1 | [๑๗๙] เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะได้ พระพุทธองค์รับรอง เพื่อความเป็นพระอนาคามี (โลภสูตร) 45/1/13 45/1/10 |
2 | อิติวุตตกะ มี4 นิบาต112 สูตร (อ.โลภสูตร) 45/5/11 45/5/2 |
3 | ความหมายของคำว่า ภควา (อ.โลภสูตร) 45/8/22 45/8/15 |
4 | ความหมายของคำว่า อรหัง (อ.โลภสูตร) 45/22/4 45/21/5 |
5 | ความหมายของคำว่า ปาฏิหาริย์ (อ.โลภสูตร) 45/37/21 45/36/10 |
6 | เสียงแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า ในขณะเดียวกัน สัตว์ที่ต่างภาษากัน ฟังได้พร้อมกันตามภาษาของตน ย่อมเข้าใจความหมายได้ (อ.โลภสูตร) 45/39/11 45/37/24 |
7 | ประวัตินางขุชชุตตรา (อ.โลภสูตร) 45/52/15 45/50/9 |
8 | ผลของผู้ชอบสั่งใช้สมณะ , ผลของผู้ชอบล้อเลียนผู้มีคุณ และกรรมที่ทำให้นางขุชชุตตรามีปัญญามาก (อ.โลภสูตร) 45/55/10 45/53/2 |
9 | บทตั้งของพระสูตร มี4 อย่าง (อ.โลภสูตร) 45/61/14 45/59/9 |
10 | เหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกเฉพาะภิกษุก่อนแสดงธรรม ในเมื่อเทวดาและมนุษย์ในบริษัทนั้น ก็มี. (อ.โลภสูตร) 45/66/17 45/64/13 |
11 | การละ5 อย่าง มีการละชั่วคราว เป็นต้น. (อ.โลภสูตร) 45/67/7 45/65/2 |
12 | คำถาม (ปุจฉา) มีอยู่5 อย่าง (อ.โลภสูตร) 45/70/8 45/68/2 |
13 | " ความโลภให้เกิดความพินาศ ความโลภยังจิตให้กำเริบ ภัยเกิดแต่ภายใน ชนย่อมไม่รู้ถึงภัยนั้น คนโลภย่อมไม่รู้จักอรรถ คนโลภ ย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภย่อมครอบงำคน ผู้บอดมืดตลอดกาล " (อ.โลภสูตร) 45/73/13 45/71/8 |
14 | ธรรม6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะได้ (อ.โลภสูตร) 45/74/12 45/72/1 |
15 | [๑๘๐] เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โทสะได้ พระพุทธองค์รับรอง เพื่อความเป็นพระอนาคามี (โทสสูตร) 45/78/8 45/75/12 |
16 | การปลดเปลื้องความอาฆาต5 อย่าง (อ.โทสสูตร) 45/80/4 45/77/5 |
17 | " คนลามกเท่านั้น โกรธตอบผู้ที่โกรธ ผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธ ย่อมชนะสงครามที่ชนะได้ยาก ผู้ที่รู้ผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติสงบระงับได้ ชื่อว่าประพฤติประโยชน์สองฝ่าย คือ ทั้งของตน และทั้งของคนอื่น " (อ.โทสสูตร) 45/80/19 45/77/22 |
18 | ธรรม7 ประการ ทำให้เกิดศัตรู ย่อมมาสู่ทั้งสตรี หรือบุรุษมักโกรธ .(อ.โทสสูตร) 45/81/3 45/78/4 |
19 | [๑๘๑] เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โมหะได้ พระพุทธองค์รับรองเพื่อความเป็นพระอนาคามี (โมหสูตร) 45/83/7 45/80/11 |
20 | " คนหลง ย่อมไม่รู้อรรถ คนหลงย่อมไม่รู้ธรรม โมหะ ย่อมครอบงำคนมืดบอดตลอดกาล โมหะ ให้เกิดความพินาศ " (อ.โมหสูตร) 45/84/9 45/81/9 |
21 | [๑๘๒] เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โกธะได้ พระพุทธองค์รับรองเพื่อความเป็นพระอนาคามี (โกธสูตร) 45/85/11 45/82/7 |
22 | ความโกรธมี ความขัดเคืองเป็นลักษณะ มีทำความอาฆาต เป็นรส มีความวิบัติแห่งจิตเป็นอาการปรากฏ (อ.โกธสูตร) 45/86/8 45/83/6 |
23 | [๑๘๓] เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง คือ ความลบหลู่คุณท่านได้ พระพุทธองค์รับรองเพื่อความเป็นพระอนาคามี (มักขสูตร) 45/87/1 45/83/12 |
24 | ผู้ลบล้างคุณของผู้อื่น ป้ายร้ายความดีของผู้อื่น ชื่อว่า ขจัดคุณของตนด้วย.(อ.มักขสูตร) 45/88/8 45/85/1 |
25 | [๑๘๔] เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง คือ มานะได้ พระพุทธองค์ รับรองเพื่อความเป็นพระอนาคามี (มานสูตร) 45/88/17 45/85/8 |
26 | มานะ9 อย่าง (อ.มานสูตร) 45/89/14 45/86/8 |
27 | ประเภทของพระอนาคามี (อ.มานสูตร) 45/90/14 45/87/4 |
28 | [๑๘๕] " ผู้ใดรู้ธรรมเป็นไปในภูมิ3 ทั้งปวง โดยส่วนทั้งปวง ย่อมไม่กำหนัดในสักกายธรรมทั้งปวง ผู้นั้นกำหนดรู้ธรรมเป็นไปในภูมิ3 ทั้งปวงแล้ว ล่วงทุกข์ทั้ง-ปวง ได้โดยแท้ " (สัพพสูตร) 45/93/6 45/89/16 |
29 | สัพพศัพท์นี้ มีข้อที่เห็นได้ในวิสัย4 คือ ทั้งหมดสิ้นเชิง ทั้งหมดเป็นบางส่วนทั้งหมดเฉพาะอายตนะ ทั้งหมดเฉพาะสักกายะ (อ.สัพพสูตร) 45/93/20 45/90/7 |
30 | ความกำหนดรู้3 (ปริญญา) (อ.สัพพสูตร) 45/94/21 45/91/4 |
31 | [๑๘๖] ภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้มานะ ยังจิตให้คลายกำหนัดในมานะนั้น ละมานะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ (มานสูตร) 45/98/7 45/94/18 |
32 | [๑๘๗] ภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โลภะ ยังจิตให้คลายกำหนัดในโลภะนั้น ละโลภะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ (โลภสูตร) 45/100/12 45/97/7 |
33 | [๑๘๘] ภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โทสะ ยังจิตให้คลายกำหนัดในโทสะนั้น ละโทสะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ (โทสสูตร) 45/101/7 45/98/7 |
34 | [๑๘๙] ภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โมหะ ยังจิตให้คลายกำหนัดในโมหะนั้น ละโมหะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ (โมหสูตร) 45/103/8 45/100/8 |
35 | [๑๙๐] ภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โกธะ ยังจิตให้คลายกำหนัดในโกธะนั้น ละโกธะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ (โกธสูตร) 45/104/7 45/101/7 |
36 | [๑๙๑] ภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้ความลบหลู่คุณท่าน ยังจิตให้คลายกำหนัดในความลบหลู่คุณท่าน ละความลบหลู่คุณท่านนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ (มักขสูตร) 45/105/7 45/102/7 |
37 | [๑๙๒] หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์ คือ อวิชชาหุ้มห่อแล้วย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน. (โมหสูตร) 45/106/7 45/103/8 |
38 | [๑๙๓] สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสังโยชน์ คือ ตัณหาย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน. (กามสูตร) 45/110/15 45/107/21 |
39 | ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า ผูกมัดบุคคลผู้มีสังโยชน์ ไว้ด้วยกรรมและวิบากอันเป็นทุกข์ หรือด้วยลำดับของภพ ในภพ กำเนิด วิญญาณ ฐิติ และสัตตาวาสเป็นต้น. (อ.กามสูตร) 45/111/11 45/108/13 |
40 | [๑๙๔] ธรรมอย่างอื่น อันมีอุปการะมากเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด แห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการไม่มีเลย. (ปฐมเสขสูตร) 45/115/12 45/112/12 |
41 | แม้ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชน กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ประกอบความเพียรด้วยหวังว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่งก็เรียกว่า เสขะ (อ.ปฐมเสขสูตร) 45/116/11 45/113/12 |
42 | กรรมฐานในการกำหนด และพิจารณาในอริยสัจ4 (อ.ปฐมเสขสูตร) 45/118/20 45/115/20 |
43 | [๑๙๕] ความเป็นผู้มีมิตรดี มีอุปการะแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมละอกุศลได้เจริญกุศลให้เกิดมี (ทุติยเสขสูตร) 45/121/15 45/118/10 |
44 | กถาวัตถุ10 ประการ (อ.ทุติยเสขสูตร) 45/124/12 45/121/7 |
45 | [๑๙๖] ธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย คือ สังฆเภท (เภทสูตร) 45/126/14 45/123/3 |
46 | [๑๙๖] ผู้ทำลายสงฆ์ต้องตกนรกอยู่ตลอดกัป (เภทสูตร) 45/127/5 45/123/16 |
47 | ตระกูลประมาณ500 ที่ฝักใฝ่กับพระเทวทัต ได้ไปเกิดในนรก (อ. เภทสูตร) 45/128/22 45/125/7 |
48 | ชื่อว่า กัปปัฏโฐ (ตั้งอยู่ตลอดกัป) เพราะตั้งอยู่ในมหานรกนั้น ตลอดอันตรกัปหนึ่งบริบูรณ์ (อ. เภทสูตร) 45/131/15 45/128/3 |
49 | [๑๙๗] ผู้กระทำสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป .(โมทสูตร) 45/132/19 45/129/15 |
50 | [๑๙๘] ถ้าตายในขณะจิตขุ่นมัว ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.(ปุคคลสูตร) 45/135/10 45/132/5 |
51 | ความหมายของ คำว่า อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (อ.ปุคคลสูตร) 45/138/11 45/134/25 |
52 | [๑๙๙] ถ้าตายในขณะจิตผ่องใส ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์.(จิตตฌายีสูตร) 45/140/8 45/137/6 |
53 | [๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธออย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อ แห่งความสุข (ปุญญสูตร) 45/141/15 45/139/5 |
54 | [๒๐๐] พระโพธิสัตว์เคยเป็นมหาพรหมไม่ลงมาสู่โลกนี้ตลอด7 สังวัฏฏวิวัฏฏกัปและเป็นผู้มีอานุภาพมาก เพราะผลแห่งกรรม3 ประการ คือ ทาน ความประพฤติสงบ เมตตาจิต (ปุญญสูตร) 45/142/2 45/139/9 |
55 | ชื่อว่า เมตตา เพราะความเจริญเป็นไปในมิตร เมตตามีอันเป็นไปในอาการให้ประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ (อ.ปุญญสูตร) 45/146/11 45/143/9 |
56 | [๒๐๑] ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยึดประโยชน์ ทั้งในปัจจุบัน และในภพหน้าไว้ได้ (อุโภอัตถสูตร) 45/152/5 45/149/5 |
57 | [๒๐๒] กองกระดูกของคนๆ หนึ่ง ใน1 มหากัป ย่อมกองโตเท่าภูเขา.(เวปุลลปัพพตสูตร) 45/157/19 45/154/9 |
58 | เทศนาของพระพุทธเจ้า มี2 อย่าง คือ สมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา.(อ.เวปุลลปัพพตสูตร) 45/159/4 45/155/11 |
59 | พระพุทธเจ้าตรัสบุคคลกถา ด้วยเหตุ8 ประการ มีเพื่อแสดงหิริ และโอตตัปปะเป็นต้น. (อ.เวปุลลปัพพตสูตร) 45/160/11 45/156/18 |
60 | [๒๐๓] เมื่อบุคคลล่วงธรรมอย่างหนึ่ง คือ การโกหกทั้งๆ ที่รู้แล้ว พระพุทธองค์กล่าวว่าปาปกรรมไรๆ อันเขาจะไม่พึงทำไม่มีเลย (สัมปชานมุสาวาทสูตร) 45/165/11 45/161/17 |
61 | [๒๐๔] " ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วก็จะไม่พึงบริโภคอนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทิน จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ไม่พึงแบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้นแล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคาหกของสัตว์เหล่านั้นพึงมี "(ทานสูตร) 45/168/5 45/164/7 |
62 | ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน มีผล100 เท่า (อ.ทานสูตร) 45/169/21 45/167/7 |
63 | [๒๐๕] บุญกิริยาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอุปธิสมบัติ เป็นเหตุ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่16 แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ (เมตตภาวสูตร) 45/172/5 45/168/9 |
64 | เมตตา ย่อมหมายทั้งอุปจารทั้งอัปปนา , เจโตวิมุตติ ย่อมหมายถึง อัปปนาฌานอย่างเดียว (อ.เมตตภาวสูตร) 45/174/11 45/170/20 |
65 | การรับสรณคมน์ มีผลมากกว่าการให้วิหารแก่สงฆ์ (อ.เมตตภาวสูตร) 45/177/18 45/174/2 |
66 | สังคหวัตถุ4 นั้นภายหลังรัชกาลของพระเจ้าโอกกากราช พวกพราหมณ์ได้เปลี่ยนสังคหวัตถุ นั้นเป็นยัญพิธี5 ประการ (อ.เมตตภาวสูตร) 45/180/13 45/176/20 |
67 | [๒๐๖] ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในอาหารย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ.(ปฐมภิกขุสูตร) 45/184/6 45/180/6 |
68 | ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร ? (อ.ปฐมภิกขุสูตร) 45/186/13 45/182/14 |
69 | บุคคลไม่อาจให้สิ่ง3 อย่างเต็มได้ คือ ไฟเต็มด้วยเชื้อ มหาสมุทรเต็มด้วยน้ำคนมีความอยากมากเต็มด้วยปัจจัย (อ.ปฐมภิกขุสูตร) 45/188/11 45/184/10 |
70 | แม้ไทยธรรมมีมาก และผู้ให้ก็ประสงค์จะให้มาก ผู้รับรู้กำลังของตน ย่อมรับแต่พอประมาณเท่านั้น (อ.ปฐมภิกขุสูตร) 45/189/5 45/184/25 |
71 | ปัญญาจักษุ มี5 อย่าง คือ พุทธจักษุ สมันตจักษุ ญาณจักษุ ทิพยจักษุธรรมจักษุ (อ.ปฐมภิกขุสูตร) 45/190/2 45/185/19 |
72 | [๒๐๗] ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในอาหาร ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ (ทุติยภิกขุสูตร) 45/192/20 45/188/18 |
73 | [๒๐๘] บุคคลผู้ไม่ได้ทำความดีงามไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำบุญ ทำอกุศล-กรรมอันหยาบช้า ย่อมไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน (ตปนียสูตร) 45/194/5 45/190/5 |
74 | [๒๐๙] บุคคลผู้ได้ทำความดีงามไว้ ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำบาป ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ย่อมไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน (อตปนียสูตร) 45/197/19 45/193/18 |
75 | [๒๑๐] ผู้มีศีลลามก มีทิฏฐิอันลามก นั้นอันกรรมของตนย่อมซัดไปในนรก. .(ปฐมสีลสูตร) 45/199/5 45/194/18 |
76 | [๒๑๑] ผู้มีศีลดี มีทิฏฐิดี นั้นอันกรรมของตนย่อมนำมาไว้ในสวรรค์ (ทุติยสีลสูตร) 45/201/10 45/197/5 |
77 | [๒๑๒] ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ ไม่ควรเพื่อจะตรัสรู้ (อาตาปีสูตร) 45/203/1 45/198/18 |
78 | [๒๑๓] พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อลาภสักการะ และสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวมและเพื่อการละ (ปฐมนกุหนาสูตร) 45/207/19 45/203/10 |
79 | สังวรมี5 อย่าง คือ ปาฏิโมกขสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร.(อ.ปฐมนกุหนาสูตร) 45/214/16 45/208/10 |
80 | [๒๑๔] พรหมจรรย์นี้ภิกษุอยู่ประพฤติเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ (ทุติยนกุหนาสูตร) 45/218/11 45/212/8 |
81 | [๒๑๕] ภิกษุประกอบด้วยความสังเวชในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชความเพียรโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้สังเวช ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุข และโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้วโดยแยบคาย เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (โสมนัสสสูตร) 45/220/5 45/213/18 |
82 | ความหมายของคำว่า อาสวะ (อ.โสมนัสสสูตร) 45/222/4 45/216/1 |
83 | [๒๑๖] วิตก2 ประการของพระพุทธเจ้า คือ เขมวิตก วิเวกวิตก (วิตักกสูตร) 45/227/6 45/220/6 |
84 | พระพุทธเจ้าเป็นตถาคตด้วยเหตุ8 ประการ (อ.วิตักกสูตร) 45/230/18 45/222/20 |
85 | การตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าย่อมสำเร็จด้วยองค์8 ประการ.(อ.วิตักกสูตร) 45/237/16 45/228/19 |
86 | ปฏิสัมภิทา4 (อ.วิตักกสูตร) 45/242/16 45/233/3 |
87 | คติ5 อย่าง คือ นิรยคติ ติรัจฉานคติ เปตคติ มนุษยคติ เทวคติ (อ.วิตักกสูตร) 45/246/19 45/237/7 |
88 | ผู้อยู่ในมหาทวีป4 กับผู้อยู่ในทวีปเล็กๆ ชื่อว่า มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง.(อ.วิตักกสูตร) 45/247/8 45/237/20 |
89 | บุพนิมิตขณะที่พระโพธิสัตว์ประสูติ32 ประการ (อ.วิตักกสูตร) 45/254/9 45/246/18 |
90 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีความแตกต่างกัน5 ประการ คือ อายุ ขนาดพระวรกายตระกูล การบำเพ็ญทุกรกิริยา พระรัศมี (อ.วิตักกสูตร) 45/258/1 45/250/1 |
91 | ปริยัติธรรมอันพระพุทธเจ้าของเราทรงรู้ ทรงประกาศ ทรงให้เป็นไปเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าแต่ก่อน ให้เป็นไปแล้ว... (อ.วิตักกสูตร) 45/259/19 45/251/22 |
92 | พระสงฆ์ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้และเพราะบอกได้เหมือน อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนัย มีปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (อ.วิตักกสูตร) 45/260/14 45/252/12 |
93 | [๒๑๗] ธรรมเทศนาของพระตถาคต ย่อมมีโดยปริยาย2 ประการ คือ เธอทั้งหลายจงเห็นบาปโดยความเป็นบาป ครั้นเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้วจงเบื่อหน่ายจงคลายกำหนัด จงปลดเปลื้องในบาปนั้น (เทศนาสูตร) 45/280/12 45/271/5 |
94 | ชื่อว่า บาป เพราะเป็นของลามก เป็นสิ่งน่ารังเกียจ คือ พระอริยะเกลียดโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น ยังสัตว์ให้ถึงทุกข์ในวัฏฏะ.(อ.เทศนาสูตร) 45/283/11 45/273/19 |
95 | [๒๑๘] " ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้และโลกหน้า ทั้งหมดมีอวิชชาเป็นมูลอันความปรารถนาและความโลภก่อขึ้น ก็เพราะเหตุที่บุคคลเป็นผู้มีความปรารถนาลามกไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉะนั้นจึงย่อมประสบบาป ต้องไปสู่อบายเพราะบาปนั้นเพราะเหตุนั้น ภิกษุสำรอกฉันทะโลภะ และอวิชชาได้ ให้วิชชาบังเกิดขึ้นอยู่พึงละทุคติ ทั้งปวงเสียได้ " (วิชชาสูตร) 45/284/17 45/275/4 |
96 | [๒๑๙] สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่า เสื่อมสุด ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ (ปัญญาสูตร) 45/287/9 45/277/16 |
97 | [๒๒๐] ธรรมคุ้มครองโลก2 ประการ คือ หิริ โอตตัปปะ (ธรรมสูตร) 45/291/5 45/281/10 |
98 | อธิบาย หิริ และโอตตัปปะ (อ.ธรรมสูตร) 45/293/1 45/282/17 |
99 | [๒๒๑] ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้วปรุง-แต่งแล้ว จึงปรากฏ (อชาตสูตร) 45/297/20 45/288/5 |
100 | [๒๒๒] นิพพานธาตุ2 ประการ คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพาน-ธาตุ(ธาตุสูตร) 45/304/5 45/294/5 |
101 | [๒๒๒] พระอรหันต์ ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจ และไม่พึงใจ ยังเสวยสุข และทุกข์อยู่ (ธาตุสูตร) 45/304/7 45/294/8 |
102 | [๒๒๓] ภิกษุผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนือง ๆ มีฌานไม่เสื่อมประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล2 อย่าง คือ อรหัตผล หรือ พระอนาคามี (สัลลานสูตร) 45/310/21 45/300/9 |
103 | [๒๒๔] ภิกษุผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็นใหญ่อยู่พึงหวังผล2 อย่าง คือ อรหัตผล หรือ พระอนาคามี (สิกขาสูตร) 45/315/19 45/305/9 |
104 | มารเสนา8 มี กามทั้งหลายเป็นเสนาที่1 เป็นต้น (อ.สิกขาสูตร) 45/319/15 45/308/16 |
105 | [๒๒๕] ภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีสติตั้งมั่น เบิกบานผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ พึงหวังผล2 อย่าง คือ อรหัตผล หรือพระอนาคามี (ชาคริยสูตร) 45/320/18 45/309/17 |
106 | ลักษณะของผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น (อ.ชาคริยสูตร) 45/322/3 45/311/3 |
107 | ในกาลใดวิปัสสนาจิตหดหู่ พึงเจริญ ธัมมวิจิยะ วิริยะ ปีติ, ในกาลใดจิตฟุ้งซ่านพึงเจริญ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา (อ.ชาคริยสูตร) 45/323/12 45/312/15 |
108 | [๒๒๖] ชน2 พวก คือ ผู้ไม่ใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี ผู้ตามกำจัดชนผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ด้วยพรหมจรรย์อันไม่มีมูล จักเกิดในอบาย (อปายสูตร) 45/327/9 45/316/5 |
109 | คนทุศีลบริโภคของที่เขาให้ด้วยศรัทธา พึงไปเกิดในนรกหลายร้อยชาติ. (อ.อปายสูตร) 45/330/14 45/319/3 |
110 | [๒๒๗] เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฏฐิ2 อย่าง พัวพันแล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็น. (ทิฏฐิสูตร) 45/331/1 45/319/10 |
111 | ภพ3 คือ ภพของผู้มีขันธ์เดียว ภพของผู้มีขันธ์4 ภพของผู้มีขันธ์5 . (อ.ทิฏฐิสูตร) 45/334/4 45/322/9 |
112 | [๒๒๘] " โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดแล้วในตน ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้มีจิตอันลามก เหมือนขุยไผ่ ย่อมเบียดเบียนไม้ไผ่ฉะนั้น " (อกุศลมูลสูตร) 45/338/11 45/327/11 |
113 | [๒๒๙] ธาตุ3 อย่าง คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ นิโรธธาตุ (ธาตุสูตร) 45/342/5 45/331/5 |
114 | ชื่อว่า ธาตุ เพราะว่าทรงไว้ซึ่งผล และสภาวะของตน (อ.ธาตุสูตร) 45/343/3 45/331/20 |
115 | รูปธาตุ ได้แก่ ภพของผู้มีขันธ์5 และภพของผู้มีขันธ์เดียว , อรูปธาตุ ได้แก่ภพของผู้มีขันธ์4 (อ.ธาตุสูตร) 45/344/2 45/332/19 |
116 | [๒๓๐] เวทนา3 ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.(ปฐมเวทนาสูตร) 45/346/5 45/334/16 |
117 | ในอรูปกรรมฐาน ภิกษุบางรูป เมื่อระลึกถึงอารมณ์ที่เข้ามาสู่คลองผัสสะมีจิตและเจตสิก ตกไปครั้งแรกในอารมณ์นั้น ถูกต้องอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะปรากฏชัด,สำหรับบางรูป เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นเกิดขึ้น จะปรากฏชัด , บางรูปวิญญาณที่รู้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น จะปรากฏชัด. (อ.ปฐมเวทนาสูตร) 45/354/19 45/342/21 |
118 | ปกิณณกกถา8 อย่าง เกี่ยวกับเวทนา. (อ.ปฐมเวทนาสูตร) 45/356/16 45/344/14 |
119 | [๒๓๑] " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกข-เวทนา โดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ".(ทุติยเวทนาสูตร) 45/362/9 45/350/6 |
120 | ที่ว่า สุขเวทนาต้องเห็นโดยความเป็นทุกข์ นั้นเพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงอุบาย สำหรับถอนราคะ (อ.ทุติยเวทนาสูตร) 45/364/13 45/352/4 |
121 | [๒๓๒] การแสวงหา3 ประการ คือ การแสวงหากาม การแสวงหาภพ การแสวง-หาพรหมจรรย์ (ปฐมเอสนาสูตร) 45/367/20 45/355/12 |
122 | [๒๓๓] " การแสวงหากาม การแสวงหาภพ กับการแสวงหาพรหมจรรย์ การยึดมั่นว่าจริงดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น การแสวงหาทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ พระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีแล้วด้วยความยินดีทั้งปวง ผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา สละคืนเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว ภิกษุผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีความสงสัยเพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้งหลาย " (ทุติยเอสนาสูตร) 45/371/9 45/358/19 |
123 | [๒๓๔] อาสวะ3 ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ (ปฐมอาสวสูตร) 45/373/18 45/361/5 |
124 | " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเกิดก่อน ความไม่ละอายแก่ใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป จะคล้อยตามการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย " (อ.ปฐมอาสวสูตร) 45/375/3 45/362/10 |
125 | [๒๓๕] " ภิกษุใดมีกามาสวะสิ้นไปแล้ว สำรอกอวิชชาออกได้แล้ว และมีภวาสวะหมดสิ้นแล้ว ภิกษุนั้นพ้นวิเศษแล้ว หาอุปธิมิได้ ชนะมารพร้อมด้วยพาหนะแล้วย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด " (ทุติยอาสวสูตร) 45/376/1 45/363/10 |
126 | [๒๓๖] ตัณหา3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (ตัณหาสูตร) 45/376/14 45/364/5 |
127 | ชื่อว่าตัณหา เพราะหมายความว่า ทะยานอยาก หวั่นไหวในอารมณ์มีรูปเป็นต้น (อ.ตัณหาสูตร) 45/377/18 45/365/3 |
128 | ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุและอายตนะทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย เรียกว่า สงสาร .(อ.ตัณหาสูตร) 45/379/19 45/367/5 |
129 | [๒๓๗] " ภิกษุใด เจริญศีล สมาธิ และปัญญา ดีแล้ว ภิกษุนั้น ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว ย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ ฉะนั้น " (มารเธยยสูตร) 45/381/1 45/368/6 |
130 | [๒๓๘] " กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันให้ผลเลิศต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ความประพฤติเสมอ เมตตาจิต บัณฑิตครั้นเจริญธรรม3 ประการอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน " (ปุญญกิริยาวัตถุสูตร) 45/386/11 45/373/11 |
131 | บุญกิริยาวัตถุอีก7 ประการ มีความอ่อนน้อมยำเกรง การขวนขวาย การเพิ่มให้ส่วนบุญ การพลอยยินดีส่วนบุญ การแสดงธรรม การฟังธรรม ความเห็น-ตรง (อ.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร) 45/389/3 45/375/25 |
132 | [๒๓๙] จักษุ3 อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ (จักขุสูตร) 45/391/17 45/378/16 |
133 | [๒๔๐] " ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง ในเพราะความสิ้นกิเลส พระอรหัต (อัญญินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแห่งญาณนั้น ญาณ (คือ ปัจจเวกขณะ) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ (อัญญาตาอินทรีย์) ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้คงที่ ต่อจากพระอรหัตนั้นว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบเพราะความสิ้นไปแห่งภวสังโยชน์... ".(อินทริยสูตร) 45/395/16 45/382/10 |
134 | [๒๔๑] อัทธา (เวลา)3 อย่าง คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน (อัทธาสูตร) 45/400/5 45/386/12 |
135 | การจำแนกกาล มี4 อย่าง ด้วยสามารถแห่ง อัทธา สันตติ สมัย ขณะ.(อ.อัทธาสูตร) 45/401/18 45/387/20 |
136 | [๒๔๒] " บุคคลผู้มีปัญญาทราม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และกระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นอันประกอบด้วยโทษ ไม่กระทำกุศลกรรม กระทำอกุศลกรรมเป็นอันมาก เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก " (ทุจริตสูตร) 45/406/14 45/392/19 |
137 | [๒๔๓] " บุคคลผู้มีปัญญา ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และไม่กระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นอันประกอบด้วยโทษ กระทำกุศลเป็นอันมากเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์ " (สุจริตสูตร) 45/408/10 45/394/13 |
138 | [๒๔๔] " พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้สะอาด-ทางทางกาย ผู้สะอาดทางวาจา ผู้สะอาดทางใจ ผู้หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้สะอาด ผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้สะอาด ผู้ละกิเลสทั้งปวงเสียได้ " (สุจิสูตร) 45/410/11 45/396/11 |
139 | [๒๔๕] " พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้รู้ทางกายผู้รู้ทางวาจา ผู้รู้ทางใจ ผู้หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนีมีบาปอันล้างแล้ว " (มุนีสูตร) 45/412/3 45/398/4 |
140 | [๒๔๖] ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังละไม่ได้แล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นผู้อันมารผูกไว้แล้ว สวมบ่วงแล้ว และถูกมารผู้มีบาปพึงกระทำได้ตามความพอใจ (ปฐมราคสูตร) 45/414/5 45/400/5 |
141 | [๒๔๗] ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว พระพุทธเจ้ากล่าว่า ข้ามสมุทร ที่มีคลื่นมีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้ายมีผีเสื้อน้ำไม่ได้ (ทุติยราคสูตร) 45/417/9 45/403/7 |
142 | [๒๔๘] ผู้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (มิจฉาทิฏฐิสูตร) 45/421/6 45/407/6 |
143 | ผู้ติเตียนพระอริยเจ้า ได้แก่ เป็นผู้ว่าร้าย คือ ด่า ติเตียนพระอริยะทั้งหลายโดยที่สุดแม้พระโสดาบันผู้เป็นคฤหัสถ์ โดยการกล่าวตู่ที่ไม่เป็นจริง อันเป็นเหตุกำจัดคุณความดีของท่าน (อ.มิจฉาทิฏฐิสูตร) 45/422/15 45/408/16 |
144 | กรรมอื่นที่ชื่อว่า จะมีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิ ไม่มี (อ.มิจฉาทิฏฐิสูตร) 45/423/12 45/409/14 |
145 | มนุษย์ทั้งหลาย มีอายุน้อย เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต เร่งรีบทำบุญแล้วจะได้ไปสวรรค์ หรือดำรงอยู่ในพระนิพพาน (อ.มิจฉาทิฏฐิสูตร) 45/424/9 45/410/11 |
146 | [๒๔๙] ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือ มั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ (สัมมาทิฏฐิสูตร) 45/424/18 45/411/5 |
147 | [๒๕๐] ธาตุเป็นที่สลัดออก3 อย่าง คือ เนกขัมมะ (รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย , อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย , นิโรธ เป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น (นิสสรณสูตร) 45/426/5 45/412/8 |
148 | " อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ใช่กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริของคน (ต่างหาก) เป็นกาม อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลาย ก็สถิตอยู่ในโลกอย่างนั้นนั่นแหละ แต่ธีรชนจะนำความพอใจในกามนั้นออกไป " (อ.นิสสรณสูตร) 45/427/8 45/413/12 |
149 | [๒๕๑] อรูปละเอียดกว่ารูป นิโรธละเอียดกว่าอรูป (รูปสูตร) 45/429/5 45/415/5 |
150 | [๒๕๒] บุตร 3 จำพวก คือ อติชาตบุตร อนุชาตบุตร อวชาตบุตร (ปุตตสูตร) 45/431/5 45/417/5 |
151 | อธิบาย คำว่า พุทโธ (อ.ปุตตสูตร) 45/434/1 45/419/20 |
152 | อธิบาย คำว่า สรณะ (อ.ปุตตสูตร) 45/435/13 45/421/8 |
153 | อธิบาย คำว่า สรณคมน์ (อ.ปุตตสูตร) 45/437/15 45/423/1 |
154 | ประเภทของสรณคมน์ และการถึงสรณคมน์. (อ.ปุตตสูตร) 45/438/16 45/423/25 |
155 | สรณะจะขาดด้วยยึดสิ่งอื่นว่าประเสริฐกว่า (อ.ปุตตสูตร) 45/440/20 45/426/3 |
156 | อุบาสก อุบาสิกา ผู้ถึงสรณะ แม้ไหว้ญาติผู้บวชในสำนักเดียรถีย์ ด้วยคิดว่าเป็นญาติ สรณะย่อมไม่ขาด (อ.ปุตตสูตร) 45/441/2 45/426/7 |
157 | " ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบาย(เขา) ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์ ดังนี้ ".(อ.ปุตตสูตร) 45/442/3 45/427/6 |
158 | โลกิยสรณคมน์ จะเศร้าหมองด้วยไม่รู้ ด้วยสงสัยและความเห็นผิด ในพระรัตนตรัย (อ.ปุตตสูตร) 45/442/18 45/427/22 |
159 | อธิบาย รายละเอียด และองค์ประกอบของศีล5 (อ.ปุตตสูตร) 45/443/10 45/428/14 |
160 | วิรัติ (งดเว้น)3 อย่าง (อ.ปุตตสูตร) 45/455/4 45/439/16 |
161 | ผลจากการรักษาศีล5 (อ.ปุตตสูตร) 45/456/9 45/440/25 |
162 | [๒๕๓] บุคคลเปรียบเหมือนฝน3 จำพวก คือ บุคคลผู้เสมอด้วยฝนไม่ตก ผู้ดุจฝนตกในที่บางส่วน ผู้ดุจฝนตกในที่ทั่วไป. (อวุฏฐิกสูตร) 45/461/5 45/444/14 |
163 | คนเหล่าใดเที่ยวเชิญชวน สรรเสริญคนในการทำทาน ชื่อว่า วณิพก, ส่วนพวกเที่ยวขอของเล็กๆ น้อยๆ ชื่อว่า ยาจก (อ.อวุฏฐิกสูตร) 45/464/6 45/447/10 |
164 | [๒๕๔] บัณฑิตปรารถนาสุข3 ประการ คือ ขอความสรรเสริญจงมาถึงแก่เราขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เรา เมื่อตายไป เราพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พึงรักษาศีล. (สุขสูตร) 45/467/17 45/451/5 |
165 | [๒๕๔] บุคคลแม้ไม่กระทำชั่ว แต่เข้าไปเสพบุคคลผู้ทำความชั่วอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้อันบุคคลพึงรังเกียจใน เพราะความชั่ว และโทษของบุคคลผู้เสพคนชั่วนี้ย่อมงอกงาม (สุขสูตร) 45/468/7 45/451/15 |
166 | ภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะประสบกองแห่งโภคะใหญ่ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ (อ.สุขสูตร) 45/471/11 45/454/3 |
167 | [๒๕๕] กายนี้มีความแตกเป็นที่สุด วิญญาณมีการคลายไปเป็นธรรมดา ขันธ-ปัญจก ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา (ภินทนสูตร) 45/474/11 45/457/7 |
168 | " เราตถาคตไม่คำนึงถึงความตาย ไม่คำนึงถึงชีวิต มุ่งแต่กาลกิริยา (ขันธปรินิพพาน) อย่างเดียว เหมือนลูกจ้างมุ่งแต่ค่าจ้างเท่านั้น ดังนี้ ".(อ.ภินทนสูตร) 45/477/15 45/460/9 |
169 | [๒๕๖] สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกัน กับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุ.(ธาตุสูตร) 45/478/5 45/460/17 |
170 | ถ้าอาจารย์ และอุปัชฌาย์ เป็นคนไม่มีศีล แต่ลูกศิษย์ เป็นผู้มีศีล ลูกศิษย์เหล่านั้น ย่อมไม่เข้าไปหาอาจารย์ และอุปัชฌาย์ จะเข้าไปหาเฉพาะแต่ภิกษุผู้มีสมณสารูปเช่นตน (อ.ธาตุสูตร) 45/479/20 45/462/15 |
171 | [๒๕๗] ธรรม3 ประการ คือ เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี เป็นผู้ชอบคุย เป็นผู้ชอบหลับ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ (ปริหานสูตร) 45/483/5 45/465/19 |
172 | ภิกษุใดในเวลา เรียนอุเทศก็เรียน เวลาท่องบ่นก็ท่องบ่น เวลาทำวัตร ก็ทำวัตรเวลาทำมนสิการ ก็ทำมนสิการ ภิกษุนั้นไม่ชื่อว่า เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี.(อ.ปริหานสูตร) 45/485/9 45/467/20 |
173 | ในพระสูตรนี้ ถึงกัลยาณปุถุชน ก็พึงทราบว่า เป็นพระเสขะ เหมือนกัน..(อ.ปริหานสูตร) 45/486/12 45/468/23 |
174 | [๒๕๘] อกุศลวิตก3 ประการ คือ วิตกประกอบด้วยการไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่นตนวิตกประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ วิตกประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น (วิตักกสูตร) 45/488/6 45/470/6 |
175 | โศกเศร้า เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา (อ.วิตักกสูตร) 45/489/16 45/471/17 |
176 | [๒๕๙] ผู้อันสักการะและความไม่สักการะ ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก (สักการสูตร) 45/491/3 45/473/3 |
177 | [๒๖๐] เสียงที่เทวดาเปล่งออกด้วยปีติ เพราะอาศัยสมัย3 อย่าง คือ เมื่ออริย-สาวกคิดที่จะบวช อริยสาวกประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม อริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (สัททสูตร) 45/495/3 45/477/5 |
178 | เจโตวิมุตติ มีได้ เพราะการสำรอกราคะ ปัญญาวิมุตติมีได้เพราะการสำรอกอวิชชา. (อ.สัททสูตร) 45/499/10 45/481/13 |
179 | [๒๖๑] นิมิต5 ประการ ของเทวดาก่อนจะจุติ (จวมานสูตร) 45/501/8 45/483/12 |
180 | [๒๖๒] การได้ความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดา (จวมานสูตร) 45/502/1 45/484/3 |
181 | เทวดา3 จำพวก สมมติเทพ อุปบัติเทพ วิสุทธิเทพ (อ.จวมานสูตร) 45/503/12 45/485/8 |
182 | เมื่อนิมิตปรากฏความตายจะมีแก่เทพบุตรนั้น โดย7 วัน ด้วยการนับวันในมนุษย์ (อ.จวมานสูตร) 45/505/4 45/487/1 |
183 | สวนนันทนวัน ย่อมมีอยู่ประจำเทวโลก ทุกชั้นทีเดียว (อ.จวมานสูตร) 45/506/1 45/487/22 |
184 | พึงทราบองค์แห่งโสดาปัตติมรรค4 อย่าง คือ การคบหาสัตบุรุษ การฟังธรรมของสัตบุรุษ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมว่าเป็นรากแห่งศรัทธา (อ.จวมานสูตร) 45/509/20 45/491/12 |
185 | [๒๖๓] บุคคล3 จำพวก คือ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระเสขะ ย่อมอุบัติขึ้นเพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (โลกสูตร) 45/513/3 45/494/13 |
186 | โลก มี3 คือ สัตวโลก สังขารโลก โอกาสโลก (อ.โลกสูตร) 45/515/9 45/496/16 |
187 | ความหมายของคำว่า อัตถายะ , หิตายะ , สุขายะ (อ.โลกสูตร) 45/519/11 45/500/21 |
188 | [๒๖๔] ภิกษุจงเป็นผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่เถิด (อสุภสูตร) 45/524/14 45/506/3 |
189 | กรรมฐาน ที่เป็นสัปปายะแก่ผู้มีราคจริต และวิตกจริต ด้วยพิจารณากายเนืองๆทำไว้ในใจว่าปฏิกูล. (อ.อสุภสูตร) 45/526/12 45/508/1 |
190 | มหาวิตก9 อย่าง ที่ข่มได้ในเบื้องต้น ด้วยสมาธิ ที่เกิด เพราะอานาปานสติจะละได้โดยไม่มีเหลือ ตามสมควรด้วยอริยมรรคที่ทำวิปัสสนานั้นให้เป็นเบื้องบาทแล้วจึงบรรลุ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อเข้าไปตัดเสียซึ่งวิตก (อ.อสุภสูตร) 45/528/4 45/509/18 |
191 | [๒๖๕] " ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรมอยู่ ระลึกถึงธรรมอยู่เนืองๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดีนั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ให้จิตของตนสงบอยู่ ณ ภายในย่อมถึงความสงบอันแท้จริง ".(ธรรมสูตร) 45/530/8 45/511/17 |
192 | ชื่อว่า ค้นคว้าธรรม เพราะวิจัยธรรมนั้นแหละบ่อยๆ คือ ระลึกถึงธรรมนั้น อธิบายว่า กระทำไว้ในใจ (อ.ธรรมสูตร) 45/533/8 45/514/8 |
193 | [๒๖๖] อกุศลวิตก3 ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมกระทำ ความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุกระทำความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน (อันธการสูตร) 45/534/14 45/515/14 |
194 | [๒๖๘] อกุศลธรรม3 ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอมิตร เป็นศัตรู เป็นเพชฌฆาต เป็นข้าศึกภายใน (มลสูตร) 45/539/19 45/520/15 |
195 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง จะบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว (อ.มลสูตร) 45/543/6 45/523/12 |
196 | " จอมโจร เห็นจอมโจร หรือ คู่เวรเห็นคู่เวร แล้วพึงกระทำความพินาศอันใดให้กัน จิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเลวร้ายไปยิ่งกว่านั้น ดังนี้ " (อ.มลสูตร) 45/544/19 45/524/24 |
197 | [๒๖๙] พระเทวทัตผู้อันอสัทธรรม3 ประการ ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัปเยียวยาไม่ได้ (เทวทัตตสูตร) 45/548/14 45/529/3 |
198 | พระเทวทัต เบียดเบียนพระพุทธเจ้า เพราะถูกมารดลใจให้ฮึกเหิม ว่าบัดนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้า (อ.เทวทัตตสูตร) 45/553/12 45/533/14 |
199 | [๒๗๐] ผู้เลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ย่อมได้ผลอันเลิศ.(ปสาทสูตร) 45/556/4 45/536/4 |
200 | อธิบายคำว่า อาหุเนยยะ ปาหุเนยยะ ทักขิเนยยะ (อ.ปสาทสูตร) 45/567/13 45/547/3 |
201 | [๒๗๑] ภิกษุทุศีลกินก้อนเหล็กร้อนติดไฟ ดีกว่ากินข้าวชาวบ้าน (ชีวิตสูตร) 45/573/14 45/552/22 |
202 | [๒๗๒] ถ้าแม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ แล้วเดินตามหลังพระพุทธเจ้า แต่เขาเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดชั่วร้ายมีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์โดยที่แท้ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลพระพุทธเจ้าทีเดียว (สังฆาฏิสูตร) 45/581/3 45/560/4 |
203 | [๒๗๓] ไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ นี้ย่อมตามเผาหมู่สัตว์ผู้ไม่รู้สึกว่าเป็นไฟ ผู้ยินดียิ่งในกายตน ทั้งในภพนี้ และภพหน้า สัตว์เหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกายและปิตติวิสัย เป็นผู้ไม่พ้นไปจากเครื่องผูกแห่งมาร..(อัคคิสูตร) 45/585/18 45/564/15 |
204 | [๒๗๔] เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่ด้วยประการใดๆ วิญญาณของเธอไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ไม่ส่ายไปแล้ว ไม่หยุดอยู่แล้วในภายใน ภิกษุพึงพิจารณาด้วยประการนั้นๆ เมื่อภิกษุไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ความสมภพ คือ ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือ ชาติชรา มรณะ ย่อมไม่มีต่อไป (อุปปริกขยสูตร) 45/591/3 45/569/13 |
205 | [๒๗๕] การเข้าถึงกาม3 อย่าง คือ เหล่าสัตว์ผู้มีกามปรากฏแล้ว เทวดาผู้ยินดีในกามที่ตนเนรมิตเอง เทวดาผู้ให้อำนาจเป็นไปในกามที่ผู้อื่นเนรมิตให้.(อุปปัตติสูตร) 45/594/10 45/572/19 |
206 | สัตว์ดิรัจฉาน เปรตบางจำพวก มนุษย์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึงดุสิต ย่อมตกอยู่ใต้อำนาจวัตถุแห่งมาตุคามเป็นนิตย์ (อ.อุปปัตติสูตร) 45/595/14 45/573/19 |
207 | [๒๗๖] พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ แต่ยังประกอบด้วยภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นมนุษย์อีก. (กามสูตร) 45/598/5 45/576/5 |
208 | [๒๗๗] ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม เรากล่าวว่าเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เป็นบุรุษผู้สูงสุดในธรรมวินัยนี้ (กัลยาณสูตร) 45/602/18 45/580/15 |
209 | ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า ปกติ เพราะตั้งมั่น หรือรองรับไว้ (อ.กัลยาณสูตร) 45/606/13 45/584/1 |
210 | อธิบาย คำว่า ปาฏิโมกข์ (อ.กัลยาณสูตร) 45/607/18 45/585/2 |
211 | [๒๗๘] ทาน การแจกจ่าย การอนุเคราะห์2 อย่าง คือ ด้วยอามิส ด้วยธรรม..(ทานสูตร) 45/615/2 45/592/10 |
212 | อภัยทาน ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทานนั่นเอง (อ.ทานสูตร) 45/617/13 45/594/17 |
213 | ทานย่อมสำเร็จในเวลาประจวบกับเหตุ3 อย่าง คือ ศรัทธา ไทยธรรม ปฏิคาหก(ผู้รับ) (อ.ทานสูตร) 45/619/9 45/596/11 |
214 | [๒๗๙] พระพุทธเจ้าบัญญัติ บุคคลผู้ได้วิชชา3 ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม..(ธรรมสูตร) 45/621/3 45/597/15 |
215 | อสังไขยกัป 4 และ เขตแห่งกัปพินาศ (อ.ธรรมสูตร) 45/626/6 45/602/17 |
216 | [๒๘๐] ทานการแจกจ่าย การอนุเคราะห์ การบูชา2 อย่าง คือ อามิส ธรรม.(พราหมณสูตร) 45/634/6 45/610/6 |
217 | [๒๘๑] ปัจจัยน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ4 อย่าง คือ ผ้าบังสุกุล คำข้าวที่ได้ด้วยปลีแข้ง โคนไม้ น้ำมูตรเน่า (จัตตาริสูตร) 45/645/3 45/621/3 |
218 | ความหมายของ คำว่า ผ้าบังสุกุล (อ.จัตตาริสูตร) 45/646/19 45/622/20 |
219 | [๒๘๒] พระตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่ง อริยสัจ4 (ชานสูตร) 45/649/19 45/625/15 |
220 | " อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้มีปกติตามเห็นโทษของบุคคลอื่นมีปกติยกโทษ (ผู้อื่น) อยู่เป็นนิตย์ บุคคลนั้นชื่อว่า อยู่ห่างไกลจากนิพพาน ".(อ.ชานสูตร) 45/652/9 45/627/22 |
221 | " ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้านขอเธอทั้งหลายจงปรารภ จงบากบั่น จงประกอบอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าเถิด ขอเธอทั้งหลาย จงทำลายเสนามฤตยู ให้เหมือนช้างทำลายเรือนไม้อ้อฉะนั้นเถิด " (อ.ชานสูตร) 45/655/6 45/630/23 |
222 | [๒๘๓] พระตถาคต ยกย่องสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอริยสัจ4 ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ (สมณสูตร) 45/655/17 45/631/7 |
223 | [๒๘๔] ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้ว ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณ-ทัสสนะ เป็นผู้กล่าวสอน เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี พระพุทธ-องค์กล่าวการได้เห็น การเข้าไปใกล้ การไปนั่งใกล้ การระลึกถึง การบวชตามภิกษุเหล่านั้นว่ามีอุปการะมาก (สีลสูตร) 45/658/3 45/634/3 |
224 | การบวชแม้ของบุคคลผู้บวชในสำนักอื่น เพราะความเลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วเที่ยวไปจำนงหวังโอวาทในสำนัก พระอริยเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่าบวชตาม. (อ.สีลสูตร) 45/662/9 45/638/1 |
225 | [๒๘๕] " บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้แล้วว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นผู้มีตัณหาปราศจากไปแล้ว ไม่ถือมั่นมีสติ พึงเว้นรอบ " (ตันหาสูตร) 45/666/8 45/641/16 |
226 | [๒๘๖] มารดา บิดา เป็นพรหมของบุตร (พรหมสูตร) 45/668/11 45/643/17 |
227 | [๒๘๖] ผู้ปฏิบัติในมารดาบิดา ย่อมบันเทิงในสวรรค์ (พรหมสูตร) 45/668/18 45/644/2 |
228 | พ่อแม่เป็นอรหันต์ของลูก (อ.พรหมสูตร) 45/671/12 45/646/10 |
229 | เหตุที่ถือได้ว่า ตอบแทนคุณพ่อแม่แล้ว (อ.พรหมสูตร) 45/674/18 45/649/8 |
230 | บุตรควรทะนุบำรุง มารดาบิดาด้วยสถาน5 (อ.พรหมสูตร) 45/676/1 45/650/18 |
231 | [๒๘๗] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารแม้เธอทั้งหลาย ก็จงเป็นผู้มีอุปการะมาก แก่พราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย.... คฤหัสถ์และบรรพชิต ต่างอาศัย ซึ่งกันและกันด้วยอำนาจ อามิสทานและธรรมทาน. (พหุการสูตร) 45/677/11 45/652/3 |
232 | ทรงแสดงว่าคฤหัสถ์มีอุปการะ แก่ภิกษุ (อ.พหุการสูตร) 45/679/2 45/653/4 |
233 | [๒๘๘] ภิกษุผู้หลอกลวงมีใจกระด้าง ประจบประแจง ชื่อว่าไม่นับถือพระพุทธเจ้าภิกษุนั้นปราศไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ (กุหนาสูตร) 45/682/3 45/656/5 |
234 | กุหา (เป็นผู้หลอกลวง) ได้แก่ เป็นผู้หลอกลวง ด้วยเครื่องหลอกลวงมีการร่ายมนต์ เป็นต้น (อ.กุหนาสูตร) 45/683/3 45/657/3 |
235 | [๒๘๙] พระพุทธเจ้าให้พยายามว่ายทวนกระแสน้ำ คำว่าทวนกระแสน้ำ เป็นชื่อของเนกขัมมะ (ปุริสสูตร) 45/685/14 45/659/13 |
236 | ธรรมชาติทั้งหลาย ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิด. (อ.ปุริสสูตร) 45/691/7 45/664/24 |
237 | " กุศลธรรม แม้ทั้งหมด คือ บรรพชา ปฐมฌาน นิพพานและวิปัสสนา เราตถาคต เรียกว่า เนกขัมมะ " (อ.ปุริสสูตร) 45/695/5 45/668/16 |
238 | [๒๙๐-๒๙๑] ภิกษุที่ยังรับวิตก3 ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้แม้เที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ พระตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีเกรงกลัว เกียจคร้าน มีความเพียรเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์ (จรสูตร) 45/699/3 45/672/3 |
239 | [๒๙๒] เมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ ถ้าแม้นิวรณ์5 ของภิกษุผู้เดิน นั่งนอน ตื่น-อยู่เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว อันภิกษุนั้นละได้แล้ว ปรารภความเพียรไม่ย่อ-หย่อน ตั้งสติไว้มั่นไม่หลงลืม กายระงับแล้วตั้งจิตมั่น มีอารมณ์อันเดียว เป็นอยู่อย่างนี้พระพุทธองค์ กล่าวว่าเป็นผู้มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวตลอดกาลเป็นนิตย์ (สัมปันนสูตร) 45/705/5 45/677/17 |
240 | ภาวะที่จิตไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า ถีนะ, ความที่ขันธ์ทั้ง3 มีเวทนาขันธ์ เป็นต้นไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า มิทธะ (อ.สัมปันนสูตร) 45/709/19 45/682/6 |
241 | ความหมายของคำว่า อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา (อ.สัมปันนสูตร) 45/710/4 45/682/18 |
242 | ธรรมสำหรับละกามฉันท์6 ข้อ (อ.สัมปันนสูตร) 45/712/5 45/685/2 |
243 | ธรรมสำหรับละพยาบาท6 ข้อ (อ.สัมปันนสูตร) 45/713/20 45/686/19 |
244 | ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ6 ข้อ (อ.สัมปันนสูตร) 45/715/18 45/688/18 |
245 | ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ6 ข้อ (อ.สัมปันนสูตร) 45/717/8 45/690/9 |
246 | ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา6 ข้อ (อ.สัมปันนสูตร) 45/718/19 45/691/22 |
247 | พยาบาท และกุกกุจจะนิวรณ์ ละได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรค , วิจิกิจฉานิวรณ์ละได้เด็ดขาดด้วยโสดาปัตติมรรค (อ.สัมปันนสูตร) 45/719/16 45/692/20 |
248 | [๒๙๓] พระตถาคต ตรัสบอกแสดงซึ่งพุทธพจน์อันใด พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแลไม่เป็นอย่างอื่น (โลกสูตร) 45/723/17 45/696/20 |
249 | โลกมีมากอย่าง ตั้งแต่โลก1 ถึง โลก18 (อ.โลกสูตร) 45/726/8 45/698/19 |
250 | อรรถกถาอิติอุตตกะ นี้ พระธรรมปาลาจารย์ เป็นผู้แต่งไว้ (นิคมคาถา) 45/742/18 45/714/6 |