1 | [๑] คำกล่าวขอถึงพระรัตนตรัย (สรณคมน์ ในขุททกปาฐะ) 39/1/7 39/1/6 |
2 | ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุเถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎกพระพุทธพจน์ที่เหลือเว้นวินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก หรือนิกาย 4 ชื่อว่า ขุททกนิกาย (คำปรารภพระคำภีร์) 39/3/20 39/4/2 |
3 | เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ .(คำปรารภพระคำภีร์) 39/5/11 39/5/5 |
4 | ความหมายของคำว่า พุทธะ (พรรณนาพระสรณตรัย) 39/8/3 39/8/16 |
5 | ความหมายของ สรณะ (พรรณนาพระสรณตรัย) 39/10/18 39/10/22 |
6 | วิธีเข้าถึงสรณะ (พรรณนาพระสรณตรัย) 39/11/9 39/11/14 |
7 | การขาดสรณคมน์ มี 2 อย่าง คือ มีโทษ และไม่มีโทษ การขาดเพราะหันไปนับถือ ศาสดาอื่น และประพฤติผิดในพระศาสดานั้น ชื่อว่า มีโทษ .(พรรณนาพระสรณตรัย) 39/12/11 39/12/11 |
8 | ผู้ถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ จะไม่เข้าถึงอบายภูมิ (พรรณนาพระสรณตรัย) 39/13/1 39/13/2 |
9 | ข้ออุปมาพระรัตนตรัย (พรรณนาพระสรณตรัย) 39/19/6 39/19/2 |
10 | [๒] สิกขาบท 10 (สิกขาบท ๑๐ในขุททกปาฐะ) 39/22/2 39/22/2 |
11 | สิกขาบท 10 อันอุบาสก หรือ บรรพชิต ผู้เข้ามาสู่พระศาสนาจะพึงศึกษา เป็นอันดับแรก (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/23/4 39/23/3 |
12 | บทว่า มุสา ได้แก่ วจีประโยค หรือ กายประโยค ที่หักรานประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นเบื้องหน้า (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/28/20 39/28/13 |
13 | สุรา 5 อย่าง เมรัย 5 อย่าง (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/29/3 39/28/20 |
14 | การสมาทาน สิกขาบท 10 สามเณรให้สมาทานในสำนักภิกษุเท่านั้น ส่วนอุบาสก สมาทานเอง หรือ สมาทานกับผู้อื่นก็ได้ (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/31/19 39/31/13 |
15 | สิกขาบท ข้อ 1-5 สำหรับสามเณร เมื่อสิกขาบทหนึ่งขาด ทุกสิกขาบทก็เป็นอันขาดเพราะสิกขาบทเหล่านั้น เป็นฐานที่ตั้งแห่งปาราชิกของสามเณร.(พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/32/5 39/31/22 |
16 | สิกขาบท ข้อ 1-5 สำหรับคฤหัสถ์ ถ้าสมาทานเป็นข้อๆ เมื่อศีลข้อหนึ่งขาดก็ขาดข้อเดียวเท่านั้น ถ้าสมาทานรวมกันเมื่อศีลข้อหนึ่งขาด ศีลที่เหลือก็เป็นขาดหมดทุกข้อ (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/32/9 39/31/26 |
17 | การดื่มสุรา ชื่อว่า มีโทษมาก กว่าศีล 4 ข้อ ข้างต้น เพราะทำอันตรายแก่อริยธรรม และเป็นเหตุทำให้ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นคนบ้า (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/33/3 39/32/18 |
18 | องค์ประกอบในการละเมิดศีล 5 (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/36/3 39/35/16 |
19 | โทษของการฆ่าสัตว์อย่างเบาที่สุด เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็ทำให้เป็นผู้มีอายุสั้น(พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/39/17 39/38/19 |
20 | ผลจากการรักษาศีล 5 (พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/40/4 39/39/5 |
21 | ข้อดูการเล่นที่เป็นข้าศึก ถ้าเข้าไปดูเพราะอยากจะดูเป็นการล่วงละเมิด ถ้าเดินผ่านหรือ เห็นเฉพาะที่มาปรากฏในที่ยืนนั่ง นอน ก็มีแต่ความเศร้าหมอง.(พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/45/1 39/44/6 |
22 | ของหอมทุกอย่างนั้น ไม่ควรใช้ประดับตกแต่ง แต่ใช้เป็นยาได้.(พรรณานาสิกขาบท ๑๐) 39/45/9 39/44/14 |
23 | [๓] ในกายนี้ประกอบด้วยอาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น.(ทวัตติงสาการ ในขุททกปาฐะ) 39/47/2 39/46/2 |
24 | ก่อนเรียนกรรมฐาน พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล ตัดกังวล 10 ประการ มีกังวลด้วยที่อยู่ เป็นต้น และเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐาน .(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/50/6 39/49/6 |
25 | ผู้ทำกรรมฐานพึงเว้นเสนาสนะ 18 ประเภท มีอาวาสใหญ่ เป็นต้น แล้วเข้าไปยังเสนาสนะ ประกอบด้วยองค์ 5 (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/51/9 39/50/8 |
26 | วิธีการเจริญอาการ 32 (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/53/6 39/51/23 |
27 | เนื้อมี 900 ชิ้น ทั่วร่างกาย (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/59/10 39/58/4 |
28 | เอ็นมี 900 ทั่วร่างกาย (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/61/2 39/59/15 |
29 | กระดูก มี 300 ชิ้น ประสาทรับรส 7,000 มีตระกูลหนอน 80 ตระกูล .(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/65/13 39/63/22 |
30 | หัวใจของคนปัญญามาก แย้มนิดหน่อย ของคนปัญญาอ่อน ตูมอย่างเดียวเลือดของคนราคจริตสีแดง ของคนโทสจริต สีดำ ของคนโมหจริตสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ของคนวิตกจริตสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู ของคนสัทธาจริตสีเหมือนดอกกรรณิการ์ ของคนปัญญาจริต ผ่องใสไม่ขุ่นมัว (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/68/14 39/66/11 |
31 | ใส้ใหญ่ 21 ขดของผู้ชายยาว 32 ศอก ของผู้หญิง 28 ศอก .(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/72/2 39/70/4 |
32 | ในท้อง มีหนอน 32 ตระกูล ท้องจึงกลายเป็นบ้านเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาลเป็นป่าช้าของหนอน (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/73/16 39/71/20 |
33 | อาหารที่เรากินลงไปแบ่งเป็น 5 ส่วน สัตว์ในท้องกิน 1 ส่วน ไฟในท้องเผาไหม้ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นปัสสาวะ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็นอุจจาระ ส่วนหนึ่งจะกลายเป็น รส (โอชะ) บำรุงเพิ่มเลือดและเนื้อ (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/74/12 39/72/18 |
34 | ดีกำเริบ ตาจะเหลือง เวียนหัว ตัวสั่น คัน ส่วนดีในถุงกำเริบ จะเป็นบ้า .(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/76/18 39/75/5 |
35 | เสลดในท้อง ถ้ามีน้อยจะไม่หุ้มอาหาร เวลาเรอจะมีกลิ่นเหม็น.(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/77/14 39/76/4 |
36 | เลือดจะทำม้ามหัวใจ ตับ ปอด ให้ชุ่มอยู่ ถ้าไม่ชุ่มจะกระหายน้ำ.(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/79/7 39/78/3 |
37 | เมื่อร้องไห้ หรือเกิดธาตุกำเริบ โดยอาหาร และฤดูที่ไม่ถูกกัน เมื่อนั้นมันในสมอง ที่กลายเป็นเสมหะเสีย ไหลออกมาจากภายในศีรษะ ลงทางช่องบนเพดานปาก ขังอยู่เต็มจมูก (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/84/14 39/83/10 |
38 | ไขข้อของผู้ใดมีน้อย เวลาลุกขึ้น นั่งลง ก้าวไป กระดูกจะลั่นกุบกับ .(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/85/6 39/84/6 |
39 | เมื่อธรรมเหล่าใด ปรากฏโดยความเป็นของไม่งาม ทั้งปรากฏชัดกว่าอันอื่นก็ให้ตรึกจรด ถูกวิตกจรดบ่อยๆ ก็จะทำปฐมฌานให้เกิด แล้วเริ่มวิปัสสนา ย่อมบรรลุอริยภูมิได้ (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/91/21 39/90/22 |
40 | เมื่อปรากฏโดยวรรณะ ธรรมใดคล่องแคล่ว หรือเหมาะแก่จริตกว่าใน 32 ส่วนมีผม เป็นต้น หรือเป็นผู้บำเพ็ญมาแต่ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้น ทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถูกความตรึกจรด ถูกวิตกจรดบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดรูปาวจรฌานแล้วเจริญวิปัสสนา ก็จะบรรลุอริยภูมิได้ (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/92/11 39/91/10 |
41 | เมื่อธรรมเหล่านั้นปรากฏเป็นของว่างเปล่า เมื่อมนสิการโดยลักษณะ ย่อมบรรลุอุปจารฌาน โดยกำหนดธาตุ 4 มนสิการโดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเริ่มเจริญวิปัสสนานี้ และปฏิบัติไปตามลำดับ ก็ย่อมบรรลุอริยภูมิ.(พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/93/1 39/91/24 |
42 | การมนสิการอาการ 32 โดย นิมิต โดยลักษณะ โดยธาตุ โดยความว่างเปล่าโดยขันธ์ (พรรณนาทวัตติงสาการ) 39/94/1 39/92/19 |
43 | [๔] พระพุทธองค์ตรัสถามปัญหา 10 ข้อ แก่พระโสปากะ ท่านบรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ พระพุทธองค์อนุญาต การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาแก่ท่าน.(กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/96/17 39/95/17 |
44 | สุภนิมิต นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด .(กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/99/9 39/98/8 |
45 | เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ (กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/100/14 39/99/16 |
46 | ที่เรียกว่า นาม เพราะน้อมมุ่งหน้าสู่อารมณ์อย่างหนึ่ง เพราะเป็นเหตุน้อมจิตไปอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่ารูป เพราะอรรถว่า แตกสลาย (กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/101/7 39/100/7 |
47 | ผู้ใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ (กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/102/5 39/101/4 |
48 | ผู้ใดเห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เป็นดังลูกศร เห็นอทุกขมสุขมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง (กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/103/11 39/102/12 |
49 | สัตตาวาส (ที่อยู่ของสัตว์) 9 ประเภท (กถาพรรณากุมารปัญหา) 39/113/10 39/112/11 |
50 | [๕-๖] มงคล 38 ประการ (มงคลสูตร) 39/117/2 39/116/2 |
51 | เรื่องย่อ การทำสังคายนาครั้งแรก (อ.มงคลสูตร) 39/120/9 39/119/9 |
52 | มาร 5 คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร.(อ.มงคลสูตร) 39/149/3 39/145/12 |
53 | โดยปกติ มนุษยโลก ย่อมเป็นของปฏิกูล นับแต่ร้อยโยชน์ เทวดาทั้งหลาย ไม่อภิรมย์ในมนุษย์โลกเลย (อ.มงคลสูตร) 39/162/6 39/158/14 |
54 | โกลาหลมี 5 คือ กัปปโกลาหล จักกวัตติโกลาหล พุทธโกลาหล มงคลโกลาหลโมเนยยโกลาหล (อ.มงคลสูตร) 39/165/21 39/162/1 |
55 | เทวดาในหมื่นจักรวาล มาประชุมกันในจักรวาลนี้ เพื่อฟังมงคลกถา พากันเนรมิตอัตภาพอันละเอียด 80 บ้าง อยู่ในที่เท่าปลายขนทราย. (อ.มงคลสูตร) 39/169/14 39/165/18 |
56 | พี่ชายของทีฆวิทะ และตระกูล 500 หมกไหม้อยู่ในมหานรก อยู่ถึง 4 พุทธันดร.(อ.มงคลสูตร) 39/173/8 39/169/8 |
57 | นายสุมนมาลาการ อีกแสนกัป จะได้เป็น พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า สุมนิสสระ.(อ.มงคลสูตร) 39/179/2 39/173/25 |
58 | ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ชื่อว่า บูชายำเกรงนอบน้อมพระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม (อ.มงคลสูตร) 39/179/14 39/174/10 |
59 | สำหรับคฤหัสถ์ ทั้งพี่ชาย พี่สาวชื่อว่า ปูชเนยยบุคคลของน้อง มารดาบิดา ชื่อว่าปูชเนยยบุคคลของบุตร สามี พ่อผัว แม่ผัว เป็นปูชเนยยบุคคลของกุลสตรี.(อ.มงคลสูตร) 39/180/3 39/174/23 |
60 | ที่ใดยังมีบริษัท 4 ยังบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ยังมีคำสอนของพระพุทธเจ้าประเทศนั้นชื่อว่า ประเทศอันสมควร (อ.มงคลสูตร) 39/181/17 39/176/18 |
61 | การจัดทำสมณบริขาร เป็นศิลปะของบรรพชิต พึงทราบว่าเป็นมงคล.(อ.มงคลสูตร) 39/185/15 39/180/11 |
62 | การงดเว้นอกุศลธรรมบถ 10 ชื่อว่าวินัยของคฤหัสถ์ คฤหัสถ์ผู้ศึกษาแล้วในวินัยนั้น ชื่อว่าเป็นมงคล (อ.มงคลสูตร) 39/185/21 39/180/19 |
63 | บุตรทั้งหลายใช้ศีรษะทูนบิดามารดาไว้ถึงร้อยปี ก็ไม่สามารถทำการสนองคุณบิดามารดาได้ ผู้บำรุงบิดามารดาย่อมได้ รับการสรรเสริญในโลกนี้และในสวรรค์.(อ.มงคลสูตร) 39/188/6 39/182/18 |
64 | ผู้ใดบำรุงพ่อแม่ด้วยให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ด้วยให้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยการบรรพชา ผู้นั้นชื่อว่าได้ตอบแทนคุณมารดาบิดาแล้ว (อ.มงคลสูตร) 39/189/11 39/183/23 |
65 | การทำไร่นา การเลี้ยงโค การค้าขาย โดยรู้จักกาล ไม่เกียจคร้าน ฉลาด ชื่อว่า การงานไม่อากูล ตรัสว่าเป็นมงคล (อ.มงคลสูตร) 39/191/4 39/185/8 |
66 | การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นตัณหาชนะทุกข์ทั้งปวง (อ.มงคลสูตร) 39/193/13 39/187/13 |
67 | วิรัติ (งดเว้น) 3 ประการ (อ.มงคลสูตร) 39/195/12 39/189/13 |
68 | โทษของการดื่ม สุราและเมรัย (อ.มงคลสูตร) 39/196/12 39/190/11 |
69 | ผู้กระทำความเคารพผู้ที่ควรเคารพ นับถือผู้ที่ควรนับถือ หากเขากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นผู้มีตระกูลสูง (อ.มงคลสูตร) 39/198/6 39/192/1 |
70 | ความสันโดษ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ มี 12 อย่าง (อ.มงคลสูตร) 39/199/3 39/192/20 |
71 | ผู้ใดไม่โกรธ อดกลั้นการด่า การฆ่าและการจองจำได้ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีขันติเป็นกำลังว่าพราหมณ์ (อ.มงคลสูตร) 39/206/1 39/198/18 |
72 | การเห็นสมณะ บุญจากการแลดู ด้วยจิตผ่องใส โรคหรือโทษ ฝ้าหรือต่อมจะไม่มีในจักษุ ตลอดหลายพันชาติ เขาจะได้สมบัติในเทวดา และมนุษย์ ประมาณแสนกัป (อ.มงคลสูตร) 39/206/17 39/199/10 |
73 | เรื่องนกฮูก เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่ต้องไปทุคติถึงแสนกัป จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ โสมนัสสะ. (อ.มงคลสูตร) 39/207/7 39/200/1 |
74 | ทรงตรัสมงคลกถาจบ เทวดาแสนโกฏิ บรรลุอรหันต์ จำนวนผู้บรรลุโสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล นับไม่ได้ (อ.มงคลสูตร) 39/213/4 39/206/2 |
75 | [๗] ว่าด้วยรัตนะอันประณีต (รัตนสูตร) 39/215/4 39/208/4 |
76 | การเกิดขึ้นแห่งเมืองเวสาลี (พรรณนารัตนสูตร) 39/220/6 39/213/8 |
77 | เมื่อมีคนตายมาก อมนุษย์ก็จะพากันไปที่นั่น โรคทั้งหลายก็เกิดขึ้น.(พรรณนารัตนสูตร) 39/223/5 39/216/5 |
78 | เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมเทพ และหมู่เทพก็เสด็จมาพระอานนท์ เรียนรัตนสูตร ที่ใกล้ประตูเมือง ถือเครื่องทำพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่าง ปราการ 3 ชั้น ทำพระปริตร (พรรณนารัตนสูตร) 39/226/14 39/219/11 |
79 | พระอานนท์เอาบาตรของพระพุทธองค์ ตักน้ำมา เดินประพรมทั่วเมือง อมนุษย์ทลายกำแพงเมืองหนีไป มนุษย์ทั้งหลายที่มีโรค ก็สงบไป (พรรณนารัตนสูตร) 39/227/3 39/219/23 |
80 | เทพตั้งแต่ชั้นยามาจนถึง อกนิษฐะ จัดว่าเกิดแล้วในวิมานอากาศ ต่ำกว่านั้นลงมาจัดว่า เกิดบนดิน. (พรรณนารัตนสูตร) 39/229/7 39/222/9 |
81 | เมื่อมนุษย์ให้ส่วนบุญแก่เทวดาและพรหม ทั้งกลางวันและกลางคืนเทวดาต้องรักษามนุษย์พวกนั้น ระลึกถึงอยู่เป็นนิตย์ นำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เขาออกไป. จงนำเข้าไปแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล (พรรณนารัตนสูตร) 39/233/1 39/226/1 |
82 | รัตนะ 7 ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ (พรรณนารัตนสูตร) 39/237/6 39/230/2 |
83 | พอพระพุทธเจ้าตรัสพระคาถา ความสวัสดีก็เกิดแก่ราชสกุล ภัยก็ระงับไป พวก อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ยอมรับพุทธอาชญา (พรรณนารัตนสูตร) 39/246/20 39/238/25 |
84 | บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล และเป็นเวลาที่กัปไหม้ กัปก็จะยังไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ ตลอดกัป (พรรณนารัตนสูตร) 39/249/5 39/241/14 |
85 | พระโสดาบัน 3 ประเภท (พรรณนารัตนสูตร) 39/256/17 39/249/8 |
86 | พระโสดาบัน ไม่ควรทำอภิฐานะ 6 ได้แก่ อนันตริยกรรม 5 และการนับถือ ศาสดาอื่น (พรรณนารัตนสูตร) 39/260/11 39/253/7 |
87 | สาวกทั้งหลายย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ของพระพุทธเจ้า แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต (พรรณนารัตนสูตร) 39/262/3 39/254/18 |
88 | ทรงแสดง ถึงการบูชาที่ทรงได้รับขณะเสด็จกรุงเวสาลี มิใช่ด้วยความเป็นพระพุทธเจ้าแต่เป็นผลของการบริจาคเล็กน้อย ตอนพระองค์เป็นสังขพราหมณ์.(พรรณนารัตนสูตร) 39/272/4 39/264/18 |
89 | ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะ สละสุขพอประมาณไซร้ ผู้ มีปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ พึงสละสุขพอประมาณเสีย (พรรณนารัตนสูตร) 39/275/8 39/267/17 |
90 | [๘] ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (ติโรกุฑฑสูตร) 39/276/4 39/268/4 |
91 | กรรมที่เปรต ซึ่งเป็นญาติ ของพระเจ้าพิมพิสาร เคยทำไว้. (อ.ติโรกุฑฑสูตร) 39/281/1 39/272/25 |
92 | ให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทันที (อ.ติโรกุฑฑสูตร) 39/284/8 39/275/25 |
93 | ทักษิณา ย่อมสำเร็จผลในขณะนั้น ก็ด้วยองค์ 3 คือ ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย , ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย , ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล (อ.ติโรกุฑฑสูตร) 39/291/10 39/283/4 |
94 | ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติ ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยกาลช้านาน เช่นนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (อ.ติโรกุฑฑสูตร) 39/294/21 39/286/6 |
95 | [๙] การฝังทรัพย์ ที่ปลอดภัย (นิธิกัณฑ์) 39/302/3 39/293/3 |
96 | [๙] นาค ยักษ์ ลักทรัพย์ที่ฝังไป (นิธิกัณฑ์) 39/302/11 39/293/10 |
97 | นิธิ (ขุมทรัพย์) มี 4 (อ.นิธิกัณฑ์) 39/306/13 39/296/18 |
98 | สมัยใด บุญที่ทำโภคสมบัติ ให้สำเร็จ สิ้นไป ก็จะทำสิ่งที่มิใช่บุญ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคสมบัติ มีโอกาสตั้งอยู่ (อ.นิธิกัณฑ์) 39/311/7 39/301/13 |
99 | ถวายดอกไม้ดอกเดียว ก็ไม่รู้จักทุคติถึง 80 โกฏิกัป (อ.นิธิกัณฑ์) 39/314/1 39/304/4 |
100 | [๑๐] ว่าด้วยการแผ่เมตตาในสัตว์ทั้งปวง (เมตตสูตร) 39/328/4 39/318/10 |
101 | พระพุทธเจ้าทรงตรัสเมตตสูตร แก่ภิกษุที่ถูกเทวดารบกวน ข้างภูเขาหิมวันต์เพื่อป้องกัน และเป็นกรรมฐาน (อ.เมตตสูตร) 39/331/11 39/321/9 |
102 | ทรงตรัสอสุภกรรมฐาน สำหรับคนราคจริต, เมตตากรรมฐานสำหรับคนโทสจริต, มรณสติกรรมฐานสำหรับคนโมหจริต, อานาปานสติกรรมฐาน สำหรับคน วิตกจริต, พุทธานุสสติกรรมฐาน สำหรับคนสัทธาจริต, จตุธาตุววัตถานกรรมฐาน สำหรับคนพุทธิจริต. (อ.เมตตสูตร) 39/331/20 39/321/19 |
103 | เทวดาผู้สถิตต้นไม้ ที่ภิกษุนั่งอยู่ได้พาลูกๆ ลงจากวิมานของตน เที่ยวระหกระเหินไป ด้วยอำนาจศีลของภิกษุ. (อ.เมตตสูตร) 39/332/22 39/322/20 |
104 | เทวดาแสดงรูปและเสียงที่น่ากลัวแก่ภิกษุ แสดงกลิ่น เหม็นบีบคั้น โรคปวดศีรษะก็เกิดอย่างหนัก. (อ.เมตตสูตร) 39/333/11 39/323/4 |
105 | ภิกษุผู้อยู่ป่าควรรู้จักบริหาร คือ แผ่เมตตา 2 เวลา คือ ทำเวลาเย็นและเช้า ทำพระปริตร 2 เวลา เจริญอสุภ 2 เวลา เจริญมรณัสสติ 2 เวลา และพึงนึกถึงมหาสังเวควัตถุ 8 คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ อบายทุกข์ 4 ทั้ง 2 เวลา.(อ.เมตตสูตร) 39/335/3 39/324/17 |
106 | อเนสนา การแสวงหาที่ไม่สมควร 21 อย่าง มีให้ข้าวของหวังผลตอบแทน เป็นหมอดูฤกษ์ เป็นต้น (อ.เมตตสูตร) 39/336/19 39/326/13 |
107 | การคะนองทางกาย ทางวาจา ทางใจของภิกษุ (อ.เมตตสูตร) 39/343/18 39/333/4 |
108 | ความหมายของคำว่า สัมภเวสี และภูต (อ.เมตตสูตร) 39/349/20 39/339/13 |
109 | ผู้เจริญเมตตา ไม่ต้องจำกัดอิริยาบถ แม้ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้ายังไม่ง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสติไว้ในเมตตา ฌาน เพียงนั้น (อ.เมตตสูตร) 39/353/18 39/343/14 |
110 | ตัวอย่าง การกำหนดธรรม เมื่อ ออกจากเมตตาฌานแล้ว (อ.เมตตสูตร) 39/355/17 39/345/14 |
111 | เมื่อภิกษุสวดพระสูตรนี้ พวกอมนุษย์ที่เคยเบียดเบียน เกิดปีติโสมนัส เห็นความหวังดี ก็พากันเก็บกวาดเสนาสนะจัดแจงน้ำร้อน นวดเท้า จัดการอารักขาภิกษุเหล่านั้น. (อ.เมตตสูตร) 39/356/14 39/346/11 |