1 | [๓๘] ในราตรีที่ 7 แห่งสัปดาห์ที่ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ ทรงมนสิการปฏิจจ-สมุปบาทอันเป็น อนุโลม คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เป็นต้น.(ปฐมโพธิสูตร) 44/1/944/1/9 44/1/8 |
2 | [๓๘] " ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ (ปฐมโพธิสูตร) 44/2/844/2/8 44/2/9 |
3 | อุทาน คือ การเปล่งอันตั้งขึ้นด้วยกำลังของปีติ (อารัมภกถา) 44/4/1244/4/12 44/4/18 |
4 | อุทาน มี 8 วรรค 80 สูตร 95 คาถา (อารัมภกถา) 44/8/544/8/5 44/8/1 |
5 | การตั้งพระสูตร 4 ประการ (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/47/344/47/3 44/41/26 |
6 | วิมุตติ มี 5 (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/50/2044/50/20 44/45/13 |
7 | วิมุตติสุข มี 2 คือ ในมรรควิถี ในกาลอื่น (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/53/344/53/3 44/47/12 |
8 | ผลสมาบัติ ผู้ใดเข้าได้ ? คือ ปุถุชนเข้าไม่ได้ พระอริยเจ้านั้นๆ ย่อมเข้าผลสมาบัติของตนๆ เท่านั้น. (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/53/1844/53/18 44/48/2 |
9 | การเข้าผลสมาบัติมี 2 อย่าง คือ ไม่มนสิการอารมณ์อื่น จากพระนิพพานและมนสิการถึงพระนิพพาน (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/54/1744/54/17 44/48/22 |
10 | ผลสมาบัติ ย่อมมีการตั้งอยู่โดยอาการ 3 อย่าง คือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงการมนสิการถึงธาตุอันหานิมิตมิได้ การปรุงแต่งในกาลก่อน (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/57/144/57/1 44/50/19 |
11 | ผลสมาบัติย่อมมีการออกโดยอาการ 2 อย่าง คือ มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ไม่มนสิการถึงธาตุอันหานิมิตมิได้ (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/57/844/57/8 44/51/1 |
12 | ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท เพราะอาศัย คือ มุ่งหน้าต่อกันและกัน ไม่ปฏิเสธความพร้อมเพรียงของเหตุ ให้ปัจจัยที่เกื้อกูลกันเกิดขึ้น (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/59/444/59/4 44/52/11 |
13 | สังขาร มี 3 อย่าง (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/65/1344/65/13 44/58/8 |
14 | ในธรรมเหล่านั้น อวิชชา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ... อุปายาสมีความตรมตรอมใจเป็นลักษณะ (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/66/1444/66/14 44/59/7 |
15 | ในขณะมรรค ธรรมเหล่านั้น เมื่อหน่วงเอาพระนิพพาน และธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยการละกิเลสได้โดยเด็ดขาด ด้วยอริยมรรค เกิดขึ้นคราวเดียวเท่านั้น สำเร็จการแทงตลอดไม่งมงายในอริยสัจทั้ง 4 (อ.ปฐมโพธิสูตร) 44/70/444/70/4 44/62/12 |
16 | [๓๙] " ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พรามหณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย " (อ.ทุติยโพธิสูตร) 44/73/1244/73/12 44/65/19 |
17 | [๔๐] " ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย มาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมาร และเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์ กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศฉะนั้น " (ตติยโพธิสูตร) 44/78/544/78/5 44/70/2 |
18 | [๔๑] " พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มักตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตนอันสำรวมแล้วถึงที่สุดแห่งเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกไหนๆ พราหมณ์นั้นควร กล่าววาทะว่าเป็นพราหมณ์ โดยชอบ-ธรรม " (อชปาลนิโครธสูตร) 44/82/1144/82/11 44/74/3 |
19 | ในวันที่ 8 หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงตัดความสงสัยของเทวดา ด้วยการแสดงยมกปาฏิหาริย์บนอากาศ และทรงประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องกับบังลังก์ ทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์อยู่ 7 วัน ที่นั้นเรียกว่าอนิมิสเจดีย์ (อ.อชปาลนิโครธสูตร) 44/83/1744/83/17 44/75/8 |
20 | [๔๒] " ชนเหล่าใดลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์สิ้นแล้วตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในโลก " (เถรสูตร) 44/89/1344/89/13 44/80/11 |
21 | ชื่อว่า สาวัตถี เพราะเป็นที่มีเครื่องอุปโภคและบริโภคทุกชนิดสำหรับมนุษย์ .(อ.เถรสูตร) 44/90/144/90/1 44/80/20 |
22 | [๔๓] พระมหากัสสปะ หายป่วยแล้วจะไปบิณฑบาต ท่านปฏิเสธอาหารของเทวดา 500 เพื่อไปบิณฑบาตตามบ้านคนยากจน (มหากัสสปสูตร) 44/95/1444/95/14 44/86/4 |
23 | [๔๓] " เรากล่าวบุคคลมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้รู้ยิ่ง ผู้ฝึกตนแล้ว ดำรงอยู่แล้วในสารธรรมผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้มีโทษอันคายแล้วว่า เป็นพราหมณ์ " (มหากัสสปสูตร) 44/96/644/96/6 44/86/18 |
24 | นครราชคฤห์นั้นเป็นเมืองอยู่ในสมัยพุทธกาล และสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ ในกาลอื่น เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ยึดครอง (อ.มหากัสสปสูตร) 44/96/1744/96/17 44/87/9 |
25 | เทวดาแปลงเป็นกระแต ช่วยชีวิตพระราชา (อ.มหากัสสปสูตร) 44/97/544/97/5 44/87/18 |
26 | พระมหากัสสปะ หายป่วยเพราะดีใจเพลิดเพลินภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงโพชฌงค์ 7 (อ.มหากัสสปสูตร) 44/98/844/98/8 44/88/18 |
27 | [๔๔] ยักษ์ชื่อ อชกลาปกะ ทำเสียงน่ากลัวใส่พระพุทธเจ้า แล้วบอกว่า นั้นปีศาจพระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า " ในกาลใดบุคคลเป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้งหลายของตนเป็นพราหมณ์ ในกาลนั้น ย่อมไม่กลัวปีศาจ และเสียงว่า ปักกุละอย่างนี้ ".(ปาวาสูตร) 44/103/744/103/7 44/93/4 |
28 | มนุษย์ นำแพะไปทำพลีกรรมแก่อชกลาปกยักษ์ (อ.ปาวาสูตร) 44/104/544/104/5 44/94/6 |
29 | ศีลมี 2 อย่าง คือ โลกิยศีล โลกุตรศีล (อ.ปาวาสูตร) 44/110/1544/110/15 44/100/6 |
30 | พระโสดาบัน ท่านเรียกว่า ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย , พระอนาคามี เรียกว่าทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ (อ.ปาวาสูตร) 44/111/944/111/9 44/100/22 |
31 | [๔๕] พระสังคามชิ บรรลุพระอรหัตแล้ว ภริยาเก่าของท่านอุ้มทารกมาอ้อนวอนแม้วางเด็กไว้ข้างหน้า พระเถระก็ไม่ดู ไม่พูดด้วย เพราะบุคคลเหล่านี้ ไม่สามารถเข้าใจได้ (สังคามชิสูตร) 44/112/1444/112/14 44/102/4 |
32 | [๔๖] " ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน้ำ (แต่) ชนเป็นอันมากยังอาบอยู่ในน้ำนี้สัจจะ และธรรมมีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดและเป็นพราหมณ์ ".(ชฏิลสูตร) 44/119/1544/119/15 44/108/15 |
33 | [๔๗] เทวดาผู้เป็นสายโลหิต เตือนพาหิยทารุจีริยะ ให้เข้าสู่ทางอันประเสริฐ.(พาหิยสูตร) 44/125/144/125/1 44/113/16 |
34 | [๕๐] เผาศพพระอรหันต์ไม่ต้องมีพิธีมาก (พาหิยสูตร) 44/127/2044/127/20 44/116/5 |
35 | [๕๐] " ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้นดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่างความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ (สัจจะ 4 ) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูป และอรูป จากสุข และทุกข์ ".(พาหิยสูตร) 44/128/1444/128/14 44/116/19 |
36 | ท่านพาหิยะนี้ ตั้งความปรารถนา ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.พาหิยสูตร) 44/129/844/129/8 44/117/8 |
37 | ภิกษุ 7 รูป ขึ้นไปทำสมณธรรมบนภูเขาในครั้งศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าจะเสื่อม (อ.พาหิยสูตร) 44/133/844/133/8 44/120/22 |
38 | " พึงรีบทำความเพียรในวันนี้แหละ ใคร่เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนด้วย มฤตยู อันมีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย ".(อ.พาหิยสูตร) 44/146/1044/146/10 44/132/6 |
39 | ความหมายของคำว่า สัมภเวสี และภูต (อ.พาหิยสูตร) 44/151/844/151/8 44/136/18 |
40 | ภิกษุทั้งหลาย เธออย่าประมาณธรรมของเราว่ามีน้อยหรือมาก แม้คาถาตั้งหลายพันแต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประเสริฐเลย ส่วนบทความแม้บทเดียว ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ยังประเสริฐกว่า (อ.พาหิยสูตร) 44/155/1744/155/17 44/140/18 |
41 | ผู้ปฏิบัติชั่วทำลายศาสนธรรม ชื่อว่า ให้การประหารสรีระ คือ ธรรมของพระศาสดา.(อ.พาหิยสูตร) 44/158/444/158/4 44/142/19 |
42 | [๕๑] มุจจลินท นาคราช ทำขนดเพื่อป้องกันลม และฝนแด่พระพุทธเจ้า หลังจากตรัสรู้ตลอด 1 สัปดาห์ (มุจจลินทสูตร) 44/161/544/161/5 44/145/5 |
43 | [๕๒] พระพุทธองค์ตำหนิภิกษุทั้งหลายที่คุยกันเรื่องสมบัติของพระราชา เมื่อประชุมกัน ควรทำเหตุ 2 ประการ คือ ธรรมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นของพระอริยะ (ราชสูตร) 44/167/544/167/5 44/151/2 |
44 | แก้วมณี 24 อย่าง คือ วชิระ... พราหมณี (อ.ราชสูตร) 44/169/944/169/9 44/153/1 |
45 | ปัจจัย 2 ประการ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ คือ การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน (อ.ราชสูตร) 44/174/1244/174/12 44/157/20 |
46 | โสดาปัตติผลประเสริฐกว่า สุขของพระเจ้าจักรพรรดิ และสวรรค์ทั้งมวล.(อ.ราชสูตร) 44/176/1244/176/12 44/159/16 |
47 | [๕๓] " ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ความสุขด้วยท่อนไม้ ผู้นั้นย่อมไม่ได้ความสุขในโลกหน้า ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตนย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ความสุขด้วยท่อนไม้ ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า " (ทัณฑสูตร) 44/178/844/178/8 44/161/13 |
48 | [๕๔] พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภ อดกลั้นสักการะ ของพระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ไม่ได้ เมื่อเห็นภิกษุสงฆ์ในบ้านและในป่าแล้ว ย่อมด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนด้วยวาจาหยาบคาย ไม่ใช่ของสัตบุรุษ. (สักการสูตร) 44/181/1744/181/17 44/165/4 |
49 | [๕๕] " กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความสุขย่อมมีแก่ผู้นั้นหนอ ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว เป็นพหูสูต ท่านจงดูบุคคล ผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่ ชนผู้ปฏิพัทธ์ ในชนย่อมเดือดร้อน " (อุปาสกสูตร) 44/188/1044/188/10 44/171/6 |
50 | " คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ตนแหละย่อมไม่มีแก่ตน บุตรจักมีแต่ที่ไหน ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน " (อ.อุปาสกสูตร) 44/192/144/192/1 44/174/5 |
51 | [๕๖-๕๗] ปริพาชกผู้หนึ่งดื่มน้ำมัน ที่พวกราชบุรุษให้ จนพอแก่ความต้องการแล้วกลับมาเรือนเพื่อสำรอกน้ำมันออก เก็บไว้ใช้สำหรับภริยาเขา ซึ่งจะคลอด-บุตรแต่เขาสำรอกออกไม่ได้ จึงได้รับทุกข์ หมุนไปมาอยู่ (คัพภินิสูตร) 44/192/844/192/8 44/174/12 |
52 | [๕๗] " ชนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีความสุขหนอ ชนผู้ถึงเวท (คืออริยมรรคญาณ)เท่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ท่านจงดูชนผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่ ชนเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ ในชนย่อมเดือดร้อน " (คัพภินิสูตร) 44/193/1444/193/14 44/175/19 |
53 | [๕๘] " หมู่เทวดาและหมู่มนุษย์เป็นจำนวนมาก ยินดีด้วยความเพลิดเพลินในรูปอันเป็นที่รัก ถึงความทุกข์ เสื่อมหมดแล้ว (จากสมบัติ) ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราช พระอริยบุคคลเหล่าใดแล ไม่ประมาททั้งกลางคืน และกลางวัน ย่อมละรูปอันเป็นที่รักเสียได้ พระอริยบุคคลเหล่านั้นแล ย่อมขุดขึ้นได้ ซึ่งอามิสแห่งมัจจุราช อันเป็นมูลแห่งวัฏฏะทุกข์ที่ล่วงได้โดยยาก " (เอกปุตตสูตร) 44/197/2044/197/20 44/179/17 |
54 | [๖๐] พร้อมกับ พระดำรัสของพระศาสดาที่ตรัสให้ พระนางสุปปวาสาจงมีสุข คลอดบุตรหาโรคมิได้ นั้นเอง พระนางสุปปวาสา ก็คลอดบุตร (สุปปวาสาสูตร) 44/204/344/204/3 44/185/6 |
55 | [๖๒] พระมหาโมคคัลลานะ ขอเลื่อนนิมนต์ของอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐาก โดย ค้ำ-ประกัน ชีวิต และโภคทรัพย์ให้ ส่วนศรัทธาให้อุบาสกเป็นผู้ประกันเอง.(สุปปวาสาสูตร) 44/206/1144/206/11 44/187/4 |
56 | [๖๒] " ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ายินดี ทุกข์อันไม่น่ารักย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ารัก ทุกข์ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาท โดยความเป็นสุข " (สุปปวาสาสูตร) 44/207/1644/207/16 44/188/10 |
57 | ยักษ์ที่ชอบพลีกรรมอันเจือด้วยรำ และข้าวตอก ก็มี (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/208/544/208/5 44/188/21 |
58 | พระนางสุปปวาสา เป็นพระอริยสาวิกาผู้โสดาบัน เป็นเลิศแห่งสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายสิ่งของอันประณีต (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/209/144/209/1 44/189/11 |
59 | บุรพกรรมที่พระนางสุปปวาสา ต้องตั้งท้องอยู่ 7 ปี (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/210/844/210/8 44/190/18 |
60 | ชื่อว่า ตถาคต โดยเหตุ 8 ประการ (อธิบายละเอียด) (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/216/1344/216/13 44/196/1 |
61 | การตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าย่อมสำเร็จด้วยเหตุ 8 ประการ.(อ.สุปปวาสาสูตร) 44/224/144/224/1 44/203/2 |
62 | พระโพธิสัตว์ได้รับคำพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้า 24 พระองค์ (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/225/1544/225/15 44/204/9 |
63 | ปฏิสัมภิทา 4 (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/229/544/229/5 44/207/9 |
64 | ภาษาเดิมของสภาพสัตว์ คือ มคธภาษา (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/231/1244/231/12 44/209/10 |
65 | คติ 5 คือ นิรยคติ ติรัจฉานคติ เปตคติ มนุสสคติ และเทวคติ (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/233/2244/233/22 44/211/15 |
66 | ในขณะที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ปรากฏบุรพนิมิต 32 ประการ (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/247/644/247/6 44/223/7 |
67 | พระพุทธเจ้าทั้งปวง มีความแตกต่างกัน 5 ประการ คือ อายุ ประมาณแห่งสรีระตระกูล การบำเพ็ญ ทุกรกิริยา พระรัศมี (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/251/744/251/7 44/228/1 |
68 | แม้ปริยัติธรรม ก็ชื่อว่า ตถาคต (อ.สุปปวาสาสูตร) 44/253/944/253/9 44/229/20 |
69 | [๖๓] " ประโยชน์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของผู้อื่น นำทุกข์มาให้ ความเป็นใหญ่ทั้งหลายนำสุขมาให้ เมื่อมีสาธารณประโยชน์ที่จะพึงให้สำเร็จ สัตว์ทั้งหลายย่อมเดือดร้อน เพราะว่ากิเลสเครื่องประกอบสัตว์ทั้งหลาย ก้าวล่วงได้โดยยาก ".(วิสาขาสูตร) 44/262/144/262/1 44/237/5 |
70 | [๖๔-๖๕] พระภัททิยะ พระโอรสของพระนาง กาฬิโคธา เปล่งอุทานเนืองๆ ว่าสุขหนอภิกษุอื่นเข้าใจผิด พระพุทธองค์จึงเรียกพระเถระมาถาม (กาฬิโคธาภัททิยสูตร) 44/267/844/267/8 44/242/4 |
71 | [๖๕] " ความกำเริบ (ความโกรธ) ย่อมไม่มีจากจิตของพระอริยบุคคลผู้ก้าวล่วงความเจริญและความเสื่อมมีประการอย่างนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมไม่สามารถเพื่อจะเห็นพระอริยบุคคลนั้นผู้ปราศจากภัย มีความสุข ไม่มีความโศก ".(กาฬิโคธาภัททิยสูตร) 44/269/1044/269/10 44/244/1 |
72 | แม้พระเสขะทั้งหลาย ก็ไม่รู้ความเป็นไปแห่งจิตของพระอรหันต์ เหมือนปุถุชนไม่รู้ความเป็นไปแห่งจิตของพระเสขะ (อ.กาฬิโคธาภัททิยสูตร) 44/275/1844/275/18 44/250/10 |
73 | [๖๖] พระอรหันต์ รูปหนึ่ง นั่งคู้บัลลังก์ อดกลั้นทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรมเก่า มีสติไม่พรั่นพรึงอยู่ พระพุทธองค์เห็นแล้วเปล่งอุทานว่า" ภิกษุละกรรมทั้งหมดได้แล้ว กำจัดกรรมเป็นดังธุลี ที่ตนทำไว้แล้วในก่อนไม่มีการยึดถือว่าของเรา ดำรงมั่งคงที่ ประโยชน์ที่จะกล่าวกะชน (ว่าท่านจงทำยาเพื่อเรา) ย่อมไม่มี " (กรรมสูตร) 44/277/544/277/5 44/251/5 |
74 | พระอรหันต์ไม่มีทุกข์ทางใจ แต่ทุกข์ทางกายยังมีอยู่ (อ.กรรมสูตร) 44/278/944/278/9 44/252/10 |
75 | [๖๗-๗๐] พระนันทะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ พระศาสดาจึงพาไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และรับรองนางอัปสร 500 แก่พระนันทะ ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวจึงเรียกท่านว่า ลูกจ้าง ท่านอึดอัด จึงหลีกออกจากหมู่บำเพ็ญเพียรจนได้ บรรลุพระอรหันต์ (นันทสูตร) 44/282/844/282/8 44/256/4 |
76 | [๗๐] " ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนาม คือ กามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุ ถึงความสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ " (นันทสูตร) 44/286/1944/286/19 44/260/4 |
77 | พระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรก แสดงธรรมให้พระเจ้าสุทโธทนะดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระนางปชาบดีโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล .(อ.นันทสูตร) 44/289/2044/289/20 44/263/2 |
78 | ความงามของนางชนบทกัลยาณี (อ.นันทสูตร) 44/290/1444/290/14 44/263/19 |
79 | ความหมายของคำว่า เสี้ยว (อ.นันทสูตร) 44/294/1244/294/12 44/267/6 |
80 | ความหมายของคำว่า ขีณาชาติ (อ.นันทสูตร) 44/297/1444/297/14 44/270/5 |
81 | " อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ผู้ตามเห็นโทษผู้อื่น ผู้สำคัญในการเพ่งโทษเป็นนิจ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ " (อ.นันทสูตร) 44/301/1144/301/11 44/274/3 |
82 | พระศาสดาทรงแสดงสถาปนา พระนันทะให้เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. (อ.นันทสูตร) 44/303/944/303/9 44/276/1 |
83 | [๗๑-๗๕] ภิกษุ 500 รูป มีพระยโสชเป็นหัวหน้า จัดแจงเสนาสนะ พูดคุยกันเสียงดัง พระพุทธเจ้าทรงประณามไล่หนี ภิกษุเหล่านั้น จึงพากันไปจำพรรษาแม่น้ำที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา วัชชีชนบท. และได้บรรลุพระอรหัตทุกรูป เมื่อออกพรรษา แล้ว พระศาสดารับสั่งให้ทั้ง 500 มาเข้าเฝ้า ภิกษุเหล่านั้น มานั่งเข้าอาเนญชสมาธิ อยู่หน้าพระพักตร์จนสว่างพระอานนท์ไม่ทราบจึงกราบทูลพระองค์ถึง 3 วาระ ให้ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ (ยโสชสูตร) 44/304/1244/304/12 44/277/4 |
84 | [๗๕] " ภิกษุใดชนะหนาม คือ กาม ชนะการด่า การฆ่า และการจองจำได้แล้วภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจภูเขา ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุข และทุกข์ ".(ยโสชสูตร) 44/309/144/309/1 44/280/21 |
85 | โจร 500 สมาทานศีล 5 ก่อนตาย จึงไปเกิดในเทวโลก. (อ.ยโสชสูตร) 44/309/1744/309/17 44/281/13 |
86 | พระอรหันต์อยู่ในที่ใด ที่นั้นเป็นภูมิที่น่ารื่นรมย์ใจ (อ.ยโสชสูตร) 44/317/644/317/6 44/288/8 |
87 | ความหมายของคำว่า อาเนญชะ (อ.ยโสชสูตร) 44/318/144/318/1 44/289/2 |
88 | ที่ชื่อว่า อรุณ ได้แก่ แสงสว่างที่ขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้นทีเดียว. (อ.ยโสชสูตร) 44/320/944/320/9 44/290/21 |
89 | [๗๖] พระพุทธองค์ เห็นพระสารีบุตรนั่งสมาธิ จึงทรงเปล่งอุทานว่า " ภิกษุผู้ดุจภูเขาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ ความสิ้นโมหะ เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดี ฉะนั้น " (สารีปุตตสูตร) 44/322/2144/322/21 44/293/4 |
90 | [๗๗] ทรงเห็นพระมหาโมคคัลลานะ นั่งสมาธิอยู่ไม่ไกล จึงทรงเปล่งอุทานว่า " ภิกษุเข้าไปทั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ 6 มีจิตตั้งมั่นแล้วเนือง ๆ พึงรู้นิพพานของตน " (โกลิตสูตร) 44/325/1444/325/14 44/295/17 |
91 | [๗๘] พระศาสดาเรียกพระปิลินทวัจฉะ มาถามถึงวาทะว่าคนถ่อย และทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " เธอทั้งหลายอย่ายกโทษวัจฉภิกษุเลย วัจฉภิกษุย่อมไม่มุ่งโทษ เรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย วัจฉภิกษุเกิดในสกุลพราหมณ์500 ชาติ โดยไม่เจือปนเลย วาทะว่าคนถ่อยนั้น วัจฉภิกษุประพฤติมานาน เพราะฉะนั้น วัจฉภิกษุนี้จึงร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ".(ปิลินทวัจฉสูตร) 44/331/1344/331/13 44/301/9 |
92 | นิสัยวาสนา พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้า ยังละไม่ได้ พระพุทธเจ้าละได้.(อ.ปิลินทวัจฉสูตร) 44/334/2144/334/21 44/304/13 |
93 | [๗๙-๘๑] ท้าวสักกะนิรมิตเพศเป็นนายช่างหูก ถวายบิณฑบาตแด่พระมหา-กัสสปะ (มหากัสสปสูตร) 44/336/1744/336/17 44/306/4 |
94 | เทวบุตร 3 องค์ คือ จูฬรถเทวบุตร มหารถเทวบุตร อเนกวัณณเทวบุตร มีเดชมากกว่าท้าวสักกะ เมื่อเทวบุตรทั้ง 3 คิดจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ ออกมาระหว่างถนน ท้าวสักกะต้องหนีเข้าเรือน . (อ.มหากัสสปสูตร) 44/344/744/344/7 44/313/2 |
95 | [๘๒] " ถ้าว่าภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญแล้วไซร้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมรักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่นผู้คงที่ " (ปิณฑปาตสูตร) 44/350/544/350/5 44/318/17 |
96 | [๘๓] ทรงตำหนิภิกษุทั้งหลายที่คุยกันเรื่องศิลป์ แล้วทรงเปล่งอุทานว่า " ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ ผู้เบาปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา ไม่มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว ชื่อว่า เป็น ภิกษุ " (สิปปสูตร) 44/355/1144/355/11 44/323/16 |
97 | โลกายตศาสตร์ ได้แก่ ศิลปะที่ปฏิเสธปรโลก และนิพพาน เช่นว่า กาขาวเพราะกระดูกขาว นกยางแดงเพราะเลือดแดง (อ.สิปปสูตร) 44/357/644/357/6 44/325/12 |
98 | [๘๔] พระพุทธเจ้าออกจากสมาบัติแล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้เดือดร้อน เป็นอันมาก และถูกความเร่าร้อน ซึ่งเกิดจากราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง แผดเผาอยู่ จึงทรงเปล่งอุทาน (โลกสูตร) 44/359/1244/359/12 44/327/16 |
99 | โลก 3 คือ โอกาสโลก สังขารโลก สัตวโลก (อ.โลกสูตร) 44/361/1544/361/15 44/329/19 |
100 | อุปาทาน 4 อย่าง (อ.โลกสูตร) 44/371/1744/371/17 44/339/13 |
101 | [๘๘] ธรรม 5 ประการ เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ (เมฆิยสูตร) 44/379/1344/379/13 44/346/15 |
102 | [๘๙] เมื่อตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ มีความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นต้น แล้วพึงเจริญธรรม 4 ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป คือ เจริญอสุภะ เพื่อละราคะ , เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท , เจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก , เจริญอนิจจสัญญาเพื่อเพิกถอนความถือว่าเป็นเรา (เมฆิยสูตร) 44/381/444/381/4 44/348/10 |
103 | ที่ใดเคยอยู่อาศัยมาในอดีตชาติ พอเห็นที่นั้นก็จะรู้สึกอยากเข้าไปอยู่.(อ.เมฆิยสูตร) 44/383/1044/383/10 44/350/12 |
104 | ธรรม 15 อย่างทำอินทรีย์ 5 ให้หมดจด. (อ.เมฆิยสูตร) 44/387/944/387/9 44/354/5 |
105 | ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์ (อ.เมฆิยสูตร) 44/391/344/391/3 44/357/15 |
106 | โคจร มี 3 อย่าง คือ โคจรเกี่ยวกับผู้ช่วยสนับสนุน โคจรเกี่ยวกับรักษามารยาทโคจร คือ หลักยึด (อ.เมฆิยสูตร) 44/395/544/395/5 44/361/12 |
107 | ภิกษุใด เห็นอาบัติทุพภาษิต กระทำให้เหมือนอาบัติปาราชิก ชื่อว่ามีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย (อ.เมฆิยสูตร) 44/396/544/396/5 44/362/6 |
108 | ผู้มีศรัทธา มีศีล ปรารถนาให้คนอื่นรู้ว่าเราเป็นผู้มีศรัทธามีศีล ชื่อว่า ผู้มักมาก.(อ.เมฆิยสูตร) 44/398/844/398/8 44/364/11 |
109 | บุคคลผู้มักน้อย 4 จำพวก คือ ผู้มักน้อยในปัจจัย ในธุดงค์ ในปริยัติ ในอธิคม.(อ.เมฆิยสูตร) 44/399/144/399/1 44/365/1 |
110 | ความสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้ 12 อย่าง (อ.เมฆิยสูตร) 44/400/844/400/8 44/366/1 |
111 | วิเวก มี 3 อย่าง คือ กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก. (อ.เมฆิยสูตร) 44/403/1144/403/11 44/369/1 |
112 | ความสนิทสนม (สังสัคคะ) มี 5 อย่าง (อ.เมฆิยสูตร) 44/403/2244/403/22 44/369/14 |
113 | เมื่อเห็นอนิจจลักษณะ ก็เป็นอันชื่อว่าเห็น อนัตตลักษณะ ด้วยเหมือนกัน. .(อ.เมฆิยสูตร) 44/410/1644/410/16 44/376/1 |
114 | เมื่อวิตกเกิดขึ้น จิตก็ไปตามวิตกนั้นแล เพราะยกวิตกนั้นขึ้นสู่อารมณ์.(อ.เมฆิยสูตร) 44/411/1844/411/18 44/377/3 |
115 | [๙๐] " ภิกษุมีกายไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ และถูกถีนมิทธะครอบงำแล้วย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแล้วครอบงำถีนมิทธะ พึงละทุคติทั้งหมดได้ " (อุทธตสูตร) 44/413/1844/413/18 44/379/4 |
116 | [๙๑-๙๒] นายนันทะ ผู้รักษาฝูงโค ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วนิมนต์พระศาสดา เพื่อถวายทาน 7 วัน ขณะกลับมาจากตามส่งเสด็จ เขาถูกฆ่าตายระหว่างทาง (โคปาลสูตร) 44/418/444/418/4 44/383/13 |
117 | [๙๓-๙๔] พระสารีบุตรปลงผมใหม่ ๆ นั่งเข้าสมาธิอยู่ ยักษ์ชื่อนันทะเป็นคู่เวรกับพระเถระ เห็นแล้วเอากระบองตีศีรษะท่าน ยักษ์นั้นได้ตกนรกทันที (ชุณหสูตร) 44/424/1944/424/19 44/390/6 |
118 | [๙๖] " จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคืองจิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน " (ชุณหสูตร) 44/426/1744/426/17 44/391/25 |
119 | อุเบกขาพรหมวิหารสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ผลสมาบัติอันมีอรูปฌานเป็นบาท. สมาบัติทั้ง 3 นี้เป็นสมาบัติที่สามารถรักษากาย .(อ.ชุณหสูตร) 44/428/544/428/5 44/393/14 |
120 | [๙๗-๙๙] พระพุทธองค์ ทรงหลีกเร้นอยู่พระองค์เดียว กับช้างปาลิไลยกะ ทรง-ทราบความปริวิตกแห่งใจของช้างสมกับพระองค์ คือ ยินดีในความสงัด จึงทรงเปล่งอุทาน (นาคสูตร) 44/432/2044/432/20 44/398/4 |
121 | [๑๐๐] " การไม่ว่าร้ายกัน การไม่เบียดเบียนกัน การสำรวมในพระปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต ที่นอน ที่นั่งอันสงัด การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย " (บิณโฑลภารทวาชสูตร) 44/441/1644/441/16 44/406/17 |
122 | พระปิณโฑลภารทวาชะ ท่านออกบวชเพื่อก้อนข้าว กินจุ พระศาสดาจึงไม่อนุญาตให้ท่านใช้ถลกบาตร (อ.บิณโฑลภารทวาชสูตร) 44/442/544/442/5 44/407/5 |
123 | ผ้าชื่อว่า บังสุกุล เพราะเป็นดุจจะเกลือกกลั้วด้วยฝุ่น (อ.บิณโฑลภารทวาชสูตร) 44/443/344/443/3 44/408/5 |
124 | [๑๐๑] " ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่ง ไม่ประมาท เป็นมุนีศึกษาอยู่ในคลองแห่งมุนี คงที่ สงบ มีสติทุกเมื่อ " (สารีปุตตสูตร) 44/447/644/447/6 44/412/14 |
125 | [๑๐๔-๑๐๕] พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ถูกกล่าวหาว่า ฆ่านางสุนทรี มนุษย์ทั้งหลายต่างด่าบริภาษ ภิกษุ พระพุทธองค์ให้ภิกษุทั้งหลายกล่าวโต้ตอบว่า " คนที่พูดไม่จริงหรือคนที่กระทำบาปกรรมแล้วพูดว่ามิได้ทำย่อมเข้าถึงนรก คนแม้ทั้งสองพวกนั้น มีกรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า " .(สุนทรีสูตร) 44/451/844/451/8 44/416/8 |
126 | [๑๐๗] " ชนทั้งหลายผู้ไม่สำรวมแล้ว ย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา เหมือนเหล่าทหารที่เป็นข้าศึกทิ่มแทงกุญชรตัวเข้าสงคราม ด้วยลูกศรฉะนั้น ภิกษุผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย ฟังคำอันหยาบคายที่ชนทั้งหลายเปล่งขึ้นแล้วพึงอดกลั้น ".(สุนทรีสูตร) 44/453/144/453/1 44/417/19 |
127 | พระโพธิสัตว์เคยเป็นนักเลง ชื่อ มุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ สุรภีว่าไม่ใช่พรหมจารี (อ.สุนทรีสูตร) 44/463/1344/463/13 44/426/25 |
128 | บุรพกรรมของพระพุทธเจ้า 12 ข้อ (อ.สุนทรีสูตร) 44/464/244/464/2 44/427/12 |
129 | [๑๐๘] " ชีวิตย่อมไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศกในที่สุด คือ มรณะถ้าว่าผู้นั้นมีบทอันเห็นแล้วไซร้ เป็นนักปราชญ์ ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่งสัตว์มีความโศก ภิกษุผู้มีภวตัณหาอันตัดขาดแล้ว มีจิตสงบมีชาติสงสารสิ้นแล้ว ย่อมไม่มีภพใหม่ " (อุปเสนวังคันตปุตตสูตร) 44/468/1044/468/10 44/431/7 |
130 | ลำดับแห่งขันธ์ธาตุ และอายตนะ เป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่า สงสาร .(อ.อุปเสนวังคันตปุตตสูตร) 44/475/344/475/3 44/437/15 |
131 | [๑๐๙] " ภิกษุผู้จิตสงบระงับ มีตัณหาอันจะนำไปในภพตัดขาดแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว พ้นแล้วจากเครื่องผูกแห่งมาร " (สารีปุตตสูตร) 44/476/344/476/3 44/438/12 |
132 | [๑๑๐] พระเจ้าปเสนทิโกศล ถามพระนางมัลลิกา ถึงผู้เป็นที่รักมากกว่าตนมีหรือ ? พระนางตอบว่าไม่มี พระราชาจึงไปถามพระพุทธเจ้า (ราชสูตร) 44/480/444/480/4 44/442/5 |
133 | [๑๑๐] " ใครๆ ตรวจตราด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว หาได้พบผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหนๆ ไม่เลย สัตว์เหล่าอื่นก็รักตนมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น " (ราชสูตร) 44/481/344/481/3 44/443/4 |
134 | พระนางมัลลิกา เป็นธิดาของนายมาลาการ ได้ถวายขนมแด่พระพุทธเจ้าแล้วได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในวันนั้น. (อ.ราชสูตร) 44/481/1544/481/15 44/443/18 |
135 | [๑๑๑] มารดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีอายุขัย 7 วัน หลังจากประสูติ แล้วย่อมเข้าถึงเทพนิกายชั้นดุสิต. (อัปปายุกาสูตร) 44/485/1644/485/16 44/447/13 |
136 | [๑๑๑] " สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เกิดแล้ว และแม้จักเกิด สัตว์ทั้งหมดนั้นจักละร่างกายไป ท่านผู้ฉลาดทราบความเสื่อมแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้นแล้ว พึงเป็นผู้มีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์ " (อัปปายุกาสูตร) 44/486/144/486/1 44/447/18 |
137 | หญิงในปฐมวัย จะมีราคะกล้า ถ้าตั้งครรภ์โดยมากไม่สามารถตามรักษาครรภ์ได้ดังนั้น มารดาของพระโพธิสัตว์จึงประสูติ ในส่วนที่ 3 ของมัชฌิมวัย แล้วสวรรคต.(อ.อัปปายุกาสูตร) 44/489/1544/489/15 44/451/3 |
138 | [๑๑๒-๑๑๓] บุรุษโรคเรื้อนชื่อ สุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ยากไร้ เข้าไปฟังธรรมพระพุทธเจ้าได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เมื่อออกจากที่นั้น ถูกแม่โคลูกอ่อนชนตาย (สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/491/1444/491/14 44/453/4 |
139 | [๑๑๔] บุรพกรรมของสุปปพุทธะ ที่ทำให้เป็นโรคเรื้อน และยากจน (สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/494/344/494/3 44/455/10 |
140 | [๑๑๔] " บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์โลก เหมือนบุรุษผู้มีจักษุเมื่อทางอื่นที่จะก้าวไป มีอยู่ ย่อมหลีกที่อันไม่ราบเรียบเสียฉะนั้น " (สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/494/2044/494/20 44/456/1 |
141 | อธิบาย อนุปุพพิกถา ทาน ศีล สัคคกถา (อ.สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/498/744/498/7 44/459/6 |
142 | สุปปพุทธะ เรียก ท้าวสักกะว่า เป็นอันธพาล ไม่มียางอาย มาบอกให้ตนกล่าวว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ . (อ.สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/503/1344/503/13 44/463/24 |
143 | บุรพกรรมที่สุปปพุทธะ ถูกวัวขวิดตาย (อ.สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/510/1344/510/13 44/470/10 |
144 | พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า ตครสิขี เป็นหนึ่งในจำนวนพระปัจเจกพุทธเจ้า 500 รูป บุตรของนางปทุมวดี (อ.สุปปพุทธกุฏฐิสูตร) 44/512/2244/512/22 44/472/12 |
145 | [๑๑๕] พระพุทธองค์กำลังจะเข้าไปบิณฑบาต ได้แวะเข้าไปตรัสกับพวกเด็กหนุ่มๆที่กำลังจับปลาอยู่ว่า ถ้ากลัวความทุกข์ อย่าทำบาปทั้งในที่แจ้ง และที่ลับ..(กุมารกสูตร) 44/518/1344/518/13 44/478/4 |
146 | ตั้งแต่เกิดมาจนถึงอายุ 15 ปี เรียกว่า กุมาร อายุ 20 ปี เรียกคนหนุ่มสาว.(อ.กุมารกสูตร) 44/519/1644/519/16 44/479/5 |
147 | [๑๑๖] การที่ตถาคต จะพึงกระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส (อุโปสถสูตร) 44/523/1644/523/16 44/482/26 |
148 | [๑๑๘] ธรรมอันน่าอัศจรรย์ 8 อย่าง ในธรรมวินัยนี้ (อุโปสถสูตร) 44/525/2044/525/20 44/484/22 |
149 | [๑๑๘] " ฝน คือ กิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปกปิดไว้เสีย ฝน คือ กิเลสย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดนั้นอย่างนี้ ".(อุโปสถสูตร) 44/529/344/529/3 44/487/16 |
150 | พระพุทธเจ้าของเรา ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อยู่ 20 ปี (อ.อุโปสถสูตร) 44/534/444/534/4 44/492/11 |
151 | การเกิดขึ้นของแม่น้ำ 5 สาย (อ.อุโปสถสูตร) 44/536/144/536/1 44/494/14 |
152 | ภิกษุต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ย่อมต้องอาบัติตัวอื่นใหม่อีก ย่อมต้องอาบัติมากขึ้นๆ (อ.อุโปสถสูตร) 44/545/1144/545/11 44/503/2 |
153 | [๑๒๒] พระโสณกุฏิกัณณะ ได้กล่าวพระสูตร 16 สูตร ให้พระพุทธองค์ฟังพระองค์ทรงยินดีแล้ว เปล่งอุทานว่า " พระอริยเจ้าย่อมไม่ยินดีในบาป ท่านผู้สะอาดไม่ยินดีในบาป เพราะได้เห็นโทษในโลก เพราะได้รู้ธรรมอันไม่มีอุปธิ "..(โสณสูตร) 44/550/844/550/8 44/508/6 |
154 | โสณอุบาสก เห็นเปรตเคี้ยวกินเนื้อของตนที่หลุดจากกระดูก และเปรตเด็กๆ มีเลือดดำไหลออกจากปาก (อ.โสณสูตร) 44/552/1444/552/14 44/509/13 |
155 | พระโสณะ ยังไม่ได้อุปสมบทเลย ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้ว ก็ได้อภิญญา 6 ภายในพรรษานั้นเอง (อ.โสณสูตร) 44/558/344/558/3 44/514/11 |
156 | พระพุทธเจ้าทรงสถาปนาพระโสณกุฏิกัณณะ ให้เป็นเลิศแห่งบรรดาภิกษุสาวกผู้กล่าววาจาไพเราะ (อ.โสณสูตร) 44/560/2244/560/22 44/517/7 |
157 | [๑๒๓] " ความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในอัตภาพนี้ หรือในอัตภาพอื่น ในความรู้ของตน หรือในความรู้ของผู้อื่น บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด " (กังขาเรวตสูตร) 44/564/344/564/3 44/520/12 |
158 | ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรค ในที่นี้ท่านประสงค์เอาว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ เพราะข้าม คือ ก้าวล่วงความสงสัยทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ (อ.กังขาเรวตสูตร) 44/564/2044/564/20 44/521/8 |
159 | พระกังขาเรวตะ เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกผู้มีฌาน (อ.กังขาเรวตสูตร) 44/566/1444/566/14 44/522/22 |
160 | [๑๒๔] " ความดีคนดีทำได้ง่าย ความดีคนชั่วทำได้ยาก ความชั่วคนชั่วทำได้ง่ายความชั่วพระอริยะทั้งหลายทำได้ยาก " (อานันทสูตร) 44/567/1944/567/19 44/523/23 |
161 | สงฆ์แตกกันด้วยอาการ 5 อย่าง คือ ด้วยกรรม ด้วยอุทเทส ด้วยการชักชวนด้วยการสวดประกาศ ด้วยการจับสลาก (อ.อานันทสูตร) 44/568/1944/568/19 44/524/20 |
162 | [๑๒๕] " ชนทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม อวดอ้างว่าเป็นบัณฑิตพูดตามอารมณ์ พูดยืดยาวตามปรารถนา ย่อมไม่รู้สึกถึงเหตุที่ตนพูดชักนำผู้อื่นนั้น " (สัททายมานสูตร) 44/571/1044/571/10 44/527/10 |
163 | [๑๒๖] " ภิกษุมีกายตั้งมั่นแล้ว มีใจตั้งมั่นแล้ว ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดีควบคุมสตินี้ไว้อยู่ เธอพึงได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลาย ครั้นได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแล้ว พึงถึงสถานที่เป็นที่ไม่เห็นแห่งมัจจุราช ".(จูฬปันถกสูตร) 44/573/1844/573/18 44/530/3 |
164 | พระจูฬปันถกะ เป็นเลิศ 2 ตำแหน่ง คือ ผู้เนรมิตกายสำเร็จด้วยใจ ผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ (อ.จูฬปันถกสูตร) 44/574/1244/574/12 44/530/17 |
165 | [๑๒๘] พระพุทธองค์ ทรงกระทำนิมิตถึงการปรินิพพาน แต่พระอานนท์ถูกมารดลจิตจึงมิได้ทูลวิงวอนให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป (อายุสมโอสัชชนสูตร) 44/580/144/580/1 44/535/3 |
166 | [๑๓๑] " มุนีได้ปลงเครื่องปรุงแต่งภพอันเป็นเหตุสมภพ ทั้งที่ชั่งได้ และชั่งไม่ได้ยินดีแล้วในภายใน มีจิตตั้งมั่น ได้ทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนทหารทำลายเกราะฉะนั้น " (อายุสมโอสัชชนสูตร) 44/583/1644/583/16 44/538/22 |
167 | เจดีย์บรรจุพระธาตุของพระสารีบุตรอยู่ที่เมืองสาวัตถี เจดีย์บรรจุพระธาตุของพระมหาโมคคัลลานะอยู่ที่กรุงราชคฤห์ (อ.อายุสมโอสัชชนสูตร) 44/584/744/584/7 44/539/8 |
168 | เหตุที่พระองค์ทรงปลงอายุสังขาร เพราะว่าหลังจากนั้นไป 3 เดือน จะไม่มีพุทธเวไนย (ผู้ที่พระพุทธเจ้าควรแนะนำ) (อ.อายุสมโอสัชชนสูตร) 44/592/2244/592/22 44/547/20 |
169 | พระพุทธองค์ ทรงใช้สมาบัตินับได้ 2 ล้าน 4 แสนโกฏิทุกวัน (อ.อายุสมโอสัชชนสูตร) 44/594/1044/594/10 44/549/3 |
170 | [๑๓๓] ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน , ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย , กำลังใจพึงทราบได้ ในเพราะอันตราย , ปัญญาพึงทราบได้ด้วยการสนทนา (ปฏิสัลลานสูตร) 44/597/1944/597/19 44/552/10 |
171 | [๑๓๔] " บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่นไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่ควรแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์ ".(ปฏิสัลลานสูตร) 44/599/1544/599/15 44/553/20 |
172 | อย่านำธรรมไปทำการค้า (อ.ปฏิสัลลานสูตร) 44/606/144/606/1 44/559/20 |
173 | [๑๓๕] " สิ่งทั้งปวงได้มีแล้วในกาลก่อน ไม่มีแล้วในกาลนั้น สิ่งทั้งปวงไม่มีแล้วในกาลก่อน ได้มีแล้วในกาลนั้น ไม่มีแล้วจักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้ ".(อาหุสูตร) 44/607/144/607/1 44/560/15 |
174 | แม้พระพุทธเจ้าจะพรรณนา พระพุทธคุณ โดยไม่ตรัสอย่างอื่น ตลอดกัป ก็ยังพรรณนาไม่หมด (อ.อาหุสูตร) 44/609/1344/609/13 44/563/1 |
175 | [๑๓๘] พระพุทธองค์ ทรงเปรียบพวกเดียรถีย์ เหมือนคนตาบอดคลำช้าง.(ปฐมกิรสูตร) (ปฐมนานาติตถิยสูตร 44/614/444/614/4 44/567/10 |
176 | [๑๔๐] " ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งข้องอยู่ในทิฏฐิ นิสัยเหล่านี้ ยังไม่ถึงนิพพาน เป็นที่หยั่งลง ย่อมจมอยู่ในระหว่างแล " (ทุติยกิรสูตร) (ทุติยนานาติตถิยสูตร) 44/628/1644/628/16 44/580/17 |
177 | [๑๔๒] ".... หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัดถูกมานะผูกพันไว้ กระทำความแข่งดีกันในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ".(ติตถสูตร) (ตติยนานาติตถิยสูตร) 44/633/644/633/6 44/586/5 |
178 | [๑๔๓] " ผู้ใดกำจัดวิตกทั้งหลายได้แล้ว กำหนดดีแล้วไม่มีส่วนเหลือในภายใน ผู้นั้นล่วงกิเลสเครื่องข้องได้แล้ว มีความสำคัญนิพพานอันเป็นอรูป ล่วงโยคะ 4 ได้แล้วย่อมไม่กลับมาสู่ชาติ " (สุภูติสูตร) 44/637/1144/637/11 44/589/18 |
179 | พระสุภูติเป็นเลิศภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลส (อ.สุภูติสูตร) 44/638/544/638/5 44/590/10 |
180 | [๑๔๔] ทรงแสดงส่วนสุดทั้ง 2 คือ การศึกษาอันเป็นสาระ ศีล พรต ชีวิต พรหม-จรรย์ การอุปัฏฐากอันเป็นสาระ นี้เป็นส่วนสุดที่ 1 การประกอบตนพัวพันด้วยความสุขในกาม นี้เป็นส่วนสุดที่ 2 (คณิกาสูตร) 44/641/544/641/5 44/593/5 |
181 | [๑๔๕] พระพุทธองค์ ทรงดูแมลงเม่าบินเข้าเปลวประทีป ถึงความพินาศ แล้วทรงเปล่งอุทานว่า " สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ไม่ถึงธรรมอันเป็นสาระย่อมพอกพูนเครื่องผูกใหม่ ๆ ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว ฟังแล้วอย่างนี้ เหมือนฝูงแมลงตกลงสู่ประทีปน้ำมันฉะนั้น " (อุปาติสูตร) 44/648/1944/648/19 44/601/4 |
182 | [๑๔๖] พวกเดียรถีย์ เหมือนแสงหิ่งห้อยย่อมสว่าง ตราบเท่าที่ พระพุทธเจ้ายัง ไม่อุบัติขึ้นในโลก (อุปปัชชันติสูตร) 44/654/1144/654/11 44/606/20 |
183 | [๑๔๗] พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่พระลกุณฐกภัททิยะอยู่จิตของพระลกุณฐก-ภัททิยะก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น พระพุทธเจ้าเห็นดังนั้น แล้วทรงเปล่งอุทานว่า " บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวง ในเบื้องบนในเบื้องต่ำ ไม่ตามเห็นว่าเราเป็นนี้บุคคลพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะที่ตนยังไม่เคยข้าม เพื่อความไม่เกิดอีก" (ปฐมภัททิยสูตร) 44/660/544/660/5 44/612/5 |
184 | [๑๔๘] พระสารีบุตรแสดงธรรมอยู่ ไม่ทราบว่าพระลกุณฐกภัททิยะ บรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านก็แสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไปอีก (ทุติยภัททิยสูตร) 44/664/2044/664/20 44/617/4 |
185 | [๑๔๙] มนุษย์ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลาหมกมุ่น มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย พระพุทธองค์ทราบแล้วทรงเปล่งอุทาน..(ปฐมกามสูตร) 44/668/744/668/7 44/620/12 |
186 | [๑๕๐] " สัตว์ทั้งหลายผู้มืดมนเพราะกาม ถูกตัณหาซึ่งเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้แล้วถูกเครื่องมุงคือ ตัณหา ปกปิดไว้แล้ว ถูกกิเลสและเทวบุตรมารผูกพันไว้แล้ว ย่อมไปสู่ชรา และมรณะ เหมือนปลาในปากไซ เหมือนลูกโคที่ยังดื่มนม ไปตามแม่โคฉะนั้น " (ทุติยกามสูตร) 44/672/1044/672/10 44/624/14 |
187 | " คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภย่อมครอบงำนรชนในคราวที่เขามีความมืด " (อ.ทุติยกามสูตร) 44/672/2044/672/20 44/625/5 |
188 | บุคคลที่ถูกกิเลสมารผูกพันไว้ ด้วยอารมณ์ใด ก็เป็นอันชื่อว่า ถูกเทวบุตรมารผูกพันไว้ด้วยอารมณ์นั้น. (อ.ทุติยกามสูตร) 44/674/444/674/4 44/626/10 |
189 | [๑๕๑] พระพุทธองค์ ประกาศคุณ พระลกุณฐกภัททิยะ ว่ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพื่อไม่ให้ภิกษุอื่นดูหมิ่นท่าน (ลกุณฐกภัททิยสูตร) 44/675/744/675/7 44/627/10 |
190 | [๑๕๒] " พระอริยบุคคลใดไม่มีอวิชชาอันเป็นมูลราก ไม่มีแผ่นดิน คือ อาสวะ นิวรณ์และอโยนิโสมนสิการ ไม่มีเถาวัลย์ คือ มานะ และอติมานะ เป็นต้น ใบ คือ คือ ความมัวเมา ประมาท มายา และสาเถยยะ เป็นต้น จะมีแต่ที่ไหนใครเล่าจะควรนินทาพระอริยบุคคลนั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก แม้เทวดาก็ชมถึงพรหมก็ย่อมสรรเสริญพระอริยบุคคลนั้น " (ตัณหักขยสูตร) 44/681/344/681/3 44/632/18 |
191 | [๑๕๓] " ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า และความตั้งอยู่ (ในสงสาร) ก้าวล่วง ซึ่งที่ต่อ คือ ตัณหาทิฏฐิ และลิ่ม คือ อวิชชาได้ แม้โลกคือ หมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวโลกย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้น ผู้ไม่มีตัณหา เป็นมุนี เที่ยวไปอยู่ " (ปปัญจขยสูตร) 44/684/1144/684/11 44/636/1 |
192 | ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ.(อ.ปปัญจขยสูตร) 44/685/144/685/1 44/636/11 |
193 | สุภสัญญา เป็นเครื่องหมายของราคะ , วิตกเป็นเครื่องหมายของมานะ.(อ.ปปัญจขยสูตร) 44/685/544/685/5 44/636/16 |
194 | สัญญา ที่เกิดพร้อมกับธรรมเครื่องเนิ่นช้า ชื่อว่า ปปัญจสัญญา(อ.ปปัญจขยสูตร) 44/685/1044/685/10 44/636/21 |
195 | [๑๕๔] พระพุทธองค์ทรงเห็น พระมหากัจจานะนั่งสมาธิอยู่ จึงทรงเปล่งอุทานเกี่ยวเนื่องด้วยกายคตาสติ (มหากัจจานสูตร) 44/687/1644/687/16 44/639/4 |
196 | [๑๕๕] พวกพราหมณ์ บ้านถูนะ เอาแกลบและหญ้าถมบ่อน้ำ เพื่อไม่ให้พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ได้น้ำดื่มแต่พอพระอานนท์เดินไปถึงบ่อน้ำ หญ้าและแกลบก็ถูกน้ำดันออกมา น้ำเต็มบ่อใสแจ๋ว ท่านจึงตักไปถวายพระพุทธองค์ (อุทปานสูตร) 44/692/1544/692/15 44/644/4 |
197 | น้ำที่ล้นจากบ่อ ทำให้สระ คู บึงในบ้านนั้นมีน้ำเต็มไปหมด ชาวบ้านจึงพากันไปขอขมาต่อพระพุทธองค์ (อ.อุทปานสูตร) 44/698/644/698/6 44/649/16 |
198 | [๑๕๗] พระนางสามาวดี กับบริวาร 500 บางคน เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามีพระอนาคามี ก็มี ถูกไฟเผาตายรวมกันในปราสาท (อุเทนสูตร) 44/702/444/702/4 44/653/4 |
199 | บุรพกรรมที่พระนางสามาวดีกับหญิง 500 ต้องถูกไฟไหม้ถึง 100 อัตภาพ.(อ.อุเทนสูตร) 44/706/1744/706/17 44/657/7 |
200 | [๑๕๘] " อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจาย-ตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ " .(ปฐมนิพพานสูตร) 44/711/1244/711/12 44/661/12 |
201 | " เมื่อทุกข์มี ชื่อว่าสุข ก็มีฉันใด เมื่อภพมีวิภพ สภาวะที่ปราศจากภพ ก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น เมื่อความร้อนมี ความเย็นก็มีแม้ฉันใด เมื่อไฟ 3 กอง มีพระนิพพานก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น เมื่อบาปธรรมมี กัลยาณธรรมก็มีฉันใดเมื่อความเกิดมีความไม่เกิด ก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น " (อ.ปฐมนิพพานสูตร) 44/715/1244/715/12 44/665/14 |
202 | [๑๕๙] " ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่า นิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ " (ทุติยนิพพานสูตร) 44/720/344/720/3 44/669/14 |
203 | [๑๖๐] " ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้วมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว อันกระทำปัจจัยไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้วเป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย... " (ตติยนิพพานสูตร) 44/722/1844/722/18 44/672/11 |
204 | [๑๖๑] " ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหา และทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัย เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไปเมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและการอุปบัติโลกนี้ โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ".(จตุตถนิพพานสูตร) 44/727/1844/727/18 44/677/11 |
205 | [๑๖๒] " พระพุทธเจ้ารับสั่งให้นายจุนทะถวายเนื้อสุกรอ่อน เฉพาะพระองค์ ให้ถวายอาหารอื่นแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วให้ฝังเนื้อสุกรอ่อนที่เหลือเสีย เพราะไม่มีใครสามารถให้ย่อยได้ นอกจากพระพุทธเจ้า " (จุนทสูตร) 44/732/444/732/4 44/682/4 |
206 | [๑๖๘] บิณฑบาตที่ ถวายพระพุทธเจ้าทั้ง 2 คราว มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเท่าๆกัน (จุนทสูตร) 44/736/544/736/5 44/685/18 |
207 | [๑๖๘] " บุญย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทาน บุคคลผู้สำรวมย่อมไม่ก่อเวร ส่วนท่านผู้ฉลาดย่อมละบาป ครั้นละบาปแล้วย่อมปรินิพพาน เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ " (จุนทสูตร) 44/736/1644/736/16 44/686/6 |
208 | นายจุนทะ เป็นพระโสดาบัน ตั้งแต่พบพระพุทธเจ้าครั้งแรก (อ.จุนทสูตร) 44/737/1244/737/12 44/686/21 |
209 | เทวดาในมหาทวีปทั้ง 4 ใส่โอชารสลงในสุกรอ่อนนั้น เพราะฉะนั้น ใครๆ อื่นไม่อาจจะให้เนื้อสุกรอ่อนนั้น ย่อยได้โดยง่าย (อ.จุนทสูตร) 44/738/1544/738/15 44/687/23 |
210 | เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปปรินิพพานที่กรุงกุสินารา (อ.จุนทสูตร) 44/741/1544/741/15 44/690/19 |
211 | การนอนมี 4 อย่าง (อ.จุนทสูตร) 44/743/2144/743/21 44/692/19 |
212 | เหตุที่ทานทั้ง 2 คือ ของนางสุชาดา และของนายจุนทะ มีผลเสมอกัน(อ.จุนทสูตร) 44/746/1544/746/15 44/695/12 |
213 | [๑๗๐] โทษแห่งศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล 5 ประการ (ปาฏลิคามิยสูตร) 44/750/1744/750/17 44/699/14 |
214 | [๑๗๐] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ของบุคคลผู้มีศีล 5 ประการ (ปาฏลิคามิยสูตร) 44/751/1444/751/14 44/700/9 |
215 | [๑๗๒] เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยใหญ่ จะรักษาพื้นที่ ที่จะสร้างเมืองตามฐานะ .(ปาฏลิคามิยสูตร) 44/752/1844/752/18 44/701/14 |
216 | [๑๗๓] พึงอุทิศบุญให้แก่เทวดาบริเวณที่อยู่อาศัย (ปาฏลิคามิยสูตร) 44/755/344/755/3 44/704/10 |
217 | บุคคลผู้ไม่มีศีลนั้นมี 2 อย่าง คือ เพราะไม่สมาทาน หรือทำลายศีลที่สมาทานแล้ว ใน 2 อย่างนั้น ข้อต้นไม่มีโทษ เหมือนอย่างข้อที่ 2 ที่มีโทษแรงกว่า .(อ.ปาฏลิคามิยสูตร) 44/768/1844/768/18 44/716/21 |
218 | ความหมายของ คำว่า อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (อ.ปาฏลิคามิยสูตร) 44/770/1744/770/17 44/718/16 |
219 | เมื่อถวายอาวาสทาน ก็เป็นอันชื่อว่า ถวายทานทั้งปวงทีเดียว (อ.ปาฏลิคามิยสูตร) 44/772/1744/772/17 44/720/11 |
220 | เทวดาผู้มีศรัทธา จะอยู่กับตระกูลที่มีศรัทธา (อ.ปาฏลิคามิยสูตร) 44/776/144/776/1 44/723/7 |
221 | [๑๗๕] พระนาคสมาละติดตามพระพุทธเจ้าไปถึงทาง 2 แพร่งแห่งหนึ่ง พระองค์บอกให้ไปทางหนึ่ง พระนาคสมาละจะไปอีกทางหนึ่ง และได้วางบาตรและจีวรของพระพุทธองค์ไว้ที่พื้นดิน แล้วเดินแยกไป ท่านถูกโจรที่อยู่ระหว่างทาง ทุบเตะ บาตรก็แตก สังฆาฏิก็ขาด (ทวิธาปถสูตร) 44/780/1644/780/16 44/727/13 |
222 | [๑๗๖] หลานอันเป็นที่รักของนางวิสาขาตายลง นางวิสาขาจึงมีผ้าเปียก ผมเปียกไปเข้าเฝ้า พระศาสดาตรัสถึงสิ่งที่รักมีเท่าไร ก็ทุกข์มากเท่านั้น ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ (วิสาขาสูตร) 44/785/1444/785/14 44/732/11 |
223 | การทะเลาะ การวิวาท ความร่ำไร และความเศร้าโศก อันเกิดแต่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ย่อมมาพร้อมด้วยความตระหนี่ (อ.วิสาขาสูตร) 44/791/1044/791/10 44/738/1 |
224 | ไม่พึงทำ คือ ไม่พึงให้สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก คือ ความรัก ให้เกิดในธรรมมีรูป เป็นต้น โดยที่สุด แม้ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนาในโลกไหนๆ.(อ.วิสาขาสูตร) 44/792/1244/792/12 44/739/4 |
225 | [๑๗๗] พระทัพพมัลละบุตร เข้าเฝ้ากราบทูลลาเพื่อปรินิพพาน ทำอภินิหารต่างๆ แล้วเข้าสมาบัติ มีเตโชธาตุเป็นอารมณ์ อยู่ในอากาศ เผาสรีระ เถ้าและเขม่าไม่ปรากฏเลย (ปฐมทัพพสูตร) 44/792/2044/792/20 44/739/12 |
226 | [๑๗๗] " รูปกายได้สลายแล้ว สัญญาดับแล้ว เวทนาทั้งปวงเป็นธรรมชาติเย็นแล้วสังขารทั้งหลายสงบแล้ว วิญญาณถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ " (ปฐมทัพพสูตร) 44/793/1444/793/14 44/740/7 |
227 | พระขีณาสพทั้งหลาย เมื่ออายุสังขารยังไม่สิ้นไป ย่อมไม่จงใจพยายามเพื่อปรินิพพาน (อ.ปฐมทัพพสูตร) 44/796/544/796/5 44/742/20 |
228 | การแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ไม่ตรัสห้ามด้วยอำนาจการอธิษฐาน (อ.ปฐมทัพพสูตร) 44/798/1044/798/10 44/744/19 |
229 | [๑๗๘] " คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ ข้ามเครื่องผูก คือ กามโอฆะได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุขอันหาความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติเหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะสำริด เป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก ดับสนิทย่อมรู้ไม่ได้ฉะนั้น " (ทุติยทัพพสูตร) 44/800/944/800/9 44/746/15 |
230 | อรรถกถาอุทาน ชื่อ ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาลาจารย์ ผู้อยู่ในพทรติฏฐวิหารเป็นผู้พจนาไว้ (อ.ทุติยทัพพสูตร) 44/805/444/805/4 44/751/7 |