1 | คนฆ่าโคขายเลี้ยงชีพตลอด 55 ปี เมื่อกรรมตามทัน เขาคลานร้องไปท่ามกลางเรือนเหมือนโค ตายไปเกิดในอเวจี (บุตรของนายโคฆาตก์) 43/7/1 43/4/16 |
2 | บุตรทำบุญให้บิดาที่ยังมีชีวิตอยู่ (บุตรของนายโคฆาตก์) 43/8/1 43/7/5 |
3 | พราหมณ์คนหนึ่ง คิดสร้างกุศลคราวละน้อยๆ โดยลำดับ ตั้งแต่ถากหญ้าบริเวณที่ที่พระยืนห่มจีวร เกลี่ยทรายสร้างมณฑป และสร้างศาลา แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายทาน พระศาสดาทราบความเป็นไปที่เขากระทำแล้วแสดงธรรม ในการจบเทศนา พราหมณ์ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.(พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง) 43/13/7 43/11/6 |
4 | พระติสสะห่วงใยในจีวร ตายแล้วไปเกิดเป็นเล็นเฝ้าจีวร (พระติสสเถระ) 43/17/8 43/14/7 |
5 | " สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้น แต่เหล็กแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด, กรรมทั้งหลายของตน ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญา ชื่อว่าโธนา ไปสู่ทุคติฉันนั้น " (พระติสสเถระ) 43/19/8 43/15/22 |
6 | พระโลฬุทายีอวดอ้างว่าเป็นพระนักเทศน์ เมื่อพวกเขาอาราธนาแล้วก็เทศไม่ออกสั่นอยู่ มหาชนจึงไล่เอาก้อนดิน ท่อนไม้ ตามไปจนตกหลุมส้วม (พระโลฬุทายีเถระ) 43/21/6 43/17/6 |
7 | การเรียนปริยัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ทำการท่องปริยัติ นั้น เป็นมลทินแท้.(พระโลฬุทายีเถระ) 43/23/18 43/19/23 |
8 | สตรีเปรียบเหมือนของ 5 อย่าง คือ แม่น้ำ หนทาง โรงดื่มสุรา ที่พัก บ่อน้ำ.(กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง) 43/27/1 43/21/18 |
9 | ความประพฤติชั่ว เป็นมลทินของสตรี , ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้.(กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง) 43/27/13 43/22/6 |
10 | พระจูฬสารี เป็นลูกศิษย์ พระสารีบุตร ได้ประกอบเวชกรรมแล้วได้โภชนะประณีตแล้วจะถวายพระสารีบุตรพระเถระนิ่งเฉย แล้วหลีกไป (ภิกษุชื่อจูฬสารี) 43/30/7 43/23/17 |
11 | อุบาสก 5 คน แต่ละคนย่อมรักษาศีล ข้อเดียว ในศีล 5 แล้วทุ่มเถียงกันว่า ใครทำได้โดยยาก พระศาสดาตรัสว่า " ศีลทั้งหมดเป็นของรักษาไว้โดยยากทั้งนั้น ".(อุบาสก ๕ คน) 43/35/6 43/27/5 |
12 | พระติสสะ ชอบพูดโอ้อวดว่าญาติของตนให้ทาน แก่ภิกษุทั้งหลาย และเที่ยวตำหนิทานของอริยสาวก 5 โกฏิ ในกรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายจึงไปสืบข่าวดูรู้ว่าพระติสสะพูดเท็จ จึงทราบทูลพระศาสดา. (ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ) 43/38/6 43/29/9 |
13 | บุคคลใดเห็นเขาให้ทาน ประการใดแก่ผู้อื่น ไม่ให้แก่ตน แล้วเป็นผู้เก้อเขิน ฌานวิปัสสนา มรรค ผล ย่อมไม่เกิดขึ้น แก่บุคคลนั้น (ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ) 43/40/4 43/31/9 |
14 | ความดำริว่า " ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้เป็นคนมั่งมี ผู้นี้เป็นคนยากจน ,เราจักแสดงธรรมให้ยวดยิ่งแก่ผู้นี้ จักไม่แสดงแก่ผู้นี้ " ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย . (อุบาสก ๕ คน) 43/42/6 43/32/20 |
15 | ประวัติเดิมของอุบาสก 5 คน ซึ่งนั่งฟังธรรมด้วยพฤติกรรมต่างกัน..(อุบาสก ๕ คน) 43/43/3 43/33/16 |
16 | คำว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ อันสัตว์เหล่านี้ไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้ (อุบาสก ๕ คน) 43/44/17 43/34/20 |
17 | " ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี , ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี , ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มีแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี " (อุบาสก ๕ คน) 43/45/16 43/35/11 |
18 | ที่หลังบ้านของเมณฑกเศรษฐี มีแพะทองคำผุดขึ้นมาจากดินและมีกลุ่มด้าย5 สี ปิดปากแพะเหล่านั้นไว้ ถ้าเอากลุ่มด้ายออกจะมี เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ผ้า เงินทองไหลออกมา เพียงพอแก่คนทั้งชมพูทวีป (เมณฑกเศรษฐี) 43/47/14 43/36/15 |
19 | บุรพกรรมของเมณฑกเศรษฐี (เมณฑกเศรษฐี) 43/48/5 43/37/9 |
20 | " โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมโปรยโทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ , แต่ว่าย่อม ปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพ ด้วยเครื่องปกปิด ฉะนั้น " 43/58/14 43/65/16 |
21 | " อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอยดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษเป็นนิตย์ , บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่งอาสวะ ".(พระอุชฌานสัญญีเถระ) 43/60/19 43/47/6 |
22 | รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี สมณะภายนอกไม่มี , สังขารทั้งหลาย (ชื่อว่า )เที่ยงไม่มี , กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.(เรื่องสุภัททปริพาชก) 43/63/9 43/48/18 |
23 | พวกอำมาตย์ที่ไต่สวนความผิดแล้ว ตัดสินความโดยละเอียด ตามสมควรแก่ความผิดนั้นแหละ เป็นผู้ชื่อว่า ตั้งอยู่ในธรรม (มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย) 43/68/20 43/53/7 |
24 | " บุคคลไม่ชื่อว่า เป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียงพูดมาก คือ (ส่วน) ผู้มีความเกษมไม่มีเวร ไม่มีภัย เรากล่าวว่าเป็นบัณฑิต " (ภิกษุฉัพพัคคีย์) 43/71/20 43/55/18 |
25 | เทวดาไม่ยินดีกับผู้สวดมนต์แบบไม่รู้เรื่อง (พระเอกุทานเถระ) 43/73/7 43/56/13 |
26 | บุคคลไม่ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน การทรงจำและบอกสอน เป็นต้น แต่ชื่อว่า ตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี (พระเอกุทานเถระ) 43/75/9 43/58/12 |
27 | " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกว่า เถระ เพราะความเป็นคนแก่ เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ, ส่วนผู้ใดแทงตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน , ผู้นี้ชื่อว่า เป็นเถระ " (พระลกุณฏกภัททิยเถระ) 43/76/18 43/59/18 |
28 | " เราไม่เรียกพวกเธอว่า คนดี เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน ส่วนผู้ใดตัดธรรมมีความริษยา เป็นต้น เหล่านี้ ได้แล้วด้วยอรหัตมรรค ผู้นี้แหละชื่อว่า คนดี ".(ภิกษุมากรูป) 43/79/17 43/61/17 |
29 | ผู้พูดเท็จ จะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้น เป็นต้น เท่านั้นหามิได้ส่วนผู้ใด ยังบาปน้อยหรือ ใหญ่ให้สงบแล้วตั้งอยู่ ผู้นี้แหละ ชื่อว่าสมณะ.(ภิกษุชื่อหัตถกะ) 43/82/15 43/63/10 |
30 | " บุคคลชื่อว่า เป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่นหามิได้ , บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่า เป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น คือ ผู้ใดในศาสนานี้ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ (รู้ธรรม) ในโลกด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแลเราเรียกว่าภิกษุ " (พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง) 43/85/1 43/65/5 |
31 | " ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป ท่านทั้งหลายจงทำอนุโมทนา ในที่ทั้งหลาย มีโรงภัต เป็นต้น ตามสบายเถิด จงกล่าวอุปนิสินนกถา (ทักทายตามสมควร)เถิด " (เดียรถีย์) 43/86/15 43/66/14 |
32 | " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า มุนี เพราะเหตุสักว่าเป็นผู้นิ่ง, เพราะคนบางพวกไม่รู้ ย่อมไม่พูด , บางพวกไม่พูดเพราะความเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า, บางพวกไม่พูดเพราะตระหนี่ว่า คนเหล่าอื่นอย่ารู้เนื้อความอันดียิ่งนี้ของเราเพราะฉะนั้น คนไม่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุสักว่าเป็นคนนิ่ง แต่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะยังบาปให้สงบ ".(เดียรถีย์) 43/87/4 43/67/2 |
33 | " บุคคลไม่ชื่อว่า เป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียดเบียนสัตว์ คือ บุคคลที่เรากล่าวว่าเป็นอริยะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง " (พรานเบ็ดชื่อ อริยะ) 43/91/5 43/70/2 |
34 | " ภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย อย่าเพิ่งถึงความวางใจ ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยอันได้สมาธิ ด้วยอันนอนในที่สงัด หรือ (ด้วยเหตุเพียงรู้ว่า) เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว " (ภิกษุมากรูป) 43/93/5 43/71/10 |
35 | พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก , ชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติเพ่งพินิจย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร (ภิกษุ ๕๐๐ รูป) 43/99/18 43/77/9 |
36 | " เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ , ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด " .(ภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก) 43/103/19 43/80/9 |
37 | " เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร ทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด " .(ภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก) 43/104/20 43/81/3 |
38 | " เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความหน่ายในทุกข์ นั้นเป็นทางแห่งความหมดจด " .(ภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก) 43/105/11 43/81/13 |
39 | " บุคคลใด ย่อมปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อนไว้ (ทำ) ภายหลัง , บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนภายหลัง , เหมือนมาณพผู้หักกิ่งไม้กุ่มฉะนั้น " .(พระปธานกัมมิกติสสเถระ) 43/107/18 43/83/15 |
40 | " ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา " (พระปธานกัมมิกติสสเถระ) 43/108/11 43/83/23 |
41 | " บุรพกรรมของสูกรเปรต ซึ่งมีตัวเป็นคน หัวเป็นหมู หางเกิดที่ปาก หมู่หนอนไหลออกจากปากนั้น. (สูกรเปรต) 43/110/14 43/85/12 |
42 | พระโปฐิละ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ในศาสนาของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ พระศาสดาทรงทำให้สังเวช โดยตรัสเรียกว่า ใบลานเปล่า ท่านจึงไปเรียนกรรมฐานกับสามเณรอายุ 7 ขวบ สามเณรสอนอุปมาด้วย การจับเหี้ย ในจอมปลวกซึ่งมี 6 ช่อง (พระโปฐิลเถระ) 43/118/6 43/91/6 |
43 | ภิกษุบวชเมื่อแก่หลายรูปเป็นสหายกัน อาศัยบิณฑบาตกับบุตรและภรรยาเก่าเมื่อภรรยาเก่าของสหายผู้หนึ่งตายไป ภิกษุแก่เหล่านั้นก็พากันร้องไห้ พระศาสดาจึงทรงแสดงกาชาดก (พระเถระแก่) 43/123/6 43/94/19 |
44 | พระสารีบุตร บอกกัมมัฏฐานไม่ถูกกับอัธยาศัยของลูกศิษย์ จึงไม่อาจยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ ต้องพามาเข้าพบพระพุทธเจ้า (สัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ) 43/127/6 43/98/6 |
45 | พ่อค้าบรรทุกผ้าด้วยเกวียน 500 เล่ม จากพาราณสี มาสู่กรุงสาวัตถี ด้วยตั้งใจจะอยู่ขายผ้าที่เมืองนี้ พระอานนท์ ไปบอกความที่เขาจะมีอายุได้อีก 7 วัน เท่านั้นไม่ควรประมาท พ่อค้านั้นถึงความสังเวช จึงนิมนต์ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานตลอด 7 วัน ในกาลจบเทศนา พ่อค้านั้นบรรลุโสดาปัตติผล.(พ่อค้ามีทรัพย์มาก) 43/132/6 43/102/5 |
46 | " ก็ผู้ใดไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่สิ้น 100 ปี , ความเป็นอยู่วันเดียว ของผู้เห็นอมตบท ยังประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น " (นางกิสาโคตมี) 43/136/8 43/105/7 |
47 | " มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตร และปศุสัตว์ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไปเหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น " (นางกิสาโคตมี) 43/137/3 43/106/1 |
48 | " ก็ผู้ใดไม่เห็นความเกิด และความเสื่อม พึงเป็นอยู่สิ้น 100 ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความเกิด และความเสื่อมยังประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น " (นางปฏาจารา) 43/139/8 43/107/8 |
49 | เมื่อมีคนตายมาก อมนุษย์ มากันมาก โรคก็ย่อมเกิดขึ้น (บุรพกรรมของพระองค์) 43/145/14 43/112/13 |
50 | เมื่อสวดรัตนสูตร อาชญาจักแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล(บุรพกรรมของพระองค์) 43/147/18 43/114/8 |
51 | เมื่อเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกันแล้ว อมนุษย์ทั้งหลายก็หนีไปโดยมาก.(บุรพกรรมของพระองค์) 43/149/16 43/116/1 |
52 | น้ำมนต์แห่งพระปริตรมีอำนาจมาก (บุรพกรรมของพระองค์) 43/149/20 43/116/4 |
53 | การบูชา ฝนโบกขรพรรษ การปรับทาง การยกฉัตรและธง เป็นผลจากทานเล็กน้อย ตอนพระโพธิสัตว์เป็นสังขพราหมณ์ (บุรพกรรมของพระองค์) 43/154/1 43/119/18 |
54 | นางกุมาริกากับแม่ไก่ ต่างจองเวรกันไป 500 ชาติ (กุมาริกากินไข่ไก่) 43/159/7 43/123/12 |
55 | ภิกษุชาวนครภัททิยะ ได้เป็นผู้ขวนขวายในการประดับเขียงเท้า พระพุทธองค์ทรงติเตียน แล้วแสดงธรรม (ภิกษุชาวนครภัททิยะ) 43/162/7 43/125/13 |
56 | การประดับร่ม ประดับรองเท้า บาตร ประคดเอว อังสะ ชื่อว่าเป็นกิจไม่ควรทำของภิกษุ (ภิกษุชาวนครภัททิยะ) 43/163/18 43/126/18 |
57 | " บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ทั้งสอง และฆ่าแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้าพนักงาน เก็บส่วยแล้ว เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์ ไปอยู่ ".(พระลกุณฏกภัททิยเถระ) 43/165/19 43/128/9 |
58 | มารดา คือ ตัณหา บิดา คือ อัสมิมานะ (การถือว่าเป็นเรา) (พระลกุณฏกภัททิยเถระ) 43/166/4 43/128/14 |
59 | เจริญพุทธานุสสติป้องกันอมนุษย์ได้ (นายทารุสากฏิกะ) 43/170/7 43/131/11 |
60 | จิตอันชนเหล่าใดอบรมดีแล้ว โดยฐานะ 6 กิจแห่งการรักษา และป้องกันอย่างอื่นหรือด้วยมนต์และโอสถ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น. (นายทารุสากฏิกะ) 43/172/5 43/133/3 |
61 | ราชโอรสในแคว้นวัชชี สละราชสมบัติออกบวช ขณะทำความเพียรอยู่ ได้ยินเสียงประโคมดนตรี และมหรสพ ของชาวเมือง จึงเกิดความไม่ยินดียิ่งบีบคั้นตำหนิตนเองที่มาอยู่ป่า เทวดาในป่านั้นได้ตักเตือนให้สังเวช (ภิกษุวัชชีบุตร) 43/176/3 43/135/6 |
62 | " การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่ปกครองไม่ดีให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน เป็นทุกข์ ผู้เดินทางไกล ก็ถูกทุกข์ติดตาม , เพราะฉะนั้นไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์ติดตาม " (ภิกษุวัชชีบุตร) 43/178/4 43/136/19 |
63 | " ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคะ จะไปประเทศใด ๆย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้นๆ ทีเดียว " (จิตตคฤหบดี) 43/180/20 43/139/2 |
64 | อนาถบิณฑิกเศรษฐี เข้าปรึกษาพระพุทธเจ้า ก่อนส่งลูกสาวไปสู่สกุลสามีผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ (นางจูฬสุภัททา) 43/182/7 43/140/6 |
65 | นางจูฬสุภัททาระลึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลาย แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าประมุขด้วยการซัดดอกมะลิ 8 กำ ไปในอากาศ (นางจูฬสุภัททา) 43/186/2 43/143/16 |
66 | พระเถระนั้นได้เป็นที่รู้จักในบริษัท 4 ว่า นั่งอยู่ผู้เดียว เดินผู้เดียว ยืนแต่ผู้เดียวพระศาสดาให้สาธุการแล้วตรัส อานิสงส์ในวิเวก (พระเถระชื่อเอกวิหารี) 43/190/6 43/146/12 |
67 | ภิกษุนั่งไม่ละมูลกรรมฐาน แม้ในท่ามกลางแห่งภิกษุตั้งพัน ด้วยการทำไว้ในใจนั้น ชื่อว่า นั่งคนเดียว (พระเถระชื่อเอกวิหารี) 43/190/20 43/147/2 |
68 | นางสุนทรี คบกับพวกเดียรถีย์ จะทำลายชื่อเสียงของพระพุทธเจ้า นางทำทีไปอยู่ในเชตวัน และกลับออกมาตอนเช้า เดียรถีย์จ้างคนฆ่านางหมกไว้ที่กองดอกไม้ข้างพระคันธกุฎี พวกราชบุรุษจับโจรได้แล้วสอบสวนความจริง พระราชาสั่งให้พวกเดียรถีย์ ประกาศโทษของตนทั่วเมือง (นางปริพาชิกาชื่อสุนทรี) 43/195/7 43/150/13 |
69 | " ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก , หรือแม้ผู้ใดทำแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ทำชนแม้ทั้งสองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน " (นางปริพาชิกาชื่อสุนทรี) 43/198/7 43/152/23 |
70 | " ชนเป็นอันมาก มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ เป็นผู้มีธรรมลามก ไม่สำรวม , ชนผู้-ลามกเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรกเพราะกรรมลามกทั้งหลาย " .(สัตว์ผู้ถูกทุกข์เบียดเบียน) 43/202/1 43/155/11 |
71 | " ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ ภิกษุบริโภคยังดีกว่า , ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวมบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นจะประเสริฐอะไร " .(ภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อวัคคุมุทา) 43/203/15 43/156/13 |
72 | ผู้ทุศีลบริโภคก้อนข้าวที่เขาให้ด้วยศรัทธา พึงไหม้ในนรกตั้งหลายร้อยชาติ.(ภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อวัคคุมุทา) 43/204/3 43/156/26 |
73 | โทษในการประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น (บุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ) 43/206/9 43/158/4 |
74 | ทำบุญแล้วตั้งความปรารถนาชั่ว ก็สมหวังแต่ผลคือ ความพินาศของตน.(บุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ) 43/207/20 43/159/7 |
75 | พระพุทธเจ้าติเตียน ภิกษุที่ว่า อาบัติเล็กน้อย ไม่มีโทษอะไร แสดงแล้วก็พ้นได้.(ภิกษุว่ายาก) 43/209/7 43/160/6 |
76 | คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี ย่อมคร่าเขาไปในนรก.(ภิกษุว่ายาก) 43/210/1 43/160/16 |
77 | สามีของหญิงขี้หึงได้เชยชิดกับหญิงรับใช้คนหนึ่ง นางจึงจับหญิงรับใช้นั้น มัดมือมัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก แล้วขังไว้ในห้อง นางทำทีปกปิดชวนผัวไปวัดฟังธรรมญาติของนางเปิดประตูห้องเห็นอาการอันแปลกนั้นแล้วแก้หญิงรับใช้ออกหญิงรับใช้ไปวัดกราบทูลแด่พระพุทธองค์ ในท่ามกลางบริษัท 4 (หญิงขี้หึง) 43/212/6 43/162/9 |
78 | " กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า, (เพราะ) กรรมชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง,ส่วนบุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่ตามเดือดร้อน , กรรมนั้น เป็นกรรมดี อันบุคคลทำแล้วดีกว่า " (หญิงขี้หึง) 43/213/3 43/163/4 |
79 | ธรรมดาว่าความอยู่เป็นสุขสำราญ ตลอดกาลเป็นนิตย์ อันบุคคลหาได้ยากคือ ธรรมดาว่าภิกษุ รักษาอัตภาพนั้นแหละ เหมือนกับพวกมนุษย์เหล่านั้นคุ้มครองนครฉะนั้น ย่อมควร (อาคันตุกภิกษุ) 43/214/21 43/164/20 |
80 | ตั้งสติรักษาทวาร ทำอายตนะภายใน 6 ให้มั่น ไม่ให้อายตนะภายนอก เข้าไปประพฤติอยู่ ชื่อว่า รักษาตนไว้ (อาคันตุกภิกษุ) 43/215/18 43/165/11 |
81 | " สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละอายเพราะสิ่งอันไม่ควรละอาย ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย สมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติ สัตว์ทั้งหลาย มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว สมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติ " (นิครนถ์) 43/218/5 43/166/18 |
82 | พระพุทธเจ้า ตรัสธรรมกถาที่เหมาะกับเด็ก ๆ ลูกของพวกสาวกเดียรถีย์ ให้เกิดศรัทธา ตั้งอยู่ในสรณะ เป็นต้น (สาวกเดียรถีย์) 43/220/6 43/168/15 |
83 | พระนางมาคันทิยา จ้างพวกทาสและกรรมกร ให้ตามด่า พระศาสดา พระอานนท์กราบทูลให้เสด็จไปที่อื่น พระศาสดาแสดงความที่ต้องอดทน ดุจช้างเข้าสู่สงครามต้องทนต่อลูกศรที่มาจาก 4 ทิศ จบเทศนา มหาชนทั้งหมดผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่า ตามถนนและทางแยก เป็นต้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.(ของพระองค์) 43/226/7 43/174/6 |
84 | พระศาสดาตำหนิ ภิกษุผู้เคยเป็นนายควาญช้างเก่า ที่ทำอุบายฝึกช้าง ให้แก่นายควาญช้างผู้หนึ่งซึ่งฝึกช้างให้สำเร็จได้ ทรงตรัสให้ฝึกตนเท่านั้น..(ภิกษุผู้เคยเป็นควาญช้าง) 43/231/7 43/177/20 |
85 | ไม้เท้าดีกว่าลูก (บุตรของพราหมณ์เฒ่า) 43/236/1 43/181/17 |
86 | " ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก มักง่วง และมักนอนหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ ที่ถูกปรนปรือด้วยอาหาร ฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึมย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป " (พระเจ้าปเสนทิโกศล) 43/243/1 43/186/18 |
87 | สามเณรกล่าวธรรมแล้ว ให้ส่วนบุญแก่มารดาบิดา นางยักษิณีผู้เคยเป็นมารดา อนุโมทนารับบุญ (สานุสามเณร) 43/245/12 43/188/17 |
88 | สิงเพราะหวังดี (สานุสามเณร) 43/247/3 43/190/6 |
89 | " เมื่อก่อนจิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ)ตามความสบาย, วันหนึ่งเราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการประหนึ่งนายควาญ-ช้างข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น " (สานุสามเณร) 43/250/7 43/192/21 |
90 | " ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน , จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น " (ช้างชื่อปาเวรกะ) 43/253/1 43/194/17 |
91 | ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรทั้งหลาย ย่อมไม่วางบริขารของตนลงบนที่นั่ง หรือที่นอนของครู (สัมพหุลภิกษุ) 43/255/7 43/196/12 |
92 | ถ้าไม่มีสหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์บุคคลพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป (สัมพหุลภิกษุ) 43/256/15 43/197/8 |
93 | พระศาสดา เห็นพระราชาผู้มิได้ตั้งอยู่ในธรรม เบียดเบียนมนุษย์ด้วยการลงอาชญา ทรงดำริด้วยอาศัยความกรุณาว่า เราอาจครองราชสมบัติโดยธรรมไม่เบียดเบียน ไม่ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ไม่เศร้าโศกเองไม่ให้ผู้อื่นเศร้าโศก หรือหนอ ? มารรู้ความคิดนี้จึงรีบมาทูลให้พระองค์ครองราช.(เรื่องมาร) 43/260/6 43/199/19 |
94 | ภูเขาทองคำ แม้เพิ่มเป็น 2 เท่า ก็ยังไม่เพียงพอแก่บุคคลหนึ่ง(เรื่องมาร) 43/261/10 43/201/2 |
95 | ผู้ไม่ทำนุบำรุงมารดา บิดา ตายไปย่อมเกิดในคูถนรก (เรื่องมาร) 43/264/1 43/202/17 |
96 | ผู้ประพฤติตามภิกษุชั่ว ย่อมไปนรก (ปลาชื่อกปิละ) 43/273/11 43/210/3 |
97 | โจร 500 ได้รักษาศีลก่อนตาย จึงไปเกิดในเทวโลก (ปลาชื่อกปิละ) 43/273/15 43/210/9 |
98 | ปลาสีทองแต่ปากเหม็น (ปลาชื่อกปิละ) 43/274/22 43/211/11 |
99 | " นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวการประพฤติธรรม ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑นั่นว่าเป็นแก้วอันสูงสุด. (ปลาชื่อกปิละ) 43/277/2 43/213/5 |
100 | แม่ไก่ ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุ เมื่อตายแล้วไปเกิดในราชตระกูล.(นางลูกสุกร) 43/281/15 43/216/16 |
101 | จากนางลูกสุกร จนถึง ความเป็นภรรยาของมหาอำมาตย์ สมัยพระเจ้าทุฏฐคามณีแล้วได้บวชเป็นภิกษุณี บรรลุพระอรหัตแล้ว (นางลูกสุกร) 43/287/10 43/220/16 |
102 | พระมหากัสสปะ เข้าไปเตือนสตินักโทษประหารผู้หนึ่ง ซึ่งเคยบวชเป็นลูกศิษย์ของท่าน ให้ระลึกถึงกรรมฐานเดิมโจรนั้นจึงยังฌาน 4 ให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่สะทกสะท้าน ต่ออาวุธในขณะที่นอนบนหลาวเหล็ก พระศาสดาทรงเปล่งโอภาสแสดงธรรม เขาเริ่มตั้งความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาซึ่งสังขารทั้งหลาย บรรลุโสดาปัตติผลแล้วเหาะไปหาพระศาสดาแล้วบวชได้บรรลุพระอรหัต ณ ท่ามกลางบริษัท และพระราชา (วิพภันตกภิกษุ) 43/290/6 43/222/6 |
103 | ความเยื่อใยในทรัพย์ และบุตรภรรยา เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง มีปกติหย่อนแต่เปลื้องได้ยาก (เรือนจำ) 43/295/20 43/226/4 |
104 | คนในครั้งพุทธกาลรู้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสติโทษของรูป (พระนางเขมา) 43/298/7 43/228/8 |
105 | " เขมาเธอจงดูร่างกายอันอาดูร ไม่สะอาดเน่าเปื่อย ไหลออกทั้งข้างบน ไหลออกทั้งข้างล่าง อันคนพาลทั้งหลาย ปรารถนายิ่งนัก " (พระนางเขมา) 43/299/15 43/229/12 |
106 | " สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุม ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้ เองฉะนั้น. ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาแม้นั้นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวงไป " (พระนางเขมา) 43/300/5 43/229/20 |
107 | คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหัต พึงบวช หรือปรินิพพาน (พระนางเขมา) 43/301/1 43/230/13 |
108 | อุคคเสนบุตรเศรษฐี ได้ออกจากบ้านไปอยู่กับหญิงนักฟ้อน ขณะที่บุตรเศรษฐีจะแสดงศิลปะบนแป้นไม้สูง 60 ศอก พระศาสดาแสดงธรรมแก่เขา ในกาลจบเทศนา อุคคเสนะบรรลุพระอรหัต (บุตรเศรษฐีขชื่ออุคคเสน) 43/302/6 43/231/5 |
109 | พูดเล่นถึงพระอรหันต์ว่าท่านคงเป็นลูกนักแสดง ตนเองจึงได้เป็นนักแสดง.(บุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน) 43/309/18 43/237/2 |
110 | ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งไปเพื่อต้องการน้ำดื่มในเรือนหลังหนึ่ง ธิดาในเรือนนั้นเกิดสิเนหานาหาภิกษุนั้น เมื่อพบกันบ่อยๆ นางจึงพูดเชิงหาคนจัดการทรัพย์ ภิกษุนั้นจึงปรารถนาจะสึก พระศาสดาทรงแสดงอดีตที่นางเคยเอามีดให้โจรเพื่อฆ่าเขาผู้เป็นสามี ทั้งๆที่เห็นโจรครั้งแรก (จูฬธนุคคหบัณฑิต) 43/311/6 43/238/6 |
111 | มารแปลงเป็นช้างใหญ่เอางวงมารัดกระหม่อมพระราหุล ซึ่งนอนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ตอนนั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้วแต่ยังไม่มีพรรษา (เรื่องมาร) 43/317/6 43/242/11 |
112 | พระพุทธเจ้า เสด็จดำเนินไปสิ้นทาง 18 โยชน์ มุ่งกรุงพารานสี ทรงตรัสกับอุปกา-ชีวกในระหว่างทางว่า " เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรมทุกอย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่างพ้นแล้ว ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหารู้เองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า ? (ว่าเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์).(อุปกาชีวก) 43/321/6 43/245/5 |
113 | เทวดาในดาวดึงส์ ตั้งปัญหาขึ้น 4 ข้อ ไม่มีใครแก้ได้ ทั่วหมื่นจักรวาล ท่องเที่ยวถามกันอยู่ 12 ปี ท้าวสักกะจึงพามาถามพระศาสดา (ท้าวสักกเทวราช) 43/323/6 43/247/5 |
114 | " ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง , รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง , ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง , ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง" (ท้าวสักกเทวราช) 43/325/14 43/249/7 |
115 | แม้ถวายจีวร แด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ผู้นั่งติดๆกันเต็มห้องจักรวาล ก็ตามการกล่าวธรรมด้วยคาถา 4 บาทย่อมประเสริฐกว่า.(ท้าวสักกเทวราช) 43/325/20 43/249/11 |
116 | ท้าวสักกะขอส่วนบุญ (ท้าวสักกเทวราช) 43/328/9 43/251/9 |
117 | เศรษฐีให้ทานแล้ว มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง ว่าพวกทาสหรือกรรมกรบริโภคบิณฑบาตนี้ยังดีกว่า จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคของดีๆ.(เศรษฐีผู้ไม่มีบุตร) 43/331/9 43/254/3 |
118 | เศรษฐีได้ฆ่าลูกพี่ชาย เพราะเหตุแห่งทรัพย์ เขาจึงไม่มีลูกสืบทอดมรดก.(เศรษฐีผู้ไม่มีบุตร) 43/331/14 43/254/7 |
119 | เศรษฐีนั้นบุญเก่าหมด บุญใหม่ก็ไม่ได้ทำ ตายไปเกิดในมหาโรรุวนรก .(เศรษฐีผู้ไม่มีบุตร) 43/331/19 43/254/10 |
120 | " โภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา , แต่ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ คนทรามปัญญาย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยากในโภคะ.(เศรษฐีผู้ไม่มีบุตร) 43/332/14 43/254/23 |
121 | การเลือกให้ทานในเขตที่ตนให้แล้วจะมีผลมาก พระพุทธเจ้าสรรเสริญ.(อังกุรเทพบุตร) 43/334/18 43/256/8 |
122 | " ธรรมดาภิกษุ ควรสำรวมทวารแม้ทั้งหมด เพราะว่า ภิกษุสำรวมทวารเหล่านั้นนั่นแล ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวงได้ " .(ภิกษุ ๕ รูป) 43/343/3 43/263/3 |
123 | ความไม่สำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นอกุศลธรรม 5 อย่างนี้ คือ ความไม่เชื่อ ความไม่-อดทน ความเกียจคร้าน ความหลงลืมสติ ความไม่รู้ ย่อมได้ในอกุศลวิถี...(ภิกษุ ๕ รูป) 43/344/12 43/263/22 |
124 | ศีล 5 ชื่อว่า กุรุธรรม เมื่อพระราชารักษากุรุธรรม ฝนจึงตกตามฤดูกาล.(ภิกษุฆ่าหงส์) 43/349/1 43/267/7 |
125 | พระโกกาลิกะ ด่าพระอัครสาวก แล้วไปตกปทุมนรก (ภิกษุชื่อโกกาลิกะ) 43/353/6 43/270/11 |
126 | หงส์ 2 ตัว หามเต่าไปในอากาศ เต่าตกลงมาตายเพราะปาก (ภิกษุชื่อโกกาลิกะ) 43/354/1 43/271/5 |
127 | " ภิกษุใด สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญาไม่ฟุ้งซ่าน แสดงอรรถและธรรม ,ภาษิตของภิกษุนั้นย่อมไพเราะ " (ภิกษุชื่อโกกาลิกะ) 43/355/12 43/272/12 |
128 | พระธรรมารามะไม่ไปหาภิกษุอื่น อยู่ผู้เดียวเท่านั้น นึกคิดระลึก ถึงธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว เพื่อจะได้บรรลุอรหันต์ก่อนพระองค์ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ก็ตำหนิ แต่พระศาสดาทรงสรรเสริญ (พระธรรมารามเถระ) 43/357/6 43/273/9 |
129 | การบูชาด้วยระเบียบดอกไม้ และของหอมไม่ชื่อว่า บูชาพระพุทธเจ้า , ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่าบูชาพระพุทธเจ้า (พระธรรมารามเถระ) 43/358/14 43/274/18 |
130 | " ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ใคร่คราญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม " (พระธรรมารามเถระ) 43/358/19 43/274/21 |
131 | ธรรมดาภิกษุควรเป็นผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น การปรารถนาลาภของผู้อื่นไม่สมควร เพราะบรรดาฌาน วิปัสสนา มรรค และผลทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีลาภของตนเท่านั้น (ภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง) 43/361/18 43/277/15 |
132 | พระศาสดารับอาหารที่เป็นเดนจากพราหมณ์ (ปัญจัคคทายกพราหมณ์) 43/366/13 43/281/5 |
133 | บุคคลผู้ไม่กำหนัดไม่ข้องอยู่ในนามรูป ชื่อว่า เป็นภิกษุ (ปัญจัคคทายกพราหมณ์) 43/367/14 43/282/3 |
134 | เทวดาให้สาธุการ การแสดงธรรมของพระโสณกุฏิกัณณเถระ ไปจนถึงพรหมโลก. (สัมพหุลภิกษุ) 43/370/1 43/283/18 |
135 | " ธรรมแล ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม , ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้, นี้เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ " (สัมพหุลภิกษุ) 43/374/19 43/287/19 |
136 | โจร 900 ที่ปล้นบ้านมารดาของพระโสณกุฏิกัณณเถระ ขอบวช เมื่อบวชแล้วรับกรรมฐานจากพระเถระ แล้วขึ้นไปบำเพ็ญอยู่บนเขา พระศาสดาอยู่ในที่ไกล120 โยชน์ ทรงเปล่งพระรัศมีไปตรัสพระคาถา 9 คาถา ภิกษุทั้ง 900 บรรลุพระอรหัต(สัมพหุลภิกษุ) 43/375/9 43/288/11 |
137 | " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อยดอกทั้งหลาย ที่เหี่ยวเสียฉะนั้น " (ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป) 43/384/16 43/295/6 |
138 | พระสันตกายเถระ นั้นมาจากกำเนิดแห่งราชสีห์ ท่านจึงไม่มีการคะนองมือ คะนองเท้า มีอัตภาพสงบ พระศาสดาตรัสให้ภิกษุดูเป็นตัวอย่าง (พระสันตกายเถระ) 43/386/6 43/296/5 |
139 | คนเข็ญใจผู้หนึ่ง บวชแล้ว เก็บไถและผ้าเก่าไว้ที่กิ่งไม้ ท่านใช้ผ้าเก่านั้นเป็นเครื่องเตือนตนเวลาที่ท่านอยากจะสึก ไม่นานท่านก็บรรลุพระอรหัตผล พระศาสดาตรัสให้ภิกษุจงเตือนตนด้วยตน . (พระนังคลกูฏเถระ) 43/388/6 43/298/6 |
140 | " เธอจงตักเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาดูตนนั้นด้วยตน ภิกษุเธอนั้นมีสติปกครองตนได้แล้วจักอยู่สบายตนแหละ เป็นนาถะของตน, ตนแหละเป็นคติของตนเพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตนให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวเจริญ ฉะนั้น ".(พระนังคลกูฏเถระ) 43/390/7 43/299/22 |
141 | " วักกลิ ประโยชน์อะไรของเธอ ด้วยการเฝ้าดูกายเน่านี้. วักกลิ คนใดแลเห็นธรรม คนนั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต คนใดเห็นเราตถาคต คนนั้น ชื่อว่า เห็นธรรม ". (พระวักกลิเถระ) 43/392/15 43/301/15 |
142 | การให้ส่วนบุญย่อมได้บุญมากขึ้น เปรียบเหมือนการต่อแสงสว่างแห่งประทีป.(สุมนสามเณร) 43/398/11 43/306/5 |
143 | เศรษฐีรับเอาส่วนบุญแล้วให้ทรัพย์เพื่อบูชาคุณของผู้ให้ส่วนบุญด้วยศรัทธา.(สุมนสามเณร) 43/399/2 43/306/18 |
144 | ประวัติพระอนุรุทธะ (สุมนสามเณร) 43/399/15 43/307/4 |
145 | พระอนุรุทธะระลึกถึงสุมนเศรษฐีสหายเก่า ซึ่งมาเกิดกับอุบาสก ชื่อ มหามุณฑะท่านจึงไปนำมาบวชเณร และได้บรรลุอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จ. (สุมนสามเณร) 43/404/7 43/310/21 |
146 | สุมนสามเณร ปราบปันนกนาคราช (สุมนสามเณร) 43/407/2 43/313/4 |
147 | พระศาสดาประสงค์จะล้างพระบาทด้วยน้ำจากสระอโนดาต จึงตรัสให้พวกสามเณรไปนำมา (สุมนสามเณร) 43/412/2 43/317/5 |
148 | พราหมณ์ คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ได้ฟังธรรมแล้วมีความเลื่อมใสมาก ตั้งนิตยภัต16 ที่ และกล่าวถึงภิกษุที่มา ด้วยความเลื่อมใสว่า พระอรหันต์ ๆ ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะไป พราหมณ์จึงเสียใจไปกราบทูลพระพุทธเจ้า .(พราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก) 43/423/8 43/326/8 |
149 | " พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา , จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย ,ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไรๆ กระทำไม่ได้นะ พราหมณ์ " (พราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก) 43/424/13 43/327/10 |
150 | ภิกษุ 30 รูป มาเข้าเฝ้าพระศาสดา พระสารีบุตรเห็นอุปนิสัย แห่งพระอรหัตของภิกษุเหล่านั้น จึงถามพระศาสดาถึง ธรรม 2 ประการ พระองค์ตรัสว่า สมถะ และวิปัสสนา เรียกว่า ธรรม 2 ประการ (ภิกษุมากรูป) 43/426/6 43/328/13 |
151 | มารปลอมเป็นบุรุษผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถามว่า สถานที่พระองค์ตรัสว่าฝั่งๆ คืออะไร ? พระองค์ตอบว่า มารผู้มีบาป ประโยชน์อะไรของท่านด้วยฝั่ง.(เรื่องมาร) 43/428/6 43/329/12 |
152 | " เรามิได้เรียกบุคคลว่า พราหมณ์ ด้วยเหตุสักว่า ชาติ และโคตร แต่เราเรียกบุคคลผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น เท่านั้นว่าเป็นพราหมณ์ ".(พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง) 43/430/10 43/330/20 |
153 | " พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในกลางวัน , พระจันทร์ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน,กษัตริย์ ทรงเครื่องรบแล้ว ย่อมรุ่งเรือง , พราหมณ์ผู้มีความเพ่ง ย่อมรุ่งเรือง.ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดชตลอดกลางวัน และกลางคืน ".(พระอานนทเถระ) 43/433/8 43/333/1 |
154 | " บุคคลผู้บาปอันลอยแล้วแล เราเรียกว่า พราหมณ์ บุคคลที่เราเรียกว่า สมณะเพราะความประพฤติเรียบร้อย บุคคลขับไล่มลทินของตนอยู่ เพราะเหตุนั้น เราเรียกว่า บรรพชิต " (บรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง) 43/435/17 43/334/11 |
155 | พราหมณ์ผู้หนึ่งใคร่จะทดลอง พระสารีบุตรเรื่องความโกรธ จึงตีหลังพระเถระอย่างแรง พระเถระ ไม่สนใจ ความเร่าร้อนจึงเกิดแก่พราหมณ์ เขาจึงหมอบลงแทบเท้าขอขมาพระเถระ แล้วนิมนต์ท่านไปฉันในเรือนตน (พระสารีบุตรเถระ) 43/437/6 43/335/8 |
156 | ความโกรธย่อมถึงความถอนขึ้นได้ ด้วยอนาคามิมรรค (พระสารีบุตรเถระ) 43/439/10 43/337/4 |
157 | ภิกษุณีทั้งหลาย รังเกียจ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ด้วยไม่ปรากฏอุปัชฌาย์อาจารย์ พระศาสดาจึงตรัสว่า เราเองเป็นอาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ ไม่ควรทำความรังเกียจในพระขีณาสพ (พระนางมหาปชาบดีโคตมี) 43/442/6 43/339/6 |
158 | พระสารีบุตร เคารพพระอัสสชิมาก เมื่ออยู่ที่ใดท่านจะกราบไปทางที่พระอัสสชิอยู่และนอนหันศีรษะไปทางนั้น ภิกษุอื่นเข้าใจว่าท่านไหว้ทิศ พระศาสดาตรัสว่าภิกษุอาศัยอาจารย์ใด ย่อมรู้ธรรม , ภิกษุนั้นพึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ (พระสารีบุตร) 43/444/6 43/341/6 |
159 | " พราหมณ์ เราไม่เรียกว่า พราหมณ์ ด้วยเหตุสักว่า ชฎา ไม่เรียกด้วยเหตุสักว่าชาติและโคตร , แต่เราเรียกผู้มีสัจจะอันแทงตลอดแล้วเท่านั้นว่า เป็นพราหมณ์ " (ชฏิลพราหมณ์) 43/446/11 43/342/17 |
160 | พราหมณ์ ขึ้นต้นไม้ห้อยหัวลงมา ขู่เอาโคแดง 100 , กหาปณะและหญิงบำเรอถ้าไม่ให้เมื่อเขาตกลงมาตายจะทำให้เมืองไม่เป็นเมือง ชาวเมืองกลัวจึงให้ของเขาตามประสงค์ พระศาสดาแสดงถึงดาบสผู้ต้องการฆ่าเหี้ย ในอดีต คือ พราหมณ์ นี้ (กุหกพราหมณ์) 43/448/6 43/344/6 |
161 | " เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่งด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่าเป็นพราหมณ์ " (นางกิสาโคตมี) 43/453/19 43/348/8 |
162 | " เราไม่เรียกบุคคลผู้เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิดว่า เป็นพราหมณ์ เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที , เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล , เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์ " (พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ) 43/455/18 43/349/14 |
163 | " ผู้ใดแล ตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว ย่อมไม่สะดุ้ง , เราเรียกผู้นั้น ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องได้ ผู้หลุดพ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์ " (อุคคเสน) 43/457/15 43/351/4 |
164 | " ภิกษุทั้งหลาย ชะเนาะและเชือกนั่นเป็นแต่ภายนอก, คนใดคนหนึ่งก็ตัดชะเนาะและเชือกเหล่านั้นได้ทั้งนั้น , ฝ่ายภิกษุตัดชะเนาะ คือ ความโกรธ และเชือก คือ ตัณหาอันเป็นไปภายในจึงควร " (พราหมณ์ ๒ คน) 43/459/18 43/352/20 |
165 | " บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงอยู่เป็นสุข , ฆ่าความโกรธได้แล้วจึงไม่เศร้าโศก,พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน , เพราะบุคคลนั้นฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ".(อักโกสกภารทวาชพราหมณ์) 43/462/7 43/355/3 |
166 | " ผู้ใดไม่ประทุษร้าย อดกลั้นซึ่งคำด่า และการตี และการจองจำได้ , เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีกำลัง คือ ขันติ มีหมู่พลว่า เป็นพราหมณ์ " (อักโกสกภารทวาชพราหมณ์) 43/463/13 43/356/5 |
167 | พระสารีบุตร เที่ยวบิณฑบาตพร้อมภิกษุ 500 ไปยังบ้านมารดาท่าน นางนิมนต์ให้นั่งในเรือน ทั้งถวายอาหาร ทั้งด่า พระเถระไม่พูดอะไรแล้วกลับวิหาร.(พระสารีบุตรเถระ) 43/465/6 43/357/5 |
168 | " ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น , เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์ ".(พระอุบลวรรณาเถรี) 43/469/6 43/360/2 |
169 | ทาสคนหนึ่ง ของพราหมณ์ได้หนีไปบวชบรรลุพระอรหัตแล้ว วันหนึ่งท่านออกไปบิณฑบาตกับพระศาสดา พราหมณ์นั้นเห็นแล้วได้เข้าไปจับจีวรทำไว้อย่างมั่นพระศาสดาตรัสแก่พราหมณ์ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปลงภาระแล้ว (พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง) 43/470/6 43/360/17 |
170 | " เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์ ฉลาดในทาง และมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์สูงสุด นั้นว่า เป็นพราหมณ์ " (พระเขมาภิกษุณี) 43/473/1 43/362/17 |
171 | การสิงเพราะเหตุแห่งที่อยู่ (พระติสสเถระผู้อยู่ในเงื้อมเขา) 43/475/9 43/364/16 |
172 | ภิกษุรูปหนึ่งไปภาวนาในป่า บรรลุพระอรหัตแล้ว จะกลับไปเฝ้าพระศาสดาหญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามี จะหนีกลับบ้านของตนจึงเดินตามหลังพระเถระไปโดยที่ท่านไม่เห็นนาง สามีของนางตามมาพบเข้า จึงทุบตีพระเถระ แล้วพาหญิงนั้นกลับไป (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง) 43/480/6 43/368/5 |
173 | พราหมณีคนหนึ่ง จัดแจงภัตเพื่อภิกษุ 4 รูป แล้วให้พราหมณ์ไปวิหารนิมนต์พระมาแต่ได้สามเณรขีณาสพ 4 รูป อายุ 7 ขวบ นางพราหมณีไม่พอใจ จึงจัดตั่งที่ต่ำ ๆ ให้สามเณรนั่งรอ แม้พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ มาแล้วเห็นสามเณรเข้า ก็หลีกไป จนท้าวสักกะ ต้องแปลงเป็นพราหมณ์แก่มา ทรมาน2 ผัวเมียนั้น สามเณรจึงได้อาหาร (สามเณร) 43/483/6 43/370/8 |
174 | ภิกษุทั้งหลายสนทนากันถึงที่พระมหาปันถกะไล่ พระจูฬปัณถกะให้ออกจากวิหารชะรอยความโกรธ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่พระขีณาสพทั้งหลาย พระศาสดาตรัสว่ากิเลสทั้งหลายมีราคะ เป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย แต่บุตรของเราทำกรรมนั้นเพราะความที่ตนเป็นผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมเป็นเบื้องหน้า (พระมหาปันถกเถระ) 43/489/6 43/374/10 |
175 | พระปิลินทวัจฉะ เรียกทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ว่าคนถ่อย ๆ เพราะความเคยชินจากการเกิดเป็นพราหมณ์ มาตลอด 500 ชาติ (พระปิลินทวัจฉเถระ) 43/491/6 43/375/17 |
176 | พราหมณ์ มิจฉาทิฏฐิ ผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ได้เปลื้องผ้าสาฎกสำหรับห่มวางไว้พระขีณาสพรูปหนึ่งไม่เห็นใคร จึงถือ เอาผ้านั้นด้วยสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล เมื่อพราหมณ์ตามมาเอาท่านก็ให้คืนไป (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง) 43/493/6 43/377/5 |
177 | พระสารีบุตรสั่งพวกลูกศิษย์ ให้ส่งผ้าจำนำพรรษาไปให้ ภิกษุทั้งหลายจึงเข้าใจว่าตัณหาของพระเถระ คงยังมีอยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา แต่เธอกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยคิดว่า ความเสื่อมจากบุญของพวกมนุษย์และความเสื่อมจากลาภที่ชอบธรรม ของภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายอย่าได้มี (พระสารีบุตรเถระ) 43/496/6 43/379/6 |
178 | " ความอาลัยของบุคคลใดไม่มี , บุคคลใดรู้ชัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุ กล่าวว่าอย่างไร , เราเรียกบุคคลนั้น ผู้หยั่งลงสู่อมตะ ตามบรรลุแล้วว่าเป็นพราหมณ์ " (พระมหาโมคคัลลานเถระ) 43/498/11 43/381/1 |
179 | " ผู้ใดล่วงบุญและบาปทั้งสอง และกิเลสเครื่องข้องเสียได้ในโลกนี้, เราเรียกผู้นั้นซึ่งไม่มีความโกรธ มีธุลีไปปราศแล้ว ผู้บริสุทธิ์แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ".(พระเรวตเถระ) 43/500/17 43/382/8 |
180 | พ่อค้าไม้จันทน์แดง ชาวชนบทผู้สร้างที่ดุจมณฑล แห่งพระจันทร์ ด้วยไม้จันทน์-แดง บูชาสถูปทองของพระกัสสปทศพล (พระจันทาภเถระ) 43/502/7 43/383/6 |
181 | จันทาภพราหมณ์ เป็นผู้มีรัศมีดุจพระจันทร์ที่บริเวณสะดือของเขา พวกพราหมณ์จึงนำเขานั่งบนยานเที่ยวไปกล่าวว่า ผู้ใดได้ลูบคลำร่างกายของจันทาภพราหมณ์นี้ จะได้สมบัติ แต่ต้องให้ทรัพย์เพื่อการถูกต้องร่างกายนั้น. (พระจันทาภเถระ) 43/504/15 43/385/3 |
182 | พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาตั้งครรภ์อยู่ 7 ปี ครรภ์หลงอีก 7 วัน เมื่อพระสวามีของนางไปกราบทูลพระศาสดา ในขณะที่พระศาสดาตรัสว่า " พระธิดาโกริยวงศ์พระนามว่าสุปปวาสาจงเป็นผู้มีสุข ไม่มีโรค. ประสูติพระโอรสซึ่งหาโรคมิได้เถิด"ลดังนี้ พระนางก็เป็นผู้สบาย ประสูติพระโอรสแล้ว (พระสีวลีเถระ) 43/509/7 43/388/6 |
183 | หญิงย่อมเกี้ยวชายด้วยอาการ 40 (พระสุนทรสมุทรเถระ) 43/515/3 43/392/15 |
184 | " บุคคลใดละกามทั้งหลายในโลกนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ , เราเรียกบุคคลนั้น ผู้มีกามและภพ สิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์ " (พระสุนทรสมุทรเถระ) 43/516/21 43/394/1 |
185 | บุรพกรรม ของ 2 พี่น้อง ผู้ถวายน้ำอ้อยแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วผู้น้องชายปรารถนาสมบัติ 3 อย่าง ส่วนพี่ชายปรารถนาอรหัตผล " .(พระโชติกเถระ) 43/519/7 43/395/10 |
186 | ครั้งพระวิปัสสีพุทธเจ้า 2 พี่น้องนั้นจุติจากเทวโลกมาแล้ว พี่ชายได้บวชบรรลุพระอรหัต ผู้น้องชายได้สร้างพระคันธกุฎีถวาย พระพุทธเจ้า(พระโชติกเถระ) 43/521/17 43/397/15 |
187 | โชติกะเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ ท้าวสักกะ เป็นผู้สร้างปราสาทให้ มียักษ์เฝ้าประตูทั้ง 7 ประตู กำแพง 7 ชั้น ล้อมรอบ (พระโชติกเถระ) 43/528/8 43/403/4 |
188 | พระเจ้าพิมพิสาร ตั้งนายโชติกะในตำแหน่งเศรษฐี และทรงเสด็จชมปราสาทของเศรษฐี (พระโชติกเถระ) 43/531/8 43/405/11 |
189 | เทวดาช่วยในการค้าขาย (พระโชติกเถระ) 43/540/16 43/412/21 |
190 | บุรพกรรมของชฏิลเศรษฐี (พระโชติกเถระ) 43/545/10 43/416/12 |
191 | พระเจ้าอชาตศัตรู จะไปรบเพื่อยึดปราสาทของโชติกเศรษฐี (พระโชติกเถระ) 43/549/3 43/419/2 |
192 | " ผู้ใดละกิเลสเครื่องประกอบ อันเป็นของมนุษย์ล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว , เราเรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์ " (ภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑) 43/553/18 43/422/17 |
193 | " เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งละความยินดีและความไม่ยินดีได้แล้ว ผู้เย็น ไม่มีอุปธิครอบงำโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้าว่า เป็นพราหมณ์ " (ภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๒) 43/555/12 43/424/1 |
194 | พราหมณ์ ชื่อ วังคีสะ รู้การเกิดของมนุษย์ผู้ตายด้วยการเคาะกระโหลก จึงได้เที่ยวไปจนถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาทรงให้เขาเคาะกะโหลกพระอรหันต์ เขาบอกไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อหวังเรียนมนตร์ แล้วได้บรรลุพระอรหัต. (พระวังคีสเถระ) 43/557/6 43/425/5 |
195 | วิสาขอุบาสก เมื่อบรรลุอนาคามีแล้ว เรียกนางธรรมทินนาผู้ภรรยามาให้รับทรัพย์สมบัติในเรือน แต่นางขอบวช ไม่นานนักนางก็ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อนางกลับมาสู่กรุงราชคฤห์ วิสาขอุบาสกจึงไปถามปัญหาเกี่ยวกับมรรคผล..(พระธรรมทินนาเถรี) 43/562/6 43/428/16 |
196 | " เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้าแสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ชนะโดยวิเศษ ไม่หวั่นไหว ผู้ล้างแล้ว ผู้รู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์ " (พระอังคุลิมาลเถระ) 43/565/19 43/431/17 |
197 | พระศาสดาทรงพระประชวรด้วยโรคลม พระอุปวานเถระไปขอน้ำร้อนแก่เทวหิตพราหมณ์ พราหมณ์ให้คนหาบน้ำร้อน และถือห่อน้ำอ้อยไปวิหารให้พระองค์สรงน้ำร้อน แล้วละลายน้ำอ้อยด้วยน้ำร้อนถวาย (เทวหิตพราหมณ์) 43/567/6 43/432/16 |