1 | [๑] ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนใจเป็นผล... นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณ ทัสสนะเป็นผล ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ ด้วยประการดังนี้ (กิมัตถิยสูตร) 38/1/1638/1/16 38/2/1 |
2 | วิปัสสนาอย่างอ่อน ชื่อว่ายถาภูตญาณทัสสนะ วิปัสสนามีกำลัง ชื่อว่านิพพิทา มรรค ชื่อว่า วิราคะ อรหัตผล ชื่อว่า วิมุตติ. (อ.กิมัตถิยสูตร) 38/4/1138/4/11 38/4/11 |
3 | [๒] ผู้มีศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนใจ จงเกิดขึ้นแก่เรา... ผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำเจตนาว่าขอเราจงเห็นตามความเป็นจริง (เจตนาสูตร) 38/4/1838/4/18 38/5/4 |
4 | [๓] ความไม่เดือดร้อนใจชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว... เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทา วิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว (สีลสูตร) 38/6/2038/6/20 38/7/3 |
5 | [๔] พระสารีบุตร แสดงถึงความไม่เดือดร้อนใจ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว... (อุปนิสาสูตร) 38/8/2038/8/20 38/9/3 |
6 | [๕] พระอานนท์แสดงถึง ความไม่เดือดร้อนใจ มีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว... (อานันทสูตร) 38/10/1838/10/18 38/11/3 |
7 | [๖] ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ไม่พึงมี ความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็น อาโปธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่เราว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ ผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั่นสงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสิ้นแห่งตัณหา ความดับ นิพพาน ดังนี้ (สมาธิสูตร) 38/12/1938/12/19 38/13/3 |
8 | [๗] พระสารีบุตร ตอบคำถามพระอานนท์ ถึงสมาธิ ที่มิได้มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็น ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์... มิได้มีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ แต่ว่าเป็นผู้มีสัญญา (สาริปุตตสูตร) 38/14/1238/14/12 38/16/3 |
9 | [๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ มีศรัทธา เป็นต้น. ย่อมเป็นผู้ก่อให้ เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ถ้าไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์ใด ก็ให้บำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ (สัทธาสูตร) 38/16/938/16/9 38/18/12 |
10 | [๙] ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เป็นผู้มีศีลแต่ไม่เป็นพหูสูต... ถูกต้อง วิโมกข์อันสงบด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ อย่างนี้ พึงบำเพ็ญองค์ที่ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ (สันตสูตร) 38/17/1938/17/19 38/20/12 |
11 | [๑๐] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใส โดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. (วิชชยสูตร) 38/19/838/19/8 38/22/7 |
12 | [๑๑] ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เสพอยู่คบอยู่ซึ่งเสนาสนะ อันประกอบด้วย องค์ 5 ไม่นานนัก พึงทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (เสนาสนสูตร) 38/23/538/23/5 38/26/5 |
13 | [๑๒] ภิกษุผู้ละนิวรณ์ 5 ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 5 บัณฑิต เรียกว่า ผู้ ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ (อังคสูตร) 38/25/1538/25/15 38/28/17 |
14 | [๑๓] สังโยชน์ (เครื่องผูก) 10 ประการ (สังโยชนสูตร) 38/27/838/27/8 38/30/13 |
15 | [๑๔] ภิกษุพึงละตะปูตรึงใจ 5 ประการ พึงตัดเครื่องผูกพันใจ 5 ประการ เมื่อละ ได้ตัดได้ พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ ถ้าละไม่ได้ ตัดไม่ได้ ย่อมถึงความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความเจริญเลย. (ขีลสูตร) 38/28/338/28/3 38/31/9 |
16 | [๑๕] กุศลธรรมทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ ประมาทดุจรอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไป บนแผ่นดิน ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง . (อัปปมาทสูตร) 38/35/1438/35/14 38/38/12 |
17 | [๑๕] กฤษณาเป็นยอดแห่งกลิ่นหอมที่เกิดแต่ราก จันทน์แดงเป็นยอดแห่งกลิ่น หอมที่เกิดแต่แก่น มะลิเป็นยอดแห่งกลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอก (อัปปมาทสูตร) 38/36/538/36/5 38/39/1 |
18 | พระเจ้าภาติยมหาราช ทรงทดลอง ความหอมของดอกมะลิ (อ.อัปปมาทสูตร) 38/38/1138/38/11 38/41/4 |
19 | [๑๖] บุคคล 10 จำพวก นี้ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก คือ พระพุทธเจ้า... ท่านผู้เป็นโคตรภู (อาหุเนยยสูตร) 38/39/338/39/3 38/41/18 |
20 | [๑๗] " เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย เพราะ บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการ คือ เป็นผู้ มีศีล...เป็นผู้มีปัญญา. (ปฐมนาถสูตร) 38/39/2038/39/20 38/42/13 |
21 | [๑๘] ธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการ (ทุติยนาถสูตร) 38/44/1038/44/10 38/47/3 |
22 | [๑๙] ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี 10 ประการ (ปฐมอริยวสสูตร) 38/48/1738/48/17 38/51/3 |
23 | [๒๐] ทรงอธิบาย แก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ 10 ประการ . (ทุติยอริยวสสูตร) 38/49/1438/49/14 38/52/3 |
24 | [๒๑] กำลังของพระตถาคต 10 ประการ (สีหสูตร) 38/56/1138/56/11 38/58/12 |
25 | กำลังกายของพระตถาคตเท่ากับช้างพันโกฏิ เมื่อเทียบบุรุษเท่ากับกำลังบุรุษ 1 หมื่นโกฏิ (อ.สีหสูตร) 38/62/738/62/7 38/63/19 |
26 | ธรรมจักรนั้นมี 2 อย่าง คือ ปฏิเวธญาณ เทศนาญาณ (อ.สีหสูตร) 38/64/438/64/4 38/65/11 |
27 | พระทศพลญาณ ย่อมรู้เฉพาะกิจของตนๆ เท่านั้น พระสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้ทั้งกิจของตนๆ ทั้งกิจที่เหลือนอกจากของตนนั้น. (อ.สีหสูตร) 38/68/1038/68/10 38/69/14 |
28 | [๒๒] ทรงแสดง กำลังของพระตถาคต 10 ประการ แก่พระอานนท์ (อธิมุตติสูตร) 38/70/1938/70/19 38/72/3 |
29 | [๒๓] โทษที่ละด้วยกาย ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้มี โลภะ เป็นต้น (กายสูตร) 38/76/1738/76/17 38/76/14 |
30 | [๒๔] ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ และอวดภาวนา หากว่าภิกษุนั้นรู้ชัด ซึ่ง โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นแล้ว สิ่งเหล่านั้น จึงไม่ครอบงำท่านผู้นั้นตั้งอยู่ เปรียบ เหมือนบุรุษเป็นคนมั่งคั่ง กล่าวอวดความมั่งคั่ง (มหาจุนทสูตร) 38/83/638/83/6 38/84/16 |
31 | [๒๕] บ่อเกิดแห่งกสิณ (เครื่องหมายสำหรับเพ่งอารมณ์เวลาทำกัมมัฏฐาน) 10 ประการ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น. (กสิณสูตร) 38/85/638/85/6 38/85/16 |
32 | [๒๖] พระมหากัจจายนะ ได้ขยายเนื้อความที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในกุมารีปัญหา ว่า " การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะเสนา คือ กิเลสอัน มีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่... " (กาลีสูตร) 38/87/338/87/3 38/87/16 |
33 | [๒๗] ทรงแสดง ปัญหา๑ อุเทศ๑ ไวยากรณ์๑ได้แก่ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง... ปัญหา 10 อุเทศ 10 ไวยากรณ์ 10 ได้แก่ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ ในอกุศลธรรมบถ 10 ย่อม ทำที่สุดทุกข์ได้ (ปฐมมหาปัญหาสูตร) 38/93/638/93/6 38/93/13 |
34 | ผู้เกิดในอสัญญีภพ เมื่อตายด้วยอิริยาบถใดในมนุษย์ ก็ไปเกิดด้วยอิริยาบถ นั้น เหมือนรูปจิตรกรรมตั้งอยู่ 500 กัป (อ.ปฐมมหาปัญหาสูตร) 38/100/1538/100/15 38/100/1 |
35 | [๒๘] กชังคลาภิกษุณี แสดงเนื้อความโดยพิสดารที่พระพุทธเจ้า ตรัสปัญหา1 อุเทศ 1 ไวยากรณ์ 1 ถึง ปัญหา 10 อุเทศ 10 ไวยากรณ์ 10 แก่ อุบาสกชาว เมืองกชังคละ (ทุติยมหาปัญหาสูตร) 38/102/338/102/3 38/101/15 |
36 | [๒๙] โลกธาตุพันหนึ่ง มีขุนเขาสิเนรุหนึ่งพัน เทวโลกชั้นดาวดึงส์หนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน (ปฐมโกสลสูตร) 38/108/138/108/1 38/107/1 |
37 | [๒๙] เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปเกิดในพรหมโลก ชั้นอาภัสสรา (ปฐมโกสลสูตร) 38/108/1438/108/14 38/107/12 |
38 | [๒๙] อภิภายตนะ (ภาวะแห่งความมีอำนาจเหนือ) 8 ประการ (ปฐมโกสลสูตร) 38/109/1938/109/19 38/108/13 |
39 | [๒๙] ปฏิปทา 4 ประการ มีปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า เป็นต้น (ปฐมโกสลสูตร) 38/112/438/112/4 38/110/13 |
40 | [๒๙] สัญญา 4 ประการ มีคนหนึ่งย่อมจำปริตตารมณ์... คนหนึ่งย่อมจำอากิญจัญญายตนะ (ปฐมโกสลสูตร) 38/112/1338/112/13 38/110/22 |
41 | สัญญาที่ 1 คือ กามาวจรสัญญา สัญญาที่ 2 คือ รูปาวจรสัญญา สัญญาที่ 3 คือ โลกุตรสัญญา สัญญาที่ 4 คือ อากิญจัญญายตนสัญญา (อ.ปฐมโกสลสูตร) 38/115/938/115/9 38/113/11 |
42 | [๓๐] พระเจ้าปเสนทิโกศล ชนะสงครามแล้วมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จูบพระบาท กล่าวข้อความที่ทรงกระทำความนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ 10 ประการ (ทุติยโกสลสูตร) 38/116/1738/116/17 38/115/4 |
43 | ธรรมเนียมการเคาะประตู (อ.ทุติยโกสลสูตร) 38/123/1238/123/12 38/121/3 |
44 | [๓๑] พระพุทธเจ้า อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ จึงบัญญัติสิกขาบท. (ปฐมอุปาลิสูตร) 38/126/1038/126/10 38/123/5 |
45 | [๓๑] การหยุดสวดปาติโมกข์มี 10 ประการ มีภิกษุผู้ต้องปาราชิกนั่งอยู่ใน บริษัทนั้น เป็นต้น (ทุติยอุปาลิสูตร) 38/130/1038/130/10 38/127/6 |
46 | [๓๒] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้น อธิกรณ์ (อุพพาหสูตร) 38/131/1038/131/10 38/128/11 |
47 | [๓๓-๓๔] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้ นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก (สูตร ๔-๖) 38/133/338/133/3 38/130/8 |
48 | [๓๕] สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุ 10 ประการ มีการแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่า เป็นธรรม เป็นต้น. (อุปาลิสังฆเภทสูตร) 38/135/1338/135/13 38/133/10 |
49 | [๓๖] สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ด้วยเหตุ 10 ประการ (อุปาลิสามัคคีสูตร) 38/136/1638/136/16 38/134/13 |
50 | [๓๘] บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน จะเสวยผลกรรมอยู่ในนรก ตลอด กัปหนึ่ง. (อานันทสังฆเภทสูตร) 38/138/1038/138/10 38/136/17 |
51 | [๔๐] บุคคลผู้สมานสงฆ์ ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้นจะบันเทิงอยู่ใน สวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง. (อานันทสังฆสามัคคีสูตร) 38/140/138/140/1 38/138/17 |
52 | [๔๑-๔๒] เหตุปัจจัยให้การทะเลาะ วิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ 10 ประการ มีการแสดง สิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม เป็นต้น (สูตร ๑-๒) 38/141/438/141/4 38/140/4 |
53 | [๔๓] มูลเหตุแห่งการวิวาท 10 ประการ มีการแสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่า เป็นอาบัติ เป็นต้น (ทุติยวิวาทมูลสูตร) 38/142/1438/142/14 38/141/19 |
54 | [๔๔] ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการ ไว้ใน ตน มีการเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือไม่เป็นต้น. (กุสินาราสูตร) 38/143/938/143/9 38/142/14 |
55 | [๔๔] ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการ ไว้ในตน มี การจักกล่าวโดยกาลอันควร เป็นต้น (กุสินาราสูตร) 38/145/1538/145/15 38/144/15 |
56 | เมื่อโจทก์กลางสงฆ์ กลางคณะ ที่โรงสลาก โรงยาคู โรงภัต โรงตรึก หน ทางภิกษาจาร และศาลาฉัน ที่ศาลาเฝ้าบำรุง หรือในคณะพวกอุปัฏฐาก ปวารณา ชื่อว่ากล่าวโดยมิใช่กาล (อ.กุสินาราสูตร) 38/147/238/147/2 38/145/22 |
57 | [๔๕] โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการ (ปเวสนสูตร) 38/147/1638/147/16 38/146/13 |
58 | [๔๖] พระพุทธองค์ตรัสแก่อุบาสกชาวสักกชนบท ถึงชีวิตมีภัย เพราะความโศก ความตาย ไม่มีใครเสวยความสุขโดยส่วนเดียวอยู่ แม้ครึ่งวัน เพราะโภคทรัพย์ พึงรักษาอุโบสถ และสาวกในธรรมวินัยนี้ ปฏิบัติตามที่พระองค์สอนตลอด 1 วัน 1 คืน พึงเป็นผู้มีความสุขตลอดร้อยปี หมื่นปี แสนปี ก็มี เป็นอริยบุคคล ก็มี (สักกสูตร) 38/150/2038/150/20 38/149/17 |
59 | [๔๗] ธรรม 10 ประการ คือ โลภ... จิตอันบุคคลตั้งไว้ชอบ นี้มีพร้อมอยู่ในโลก ฉะนั้น ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความ ประพฤติสม่ำเสมอ คือความประพฤติธรรม จึงปรากฏในโลกนี้ (มหาลิสูตร) 38/155/1838/155/18 38/154/8 |
60 | [๔๘] ธรรม 10 ประการ ที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ มีการพิจารณาว่าเราเป็น ผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ เป็นต้น (อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร) 38/157/1138/157/11 38/156/7 |
61 | [๔๙] ธรรมอันตั้งอยู่ในสรีระ 10 ประการ ที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ คือ ความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมอาชีพ ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพต่อไป (สรีรัฏฐธรรมสูตร) 38/162/738/162/7 38/161/3 |
62 | [๕๐] ธรรม 10 ประการ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ภัณฑนสูตร) 38/163/338/163/3 38/162/3 |
63 | [๕๑] ถึงแม้ไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น ภิกษุพึงศึกษาว่า จักเป็นผู้ฉลาดในวาระ จิตของตน (สจิตตสูตร) 38/168/938/168/9 38/167/9 |
64 | [๕๒] พระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลาย ถึงภิกษุพึงศึกษาว่า จักเป็นผู้ฉลาดใน วาระจิตของตน (สาริปุตตสูตร) 38/171/638/171/6 38/170/5 |
65 | [๕๓] พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญความตั้งอยู่ ในกุศลธรรมทั้งหลาย และความเสื่อม รอบในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงสรรเสริญความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย (ฐิติสูตร) 38/173/1038/173/10 38/172/4 |
66 | [๕๔] ภิกษุพึงฉลาดในวาระจิตของตน ว่าเราได้ความสงบจิตหรือไม่ เป็นผู้ได้เห็นแจ้งธรรมหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้ พึงทำความพอใจ พยายามไม่ท้อถอย สติสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้น. พึงพิจารณาแม้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ บ้าน นิคม และบุคคล ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ (สมถสูตร) 38/176/738/176/7 38/175/7 |
67 | [๕๕] พระสารีบุตร แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงบุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม และ ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม. (ปริหานสูตร) 38/182/438/182/4 38/180/16 |
68 | [๕๖] สัญญา 10 ประการ มีอสุภสัญญา เป็นต้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอมตธรรมเป็นที่สุด. (ปฐมสัญญาสูตร) 38/185/938/185/9 38/183/9 |
69 | [๕๗] สัญญา 10 ประการ มีอนิจจสัญญา เป็นต้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอมตะเป็นที่สุด (ทุติยสัญญาสูตร) 38/185/2138/185/21 38/184/4 |
70 | [๕๘] ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นที่สุด. (มูลสูตร) 38/187/638/187/6 38/185/23 |
71 | [๕๙] จิตที่ได้รับการอบรมดีแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา ด้วยอนิจจสัญญาเป็นต้น ภิกษุนั้น พึงหวังผลได้ 2 อย่าง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเป็นพระอนาคามี (ปัพพชิตสูตร) 38/188/1838/188/18 38/187/19 |
72 | [๖๐] พระพุทธเจ้าตรัส สัญญา 10 ให้พระอานนท์ไปแสดงแก่พระคิริมานนท์ ผู้อาพาธ เมื่อพระอานนท์แสดงจบ พระคิริมานนท์ ก็หายป่วย (อาพาธสูตร) 38/190/638/190/6 38/189/7 |
73 | [๖๐] พระพุทธองค์ทรงแสดง อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกายนี้ (อาพาธสูตร) 38/192/138/192/1 38/190/24 |
74 | [๖๑] " เงื่อนต้นแห่งอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี " (อวิชชาสูตร) 38/197/438/197/4 38/196/4 |
75 | [๖๑] อวิชชา มีนิวรณ์ 5 เป็นอาหาร นิวรณ์ 5 มีทุจริต 3 เป็นอาหาร... การไม่ฟังธรรมมีการไม่คบสัปบุรุษเป็นอาหาร (อวิชชาสูตร) 38/197/738/197/7 38/196/7 |
76 | [๖๑] วิชชา และวิมุตติ มีโพชฌงค์ 7 เป็นอาหาร โพชฌงค์ 7 มีสติปัฏฐาน 4 เป็นอาหาร... การฟังธรรม มีการคบสัปบุรุษ เป็นอาหาร. (อวิชชาสูตร) 38/198/2038/198/20 38/198/2 |
77 | [๖๒] เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ภวตัณหาไม่มี แต่ ภายหลังจึงมี ภวตัณหา (ความปรารถนาภพ) มีอวิชชา เป็นอาหาร (ตัณหาสูตร) 38/201/338/201/3 38/200/10 |
78 | [๖๓] " บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ " (นิฏฐาสูตร) 38/204/2138/204/21 38/204/10 |
79 | [๖๓] บุคคล 10 จำพวก ที่เชื่อมั่นในพระตถาคต. (นิฏฐาสูตร) 38/205/138/205/1 38/204/12 |
80 | [๖๔] บุคคล 10 จำพวก ที่เลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระตถาคต. (อเวจจสูตร) 38/206/338/206/3 38/205/15 |
81 | [๖๕] พระสารีบุตร ตอบสามัณฑกานิปริพาชก ถึง การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข (ปฐมสุขสูตร) 38/207/338/207/3 38/207/3 |
82 | [๖๖] พระสารีบุตร ตอบสามัณฑกานิปริพาชก ถึง ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดี เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข (ทุติยสุขสูตร) 38/208/338/208/3 38/208/3 |
83 | [๖๗] พระสารีบุตร แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย กลางคืน หรือ กลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังว่า ได้ความเสื่อมในกุศลธรรม ทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย. (ปฐมนฬกปานสูตร) 38/209/2138/209/21 38/210/1 |
84 | [๖๘] พระสารีบุตร แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธา ไม่มีความไม่ ประมาท ในกุศลธรรมทั้งหลาย กลางคืน หรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป ผู้นั้นพึงหวังว่า ได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย.. (ทุติยนฬกปานสูตร) 38/213/1038/213/10 38/213/14 |
85 | นิคม ชื่อว่า นฬกปานะ เพราะครั้งอดีตฝูงวานร อยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ใช้หลอดไม้อ้อในที่ดื่มน้ำ (อ.ทุติยนฬกปานสูตร) 38/215/338/215/3 38/216/3 |
86 | [๖๙] การที่เธอทั้งหลายสนทนากันถึง ดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่อง พระราชา ฯลฯ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธาเลย (ปฐมวัตถุกถาสูตร) 38/216/1538/216/15 38/217/23 |
87 | [๖๙] กถาวัตถุ (ถ้อยคำที่ควรพูด) 10 ประการ มีเรื่องความมักน้อย เป็นต้น . (ปฐมวัตถุกถาสูตร) 38/216/1938/216/19 38/218/8 |
88 | ดิรัจฉานกถา ได้แก่ เรื่องที่ขัดขวางทางสวรรค์ และนิพพาน เพราะเป็นเรื่อง ที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ (อ.ปฐมวัตถุกถาสูตร) 38/217/838/217/8 38/218/22 |
89 | [๗๐] ฐานะที่ควรสรรเสริญ 10 อย่าง มีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และ กล่าวคุณแห่งความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นต้น (ทุติยวัตถุกถาสูตร) 38/221/138/221/1 38/222/10 |
90 | [๗๑] ภิกษุพึงสำเร็จความหวังต่างๆ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล (อากังขสูตร) 38/223/438/223/4 38/225/5 |
91 | ปาฏิโมกขสังวรของภิกษุใดขาดแล้ว ภิกษุนี้ไม่พึงถูกกล่าวว่าจักรักษาศีลที่ เหลือได้ เหมือนบุรุษศีรษะขาดแล้ว (อ.อากังขสูตร) 38/226/1338/226/13 38/228/7 |
92 | ภิกษาทัพพี หนึ่งก็ดี บรรณศาลาที่เขาสร้างบนเนื้อที่เพียง 5 ศอก ก็ดี ที่เขา ถวายแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย คุณมีศีล เป็นต้น ย่อมป้องกันจากทุคติ วินิบาต ได้หลายพันกัป ยังจะเป็นปัจจัยแก่อมตธาตุ คือ พระนิพพานในที่สุดด้วย . (อ.อากังขสูตร) 38/229/138/229/1 38/230/16 |
93 | บิดา หรือมารดาของภิกษุใด ตายด้วยมีจิตเลื่อมใสว่า พระเถระญาติของพวกเราเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ระลึกถึงภิกษุนั้น เพียงความระลึกถึงนั้น ของบุคคลนั้นย่อมมีผลมาก (อ.อากังขสูตร) 38/229/1138/229/11 38/231/4 |
94 | [๗๒] พระพุทธองค์ กล่าว ฌานว่ามีเสียงเป็นปฏิปักษ์ และทรงแสดงปฏิปักษ์ 10 ประการ มีการติดต่อกับมาตุคาม เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์ เป็นต้น . (กัณฏกสูตร) 38/231/738/231/7 38/232/20 |
95 | [๗๓] ธรรม 10 ประการ อันน่าปรารถนา น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก. (อิฏฐสูตร) 38/232/1138/232/11 38/234/4 |
96 | [๗๓] ธรรม 10 ประการ เป็นอันตรายแก่ธรรม 10 ประการ อันน่าปรารถนา น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก มีความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็น อันตรายแก่โภคสมบัติ เป็นต้น (อิฏฐสูตร) 38/232/1738/232/17 38/234/10 |
97 | [๗๔] อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ 10 ประการ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ อันประเสริฐ และเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ สิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย (วัฑฒิสูตร) 38/234/638/234/6 38/236/3 |
98 | [๗๕] บุคคล 10 จำพวก มีอยู่ในโลกคือ ผู้ทุศีล 2 จำพวก ผู้มีศีล 2 จำพวก ผู้มี ราคะกล้า 2 จำพวก ผู้มักโกรธ 2 จำพวก ผู้ฟุ้งซ่าน 2 จำพวก (มิคสาลาสูตร) 38/237/1138/237/11 38/239/13 |
99 | [๗๕] อย่าถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลาย คุณวิเศษของตน (มิคสาลาสูตร) 38/241/1238/241/12 38/242/25 |
100 | ศีลของปุถุชน ย่อมขาดด้วยเหตุ 5 ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถี บรรลุพระอรหัต ตาย (อ.มิคสาลาสูตร) 38/242/1538/242/15 38/244/3 |
101 | [๗๖] ถ้าชาติ ชรา มรณะ ไม่พึงมีในโลก พระพุทธเจ้าก็ไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก (อภัพพสูตร) 38/244/1538/244/15 38/246/7 |
102 | [๗๖] ถ้าไม่ละ ราคะ โทสะ โมหะ แล้วก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ .(อภัพพสูตร) 38/245/238/245/2 38/246/12 |
103 | [๗๗] ทรงเปรียบกากับอสัทธรรมของภิกษุ 10 ประการ มีความเป็นผู้มักขจัด คึกคะนอง เป็นต้น (กากสูตร) 38/250/1138/250/11 38/251/6 |
104 | [๗๘] พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการ มีความเป็นผู้ไม่ศรัทธา เป็นต้น. (นิคันถสูตร) 38/251/1338/251/13 38/252/14 |
105 | [๗๙] วัตถุแห่งความอาฆาต 10 ประการ (อาฆาตวัตถุสูตร) 38/252/338/252/3 38/253/3 |
106 | [๘๐] อุบายเป็นเครื่องกำจัดความอาฆาต 10 ประการ (อาฆาตปฏิวินยสูตร) 38/253/738/253/7 38/254/7 |
107 | [๘๑] พระตถาคต สลัดออกปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม 10 ประการ คือ ขันธ์ 5 ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ กิเลส จึงชื่อว่า มีพระทัยปราศจากแดนกิเลสอยู่ .(วาหุนสูตร) 38/255/538/255/5 38/256/5 |
108 | [๘๒] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการ มีเป็นผู้ไม่ศรัทธา ทุศีล มีการสดับ น้อย เป็นต้น จักถึงความเจริญในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ . (อานันทสูตร) 38/256/1038/256/10 38/257/10 |
109 | [๘๓] พระปุณณิยะ ถามถึง ปัจจัยให้พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งกะพระตถาคต พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม 10 ประการ เป็นเหตุให้พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง และไม่แจ่มแจ้ง กะพระตถาคต. (ปุณณิยสูตร) 38/257/1638/257/16 38/259/7 |
110 | [๘๔] พระมหาโมคคัลลานะ แสดงแก่ภิกษุทั้งหลายถึง ภิกษุไม่ละธรรม 10 ประการ มีความเป็นผู้มักโกรธ เป็นต้น จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (พยากรณสูตร) 38/259/1038/259/10 38/261/4 |
111 | [๘๕] พระมหาจุนทะ แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงภิกษุไม่ละธรรม 10 ประการ มีความเป็นผู้ทุศีล ไม่มีศรัทธา เป็นต้น จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน ธรรมวินัยนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (กัตถีสูตร) 38/262/338/262/3 38/263/15 |
112 | [๘๖] พระมหากัสสปะ แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงภิกษุไม่ละธรรม 10 ประการ มีความเป็นผู้มีใจอันอภิชฌากลุ้มรุมอยู่เป็นส่วนมาก เป็นต้น จักถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (อัญญสูตร) 38/268/138/268/1 38/270/7 |
113 | [๘๗] ภิกษุเป็นผู้ไม่ก่ออธิกรณ์... เป็นผู้กระทำการปฏิสันถารเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. (อธิกรณสูตร) 38/272/1838/272/18 38/274/24 |
114 | [๘๘] โทษของการด่าพระอริยะ (พยสนสูตร) 38/276/738/276/7 38/278/9 |
115 | [๘๙] พระโกกาลิกะ ด่าพระอัครสาวก เกิดตุ่มเต็มตัว ตายแล้วไปตกปทุมนรก มีอายุ 100,036 นิรัพพุทกัป และ 5 อัพพุทะ (โกกาลิกสูตร) 38/277/1438/277/14 38/279/16 |
116 | [๘๙] ทรงเปรียบ เมล็ดงาเต็มหนึ่งเกวียนมีอัตรา 20 ขารี (1 ขารีเท่ากับ 246 ทะนาน) ทุกๆ แสนปีมีผู้นำเมล็ดงาออกหนึ่งเมล็ด จนเมล็ดงาหมดสิ้นไป ยังเร็วกว่า ยังไม่ถึงหนึ่งอัพพุทะในนรก และทรงแสดงหน่วยจากอัพพุทะ ถึงปทุมะ (โกกาลิกสูตร) 38/281/338/281/3 38/282/11 |
117 | เหตุที่พระโกกาลิกะ ผูกอาฆาตในพระอัครสาวก. (อ.โกกาลิกสูตร) 38/282/738/282/7 38/284/1 |
118 | พระโกกาลิกะ ถูกคนทั้งหลายตำหนิ และเทวดาตำหนิไปจนถึงพรหมโลก. (อ.โกกาลิกสูตร) 38/285/138/285/1 38/286/10 |
119 | ปทุมนรก เป็นส่วนหนึ่งในอเวจีมหานรก. (อ.โกกาลิกสูตร) 38/286/1938/286/19 38/288/3 |
120 | หน่วยการนับจากร้อยแสน ถึง อัพพุทะ (อ.โกกาลิกสูตร) 38/287/338/287/3 38/288/16 |
121 | [๙๐] กำลังของพระขีณาสพ 10 ประการ (พลสูตร) 38/287/1138/287/11 38/289/3 |
122 | [๙๑] กามโภคีบุคคล 10 จำพวก มีอยู่ในโลก มีผู้แสวงหาโภคทรัพย์ โดยไม่ ชอบธรรม แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่กระทำบุญ เป็นต้น. . (กามโภคีสูตร) 38/291/1738/291/17 38/293/23 |
123 | [๙๒] เพราะเหตุที่อริยสาวกระงับภัยเวร 5 ประการ เสียได้แล้ว เป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน 4 ประการ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอด ญายธรรมอันเป็นอริยะด้วยปัญญา พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า มีนรกสิ้น แล้ว (เวรสูตร) 38/296/1538/296/15 38/298/8 |
124 | [๙๓] พระพุทธองค์ให้ภิกษุผู้มีธรรมมั่นคงแล้ว ข่มขี่พวกเดียรถีย์ด้วยดี .(ทิฏฐิสูตร) 38/305/838/305/8 38/306/14 |
125 | [๙๔] ภิกษุใดแล ผู้มีกิเลสเพียงดังว่าธุลีในปัญญาจักษุน้อยในธรรมวินัยนี้ ตลอดกาลนาน ภิกษุแม้นั้น พึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยชอบธรรม (วัชชิยสูตร) 38/309/1838/309/18 38/310/19 |
126 | [๙๕] พระพุทธเจ้าย่อมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศก และความร่ำไร เพื่อความ ดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน (อุตติยสูตร) 38/312/638/312/6 38/313/14 |
127 | [๙๖] โกกนุทปริพาชก ถามพระอานนท์ ถึง ความเห็นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้น จริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ. (โกกนุทสูตร) 38/315/638/315/6 38/316/10 |
128 | [๙๗] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ. (อาหุเนยยสูตร) 38/319/1538/319/15 38/320/18 |
129 | [๙๘] ภิกษุผู้เป็นเถระ ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อมอยู่สำราญ (เถรสูตร) 38/322/1238/322/12 38/323/15 |
130 | [๙๙] พระอุบาลีขอไปอยู่ป่าผู้เดียว พระพุทธองค์ไม่อนุญาต ภิกษุที่ไม่ได้สมาธิ ถ้าไปอยู่ป่าอันสงัดย่อมจะจมลง หรือฟุ้งซ่าน (อุปาลิสูตร) 38/324/138/324/1 38/325/9 |
131 | [๑๐๐] บุคคลยังละธรรม 10 ประการ มีราคะ เป็นต้น ไม่ได้ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งอรหัต (อภัพพสูตร) 38/335/738/335/7 38/335/9 |
132 | [๑๐๑] สมณสัญญา 3 ประการ อันภิกษุทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 7 ประการ ให้บริบูรณ์ (สมณสัญญาสูตร) 38/337/638/337/6 38/337/6 |
133 | [๑๐๒] โพชฌงค์ 7 ประการ ย่อมยัง วิชชา 3 ให้บริบูรณ์ (โพชฌงคสูตร) (โพชฌังคสูตร) 38/338/1338/338/13 38/338/16 |
134 | [๑๐๓] ภิกษุอาศัย มิจฉัตตะ (ภาวะที่ผิด) 10 ประการ ย่อมพลาดจากสวรรค์และมรรคผล (มิจฉัตตสูตร) 38/339/1538/339/15 38/340/4 |
135 | [๑๐๔] ภิกษุอาศัย สัมมัตตะ (ภาวะที่ถูก) 10 ประการ ย่อมบรรลุ สวรรค์ และ มรรคผล (สัมมัตตสูตร) 38/340/1538/340/15 38/341/4 |
136 | [๑๐๕] อวิชชา เป็นประธานแห่งการเข้าถึง อกุศลธรรมทั้งหลาย (วิชชาวิชาสูตร) 38/343/1238/343/12 38/344/3 |
137 | [๑๐๖] เหตุแห่งการเสื่อมไป 10 ประการ มีผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความเห็นผิด เสื่อมไป เป็นต้น. (นิชชรวัตถุสูตร) 38/344/1438/344/14 38/345/8 |
138 | [๑๐๗] ธรรมเนียมการล้างกระดูกเป็นของเลว. (โธวนสูตร) 38/347/938/347/9 38/348/7 |
139 | [๑๐๘] ยาถ่ายอันเป็นของพระอริยะ ที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล. (ติกิจฉสูตร) 38/350/338/350/3 38/351/3 |
140 | [๑๐๙] ยาสำรอกอันเป็นของพระอริยะ ที่สำเร็จผลอย่างเดียว ไม่เสียผล (วมนสูตร) 38/352/1638/352/16 38/353/13 |
141 | [๑๑๐] ธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงปัดเป่า 10 ประการ มีความเห็นผิด เป็นต้น. (นิทธมสูตร) 38/355/338/355/3 38/355/14 |
142 | [๑๑๑] เหตุที่เรียกว่า พระอเสขะ (อเสขสูตร) 38/356/1538/356/15 38/357/7 |
143 | [๑๑๒] ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ 10 ประการ มีความเห็นชอบอันเป็นอเสขะ เป็นต้น . (อเสขธรรมสูตร) 38/357/1638/357/16 38/358/10 |
144 | [๑๑๓] บุคคลควรทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นธรรมสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้วพึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามที่เป็นประโยชน์ (ปฐมอธรรมสูตร) 38/359/538/359/5 38/360/4 |
145 | [๑๑๔] ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันเกิดขึ้นเพราะความเห็น ผิด เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ความเห็นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม กุศลธรรมที่ เกิดขึ้นเพราะความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ (ทุติยอธรรมสูตร) 38/360/1738/360/17 38/362/2 |
146 | [๑๑๕] พระอานนท์จำแนกธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงถึงสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่เป็น ประโยชน์ สิ่งที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ (ตติยอธรรมสูตร) 38/366/1538/366/15 38/367/8 |
147 | [๑๑๖] ทรงแสดงเหตุแห่งความเป็นบัณฑิต (อาชินสูตร) 38/371/638/371/6 38/372/1 |
148 | [๑๑๗] ทรงแสดงถึงอะไรเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น แก่ สคารวะพราหมณ์ (สคารวสูตร) 38/375/738/375/7 38/375/14 |
149 | [๑๑๘] " บรรดามนุษย์ทั้งหลาย เหล่าชนที่ไปถึงฝั่งโน้นมีประมาณน้อย ส่วนหมู่ สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ใน ธรรม อันพระตถาคตตรัสแล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะอันเป็นบ่วง มารที่ข้ามพ้นได้แสนยาก แล้วจักถึงฝั่งโน้น คือ นิพพาน... " (โอริมสูตร) 38/378/338/378/3 38/378/10 |
150 | [๑๑๙] พิธีปลงบาปของพระอริยะ (ปฐมปัจโจโรหณีสูตร) 38/380/438/380/4 38/380/8 |
151 | [๑๒๐] ทรงแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะ แก่ภิกษุทั้งหลาย (ทุติยปัจโจโรหณีสูตร) 38/382/1338/382/13 38/382/9 |
152 | [๑๒๑] สัมมาทิฏฐิ เป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม (ปุพพังคสูตร) 38/383/1438/383/14 38/383/11 |
153 | [๑๒๒] ธรรม 10 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (อาสวสูตร) 38/384/838/384/8 38/384/10 |
154 | [๑๒๓-๑๓๓] ธรรม 10 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาวิมุตติ เว้นจากสุคตวินัย แล้วย่อมไม่มี (สูตร ๑-๑๑) 38/385-39038/385-390 38/386-392 |
155 | [๑๓๔] ความเห็นผิด... ความหลุดพ้นผิด นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่ดี , ความเห็นชอบ... ความหลุดพ้นชอบ นี้เรียกว่า สิ่งที่ดี (สาธุสูตร) 38/391/438/391/4 38/394/4 |
156 | [๑๓๕] ทรงแสดง อริยธรรม และอนริยธรรม (อริยธรรมสูตร) 38/392/338/392/3 38/395/8 |
157 | [๑๓๖] ทรงแสดงกุศลธรรม และอกุศลธรรม (กุสลสูตร) 38/392/1538/392/15 38/396/3 |
158 | [๑๓๗] ทรงแสดงประโยชน์ และสิ่งไม่เป็นประโยชน์ (อรรถสูตร) 38/393/338/393/3 38/396/12 |
159 | [๑๓๘] ทรงแสดงธรรม และอธรรม (ธรรมสูตร) 38/393/1238/393/12 38/397/3 |
160 | [๑๓๙] ทรงแสดงธรรมที่มีอาสวะ และธรรมที่ไม่มีอาสวะ (อาสวธรรมสูตร) 38/393/2138/393/21 38/397/12 |
161 | [๑๔๐] ทรงแสดงธรรมที่มีโทษ และธรรมที่ไม่มีโทษ (สาวัชชธรรมสูตร) 38/394/1038/394/10 38/398/3 |
162 | [๑๔๑] ทรงแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อน และธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเร่าร้อน (ตปนิยธรรมสูตร) 38/394/1938/394/19 38/398/14 |
163 | [๑๔๒] ทรงแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส และธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อ สั่งสมกิเลส (อาจยคามิธรรมสูตร) 38/395/1038/395/10 38/399/4 |
164 | [๑๔๓] ทรงแสดงธรรมมีทุกข์เป็นกำไร และธรรมมีสุขเป็นกำไร (ทุกขุทรยธรรมสูตร) 38/395/2138/395/21 38/399/15 |
165 | [๑๔๔] ทรงแสดงธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก และธรรมมีสุขเป็นวิบาก (ทุกขวิปากธรรมสูตร) 38/396/1038/396/10 38/400/3 |
166 | [๑๔๕] ทรงแสดงธรรมที่เป็นอริยมรรค และธรรมที่มิใช่อริยมรรค. (ริยมรรคสูตร) 38/398/438/398/4 38/401/4 |
167 | [๑๔๖] ทรงแสดงธรรมที่เป็นมรรคดำ และธรรมที่เป็นมรรคขาว (กัณหมรรคสูตร) 38/398/1438/398/14 38/401/14 |
168 | [๑๔๗] ทรงแสดงสัทธรรม และอสัทธรรม (สัทธรรมสูตร) 38/399/338/399/3 38/402/8 |
169 | [๑๔๘] ทรงแสดงสัปปุริสธรรม และอสัปปุริสธรรม (สัปปุริสธรรมสูตร) 38/399/1238/399/12 38/402/17 |
170 | [๑๔๙] ทรงแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น และธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น. (อุปปาเทตัพพธรรมสูตร) 38/399/2138/399/21 38/403/10 |
171 | [๑๕๐] ทรงแสดงธรรมที่ควรเสพ และธรรมที่ไม่ควรเสพ (อาเสวิตัพพธรรมสูตร) 38/400/1038/400/10 38/404/3 |
172 | [๑๕๑] ทรงแสดงธรรมที่ควรให้เจริญ และธรรมที่ไม่ควรให้เจริญ (ภาเวตัพพธรรมสูตร) 38/400/2038/400/20 38/404/13 |
173 | [๑๕๒] ทรงแสดงธรรมที่ควรทำให้มาก และธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก (พหุลีกาตัพพธรรมสูตร) 38/401/938/401/9 38/405/4 |
174 | [๑๕๓] ทรงแสดงธรรมที่ควรระลึก และธรรมที่ไม่ควรระลึก (อนุสสริตัพพธรรมสูตร) 38/401/1938/401/19 38/405/14 |
175 | [๑๕๔] ทรงแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง .(สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร) 38/402/838/402/8 38/406/4 |
176 | [๑๕๕] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ มีความเห็นผิด เป็นต้น ไม่ควร เสพไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก (ปุคคลวรรคที่ ๑) 38/404/438/404/4 38/408/4 |
177 | [๑๕๖-๑๕๗] พิธีปลงบาปของพราหมณ์ และของพระอริยะ แสดงในแง่ กรรมบถ 10 (สูตร ๑-๒) 38/407/438/407/4 38/411/4 |
178 | [๑๕๘] ทรงแสดงฝั่งนี้ และฝั่งโน้น แก่สคารวพราหมณ์ ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต เป็นฝั่งโน้น (สคารวสูตร) 38/411/338/411/3 38/415/14 |
179 | [๑๕๙] ทรงแสดง ฝั่งนี้ และฝั่งโน้น แก่ภิกษุทั้งหลาย (โอริมสูตร) 38/412/1438/412/14 38/417/3 |
180 | [๑๖๐-๑๖๒] ธรรมที่บุคคลควรทราบ (สูตร ๕-๗) 38/413/1938/413/19 38/418/9 |
181 | [๑๖๓] ความสิ้นเหตุของกรรมเพราะสิ้น ราคะ โทสะ โมหะ (ติวิธสูตร) 38/425/338/425/3 38/428/20 |
182 | [๑๖๔] ธรรมที่ควรงดเว้น และธรรมที่ไม่ควรงดเว้น. (สปริกกมนสูตร) 38/426/1338/426/13 38/430/9 |
183 | [๑๖๕] ความไม่สะอาด และความสะอาดในวินัยของพระอริยะ (จุนทสูตร) 38/429/438/429/4 38/433/1 |
184 | [๑๖๖] ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติ ผู้ล่วงลับไปแล้ว มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (ชาณุสโสณีสูตร) 38/437/1938/437/19 38/440/14 |
185 | [๑๖๖] ผู้เคยทำบุญให้ทานไว้ แม้ไปเกิด เป็นสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ หรือเทวดา ย่อมมีส่วนแห่งบุญที่ได้ทำไว้ (ชาณุสโสณีสูตร) 38/438/138/438/1 38/440/18 |
186 | [๑๖๗] การฆ่าสัตว์... ความเห็นผิด นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่ดี การงดเว้นจากการฆ่า สัตว์...ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าเป็นสิ่งที่ดี (สาธุอสาธุสูตร) 38/443/438/443/4 38/445/4 |
187 | [๑๖๘] ทรงแสดงอริยธรรม และอนริยธรรม (อริยานริยธรรมสูตร) 38/443/1738/443/17 38/446/3 |
188 | [๑๖๙] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม (กุสลากุสลสูตร) 38/444/738/444/7 38/446/13 |
189 | [๑๗๐] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ การงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์ (อัตถานัตถสูตร) 38/444/1638/444/16 38/447/3 |
190 | [๑๗๑] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า อธรรม การงดเว้นจากการฆ่า สัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรม (ธรรมาธรรมสูตร) 38/445/638/445/6 38/447/14 |
191 | [๑๗๒] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะการงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีอาสวะ .(สาสวานาสวสูตร) 38/445/1538/445/15 38/448/3 |
192 | [๑๗๓] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมมีโทษ การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมไม่มีโทษ (สาวัชชานวัชชสูตร) 38/446/638/446/6 38/448/13 |
193 | [๑๗๔] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิดนี้เรียกว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เดือดร้อน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมอันไม่ เป็นที่ตั้ง แห่งความเดือดร้อน (ตปนิยาตปนิยธรรมสูตร) 38/446/1638/446/16 38/449/4 |
194 | [๑๗๕] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส (อาจยคามยาปจยคามิธรรมสูตร) 38/447/738/447/7 38/449/17 |
195 | [๑๗๖] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร การงด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร .(ทุกขุทรยสุขุทรยธรรมสูตร) 38/447/1838/447/18 38/450/7 |
196 | [๑๗๗] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบาก การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมมีสุขเป็นวิบาก (ทุกขวิปากสุขวิปากธรรมสูตร) 38/448/738/448/7 38/451/3 |
197 | [๑๗๘] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค การงด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นอริยมรรค .(อริยมรรคานริยมรรคสูตร) 38/450/438/450/4 38/453/4 |
198 | [๑๗๙] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นมรรคาดำ การงด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นมรรคาขาว .(กัณหมรรคสุกกมรรคสูตร) 38/450/1538/450/15 38/454/3 |
199 | [๑๘๐] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า อสัทธรรม การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า สัทธรรม (สัทธรรมาสัทธรรมสูตร) 38/451/738/451/7 38/454/13 |
200 | [๑๘๑] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า อสัปปุริสธรรม การงดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า สัปปุริสธรรม .(สัปปุริสธรรมาสัปปุริสธรรมสูตร) 38/451/1638/451/16 38/455/3 |
201 | [๑๘๒] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น การงด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น (อุปปาเทตัพพานุปาเทตัพพธรรมสูตร) 38/452/638/452/6 38/455/13 |
202 | [๑๘๓] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเสพ การงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเสพ (อาเสวิตัพพานาเสวิตัพพธรรมสูตร) 38/452/1638/452/16 38/456/3 |
203 | [๑๘๔] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เจริญ การงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เจริญ (ภาเวตัพพาภาเวตัพพธรรมสูตร) 38/453/638/453/6 38/456/13 |
204 | [๑๘๕] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก การงด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้มาก (พหุลีกาตัพพาพหุลีกาตัพพธรรมสูตร) 38/453/1638/453/16 38/457/3 |
205 | [๑๘๖] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรระลึก การงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรระลึก (อนุสสริตัพพานนุสสริตัพพธรรมสูตร) 38/454/538/454/5 38/457/14 |
206 | [๑๘๗] การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิดนี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง การงดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (สัจฉิกาตัพพาสัจฉิกาตัพพธรรมสูตร) 38/454/1538/454/15 38/458/3 |
207 | [๑๘๘] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้า ไปนั่งใกล้ ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก (เสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕) 38/456/338/456/3 38/459/4 |
208 | [๑๘๙] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของ ที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ (ยถาภตสูตร) 38/459/638/459/6 38/462/7 |
209 | [๑๙๐] มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรกเหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ (มาตุคามสูตร) 38/463/938/463/9 38/466/5 |
210 | [๑๙๑-๑๙๒] อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่แกล้วกล้าอยู่ ครองเรือนเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ในนรก. (สูตร ๓-๔) 38/464/738/464/7 38/467/5 |
211 | [๑๙๓] สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่ พึ่งอาศัย กระทำกรรมอันใดไว้เป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผล ของกรรมนั้น. (ธรรมปริยายสูตร) 38/465/2138/465/21 38/469/1 |
212 | [๑๙๔] พระพุทธเจ้าไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจ กระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นอันสัตว์ ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป (ปฐมกรรมสูตร) 38/470/1238/470/12 38/473/6 |
213 | กรรมที่ให้ผลในอัตภาพต่อๆ ไปนั้น เมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏ ย่อมให้ ผลถึงแสนอัตภาพที่เดียว (อ.ปฐมกรรมสูตร) 38/477/1138/477/11 38/479/11 |
214 | [๑๙๕] สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ เหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน ทางกาย, ทางวาจา, ทางใจ, อันมี ความตั้งใจเป็นอกุศล (ทุติยกรรมสูตร) 38/479/1538/479/15 38/481/14 |
215 | [๑๙๖] การทำที่สุดทุกข์ แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทำ (ตติยกรรมสูตร) 38/481/938/481/9 38/483/3 |
216 | [๑๙๗] เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (พราหมณสูตร) 38/485/1438/485/14 38/487/4 |
217 | [๑๙๘] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ มีเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นผู้ถูก ทอดทิ้งไว้ในนรก. (ทุติยวรรคที่ ๒) 38/489/338/489/3 38/490/3 |
218 | [๒๐๑] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการ มีเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ชักชวน ผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ พอใจในการฆ่าสัตว์ กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ เป็นต้น เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ (ทุติยวรรคที่ ๒) 38/493/238/493/2 38/493/17 |
219 | [๒๐๓] ผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการ เป็นพาล และ เป็นบัณฑิต (ตติยวรรคที่ ๓) 38/501/1138/501/11 38/501/19 |
220 | [๒๐๔-๒๐๖] ธรรม 10 ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ 38/502/238/502/2 38/502/9 |
221 | [๒๐๘] ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ย่อมยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์ โดยลำดับ. (กิมัตถิยสูตร) 38/506/538/506/5 38/507/4 |
222 | [๒๐๙] บุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้น แก่เราเถิด ผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำเจตนาว่าขอเราจงรู้เห็นตามเป็นจริงเถิด. (เจตนาสูตร) 38/506/1938/506/19 38/507/18 |
223 | [๒๑๐] ความไม่เดือดร้อนใจ ชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว .(ปฐมอุปนิสาสูตร) 38/508/1738/508/17 38/509/12 |
224 | [๒๑๑] พระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงความไม่เดือดร้อนใจ ชื่อว่า มีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว. (ทุติยอุปนิสสูตร) 38/510/1638/510/16 38/511/6 |
225 | [๒๑๒] พระอานนท์แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงความไม่เดือดร้อนใจ ชื่อว่า มีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว. (ตติยอุปนิสาสูตร) 38/512/338/512/3 38/513/3 |
226 | [๒๑๓] ความฉิบหาย 11 อย่าง ที่ผู้ติเตียน พระอริยเจ้าต้องได้รับ (พยสนสูตร) 38/514/1038/514/10 38/515/10 |
227 | [๒๑๔] การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่มีความสำคัญในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน... ไม่พึง มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้ว ด้วยใจ แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา (สัญญาสูตร) 38/516/1138/516/11 38/518/11 |
228 | [๒๑๕] การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึง กระทำรูปไว้ในใจ... ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้วที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึง กระทำไว้ในใจ. (มนสิการสูตร) 38/520/1338/520/13 38/522/11 |
229 | [๒๑๖] ทรงแสดงการเพ่งของม้าอาชาไนย และม้ากระจอก เปรียบกับภิกษุ (อเสขสูตร) 38/521/1238/521/12 38/523/6 |
230 | [๒๑๗] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย. (โมรนิวาปนสูตร) 38/528/138/528/1 38/529/8 |
231 | [๒๑๘] พระเจ้ามหานามะ เข้าเฝ้าถามธรรมเป็นเครื่องอยู่ พระพุทธองค์ ตรัสให้ ตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ มีศรัทธา เป็นต้น แล้วพึงเจริญธรรม 6 ประการ มี พุทธานุสสติเป็นต้น ให้ยิ่งขึ้นไป (ปฐมมหานามสูตร) 38/531/438/531/4 38/532/5 |
232 | [๒๑๙] เจริญพุทธานุสสติ ได้ทุกอิริยาบถ (ทุติยมหานามสูตร) 38/539/738/539/7 38/539/7 |
233 | [๒๒๐] อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 11 ประการ ย่อมละซึ่งอกุศธรรมทั้งหลาย อันลามกย่อมไม่ถือมั่น. (นันทิยสูตร) 38/542/338/542/3 38/542/3 |
234 | [๒๒๑] พระพุทธองค์ทรงแสดงลักษณะ แห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา (สุภูติสูตร) 38/544/1638/544/16 38/544/12 |
235 | [๒๒๒] อานิสงส์ 11 ประการ ของผู้เจริญเมตตา (เมตตาสูตร) 38/551/338/551/3 38/550/3 |
236 | แม่โคกำลังยืนให้นมลูกโคอยู่ นายพรานได้พุ่งหอกไปกระทบแม่โค เหมือน ในตาลปลิวไปกระทบ ด้วยอานุภาพแห่งเมตตา (อ.เมตตาสูตร) 38/553/338/553/3 38/552/2 |
237 | [๒๒๓] ทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาพระอานนท์ ถามถึงธรรมอย่างเอกอันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต พระอานนท์แสดง ฌาน 4 พรหมวิหาร 4 อากาสานัญ-จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน (ทสมสูตร) 38/554/138/554/1 38/553/4 |
238 | [๒๒๔] นายโคปาลผู้ประกอบด้วยองค์ 11 ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูง โคให้เจริญแพร่หลาย (โคปาลกสูตร) 38/565/838/565/8 38/563/3 |
239 | [๒๒๔] ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม 11 ประการ ไม่สามารถจะถึงความเจริญใน ธรรมวินัยนี้ได้ (โคปาลกสูตร) 38/565/1638/565/16 38/563/11 |
240 | [๒๒๔] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเป็นจริงว่า มหาภูต รูป 4 และรูปอาศัยมหาภูตรูป 4 ภิกษุย่อมรู้จักรูปอย่างนี้ (โคปาลกสูตร) 38/569/1338/569/13 38/566/17 |
241 | ส่วนแห่งรูปมี 25 ได้แก่ อายตนะ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ... อาหาร คือ คำข้าว (อ.โคปาลกสูตร) 38/577/1238/577/12 38/573/13 |
242 | [๒๒๕-๒๒๖] ทรงแสดง การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญ ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา (สูตร ๘-๙) 38/583/1138/583/11 38/578/13 |
243 | [๒๒๗-๒๒๘] พระสารีบุตร แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงการที่ได้สมาธิโดยประการ ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในธาตุดิน ว่าเป็นธาตุดิน... ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา (สูตร ๑๐-๑๑) 38/587/6 38/587/6 38/582/6 |
244 | [๒๓๐] ธรรม 11 ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ คือ ปฐมฌาน... อากิญจัญญายตนฌาน (พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณณาสก์) 38/592/1838/592/18 38/588/20 |
245 | อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี นี้ เก็บสาระสำคัญจาก คัมภีร์ มหาอรรถกถา (พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณณาสก์) 38/594/1138/594/11 38/590/12 |