย่างยิ่ง (จุนทสูตร) 46/294/21 46/243/17 |
105 | [๓๐๓-๓๐๔] ความเสื่อม 12 อย่าง (ปราภวสูตร) 46/309/4 46/255/19 |
106 | เทวดาได้เนรมิตอัตภาพละเอียด 80 องค์ บ้างอยู่ในที่เท่าปลายขนทราย .(อ.ปราภวสูตร) 46/314/8 46/259/19 |
107 | เหตุที่ทำให้ค้าขายขาดทุน (อ.ปราภวสูตร) 46/321/4 46/265/16 |
108 | [๓๐๖] คนถ่อย 20 จำพวก (วสลสูตร) 46/327/1 46/270/23 |
109 | ความหมายของคำว่า สาธุ ย่อมปรากฏใน การขอร้อง การยอมรับ ความร่าเริง ดี การทำให้มั่นคง (อ.วสลสูตร) 46/334/15 46/277/2 |
110 | มหาโจร 5 จำพวก (อ.วสลสูตร) 46/344/17 46/286/2 |
111 | พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูล คนจัณฑาล มีชื่อว่า มาตังคะ (อ.วสลสูตร) 46/350/10 46/290/21 |
112 | ทรงตรัส อสุภกรรมฐาน สำหรับผู้ราคจริต , เมตตาสำหรับผู้โทสจริต, มรณานุสติ กรรมฐาน สำหรับผู้โมหจริต , อานาปานสติและปฐวีกสิณ สำหรับผู้วิตกจริต, พุทธานุสติกรรมฐาน สำรับผู้ศรัทธาจริต , การกำหนดธาตุ 4 สำหรับผู้พุทธิจริต .(อ.เมตตสูตร) 46/364/9 46/302/13 |
113 | รุกขเทวดา ต้องลงจากวิมาน เพราะเดชแห่งศีลของภิกษุ เทวดาเหล่านั้นจึง แสดงรูปเสียงอันน่ากลัว ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้ภิกษุมีสติหลงลืม เกิดปวดศีรษะ .(อ.เมตตสูตร) 46/365/20 46/303/17 |
114 | พระพุทธองค์ให้ภิกษุเรียน เมตตสูตรเพื่อเป็นเครื่องป้องกัน และเป็นกรรมฐาน .(อ.เมตตสูตร) 46/368/1 46/305/9 |
115 | การเลี้ยงชีพอันไม่สมควรของภิกษุ 21 อย่าง (อ.เมตตสูตร) 46/369/18 46/306/25 |
116 | กุลบุตรเว้นจากการก่อสร้าง การสอนหมู่สงฆ์สามเณร และคนวัด เป็นต้น กระทำ อยู่ซึ่งกิจของตนมีปลงผม ตัดเล็บ ระบมบาตร และเย็บจีวร ชื่อว่า เป็นผู้มีกิจน้อย คือ มีสมณธรรมเป็นเบื้องหน้า (อ.เมตตสูตร) 46/377/1 46/312/24 |
117 | เมื่อถูกถามปัญหาในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ขออนุญาตภิกษุผู้แก่กว่า แล้วชื่อว่า คะนองวาจา. (อ.เมตตสูตร) 46/378/16 46/314/11 |
118 | จิตสั่งสมในอารมณ์ต่างๆ วิ่งไปตามประเภทของอารมณ์แล้วดำรงอยู่ ตามลำดับ อารมณ์ใดแจ่มแจ้งแก่กุลบุตรใด จิตของกุลบุตรนั้นย่อมดำรงมั่นอย่างสบายใน อารมณ์นั้น (อ.เมตตสูตร) 46/381/15 46/316/19 |
119 | อธิบาย คำว่า สัมภเวสี และภูต (อ.เมตตสูตร) 46/385/4 46/319/19 |
120 | การเจริญเมตตานั้น ไม่จำกัดอิริยาบถ. (อ.เมตตสูตร) 46/391/6 46/324/1 |
121 | [๓๐๙] " เมื่ออายตนะภายใน และภายนอก 6 เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อม กระทำความเชยชิดในอายตนะภายในและภายนอก 6 โลกยึดถืออายตนะภายใน และภายนอก 6 นั้นแหละ เมื่ออายตนะภายใน และภายนอก 6 มี โลกจึงเดือดร้อน " .(เหมวตสูตร) 46/398/1 46/330/2 |
122 | [๓๐๙] " ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว มีความรู้ ณ ภาย ในมีสติทุกเมื่อ ย่อมข้ามพ้นโอฆะที่ข้ามได้แสนยาก ผู้นั้นเว้นจากกามสัญญา ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสียได้ มีความเพลิดเพลิน และภพหมดสิ้นแล้ว ย่อมไม่จม ลงในอรรณพ คือ สงสารอันลึก " (เหมวตสูตร) 46/399/5 46/330/23 |
123 | พระธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลาย จะตั้งอยู่เป็นก้อนเดียวกัน ส่วนของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุน้อย พระองค์จะทรงอธิฐานให้พระธาตุกระจัดกระจายไป (อ.เหมวตสูตร) 46/401/15 46/332/18 |
124 | ในศาสนานี้ มีธุระ 2 อย่าง คือ วาสธุระ ปริยัติธุระ (อ.เหมวตสูตร) 46/402/19 46/333/17 |
125 | พระวินัยธร 2 รูป ไม่รักษาพระศาสนา แต่รักษาบุคคล จึงได้มาเกิดเป็นยักษ์ .(อ.เหมวตสูตร) 46/405/5 46/335/17 |
126 | พระพุทธเจ้า ทรงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง (อ.เหมวตสูตร) 46/414/3 46/343/1 |
127 | บางครั้ง พระพุทธองค์ บริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตร (อ.เหมวตสูตร) 46/423/5 46/350/18 |
128 | อุบาสิกา ชื่อ กาฬี กุรรฆริกา ในกรุงราชคฤห์ อยู่ในปราสาท ได้ยินเหมวตยักษ์ คุยกับสาตาคิรยักษ์ ก็เกิดปีติมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ ข่มนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปีติ นั้น ยืนอยู่ในประเทศนั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. (อ.เหมวตสูตร) 46/424/16 46/351/24 |
129 | ผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ 6 มีอภิญญา เป็นต้น (อ.เหมวตสูตร) 46/426/10 46/353/9 |
130 | [๓๑๑] " ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วย ปัญญาว่า ประเสริฐที่สุด " (อาฬวกสูตร) 46/439/12 46/364/4 |
131 | [๓๑๑] " บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา " .(อาฬวกสูตร) 46/440/1 46/364/14 |
132 | [๓๑๑] " บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุนิพพานเป็นผู้ไม่ ประมาทมีปัญญาเครื่องสอดส่องฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควรมีความหมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ " (อาฬวกสูตร) 46/440/10 46/364/23 |
133 | อนุญาตเขตให้ฆ่า (อ.อาฬวกสูตร) 46/443/8 46/367/3 |
134 | ใครๆ ไม่สามารถเพื่อไปโดยส่วนเบื้องบนแห่งโอกาสที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับ จนถึงภวัคคพรหม (อ.อาฬวกสูตร) 46/449/11 46/372/4 |
135 | เสียง 4 ประเภท ได้ยินทั่วชมพูทวีป (อ.อาฬวกสูตร) 46/451/11 46/373/22 |
136 | อาวุธที่ประเสริฐที่สุดในโลกมี 4 อย่าง คือ วชิราวุธของท้าวสักกะ คทาวุธของ ท้าวเวสวัณ นัยนาวุธของพระยายม ทุสสาวุธของอาฬวกยักษ์ (อ.อาฬวกสูตร) 46/454/8 46/376/5 |
137 | หัตถกอาฬวกะ ดำรงอยู่ในอนาคามิผล เรียนพระพุทธพจน์ทั้งหมด มีอุบาสก 500 เป็นบริวาร ได้เป็นเลิศแห่งสาวก ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4 .(อ.อาฬวกสูตร) 46/478/16 46/396/12 |
138 | [๓๑๒] ปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง ว่าของอันไม่สะอาด ย่อมไหลออกจากช่องทั้งเก้าของกายนี้ทุกเมื่อ (วิชยสูตร) 46/479/3 46/397/3 |
139 | " ความที่วาโยธาตุต่างกัน ย่อมมีเพราะอาศัยความที่จิตต่างกัน ความเคลื่อนไหว ของกายย่อมมีต่าง ๆ เพราะความที่วาโยธาตุ ต่างกัน " (อ.วิชยสูตร) 46/488/5 46/404/10 |
140 | " เนื้อมี 900 ชิ้น ฉาบแล้วในร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า ดุจส้วมอันเกลื่อนกล่นด้วยหมู่หนอน ฉะนั้น " (อ.วิชยสูตร) 46/489/18 46/405/16 |
141 | ทรงตรัสพระสูตรนี้ เพื่อเป็นกรรมฐานให้นางนันทาภิกษุณี ไปบำเพ็ญ 2-3 วัน ก็บรรลุพระอรหัต. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุผู้เกิดราคะนางสิริมา ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สิริมาเทพกัญญาได้บรรลุอนาคามิผล (อ.วิชยสูตร) 46/500/8 46/414/15 |
142 | [๓๑๓] ว่าด้วยคนที่เป็นมุนี (มุนิสูตร) 46/501/3 46/415/3 |
143 | " ภิกษุพึงเว้นมาตุคาม ดุจน้ำทองแดง เหมือนเว้นพิษร้ายกาจ เหมือนเว้นน้ำมัน ที่เดือดพล่าน ฉะนั้น " (อ.มุนิสูตร) 46/506/1 46/418/15 |
144 | อุปกาชีวก อยู่นาควิกคาม ในอังคชนบทได้เอาลูกสาวนายพรานเป็นเมีย มีบุตร ชื่อ สุภัททะ เขาถูกเมียพูดเสียดสี จึงหนีไปหาพระพุทธเจ้าที่เชตวันวิหารพระองค์ ทรงแสดงธรรมแก่เขา ในที่สุดแห่งเทศนา อุปกะได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล .(อ.มุนิสูตร) 46/511/15 46/423/15 |
145 | ธิดาเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ถือเอานิมิตอันเปรียบกับกระสวย นางนึงถึงนิมิตนั้น บ่อยๆ ไม่นานนัก อนิจจลักษณะก็ปรากฏ พระศาสดาทรงเปล่งโอภาสแสดง ธรรม ในที่สุดเทศนา ธิดาเศรษฐีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. (อ.มุนิสูตร) 46/521/12 46/431/15 |
146 | ลูกสาวช่างหูก เมืองอาฬวี อายุ 7 ปี ตอบคำถามพระพุทธองค์ ในเวลาจบคาถา ลูกสาวช่างหูกนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.มุนิสูตร) 46/523/6 46/432/26 |
147 | พราหมณ์ ชื่อ ปัญจัคคทายก ย่อมให้ทานเมื่อข้าวกล้าทั้งหลายสำเร็จอยู่ 5 ประการ พระพุทธองค์เสด็จไปแสดงธรรมแก่เขา ทั้งพราหมณ์ และพราหมณี ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.มุนิสูตร) 46/527/17 46/436/22 |
148 | พระอนาคามีผู้เป็นคฤหัสถ์ต้องสักการะ สามเณร (อ.มุนิสูตร) 46/538/5 46/445/12 |