1 | [๑๗๓] พระพุทธองค์ทรงตำหนิพระหัตถกะศากยบุตร ว่าโมฆบุรุษไฉนเธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับกล่าวรับแล้วปฏิเสธเอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่นกล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อนเล่า (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๑) 4/3/24/3/2 4/3/6 |
2 | [๑๗๔] โกหกได้แก่ การเปล่งวาจาเจตนาที่ให้เข้าใจทางวาจาของบุคคลผู้จงใจจะพูดให้คลาด จากความเป็นจริง (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๑) 4/4/94/4/9 4/4/15 |
3 | [๑๗๖] การกล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ ด้วยอาการ 3 ถึง 7 ; เบื้องต้นรู้ว่าจักกล่าวเท็จ กำลังกล่าวก็รู้ , กล่าวเท็จแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จ...ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๑) 4/5/84/5/8 4/5/16 |
4 | [๑๘๐] ภิกษุ เห็น, ได้ยิน, ทราบ, รู้ แต่สงสัย กำหนดไม่ได้จำไม่ได้หลงลืมกล่าวเท็จว่าเห็นและได้ยิน ด้วยอาการ 3 ถึง 7ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๑) 4/17/64/17/6 4/19/14 |
5 | [๑๘๑] ภิกษุพูดพลั้ง, ภิกษุพูดพลาด (พูดพลั้ง คือ พูดเร็วไป, พูดพลาด คือ ตั้งใจว่าจะพูดคำอื่น แต่กลับพูดไปอีกอย่าง)...ไม่เป็นอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๑) 4/19/74/19/7 4/21/13 |
6 | อธิบายอนริยโวหาร8 อย่าง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/22/214/22/21 4/24/13 |
7 | ภิกษุกระทำการล้อเลียน กล่าวว่า อุปัชฌาย์ ของเธอจักเทียมเกวียนบันทุกฟืนไปแล้วกระมัง อย่างนี้กล่าวคำอื่น ไม่ใช่เพราะเล่น ไม่ใช่เพราะพลั้งภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติแท้ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/24/164/24/16 4/26/8 |
8 | ภิกษุได้ชิ้นขนมที่เขาวางไว้ ในกระเช้าและพูดกับสามเณรว่าวันนี้คนทั้งหลาย ในบ้านเอากระเช้าหลายใบใส่ขนมไป นี้จัดเป็นมุสาวาท (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/24/214/24/21 4/26/15 |
9 | [๑๘๒] พระพุทธองค์ทรงติเตียน โมฆบุรุษที่ ด่าว่า สบประมาทกระทบกำเนิด ชื่อวงศ์ตระกูลการงานศิลปะ โรค รูปพรรณกิเลสอาบัติคำด่าที่ทรามบ้าง. (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/27/54/27/5 4/27/16 |
10 | [๑๘๓-๑๘๕] แม้สัตว์เดรัจฉาน ก็ยังไม่ชอบคำด่า คำสบประมาท (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/27/134/27/13 4/28/7 |
11 | [๑๘๖] คำว่าโอมสวาท ได้แก่ คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ 10 (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/29/184/29/18 4/30/2 |
12 | [๑๙๗-๒๓๖] ภิกษุพูดกดพูดกดให้เลวพูดประชดกระทบ พูดยกยอกระทบ แก่อุปสัมบันปรารถนาจะสบประมาท ทำให้อัปยศต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/32/194/32/19 4/32/18 |
13 | [๒๓๗-๒๔๒] ภิกษุพูดเปรยกระทบ ปรารถนาจะสบประมาททำให้อัปยศ แก่ อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆคำพูด(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/46 -564/46-56 4/46/10 |
14 | [๒๔๓-๒๔๕] ภิกษุด่า หรือพูด เปรยกระทบต่ออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำพูด (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/57-804/57-80 4/60/15 |
15 | [๒๔๖-๒๕๓] ภิกษุไม่ปรารถนาจะสบประมาท หรือทำให้อัปยศ แต่มีความ ประสงค์ จะล้อเล่นต้องอาบัติ ทุพภาษิต ทุกๆ คำพูด(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/80/184/80/18 4/88/15 |
16 | [๒๕๔] ภิกษุมุ่งอรรถ, ภิกษุมุ่งธรรม, ภิกษุมุ่งสั่งสอน...ไม่ต้องอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๒) 4/127/134/127/13 4/145/15 |
17 | ความเป็นผู้มีประสงค์ ในอันล้อเลียน และหัวเราะ ชื่อว่า เป็นผู้มีความประสงค์ จะเล่น (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/131/94/131/9 4/149/6 |
18 | อาบัติทุพภาษิตเกิดทางวาจากับจิตเป็นกิริยาสัญญาวิโมกข์สจิตตกะจิต อกุศลจิต มีเวทนา 2 คือสุขเวทนาอุเปกขาเวทนา (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/131/214/131/21 4/149/19 |
19 | [๒๕๖] ส่อเสียดด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบของคน ผู้ประสงค์จะให้เขาแตกกัน (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๓) 4/133/194/133/19 4/151/14 |
20 | [๒๕๗-๒๗๖] ภิกษุได้ยินถ้อยคำส่อเสียดของภิกษุแล้วไปบอกแก่ภิกษุว่า ภิกษุชื่อนี้พูดเหน็บแนมท่านว่า...ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆคำพูด. (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๓) 4/134/204/134/20 4/152/17 |
21 | [๒๗๗-๒๘๑] ภิกษุได้ยินถ้อยคำของภิกษุแล้วไปบอกภิกษุว่าภิกษุองค์นั้น พูดเปรยเหน็บแนมว่า... ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำพูด (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๓) 4/139/54/139/5 4/158/5 |
22 | [๒๘๒] ภิกษุได้ยินถ้อยคำของภิกษุ เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่ อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๓) 4/152/174/152/17 4/175/7 |
23 | [๒๘๓] ภิกษุไม่ต้องการจะให้เขาชอบ , ภิกษุไม่ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ...ไม่เป็นอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๓) 4/153/44/153/4 4/175/14 |
24 | ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง กำลังด่า และรูปหนึ่งอดทนได้แล้ว กล่าวเพราะ ตนเป็นผู้มักติคนชั่วอย่างเดียว โดยทำนองว่า โอ ! คนไม่มียางอาย จักสำคัญคนดีชื่อแม้เช่นนี้ว่าตนควรว่ากล่าวได้เสมอ(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/154/114/154/11 4/177/3 |
25 | [๒๘๖] ที่ชื่อว่าบทคือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๔) 4/156/174/156/17 4/179/6 |
26 | [๒๘๘] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน , ท่องพร้อมกัน , อนุปสัมบัน กล่าวอยู่สวดอยู่ ซึ่งคำภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก...ไม่ต้องอาบัติ(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๔) 4/158/54/158/5 4/180/12 |
27 | อธิบายคำว่า ให้กล่าวธรรมโดยบท (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/158/184/158/18 4/181/10 |
28 | [๒๙๑] ที่ชื่อว่าการนอนได้แก่สถานที่นอนอันเขามุงทั้งหมดบังทั้งหมด มุงโดยมากบังโดยมาก (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๕) 4/166/204/166/20 4/189/12 |
29 | [๒๙๒] ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม เกิน2-3 คืนต้อง อาบัติทุกกฏ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๕) 4/167/154/167/15 4/190/7 |
30 | [๒๙๓] ภิกษุอยู่ 2 คืน คืนที่ 3 ก่อนอรุณได้ออกไป แล้วอยู่ใหม่, อยู่ในสถานที่ มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด,อยู่ในสถานที่บังทั้งหมดไม่มุงทั้งหมด, อยู่ในสถานที่ ไม่มุงโดยมากไม่บังโดยมาก, ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ได้นอน...ไม่ต้องอาบัติ. (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๕) 4/168/54/168/5 4/190/17 |
31 | การที่ภิกษุให้พวกเด็กในสกุลบวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์ ไม่สมควร. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/170/124/170/12 4/192/15 |
32 | ไม่อาจทำให้ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีผ้า(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/171/84/171/8 4/193/7 |
33 | ในสิกขาบทนี้ปรับอาบัติภิกษุตามจำนวนของสามเณร และทุกๆ ประโยค ในการผุดลุก ผุดนอน ของสามเณรและภิกษุ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/172/34/172/3 4/193/26 |
34 | แม้กับสัตว์เดรัจฉาน ตามในเมถุนธรรมาบัติ ก็เป็นอาบัติในการนอนร่วม . (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/173/14/173/1 4/194/19 |
35 | [๒๙๕] ที่ชื่อว่า มาตุคามได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียโดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๕) 4/183/54/183/5 4/203/11 |
36 | [๒๙๗] ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด, ในสถานที่บังทั้งหมดไม่มุงทั้งหมด, ในสถานที่ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก , ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั่ง,นั่งทั้งสอง ...ไม่เป็นอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๕) 4/184/124/184/12 4/205/2 |
37 | เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับนางยักษ์นางเปรตผู้มีรูปร่างปรากฏและ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเฉพาะที่เป็นวัตถุแห่งเมถุนธรรมส่วนสัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมียที่เหลือเป็นอนาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/185/154/185/15 4/206/9 |
38 | [๓๐๒] ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมียมีกายคล้ายมนุษย์เกิน 5-6 คำ ไม่มีผู้ชายที่รู้เดียงสาอยู่ด้วยต้อง อาบัติทุกกฏที่เหลือ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๗) 4/191/124/191/12 4/212/2 |
39 | [๓๐๓] ภิกษุลุกขึ้นแล้วนั่งแสดงธรรมต่อไป , มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก ภิกษุแสดงแก่มาตุคามนั้น, ภิกษุแสดงแก่มาตุคามอื่น, มาตุคามถามปัญหา ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วกล่าวแก้, ภิกษุแสดงธรรมแก่คนอื่น มาตุคามฟังด้วย ...ไม่เป็นอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๗) 4/192/224/192/22 4/212/10 |
40 | คำว่าเพียง 5-6 คำ พึงทราบว่า คาถาบทหนึ่ง ชื่อว่า วาจาคำหนึ่ง. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/193/74/193/7 4/213/18 |
41 | [๓๐๕] ภิกษุไม่ควรกล่าวชม อุตริมนุสธรรมของกัน และกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้อง (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๘) 4/199/54/199/5 4/218/11 |
42 | [๓๐๗-๓๐๘] อุตริมนุสธรรมได้แก่ฌานวิโมกข์สมาธิสมาบัติ ญาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิดการทำผลให้แจ้งการละกิเลสความเปิดจิตความยินดี ยิ่งในเรือนอันว่างเปล่า (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๘) 4/200/24/200/2 4/219/9 |
43 | [๓๓๕-๓๓๗] ภิกษุจะบอกอุตริมนุสธรรม อย่างหนึ่งแต่กลับไปบอกอีกแบบ หนึ่งแก่อนุปสัมบันถ้าเขาเข้าใจต้องอาบัติปาจิตตีย์ถ้าเขาไม่เข้าใจต้อง อาบัติทุกกฏ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๘) 4/233/184/233/18 4/258/10 |
44 | [๓๓๘-๓๔๐] ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบัน ว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่านภิกษุนั้น เข้าแล้ว...ต้องอาบัติทุกกฏ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๘) 4/238/94/238/9 4/262/16 |
45 | [๓๔๑] ภิกษุบอกอุตริมนุสธรรมที่มีจริงแก่อุปสัมบัน...ไม่ต้องอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๘) 4/244/24/244/2 4/267/5 |
46 | จะบอกคุณ คือสุตะปริยัติและศีลแม้แก่อนุปสัมบันก็ควร. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/245/224/245/22 4/269/2 |
47 | ท่านผู้ได้ฌาน พึงเป็นบ้าได้ เมื่อฌานเสื่อม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/246/44/246/4 4/269/7 |
48 | [๓๔๔-๓๔๕] ภิกษุที่ได้รับสมมติถ้าบอกนอกเหนือจากที่สงฆ์กำหนดต้อง อาบัติปาจิตตีย์.ถ้าไม่ได้กำหนด... ไม่ต้องอาบัติ(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๙) 4/249/24/249/2 4/271/20 |
49 | [๓๔๗] ภิกษุบอกอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๙) 4/250/94/250/9 4/273/6 |
50 | [๓๔๘] ภิกษุบอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ, ภิกษุบอกอาบัติ ไม่บอกวัตถุ, ภิกษุได้รับ สมมติ...ไม่ต้องอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่๙) 4/250/164/250/16 4/273/15 |
51 | อาบัติที่ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก 4และสังฆาทิเสส 13(ขุททกกัณฑวรรณนา)วรรณนา) 4/251/54/251/5 4/274/4 |
52 | [๓๕๐] ปฐพีแท้ ได้แก่มีดินร่วนล้วน, มีดินเหนียวล้วน...กองดินร่วน กองดินเหนียวที่ฝนตกรดเกิน4เดือน (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/255/114/255/11 4/278/12 |
53 | [๓๕๒] ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ขุด-ให้ขุดทำลาย-ให้ทำลายเผา-ให้เผา ไม่ต้องอาบัติ,ถ้าไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่า/สงสัยว่า เป็นดิน...ต้องอาบัติทุกกฏ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/256/104/256/10 4/279/11 |
54 | [๓๕๓] ภิกษุกล่าวว่าท่านจงรู้ดินนี้ท่านจงให้ดินนี้ท่านจงนำดินนี้มา เรามี ความต้องการด้วยดินนี้ท่านจงทำดินนี้ให้เป็นกัปปิยะ,ภิกษุไม่แกล้ง , ภิกษุ ไม่มีสติ, ภิกษุไม่รู้...ไม่ต้องอาบัติ (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/256/174/256/17 4/279/19 |
55 | เป็นปาจิตตีย์ทุกครั้งที่ขุดเองถ้าใช้ให้ขุดโดยสั่งครั้งเดียวเป็นปาจิตตีย์ ตัวเดียว (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/259/54/259/5 4/281/8 |
56 | ภิกษุกล่าวว่า จงขุดสระบึงหลุมควรอยู่ เพราะเป็นกัปปิยโวหารแต่จะ เจาะจงว่าในที่นี้ ไม่ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/259/114/259/11 4/281/14 |
57 | เสนาสนะเก่า ไม่มีหลังคา ถูกฝนตกรดเกิน 4 เดือนก็เป็นดินแท้แต่ภิกษุจะ เอาอุปกรณ์ด้วยสำคัญว่า จะเอาอิฐกลอนกระดานปูพื้นเสา ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/261/44/261/4 4/282/22 |
58 | ภิกษุจะโยกเอาเสาในที่แจ้ง จะโยกไป ทางโน้น ทางนี้ ไม่ควร ยกขึ้นตรงๆ เท่านั้น จึงควร จะตอกหรือเสียบวัตถุ ลงไปในแผ่นดิน ก็ไม่ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/262/14/262/1 4/283/15 |
59 | ภิกษุจะเอาไม้กวาดครูด ถู เพื่อทำดินที่ไม่เสมอ ให้เสมอก็ไม่ควร,ควรกวาด ด้วย หัวข้อแห่งวัตร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/262/114/262/11 4/283/25 |
60 | ภิกษุกระทุ้งแผ่นดิน ด้วยปลายไม้เท้า, เอานิ้วขีดเขียน, เดินจงกรมทำลาย แผ่นดินเพื่อแสดงที่ จงกรม ไม่ควรทุกอย่าง แต่ผู้มุ่งทำสมณธรรมยกย่อง ความเพียรเดินจงกรม ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/262/134/262/13 4/284/2 |
61 | ภิกษุจะวางไฟลงบนกองฟืน, ไฟนั้นไหม้ฟืนแล้วจะลุกลามไปไหม้ดินไม่ควร จะติดไฟที่ตอไม้แห้ง ก็ไม่ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/263/114/263/11 4/284/23 |
62 | ภิกษุจะเติมเชื้อก่อไฟในที่คบเพลิงตกนั้นแหละ ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/263/194/263/19 4/285/7 |
63 | ภิกษุส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไรกับคนอื่นเอานิ้วหรือไม้เท้าขีดเขียนดิน ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่มีสติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/264/174/264/17 4/286/3 |
64 | [๓๕๕] ภูตคาม ได้แก่ พืช 5 ชนิด คือ พืชเกิดจากเหง้า พืชเกิดจากต้นพืชเกิด จากข้อพืชเกิดจากยอดพืชเกิดจากเมล็ด (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๑) 4/267/194/267/19 4/288/21 |
65 | [๓๕๖] พืช ภิกษุสงสัยตัดเองหรือให้ตัด , ไม่ใช่พืชภิกษุสงสัยตัดเองหรือ ให้ตัด...ต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๑) 4/268/164/268/16 4/289/21 |
66 | [๓๕๗] ภิกษุกล่าวว่า จงรู้พืชนี้จงให้พืชนี้จงนำพืชนี้มาเราต้องการพืชนี้ ท่านจงทำพืชนี้ให้เป็นกัปปิยะ, ภิกษุไม่แกล้งพราก,ภิกษุทำเพราะไม่มีสติ ภิกษุไม่รู้...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๑) 4/269/64/269/6 4/290/10 |
67 | ภิกษุฟันต้นไม้ถูกลูกน้อยของเทวดาที่อยู่ต้นไม้นั้นแขนขาด(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/269/164/269/16 4/291/1 |
68 | ในป่าหิมพานต์ มีการประชุมเทวดา ทุกๆวันปักษ์ ถ้าเทวดาใดไม่ตั้งอยู่ใน รุกขธรรมจะไม่ได้เข้าประชุม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/270/34/270/3 4/291/6 |
69 | เทวดาผู้เป็นต้นเรื่องได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ได้อาศัยต้นไม้ในกำแพง วัดเชตวัน เป็นพุทธอุปัฏฐายิกา นั่งฟังธรรมพระพุทธองค์ในวิมานของตน 4/271/54/271/5 4/292/1 |
70 | ที่ชื่อว่า พีชชาต เพราะว่า เกิดจากเมล็ด อีกนัยหนึ่ง พืชเหล่านั้นด้วยเกิดแล้วด้วย คือ ผลิแล้ว มีใบ และรากงอกออกแล้ว จึงชื่อว่า พีชชาต (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/273/124/273/12 4/294/4 |
71 | ภิกษุพราก พีชคาม แม้ทั้ง 5 อย่าง อันนอกจาก ภูตคาม เป็นทุกกฏ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/275/134/275/13 4/295/24 |
72 | สาหร่าย ทั้งที่มีใบ และไม่มีใบแหนจอกโดยที่สุดฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) พึงทราบว่า ภูตคาม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/275/164/275/16 4/296/1 |
73 | ภิกษุ พรากกออุบล กอปทุมที่คนอื่น ถอนขึ้นไว้แล้ว เป็นทุกกฏ 4/276/84/276/8 4/296/16 |
74 | ตอไม้ที่งอกขึ้นได้ สงเคราะห์เข้าด้วย ภูตคาม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/277/54/277/5 4/297/12 |
75 | กิ่งไม้ช้างน้าว ที่งอกออกจากท่อนไม้ ที่ตัดกองไว้ เป็นพีชคาม ถ้างอกแต่ตุ่ม ราก หรือ ตุ่มใบ เป็นพีชคาม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/277/174/277/17 4/297/25 |
76 | เมล็ดที่งอกเพียงตุ่มราก หรือตุ่มใบ จัดเป็นเพียงพืชเท่านั้น เมื่อเกิดใบเขียวจึง เป็นภูตคาม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/278/14/278/1 4/298/6 |
77 | ตระไคร้น้ำ ถ้าแห้งจะกวาดออกได้อยู่ ตระไคร้น้ำข้างนอกหม้อน้ำดื่ม เป็นวัตถุ แห่งทุกกฏ ที่อยู่ภายในหม้อ เป็นอัพโพหาริก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/279/14/279/1 4/299/3 |
78 | เห็ดที่ตูม เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ เมื่อบานแล้วเป็นอัพโพหาริก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/279/94/279/9 4/299/11 |
79 | ภิกษุจารึกตัวอักษร ลงบนต้นไม้ ด้วยความคะนองมือ เป็นปาจิตตีย์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/279/164/279/16 4/299/18 |
80 | ขิงสดที่ให้ทำ กัปปิยะแล้ว มีรากงอกขึ้น จะตัดส่วนเบื้องบน ควรอยู่ถ้าเกิด หน่อจะตัดส่วนข้างล่างก็ควร เมื่อรากกับหน่อเขียวเกิดแล้ว จะตัดไม่ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/280/114/280/11 4/300/10 |
81 | แม้เมื่อจะเดินจงกรมแกล้งเอาเท้าทั้ง 2เหยียบไปด้วยคิดว่า สิ่งที่จะขาดจง ขาดไป เราจะแสดงที่ที่เราจงกรม ดังนี้ ก็ไม่ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/280/194/280/19 4/300/18 |
82 | ภิกษุกล่าวว่า จงตัดต้นไม้ จงตัดเถาวัลย์ จงถอนเหง้าหรือราก ก็ควรอยู่เพราะ เป็นคำพูดไม่ได้กำหนดลงแน่นอน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/281/44/281/4 4/301/1 |
83 | ภิกษุ พูดว่า จงทำต้นไม้เถาวัลย์ ผลไม้นี้ให้เป็นกัปปิยะ ด้วยคำเท่านี้ย่อมเป็น อันภิกษุกระทำการ ปลดเปลื้องภูตคาม แต่ภิกษุผู้จะบริโภค พึงให้อนุปสัมบัน ทำให้เป็นกัปปิยะซ้ำอีก เพื่อปลดเปลื้อง พีชคาม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/281/184/281/18 4/301/15 |
84 | พระพุทธองค์ทรงอนุญาต สมณะกัปปะ (ทำให้สมควรแก่สมณะ) 5 อย่าง 4/282/24/282/2 4/301/22 |
85 | ภิกษุกลิ้งหิน ฉุดลากกิ่งไม้ เอาไม้เท้ายันพื้นดิน เดินไปก็ดี ทำหญ้าขาดไปไม่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่แกล้งตัด (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/284/24/284/2 4/303/13 |
86 | ถ้าภิกษุถูกต้นไม้โค่นทับ และอาจเพื่อจะตัดต้นไม้ แล้วกลิ้งต้นไม้นั้นไปภิกษุ ไม่ควรจะกระทำ ด้วยตนเอง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่ภิกษุอื่นจะตัด หรือขุด ดินเพื่อช่วยภิกษุนั้น ควรอยู่ ไม่ต้องอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/284/154/284/15 4/304/1 |
87 | [๓๖๔] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยก อัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้นพูดกลบเกลื่อนต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๒) 4/290/204/290/20 4/309/7 |
88 | [๓๖๔] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยก วิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวน ในวัตถุหรืออาบัติณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น นิ่งเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ 4/291/44/291/4 4/309/12 |
89 | [๓๖๖]กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นธรรม หรือสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ... 4/292/24/292/2 4/310/10 |
90 | [๓๖๗] ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม , ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ , ภิกษุไม่ให้การด้วย คิดว่าความบาดหมางความทะเลาะความแก่งแย่งจักมีแก่สงฆ์,ภิกษุไม่ให้ ไม่ให้การด้วยคิดว่า จักเป็นสังฆเภท หรือสังฆราชี, ภิกษุไม่ให้ การด้วยคิดว่า สงฆ์จะทำกรรม โดยไม่ชอบธรรม โดยเป็นวรรค หรือจักไม่ทำกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรแก่กรรม...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๒) 4/292/64/292/6 4/310/15 |
91 | [๓๗๐] ภิกษุผู้สงฆ์สมมติแล้ว ถ้าภิกษุผู้ประสงค์จะแส่โทษให้อัปยศจึงโพนทะนา หรือบ่นว่า ซึ่งภิกษุที่สมมตินั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์(ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๓) 4/298/134/298/13 4/316/6 |
92 | [๓๗๒] ภิกษุที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ หรืออนุปสัมบัน ถ้าภิกษุผู้ประสงค์จะให้อัปยศ เก้อเขิน จึงโพนทะนา หรือบนว่า ซึ่งภิกษุหรืออนุปสัมบันนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๓) 4/299/44/299/4 4/317/2 |
93 | [๓๗๒] กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรมก็ตาม หรือสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ... (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๓) 4/299/144/299/14 4/317/14 |
94 | [๓๗๓] ภิกษุผู้ให้โพนทะนาหรือบ่นว่าภิกษุผู้มีปกติทำเพราะฉันทาคติ โทสาคติโมหาคติภยาคติไม่ต้องอาบัติ(ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๓) 4/299/194/299/19 4/317/20 |
95 | [๓๗๕] ทรงอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในปะรำ โคนไม้หรือในที่ซึ่งนกจะไม่ ขี้ใส่ได้ตลอด 8 เดือน ซึ่งกำหนดว่ามิใช่ฤดูฝน (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๔) 4/304/204/304/20 4/322/16 |
96 | [๓๗๖] ฟูก 5 ชนิด ได้แก่ ฟูกขนสัตว์ ฟูกเปลือกไม้ ฟูกเศษผ้า ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้ 4/305/134/305/13 4/323/14 |
97 | [๓๗๖] ใช้ภิกษุให้วาง เป็นธุระของผู้วาง (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๔) 4/305/214/305/21 4/323/22 |
98 | [๓๗๗] ภิกษุวางเอง หรือให้คนอื่นวาง ซึ่งเครื่องลาดรักษาผิวพื้น...เมื่อหลีกไป ไปไม่เก็บ หรือไม่มอบหมาย ต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๔) 4/306/184/306/18 4/324/18 |
99 | [๓๗๗] เสนาสนะของบุคคล ภิกษุสำคัญว่า ของสงฆ์ ให้วาง...ต้องอาบัติ ทุกกฏ เสนาสนะของตนไม่เป็นอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๔) 4/307/44/307/4 4/325/2 |
100 | [๓๗๘] ภิกษุเอาผึ่งแดดไว้ ไปด้วยตั้งใจ จักกลับมาเก็บ, เกิดเหตุฉุกเฉิน ภิกษุมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่๔) 4/307/104/307/10 4/325/9 |
101 | ในฤดูหนาว ถ้าฝนมักตก ก็ไม่ควรเก็บเสนาสนะไว้ ในที่แจ้ง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/309/64/309/6 4/326/22 |
102 | ถ้าเขาถวาย เตียงตั่งใหม่ให้ใช้เป็นของสงฆ์ แก่ภิกษุผู้อยู่ป่าเมื่อจะไปควร บอกแก่ภิกษุผู้อยู่วิหารใกล้เคียง หรือเก็บไว้ในที่ที่ฝนไม่รั่วรดหรือแขวนไว้ ที่ต้นไม้แล้วจึงไป (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/309/204/309/20 4/327/10 |
103 | ให้เก็บไม้กวาดไว้ในสถานที่กันฝนได้ ถ้าไม้กวาดเป็นของที่เขาเก็บไว้ เพื่อใช้ใน ที่นั้นๆ ให้เก็บไว้ในที่นั้นๆ ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/310/54/310/5 4/327/16 |
104 | ในเสนาสนะนี้ ชื่อว่า หนังที่เป็นอกัปปิยะไม่มี แม้เสนาสนะที่เป็นวิการแห่งทอง ก็ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/311/134/311/13 4/328/19 |
105 | ว่าด้วยผู้รับผิดชอบในเสนาสนะบริขารมีเตียงเป็นต้น(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/311/214/311/21 4/329/3 |
106 | ภิกษุวางเชิงบาตรฝาบาตร กระเบื้องเช็ดเท้า พัดใบตาล เครื่องไม้ กระบวยตักน้ำในที่แจ้ง แล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/315/44/315/4 4/332/1 |
107 | ภิกษุต้มน้ำย้อมในที่แจ้ง พึงเก็บเครื่องใช้ทั้งปวง ไว้ในโรงไฟ หรือที่ ๆมีภิกษุ ดูแลอยู่แล้วจึงไป (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/315/74/315/7 4/332/4 |
108 | บุคคลใดถือวิสาสะกันได้ในสิ่งของๆ คนนั้นย่อมเป็นดุจของส่วนตัวของตน 4/315/124/315/12 4/332/10 |
109 | [๓๘๐] ชื่อว่าที่นอน ได้แก่ฟูกเครื่องลาดรักษาผิวพื้น เครื่องลาดเตียง เครื่องลาดพื้นเสื่ออ่อนท่อนหนังผ้าปูนั่งผ้าปูนอนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยไม้ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/318/174/318/17 4/335/4 |
110 | [๓๘๑] ภิกษุปู หรือให้ปูซึ่งที่นอนในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป ใต้ต้นไม้เมื่อหลีกไป ไม่เก็บ...เป็นทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/319/204/319/20 4/336/7 |
111 | [๓๘๑]ภิกษุตั้ง หรือให้ตั้งซึ่งเตียง ตั่งในวิหาร ในอุปจารวิหารในโรงฉันใน มณฑป หรือใต้ต้นไม้ เมื่อหลีกไป ไม่เก็บ...เป็นทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/320/34/320/3 4/336/11 |
112 | [๓๘๒] เสนาสนะมีเหตุบางอย่าง ขัดขวาง ,ภิกษุยังห่วงไปยืนอยู่ณที่นั้น บอกมอบหมายมา , ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวาง , ภิกษุมีอันตราย...ไม่ต้อง อาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/320/134/320/13 4/336/21 |
113 | ถ้าภิกษุหรือแม้แต่คนวัดก็ไม่มีพึงบอกเจ้าของผู้สร้างวิหาร หรือ คนในตระกูล ของเขาถ้าไม่มี ภิกษุพึงวางเตียงลงบนหิน 4 ก้อน แล้วยกเตียงตั่งที่เหลือขึ้น วางบนเตียงนั้น รวมที่นอนกองไว้ข้างบนเก็บภัณฑะไม้และ ดิน ปิดประตู หน้าต่างบำเพ็ญคมิยวัตรแล้วจึงไป. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/321/154/321/15 4/337/17 |
114 | [๓๘๔] ภิกษุปู หรือให้ปู ซึ่งที่นอนในสถานที่ใกล้เตียง ตั่ง ทางเข้าออก ต้อง อาบัติทุกกฏนั่ง หรือนอนทับต้องอาบัติปาจิตตีย์ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/327/174/327/17 4/343/11 |
115 | [๓๘๕] เว้นอุปจารเตียงตั่งหรือทางเข้าออกไว้ภิกษุปูหรือให้ปูซึ่งที่นอน ต้องอาบัติทุกกฏนั่ง หรือนอนทับต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/328/124/328/12 4/344/5 |
116 | [๓๘๕] ภิกษุปู หรือให้ปู ซึ่งที่นอน ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑปใต้ต้นไม้ ในที่แจ้งต้องอาบัติทุกกฏ นั่ง หรือนอนทับต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/328/144/328/14 4/344/8 |
117 | [๓๘๖] ภิกษุอาพาธเข้าอยู่, ภิกษุถูกความหนาว หรือร้อนเบียดเบียนแล้ว เข้าอยู่ ,มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/329/24/329/2 4/344/17 |
118 | ถ้าภิกษุใด ใคร่จะสำเร็จการนอนแทรกแซง แล้วผุดลุกผุดนั่ง เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/330/154/330/15 4/346/6 |
119 | [๓๘๙] คำว่า ฉุดคร่า ได้แก่ จับในห้องฉุดออกไปหน้ามุข ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/334/94/334/9 4/349/16 |
120 | [๓๙๐] ภิกษุขนหรือให้ขนซึ่งบริขารของภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏภิกษุ ฉุดคร่าอนุปสัมบัน จากวิหารจากอุปจารวิหาร...ต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/335/24/335/2 4/350/10 |
121 | [๓๙๑] ภิกษุฉุดคร่าภิกษุอลัชชี , ฉุดคร่าภิกษุวิกลจริต , ฉุดคร่าภิกษุผู้ก่อ ความหมาดหมาง, ฉุดคร่าลูกศิษย์ผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/335/164/335/16 4/351/3 |
122 | [๓๙๔] ร้านที่ไม่กระทบศีรษะ ของมัชฌิมบุรุษ (บุรุษผู้มีขนาดปานกลาง) ชื่อว่าร้าน (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/339/134/339/13 4/354/19 |
123 | [๓๙๖] ไม่ใช่ร้าน, ร้านสูงพอกระทบศีรษะ , ข้างล่างไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่,ข้างบน ปูพื้นไว้, เท้าเตียง ตั่ง ได้ตรึงสลักกับตัว,ภิกษุยืนบนเตียง ตั่งนั้นหยิบ หรือพาด จีวรได้...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/340/134/340/13 4/356/4 |
124 | สิกขาบทข้อนี้ หมายเอา เวหาสกุฎี ที่ไม่ได้ปูพื้น สูงไม่กระทบศีรษะ แห่งบุรุษ ผู้มีขนาดปานกลาง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/341/134/341/13 4/357/4 |
125 | [๓๙๘] ถ้าภิกษุยืน สั่งการ ในที่มีของสดเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/345/34/345/3 4/360/17 |
126 | [๔๐๑] ภิกษุสร้างถ้ำ,สร้างคูหา , สร้างกุฎีหญ้า , สร้างกุฎีเพื่อภิกษุอื่น , ภิกษุสร้างด้วยทรัพย์ของตน ,เว้นอาคารอันเป็นที่อยู่เสียภิกษุสร้างทุกอย่างอาบัติ ...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/346/24/346/2 4/361/15 |
127 | [๔๐๔] น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย รดหรือให้รด ซึ่งหญ้าหรือดินต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ไม่ต้องอาบัติ , น้ำไม่มีตัวสัตว์ ภิกษุสงสัย หรือ สำคัญว่ามีตัวสัตว์รด หรือให้รด ซึ่งหญ้าหรือดินต้องอาบัติทุกกฏ. (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/352/164/352/16 4/367/7 |
128 | [๔๐๕] ภิกษุไม่แกล้ง, ภิกษุไม่มีสติ, ภิกษุไม่รู้...ไม่ต้องอาบัติ (ภูตคามวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/353/24/353/2 4/367/15 |
129 | ภิกษุทิ้งหญ้า หรือดิน ลงในน้ำที่มีสัตว์เล็กๆ และสัตว์นั้น จะตายเสีย ต้องอาบัติ ทุกๆ ประโยค (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/354/44/354/4 4/368/15 |
130 | [๔๐๖] ทรงอนุญาตให้สมมติ ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี(โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/357/214/357/21 4/371/20 |
131 | [๔๐๗] องค์ 8ของภิกษุผู้ควรกล่าวสอนภิกษุณี (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/361/64/361/6 4/374/13 |
132 | [๔๐๙] ภิกษุกล่าวสอนด้วยครุธรรม 8 ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวด้วยสอน ธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ, สอนภิกษุณีผู้บวชในภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สอนต้องมีเพื่อนภิกษุนั่งอยู่ด้วย(โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/362/114/362/11 4/375/19 |
133 | [๔๑๐] ครุธรรม 8 ประการ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/363/84/363/8 4/376/13 |
134 | [๔๒๓]ภิกษุให้อุเทศ , ภิกษุให้ปริปุจฉา , ภิกษุณีนิมนต์ให้สวด แล้วสวดอยู่ ภิกษุถามปัญหา , ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วแก้, กล่าวสอนผู้อื่นอยู่ภิกษุณียืน ฟังอยู่ด้วย, กล่าวสอนสิกขมานา, กล่าวสอนสามเณรี...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/368/144/368/14 4/381/16 |
135 | ติรัจฉานกถาได้แก่ ถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์ มีราชกถา เป็นต้น อันเป็นการขัดขวาง แม้ในการไปสู่ทางสวรรค์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/370/34/370/3 4/382/23 |
136 | ปาฏิโมกข์ ได้แก่ศีลอันเป็นที่อาศัย...เป็นประธาน เพื่อความถึงพร้อมแห่ง กุศลธรรมทั้งหลาย (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/371/54/371/5 4/383/25 |
137 | ภิกษุมีพรรษา 5พึงรู้วินัยเรียนพระสูตร 4 ภาณวาร รู้กรรมและมิใช่กรรม เรียนกรรมฐานจึงจะอยู่เป็นอิสระได้ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/373/94/373/9 4/385/23 |
138 | ภิกษุมีพรรษา 10พึงรู้วินัย เรียนกรรมและมิใช่กรรม และขันธกวัตรเรียน พระสูตรไม่ต้องจบทั้งนิกายก็ได้ หรือ เรียนชาดกธรรมบทพร้อมอรรถกถา ถ้าไม่ได้พระสูตร ไม่ควรเป็นผู้ให้บริษัทอุปัฏฐาก(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/374/14/374/1 4/386/12 |
139 | ส่วนภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีพึงเรียน 3 ปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ถ้าไม่ได้ก็เรียน เอานิกายเดียวให้ชำนาญ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/375/14/375/1 4/387/9 |
140 | [๔๒๕] ภิกษุณีตำหนิพระจุฬปันถก ที่ให้โอวาทสั้นๆแก่พวกตนซ้ำๆเดิม (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/394/204/394/20 4/405/13 |
141 | [๔๒๘] ภิกษุให้อุเทศ, ให้ปริปุจฉา, ภิกษุณีนิมนต์ ให้สวด ภิกษุสวดอยู่, ภิกษุ ถามปัญหา, ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วแก้, ภิกษุสอนผู้อื่นอยู่ แต่ภิกษุณีฟังอยู่ด้วย สอนสิกขมานา, สอนสามเณรี...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/397/174/397/17 4/408/6 |
142 | [๔๓๒] อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุสำคัญว่า อุปสัมบันภิกษุณีสั่งสอนต้องอาบัติ ทุกกฏ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/405/44/405/4 4/415/13 |
143 | ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมติเมื่อพระอาทิตย์ตกแล้วเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแล้ว กล่าวสอนด้วยธรรมอื่น.เพราะไม่ได้รับสมมติ และ เพราะไปสำนักภิกษุณี แล้วสอนธรรมอื่นเป็นทุกกฏ 2 ตัว. เป็นปาจิตตีย์ เพราะสอนเมื่อพระอาทิตย์ ตกแล้ว (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/406/184/406/18 4/417/5 |
144 | [๔๓๕] คำว่า เพราะเหตุแห่ง อามิส คือ เพราะเหตุแห่งจีวรบินฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารสักการะเคารพความนับถือการกราบไหว้ การบูชา (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/409/114/409/11 4/419/11 |
145 | [๔๓๖] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ทำให้อัปยศทำให้เก้อเขินกล่าวกับภิกษุผู้ ได้รับสมมติ ให้เป็นผู้สอนภิกษุณีว่า สอนเพราะเหตุแห่งลาภต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/409/144/409/14 4/419/14 |
146 | [๔๔๑] ภิกษุกล่าวกับ ภิกษุผู้กล่าวสอน เพื่อลาภโดยปกติ...ไม่เป็นอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/410/224/410/22 4/421/8 |
147 | [๔๔๓] ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน แก่สหธรรมิกทั้ง 5(โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/414/64/414/6 4/424/14 |
148 | [๔๔๖] ภิกษุณีถือวิสาสะ, ภิกษุณีถือเอาเป็นของยืม, ภิกษุให้บริขารอื่นเว้นจีวร ภิกษุให้แก่สิกขมานา, ภิกษุให้กับสามเณรี...ไม่ต้องอาบัติ(โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/416/24/416/2 4/426/10 |
149 | [๔๔๘] ภิกษุเย็บเอง ซึ่งจีวร ให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์ทุกๆ รอยเข็ม. (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/419/104/419/10 4/429/21 |
150 | [๔๕๐] ภิกษุเย็บ หรือให้เย็บ บริขารอื่น เว้นจีวร, เย็บเพื่อสิกขมานา, เย็บเพื่อ สามเณรี...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/420/94/420/9 4/431/4 |
151 | ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ของพระอาจารย์ แม้ลูกศิษย์จะเย็บแทนพระอาจารย์ ก็เป็นปาจิตตีย์ แก่พวกพระลูกศิษย์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/421/214/421/21 4/432/19 |
152 | [๔๕๓] ภิกษุชักชวนภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ, ในหมู่บ้าน กำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ระยะบ้าน, ในป่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ กึ่งโยชน์ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/425/174/425/17 4/436/12 |
153 | [๔๕๕] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป, ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน , ไปผิดนัด มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/427/44/427/4 4/438/4 |
154 | ภิกษุ และภิกษุณี ชักชวนกันใน สำนักภิกษุณี ในระหว่างวัด ในโรงฉันในที่อยู่ เดียรถีย์ ไม่เป็นอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/428/214/428/21 4/439/23 |
155 | [๔๖๐] ข้ามฝาก, ไม่ได้ชักชวนกัน, ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน,โดยสาร เรือผิดนัด, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/435/44/435/4 4/446/6 |
156 | ไปทางทะเล ไม่ต้องอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/436/124/436/12 4/447/16 |
157 | [๔๖๒] ในเพราะโยม เขาเตรียมไว้ก่อน พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้ รู้อยู่ ฉันบิณฑบาต ที่ภิกษุณีแนะนำให้เขาถวายได้(โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/439/184/439/18 4/450/11 |
158 | [๔๖๕] สิกขมานา แนะนำให้เขาถวาย, สามเณรีแนะนำให้เขาถวาย, อาหาร ทุกชนิด เว้นโภชนะ 5 ...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/441/174/441/17 4/452/18 |
159 | ไม่เป็นอาบัติใน ยาคู และของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่แม้ที่นางภิกษุณี แนะนำให้ถวาย (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/443/164/443/16 4/454/13 |
160 | [๔๖๙] ภิกษุมีบุรุษ ผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน, ภิกษุยืนมิได้นั่ง, ภิกษุผู้มิได้มุ่งที่ลับ ภิกษุนั่งส่งใจ ไปในอารมณ์อื่น...ไม่ต้องอาบัติ (โอวาทวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/446/154/446/15 4/458/2 |
161 | [๔๗๑] ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อาพาธ อยู่ฉันอาหารในโรงทาน เป็นประจำได้ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/451/104/451/10 4/462/9 |
162 | [๔๗๒] อาหารในโรงทาน ได้แก่ โภชนะ 5 อย่างใด อย่างหนึ่ง ที่เขาจัดไว้ณ ศาลาปะรำ มิได้จำเพาะใคร มีพอแก่ความต้องการ ภิกษุผู้ไม่ป่วย ฉันได้1 ครั้ง หากเกินกว่านั้น รับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักฉันต้องอาบัติทุกกฏกลืนกินต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/452/24/452/2 4/462/21 |
163 | [๔๗๔]ภิกษุป่วย , ภิกษุไม่ป่วยฉันครั้งเดียว , ภิกษุเดินทางไปหรือเดินทาง กลับมาแวะฉัน, เจ้าของนิมนต์ให้ฉัน, ฉันอาหารที่เขาจัดไว้เฉพาะ,ฉันอาหาร ที่เขาไม่ได้จัดไว้มากมาย, ฉันอาหารทุกชนิด เว้นโภชนะ 5 ...ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/453/24/453/2 4/464/2 |
164 | โภชนะที่ตระกูลต่างๆ จัดไว้ในที่ต่างๆ กัน ภิกษุฉันวันหนึ่งในที่แห่งหนึ่งวันที่ 2ฉันอีกที่อื่น ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/454/214/454/21 4/465/20 |
165 | ไม่เป็นอาบัติในของทุกชนิด เช่น ยาคูของควรเคี้ยวและผลไม้น้อยใหญ่ เป็นต้น แม้ฉันเป็นนิตย์ ก็ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/456/24/456/2 4/466/19 |
166 | [๔๗๖] ทรงอนุญาติให้ ภิกษุอาพาธ ฉันเป็นหมู่ได้ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/458/184/458/18 4/468/13 |
167 | [๔๗๗-๔๘๒] ภิกษุไม่ป่วย ฉันเป็นหมู่ได้ในคราวถวายจีวร , คราวทำจีวร, คราวเดินทางไกล, คราวโดยสารไปในเรือ, คราวประชุมใหญ่, คราวอาหาร ของนักบวชทำถวาย (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/459-4644/459-464 4/469-474 |
168 | [๔๘๓] ฉันเป็นหมู่ คือ มีภิกษุ 4 รูป อันเขานิมนต์ด้วยโภชนะ 5 อย่างใด อย่างหนึ่ง แล้วฉัน (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/464/174/464/17 4/474/15 |
169 | [๔๘๓] นอกจากสมัย ภิกษุรับว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏกลืนกินต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/465/154/465/15 4/475/17 |
170 | [๔๘๕] ภิกษุ2-3 รูปฉันรวมกัน, ภิกษุหลายรูป เที่ยวบิณฑบาตแล้วประชุม ฉันแห่งเดียวกัน, ภัตเขาถวายเป็นนิตย์,ภัตเขาถวายตามสลาก, ภัตเขาถวาย ในปักษ์, ภัตเขาถวายในวันอุโบสถ, ภัตเขาถวายในวันปาฏิบท, ฉันอาหารทุก ชนิด เว้นโภชนะ 5 ...ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/466/94/466/9 4/476/9 |
171 | คณโภชนะนี้ ย่อมเป็นไปโดยอาการ2คือโดยการนิมนต์โดยวิญญัติ (การออกปากขอ ต่อคนไม่ควรขอ) (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/468/174/468/17 4/478/17 |
172 | ภิกษุทั้งหลายจะรับนิมนต์ รวมกันจะไปพร้อมกันหรือต่างกันก็ตาม, รับประเคน ต่างกันจะฉันรวมกันหรือฉันแยกกันก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/469/54/469/5 4/479/2 |
173 | ภิกษุทั้งหลายจะรับนิมนต์ รวมกันหรือต่างกันก็ตาม,จะเอ่ยปากขอด้วยกัน หรือต่างคน ต่างขอก็ตาม, จะไปพร้อมกันหรือต่างกันก็ตาม, จะฉันร่วมกัน หรือ ฉันต่างกันก็ตาม ถ้ารับประเคนรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/469/134/469/13 4/478/26 |
174 | อธิบาย คำว่าเมื่อภิกษุกำลังทำจีวรกันอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/470/94/470/9 4/479/23 |
175 | ภิกษุ3 รูปมีภิกษุที่ไม่ได้นิมนต์หรือมีภิกษุที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรหรือมี สามเณร หรือมีบาตรของภิกษุรูปหนึ่งไปด้วย เป็นที่ 4 ทำให้ภิกษุทั้งหมด ไม่ ต้องอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/471/174/471/17 4/481/8 |
176 | วิธีนิมนต์ พระรับภิกษา (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/473/174/473/17 4/483/4 |
177 | ภัตประจำเรียกว่า นิตยภัต (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/476/94/476/9 4/485/14 |
178 | [๔๙๐] ทรงอนุญาตให้วิกัป ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ แล้วฉันโภชนะทีหลังได้.. (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/483/74/483/7 4/491/20 |
179 | [๔๙๑] โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรับนิมนต์ ด้วยโภชนะ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง ไว้ แล้ว เว้นโภชนะนั้น ฉันโภชนะ 5 อย่างใดอย่างหนึ่งอื่น(โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/483/134/483/13 4/492/5 |
180 | [๔๙๓] ภิกษุวิกัปแล้วฉัน , ภิกษุฉันบิณฑบาตที่รับนิมนต์ไว้2-3 แห่งรวมกัน ภิกษุฉันตามลำดับที่รับนิมนต์ ,ภิกษุรับนิมนต์ชาวบ้านทั้งมวลแล้วฉันณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในบ้านนั้น , ภิกษุรับนิมนต์หมู่ประชาชนทุกเหล่าแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในประชาชน หมู่นั้น ,ภิกษุถูกเขา นิมนต์แต่บอกว่าจะรับ ภิกษา, อาหารที่เขาถวายเป็นนิตย์, อาหารที่เขาถวายตามสลาก, อาหารที่เขา ถวายในปักษ์,อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ, อาหารที่เขาถวายในวันปาฏิบท ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดเว้นโภชนะ 5...ไม่ต้องอาบัติ(โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/484/194/484/19 4/493/17 |
181 | เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระคันธกุฎีพระองค์ไม่ทรงทำให้กรรมเสีย ไม่ทรงทำให้กรรมสมบูรณ์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/486/94/486/9 4/495/10 |
182 | ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตได้อาหารมา อุบาสกอื่นนิมนต์ ให้นั่งคอยอยู่ในเรือนและ อาหารยังไม่เสร็จถ้าภิกษุนั้นฉันอาหารที่ตนบิณฑบาตมาก่อนเป็นอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/488/34/488/3 4/497/1 |
183 | [๔๙๖] ขนมได้แก่ ของกินที่เขาจัดเตรียมไว้ เป็นของกำนัล , สัตตุผงได้แก่ ของกินที่เขาจัดเตรียมไว้ เพื่อ เป็นเสบียงเดินทาง (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/492/214/492/21 4/501/16 |
184 | [๔๙๖] ถ้ารับเต็ม 2-3 บาตรแล้ว ต้องบอกภิกษุอื่นด้วย ถ้าไม่บอกต้องอาบัติ ทุกกฏ, ภิกษุผู้รับบอก ยังขืนรับ ต้องอาบัติทุกกฏ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/493/94/493/9 4/502/5 |
185 | [๔๙๘] เขาไม่ได้ถวาย ของที่เตรียมไว้เป็นของกำนัล หรือเสบียงทาง, เขาถวาย ของที่เตรียมไว้ เหลือแล้วจากเสบียงทาง หรือของกำนัล, เขาระงับการไปแล้ว ถวาย, ภิกษุรับของพวกญาติ หรือคนปวารณา ,ภิกษุรับเพื่อประโยชน์แก่ ภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน...ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/494/74/494/7 4/503/9 |
186 | แม่ของนางกาณา เป็นอริยสาวก นางกาณาได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จบ ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/495/104/495/10 4/504/15 |
187 | ภิกษุควรรับแต่พอประมาณ แม้ของพวกญาติ หรือคนปวารณา (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/497/154/497/15 4/506/21 |
188 | [๕๐๐] ทรงอนุญาตให้ฉันอาหาร อันเป็นเดน ของภิกษุผู้อาพาธ และมิใช่ผู้อาพาธ ได้ แต่พึงทำให้เป็นเดน อย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/500/84/500/8 4/509/8 |
189 | [๕๐๑] ที่ชื่อว่า ฉันเสร็จ ได้แก่ฉันโภชนะ5อย่างใดอย่างหนึ่งแม้เท่าปลายหญ้าคา 4/500/204/500/20 4/509/21 |
190 | [๕๐๑] ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ 1.กำลังฉันอยู่2.ทายกนำโภชนะมาถวายอีก 3.ทายกอยู่ในหัตถบาส 4.ทายกน้อมถวาย 5.ภิกษุห้ามเสีย (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/501/24/501/2 4/510/2 |
191 | อรรถกถาอธิบายลักษณะการห้ามภัต 4/505/14/505/1 4/513/22 |
192 | [๕๐๑] ลักษณะของเป็นเดน (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/501/104/501/10 4/510/10 |
193 | [๕๐๑] โภชนะ 5 คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้งปลา เนื้อ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/501/184/501/18 4/510/16 |
194 | [๕๐๑] ภิกษุรับประเคน ด้วยตั้งใจว่า จะเคี้ยวจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/501/204/501/20 4/510/18 |
195 | [๕๐๒] ภิกษุรับประเคนของที่เป็นยามกาลิกสัตตาหกาลิกยาวชีวิกเพื่อ ประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/502/84/502/8 4/511/6 |
196 | [๕๐๓] ภิกษุทำให้เป็นเดนแล้วฉัน, ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จะทำให้ เป็นเดนแล้วฉัน, ภิกษุรับเพื่อประโยน์แก่ภิกษุอื่น, ฉันอาหารที่เหลือของภิกษุ อาพาธ, ฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิกยาวชีวิก เมื่อมีเหตุอันควร...ไม่ต้องอาบัติ. 4/502/164/502/16 4/511/14 |
197 | หญ้ากับแก้ดำ และติณธัญชาติ แม้ทุกชนิด เช่น หญ้าข้าวนก (ข้าวละมาน หรือ ข้าวฟ่างก็ว่า) เป็นต้น ชื่อว่าหญ้ากับแก้ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/505/184/505/18 4/514/15 |
198 | ที่ชื่อว่า อยู่ในหัตถบาส คือ 2 ศอกคืบ ถ้าภิกษุนั่ง กำหนดตั้งแต่ริมสุดด้านหลัง ของอาสนะไป (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/511/84/511/8 4/519/3 |
199 | ห้ามภัตในอิริยาบถใด ก็ให้ฉันในอิริยาบถนั้น ถ้าเปลี่ยนไป ต้องทำให้เป็นเดนจึงฉันได้ 4/516/84/516/8 4/523/16 |
200 | วัตถุที่เขานำมา เฉพาะภิกษุอาพาธ ด้วยใส่ใจว่า ท่านจักฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้ ก็เป็นเดนภิกษุอาพาธ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/519/184/519/18 4/526/19 |
201 | อาบัติทุกกฏ ที่ต้องทุกคำกลืน ในกาลิกทั้งหลาย มี ยามกาลิก ท่านปรับด้วย การไม่ระคน ถ้าระคนกับอามิสเป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุที่รับเพื่อประโยชน์แก่ อาหาร หรือมิใช่อาหารก็ดี กลืนกิน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/520/14/520/1 4/526/24 |
202 | [๕๐๕] ภิกษุนำไป ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับไว้ตามคำของเธอ เพื่อจะฉัน ภิกษุผู้ นำไปต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไปต้องทุกกฏทุกๆ คำกลืนภิกษุนั้น ฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไปต้องอาบัติปาจิตตีย์ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/524/54/524/5 4/530/12 |
203 | [๕๐๖] ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ไปเพื่อประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/524/174/524/17 4/530/24 |
204 | [๕๐๗] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วให้, ภิกษุให้ด้วยบอกว่าจงให้ทำเป็นเดนแล้ว จึงฉันเถิด, ให้ด้วยบอกว่า จงนำไปเพื่อภิกษุอื่น , ให้อาหารที่เหลือของภิกษุ อาพาธ,ให้ด้วยบอกว่า ในเมื่อมีเหตุอันควรจงฉันยามกาลิกสัตตาหกาลิกยาวชีวิกภิกษุวิกลจริตภิกษุต้นบัญญัติ ไม่เป็นอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/525/44/525/4 4/531/9 |
205 | [๕๐๙] ภิกษุรับไว้ ด้วยตั้งใจว่าจักเคี้ยวจักฉันต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืนต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/529/14/529/1 4/535/1 |
206 | [๕๑๐] ภิกษุรับยามกาลิกสัตตาหกาลิกยาวชีวิกเพื่อประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/529/124/529/12 4/535/12 |
207 | [๕๑๑]ภิกษุฉันยามกาลิกสัตตาหกาลิกยาวชีวิก เมื่อมีเหตุสมควร
ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/529/204/529/20 4/536/2 |
208 | เวลาวิกาล หมายตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/531/14/531/1 4/537/3 |
209 | มูลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์ แก่ของควรเคี้ยว ในของ ควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค เภสัช เหล่านั้นเป็นยาวชีวิก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/532/84/532/8 4/538/8 |
210 | หัวเถากลอย (เถาน้ำนมเถาข้าวสารก็ว่า)ที่ยังไม่ฟอก เป็นยาวชีวิก ที่ฟอก แล้วเป็นยาวกาลิก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/533/174/533/17 4/539/15 |
211 | ลูกพิลังกาสาดีปลีพริกสมอไทยสมอพิเภกมะขามป้อมผลแห่งโกฐ เป็นยาวชีวิก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/537/194/537/19 4/543/1 |
212 | น้ำอ้อยตังเมเป็น สัตตาหกาลิก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/539/14/539/1 4/544/4 |
213 | [๕๑๓] ทำการสั่งสม ได้แก่ ของที่รับประเคนในวันนั้น ขบฉันในวันอื่น (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/541/134/541/13 4/546/16 |
214 | [๕๑๕] ภิกษุเก็บของเป็น ยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล, เก็บยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม เก็บสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่ว7 วัน,ฉันของเป็นยาวชีวิก เมื่อมีเหตุสมควร.... ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/542/184/542/18 4/548/2 |
215 | ล้างบาตรไม่สะอาด แล้วนำมาใส่อาหารฉัน ต้องอาบัติสิกขาบทนี้ส่วนในบาตรที่ มีสีน้ำมัน รอยนิ้วมือย่อมปรากฏ รอยนั้นเป็นอัพโพหาริก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/544/64/544/6 4/549/13 |
216 | ถ้าภิกษุไม่เสียดาย สละโภชนะใดให้แก่ สามเณรและสามเณรนั้นเก็บไว้นำมา ถวาย แก่ภิกษุควรทุกอย่าง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/544/134/544/13 4/549/21 |
217 | [๕๑๙] ภิกษุผู้ไม่ป่วย ขอเพื่อตนเอง เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอเมื่อได้ของ นั้นมา รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจักฉันต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืนต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน (โภชนวรรคสิกขาบทที่๙) 4/550/84/550/8 4/555/4 |
218 | [๕๒๑] ภิกษุป่วย , ภิกษุเป็นผู้ป่วย ขอมา หายป่วยแล้วฉัน , ภิกษุฉันอาหารที่ เหลือของภิกษุป่วย, ภิกษุขอต่อญาติ หรือคนปวารณา, ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ แก่ภิกษุอื่น , จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ...ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่๙) 4/551/44/551/4 4/556/4 |
219 | ภิกษุขอโภชนะที่ดี ล้วนๆ มีเนยใส เป็นต้นมาฉัน ไม่ต้องปาจิตตีย์.แต่ต้อง ทุกกฏเพราะขอแกง และข้าวสุก ในเสขิยวัตร. แต่ภิกษุขอโภชนะดี ที่ระคน กับข้าวสุกมาฉัน ต้องปาจิตตีย์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/551/174/551/17 4/557/1 |
220 | [๕๒๔] ชื่อว่าเขาให้ คือ เมื่อเขาให้ด้วยกาย, ด้วยของเนื่องด้วยกาย, หรือโยนให้ เขาอยู่ในหัตถบาส, ภิกษุรับด้วยกายหรือของเนื่องด้วยกาย (โภชนวรรคสิกขาบทที่๑๐) 4/557/54/557/5 4/562/8 |
221 | [๕๒๔] ภิกษุถือเอาด้วย ตั้งใจว่า จะเคี้ยวจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน (โภชนวรรคสิกขาบทที่๑๐) 4/557/114/557/11 4/562/15 |
222 | [๕๒๖] ภิกษุกลืนน้ำ และไม้ชำระฟัน, ฉันยามหาวิกัติ 4 ในเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เมื่อ ไม่มีกัปปิยการก ภิกษุถือเอาเอง แล้วฉันได้...ไม่ต้องอาบัติ (โภชนวรรคสิกขาบทที่๑๐) 4/558/94/558/9 4/563/12 |
223 | ถ้าแม้นเขาให้ของที่ต้องทำการนัตถุ์ ภิกษุอาพาธไม่อาจนัตถุ์เข้าทางช่องจมูก ได้เลยรับเข้าทางปากได้ (รับประเคนทางปาก)ความจริงเพียงความใส่ใจ เท่านั้นเป็นประมาณในการรับประเคนนี้ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/561/114/561/11 4/566/6 |
224 | การรับประเคน มีองค์ 5 (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/562/44/562/4 4/566/20 |
225 | ในเตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอในหินที่เคลื่อนย้ายไม่ได้การรับประเคนก็ไม่ขึ้น (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/564/74/564/7 4/568/16 |
226 | ถ้าในบาตร มีผงน้ำย้อม เมื่อมีน้ำพึงล้างไม่มีน้ำพึงเช็ด หรือรับประเคนก่อน จึงออกบิณฑบาต (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/564/164/564/16 4/569/1 |
227 | ถ้าบิณฑบาตอยู่ มีผงตกลงในบาตร พึงรับประเคนก่อนจึงรับภิกษา แต่เมื่อไม่ รับประเคน รับ (ภิกษา) เป็นวินัยทุกกฏ แต่ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้รับประเคน ธุลีที่ตกนั้นใหม่แล้วฉัน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/564/184/564/18 4/563/3 |
228 | ถ้าบาตรมีธุลี เมื่อไม่มีอนุปสัมบัน อย่าปล่อยบาตรจากมือเลย เมื่อถึงที่มี อนุปสัมบันแล้ว พึงรับประเคนใหม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/565/104/565/10 4/569/14 |
229 | ถ้าเขากำลังจัดผักดองลงในบาตรภิกษุรูปหนึ่ง แต่น้ำผักกระเด็น จากผักไปตก ในบาตรภิกษุอื่น เธอพึงรับประเคนก่อน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/565/234/565/23 4/570/5 |
230 | ถ้าข้าวปายาสร้อน ไม่สามารถจะจับบาตรได้ พึงรับด้วยเชิงรองบาตร 4/566/44/566/4 4/570/10 |
231 | ของใดที่เขากำลังถวาย พลัดหลุดจากมือของผู้ถวายภิกษุจะหยิบฉันก็ควร แต่ถ้าภิกษุอื่นหยิบ ภิกษุเจ้าของอนุญาตให้ จึงควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/566/194/566/19 4/571/3 |
232 | ของที่พลัดตกนั้น ภิกษุไม่ได้จับต้อง วันรุ่งขึ้น จึงรับประเคนแล้วฉันควรอยู่ ไม่เป็นสันนิธิ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/567/174/567/17 4/571/23 |
233 | ขณะฉันอยู่ ฟัน เล็บ สีผิวบาตร ย่อมสึกกร่อน เป็นอัพโพหาริก, มีดที่ล้างแล้ว มีแต่กลิ่นโลหะ ก็เช่นกัน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/568/24/568/2 4/572/5 |
234 | ภิกษุเที่ยวบิณฑบาต เมื่อฝนตก น้ำสกปรกจากตัวหรือจากจีวรลงในบาตร พึงรับประเคนบาตรใหม่ เมื่อฝนตกตลอด 7 วัน เป็นน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำฝนตก กลางแจ้ง ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/568/164/568/16 4/572/20 |
235 | สามเณรเล็กๆ ช่วยกัน 2-3 รูป ยกถวายก็ได้ หรือหมุนใส่มือภิกษุก็ได้ 4/570/54/570/5 4/574/7 |
236 | ภายใต้เตียง มีถ้วยน้ำมัน ยังไม่ได้รับประเคน ถ้าภิกษุเอาไม้กวาดกวาดกระทบ ถ้วยน้ำมัน ยังไม่เป็นอุคคหิตก์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/570/194/570/19 4/574/15 |
237 | ภิกษุตั้งใจ เราจะหยิบของที่รับประเคนไว้แล้ว ไพล่ไปหยิบของที่ไม่ได้รับประเคน รู้แล้วกลับวางไว้ในที่ที่ตนหยิบมา ของนั้นไม่เป็นอุคคหิตก์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/571/14/571/1 4/574/23 |
238 | ราขึ้นในน้ำมัน ที่รับประเคนแล้ว ผงราขึ้นที่แง่งขิง ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน ใหม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/571/84/571/8 4/575/5 |
239 | ภิกษุถือกิ่งไม้มีผล เพื่อต้องการร่มเดินไป เมื่อคิดจะฉันผลไม้นั้น จะให้อนุปสัมบันประเคนแล้วฉันควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/572/34/572/3 4/575/25 |
240 | สามเณรต้มข้าวต้ม ภิกษุคะนองมือเล่น จับภาชนะ จับฝาละมี ปาดฟอง เฉพาะ ภิกษุนั้นไม่ควรจะดื่ม เป็นทุรุปจิณณทุกกฏ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/573/204/573/20 4/577/16 |
241 | ถ้าภิกษุจับทัพพี คนไม่ยกขึ้น ข้าวต้มนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหมดย่อมเป็น สามปักกะ ทั้ง ทุรุปจิณณะ ถ้ายกขึ้น เป็นทั้งอุคคหิตก์(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/573/224/573/22 4/577/18 |
242 | ภิกษุเขย่า ผลไม้ที่เกิดอยู่บนต้น ผลไม้นั้นไม่ควรแก่ภิกษุผู้เขย่าเธอต้องอาบัติ ทุรุปจิณณทุกกฏ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/574/64/574/6 4/577/24 |
243 | ภิกษุเห็นมะม่วงตก หรือเนื้อเดนแห่งสิงโต จะนำมาเพื่อให้แก่สามเณรควรอยู่ ถ้าอาจจะชำระวิตกให้หมดจดได้แม้จะฉันอาหารที่ได้จากเนื้อเป็นเดนสิงโต นั้นก็ไม่มีโทษ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/574/104/574/10 4/578/3 |
244 | ภิกษุถือข้าวสารไปเพื่อพ่อแม่แม่ทำข้าวต้มจากข้าวสารนั้นถวายควรอยู่ ไม่เป็นสันนิธิไม่เป็นอุคคหิตก์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/574/204/574/20 4/578/14 |
245 | ภิกษุรับประเคนกล้องยาสูบ แล้วสูบยา ปากคอติดยาสูบนั้น จะฉันยาวกาลิก ได้อยู่.จะสูดดม ดอกไม้ หรือผลไม้ เพราะความเจ็บไข้เป็นปัจจัยควรอยู่ เพราะเป็นอัพโพหาริก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/575/154/575/15 4/579/6 |
246 | ถ้าเศษอาหารติดฟัน รสไม่ปรากฏ เป็นอัพโพหาริก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/576/14/576/1 4/579/13 |
247 | หิมะ และลูกเห็บ มีคติอย่างน้ำ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/576/84/576/8 4/579/22 |
248 | น้ำที่ขุ่นข้น ติดปากและมือ น้ำนั้นควรรับประเคนก่อน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/576/134/576/13 4/580/1 |
249 | ในน้ำที่ ดอกไม้หล่นลอยเกลื่อนอยู่ ถ้ารสของดอกไม้ไม่ปรากฏ ไม่ต้องรับประเคน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/576/174/576/17 4/580/4 |
250 | ภิกษุรับประเคนดอกไม้ใส่ในน้ำ น้ำนั้นเพียงถูกอบกลิ่นเป็นอัพโพหาริก ควรแม้กับอามิสในวันรุ่งขึ้น (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/576/224/576/22 4/580/10 |
251 | สามเณรตักน้ำดื่ม อบด้วยดอกไม้ ที่ภิกษุเก็บไว้ แล้วเทน้ำที่เหลือ จากที่ตนดื่ม ลงในน้ำดื่มนั้นอีกพึงรับประเคนใหม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/577/34/577/3 4/580/12 |
252 | ไม้สีฟันที่ภิกษุ ทำเป็นกัปปิยะ แล้วรับประเคนเก็บไว้ ถ้าประสงค์จะดูดรสแห่ง ไม้สีฟันนั้น การรับประเคนเดิมนั้นแหละ สมควรอยู่ ที่ไม่ได้รับประเคนไว้ ต้อง รับประเคน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/577/74/577/7 4/580/16 |
253 | น้ำตา น้ำลายน้ำมูก กรีสมูตร เสลด ขี้ฟันขี้ตาขี้หูเหงื่อเกิดในร่างกาย ควรทุกอย่างถ้าสิ่งเหล่านี้ เคลื่อนจากแหล่งของมันตกลงในบาตรต้องรับ ประเคนใหม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/577/144/577/14 4/580/23 |
254 | มหาภูตรูป ที่เผาแล้ว ไม่มีคำว่า ส่วนชื่อนี้ไม่ควร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/577/204/577/20 4/581/4 |
255 | ยามหาวิกัติ เมื่อไม่มีกัปปิยการก หรือมี แต่ไม่ฉลาด จะถือเอาเมื่อถูกงูกัด ย่อมควรไม่ต้องอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/578/14/578/1 4/581/7 |
256 | [๕๒๘] บทว่าให้คือ ให้ด้วยกาย หรือของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/582/34/582/3 4/585/8 |
257 | [๕๒๙] ให้น้ำ หรือไม่ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/582/144/582/14 4/585/19 |
258 | [๕๓๐] ภิกษุสั่งให้ให้ ไม่ให้เอง, วางให้, ให้ของไล้ทาภายนอก...ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/582/204/582/20 4/586/4 |
259 | แม้พ่อแม่ ของภิกษุบวชเป็นเดียรถีย์ภิกษุให้พ่อแม่นั้น เป็นปาจิตตีย์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/583/104/583/10 4/586/17 |
260 | [๕๓๓] ทำเป็นโกรธส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ ส่งอนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติ ทุกกฏ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/586/194/586/19 4/590/8 |
261 | [๕๓๔] ภิกษุส่งกลับด้วยคิดว่าเรา 2 รูปรวมกันจะไม่พอฉัน,ภิกษุส่งกลับด้วย คิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้วจะเกิดโลภ, ภิกษุส่งกลับด้วยคิดว่ารูป นั้นเห็นมาตุคามแล้วจะเกิดความกำหนัด,ภิกษุส่งกลับไป ด้วยสั่งว่าจงนำของ ฉันไปให้แก่ภิกษุอาพาธแก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร ,ภิกษุไม่ ประสงค์จะประพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็น จึงส่งกลับไป...ไม่ต้องอาบัติ. (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/587/24/587/2 4/590/15 |
262 | ถ้าว่าเท้าข้างหนึ่ง ของภิกษุผู้ถูกส่งกลับยังอยู่ในอุปจาร เป็นทุกกฏขณะล่วง เขตแดนไปเป็นปาจิตตีย์ อุปจารการได้เห็น และอุปจารการได้ยินนี้ ประมาณ 12 ศอก ถ้ามีฝาหรือกำแพงคั่นอยู่ ก็ใช้ประตู หรือกำแพงเป็นตัวกำหนด(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/588/34/588/3 4/591/15 |
263 | [๕๓๖] ตระกูลที่ว่า มี 2 คน คือ มีเฉพาะหญิง ๑บุรุษ ๑ และทั้ง 2ไม่ใช่ ผู้ปราศจากราคะ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/590/204/590/20 4/594/9 |
264 | [๕๓๗] ห้องนอน ภิกษุสงสัย หรือสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน นั่งแทรกแซงใน ตระกูลที่มี 2 คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/591/84/591/8 4/594/19 |
265 | [๕๓๘] ภิกษุนั่งในเรือนใหญ่ ไม่ล่วงล้ำหัตถบาสแห่งบานประตู ,ภิกษุนั่งใน เรือนเล็ก ไม่เลยท่ามกลางห้อง, ภิกษุมีเพื่อนอยู่ด้วย, คนทั้งสองออกจากกัน แล้วทั้งสองปราศจากราคะแล้ว , ภิกษุนั่งในสถานที่ อันไม่ใช่ห้องนอน...ไม่ ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/591/184/591/18 4/595/7 |
266 | คำว่า ที่มีคน 2 คน(สโภชเน)คือในสกุลมีโภคะเพราะว่า สตรีเป็นโภคะของ บุรุษผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว และบุรุษก็เป็นโภคะของสตรี (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/592/114/592/11 4/596/3 |
267 | [๕๔๐] มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ไม่ใช่หญิงยักษ์ไม่ใช่หญิงเปรตไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/594/114/594/11 4/598/9 |
268 | [๕๔๑] ภิกษุนั่งในที่ลับ กับหญิงยักษ์หญิงเปรต บัณเฑาะก์สัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมียมีกายดังมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/595/144/595/14 4/599/10 |
269 | [๕๔๒] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน, ภิกษุยืนมิได้นั่ง, ภิกษุมิได้มุ่งที่ลับ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น...ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/596/24/596/2 4/599/18 |
270 | [๕๔๔] มาตุคามได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำดีหรือชั่วได้ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/598/114/598/11 4/601/12 |
271 | [๕๔๕] ภิกษุนั่งในที่ลับ กับหญิงยักษ์หญิงเปรต บัณเฑาะก์สัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมีย มีกายดังมนุษย์หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/599/124/599/12 4/602/12 |
272 | [๕๔๖] ภิกษุมีผู้ชายรู้เดียงสาอยู่ด้วย ,ภิกษุยืนไม่ได้นั่ง ,ภิกษุไม่ได้มุ่งที่ลับ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ...ไม่ต้องอาบัติ(อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/599/194/599/19 4/603/2 |
273 | [๕๕๒] ภิกษุก้าวลง สู่อุปจารเรือนของผู้อื่นต้องอาบัติทุกกฏก้าวที่ 1 ล่วง ธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวที่ 2 ต้องอาบัติปาจิตตีย์(อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/606/44/606/4 4/609/20 |
274 | [๕๕๔] ภิกษุฉันในสมัย, ภิกษุบอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ แล้วจึงเข้าไป , ภิกษุไม่ได้ บอกลาภิกษุ ซึ่งไม่มีอยู่ แล้วเข้าไป ,เดินทางผ่านเรือนผู้อื่น ,เดินทางผ่าน อุปจารเรือน, ไปอารามอื่น, ไปสู่สำนักภิกษุณี, ไปสู่สำนักเดียรถีย์, ไปโรงฉัน ไปเรือนที่เขานิมนต์ฉัน, ไปเพราะมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/607/44/607/4 4/611/2 |
275 | ที่พระพุทธองค์ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย รับประเคนแล้วเก็บไว้ ในสิกขาบทนี้ เพื่อต้องการรักษา ศรัทธาของตระกูล (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/607/184/607/18 4/611/16 |
276 | [๕๕๕] ทรงอนุญาตให้ยินดี แม้ซึ่งการปวารณาเป็นนิตย์ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/610/124/610/12 4/614/9 |
277 | [๕๕๖] อุบาสกตำหนิ พวกภิกษุที่นุ่งผ้าไม่เรียบร้อย (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/610/144/610/14 4/614/11 |
278 | [๕๕๗] แม้เขาปวารณาเป็นนิตย์ ก็พึงยินดีว่า เราจะขอช่วงเวลา ที่ยังอาพาธอยู่ 4/612/164/612/16 4/616/7 |
279 | [๕๖๐] ภิกษุต้องการใช้ของ ที่ไม่ใช่เภสัช แต่ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/613/204/613/20 4/617/13 |
280 | [๕๖๑] ภิกษุขอเภสัชตามที่เขาปวารณาไว้ ,ภิกษุขอตามระยะกาล ที่เขา ปวารณาไว้, บอกขอว่า ท่านปวารณาด้วยเภสัชเหล่านี้ แต่ข้าพเจ้าต้องการ เภสัชชนิดนี้ ,บอกเขาว่า ระยะกาลที่ท่านได้ปวารณา ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ ข้าพเจ้ายังต้องการเภสัช, ขอต่อญาติ, ขอต่อคนปวารณา , ขอเพื่อประโยชน์แก่ ภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน...ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/614/104/614/10 4/618/7 |
281 | พระเจ้ามหานามศากยะ แก่กว่าพระพุทธองค์ 1 เดือน เป็นอริยสาวก ดำรงอยู่ ในผลที่ 2 (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/615/44/615/4 4/618/17 |
282 | แต่ในเภสัชที่เขาปวารณา ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรกำหนดรู้ประมาณทีเดียว. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/615/204/615/20 4/619/17 |
283 | [๕๖๔] ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ 4/619/24/619/2 4/622/22 |
284 | [๕๖๕] ไปเพื่อจะดูกองทัพ แต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดูในที่ใดที่มองเห็น ได้ต้องอาบัติทุกกฏ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/619/134/619/13 4/623/12 |
285 | [๕๖๖] ภิกษุอยู่ในอาราม มองเห็น, กองทัพยกผ่านมายังสถานที่ ที่ภิกษุยืนนั่ง นอนเธอมองเห็น , ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า , มีเหตุจำเป็น , มีอันตราย... ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/620/24/620/2 4/624/2 |
286 | เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิต และพรหมจรรย์ ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ไป ด้วยคิดว่า เราไปในกองทัพนี้ จะพ้นไปได้ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/621/154/621/15 4/625/15 |
287 | [๕๖๘] เมื่อพระอาทิตย์ตกในวันที่ 4แล้วภิกษุยังอยู่ในกองทัพต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/623/134/623/13 4/627/10 |
288 | [๕๗๐] ภิกษุอยู่ 2 คืน แล้วออกไปก่อนอรุณ ของคืนที่ 3 ขึ้นกลับอยู่ใหม่ ภิกษุป่วยพักแรมอยู่, ภิกษุอยู่ด้วยกิจธุระของภิกษุอาพาธ , ภิกษุตกอยู่ในข้าศึกล้อมไว้, ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวางไว้, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ กองทัพที่ถูกข้าศึกล้อมไว้ , ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวางไว้ , มีอันตราย.... ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/624/44/624/4 4/628/4 |
289 | [๕๗๑] ภิกษุไปในสนามรบ ถูกยิงด้วยลูกปืน (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/625/54/625/5 4/629/9 |
290 | [๕๗๔] ภิกษุอยู่ในอาราม มองเห็น , การรบพุ่งผ่านมายังสถานที่ที่ภิกษุยืน นั่งนอนเธอมองเห็น , ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า, ภิกษุมีกิจจำเป็นเดินไป พบเข้า,มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อเจลวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/627/44/627/4 4/631/15 |
291 | [๕๗๖] สุรา 5 อย่าง และเมรัย 5 อย่าง (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/633/74/633/7 4/636/5 |
292 | [๕๗๗] ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่มต้องอาบัติทุกกฏ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/633/194/633/19 4/637/3 |
293 | [๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำ ที่มีกลิ่นรส เหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา , ภิกษุดื่มน้ำ-น้ำเมา เมาที่เจือลงในแกง , ที่เจือลงในเนื้อ , ที่เจือลงในน้ำมัน , น้ำเมาในน้ำอ้อย ที่ดองมะขามป้อม, ภิกษุดื่มยาดอง อริฏฐะ ซึ่งไม่ใช่ของเมา... ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/634/44/634/4 4/637/7 |
294 | ชนทั้งหลาย ย่อมเจียวน้ำมันกับน้ำเมา เพื่อเป็นยาระงับลม ไม่เป็นอาบัติ ใน น้ำมันนั้น. แต่ถ้าเจือน้ำเมามากเกินไป ย่อมเป็นอาบัติแท้.(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/636/94/636/9 4/638/25 |
295 | ยาดองอริฏฐะ ทำด้วยรส แห่งมะขามป้อม เป็นต้น ยาดองนั้นมีสีกลิ่น รส คล้ายน้ำเมาแต่ที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง จัดเป็นน้ำเมา ไม่ควรตั้งแต่เชื้อ 4/636/144/636/14 4/639/3 |
296 | [๕๘๓-๕๘๔] ภิกษุจี้อนุปสัมบันให้หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ 4/638/214/638/21 4/641/16 |
297 | [๕๘๕] ภิกษุไม่ประสงค์จะให้หัวเราะ,เมื่อมีกิจจำเป็นถูกต้องเข้า ...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/639/124/639/12 4/642/6 |
298 | ในสิกขาบทนี้ ภิกษุณีจัดอยู่ในอนุปสัมบัน (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/640/84/640/8 4/642/18 |
299 | [๕๘๗] ในน้ำลึก พ้นข้อเท้าขึ้นไป ภิกษุมีความประสงค์จะรื่นเริง ดำลง ผุดขึ้น ว่ายไปต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/642/144/642/14 4/644/19 |
300 | [๕๘๙] ภิกษุเล่นเรือ ต้องอาบัติทุกกฏ, เอามือวักน้ำ เอาเท้าแกว่งน้ำ , เอาไม้ ขีดน้ำ, เอากระเบื้องปาน้ำเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ, น้ำน้ำส้มน้ำนมเปรียง น้ำย้อมน้ำปัสสาวะหรือ น้ำโคลนซึ่งขังอยู่ในภาชนะภิกษุเล่น ต้องอาบัติ ทุกกฏ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/643/24/643/2 4/645/7 |
301 | [๕๙๑] ภิกษุไม่ประสงค์จะเล่น เมื่อมีกิจจำเป็น ลงน้ำ ดำ ผุด ว่ายไป, ภิกษุจะ ข้ามฝาก, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/643/134/643/13 4/645/18 |
302 | [๕๙๓] ความไม่เอื้อเฟื้อ 2 อย่าง ได้แก่ ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคลความไม่ เอื้อเฟื้อในธรรม. (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/647/24/647/2 4/648/17 |
303 | [๕๙๕] ภิกษุถูก อุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยข้อธรรมอันมิใช่ พระบัญญัติแสดง ความไม่เอื้อเฟื้อ...ต้องอาบัติทุกกฏ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/647/184/647/18 4/649/15 |
304 | [๕๙๕] ภิกษุถูก อนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยพระบัญญัติ หรือข้อธรรมอันมิใช่ พระบัญญัติแสดงความไม่เอื้อเฟื้อ...ต้องอาบัติทุกกฏ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/648/14/648/1 4/649/19 |
305 | [๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า อาจารย์ทั้งหลาย ของพวกข้าพเจ้าเรียนมาอย่างนี้ สอบถามมาอย่างนี้...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/648/114/648/11 4/650/9 |
306 | ถ้อยคำของอาจารย์ ผู้ไม่รู้ สูตร และสุตตานุโลม หาเป็นประมาณได้ไม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/649/144/649/14 4/651/5 |
307 | [๕๙๙] ภิกษุ หลอน ซึ่งภิกษุด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็ดี เธอผู้ถูกหลอน นั้น จะตกใจหรือไม่ตกใจก็ตามต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/651/94/651/9 4/652/23 |
308 | [๕๙๙] ภิกษุ หลอน ซึ่งภิกษุบอกเล่าทางกันดาร เพราะโจร สัตว์ร้ายปีศาจ เธอจะตกใจ หรือไม่ก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/651/124/651/12 4/653/3 |
309 | [๖๐๑] ภิกษุ หลอน อนุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/651/214/651/21 4/653/13 |
310 | [๖๐๓] ภิกษุไม่ประสงค์จะหลอน...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/652/94/652/9 4/654/2 |
311 | [๖๐๕] ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อาพาธ ก่อไฟหรือให้ก่อไฟ เพื่อจะผิงได้ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/654/164/654/16 4/656/6 |
312 | [๖๐๖] ทรงอนุญาต ให้ติดไฟเอง หรือให้ผู้อื่นติดไฟเพราะมีเหตุปัจจัยเช่น ตามประทีบหรือก่อไฟในเรือนไฟ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/655/24/655/2 4/656/16 |
313 | [๖๐๙] ภิกษุป่วย, ภิกษุผิงไฟที่ผู้อื่นติดไว้ , ภิกษุผิงถ่านไฟที่ปราศจากเปลว ภิกษุตามประทีบก่อไฟใช้อย่างอื่น ติดไฟในเรือนไฟ เพราะมีเหตุ, มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/656/164/656/16 4/658/16 |
314 | ภิกษุยกดุ้นฟืนที่กำลังติดไฟซึ่งตกลงไปขึ้นมาใส่กองไฟเป็นทุกกฏ. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/657/174/657/17 4/659/17 |
315 | [๖๑๖] ภิกษุอาบน้ำด้วยจุรณ หรือดินเหนียว ต้องอาบัติทุกกฏในประโยคเมื่อ อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/664/214/664/21 4/666/8 |
316 | [๖๑๖] คราวทำการงาน คือ โดยที่สุดแม้กวาดบริเวณ ภิกษุอาบน้ำได้เพราะ ถือว่าเป็นคราวทำการงาน (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/665/74/665/7 4/666/17 |
317 | [๖๑๘] ภิกษุข้ามฟากอาบน้ำ, อาบน้ำในปัจจันตชนบททุก ๆ แห่ง, อาบน้ำเพราะ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/666/74/666/7 4/667/15 |
318 | ภิกษุจะอาบน้ำในหลุม ที่ตนคุ้ยทรายขึ้น ทำไว้ในแม่น้ำแห้ง ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/666/164/666/16 4/668/6 |
319 | [๖๒๐] ภิกษุไม่ถือเอาวัตถุ สำหรับทำให้เสียสี 3 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดย ที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา แล้วใช้จีวรใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/668/174/668/17 4/670/13 |
320 | [๖๒๒] ภิกษุนุ่งห่มจีวรที่มีเครื่องหมายแล้วหายสูญไปหรือเครื่องหมายจางไป ภิกษุนุ่งห่มจีวรที่เย็บติดกับจีวร ที่มีเครื่องหมายแล้ว, ภิกษุนุ่งห่ม ผ้าปะ, ภิกษุ นุ่งห่มผ้าทาบ, ภิกษุใช้ผ้าดาม...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/669/134/669/13 4/671/7 |
321 | ในสิกขาบทนี้ หมายเอาจีวร ที่อาจนุ่งห่มได้เท่านั้น(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/670/124/670/12 4/672/6 |
322 | การทำกัปปะที่เป็นแนว เป็นช่อ ท่านห้ามไว้ ในทุก ๆ อรรถกถา(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/671/54/671/5 4/672/21 |
323 | [๖๒๔] สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/673/124/673/12 4/674/19 |
324 | [๖๒๔] วิกัป คือ การทำผ้าให้เป็นของ2เจ้าของมีวิกัปต่อหน้าและ วิกัปลับหลัง (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/673/194/673/19 4/675/4 |
325 | [๖๒๖] ภิกษุใช้จีวร ที่ภิกษุรับวิกัปคืนให้ หรือวิสาสะแก่ภิกษุผู้รับวิกัป... ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/675/24/675/2 4/676/9 |
326 | [๖๒๙] ภิกษุ ซ่อน หรือให้ซ่อนบริขารอื่นของภิกษุ...ต้องอาบัติทุกกฏ, ภิกษุซ่อน บริขารของอนุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/678/174/678/17 4/680/5 |
327 | [๖๓๐] ภิกษุไม่มีความประสงค์จะหัวเราะ,ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่นวางไว้ไม่ดี, ภิกษุ เก็บไว้หวังสั่งสอน แล้วจึงจะคืนให้...ไม่ต้องอาบัติ (สุราปานวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/679/54/679/5 4/680/13 |
328 | [๖๓๓] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ, สัตว์มีชีวิตภิกษุ สำคัญว่า ไม่มีชีวิต พรากจากชีวิต ไม่ต้องอาบัติ(สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/682/204/682/20 4/683/20 |
329 | [๖๓๔] ภิกษุไม่แกล้งพราก , ภิกษุพรากด้วยไม่มีสติ , ภิกษุไม่รู้ , ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/683/74/683/7 4/684/7 |
330 | ภิกษุฆ่าสัตว์เดรัจฉาน เล็กบ้างใหญ่บ้างเป็นอาบัติเท่ากันแต่ในสัตว์ใหญ่ เป็น อกุศลมาก เพราะมีความพยายามมาก (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/684/54/684/5 4/685/2 |
331 | ภิกษุทำความสะอาดเตียง บี้ไข่เรือดให้แตก เพราะขาดความกรุณาเป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/684/84/684/8 4/685/6 |
332 | [๖๓๗] น้ำมีตัวสัตว์ ภิกษุสำคัญว่าไม่มีตัวสัตว์ บริโภคไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/686/164/686/16 4/687/2 |
333 | [๖๓๘] ภิกษุไม่รู้ว่าน้ำมีตัวสัตว์, ภิกษุรู้ว่าน้ำไม่มีตัวสัตว์ คือรู้ว่าสัตว์จะ ไม่ตาย เพราะการบริโภค...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/687/24/687/2 4/687/7 |
334 | ภิกษุเอาน้ำมีตัวสัตว์มาล้างบาตร หรือ ทำบาตรที่ร้อนให้เย็น ในน้ำเช่นนั้น เอากระบวย ตักน้ำนั้นอาบก็ดี เป็นปาจิตตีย์ ทุกประโยค(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/687/124/687/12 4/687/16 |
335 | [๖๔๒] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ฟื้นไม่ต้องอาบัติกรรมไม่ เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/691/54/691/5 4/690/16 |
336 | [๖๔๓] ภิกษุรู้อยู่ว่า ทำกรรมไม่เป็นธรรม โดยเป็นวรรค หรือทำ แก่บุคคลผู้ไม่ ควรแก่กรรม ดังนี้ฟื้น...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/691/124/691/12 4/691/2 |
337 | อธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้ว คือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ วินิจฉัยแล้ว ซึ่งระงับแล้วโดยธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/692/34/692/3 4/691/13 |
338 | [๖๔๕] อาบัติที่ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก 4 และอาบัติสังฆาทิเสส 13 (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/695/34/695/3 4/694/9 |
339 | [๖๔๕] บทว่า ปิด ความว่า เมื่อภิกษุเห็นว่าคนทั้งหลายรู้อาบัตินี้แล้ว จักโจทก์ จักบังคับให้ให้การจักติเตียนทำให้เก้อ เราจะไม่บอกดังนี้ พอทอดธุระเสร็จ ต้องปาจิตตีย์ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/695/54/695/5 4/694/11 |
340 | [๖๔๖] อาบัติที่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่ชั่วหยาบ ปิด ต้องอาบัติทุกกฏ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/695/124/695/12 4/694/19 |
341 | [๖๔๖] ภิกษุปิด อัชฌาจาร ชั่วหยาบหรือไม่ชั่วหยาบ ของอนุปสัมบันต้อง อาบัติทุกกฏ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/695/154/695/15 4/694/22 |
342 | [๖๔๗] ภิกษุคิดเห็นว่าความบาดหมางความทะเลาะความแก่งแย่งการ วิวาท ก็ดี จักมีแก่สงฆ์ แล้วไม่บอก, ไม่บอกด้วยคิดว่าสงฆ์จักแตกแยกกัน หรือ จะร้าวรานกัน, ไม่บอกด้วยคิดเห็นว่า ภิกษุรูปนี้เป็นผู้โหดร้าย หยาบคายจะทำ อันตรายแก่ชีวิต หรือพรหมจรรย์, ไม่พบภิกษุอื่นที่สมควรจึงไม่บอก,ไม่ตั้งใจจะ ปิดแต่ยังไม่ได้บอก, ไม่บอกด้วยคิดเห็นว่าจะปรากฏเอง ด้วยการกระทำของตน ...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/696/24/696/2 4/695/16 |
343 | อัชฌาจาร อันชั่วหยาบของอนุปสัมบัน ได้แก่ ตั้งใจทำอสุจิให้เคลื่อน และ เคล้าคลึงด้วยกายกับผู้หญิง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/697/124/697/12 4/696/18 |
344 | [๖๕๐] บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปี ย่อมเป็นผู้ไม่อดทนต่อ เย็น ร้อน หิว กระหาย ต่อคำกล่าวที่เขากล่าวร้ายต่อทุกขเวทนาทางกายอันอาจผลาญชีวิตได้ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/700/94/700/9 4/699/2 |
345 | [๖๕๑] จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายพระอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์คณะ และ พระอาจารย์ต้องอาบัติทุกกฏ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/701/124/701/12 4/700/11 |
346 | [๖๕๒] บุคคลมีอายุหย่อน 20 ปีภิกษุสำคัญว่าครบ 20 ปี ให้อุปสมบท ไม่ ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/701/214/701/21 4/700/20 |
347 | บุคคลมีอายุครบ 20 ปี ได้แก่ มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ นับแต่ถือปฏิสนธิมา (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/703/144/703/14 4/702/13 |
348 | ผู้อยู่ในท้องมารดา 6 เดือน แล้วคลอด จะไม่รอด(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/705/44/705/4 4/703/22 |
349 | ถ้าบุคคลผู้มีอายุ หย่อน 20 ปี ได้บวชจนเป็นพระอุปัชฌาย์ หากเว้นอุปัชฌาย์ นั้นเสียคณะครบ การอุปสมบทของกุลบุตรนั้นดีแล้วถ้าพระอุปัชฌาย์นั้น ยัง ไม่รู้เพียงใด ว่าตนไม่ได้เป็นภิกษุ.ก็ยังไม่เป็นอันตรายต่อสวรรค์ และนิพพาน ครั้นรู้แล้ว พึงอุปสมบทใหม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/705/84/705/8 4/704/1 |
350 | [๖๕๗] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป, คนทั้งหลายชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน,ไปผิด วันผิดเวลา มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/709/24/709/2 4/707/9 |
351 | [๖๕๙] มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ไม่ใช่หญิงยักษ์ไม่ใช่หญิงเปรตไม่ใช่ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีที่รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำ วาจาชั่วหยาบ และสุภาพได้ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/711/204/711/20 4/710/6 |
352 | [๖๖๐] ภิกษุชักชวนแล้วเดินทางกับหญิงยักษ์หญิงเปรตบัณเฑาะก์หรือ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย มีกายคล้ายมนุษย์...ต้องอาบัติทุกกฏ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/712/184/712/18 4/711/4 |
353 | [๖๖๑] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป, หญิงชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน, ไปผิดวันผิด เวลา, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/713/54/713/5 4/711/11 |
354 | [๖๖๔]เมื่อมีภิกษุกล่าวตู่พระพุทธเจ้าภิกษุพวกอื่นรู้พึงว่ากล่าวภิกษุนั้น 3 ครั้ง ถ้าภิกษุนั้นยังไม่สละความเห็นผิดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ทราบเรื่องแล้ว ไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/718/94/718/9 4/716/14 |
355 | [๖๖๖] เมื่อสวดประกาศ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏจบกรรมวาจา2 ครั้งต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัวจบกรรมวาจาครั้งสุดต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/720/44/720/4 4/718/6 |
356 | [๖๖๘] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดประกาศห้าม, ภิกษุผู้ยอมสละ...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/720/194/720/19 4/719/2 |
357 | ธรรมเหล่าใด ย่อมธรรมอันตราย แก่ สวรรค์ และนิพพาน ชื่อว่า อันตรายิกธรรม มี 5 อย่าง ได้แก่ กรรมกิเลสวิบากอุปวาทอาณาวีติกกมะ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/721/84/721/8 4/719/11 |
358 | การประทุษร้ายภิกษุณีเป็นอันตรายต่อนิพพานเท่านั้นหาทำอันตรายแก่ สวรรค์ไม่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/721/124/721/12 4/719/16 |
359 | การว่าร้ายพระอริยะเป็นอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้ท่านอดโทษเท่านั้น (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/721/164/721/16 4/719/19 |
360 | อาบัติที่แกล้งต้อง เป็นอันตรายตลอดเวลา ที่ยังเป็นภิกษุ และยังไม่ออกจาก อาบัตินั้น ๆ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/721/194/721/19 4/720/1 |
361 | [๖๗๐] ภิกษุใด คบหากันทั้งทางอามิสและทางธรรม ทำอุโบสถปวารณา สังฆกรรมร่วมกับ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/726/14/726/1 4/723/21 |
362 | [๖๗๑] ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร กินร่วม อยู่ร่วม สำเร็จการนอนร่วมกันก็ดี ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/727/14/727/1 4/724/23 |
363 | [๖๗๒] ภิกษุรู้ว่า ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, ภิกษุรู้ว่าภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตร แต่ สงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว , ภิกษุรู้ว่า ภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตรแล้วแต่สละทิฏฐินั้นแล้ว ...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/727/94/727/9 4/725/7 |
364 | [๖๗๓] พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้สงฆ์นาสนะ สามเณรกัณฑกะ ผู้มีความเห็นผิดว่าดังนี้... (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/732/54/732/5 4/729/13 |
365 | [๖๗๘]สมณุทเทส ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ. เกลี้ยกล่อม, ให้อุปัฏฐาก, กินร่วม, สำเร็จการนอนร่วมก็ดีไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/736/104/736/10 4/733/13 |
366 | [๖๗๙] ภิกษุรู้อยู่ว่า สมณุทเทส ไม่ใช่ผู้ถูกสงฆ์นาสนะ , ภิกษุรู้อยู่ว่าสมณุทเทส ยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว...ไม่ต้องอาบัติ (สัปปาณกวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/736/194/736/19 4/734/1 |
367 | นาสนะ (การลงโทษบุคคลผู้ไม่ควรถือเพศ) มี 3 อย่าง คือ สังวาสนาสนะ ลิงคนาสนะทัณฑกรรมนาสนะ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/737/64/737/6 4/734/12 |
368 | [๖๘๑] ที่ชื่อว่าชอบธรรมคือ สิกขาบทใดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น ชื่อว่า ชอบธรรม (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/741/14/741/1 4/737/22 |
369 | [๖๘๒]ภิกษุผู้ อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ตามสิกขาบทที่มิได้ ทรงบัญญัติไว้ กล่าวอย่างนี้ สิกขาบทนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา...และซ้ำว่าแน่เธอ ฉันจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้...ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/741/154/741/15 4/738/13 |
370 | [๖๘๒] ภิกษุ ผู้อันอนุปสัมบัน ว่ากล่าวอยู่ ตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติหรือมิ ได้บัญญัติไว้ก็ตาม กล่าวอย่างนี้ว่า...ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/742/14/742/1 4/738/20 |
371 | [๖๘๔] ภิกษุกล่าวว่า จักรู้ จักสำเหนียกดังนี้...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/742/204/742/20 4/739/19 |
372 | [๖๘๕] ก็ภิกษุเหล่านั้นมากเหล่าเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพากันเล่าเรียน พระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลี (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/744/104/744/10 4/741/11 |
373 | [๖๘๗] ภิกษุก่นพระวินัยหรือก่นธรรมอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันต้องอาบัติ ทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/747/34/747/3 4/743/20 |
374 | [๖๘๘] ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะก่นพูดตามเหตุว่า นิมนต์ท่านเรียนพระสูตร หรือ พระอภิธรรมไปก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยเรียนพระวินัยดังนี้...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/747/94/747/9 4/744/6 |
375 | พระวินัยธรย่อมได้อานิสงส์5 อย่าง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/748/114/748/11 4/745/6 |
376 | อาการ6 อย่าง ของผู้ต้องอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/748/184/748/18 4/745/13 |
377 | ชื่อว่าชนผู้เป็นข้าศึก มี 2 จำพวก คือ ผู้เป็นข้าศึกแก่ตนและผู้เป็นข้าศึกแก่ พระศาสนา (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/752/44/752/4 4/748/13 |
378 | พระสัทธรรมมี 3 ด้วยสามารถแห่ง ปริยัติ ปฏิบัติและอธิคม (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/752/164/752/16 4/749/3 |
379 | ปริยัติเป็นมูลรากของศาสนา (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/753/24/753/2 4/749/8 |
380 | จุดประสงค์ที่พระพุทธเจ้า ทรงพรรณนาคุณแห่งการเรียน พระวินัย. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/754/234/754/23 4/751/1 |
381 | [๖๙๒] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกความหลงขึ้น ภิกษุแสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อสงฆ์ยกความหลง ขึ้นแล้ว ภิกษุยังแสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/760/84/760/8 4/756/2 |
382 | [๖๙๔] ภิกษุยังไม่ได้ฟัง โดยพิสดาร, ภิกษุฟังโดยพิสดารไม่ถึง 2-3 คราว ภิกษุไม่ปรารถนา จะแสร้งทำหลง...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/761/64/761/6 4/757/2 |
383 | [๖๙๖] ให้ประหาร ด้วยกายด้วยของเนื่องด้วยกายด้วยของที่โยนโดยที่สุด แม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/764/134/764/13 4/759/21 |
384 | [๖๙๗] ภิกษุโกรธ น้อยใจให้ประหารแก่ อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/765/64/765/6 4/760/10 |
385 | [๖๙๘] ภิกษุ ถูกใครๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว ให้ประหาร... ...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/765/114/765/11 4/760/16 |
386 | ภิกษุเห็นโจร มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทาง แล้วให้ประหาร ด้วยไม้ค้อน หรือ ศัสตรา แล้วไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/766/144/766/14 4/761/19 |
387 | [๗๐๑]ภิกษุโกรธ น้อยใจ เงื้อหอก คือ ฝ่ามือขึ้นแก่อนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/769/44/769/4 4/764/10 |
388 | [๗๐๒] ภิกษุถูกใครๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/769/104/769/10 4/764/16 |
389 | ภิกษุเงื้อพลั้งให้ประหารลงไป เมื่อไม่อาจจะยั้งไว้ได้ จึงประหารลงไป โดยเร็ว เป็นทุกกฏเพราะเธอให้ประหาร โดยไม่ประสงค์จะประหาร (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/770/44/770/4 4/765/12 |
390 | [๗๐๔] บทว่า กำจัด คือ โจทเอง หรือให้ผู้อื่นโจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/772/134/772/13 4/767/11 |
391 | [๗๐๕] ภิกษุโจทด้วย อาจารวิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏภิกษุโจท อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/773/24/773/2 4/768/2 |
392 | [๗๐๖] ภิกษุสำคัญว่ามีมูลโจทเอง หรือให้ผู้อื่นโจท...ไม่ต้องอาบัติ(สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/773/84/773/8 4/768/8 |
393 | [๗๐๘] บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจ ละเมิด (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/775/184/775/18 4/770/18 |
394 | [๗๐๙] ภิกษุ แกล้งก่อความรำคราญ ให้แก่อนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/776/124/776/12 4/771/13 |
395 | [๗๑๐] ภิกษุ ไม่ประสงค์จะก่อความรำคาญพูด แนะนำว่า ชะรอยท่านจะมี อายุไม่ครบ 20 ปี อุปสมบทแล้ว ...ท่านจงรู้เถิดว่า ความรำคราญใจภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/776/174/776/17 4/771/18 |
396 | [๗๑๒] คำว่า ยืนแอบฟัง คือ เดินไปด้วยความตั้งใจว่า เราจะฟังคำของภิกษุ เหล่านี้ จักท้วงจักเตือนจักฟ้องจักให้สำนึกจักทำให้เก้อเขินต้องอาบัติ ทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ใด ได้ยินต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/780/14/780/1 4/774/17 |
397 | [๗๑๒] บังเอิญเดินผ่านมา ถึงสถานที่ที่ภิกษุยืนนั่งนอน เมื่อเขาพูดงุบงิบ กันอยู่ ต้องกระแอมไอ ให้เขารู้ตัว ถ้าไม่กระแอม หรือไม่ให้เขารู้ตัว ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/780/84/780/8 4/775/2 |
398 | [๗๑๓] ภิกษุยืนแอบฟัง ถ้อยคำของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ 4/780/204/780/20 4/775/16 |
399 | [๗๑๔] ภิกษุเดินไปหมายว่า จักฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านี้แล้ว จักงด จักเว้น จักระงับจักเปลื้องตน...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/781/44/781/4 4/776/2 |
400 | [๗๑๗] กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม หรือสงสัย ให้ฉันทะ ไปแล้ว บ่นว่า ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/785/84/785/8 4/779/13 |
401 | [๗๑๘] ภิกษุรู้อยู่ว่า สงฆ์ทำกรรมโดยไม่ถูกธรรม เป็นพวกหรือทำแก่ภิกษุมิใช่ ผู้ควรแก่กรรมบ่นว่า...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/785/124/785/12 4/779/19 |
402 | [๗๒๐] ภิกษุตั้งใจว่า กรรมนี้พึงกำเริบ พึงเป็นวรรค พึงทำไม่ได้ แล้วลุกเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏกำลังละหัตถบาสแห่งที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ละหัตถบาสไปแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/788/164/788/16 4/782/6 |
403 | [๗๒๒] ภิกษุคิดเห็นว่า ความบาดหมางความทะเลาะความแก่งแย่งหรือ การวิวาทจักเกิดแก่สงฆ์ดังนี้แล้วหลีกไป , ภิกษุคิดเห็นว่า สงฆ์จะแตกแยก กันหรือจักร้าวรานกัน ดังนี้แล้วหลีกไป , ภิกษุเห็นว่า สงฆ์จะทำกรรมแก่ภิกษุ มิใช่ผู้ควรแก่กรรม แล้วหลีกไป , ภิกษุป่วย , ภิกษุหลีกไปด้วยธุระอันจะทำแก่ ภิกษุป่วย , ภิกษุปวดขี้ปวดเยี่ยว, ภิกษุไม่ตั้งใจจะทำกรรมให้เสียหลีกไป ด้วยคิดว่าจะกลับมาอีก...ไม่ต้องอาบัติ(สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/789/134/789/13 4/782/22 |
404 | [๗๒๔] สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียง คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน 4/792/124/792/12 4/785/10 |
405 | [๗๒๔] เมื่อให้จีวร แก่อุปสัมบันที่สงฆ์สมมติ แล้วบ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ 4/793/14/793/1 4/785/24 |
406 | [๗๒๕] ให้บริขารอย่างอื่นแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ(สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๑) 4/793/134/793/13 4/786/13 |
407 | [๗๒๕] ให้จีวร หรือบริขารอย่างอื่น แก่ภิกษุ ที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ แล้วบ่น ต้อง อาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๑) 4/793/144/793/14 4/786/14 |
408 | [๗๒๕] ให้จีวร หรือบริขารอย่างอื่น แก่อนุปสัมบัน ที่สงฆ์สมมติ หรือไม่สมมติ ก็ตาม แล้วบ่น ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๑) 4/793/174/793/17 4/786/18 |
409 | [๗๒๖] ภิกษุบ่นว่าสงฆ์มีปกติ ทำโดยฉันทาคติโทสาคติโมหาคติ ภยาคติ ...แม้เธอได้ไปแล้ว จะไม่ใช้สอยโดยชอบธรรม...ไม่ต้องอาบัติ. (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๑) 4/794/64/794/6 4/787/7 |
410 | [๗๒๘] ที่ชื่อว่า เขาน้อมไป คือ เขาได้เปล่งวาจาไว้ว่า จักถวาย จักทำ ภิกษุน้อม มาเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๒) 4/797/64/797/6 4/790/6 |
411 | [๗๒๙] ลาภที่เขาน้อมไป เพื่อ สงฆ์เจดีย์ บุคคล.ภิกษุน้อมไปเพื่อสงฆ์หมู่อื่นเจดีย์อื่น ,บุคคลอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๒) 4/797/154/797/15 4/790/15 |
412 | [๗๓๐] เมื่อทายกถามว่า จะถวายที่ไหน ตอบว่า ไทยธรรมของพวกท่านพึง ได้รับการใช้สอยปรับปรุง ตั้งอยู่ได้นาน หรือ พวกท่านเลื่อมใสที่ใด ก็จงถวาย ที่นั้นเถิด...ไม่ต้องอาบัติ (สหธรรมิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๒) 4/798/54/798/5 4/791/5 |
413 | [๗๓๓] โทษ 10 อย่าง ในการเข้าสู่ พระราชฐานชั้นใน(รตนวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/803/154/803/15 4/796/4 |
414 | [๗๓๗] ได้รับบอกแล้ว , ไม่ใช่กษัตริย์, ไม่ได้รับอภิเษก โดยสรงสนานให้ เป็น กษัตริย์, พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีหรือทั้ง 2 พระองค์ เสด็จออกแล้ว ไม่ใช่ตำหนักที่ผทม...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/808/24/808/2 4/800/16 |
415 | [๗๔๑] ที่ชื่อว่า รัตนะ ได้แก่แก้วมุกดาแก้วมณีไพฑูรย์สังข์ศิลาแก้วประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิมแก้วลาย, ชื่อว่าของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ของมวลมนุษย์(รตนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/814/154/814/15 4/807/8 |
416 | [๗๔๓] ภิกษุถือวิสาสะของที่สมมติว่า เป็นรัตนะ, ภิกษุถือเป็นของ ขอยืม ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล ...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/815/174/815/17 4/808/14 |
417 | ภิกษุรับ หรือให้รับ ซึ่งทอง และเงิน เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์คณะ บุคคลเจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ. ภิกษุรับเอง หรือให้รับซึ่งรัตนะ มีมุกดา เป็นต้น เป็น ทุกกฏ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/816/144/816/14 4/809/13 |
418 | เมื่อเขากล่าวว่า ท่านโปรดเก็บของนี้ไว้ให้ด้วย พึงห้ามว่า ไม่ควร. ถ้าพวกราชพัลลภ หรือพวกช่าง ได้ขอร้องให้ภิกษุช่วยเก็บเครื่องมืออย่าพึงกระทำ แต่จะ แสดงที่เก็บให้ ควรอยู่ (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/817/14/817/1 4/809/22 |
419 | [๗๕๐] เข้าไปสู่บ้านเพราะมีกิจรีบด่วนเห็นปานนั้น ,อำลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าไป,ภิกษุไม่มี ไม่อำลา เข้าไป ,ไปสู่อารามอื่น,ภิกษุไปสู่สำนักภิกษุณี ภิกษุไปสู่สำนักเดียรถีย์, ไปสู่โรงฉัน, เดินไปตามทางอันผ่านบ้าน, มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/825/24/825/2 4/817/2 |
420 | เมื่อภิกษุเดินไปตามทาง ที่ผ่านไปท่ามกลางบ้านแล้วเกิดความคิดขึ้นว่า เราจะ เที่ยวภิกษาน้ำมันถ้ามีภิกษุอยู่ใกล้ๆ พึงบอกลาก่อน(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/826/44/826/4 4/818/3 |
421 | มีอันตราย คือ เมื่อมีสิงโตเสือ กำลังมา เมฆตั้งเค้าขึ้นอุปัทวะไรๆ เกิดขึ้น ก็ดี ภิกษุจะไปยังภายในบ้าน จากภายนอกบ้านควรอยู่(ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/826/114/826/11 4/818/10 |
422 | [๗๕๒] ให้ทำ คือ ทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำ เป็นทุกกฏ ในประโยค เป็นปาจิตตีย์ ด้วยได้กล่องเข็มมา ต้องต่อยให้แตกก่อน จึงแสดงอาบัติตก (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/828/204/828/20 4/820/20 |
423 | [๗๕๔] ทำลูกดุม, ทำตะบันไฟ, ทำลูกถวิล, ทำกลักยาตา, ทำไม้ป้ายยาตา ทำฝักมีด, ทำธมกรก, ...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/829/154/829/15 4/821/15 |
424 | [๗๕๖] ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ ภิกษุทำเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์เมื่อได้เตียงตั่งมา ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติตก. (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/832/104/832/10 4/823/22 |
425 | [๗๕๗] ภิกษุได้เตียงตั่ง ที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/833/44/833/4 4/824/15 |
426 | [๗๕๘] ภิกษุได้เตียงตั่ง ที่คนอื่นทำเกินประมาณมาตัดเสียก่อนแล้วใช้สอย ...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/833/64/833/6 4/824/17 |
427 | ถ้าภิกษุไม่ประสงค์จะตัด จะฝังลงในแผ่นดิน แสดงประมาณไว้ข้างบนหรือ ถมพื้นดินให้สูงขึ้นหรือจะยกขึ้นวางบนคาน กระทำให้เป็นแคร่ใช้สอยควรทุก อย่าง (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/833/134/833/13 4/825/5 |
428 | [๗๖๐] นุ่น 3 ชนิด ได้แก่ นุ่นเกิดจากต้นไม้นุ่นเกิดจากเถาวัลย์ นุ่นเกิดจาก ดอกหญ้าเลา (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/835/174/835/17 4/827/4 |
429 | [๗๖๐] ภิกษุทำเอง หรือใช้ผู้อื่น ทำ เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วย ได้ของมา ต้องรื้อเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/835/194/835/19 4/827/6 |
430 | [๗๖๒] ทำสายรัดเข่า, ทำประคดเอว , ทำสายโยกบาตร, ทำถุงบาตร, ทำผ้า กรองน้ำ , ทำหมอน , ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาทำลายก่อนใช้สอย ...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/836/114/836/11 4/828/2 |
431 | [๗๖๕] ผ้าสำหรับนั่ง ได้แก่ ผ้าที่เขาเรียกกันว่า ผ้ามีชาย(รตนวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/839/84/839/8 4/831/2 |
432 | [๗๖๕] ภิกษุ ทำเอง หรือให้ผู้อื่น ทำให้เกินประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้าสำหรับนั่งนั้นมาพึงตัดก่อนจึงแสดงอาบัติตก. (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/839/114/839/11 4/831/4 |
433 | [๗๖๗] ได้ผ้าสำหรับนั่ง ที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วเกินประมาณ มาตัดเสีย แล้วใช้สอย , ทำเป็นผ้าขึงเพดาน , ทำเป็นผ้าปูพื้น , ทำเป็นม่าน , ทำเป็นเปลือกฟูก ทำเป็นปลอกหมอน...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/840/74/840/7 4/832/3 |
434 | ภิกษุปูผ้าเช่นกับสันถัตลงแล้ว ผ่าที่ 2 แห่งในเนื้อที่ประมาณ 1 คืบพระสุคต ที่ชายด้านหนึ่งทำเป็น 3 ชาย นิสีทนะนั้น เรียกกันว่า ผ้ามีชาย. (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/841/64/841/6 4/833/3 |
435 | [๗๖๙] ผ้าปิดฝีได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาต แก่ ภิกษุอาพาธเป็นฝีเป็นสุกใส เป็น โรคอันมีน้ำหนองเปรอะเปื้อน หรือ เป็นฝีดาษที่ใต้สะดือลงไป เหนือหัวเข่าขึ้นมา เพื่อจะได้ใช้ปิดแผล (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/843/74/843/7 4/834/11 |
436 | [๗๖๙] ภิกษุทำเองหรือให้ผู้อื่นทำ ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยคเป็น ปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/843/134/843/13 4/834/18 |
437 | [๗๗๑] ได้ผ้าปิดฝี ที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดเสีย แล้วใช้สอย,ทำเป็นผ้าขึง เพดาน, ทำเป็นผ้าปูพื้น, ทำเป็นผ้าม่าน, ทำเป็นเปลือกฟูก, ทำเป็นปลอก หมอน,...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/844/84/844/8 4/835/14 |
438 | [๗๗๓] ผ้าอาบน้ำฝนได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ 4 เดือนแห่งฤดูฝน (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/847/104/847/10 4/838/4 |
439 | [๗๗๓] ภิกษุทำเอง หรือให้ผู้อื่นทำ ให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยคเป็น ปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/847/154/847/15 4/838/9 |
440 | [๗๗๕] ได้ผ้าอาบน้ำฝน ที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดเสีย แล้วใช้สอย, ทำเป็น ผ้าขึงเพดาน, ทำเป็นผ้าปูนอน, ทำเป็นม่าน, ทำเป็นเปลือกฟูก, ทำเป็นปลอก หมอน...ไม่ต้องอาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/848/74/848/7 4/839/5 |
441 | [๗๗๙] ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาตัดเสีย แล้วใช้สอย, ทำเป็นผ้าขึงเพดาน ทำเป็นผ้าปูพื้นทำเป็นม่าน, ทำเป็นเปลือกฟูก, ทำเป็นปลอกหมอน...ไม่ต้อง อาบัติ (รตนวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/851/54/851/5 4/842/2 |
442 | พระนันทะมีขนาดต่ำกว่าพระศาสดา 4 นิ้ว (ขุททกกัณฑวรรณนา) 4/852/34/852/3 4/842/11 |
443 | [๗๘๒] ละแวกบ้านได้แก่ ถนนตรอกตันทางสามแยกเรือนตระกูล 4/855/144/855/14 4/846/12 |
444 | [๗๘๒] ภิกษุรับประเคนไว้ ด้วยหมายใจว่า จักเคี้ยว จักฉันต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกินต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน (ปาฏิเทสนียกัณฑ์สิกขาบทที่ ๑) 4/855/204/855/20 4/846/18 |
445 | [๗๘๓] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ สั่งให้ถวาย มิได้ถวายเอง, เก็บวางไว้ถวาย, ถวายใน อาราม, ในสำนักภิกษุณี, ในสำนักเดียรถีย์, ในโรงฉัน, นำออกจากบ้านแล้วถวาย ถวายยามกาลิก สัตตาหกาลิกยาวชีวิก ด้วยถ้อยคำว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ นิมนต์ฉัน ได้, สิกขมานาถวาย, สามเณรีถวาย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาฏิเทสนียกัณฑ์สิกขาบทที่ ๑) 4/857/24/857/2 4/848/2 |
446 | ภิกษุรับประเคน ยามกาลิกสัตตาหกาลิกยาวชีวิกที่ระคนกับอามิส มีรส เป็นอันเดียวกัน. เป็นปาฏิเทสนียะ (ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา) 4/858/164/858/16 4/849/19 |
447 | ภิกษุณีวางบนพื้นแล้วถวายว่า " ดิฉันถวายขาทนียโภชนียะ นี้แก่ท่าน " ภิกษุ รับของที่ภิกษุณีถวายอย่างนี้ แล้วให้ภิกษุณีนั้นเอง หรือใช้ผู้อื่นบางคนรับประเคนแล้วฉันควรอยู่ (ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา) 4/859/34/859/3 4/850/5 |
448 | [๗๘๕] ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าวรุกรานภิกษุณีนั้น แล้วรับด้วยหวังว่าจักเคี้ยว จักฉันต้องอาบัติทุกกฏกลืนต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๒) 4/862/14/862/1 4/853/1 |
449 | [๗๘๗] ภิกษุณีสั่งให้ถวายภัตตาหารของตน มิได้ถวายเอง, ถวายภัตตาหาร ของผู้อื่น มิได้สั่งให้ถวาย , สั่งให้ถวายภัตตาหาร ที่เขาไม่ได้ถวาย , สั่งให้เขา ถวายในภิกษุ ที่เขาไม่ได้ถวาย, สั่งให้ถวายเท่าๆ กันแก่ภิกษุทุกรูป, สิกขมานา สั่งเสีย, สามเณรีสั่งเสีย, เว้นโภชนะ 5 อาหารทุกอย่าง ไม่เป็นอาบัติ...ไม่ต้อง อาบัติ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๒) 4/863/24/863/2 4/854/5 |
450 | [๗๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดเจริญด้วย ศรัทธา แต่ หย่อนโภคทรัพย์ เราอนุญาตให้สมมติว่าเป็น เสกขะ แก่ตระกูลเห็นปานนั้นด้วย ญัตติทุติยกรรม (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๓) 4/864/144/864/14 4/856/2 |
451 | [๗๘๙] ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อันทายกนิมนต์แล้ว รับของเคี้ยว ของฉัน ในสกุล ที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉันได้ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๓) 4/866/114/866/11 4/857/16 |
452 | [๗๙๐] ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้ป่วย รับของเคี้ยวของฉันในสกุลที่สงฆ์สมมติ ว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉันได้ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๓) 4/867/174/867/17 4/858/19 |
453 | [๗๙๓] ภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้ หรือของภิกษุอาพาธ ภิกษุฉันภิกษา ที่เขาจัดไว้ในที่นั้น เพื่อภิกษุอื่นๆ , ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขานำ ออกจากเรือนไปถวาย, ภิกษุฉันนิตยภัตสลากภัตปักขิกภัตอุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต, ภิกษุฉัน ยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกที่เขาบอกว่าเมื่อมีเหตุ เหตุนิมนต์ฉัน...ไม่ต้องอาบัติ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๓) 4/870/124/870/12 4/861/12 |
454 | [๗๙๕] ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้ป่วยรับของเคี้ยว ของฉันในเสนาสนะป่า ด้วย มือของตน แล้วเคี้ยวฉันได้ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔) 4/873/214/873/21 4/864/20 |
455 | [๗๙๖] ที่ชื่อว่า เป็นที่มีรังเกียจ คือ ในอารามในอุปาจารแห่งอาราม มีสถานที่ พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔) 4/874/144/874/14 4/865/11 |
456 | [๗๙๖] ที่ชื่อว่า อันเขาไม่ได้บอกให้รู้คือ เขาส่งสหธรรมิก 5 ไปบอกนี้ชื่อว่า ไม่เป็นอันเขาได้บอกให้รู้, เขาบอกนอกอาราม นอกอุปาจารแห่งอารามก็ไม่ เป็นอันเขาได้บอกให้รู้ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔) 4/875/14/875/1 4/865/22 |
457 | [๗๙๘] ภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้ได้รับนิมนต์ไว้ หรือของภิกษุป่วย ภิกษุรับนอกวัดแล้ว มาฉันในวัด , ภิกษุฉันรากไม้เปลือกไม้ใบไม้ดอกไม้ หรือผลไม้ซึ่งเกิดขึ้นในวัดนั้น, ฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ในเมื่อ มีเหตุจำเป็น...ไม่ต้องอาบัติ (ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔) 4/877/94/877/9 4/868/6 |
458 | [๘๐๐] อันภิกษุนุ่งปิดมณฑลสะดือ มณฑลเข่าชื่อว่านุ่งเป็นปริมณฑล ภิกษุ ใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า เลื้อยหลัง ต้องอาบัติทุกกฏ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑) 4/882/114/882/11 4/873/14 |
459 | [๘๐๐] ไม่แกล้ง, ไม่มีสติ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, มีอันตราย, วิกลจริต, อาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑) 4/882/154/882/15 4/873/18 |
460 | [๘๐๑] อันภิกษุห่ม ทำมุมทั้ง 2ให้เสมอกัน ชื่อว่า ห่ม เป็นปริมณฑล ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ...ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒) 4/883/44/883/4 4/874/8 |
461 | [๘๐๒] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓) 4/883/184/883/18 4/875/9 |
462 | [๘๐๓] ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้านต้องอาบัติ ทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ(ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔) 4/884/124/884/12 4/876/9 |
463 | [๘๐๔] ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือคะนองเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้อง อาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕) 4/885/54/885/5 4/877/9 |
464 | [๘๐๕] ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือคะนองเท้า นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้อง อาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖) 4/885/184/885/18 4/878/9 |
465 | [๘๐๖] อันภิกษุ พึงมีในตาทอดลงเดินไปในละแวกบ้านพึงแลประมาณชั่วแอกหนึ่ง ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ ไปในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ(ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗) 4/886/104/886/10 4/879/9 |
466 | [๘๐๗] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งในละแวกบ้าน พลางแลดูในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘) 4/887/24/887/2 4/880/10 |
467 | [๘๐๘] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือ ทั้งสองข้าง เดินไป ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙) 4/887/164/887/16 4/881/9 |
468 | [๘๐๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง นั่ง ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐) 4/888/84/888/8 4/882/9 |
469 | [๘๑๐] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะลั่น ไปในละแวกบ้าน ต้อง อาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธทำอาการเพียงยิ้มแย้ม ในเมื่อมีเรื่องที่น่าขันมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/889/94/889/9 4/883/10 |
470 | [๘๑๑] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ หัวเราะลั่นนั่งในละแวกบ้าน ต้องทุกกฏ.อาบัติไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธทำอาการเพียงยิ้มแย้มในเมื่อมีเรื่องที่น่าขัน มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/890/54/890/5 4/884/9 |
471 | [๘๑๒] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินส่งเสียงตะเบ็ง เสียงตะโกน ไปใน ละแวกบ้านต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัว อาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/890/194/890/19 4/885/9 |
472 | [๗๑๓] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ส่งเสียงตะเบ็ง เสียงตะโกนนั่งในละแวก บ้านต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/891/124/891/12 4/886/9 |
473 | [๘๑๔] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกาย ไปในละแวกบ้าน วางท่า ภาคภูมิต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/892/54/892/5 4/887/9 |
474 | [๘๑๕] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อนั่งโคลงกายในละแวกบ้านวางท่า ภาคภูมิต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พัก มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/892/194/892/19 4/888/9 |
475 | [๘๑๖] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้านแสดง ท่ากรีดกรายต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/893/124/893/12 4/889/9 |
476 | [๘๑๗] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งไกวแขนในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกรายต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พัก มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/894/84/894/8 4/890/9 |
477 | [๘๑๘] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะ ไปในละแวกบ้าน ทำท่า คอพับต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/895/24/895/2 4/891/9 |
478 | [๘๑๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะ ในละแวกบ้าน ทำศีรษะ ให้ห้อยต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พัก มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (อุชชัคฆิกวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/895/164/895/16 4/892/9 |
479 | [๘๒๐]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินค้ำกาย ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง ก็ตามไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/897/94/897/9 4/893/10 |
480 | [๘๒๑]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งค้ำกาย ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ตาม ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พัก มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/898/24/898/2 4/894/9 |
481 | [๘๒๒]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย... ไม่ต้องอาบัติ. (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/898/154/898/15 4/895/9 |
482 | [๘๒๓]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พักมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ. (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/899/84/899/8 4/896/9 |
483 | [๘๒๔]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระหย่งเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พักมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/899/214/899/21 4/897/9 |
484 | [๘๒๕]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือ หรือด้วยผ้า ก็ดีใน ละแวกบ้านต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธอยู่ในที่พักมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/900/134/900/13 4/898/9 |
485 | [๘๒๖]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ บิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำอาการดุจทิ้ง เสียต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/901/94/901/9 4/899/10 |
486 | [๘๒๗]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตพลางเหลียวแล ไปในที่ นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/902/54/902/5 4/900/10 |
487 | [๘๒๘]สูปะมี 2 ชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว สูปะทำด้วยถั่วเหลือง ที่จับได้ ด้วยมือ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/902/184/902/18 4/901/9 |
488 | [๘๒๘]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับแต่สูปะอย่างเดียวเป็นส่วนมาก ต้องอาบัติทุกกฏ. (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/902/204/902/20 4/901/11 |
489 | [๘๒๘] ไม่แกล้ง, เผลอ , ไม่รู้ตัว,อาพาธ, รับกับข้าวต่างอย่าง, รับของญาติ รับของผู้ปวารณา , รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น,จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/903/24/903/2 4/901/14 |
490 | [๘๒๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้น ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ขัมภกตวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/903/144/903/14 4/902/9 |
491 | [๘๓๐] ภิกษุพึงใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยรังเกียจทำอาการ ดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/904/94/904/9 4/903/10 |
492 | [๘๓๑] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อฉันบิณฑบาต พลางแลดู ไปในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอ ไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/905/24/905/2 4/904/10 |
493 | [๘๓๒] ภิกษุพึงฉันบิณฑบาต เกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาต เจาะลงในที่นั้นๆ ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/905/154/905/15 4/905/9 |
494 | [๘๓๒] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ตักให้ภิกษุอื่นเว้าแหว่ง, ตักเกลี่ยลง ในภาชนะอื่นแหว่ง, ตักสูปะแหว่งเว้า, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/905/184/905/18 4/905/12 |
495 | [๘๓๓] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแต่สูปะอย่างเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/906/104/906/10 4/906/11 |
496 | [๘๓๓] ไม่แกล้ง,เผลอ, ไม่รู้ตัว,อาพาธ,ฉันกับข้าวอย่างอื่นๆ, ฉันของญาติ ฉันของคนปวารณา, ฉันเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/906/134/906/13 4/906/14 |
497 | [๘๓๔] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาตต้องอาบัติ ทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ ภิกษุกวาดตะล่อมข้าวที่เหลือเล็กน้อยรวม รวมเป็นคำแล้วเปิบฉัน มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/907/54/907/5 4/907/9 |
498 | [๘๓๕] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับข้าว ด้วยข้าวสุก เพราะอาศัยความอยากจะได้มาก ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/907/194/907/19 4/908/9 |
499 | [๘๓๕] ไม่แกล้ง , เผลอ , ไม่รู้ตัว , เจ้าของกลบถวาย , ไม่ได้มุ่งอยากได้มาก มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/908/24/908/2 4/908/13 |
500 | [๘๓๗] ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/910/134/910/13 4/911/5 |
501 | [๘๓๗] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ขอต่อญาติ, ขอต่อคนปวารณา,ขอ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/910/174/910/17 4/911/9 |
502 | [๘๓๘] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มีความมุ่งหมายจะเพ่งโทษ แลดูบาตร ของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/911/84/911/8 4/912/5 |
503 | [๘๓๘] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, แลดูด้วยคิดว่า จักเติมให้ หรือจักสั่งให้เขา เติมหรือถวาย, มิได้มีความมุ่งหมาย จะเพ่งโทษ, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ(สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/911/124/911/12 4/912/9 |
504 | [๘๓๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่ ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/912/24/912/2 4/913/5 |
505 | [๘๓๙] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ฉันของเคี้ยว, ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ฉันกับแกง, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/912/54/912/5 4/913/8 |
506 | [๘๔๐] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/912/154/912/15 4/914/5 |
507 | [๘๔๐] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ฉันของเคี้ยว, ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ฉันกับแกง,มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สักกัจจวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/912/184/912/18 4/914/8 |
508 | [๘๔๑] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อคำข้าวยังไม่มาถึงปาก อ้าช่องปาก ไว้รอ ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย... ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/913/94/913/9 4/915/10 |
509 | [๘๔๒] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กำลังฉันอยู่ สอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าไป ในปากต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/914/54/914/5 4/916/9 |
510 | [๘๔๓] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ พูดทั้งด้วยปากยังมีคำข้าวต้องอาบัติ ทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/914/194/914/19 4/917/9 |
511 | [๘๔๔] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเดาะคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/915/104/915/10 4/918/8 |
512 | [๘๔๔] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ฉันอาหารที่แข้น, ฉันผลไม้น้อยใหญ่ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/915/134/915/13 4/918/11 |
513 | [๘๔๕] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/916/24/916/2 4/919/8 |
514 | [๘๔๕] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ฉันขนมที่แข้นแข็ง, ฉันผลไม้ น้อยใหญ่, ฉันกับแกง มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/916/54/916/5 4/919/11 |
515 | [๘๔๖] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ต้องอาบัติทุกกฏ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/916/164/916/16 4/920/9 |
516 | [๘๔๖] ไม่แกล้ง,เผลอ,ไม่รู้ตัว,อาพาธ,ฉันผลไม้น้อยใหญ่, มีอันตราย... ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/916/204/916/20 4/920/13 |
517 | [๘๔๗] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/917/64/917/6 4/921/9 |
518 | [๘๔๗] ไม่แกล้ง, เผลอ,ไม่รู้ตัว,อาพาธ, สลัดมือทิ้งเศษอาหาร, มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/917/94/917/9 4/921/12 |
519 | [๘๔๘] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเมล็ดข้าวให้ร่วง ต้องอาบัติทุกกฏ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/917/194/917/19 4/922/9 |
520 | [๘๔๘]ไม่แกล้ง,เผลอ,ไม่รู้ตัว,อาพาธ, ทิ้งผงข้าว, เมล็ดข้าวติดไปด้วย มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/918/24/918/2 4/922/12 |
521 | [๘๔๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/918/104/918/10 4/923/8 |
522 | [๘๕๐] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารดังจับๆ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (กพฬวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/919/24/919/2 4/924/9 |
523 | [๘๕๑] อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เล่น รูปใดฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/920/174/920/17 4/925/16 |
524 | [๘๕๑] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารดังซูดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/921/74/921/7 4/926/7 |
525 | [๘๕๒] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/921/184/921/18 4/927/8 |
526 | [๘๕๓] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารขอดบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/922/104/922/10 4/928/8 |
527 | [๘๕๓] ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ ฉันข้าวสุกเหลือน้อย กวาดขอดรวม กันเข้าแล้วฉันมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/922/134/922/13 4/928/11 |
528 | [๘๕๔] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/923/24/923/2 4/929/8 |
529 | [๘๕๕] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับประเคนโอน้ำด้วยมือ ข้างที่เปื้อน อาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/924/124/924/12 4/931/5 |
530 | [๘๕๕] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, รับประเคนด้วยหมายว่า จักล้างเอง หรือให้ผู้อื่นล้าง, มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/924/164/924/16 4/931/9 |
531 | [๘๕๖] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวในละแวก บ้านต้องอาบัติทุกกฏ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/926/54/926/5 4/932/21 |
532 | [๘๕๖] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, เก็บเมล็ดข้าวออกแล้วจึงเทน้ำล้าง บาตร หรือขยี้เมล็ดข้าวให้ละลายแล้วเท หรือ เทน้ำล้างบาตร ลงในกระโถน แล้วนำไปเทข้างนอก,มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/926/94/926/9 4/933/2 |
533 | [๘๕๘] ร่ม 3 ชนิด ได้แก่ร่มผ้าขาวร่มลำแพนร่มใบไม้ที่เย็บเป็นวงกลม ผูกติดกับซี่ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/928/114/928/11 4/935/5 |
534 | [๘๕๘] ที่ชื่อว่าธรรมได้แก่ถ้อยคำที่อิงอรรถอิงธรรม เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิตอิสีภาษิตเทวตาภาษิต (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/928/134/928/13 4/935/7 |
535 | [๘๕๘] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ . (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/928/164/928/16 4/935/11 |
536 | [๘๕๙] ไม้พลองยาว 4 ศอก ของมัชฌิมบุรุษ ยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลองสั้นกว่า นั้นก็ไม่ใช่ไม้พลอง (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/929/84/929/8 4/936/9 |
537 | [๘๕๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้ พลองต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4 /929/104/929/10 4/936/11 |
538 | [๘๖๐] ศัสตรา ได้แก่ วัตถุเครื่องประหารมีคมข้างเดียว หรือ มีคมสองข้าง(สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/930/24/930/2 4/937/9 |
539 | [๘๖๐] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/930/44/930/4 4/937/10 |
540 | [๘๖๑] อาวุธ ได้แก่ ปืนเกาทัณฑ์ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/930/184/930/18 4/938/9 |
541 | [๘๖๑] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีมือถือ อาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ... ไม่ต้องอาบัติ (สุรุสุรุวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/930/194/930/19 4/938/10 |
542 | [๘๖๒] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เหยียบเขียงเท้า หรือผู้สวมเขียงเท้า หรือผู้สวมเขียงเท้าหุ้มส้นก็ตามต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑) 4/932/94/932/9 4/939/10 |
543 | [๘๖๓] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบรองเท้า หรือผู้สวมรองเท้า หรือผู้สวมรองเท้าหุ้มส้นก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย ...ไม่ต้องอาบัติ. (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๒) 4/933/24/933/2 4/940/13 |
544 | [๘๖๔] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหามรถเกวียนเตียงหามวอเปลหาม (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/933/164/933/16 4/941/13 |
545 | [๘๖๔] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งไปใน ยาน ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอ ไม่รู้ตัว อาพาธ มีอันตราย... ไม่ต้องอาบัติ. (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๓) 4/933/174/933/17 4/941/15 |
546 | [๘๖๕]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นอนอยู่ โดยที่สุด แม้บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๔) 4/934/124/934/12 4/942/13 |
547 | [๘๖๖]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งรัดเข่า ด้วยมือ หรือด้วยผ้าก็ตามต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๕) 4/935/54/935/5 4/943/13 |
548 | [๘๖๗]ที่ชื่อว่า พันศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/935/194/935/19 4/944/13 |
549 | [๘๖๗] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้โพกผ้า พันศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/935/204/935/20 4/944/15 |
550 | [๘๖๗] ไม่แกล้ง,เผลอ,ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ให้เขาเปิดปลายผมจุกแล้วแสดงมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๖) 4/936/24/936/2 4/945/2 |
551 | [๘๖๘]ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะคือที่เขาเรียกกันว่า คลุมตลอดศีรษะ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/936/124/936/12 4/945/14 |
552 | [๘๖๘] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/936/134/936/13 4/945/16 |
553 | [๘๖๘] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วแสดงมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๗) 4/936/164/936/16 4/946/2 |
554 | [๘๖๙]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่พื้นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่เป็น ไข้ผู้นั่งอยู่บนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๘) 4/937/54/937/5 4/946/14 |
555 | [๘๗๑]เรื่อง ภรรยาของบุรุษจัณฑาล (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/938/84/938/8 4/948/1 |
556 | [๘๗๒] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๙) 4/940/104/940/10 4/949/19 |
557 | [๘๗๓]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 4/941/24/941/2 4/950/13 |
558 | [๘๗๔]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปข้างหลังแสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๑) 4/941/164/941/16 4/951/13 |
559 | [๘๗๕]ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อเดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้ผู้เดินไปในทางต้องอาบัติทุกกฏไม่แกล้งเผลอไม่รู้ตัวอาพาธมีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๒) 4/942/124/942/12 4/952/13 |
560 | [๘๗๖] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระหรือยืนถ่ายปัสสาวะก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๓) 4/943/94/943/9 4/953/15 |
561 | [๘๗๗] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายก็ตาม ลงบนพืชสดเขียวต้องอาบัติทุกกฏ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๔) 4/944/24/944/2 4/954/14 |
562 | [๘๗๗] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว,อาพาธ, ของที่ถ่ายลงในที่ปราศจากของสดเขียว แล้วไหลไปรดของสดเขียว, มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๔) 4/944/74/944/7 4/955/2 |
563 | [๘๗๙] ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๕) 4/946/84/946/8 4/957/7 |
564 | [๘๗๙] ไม่แกล้ง, เผลอ, ไม่รู้ตัว, อาพาธ, ของที่ถ่ายไว้บนบกแล้ว ไหลลงสู่น้ำ มีอันตราย...ไม่ต้องอาบัติ (ปาทุกาวรรคสิกขาบทที่ ๑๕) 4/946/124/946/12 4/957/11 |
565 | [๘๘๐] อธิกรณสมถะ(ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) 7 ประการ.(อธิกรณสมถะ) 4/948/24/948/2 4/959/2 |
566 | ภิกษุนุ่งปิดเหนือมณฑลสะดือ และให้ผ้านุ่งห้อยลง ภายใต้มณฑลเข่าไป 8 นิ้วถ้านุ่งห้อยไปกว่านั้น เป็นทุกกฏ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/949/204/949/20 4/961/9 |
567 | ขนาดผ้านุ่งยาว 5 ศอกกำ กว้าง 2 ศอกคืบ ถ้าไม่ได้ แม้กว้าง2 ศอกก็ควร เพื่อปิดเข่าได้ แต่อาจปิดสะดือด้วยจีวร (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/950/44/950/4 4/961/14 |
568 | ภิกษุผู้แข้งลีบหรือ มีปั้นเนื้อปลีแข้งใหญ่ก็ดีจะนุ่งให้เลื้อยลงจากมณฑลเข่า เกินกว่า 8 นิ้ว เพื่อต้องการให้เหมาะสม ก็ควร (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/951/74/951/7 4/962/17 |
569 | ภิกษุห่มกลัดลูกดุมแล้ว เอาชายอนุวาต ทั้ง 2 ข้าง ปิดคอจัดมุมทั้ง 2 (แห่งจีวร) ให้เสมอกัน ม้วนเข้ามาปิดจนถึงข้อมือ แล้วจึงไปในละแวกบ้าน (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/952/74/952/7 4/963/17 |
570 | ย่อมมองดูชั่วแอก คือ แลดูภาคพื้นไปข้างหน้า ประมาณ 4 ศอก (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/952/194/952/19 4/964/4 |
571 | การยกมือวางบนสะเอว ทำความค้ำ ชื่อว่า ทำความค้ำ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/955/24/955/2 4/965/16 |
572 | โภชนะที่รับล้นบาตร ไม่ควรแม้แก่ภิกษุอาพาธ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/957/154/957/15 4/968/4 |
573 | ภิกษุกำลังแสดงธรรมใส่สมอ หรือ ชะเอมเครือเข้าปาก แสดงธรรมไปพลาง คำพูดจะไม่ขาดหายไป ด้วยชิ้นสมอเท่าใด จะพูดก็ควร (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/959/44/959/4 4/969/8 |
574 | ภิกษุจะเอานิ้วมือหยิบยาคูแข้น น้ำอ้อยงบ และข้าวปายาส แล้วสอดนิ้วมือ เข้าในปากฉัน ควรอยู่ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/960/84/960/8 4/970/10 |
575 | ขันน้ำ ภาชนะ เป็นของสงฆ์ ของบุคคล ของคฤหัสถ์ หรือของส่วนตัวก็ตาม ไม่ควรเอามือเปื้อนอาหารจับ ทั้งนั้นเมื่อจับเป็นทุกกฏ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/960/184/960/18 4/970/21 |
576 | ถ้าผู้อื่นกางร่มให้เขา หรือร่มนั้นตั้งอยู่บนที่รองร่ม จะแสดงธรรมแก่คนนั้น ควรอยู่ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/961/204/961/20 4/971/20 |
577 | ถ้าคนแม้ทั้ง 2 ฝ่าย นั่งไปบนยานเดียวกัน จะแสดงธรรมแก่อีกฝ่ายหนึ่งควร อยู่. แต่ภิกษุผู้นั่งบนยานข้างหลัง จะแสดงธรรมแก่ผู้นั่งบนยานข้างหน้า (ซึ่งไม่เจ็บไข้) ไม่ควร (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/963/94/963/9 4/972/22 |
578 | ภิกษุผู้ยืน หรือนั่งก็ตาม บนเตียง, ตั่ง จะแสดงธรรมแก่คนไม่ป่วย ผู้นอนอยู่ ไม่ควรแต่ภิกษุผู้นอนบนที่นอนสูงกว่าหรือเสมอกัน แสดงธรรมแก่ผู้ไม่ป่วย อยู่บนที่นอน ควรอยู่ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/963/154/963/15 4/973/7 |
579 | พระมหาเถระ นั่งบนอาสนะ ถามปัญหากับภิกษุหนุ่มผู้ยืนอยู่ เธอไม่ควรกล่าว แต่จะกล่าวด้วยตั้งใจว่า เราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่ข้างๆ ควรอยู่ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/967/14/967/1 4/976/11 |
580 | เมื่อภิกษุไม่ได้ที่ปราศจากของสดเขียว แม้วางเทริดหญ้า หรือฟางแล้ว ทำการ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะทับของเขียวในภายหลัง ก็ควร (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/967/204/967/20 4/977/7 |
581 | ถ่ายรดในน้ำ หมายเอาน้ำบริโภคเท่านั้น แต่ในน้ำที่ส้วม และในน้ำทะเล ไม่ใช่ ของบริโภค ไม่ต้องอาบัติ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/968/14/968/1 4/977/11 |
582 | สิกขาบททั้งหมด ในเสขิยวัตร เป็น สจิตตกะโลกวัชชะ (เสขิยกัณฑวรรณนา) 4/969/24/969/2 4/978/3 |