1 | [๑] กำลังของเสขบุคคล 5 ประการ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา (สังขิตตสูตร) 36/1/10 36/1/11 |
2 | สัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ (อ.สังขิตตสูตร) 36/2/12 36/2/14 |
3 | [๒] อธิบาย กำลังของเสขบุคคล 5 ประการ. (วิตถตสูตร) 36/3/3 36/3/6 |
4 | [๓] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ (ทุกขสูตร) 36/6/3 36/6/3 |
5 | [๔] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม ย่อมถูกนำมาทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมา ทิ้งไว้ฉะนั้น. (ภตสูตร) 36/7/3 36/7/3 |
6 | [๕] ภิกษุ หรือภิกษุณี ผู้ลาสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ย่อมถึงฐานะอันน่า ติเตียน 5 ประการ ส่วนผู้ที่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ แม้มีทุกข์ มีหน้า นองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ ย่อมน่าสรรเสริญโดยชอบแก่เหตุ 5 ประการ ในปัจจุบัน. (สิกขสูตร) 36/7/18 36/7/18 |
7 | [๖] การถึงอกุศลย่อมไม่มี ตลอดเวลาที่ศรัทธาในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่ เมื่อใดศรัทธาเสื่อมหายไป อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้นการ ถึงอกุศลย่อมมี (สมาปัตติสูตร) 36/8/18 36/8/18 |
8 | [๗] พระพุทธเจ้าทรงรักษาภิกษุ ตลอดเวลาที่ภิกษุนั้นยังไม่กระทำด้วย ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาในกุศลธรรม แต่เมื่อใด ภิกษุกระทำด้วยศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาในกุศลธรรม เมื่อนั้นพระองค์ย่อมวางใจได้ว่า ภิกษุมีความสามารถรักษาตนเองได้แล้ว ไม่ควรประมาท. (กามสูตร) 36/10/17 36/10/13 |
9 | พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เราวางใจในบุคคลนั้นผู้กระทำกิจที่ควรกระทำด้วย ศรัทธา เป็นต้น อย่างนี้ แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.กามสูตร) 36/12/2 36/11/20 |
10 | [๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม (จวนสูตร) 36/12/8 36/12/3 |
11 | [๙] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ ตั้งมั่นในพระสัทธรรม (ปฐมอคารวสูตร) 36/13/11 36/13/11 |
12 | [๑๐] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ (ทุติยอคารวสูตร) 36/15/3 36/14/16 |
13 | [๑๑] กำลังพระตถาคต 5 ประการ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา (อนนุสสุตสูตร) 36/17/4 36/17/4 |
14 | [๑๒] กำลังของพระเสขะ 5 ประการ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอดเป็นที่ รวบรวม เหมือนสิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ ยอดฉันใด กำลังคือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉันนั้น เหมือนกัน (กูฏสูตร) 36/18/13 36/18/15 |
15 | [๑๓] กำลัง 5 ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (สังขิตตสูตร) 36/19/16 36/20/1 |
16 | [๑๔] อธิบาย กำลัง คือสติ และกำลังคือ สมาธิ. (วิตถตสูตร) 36/20/17 36/21/6 |
17 | [๑๕] พึงเห็นกำลัง คือศรัทธาในองค์เป็นเครื่องให้บรรลุความเป็นพระโสดาบัน 4, พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในสัมมัปปธาน 4 , พึงเห็นกำลัง คือ สติในสติปัฏฐาน 4, พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในฌาน 4 , พึงเห็นกำลัง คือปัญญาในอริยสัจ 4. (ทัฏฐัพพสูตร) 36/22/3 36/22/8 |
18 | เปรียบเทียบ บุตรเศรษฐี 4 คน มีพระราชาเป็นที่ 5 กับ กำลัง 5 ประการ (อ.ทัฏฐัพพสูตร) 36/22/18 36/23/5 |
19 | [๑๖] กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม เหมือนสิ่งที่เป็นเลิศ เป็น ยอดเป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลัง 5 ประการ นี้ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉันนั้นเหมือนกัน. (ปุนกูฏสูตร) 36/24/7 36/24/15 |
20 | [๑๗] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมอย่างนั้นด้วย (ปฐมหิตสูตร) 36/25/3 36/25/9 |
21 | [๑๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน คือ ภิกษุไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมอย่าง นั้น. (ทุติยหิตสูตร) 36/26/3 36/26/8 |
22 | [๑๙] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น คือ ภิกษุไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมอย่าง นั้นด้วย. (ตติยหิตสูตร) 36/27/3 36/27/7 |
23 | [๒๐] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น คือ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมอย่าง นั้นด้วย. (จตุตถหิตสูตร) 36/27/18 36/28/7 |
24 | [๒๑] ข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อน พรหมจรรย์ จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตร ให้บริบูรณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้... ข้อที่ภิกษุไม่อบรมสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้ นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ (ปฐมคารวสูตร) 36/29/4 36/30/4 |
25 | [๒๒] ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้ บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้... ข้อที่ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ (ทุติยคารวสูตร) 36/31/1 36/31/19 |
26 | [๒๓] สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง 5 ประการ คือ เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว เงิน เป็นเหตุ ให้ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อนใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ (อุปกิเลสสูตร) 36/32/3 36/33/3 |
27 | [๒๓] อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิต 5 ประการ คือ กามฉันทะ (ความพอใจ ในกาม) พยาบาท ถีนมิทธะ (ย่อมง่วงเหงาหาวนอน) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้ง ซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองไม่ตั้งมั่น โดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ (อุปกิเลสสูตร) 36/32/13 36/33/14 |
28 | [๒๔] สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาด แล้ว, สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย (ทุสสีลสูตร) 36/36/7 36/37/3 |
29 | ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้แก่ วิปัสสนาอ่อน ๆ ตั้งต้นแต่ญาณกำหนดนามรูปไป. (อ.ทุสสีลสูตร) 36/38/4 36/38/15 |
30 | [๒๕] สัมมาทิฏฐิอันศีล สุตะ การสนทนาธรรม สมถะ วิปัสสนา อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผล. (อนุคคหสูตร) 36/38/11 36/39/3 |
31 | [๒๖] เหตุแห่งวิมุตติ 5 ประการ มี พระศาสดา หรือ ครูอาจารย์ แสดงธรรมให้ฟัง เป็นต้น (วิมุตติสูตร) 36/40/3 36/40/16 |
32 | [๒๗] เมื่อภิกษุมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ 5 อย่าง ย่อมเกิดขึ้น เฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบาก , สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ , สมาธินี้ละเอียด ประณีต , เราย่อมมีสติเข้า ออก จากสมาธินี้ได้ (สมาธิสูตร) 36/43/18 36/44/13 |
33 | [๒๘] การเจริญ สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 คือ ฌาน 4 และทำไว้ในใจ ด้วยดีใคร่ครวญ แทงตลอดด้วยดีซึ่งปัจจเวกขณนิมิต (ญาณที่พิจารณาทบทวน) ด้วยปัญญา (อังคิกสูตร) 36/46/3 36/46/20 |
34 | [๒๘] เมื่อภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 อัน ประเสริฐอย่างนี้ ภิกษุจะน้อมจิตไปในธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ใดๆ เธอย่อมเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่โดยแน่นอน (อังคิกสูตร) 36/48/15 36/49/6 |
35 | เมื่อบุรุษอาบน้ำชำระกายแล้ว นั่งคลุมผ้าสะอาดตลอดศีรษะ อุณหภูมิย่อมแผ่ซ่านไปทั่วผ้าจากสรีระ ไม่มีช่องว่างไรๆ ที่ผ้าจะไม่ถูกต้อง (อ.อังคิกสูตร) 36/53/4 36/53/20 |
36 | [๒๙] อานิสงส์ในการจงกรม 5 ประการ คือ เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล , อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร , มีอาพาธน้อย , อาหารย่อยไปด้วยดี , สมาธิที่ได้ เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน. (จังกมสูตร) 36/54/17 36/55/10 |
37 | [๓๐] พระพุทธเจ้าไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดพระองค์ (นาคิตสูตร) 36/57/7 36/57/20 |
38 | [๓๑] พระพุทธองค์ ตอบคำถามของพระนางสุมนาราชกุมารี ถึงความต่างกัน ของผู้ให้ทานและผู้ไม่ให้ทาน ในเมื่อเป็นเทวดา และมนุษย์ คือ ผู้ให้ย่อมข่มผู้ ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ อธิปไตย (สุมนสูตร) 36/60/4 36/61/4 |
39 | [๓๑] ถ้าคนที่ให้ทานกับคนที่ไม่ให้ทาน ออกบวชเป็นบรรพชิตและทั้งสองบรรลุอรหัต พระพุทธองค์กล่าวว่าไม่มีความแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ (สุมนสูตร) 36/61/13 36/62/14 |
40 | ไม่จำเป็นต้องถวายของใส่มือพระ (อ.สุมนสูตร) 36/64/8 36/64/19 |
41 | พระราชธิดาสุมนา เป็นราชธิดาของ พระเจ้าโกศล ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตอน อายุ 7 ขวบ พร้อมกับกุมารี 500 ทาริกา 500 มาตุคาม 500 อุบาสก 500 ครั้งที่ พระศาสดาเสด็จกรุงสาวัตถีครั้งแรก. (อ.สุมนสูตร) 36/65/18 36/66/3 |
42 | ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า มีภิกษุ 2 รูป เป็นสหายกัน รูปหนึ่ง บำเพ็ญสาราณียธรรม อีกรูปหนึ่งบำเพ็ญวัตรในโรงครัว ทั้งสองนั้น องค์หนึ่งเกิดมาเป็นน้องชาย พระนางสุมนา องค์หนึ่งเกิดเป็นลูกคนรับใช้ ทารกทั้งสองนั้นได้นอนคุยกันถึง วัตรที่เคยบำเพ็ญมา (อ.สุมนสูตร) 36/66/10 36/66/19 |
43 | [๓๒] เจ้าหญิงจุนทีถามพระพุทธองค์ ถึงผู้เลื่อมใสในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ และทำให้บริบูรณ์ในศีลเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว จึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึง ทุคติ (จุนทิสูตร) 36/69/18 36/70/3 |
44 | [๓๒] ให้สิ่งที่เลิศ เป็นเทวดา หรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศบันเทิงใจอยู่ (จุนทิสูตร) 36/71/18 36/71/23 |
45 | อริยกันตศีล ได้แก่ ศีลอันประกอบด้วยมรรค และผล (อ.จุนทิสูตร) 36/72/8 36/72/9 |
46 | [๓๓] พระพุทธองค์ตรัสคุณสมบัติของภรรยาที่ดี (อุคคหสูตร) 36/72/15 36/72/15 |
47 | เทวดาชั้นนิมมานรดี เหล่านั้น เรียกว่า นิมมานรดีและมนาปา เพราะเนรมิต รูปที่ตนปรารถนา ๆ แล้วอภิรมย์ (อ.อุคคหสูตร) 36/78/3 36/78/5 |
48 | [๓๔] ผลแห่งการให้ทาน 5 ประการ (สีหสูตร) 36/78/9 36/78/10 |
49 | ทาสทาน สหายทาน เจ้าแห่งทาน. (อ.สีหสูตร) 36/81/5 36/80/18 |
50 | [๓๕] อานิสงส์แห่งการให้ทาน 5 ประการ (ทานานิสังสสูตร) 36/82/3 36/81/15 |
51 | [๓๖] กาลทาน 5 ประการ คือ ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน , ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะ ไป, ให้ทานในสมัยข้าวแพง , ให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล , ให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล (กาลทานสูตร) 36/83/10 36/83/3 |
52 | [๓๖] " ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทาน นั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่ อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ " (กาลทานสูตร) 36/84/1 36/83/13 |
53 | [๓๗] ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่า ให้ฐานะ 5 อย่างแก่ผู้รับ คือ อายุ วรรณะ สุข กำลัง ปฏิภาณ และย่อมเป็นผู้มีส่วนนั้นๆ ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์ (โภชนทานสูตร) 36/85/3 36/84/18 |
54 | [๓๘] กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมมีอานิสงส์ 5 ประการ (สัทธานิสังสสูตร) 36/86/10 36/86/3 |
55 | [๓๘] ต้นไทรใหญ่ที่ทางสี่แยก มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่งของพวกนกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของชนเป็นอันมาก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา (สัทธานิสังสสูตร) 36/87/1 36/86/12 |
56 | [๓๙] มารดา บิดาต้องการฐานะ 5 ประการ จากบุตร คือ บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงตอบแทน , จักทำกิจแทนเรา , วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน , บุตรจัก ปกครองทรัพย์มรดก , เมื่อตายแล้วบุตรจะทำบุญให้ (ปุตตสูตร) 36/88/13 36/87/17 |
57 | [๔๐] ชนภายในอาศัย เจ้าบ้านผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ 5 ประการ คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา (สาลสูตร) 36/91/3 36/90/8 |
58 | [๔๑] การใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ 5 อย่าง (อาทิยสูตร) 36/93/4 36/92/4 |
59 | [๔๑] พลี 5 อย่าง คือ บำรุงญาติ, ต้อนรับแขก, ทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย, บริจาค ทรัพย์ช่วยชาติ , ทำบุญอุทิศให้เทวดา (อาทิยสูตร) 36/94/5 36/93/1 |
60 | [๔๒] สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนเป็นอันมาก เทวดาย่อมรักษาเขา แม้พรหมก็สรรเสริญเขา (สัปปุริสสูตร) 36/96/14 36/95/3 |
61 | [๔๓] ธรรมที่น่าปรารถนาที่หาได้ยาก 5 อย่าง คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ สวรรค์ พระพุทธเจ้าก็มิได้กล่าวว่าจะได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือ เพราะเหตุ แห่งความปรารถนา. (อิฏฐสูตร) 36/97/17 36/96/3 |
62 | [๔๔] อุคคคฤหบดี ถวายอาหารและเครื่องใช้ที่ตนพอใจ แด่พระพุทธเจ้าและ ภิกษุ 500 รูป เมื่อตายแล้วเขาเกิดในหมู่เทพ มโนมยะ คือ เทพที่บังเกิดด้วยใจ ที่อยู่ในฌาน ในชั้นสุทธาวาส (มนาปทายีสูตร) 36/100/3 36/98/10 |
63 | [๔๔] " ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ " (มนาปทายีสูตร) 36/102/18 36/100/21 |
64 | อุคคคฤหบดี ให้นำสิ่งของที่ตนถวายพระพุทธเจ้าทั้งหมดมาแล้ว ทำให้เป็น กองๆ สิ่งใดเป็นอกัปปิยะ ก็ส่งสิ่งนั้นๆ ไปร้านตลาดแล้วจึงถวายสิ่งของเครื่อง อุปโภคและบริโภคที่เป็นกัปปิยะแทน (อ.มนาปทายีสูตร) 36/104/3 36/101/22 |
65 | [๔๕] ภิกษุบริโภคจีวร บิณฑบาต วิหาร เตียงตั่ง ยา ของผู้ใดเข้าเจโตสมาธิอัน หาประมาณมิได้อยู่ห้วงบุญ ห้วงกุศลของผู้นั้นหาประมาณมิได้. (อภิสันทสูตร) 36/105/3 36/103/3 |
66 | [๔๖] สัมปทา (ความถึงพร้อม) 5 ประการ คือ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อม ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสุตะ ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ถึงพร้อมด้วยปัญญา (สัมปทาสูตร) 36/107/3 36/105/3 |
67 | [๔๗] ทรัพย์ 5 ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. (ธนสูตร) 36/107/9 36/105/9 |
68 | [๔๘] ฐานะ 5 ประการ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ (ฐานสูตร) 36/109/3 36/107/3 |
69 | [๔๙] พระนางมัลลิกาเทวี ได้ทิวงคต พระพุทธองค์จึงทรงแสดง ฐานะ 5 ประการ อันใครๆ ในโลกไม่พึงได้ แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล (โกสลสูตร) 36/114/3 36/111/14 |
70 | [๕๐] พระเจ้ามุณฑะ ไม่ยอมทำอะไร ๆ เพราะความเสียใจที่ พระชายาของ พระองค์ตาย จึงสั่งให้เก็บศพไว้ในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน. เมื่อพระราชาได้ฟัง พระนารทะแสดงธรรมถึง ฐานะ 5 ที่ใครๆ ไม่พึงได้ จึงได้ทรงสั่งให้เผาศพนั้นเสีย. (นารทสูตร) 36/115/3 36/112/14 |
71 | [๕๑] นิวรณ์เครื่องกางกั้น 5 ประการ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ทุรพล คือ กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) พยาบาท ถีนมิทธะ (ความง่วงหาวนอน) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (อาวรณสูตร) 36/123/5 36/120/5 |
72 | [๕๒] กองอกุศล ทั้งสิ้นนี้ คือ นิวรณ์ 5. (ราสิสูตร) 36/126/9 36/123/11 |
73 | [๕๓] องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการ คือ มีศรัทธา , มีอาพาธน้อย , ไม่ โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง, ปรารภความเพียร, มีปัญญา (อังคสูตร) 36/127/2 36/124/6 |
74 | ศรัทธา นั้น มี 4 อย่าง (อ.อังคสูตร) 36/128/6 36/125/10 |
75 | ภิกษุมีไฟธาตุเย็นเกินไป ย่อมกลัวหนาว ผู้มีไฟธาตุร้อนเกินไป ย่อมกลัวร้อน ความเพียรย่อมไม่สำเร็จผล แก่ภิกษุเหล่านั้น แต่ย่อมสำเร็จผลแก่ภิกษุผู้มีไฟธาตุ ปานกลาง (อ.อังคสูตร) 36/128/21 36/126/4 |
76 | [๕๔] สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการ คือ คนแก่ , เป็นผู้อาพาธ , สมัยข้าว แพง บิณฑบาตหาได้ยาก, สมัยที่มีภัยชาวบ้านพากันอพยพ, สมัยที่สงฆ์แตกกัน (สมยสูตร) 36/129/16 36/127/3 |
77 | [๕๕] " เราย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้รูปเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน เป็น ที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปหญิงนี้เลย " (มาตุปุตติกสูตร) 36/132/21 36/129/21 |
78 | [๕๕] มาตุคามเป็นบ่วงรัดแห่งมารโดยชอบ แม้ตายแล้ว บวมขึ้นอืดแล้ว ก็ย่อม ครอบงำจิตบุรุษได้ (มาตุปุตติกสูตร) 36/133/12 36/130/9 |
79 | [๕๕] " บุคคลพึงสนทนาด้วย เพชฌฆาตก็ดี ด้วยปีศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษ ที่กัดตายก็ดี ก็ไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาสองต่อสองด้วยมาตุคามเลย พวกหญิง ย่อมผูกพันชายผู้ลุ่มหลงด้วยการมองดู การหัวเราะ การนุ่งห่มลับล่อ และการ พูดอ่อนหวาน... " (มาตุปุตติกสูตร) 36/133/18 36/130/14 |
80 | [๕๖] ภิกษุรูปหนึ่งอยากสึก พระอุปัชฌาย์จึงพาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรง บอกข้อปฏิบัติ คือให้เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในอาหาร ประกอบด้วยความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย เจริญโพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้) ทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน. ภิกษุนั้นจึงหลีกออกจากหมู่ไปบำเพ็ญได้เป็นพระอรหันต์ (อุปัชฌายสูตร) 36/135/12 36/132/3 |
81 | [๕๗] ฐานะ 5 ประการที่ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ คือ แก่ เจ็บ ตาย ความพลัดพราก กรรม. (ฐานสูตร) 36/138/16 36/135/3 |
82 | [๕๗] อริยสาวกย่อมพิจารณา ฐานะ 5 นั้นเนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำให้ มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป. (ฐานสูตร) 36/141/4 36/137/5 |
83 | [๕๘] ธรรม 5 ประการ ที่ผู้ใหญ่ ผู้ปกครองรัฐประพฤติอยู่ย่อมได้รับความเจริญ อย่างเดียวไม่มีเสื่อม (กุมารลิจฉวีสูตร) 36/146/1 36/141/23 |
84 | [๕๙] ธรรมที่หาได้ยากสำหรับผู้บวชเมื่อแก่ คือ เป็นคนละเอียด เป็นผู้มีมารยาท สมบูรณ์ เป็นพหูสูตร เป็นธรรมกถึก เป็นวินัยธร. (ปฐมทุลลภสูตร) 36/149/20 36/145/13 |
85 | [๖๐] ธรรม 5 ประการ ที่หาได้ยาก สำหรับผู้บวชเมื่อแก่ คือ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ คงแก่เรียน เป็นผู้รับโอวาทด้วยความเคารพ เป็นธรรมกถึก เป็นวินัยธร (ทุติยทุลลภสูตร) 36/150/13 36/146/9 |
86 | [๖๑-๖๒] สัญญา 5 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอมตะเป็นที่สุด คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร) สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง) (๑. ปฐมสัญญาสูตร ๒. ทุติยสัญญาสูตร) 36/152/4 36/148/4 |
87 | [๖๓-๖๔] อริยสาวก อริยสาวิกา ผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ 5 ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐ แห่งกาย. (๓. ปฐมวัฑฒิสูตร - ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร) 36/153/12 36/150/3 |
88 | [๖๕] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ เป็นผู้ถึงพร้อมและตอบปัญหาใน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะได้ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. (สากัจฉสูตร) 36/155/10 36/152/3 |
89 | [๖๖] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ เป็นผู้ถึงพร้อมและตอบปัญหาในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะได้ ย่อมเป็นผู้ควรดำรงชีพร่วมกันของ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. (สาชีวสูตร) 36/156/9 36/153/3 |
90 | [๖๗] ภิกษุ หรือภิกษุณี ผู้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม 5 ประการ คือ อิทธิบาท 4 และ วิริยะอย่างยิ่ง พึงหวังได้ผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล หรือ เป็นพระอนาคามี (ปฐมอิทธิปาทสูตร) 36/157/11 36/154/5 |
91 | [๖๘] เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ก็ได้เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม 5 ประการ คือ อิทธิบาท 4 และวิริยะอย่างยิ่ง. (ทุติยอิทธิปาทสูตร) 36/158/12 36/155/7 |
92 | [๖๙] ธรรม 5 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่าย ฯลฯ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว คือย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย, มีความสำคัญว่าเป็นปฏิกูลในอาหาร, มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง, พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง, ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน.ภายใน. (นิพพิทาสูตร) 36/160/3 36/156/12 |
93 | [๗๐] ธรรม 5 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นอาสวะทั้งหลายคือ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย, มีความสำคัญว่าเป็น ปฏิกูลในอาหาร , มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ,พิจารณาเห็นว่าไม่ เที่ยงในสังขารทั้งปวง , ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน. (อาสวักขยสูตร) 36/160/15 36/157/7 |
94 | [๗๑] ธรรม 5 ประการ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติเป็นผล คือ พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย, มีความสำคัญว่าเป็น ปฏิกูลในอาหาร , มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง , พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง , เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน (ปฐมเจโตวิมุตติสูตร) 36/162/4 36/159/4 |
95 | [๗๒] ธรรม 5 ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติเป็นผล คือ ความสำคัญว่าไม่งามในกาย , ความสำคัญว่าเป็น ทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง , ความสำคัญว่าอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ , ความสำคัญใน การละ ,ความสำคัญในความคลายกำหนัด (ทุติยเจโตวิมุตติสูตร) 36/165/20 36/162/13 |
96 | [๗๓] พระพุทธองค์ ทรงแสดงถึง ภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียน การแสดงธรรม การสาธยายธรรม การตรึกธรรม ถ้าภิกษุเหล่านั้น ไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบความสงบในภายใน ย่อมชื่อว่า เป็นผู้อยู่ ในธรรม (ปฐมธรรมวิหาริกสูตร) 36/168/3 36/164/14 |
97 | [๗๔] ภิกษุใดย่อมเล่าเรียนธรรม และทราบชัดเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ด้วยปัญญา ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม (ทุติยธรรมวิหาริกสูตร) 36/172/1 36/168/11 |
98 | [๗๕] ทรงเปรียบองค์แห่งนักรบอาชีพ 5 จำพวก กับภิกษุ มีภิกษุที่ได้ฟังข่าวว่า ใน บ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงงามอย่างยิ่งแล้วเกิดสะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อ พรหมจรรย์ไปได้เป็นต้น. (ปฐมโยธาชีวสูตร) 36/173/3 36/170/9 |
99 | [๗๖] ทรงเปรียบภิกษุด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวก มีภิกษุที่ไม่สำรวมอินทรีย์ใน บ้าน เมื่อเห็นผู้หญิงนุ่งผ้า ลับๆ ล่อๆ แล้วไปเสพเมถุนธรรม เป็นต้น . (ทุติยโยธาชีวสูตร) 36/181/10 36/177/6 |
100 | กามทั้งหลายเปรียบเหมือนท่อนกระดูก เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือน คบเพลิงหญ้า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง (อ.ทุติยโยธาชีวสูตร) 36/187/1 36/183/13 |
101 | [๗๗] ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงเห็นภัยในอนาคต 5 ประการ แล้วควรไม่ประมาท ทำ ความเพียร (ปฐมอนาคตสูตร) 36/187/17 36/184/5 |
102 | [๗๘] ภิกษุเห็นภัยในอนาคต 5 ประการ มีความแก่เป็นต้น ควรไม่ประมาท ทำความเพียร (ทุติยอนาคตสูตร) 36/190/17 36/187/11 |
103 | [๗๙] ภัยจะบังเกิดในอนาคต 5 ประการ คือ ภิกษุผู้ไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จะเป็นผู้ให้อุปสมบท ให้นิสัย แสดงธรรมที่ผิด แสดงพระสูตรที่นักกวีแต่ง ภิกษุเถระเป็นผู้มักมาก เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด เหตุนี้การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะ การลบล้างวินัย (ตติยอนาคตสูตร) 36/193/14 36/191/3 |
104 | [๘๐] ภัยในอนาคตของภิกษุ 5 ประการ เกี่ยวกับการบริโภค และการคลุกคลี (จตุตถอนาคตสูตร) 36/198/3 36/195/9 |
105 | [๘๑] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการย่อมไม่เป็นที่เคารพ ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ ย่อมกำหนัดในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด , ขัดเคือง ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง,หลงในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง,โกรธใน สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ,มัวเมาในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. . (รัชนียสูตร) 36/201/4 36/199/3 |
106 | [๘๒] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการย่อมไม่เป็นที่เคารพ ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ ไม่ปราศจากความกำหนัด , ไม่ปราศจากความขัดเคือง , ไม่ปราศจากความหลง , เป็นผู้ลบหลู่ , เป็นผู้ตีเสมอ. (วีตราคสูตร) 36/202/9 36/200/9 |
107 | [๘๓] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่เคารพ ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ พูดหลอกลวง , พูดหวังลาภ , พูดเลียบเคียงหาลาภ , พูด คาดคั้นให้บริจาค , แสวงหาลาภด้วยลาภ. (กุหกสูตร) 36/203/12 36/201/11 |
108 | [๘๔] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่เคารพ ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญา ทราม. (อสัทธสูตร) 36/205/3 36/203/3 |
109 | [๘๕] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่เคารพ ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ ไม่อดทนต่อรูปารมณ์ , ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ , ไม่อดทน ต่อคันธารมณ์ , ไม่อดทนต่อรสารมณ์ , ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ (อักขมสูตร) 36/206/3 36/204/3 |
110 | [๘๖] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นที่เคารพ ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา, บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา, บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา , บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา , เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน มีปัญญาใคร่ครวญวิธีการและสามารถทำ หรือจัดแจงในกิจนั้น. (ปฏิสัมภิทาสูตร) 36/207/9 36/205/9 |
111 | ภิกษุผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ญาณ 3 เหล่านั้นเท่านั้น หาทำกิจของ ญาณเหล่านั้นไม่ (อ.ปฏิสัมภิทาสูตร) 36/208/7 36/206/9 |
112 | [๘๗] ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นที่เคารพยกย่อง ของ เพื่อนพรหมจรรย์ คือ เป็นผู้มีศีล , เป็นพหูสูต , มีวาจาไพเราะ , ได้ฌาน 4 โดย ไม่ยาก ,ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ (สีลสูตร) 36/208/14 36/206/16 |
113 | [๘๘] พระเถระที่บวชนาน มีชื่อเสียง มียศ บริวารมาก เป็นพหูสูต ทรงจำ แสดง ธรรมได้บริบูรณ์ เป็นผู้ได้ปัจจัย 4 โดยไม่ยาก แต่เป็นผู้มีความเห็นผิด ย่อมยังชน หมู่มากให้เห็นผิดไปด้วย เป็นไปเพื่อความฉิบหาย แก่ชนมาก เพื่อทุกข์แก่ เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย (เถรสูตร) 36/210/3 36/208/3 |
114 | [๘๙] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่พระเสขะ คือ ยินดีในการ ก่อสร้าง , ยินดีในการเจรจาปราศรัย , ยินดีในการนอน , ยินดีในการคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ , ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว (ปฐมเสขสูตร) 36/212/12 36/210/7 |
115 | [๙๐] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่พระเสขะ มีความเป็นผู้มี กิจมาก มีกรณียะมาก ไม่ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ละการหลีกออกเร้น ไม่ ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน เป็นต้น. (ทุติยเสขสูตร) 36/214/3 36/211/19 |
116 | [๙๑] สัมปทา (ความถึงพร้อม) 5 ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา (ปฐมสัมปทาสูตร) 36/218/4 36/216/4 |
117 | [๙๒] สัมปทา 5 ประการ คือ สีลสัมปทา สมาธิสัมปทา ปัญญาสัมปทา วิมุตติสัมปทา วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา (ทุติยสัมปทาสูตร) 36/219/3 36/216/14 |
118 | [๙๓] การพยากรณ์อรหัต 5 ประการ คือ เพราะความเป็นผู้เขลา ผู้หลง, มีความ อิจฉาลามก ถูกความอิจฉาครอบงำ , เพราะเป็นบ้า จิตฟุ้งซ่าน , เพราะสำคัญว่า ได้บรรลุ , พยากรณ์โดยถูกต้อง (พยากรณสูตร) 36/219/13 36/217/9 |
119 | [๙๔] ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ คือ ฌาน 4 และ ความสิ้นอาสวะ. . (ผาสุสูตร) 36/221/3 36/218/14 |
120 | [๙๕] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อ กาลไม่นานนัก คือ ได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา, ได้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา, ได้บรรลุ นิรุตติปฏิสัมภิทา, ได้บรรลุปฏิญาณปฏิสัมภิทา, พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว. (อกุปปสูตร) 36/222/3 36/219/12 |
121 | [๙๖] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อม แทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก มีความเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต เป็นต้น. (สุตสูตร) 36/223/3 36/220/7 |
122 | [๙๗] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อม แทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก มีความเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นต้น (กถาสูตร) 36/224/9 36/221/14 |
123 | [๙๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐาน อยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก มีความเป็นผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตรอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นต้น. (อรัญญสูตร) 36/225/3 36/222/9 |
124 | [๙๙] พระตถาคตแสดงธรรมแก่ใครๆ ย่อมแสดงโดยเคารพ เพราะ พระตถาคต เป็นผู้หนักในธรรม (สีหสูตร) 36/226/7 36/223/16 |
125 | [๑๐๐] ทรงแสดง ศาสดา 5 จำพวก ที่มีศีล มีอาชีวะ มีธรรมเทศนา มีไวยากรณ์ มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมหวังการรักษาจากสาวก ส่วนพระตถาคต บริสุทธิ์ ทุกอย่าง ไม่หวังการรักษาจากสาวก. (กกุธสูตร) 36/228/18 36/226/7 |
126 | [๑๐๑] ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ 5 ประการ คือ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีปัญญา. (เวสารัชชกรณสูตร) 36/233/5 36/231/5 |
127 | [๑๐๒] แม้พระอรหันต์ ก็ไม่พึงเข้าไปในสถานที่อันไม่สมควร เพราะผู้อื่นจะระแวง ว่าเป็นบาปภิกษุ (สังกิตสูตร) 36/234/11 36/232/11 |
128 | [๑๐๓] บาปภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ดุจมหาโจร ย่อมได้บาปมาก. (โจรสูตร) 36/236/22 36/234/20 |
129 | [๑๐๔] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมชื่อว่า สมณะละเอียดอ่อนใน หมู่สมณะ (สุขุมาลสูตร) 36/238/18 36/236/13 |
130 | [๑๐๕] ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ คือ ภิกษุเข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้า และลับหลัง มีศีล และทิฏฐิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. (ผาสุวิหารสูตร) 36/241/3 36/239/3 |
131 | [๑๐๖] ธรรม 5 ประการ เป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก มีความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล ด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นต้น. (อานันทสูตร) 36/242/15 36/240/9 |
132 | [๑๐๗] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็น นาบุญของโลก คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ (สีลสูตร) 36/245/3 36/242/15 |
133 | [๑๐๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็น นาบุญของโลก คือ ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ (อเสขิยสูตร) 36/246/3 36/243/11 |
134 | [๑๐๙] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเที่ยวไปได้ในทิศทั้ง 4 คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต เป็นผู้สันโดษ ได้ฌาน 4 โดยไม่ยาก มีอาสวะสิ้น แล้ว (จาตุทิสสูตร) 36/247/3 36/244/10 |
135 | [๑๑๐] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมควรเพื่ออยู่ป่าและป่าชัฏ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต เป็นผู้สันโดษ ได้ฌาน 4 โดยไม่ยาก มีอาสวะสิ้นแล้ว (อรัญญสูตร) 36/248/8 36/245/15 |
136 | [๑๑๑] ภิกษุผู้เข้าสู่สกุลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่เคารพในสกุล คือ วิสาสะกับผู้ไม่คุ้นเคย, เป็นผู้บงการต่างๆ ทั้งที่ตนไม่เป็นใหญ่ในสกุล, คบหา ผู้ไม่ถูกกับเขา, พูดกระซิบที่หู , เป็นผู้ขอมากเกินไป (กุลุปกสูตร) 36/250/4 36/248/4 |
137 | [๑๑๒] ภิกษุผู้เข้าสู่สกุลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ไม่ควรพาไปเป็นพระ ติดตาม คือ เดินห่างนัก หรือใกล้นัก ไม่รับบาตรที่ควรรับ ไม่ห้ามเมื่อพูดใกล้ อาบัติ พูดสอดขึ้น เมื่อกำลังพูดอยู่ ปัญญาทรามโง่เขลา (ปัจฉาสมณสูตร) 36/251/13 36/249/15 |
138 | [๑๑๓] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่ควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ คือ ไม่อดทนต่อรูปารมณ์ ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ ไม่อดทนต่อคันธารมณ์ ไม่ อดทนต่อรสารมณ์ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์. (สมาธิสูตร) 36/253/3 36/251/3 |
139 | [๑๑๔] ธรรมของภิกษุใหม่ 5 ประการ คือ จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์ จงเป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อย่าพูดมาก ทำความสงบแห่งกาย ให้ตั้ง มั่นอยู่ในความเห็นชอบ. (อันธกวินทสูตร) 36/254/1 36/252/3 |
140 | [๑๑๕] ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก คือ เป็นผู้ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่สกุล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม (มัจฉริยสูตร) 36/256/3 36/254/3 |
141 | [๑๑๖] ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก คือ ไม่ใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้วสรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ เลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ทำสัทธาไทยให้ตกไป. (วรรณนาสูตร) 36/257/3 36/255/6 |
142 | [๑๑๗] ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก คือ ไม่ใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ มีความริษยา เป็นคนตระหนี่ ทำสัทธาไทยให้ตกไป. (อิสสาสูตร) 36/258/8 36/256/8 |
143 | [๑๑๘] ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก คือ ไม่ใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ มีความเห็นผิด มีความดำริผิด ทำสัทธาไทยให้ตกไป. (ทิฏฐิสูตร) 36/259/7 36/257/9 |
144 | [๑๑๙] ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก คือ ไม่ใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ มีวาจาผิด มีการงานผิด ทำสัทธาไทยให้ตกไป. (วาจาสูตร) 36/260/3 36/258/3 |
145 | [๑๒๐] ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก คือ ไม่ใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ มีความพยายามผิด ระลึกผิด ทำสัทธาไทยให้ตกไป. (วายามสูตร) 36/261/3 36/259/3 |
146 | [๑๒๑] ถ้าภิกษุไข้ไม่ละเลยธรรม 5 ประการ คือ พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลก ทั้งปวง พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มีมรณสัญญาปรากฏขึ้น ด้วยดี ณ ภายใน เธอพึงหวังผลที่จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ ต่อกาลไม่นานเลย. (คิลานสูตร) 36/262/4 36/260/4 |
147 | [๑๒๒] ภิกษุหรือภิกษุณี รูปใด ย่อมเจริญทำให้มากซึ่งธรรม 5 ประการ คือ เป็น ผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ด้วยดีเฉพาะตน เพื่อปัญญาอันให้หยั่งถึงความตั้งขึ้น และ ดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย , พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย , มีความสำคัญว่าเป็น ของปฏิกูลในอาหาร , มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง , พิจารณาเห็น ว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง เธอพึงหวังผลได้ 2 คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเป็นพระอนาคามี (สติปัฏฐานสูตร) 36/263/3 36/261/3 |
148 | [๑๒๓] ภิกษุไข้พึงประพฤติตนให้พยาบาลง่าย 5 ประการ (ปฐมอุปัฏฐานสูตร) 36/264/11 36/262/5 |
149 | [๑๒๔] ธรรม 5 ประการ ของภิกษุผู้ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ (ทุติยอุปัฏฐากสูตร) 36/265/12 36/263/3 |
150 | [๑๒๕] ธรรม 5 ประการ เป็นเหตุให้อายุสั้น คือ ไม่ทำความสบายแก่ตนเอง, ไม่รู้ จักประมาณในสิ่งที่สบาย , บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก , เป็นผู้เที่ยวในกาลไม่สมควร , ไม่ประพฤติประเสริฐ (ปฐมอนายุสสสูตร) 36/266/9 36/264/3 |
151 | [๑๒๖] ธรรม 5 ประการ เป็นเหตุให้อายุสั้น คือ ไม่ทำความสบายแก่ตนเอง, ไม่รู้ จักประมาณในสิ่งที่สบาย , บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก , เป็นคนทุศีล , มีมิตรเลวทราม (ทุติยอนายุสสสูตร) 36/267/7 36/265/3 |
152 | [๑๒๗] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่ควรเพื่อหลีกออกจากหมู่อยู่ ผู้เดียว คือ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ยา ตามมีตามได้ เป็นผู้มากด้วย ความดำริในกาม (อวัปปกาสสูตร) 36/268/3 36/266/3 |
153 | [๑๒๘] ทุกข์ของสมณะ มี 5 ประการ คือ เป็นผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ยา ตามมีตามได้ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์. (สมณทุกขสูตร) 36/269/12 36/267/13 |
154 | [๑๒๙] บุคคลผู้ต้องไปนรก แก้ไขไม่ได้ 5 จำพวก คือ ผู้ทำอนันตริยกรรม 5 (ปริกุปปสูตร) 36/270/3 36/268/11 |
155 | [๑๓๐] ความเสื่อม 5 ประการ คือ เสื่อมญาติ เสื่อมโภคะ เสื่อมเพราะโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เพราะความเสื่อมศีล และทิฏฐิ เมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (สัมปทาสูตร) 36/271/3 36/269/10 |
156 | [๑๓๑] พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมทรงยังจักรให้เป็น ไปโดยธรรมทีเดียว คือ เป็นผู้ทรงรู้ผล ทรงรู้เหตุ ทรงรู้ประมาณ ทรงรู้จักกาล ทรงรู้บริษัท. (จักกสูตร) 36/273/4 36/271/4 |
157 | [๑๓๑] พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้น เยี่ยม ให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว คือ ทรงรู้จักผล ทรงรู้จักเหตุ ทรงรู้จักประมาณ ทรงรู้จักกาล ทรงรู้จักบริษัท. (จักกสูตร) 36/273/12 36/271/11 |
158 | [๑๓๒] ทรงเปรียบพระสารีบุตร ดุจพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยม ที่พระตถาคตให้เป็น ไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ (อนุวัตตนสูตร) 36/275/3 36/273/3 |
159 | เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิผนวช หรือสิ้นพระชนม์ลง จักรรัตนะจะตั้งอยู่เพียง 7 วัน ก็อันตรธานไป. (อ.อนุวัตตนสูตร) 36/276/3 36/274/3 |
160 | [๑๓๓] พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในพวก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา (ราชสูตร) 36/277/13 36/275/10 |
161 | [๑๓๔] ทรงเปรียบองค์คุณของกษัตริย์ และของภิกษุ 5 ประการ (ยัสสทิสสูตร) 36/279/3 36/276/12 |
162 | [๑๓๕] ทรงเปรียบองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่ ของพระราชาและของภิกษุ 5 ประการ (ปฐมปัตถนาสูตร) 36/282/16 36/280/3 |
163 | [๑๓๖] ภิกษุประกอบ ด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ (ทุติยปัตถนาสูตร) 36/286/14 36/283/18 |
164 | [๑๓๗] คน 5 จำพวก ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี คือ สตรีผู้คิดถึงบุรุษ บุรุษผู้ คิดถึงสตรี โจรผู้คิดมุ่งลักทรัพย์ พระราชาผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณีย์ ภิกษุผู้ คิดมุ่งถึงธรรมที่ปราศจากสังโยชน์ (อัปปสุปติสูตร) 36/287/15 36/284/17 |
165 | [๑๓๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นผู้ฉันอาหารจุ ขวางที่ นั่งนอนมาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึง ความนับว่าเป็นภิกษุ. (ภัตตาทกสูตร) 36/289/1 36/286/5 |
166 | [๑๓๙] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ฯลฯ คือ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (อักขมสูตร) 36/291/8 36/288/7 |
167 | [๑๔๐] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก คือ เป็นผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ฆ่าได้ เป็นผู้รักษาได้ เป็นผู้อดทนได้ เป็นผู้ไปได้. (โสตวสูตร) 36/296/7 36/293/4 |
168 | [๑๔๑] คนเลว 5 จำพวก คือ บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่น บุคคลย่อมดูหมิ่น เพราะ อยู่ร่วมกัน บุคคลเป็นผู้เชื่อง่าย บุคคลเป็นผู้โลเล บุคคลผู้เขลาหลงงมงาย. (ทัตวาอวชานาติสูตร) 36/299/4 36/296/4 |
169 | [๑๔๒] บุคคลที่ควรตักเตือน 5 จำพวก เกี่ยวกับการล่วงอาบัติ และความเดือดร้อน (อารภสูตร) 36/301/15 36/298/16 |
170 | [๑๔๓] ความปรากฏแห่งแก้ว 5 ประการ เป็นของหาได้ยาก คือ พระพุทธเจ้า , ผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว, ผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว, ผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งผู้อื่นแสดงให้ ฟังแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม,กตัญญูกตเวทีบุคคล (สารันททสูตร) 36/306/9 36/303/7 |
171 | [๑๔๔] สิ่งปฏิกูล หรือ ไม่เป็นปฏิกูล ที่ภิกษุพึงพิจารณา หรือวางเฉย เพื่อไม่ให้ เกิดความขัดเคือง, ไม่ให้เกิดความกำหนัด หรือ ไม่ให้เกิดความหลง (ติกัณฑกีสูตร) 36/307/3 36/304/3 |
172 | ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาอย่างเดียวในฐานะ 5 ซึ่งภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ผู้เป็น พหูสูต มีญาณ มีปัญญา ก็บำเพ็ญได้ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ พระอนาคามี ย่อมทำได้ทั้งนั้น. (อ.ติกัณฑกีสูตร) 36/309/15 36/306/13 |
173 | [๑๔๕] ผู้ประพฤติผิดศีล 5 ย่อมเป็นผู้เหมือนถูกฝังไว้ในนรก (นิรยสูตร) 36/310/3 36/306/20 |
174 | [๑๔๖] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ไม่ควรคบเป็นมิตร คือ ภิกษุย่อมใช้ ให้ทำการงาน ย่อมก่ออธิกรณ์ เป็นผู้โกรธตอบต่อภิกษุผู้เป็นประธาน เที่ยวไป ที่ไม่ควรตลอดกาลนาน ไม่สามารถเพื่อยังภิกษุให้เห็นแจ้งด้วยธรรมกถาโดย กาลสมควร. (มิตตสูตร) 36/311/3 36/307/17 |
175 | [๑๔๗] อสัปปุริสทาน 5 ประการ คือ ให้โดยไม่เคารพ ให้โดยไม่อ่อนน้อม ไม่ให้ ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เป็นเดน ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ (อสัปปุริสทานสูตร) 36/312/11 36/309/3 |
176 | [๑๔๘] ทานของสัตบุรุษ 5 ประการคือ ให้ด้วยศรัทธา ให้ทานโดยเคารพ ให้ทาน โดยกาลอันควร เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ให้ทานไม่กระทบตน และผู้อื่น (สัปปุริสทานสูตร) 36/314/3 36/310/15 |
177 | [๑๔๙] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นใน สมัยคือ เป็นผู้ชอบทำการงาน ความเป็นผู้ชอบคุย เป็นผู้ชอบนอน ชอบคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ ภิกษุนั้นไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้ว(ปฐมสมยวิมุตตสูตร) 36/315/12 36/312/3 |
178 | [๑๕๐] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นใน สมัย คือ เป็นผู้ชอบทำการงาน ชอบคุย ชอบนอน ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในอาหาร. (ทุติยสมยวิมุตตสูตร) 36/317/3 36/313/3 |
179 | [๑๕๑] ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่ง ลงสู่ความถูกในกุศลธรรม คือ ย่อมพูดมาก, พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก, พูด ปรารภตน, เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม, มีจิตไม่แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่ แยบคาย (ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร) 36/319/5 36/315/5 |
180 | [๑๕๒] ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่ง ลงสู่ความถูกในกุศลธรรม คือ ย่อมพูดมาก, พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก, พูด ปรารภตน, เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า, เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยัง ไม่เข้าใจ. (ทุติยสัทธัมมนิยามสูตร) 36/320/15 36/316/16 |
181 | [๑๕๓] ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่ง ลงสู่ความถูกในกุศลธรรม คือ เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม, มีจิตแข่งดีฟังธรรม, ผู้แสวงโทษมีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม, มีปัญญาทราม โง่เง่า, มีความถือตัว ว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ (ตติยสัทธัมมนิยามสูตร) 36/322/3 36/318/3 |
182 | [๑๕๔] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม คือ ภิกษุไม่ฟังธรรมโดยเคารพ, ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ, ไม่ทรงจำธรรมโดย เคารพ , ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ , รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ (ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร) 36/323/9 36/319/10 |
183 | [๑๕๕] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม คือ ภิกษุไม่เล่าเรียนธรรม , ไม่แสดงธรรม ไม่บอกธรรม ไม่ทำการสาธยาย ธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่น , ไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรม ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา (ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร) 36/324/14 36/320/12 |
184 | [๑๕๖] ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม มีการที่ภิกษุเล่าเรียนพระสูตร ที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ ไม่ดี เป็นต้น (ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร) 36/326/9 36/322/8 |
185 | [๑๕๗] พูดดีเป็นชั่ว พูดดีเป็นดี ระหว่างบุคคลกับบุคคล 5 จำพวก (ทุกถาสูตร) 36/329/3 36/325/5 |
186 | [๑๕๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมถึงความครั่นคร้าม คือ เป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ทุศีล ผู้ได้สดับน้อย เกียจคร้าน มีปัญญาทราม (สารัชชสูตร) 36/333/3 36/328/18 |
187 | [๑๕๙] การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการ ไว้ภายใน คือ พึงตั้งใจว่าเราจักแสดงไปโดยลำดับ,จัก แสดงอ้างเหตุผล, จักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู , ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม, ไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น (อุทายิสูตร) 36/334/5 36/330/6 |
188 | [๑๖๐] ธรรม 5 ประการเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก คือ ราคะ โทสะ โมหะ ปฏิภาณ จิตคิดจะไป (ทุพพิโนทยสูตร) 36/335/9 36/331/8 |
189 | [๑๖๑] ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง 5 ประการ คือ พึงเจริญเมตตา กรุณา อุเบกขา ไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น นึกถึงความมีกรรมเป็นของ ๆ ตน (ปฐมอาฆาตวินยสูตร) 36/337/4 36/333/4 |
190 | [๑๖๒] พระสารีบุตร แสดงธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดย ประการทั้งปวง 5 ประการ มีระงับความอาฆาตในบุคคลที่มีความประพฤติทาง กายบริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น. (ทุติยอาฆาตวินยสูตร) 36/339/3 36/335/3 |
191 | [๑๖๓] พระสารีบุตร แสดงธรรม 5 ประการ ของภิกษุผู้ควรสนทนากับเพื่อน พรหมจรรย์ (สากัจฉาสูตร) 36/345/18 36/341/16 |
192 | [๑๖๔] พระสารีบุตรแสดงธรรม 5 ประการ ของภิกษุผู้ควรเป็นอยู่ร่วมกับเพื่อน พรหมจรรย์ (สาชีวสูตร) 36/346/15 36/342/10 |
193 | [๑๖๕] พระสารีบุตรแสดง เหตุ 5 ประการ ที่ภิกษุบางรูปถามปัญหากะภิกษุอื่น คือ ถามเพราะโง่เขลา หลงลืม, มีความปรารถนาลากมก ถูกความปรารถนา ครอบงำ , ดูหมิ่น , ประสงค์จะรู้ , ถ้าผู้ถูกถามตอบถูกก็ดี ถ้าตอบไม่ถูกจะ ตอบเองโดยชอบ. (ปัญหาปุจฉาสูตร) 36/347/13 36/343/6 |
194 | [๑๖๖] พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ พระโลฬุทายี คัดค้าน ถึง 3 ครั้ง และยังตามไปค้านต่อหน้า พระพุทธองค์อีก 3 ครั้ง พระพุทธองค์ทรง ตำหนิพระอานนท์ที่ดูดาย ในเมื่อพระเถระถูกเบียดเบียน พระอานนท์ก็รูสึก น้อยใจ (นิโรธสูตร) 36/349/3 36/344/9 |
195 | [๑๖๗] ภิกษุผู้ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการ ไว้ภายในก่อนคือ จักกล่าว โดยกาลควร, จักกล่าวด้วยเรื่องจริง, จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน, จักกล่าวเรื่องที่ เป็นประโยชน์ , จักมีเมตตาจิตกล่าว (โจทนาสูตร) 36/354/15 36/350/7 |
196 | [๑๖๗] ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม 2 ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ (โจทนาสูตร) 36/357/9 36/352/17 |
197 | [๑๖๗] พระพุทธองค์ตรัสให้พระสารีบุตร ยกเว้น กุลบุตรที่ไม่มีศรัทธา บวชเพื่อ เลี้ยงชีพ มักมาก...ไว้ ให้กล่าวสอนว่ากล่าวกุลบุตรที่มีศรัทธา ด้วยหวังว่า จักยกเพื่อนพรหมจรรย์ออกจากอสัทธรรม. (โจทนาสูตร) 36/358/17 36/353/21 |
198 | บุคคลเหลาะแหละ ใดกล่าวคำไม่จริงยกโทษแก่ภิกษุ บุคคลเหลาะแหละนั้น ไม่ต้องขอโอกาสพึงโจทเลย (อ.โจทนาสูตร) 36/359/9 36/355/1 |
199 | [๑๖๙] พระสารีบุตรแสดงถึง สัมมาสมาธิ ของภิกษุผู้ทุศีล ย่อมเป็นธรรม มีอุปนิสัยถูกขจัด. (สีลสูตร) 36/360/3 36/355/13 |
200 | [๑๖๙] พระอานนท์แสดงแก่พระสารีบุตรถึงเหตุให้คิดเร็ว เรียนได้ดี ไม่ลืมเลือน คือ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้น เบื้องปลาย (นิสันติสูตร) 36/361/17 36/357/6 |
201 | [๑๗๐] พระอานนท์และพระภัททชิ ถามตอบกันเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นยอด 5 ประการ คือ การเห็น การได้ยิน สุข สัญญา ภพชนิดไหนเป็นยอด ? (ภัททชิสูตร) 36/364/8 36/359/12 |
202 | [๑๗๑] อุบาสกผู้มีศีล 5 ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า (สารัชชสูตร) 36/368/13 36/363/14 |
203 | [๑๗๒] อุบาสกผู้ละเมิดศีล 5 ย่อมเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าครองเรือน (วิสารทสูตร) 36/369/3 36/364/3 |
204 | [๑๗๓] อุบาสกผู้ละเมิดศีล 5 เหมือนถูกนำมาวางไว้ในนรก (นิรยสูตร) 36/369/16 36/364/16 |
205 | [๑๗๔] อุบาสกไม่ละภัยเวร 5 ประการ พระพุทธเจ้าเรียกว่า ผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้า ถึงนรกด้วย (เวรสูตร) 36/370/17 36/365/14 |
206 | [๑๗๕] อุบาสกเลวทราม ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ไม่มีศรัทธา,เป็นผู้ ทุศีล, ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม, แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้, ทำการสนับสนุนในศาสนานั้น. (จัณฑาลสูตร) 36/373/3 36/368/3 |
207 | [๑๗๖] ไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงว่า ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย 4 พึง สำเหนียกว่า ด้วยอุบายเช่นไร เราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ ตามกาลอัน สมควร. (ปีติสูตร) 36/374/14 36/369/9 |
208 | [๑๗๖] ฐานะ 5 ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวก ผู้เข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่. (ปีติสูตร) 36/375/9 36/370/4 |
209 | [๑๗๗] การค้าขาย 5 ประการ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ คือ การค้าขายศัสตรา การค้าขายสัตว์ การค้าขายเนื้อสัตว์ การค้าขายน้ำเมา การค้าขายยาพิษ (วณิชชสูตร) 36/376/15 36/371/13 |
210 | การค้าขายสัตว์ ได้แก่ การค้าขายมนุษย์ , การค้าขายเนื้อสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงสุกร และเนื้อขาย เป็นต้น การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้ทำการค้านี้ ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วย. (อ.วณิชชสูตร) 36/377/5 36/372/5 |
211 | [๑๗๘] ผู้ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แล้วย่อมเป็นเหตุให้ละเมิด ภัยเวร ข้ออื่นได้อีก (ราชสูตร) 36/380/17 36/375/9 |
212 | [๑๗๙] คฤหัสถ์คนใด มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท 5 ประการ และมีปกติได้ ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง 4 ประการ ผู้นั้นพึงพยากรณ์ ตนเองได้ว่า มีนรกสิ้นแล้ว เป็นพระโสดาบัน (คิหิสูตร) 36/381/14 36/376/11 |
213 | [๑๘๐] การทำความดีต้องทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เหมือนภเวสีอุบาสก และบริษัท 500 ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า (ภเวสิสูตร) 36/387/13 36/381/13 |
214 | พระอานนท์เดินตามเสด็จไปข้างหลังพระพุทธเจ้า ย่อมรู้ได้ว่าพระองค์ทรง พระสรวล (การแย้ม) (อ.ภเวสิสูตร) 36/393/1 36/386/14 |
215 | [๑๘๑-๑๙๐] ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร... ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร 5 จำพวก คือ ถือเพราะโง่เขลา งมงาย, มีความปรารถนาลามก, เป็นบ้าจิต ฟุ้งซ่าน,รู้ว่าพระพุทธเจ้าและสาวกสรรเสริญ , มีความปรารถนาน้อย ต้องการข้อ ปฏิบัติอันงาม (สูตร ๑-๑๐) 36/395/4 36/388/4 |
216 | [๑๙๑] ธรรมเก่าแก่ของพวกพราหมณ์ 5 ประการ บัดนี้ย่อมปรากฏในสุนัข. (โสณสูตร) 36/401/4 36/395/4 |
217 | [๑๙๒] ทรงแสดงถึง พราหมณ์ 5 จำพวกแก่โทณพราหมณ์ คือ พราหมณ์ผู้เสมอ ด้วยพรหม, ผู้เสมอด้วยเทวดา, ผู้มีความประพฤติดี, ผู้มีความประพฤติดีและชั่ว, พราหมณ์จัณฑาล (โทณสูตร) 36/403/14 36/397/16 |
218 | โบราณพราหมณ์ ได้ตรวจดูด้วยทิพยจักษุแล้ว ไม่ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบคำสอนของพระกัสสปพุทธเจ้า แล้วเรียบเรียงมนตร์ทั้งหลาย แต่พราหมณ์ อีกพวกหนึ่งใส่กรรมมีการฆ่าสัตว์เข้าไป ทำให้ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์. (อ.โทณสูตร) 36/412/4 36/405/16 |
219 | [๑๙๓] เมื่อบุคคลมีใจอันนิวรณ์ 5 กลุ้มรุมครอบงำอยู่ มนตร์ที่ท่องไว้นานย่อมไม่ แจ่มแจ้ง (สังคารวสูตร) 36/414/3 36/407/15 |
220 | การออกไปแห่งกามราคะ มี 3 อย่าง คือการออกไปด้วยการข่มไว้ การออกไป ชั่วคราว การออกไปเด็ดขาด. (อ.สังคารวสูตร) 36/420/6 36/413/6 |
221 | [๑๙๔] ปิงคิยานีพราหมณ์ เป็น พระอนาคามี ได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าต่อ การณปาลีพราหมณ์จบแล้ว การณปาลีพราหมณ์ ลุกจากอาสนะ ทำผ้าเฉวียงบ่า คุกเข่าลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่ประทับของพระพุทธเจ้า แล้วกล่าว นอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอถึงความเป็นอุบาสก. (การณปาลีสูตร) 36/421/18 36/414/21 |
222 | [๑๙๕] ปิงคิยานีพราหมณ์ กล่าวชมเชยพระพุทธเจ้า ขณะที่เจ้าลิจฉวี 500 เข้า เฝ้าอยู่ พระพุทธองค์จึงทรงแสดง ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ 5 หาได้ยากในโลก มีความปรากฏแห่งพระตถาคตเป็นต้น. (ปิงคิยานีสูตร) 36/428/10 36/421/9 |
223 | [๑๙๖] มหาสุบิน 5 ประการ ของพระโพธิสัตว์ ก่อนแต่ตรัสรู้. (สุปินสูตร) 36/431/3 36/423/18 |
224 | เหตุแห่ง ฝัน 4 ประการ คือ ธาตุกำเริบ , เพราะเคยเป็นมาก่อน , เทวดาดลใจ , บุรพนิมิต (อ.สุปินสูตร) 36/433/18 36/426/6 |
225 | เทวดาบันดาลให้ฝัน เพราะประสงค์ดีก็มี ประสงค์ร้ายก็มี (อ.สุปินสูตร) 36/434/2 36/426/12 |
226 | ฝันนี้ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยาฤตบ้าง. (อ.สุปินสูตร) 36/435/7 36/427/18 |
227 | เจตนาในฝันเป็นอัพโพหาริก คือ กล่าวอ้างไม่ได้เลย เพราะเกิดในที่อันมิใช่วิสัย (อ.สุปินสูตร) 36/435/13 36/427/24 |
228 | [๑๙๗] ฝนแล้ง น้ำท่วม หมอดูก็รู้ไม่จริง (วัสสสูตร) 36/438/3 36/430/11 |
229 | [๑๙๘] วาจาประกอบด้วยองค์ 5 เป็นวาจาสุภาษิต คือ กล่าวถูกกาล กล่าวเป็นสัจ กล่าวอ่อนหวาน กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ กล่าวด้วยเมตตาจิต. (วาจาสูตร) 36/439/13 36/432/3 |
230 | [๑๙๙] บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุลใด พวกมนุษย์ในสกุลนั้น ย่อมประสบบุญ เป็นอันมากโดยฐานะ 5 ประการ คือ เพื่อสวรรค์, เกิดในสกุลสูง, เป็นผู้มีศักดิ์ ใหญ่ ,มีโภคทรัพย์มาก , มีปัญญามาก. (กุลสูตร) 36/440/3 36/432/13 |
231 | [๒๐๐] ธาตุที่พึงพรากได้ 5 ประการ คือ การพรากออกแห่งกาม พยาบาท วิหิงสา รูป สักกายะ (นิสสารณียสูตร) 36/441/3 36/434/3 |
232 | อสุภฌาน เป็นเครื่องสลัดออกจากกาม เมตตาฌาน เป็นเครื่อง สลัดออกแห่ง พยาบาท (อ.นิสสารณียสูตร) 36/444/12 36/437/8 |
233 | [๒๐๑] เหตุปัจจัยทำให้พระศาสนาเสื่อม ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว. (กิมพิลสูตร) 36/446/4 36/439/5 |
234 | [๒๐๒] อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ คือ ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง , เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว , บรรเทาความสงสัยเสียได้ , ทำความเห็นให้ตรง , จิต ของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (ธัมมัสสวนสูตร) 36/448/15 36/441/15 |
235 | [๒๐๓] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ฯลฯ เป็น นาบุญของโลก คือ ซื่อตรง ความเร็ว ความอ่อนโยน ความอดทน ความเสงี่ยม ดุจม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา. (อาชานิยสูตร) 36/449/10 36/442/12 |
236 | [๒๐๔] กำลัง 5 ประการ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา (พลสูตร) 36/450/14 36/443/14 |
237 | [๒๐๕] ตะปูตรึงใจ 5 ประการ คือ ภิกษุย่อมเคลือบแคลง ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา มีจิตอันโทสะกระทบในพวกเพื่อนพรหมจรรย์ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อกระทำติดต่อ (เจโตขีลสูตร) 36/451/3 36/444/6 |
238 | [๒๐๖] เครื่องผูกพันใจ 5 ประการ คือ ภิกษุมีความทะยานอยากในกามในกาย , ในรูป ,ประกอบสุขในการนอน , ปรารถนาเทพนิกาย ด้วยศีล ตบะ พรหมจรรย์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อกระทำติดต่อ (วินิพันธสูตร) 36/453/18 36/447/3 |
239 | [๒๐๗] อานิสงส์ของข้าวยาคู 5 ประการคือ บรรเทาความหิว ระงับความระหาย ยังลมให้เดินคล่อง ชำระล้างลำไส้ เผาอาหารเก่าที่ยังไม่ย่อย (ยาคุสูตร) 36/456/8 36/449/13 |
240 | [๒๐๘] โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน 5 ประการ คือ ตาฟาง ปากเหม็น ประสาทที่ นำรสอาหารไม่หมดจด เสมหะย่อมหุ้มห่ออาหาร อาหารย่อมไม่อร่อยแก่เขา (ทันตกัฏฐสูตร) 36/457/3 36/405/10 |
241 | [๒๐๙] โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับที่ยาว 5 ประการ (คีตสูตร) 36/458/3 36/451/7 |
242 | [๒๑๐] โทษแห่งภิกษุผู้ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ 5 ประการ คือ ย่อม หลับเป็นทุกข์ ตื่นเป็นทุกข์ ฝันลามก เทวดาย่อมไม่รักษา น้ำอสุจิย่อมเคลื่อน (มุฏฐัสสติสูตร) 36/459/3 36/452/8 |
243 | [๒๑๑] ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษ ชอบติเตียนพระอริยเจ้า พึงหวังได้โทษ 5 ประการ (อักโกสกสูตร) 36/461/4 36/454/4 |
244 | [๒๑๒] ภิกษุใดทำความบาดหมาง ทะเลาะ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวัง ได้โทษ 5 ประการ (ภัณฑนสูตร) 36/462/3 36/455/8 |
245 | [๒๑๓] โทษของคนทุศีล 5 ประการ และอานิสงส์ ของคนมีศีล 5 ประการ (สีลสูตร) 36/463/3 36/456/5 |
246 | บรรพชิตผู้ทุศีล ย่อมถึงความเสื่อมจากศีล พระพุทธพจน์ ฌาน และจาก อริยทรัพย์ 7 เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ (อ.สีลสูตร) 36/464/20 36/457/21 |
247 | นิมิตแห่งนรกย่อมปรากฏ แก่ผู้ทุศีล เมื่อตอนใกล้ตาย. (อ.สีลสูตร) 36/465/16 36/458/16 |
248 | [๒๑๔] โทษ 5 ประการ มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (พหุภาณีสูตร) 36/466/3 36/459/3 |
249 | [๒๑๕] โทษของความไม่อดทน 5 ประการ คือ ย่อมไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของ คนเป็นอันมาก, เป็นผู้มากด้วยเวร, เป็นผู้มากด้วยโทษ, เป็นผู้หลงตาย, ตายแล้ว ไป อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (ปฐมอขันติสูตร) 36/467/3 36/460/3 |
250 | [๒๑๖] โทษของความไม่อดทน 5 ประการ คือ ย่อมไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของคน เป็นอันมาก, เป็นผู้โหดร้าย, เป็นผู้เดือดร้อน, เป็นผู้หลงตาย, ตายแล้วไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (ทุติยอขันติสูตร) 36/468/3 36/461/3 |
251 | [๒๑๗] โทษ 5 ประการ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำอันไม่น่าเลื่อมใส (ปฐมอปาสาทิกสูตร) 36/469/3 36/462/3 |
252 | [๒๑๘] โทษ 5 ประการ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำอันไม่น่าเลื่อมใส ผู้นั้นชื่อว่า ไม่กระทำตามคำสอนของพระศาสดา (ทุติยอปาสาทิกสูตร) 36/470/9 36/463/3 |
253 | [๒๑๙] โทษ 5 ประการ มีอยู่เพราะไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ทำให้ผิวเสีย ทำให้ ทุรพล (กำลังอ่อน) ย่อมยังการคลุกคลีหมู่คณะให้เจริญ ย่อมยังดิรัจฉานกถาให้ เป็นไป. (อัคคิสูตร) 36/471/7 36/463/17 |
254 | [๒๒๐] นางยักษ์ ยืนเปลือยกาย ขวางพระพุทธเจ้าก่อนเข้าเมืองมธุรา พระองค์ จึงทรงเสด็จกลับแล้วแสดงโทษของเมือง มธุรา 5 ประการ (มธุราสูตร) 36/471/14 36/464/6 |
255 | [๒๒๑] โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน เที่ยวไปไม่มีกำหนด 5 ประการ คือ ไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว , ไม่แกล้วกล้าด้วยสิ่งที่ ได้ฟังแล้วบางประการ , ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก , ย่อมไม่มีมิตร (ปฐมทีฆจาริกสูตร) 36/473/4 36/466/4 |
256 | [๒๒๒] อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร 5 ประการ (ทุติยทีฆจาริกสูตร) 36/475/1 36/467/20 |
257 | [๒๒๓] โทษในการอยู่ประจำที่ 5 ประการ มีการสะสมสิ่งของมาก เป็นต้น. (อภินิวาสสูตร) 36/475/10 36/468/12 |
258 | [๒๒๔] โทษในการอยู่ประจำ ทำให้เกิดความตระหนี่ 5 ประการ คือ ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่สกุล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม (มัจฉรสูตร) 36/477/3 36/470/3 |
259 | [๒๒๕] โทษแห่งการเข้าไปสู่สกุล 5 ประการ มีการต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปโดย ไม่บอกลา เป็นต้น. (ปฐมกุลุปกสูตร) 36/478/3 36/471/3 |
260 | [๒๒๖] โทษของการคลุกคลีในสกุลเกินเวลา 5 ประการ คือ การเห็นมาตุคาม เนืองๆ, ย่อมมีการเกี่ยวข้อง , ย่อมมีการคุ้นเคย , ย่อมมีจิตจดจ่อ , ย่อมไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ (ทุติยกุลุปกสูตร) 36/479/3 36/472/3 |
261 | [๒๒๗] คุณและโทษของโภคทรัพย์ (โภคสูตร) 36/479/16 36/473/3 |
262 | [๒๒๘] โทษในสกุลที่หุงต้มอาหารในเวลาสาย 5 ประการ (ภัตตสูตร) 36/480/12 36/474/3 |
263 | อุทิศบุญผิดเวลา เทวดาไม่ช่วย (อ.ภัตตสูตร) 36/481/14 36/475/4 |
264 | [๒๒๙] โทษของมาตุคามเหมือนงูเห่า 5 ประการ คือ ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น มีความน่ากลัวมาก มีภัยเฉพาะหน้า มักประทุษร้ายมิตร. (ปฐมสัปปสูตร) 36/482/7 36/475/18 |
265 | [๒๓๐] โทษในมาตุคาม 5 ประการ คือ เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธ มีพิษร้าย มีสองลิ้น มักประทุษร้ายมิตร (ทุติยสัปปสูตร) 36/483/13 36/477/1 |
266 | [๒๓๑] ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรยกย่อง คือ ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรยาท, ไม่ถึงพร้อมด้วยวัตร, ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงจำสุตะ, ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีในการหลีกเร้น ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม, ไม่มีวาจา ไพเราะ ไม่กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ , มีปัญญาทราม โง่เขลา (อาวาสิกสูตร) 36/485/4 36/478/4 |
267 | [๒๓๒] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ คือ เป็นผู้มีศีล, เป็นพหูสูต, มีวาจาไพเราะ, เป็นผู้ได้ตาม ความปรารถนาซึ่งฌาน 4 , ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ (ปิยสูตร) 36/486/9 36/479/10 |
268 | [๒๓๓] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมยังอาวาสให้งาม คือ เป็นผู้มีศีล , เป็นพหูสูต , มีวาจาไพเราะ , สามารถให้ผู้เข้าไปหาเห็นแจ้ง ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา , ได้ตามความปรารถนา ซึ่งฌาน 4 . (โสภณสูตร) 36/487/11 36/480/12 |
269 | [๒๓๔] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมาก แก่อาวาส คือ เป็นผู้มีศีล, เป็นพหูสูต, ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่หักพัง, เมื่อภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่มาก็เข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ , เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ซึ่ง ฌาน 4 (พหุปการสูตร) 36/488/8 36/481/10 |
270 | [๒๓๕] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือ ยังคฤหัสถ์ให้สมาทานในอธิศีล , ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ , เข้าไปหาคฤหัสถ์ ผู้ป่วยแล้ว ให้ตั้งสติตรงต่อพระรัตนตรัย เมื่อมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาก็เข้าไปบอก พวกคฤหัสถ์ , ฉันอาหารที่คฤหัสถ์ถวายไม่ว่าจะเลวหรือ ประณีตด้วยตนเอง , ไม่ยังศรัทธาไทยให้เสียไป. (อนุกัมปกสูตร) 36/489/9 36/482/12 |
271 | [๒๓๖] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ใน นรก คือ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อน แล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ ตำหนิผู้ ควรสรรเสริญ แสดงความเลื่อมใสในที่อันไม่ควรเลื่อมใส แสดงความไม่เลื่อมใส ในที่อันควรเลื่อมใส ยังศรัทธาไทยให้ตกไป (ยถาภตอวัณณสูตร) 36/490/10 36/483/16 |
272 | [๒๓๗] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ใน นรก คือ ไม่ใคร่ครวญไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ , ตำหนิผู้ สรรเสริญ, ตระหนี่อาวาส, ตระหนี่สกุล, ยังศรัทธาไทยให้ตกไป (ยถาภตเคธสูตร) 36/491/12 36/485/3 |
273 | [๒๓๘] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ใน นรกคือ ไม่ใคร่ครวญไม่พิจารณาก่อนแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ , ตำหนิ ผู้ควรสรรเสริญ , ตระหนี่อาวาส , ตระหนี่สกุล , ตระหนี่ลาภ (ปฐมยถาภตมัจเฉรสูตร) 36/492/15 36/486/6 |
274 | [๒๓๙] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย ธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บใน นรก คือ เป็นผู้ตระหนี่อาวาส , ตระหนี่สกุล , ตระหนี่ลาภ , ตระหนี่วรรณะ , ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป. (ทุติยยถาภตมัจเฉรสูตร) 36/493/10 36/487/3 |
275 | [๒๔๐] ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ใน นรก คือ เป็นผู้ตระหนี่อาวาส , ตระหนี่สกุล , ตระหนี่ลาภ , ตระหนี่วรรณะ , ตระหนี่ธรรม. (ตติยยถาภตมัจเฉรสูตร) 36/494/3 36/487/16 |
276 | [๒๔๑-๒๔๔] โทษในเพราะทุจริต 5 ประการ คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ , วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียนได้ , กิตติศัพท์อันชั่วย่อมฟุ้งไป , ย่อมเป็นผู้ หลงตาย , เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (สูตร ๑-๔) 36/495/4 36/489/4 |
277 | [๒๔๕-๒๔๘] โทษในเพราะทุจริต 5 ประการ คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ , วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมติเตียน, กิตติศัพท์อันชั่วฟุ้งไป, ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม, ย่อม ตั้งอยู่ในอสัทธรรม. (สูตร ๕-๘) 36/498/3 36/492/3 |
278 | [๒๔๙] โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า 5 ประการ คือ ไม่สะอาด , มีกลิ่นเหม็น , มีภัยเฉพาะหน้า, เป็นที่อยู่ของพวกอมนุษย์ร้าย, เป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก (สีวถิกาสูตร) 36/500/3 36/494/3 |
279 | [๒๕๐] โทษของการเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล 5 ประการ ทำให้เขาไม่คบหาภิกษุ อื่น ไม่ฟังธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม. (ปุคคลปสาทสูตร) 36/501/17 36/495/14 |
280 | [๒๕๑-๒๕๓] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้ นิสัยพึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้ คือ ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญา ขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ 36/504/3 36/498/3 |
281 | [๒๕๖-๒๕๗] ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุฌาน 4 ไม่ควรเพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งอริยผล คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่สกุล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่ วรรณะ ตระหนี่ธรรม. (พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค) 36/505/13 36/499/11 |
282 | [๒๕๘-๒๕๙] ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุฌาน 4 ไม่ควรเพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งอริยผล คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่สกุล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่ วรรณะ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที. (พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค) 36/506/9 36/500/5 |
283 | [๒๖๐-๒๖๒] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ฯลฯ ผู้ใช้คนวัด ผู้ใช้สามเณร แม้สมมติแล้วก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ. 36/507/6 36/501/1 |
284 | [๒๖๓-๒๖๔] ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ประกอบ ด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนไว้. 36/511/6 36/504/19 |
285 | [๒๖๗] ธรรม 5 ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ราคะ คือ อสุภสัญญา , มรณสัญญา , การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกายซึ่งมีโรคต่างๆ, ความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร , ความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง (พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค) 36/512/21 36/506/2 |
286 | [๒๗๒] คุณธรรม 6 ประการ ของภิกษุผู้เป็นนาบุญของโลก คือ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ดีใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ (ปฐมอาหุเนยยสูตร) 36/516/6 36/509/9 |
287 | [๒๗๓] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ (อภิญญา 6) ย่อมเป็นผู้ควรของ ต้อนรับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก. (ทุติยอาหุเนยยสูตร) 36/518/3 36/511/8 |
288 | [๒๗๔] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็น นาบุญของโลก คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้. (สูตร ๓-๔) 36/521/3 36/514/3 |
289 | [๒๗๖-๒๗๘] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นนาบุญของโลก ดุจ องค์แห่งม้าอาชาไนยของพระราชา คือ ย่อมอดทนต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ (สูตร ๕-๗) 36/522/12 36/515/7 |
290 | [๒๗๙] อนุตริยะ (สิ่งยอดเยี่ยม) 6 คือ การเห็นยอดเยี่ยม การฟังยอดเยี่ยม การ ได้ยอดเยี่ยม การศึกษายอดเยี่ยม การปรนนิบัติยอดเยี่ยม การระลึกยอดเยี่ยม (อนุตตริยสูตร) 36/526/7 36/519/3 |
291 | การฟังคุณกถาของพระรัตนตรัย การฟังพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ของ ผู้มีศรัทธาตั้งมั่น ชื่อว่า การฟังยอดเยี่ยม (อ.อนุตตริยสูตร) 36/527/10 36/519/20 |
292 | [๒๘๐] ที่ตั้งแห่งความระลึก 6 คือ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม ระลึก ถึงพระสงฆ์ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ระลึกถึงการบริจาคของตน ระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา (อนุสสติสูตร) 36/528/3 36/520/13 |
293 | [๒๘๑] ทรงแสดงแก่พระเจ้ามหานามะ ถึงอนุสติ 6 ของพระอริยสาวก. . (มหานามสูตร) 36/529/9 36/521/13 |
294 | [๒๘๒] ธรรมที่ควรให้ระลึกถึงกัน 6 ประการ มีการเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบ ด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นต้น (ปฐมสาราณียสูตร) 36/535/4 36/528/4 |
295 | ภิกษุผู้มีศีล ทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ ทุศีล (อ.ปฐมสาราณียสูตร) 36/539/4 36/531/26 |
296 | สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากความห่วงใยแล้ว เมื่อจะให้โดย เจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้ เป็นต้น และจะทำให้สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา 12 ปี ต่ำกว่านั้น บริบูรณ์ไม่ได้ (อ.ปฐมสาราณียสูตร) 36/539/10 36/532/6 |
297 | เรื่องพระติสสเถระผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม ถวายอาหารบิณฑบาต แก่พระมหาเถระ 50 รูป (อ.ปฐมสาราณียสูตร) 36/540/18 36/533/10 |
298 | เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ ได้ถวายบิณฑบาต แก่ ภิกษุ 12 รูป และภิกษุณี 12 รูป อยู่ถึง 7 ปี (อ.ปฐมสาราณียสูตร) 36/542/22 36/535/12 |
299 | ศีลในองค์มรรคของพระโสดาบัน ย่อมมีศีล เสมอกันกับพระโสดาบัน อื่นๆ (อ.ปฐมสาราณียสูตร) 36/545/8 36/537/15 |
300 | [๒๘๓] ธรรม 6 ประการ เป็นที่ตั้งแห่งการให้ระลึกถึง ย่อมเป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์เพื่อความพร้อมเพรียง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. (ทุติยสาราณียสูตร) 36/546/3 36/538/3 |
301 | [๒๘๔] ธาตุเป็นเครื่องสลัดออก 6 ประการ มีเมตตาเจโตวิมุตติ เป็นเครื่องสลัด ออกซึ่งพยาบาท เป็นต้น. (เมตตาสูตร) 36/548/3 36/540/8 |
302 | [๒๘๔] ถ้าภิกษุกล่าวว่า อัสมิมานะ(ความถือว่าเราว่าเขา) ของข้าพเจ้าหมดแล้ว และข้าพเจ้าย่อมไม่ตามเห็นว่านี้เป็นเรา แต่ว่าความสงสัยเคลือบแคลงยังครอบ งำจิตของข้าพเจ้าอยู่ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเขาว่า ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ ท่านอย่าตู่พระพุทธเจ้า. (เมตตาสูตร) 36/550/5 36/542/15 |
303 | [๒๘๕] พระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงการอยู่ที่เจริญ และไม่เจริญของ ภิกษุ มีการเป็นผู้ชอบการงาน เป็นต้น. (ภัททกสูตร) 36/552/14 36/545/3 |
304 | [๒๘๖] พระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงการอยู่ที่ทำให้เดือดร้อน และไม่ เดือดร้อน ของภิกษุ. (อนุตัปปิยสูตร) 36/556/3 36/548/3 |
305 | [๒๘๗] นกุลมารดาได้กล่าวเตือน นกุลบิดา ซึ่งนอนป่วยเป็นไข้หนัก ว่าไม่ให้ ห่วงใยในตน 6 ข้อ นกุลบิดาจึงหายป่วยโดยพลัน. (นกุลสูตร) 36/558/3 36/549/16 |
306 | [๒๘๘] พระพุทธองค์ แสดงโทษของการเห็นแก่หลับนอน แก่ภิกษุใหม่ 500 รูป ที่พากันนอนหลับกัดฟันอยู่ ณ ศาลาที่บำรุง จนพระอาทิตย์ขึ้น. (กุสลสูตร) 36/563/8 36/554/18 |
307 | [๒๘๙] พระพุทธองค์ทรงเห็นชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่ จึงทรงแสดง โทษของการฆ่าสัตว์ขาย แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้ประกอบอาชีพนั้นเขาย่อมเพ่งดู สัตว์ที่พึงฆ่าที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป เพราะผลข้อนั้น เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (มัจฉสูตร) 36/567/11 36/558/10 |
308 | ผู้ใดกระทำการฆ่าสัตว์ขาย แล้วกลับเจริญขึ้น ความเจริญนั้นจะไม่ยั่งยืนเพราะ เขาจะถูกอกุศลกรรมนั้นตัดรอนลง. (อ.มัจฉสูตร) 36/570/5 36/561/1 |
309 | [๒๙๐] มรณสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากมาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด (ปฐมมรณัสสติสูตร) 36/570/13 36/561/8 |
310 | [๒๙๑] มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด (ทุติยมรณัสสติสูตร) 36/575/3 36/565/3 |
311 | [๒๙๒] ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมแก่ภิกษุ 6 ประการ คือ เป็นผู้ชอบการงาน ชอบคุย ชอบหลับ ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นผู้ว่ายาก มีมิตรชั่ว (สามกสูตร) 36/579/4 36/569/4 |
312 | [๒๙๓] อปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) 6 ประการ ชนเหล่า ใด ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม เพราะธรรม 6 ประการนี้ (อปริหานิยสูตร) 36/582/3 36/571/19 |
313 | [๒๙๔] คำว่า ภัย โรค ฝี เครื่องขัดข้อง เปือกตม เป็นชื่อของกาม. (ภยสูตร) 36/583/7 36/573/3 |
314 | [๒๙๕] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วย กล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก. ธรรม 6 ประการ นั้น มีความเป็นผู้ฉลาดในการ เข้าสมาธิ เป็นต้น. (หิมวันตสูตร) 36/585/19 36/575/5 |
315 | [๒๙๖] อนุสติ 6 ประการ มีพุทธานุสติ เป็นต้น เมื่ออริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง หลุดพ้นไปจากความอยาก คำว่า ความอยากนี้ เป็นชื่อของ กามคุณ 5 (อนุสสติฏฐานสูตร) 36/587/9 36/576/21 |
316 | [๒๙๗] พระมหากัจจานะ แสดง อนุสติ 6 ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย. (กัจจานสูตร) 36/590/3 36/580/3 |
317 | [๒๙๘] สมัยที่ควรเข้าไปพบผู้เจริญภาวนาทางใจ มี 6 ประการ คือ เมื่อถูก นิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และเมื่อไม่รู้ ไม่เห็น ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ. (ปฐมสมยสูตร) 36/594/8 36/584/9 |
318 | [๒๙๙] พระมหากัจจานะได้กล่าวกับภิกษุชั้นเถระทั้งหลาย ถึงสมัยที่ควรเพื่อเข้า ไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจ 6 ประการ (ทุติยสมยสูตร) 36/599/18 36/589/9 |
319 | [๓๐๐] พระพุทธองค์ถามพระโลฬุทายี ถึงอนุสติ ท่านตอบไม่ถูก พระองค์ จึง ทรงถามพระอานนท์ พระอานนท์ตอบอนุสติ 5 ได้แก่ ฌานทั้ง 3 อาโลกสัญญา (ความสำคัญในแสงสว่าง) การพิจารณากาย พิจารณาเห็นสรีระ เหมือนถูกทิ้ง ไว้ในป่าช้า ฌานที่ 4 พระพุทธองค์เพิ่มให้อีก อนุสติหนึ่ง คือ มีสติสัมปชัญญะ (อุทายีสูตร) 36/601/3 36/599/6 |
320 | [๓๐๑] ทรงแสดงอนุตริยะ (สิ่งยอดเยี่ยม) 6 ประการ และคนบางคน ย่อมบำรุง กษัตริย์ คฤหบดี คนชั้นสูง ชั้นต่ำ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด บ้าง พระพุทธองค์ กล่าวว่า เป็นการบำรุงที่เลว. (อนุตตริยสูตร) 36/607/12 36/597/1 |
321 | [๓๐๒] ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ (เสกขสูตร) (เสขสูตร) 36/614/4 36/604/4 |
322 | ในสูตรนี้ คำว่า เพื่อความเสื่อม ได้แก่ เพื่อเสื่อมจากคุณความดีเบื้องสูง .(อ.เสกขสูตร) (เสขสูตร) 36/615/5 36/605/5 |
323 | [๓๐๓] ธรรม 6 ประการคือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร ย่อมเป็นไปเพื่อ .ความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ (ปฐมอปริหานิยสูตร) 36/616/4 36/606/3 |
324 | [๓๐๔] ธรรม 6 ประการ คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในหิริ ในโอตตัปปะ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ . (ทุติยอปริหานิยสูตร) 36/617/16 36/607/15 |
325 | [๓๐๕] พระมหาโมคคัลลานะ ขึ้นไปถามติสสพรหม ซึ่งเคยเป็นพระลูกศิษย์ของ ท่านว่า เทวดาชั้นไหน มีญาณหยั่งรู้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา (โมคคัลลานสูตร) 36/619/3 36/608/15 |
326 | [๓๐๖] ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา คือ อนิจจสัญญา อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตตสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา (วิชชาภาคิยสูตร) 36/623/3 36/612/19 |
327 | [๓๐๗] มูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการ ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ ชนหมู่มาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. (วิวาทมูลสูตร) 36/624/3 36/613/13 |
328 | เมื่อภิกษุ 2 รูป ทะเลาะกันย่อมแตกแยกกันเป็น 2 ฝ่าย ไปจนถึงเทวโลก (อ.วิวาทมูลสูตร) 36/626/9 36/615/15 |
329 | [๓๐๘] นันทมารดา ได้ถวายทาน อันประกอบด้วยองค์ 6 ประการ ในภิกษุสงฆ์ มีพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ เป็นประมุข พระพุทธองค์สรรเสริญ ว่า เป็นห้วงบุญใหญ่ นับประมาณมิได้. (ทานสูตร) 36/628/3 36/617/3 |
330 | [๓๐๘] องค์ 3 ของทายกคือ ทายกก่อนให้ทาน กำลังให้ทานอยู่ ย่อมยังจิตให้ เลื่อมใส ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ และองค์ 3 ของปฏิคาหก (ผู้รับ) คือ เป็นผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ กำจัดราคะ โทสะ โมหะ (ทานสูตร) 36/628/14 36/617/14 |
331 | [๓๐๙] พระพุทธเจ้าตรัส ความเพียร 6 มีอารัพภธาตุ (ความเพียรเป็นเหตุปรารภ) เป็นต้น เป็นการทำเพื่อตน เป็นการทำเพื่อผู้อื่น ของสัตว์ทั้งหลาย. (อัตตการีสูตร) 36/631/9 36/620/8 |
332 | [๓๑๐] นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต หรือ ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏ เพราะกรรมที่เกิดแต่โลภะ โทสะ โมหะ (นิทานสูตร) 36/634/10 36/622/20 |
333 | [๓๑๑] เมื่อพระตถาคต ปรินิพพาน แล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความ ไม่ประมาท ในปฏิสันถาร เป็นเหตุให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน. (กิมมิลสูตร) 36/635/13 36/624/4 |
334 | [๓๑๒] พระสารีบุตรเห็นกองไม้กองใหญ่ จึงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงอำนาจ ของผู้มีฤทธิ์ มีความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมใจถึงกองไม้นั้นให้ เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของงาม เป็นของไม่งามได้ เพราะกองไม้นั้นมีธาตุ เหล่านั้นอยู่ (ทารุกขันธสูตร) 36/637/3 36/625/9 |
335 | [๓๑๓] พระพุทธองค์ไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดพระองค์ ทรงพอใจที่เห็นภิกษุผู้ อยู่ป่า แม้จะนั่งโงกง่วงอยู่ และสมัยใด พระองค์เดินทางไกลผู้เดียว ไม่มีผู้ไป ข้างหน้า ข้างหลัง พระองค์ย่อมมีความสบาย จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ สะดวก (นาคิตสูตร) 36/640/20 36/628/4 |
336 | [๓๑๔] บุคคลใดไม่ทำความชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในโลกนี้กับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระพุทธองค์ เรียกบุคคลนั้นว่า ผู้ประเสริฐ. (นาคสูตร) 36/645/12 36/633/13 |
337 | [๓๑๕] " เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณ ในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือ ผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลใด " (มิคสาลาสูตร) 36/659/7 36/645/11 |
338 | [๓๑๖] ความเป็นคนจน การกู้ยืม การใช้ดอกเบี้ย การทวงหนี้ การติดตามของ เจ้าหนี้ การถูกจองจำ เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกาม. (อิณสูตร) 36/664/9 36/650/3 |
339 | [๓๑๖] คนไม่ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้พระพุทธเจ้า เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระอริยะเจ้า (อิณสูตร) 36/665/16 36/651/5 |
340 | [๓๑๗] พระมหาจุนทะ แสดงข้อควรศึกษาของภิกษุผู้เพ่งฌาน และภิกษุผู้ ประกอบธรรม คือ ให้สรรเสริญซึ่งกันและกัน เพราะทั้ง 2 พวกต่างก็เป็น อัจฉริยบุคคลหาได้ยากในโลก (มหาจุนทสูตร) 36/672/3 36/656/16 |
341 | [๓๑๘] พระพุทธองค์ทรงแสดงให้ โมฬิยสิวกปริพาชก รู้ความหมาย ที่ว่า ธรรม อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง. (ปฐมสันทิฏฐิกสูตร) 36/675/3 36/659/15 |
342 | [๓๑๙] พระพุทธองค์ทรงแสดงให้ พราหมณ์คนหนึ่ง รู้ความหมาย ที่ว่า ธรรมอัน ผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง (ทุติยสันทิฏฐิกสูตร) 36/677/3 36/661/10 |
343 | [๓๒๐] พระศาสดาทรงพอพระทัย การพยากรณ์ อรหัตผลของพระเขมะ และ พระสุมนะ โดยกล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป ส่วนว่าโมฆบุรุษบาง พวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล เขาเหล่านั้นย่อมถึง ความทุกข์ในภายหลัง (เขมสุมนสูตร) 36/679/3 36/663/9 |
344 | [๓๒๑] เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย สมบูรณ์ เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย สมบูรณ์ (อินทรียสังวรสูตร) 36/682/3 36/667/2 |
345 | [๓๒๒] พระอานนท์ แสดงแก่พระสารีบุตร ถึงธรรม 6 ประการ เป็นเหตุให้ ภิกษุ ได้ฟังธรรมแล้วไม่หลงลืมจำได้ขึ้นใจ และทราบชัดธรรมที่ยังไม่ทราบชัด (อานันทสูตร) 36/683/16 36/668/6 |
346 | [๓๒๓] ความประสงค์ของคน 6 จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สตรี โจร และสมณะ,ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมประสงค์ขันติโสรัจจะ(ความอดทน ความสงบเสงี่ยม) นิยมปัญญา มั่นใจในศีล ต้องการความไม่มีห่วงใย มีพระนิพพานเป็นที่สุด (ขัตติยาธิปปายสูตร) (ขัตติยสูตร) 36/687/3 36/671/6 |
347 | [๓๒๔] ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยึดถือประโยชน์ ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภพต่อไป. (อัปปมาทสูตร) 36/692/1 36/675/3 |
348 | [๓๒๕] พระธรรมิกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาส 7 แห่งในชาติภูมิชนบท ชอบด่า บริภาษ พระอาคันตุกะ ชาวบ้านจึงไล่หนี (ธรรมิกสูตร) 36/694/10 36/678/3 |
349 | [๓๒๕] ธรรมของเทวดารักษาต้นไม้ (ธรรมิกสูตร) 36/698/1 36/681/1 |
350 | [๓๒๕] พระพุทธองค์ แสดงธรรมของสมณะ และแสดงศาสดาทั้ง 6 ผู้เป็นเจ้า ลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม มีศาสดาสุเนตตะ เป็นต้น ซึ่งได้แสดง ธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความไปเกิดในพรหมโลก. (ธรรมิกสูตร) 36/698/19 36/681/24 |
351 | [๓๒๖] พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเปรียบด้วย สายพิณ 3 ระดับ แก่พระโสณะ ผู้ทำความเพียร มากเกินไป พระเถระเป็นผู้ชำนาญ การดีดพิณอยู่แล้วจึงเข้าใจ (โสณสูตร) 36/706/5 36/689/5 |
352 | [๓๒๖] ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเหตุ 6 ประการ คือ เป็นผู้ น้อมไปยังเนกขัมมะ ยังความสงัด ยังความไม่เบียดเบียน ยังความสิ้นตัณหา ยังความสิ้นอุปาทาน ยังความไม่หลง (โสณสูตร) 36/708/17 36/691/19 |
353 | [๓๒๗] พระพุทธองค์ทรงแสดง ธรรมแก่พระผัคคุณะ ซึ่งป่วยใกล้ตาย เพราะฟัง ธรรมนั้นท่านพระผัคคุณะ จึงละสังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 ตายด้วยผิวพรรณผ่องใส (ผัคคุณสูตร) 36/718/3 36/701/3 |
354 | [๓๒๗] อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่ง ธรรมโดยกาลอันควร 6 ประการ (ผัคคุณสูตร) 36/720/4 36/703/3 |
355 | [๓๒๘] บัญญัติชาติ 6 ประการ ในพระพุทธศาสนา คือ ผู้มีชาติดำ ประพฤติ ธรรมดำ... ชาติขาว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว (ฉฬาภิชาติยสูตร) 36/723/20 36/706/19 |
356 | [๓๒๙] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนา บุญของโลก (อาสวสูตร) 36/727/8 36/710/7 |
357 | สถานที่ เป็นที่ทิ้งน้ำเสีย และครรภ์มลทิน ย่อมเป็นสถานที่ที่มีอมนุษย์ชุกชุม. (อ.อาสวสูตร) 36/735/19 36/717/19 |
358 | วิตก 6 อย่าง คือ วิตกถึงญาติ ถึงชนบท ถึงเทวดา วิตกที่เกี่ยวเนื่องด้วย ความเอ็นดูผู้อื่น วิตกที่เกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะ และคำสรรเสริญ วิตกที่เกี่ยว เนื่องด้วยความไม่ดูหมิ่น. (อ.อาสวสูตร) 36/737/20 36/719/14 |
359 | [๓๓๐] พระศาสดาทรงแนะนำให้พ่อค้า ฟืน ชื่อ ทารุกัมมิกะ ให้ทานในสงฆ์ (ทารุกัมมิกสูตร) 36/740/15 36/722/2 |
360 | [๓๓๑] พระจิตตหัตถิสาริบุตร พูดสอดขึ้นในระหว่าง ที่พระเถระทั้งหลาย กำลังสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ ต่อมาก็ได้สึกแล้วบวชถึง 7 ครั้ง แต่ในครั้งที่ 7 ได้ บรรลุอรหันต์. (จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร) 36/741/16 36/723/3 |
361 | [๓๓๒] ทรงชี้แจงความหมายที่ทรงตรัสไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ใน ปรายนสูตรว่า ผัสสะเป็นส่วนสุดที่1 เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ 2 ความดับผัสสะ เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดผัสสะ เหตุเกิดผัสสะ และความดับ ผัสสะนั้นไว้ (ปรายนสูตร) 36/752/10 36/733/1 |
362 | [๓๓๓] ทรงแสดง ญาณเครื่องกำหนดรู้ อินทรีย์ของบุรุษ 6 จำพวก (อุทกสูตร) 36/758/12 36/738/14 |
363 | [๓๓๔] " ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วย สามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่าธีรชน ทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ใน อารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น." (นิพเพธิกสูตร) 36/767/18 36/746/26 |
364 | [๓๓๔] อาสวะ 3 ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ (นิพเพธิกสูตร) 36/770/12 36/749/12 |
365 | [๓๓๔] พระพุทธองค์ กล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ. และวิบากแห่งกรรม มี 3 ประการคือ กรรมที่ให้ผลใน ปัจจุบัน ให้ผลในภพที่เกิด ให้ผลในภพต่อๆ ไป (นิพเพธิกสูตร) 36/771/6 36/750/4 |
366 | [๓๓๕] กำลังของพระตถาคต 6 ประการ (พลสูตร) 36/776/3 36/754/19 |
367 | [๓๓๖] ภิกษุยังละธรรม 6 ประการ ไม่ได้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผล คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีสติเลอะเลือน มีปัญญาทราม (อนาคามิสูตร) 36/783/4 36/761/4 |
368 | [๓๓๗] ภิกษุยังละธรรม 6 ประการ ไม่ได้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง อรหัต คือ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความไม่มีศรัทธา ความประมาท (อรหัตตสูตร) 36/784/10 36/762/10 |
369 | [๓๓๘] ภิกษุผู้มีมิตรลามก จะบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ไม่ได้
ไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จะละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (มิตตสูตร) 36/785/7 36/763/7 |
370 | [๓๓๙] ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก ข้อนี้ไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิตแห่งจิต ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (ฐานสูตร) 36/786/13 36/764/12 |
371 | [๓๔๐] ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้ เคารพ ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้มี มิตรดี. (เทวตาสูตร) 36/788/8 36/766/6 |
372 | [๓๔๑] ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ (สติสูตร) 36/790/19 36/768/16 |
373 | [๓๔๒] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อเป็นพยานใน คุณวิเศษนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ (สักขิสูตร) 36/793/3 36/771/3 |
374 | [๓๔๓] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุพลภาพ ในสมาธิ คือ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้า การตั้งอยู่ การออกแห่งสมาธิ ไม่กระทำ ความเอื้อเฟื้อ ไม่กระทำติดต่อ ไม่กระทำความสบาย (พลสูตร) 36/794/13 36/772/13 |
375 | [๓๔๔] ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา (ปฐมฌานสูตร) 36/796/3 36/773/15 |
376 | [๓๔๕] ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา (ทุติยฌานสูตร) 36/797/3 36/775/3 |
377 | [๓๔๖] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เมื่อตายไป พึงหวังได้ทุคติ (ทุกขสูตร) 36/799/4 36/777/4 |
378 | [๓๔๗] ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ ย่อมไม่ควรบรรลุอรหันต์ คือ ความถือตัว ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ความเย่อหยิ่ง ความเข้าใจผิด ความหัวดื้อ ความ ดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว. (อรหัตตสูตร) 36/800/12 36/778/11 |
379 | [๓๔๘] ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ คือ มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในอาหาร โกหก พูดเลียบเคียง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะ ชั้นวิเศษ. (อุตตริมนุสสธรรมสูตร) 36/802/3 36/779/17 |
380 | [๓๔๙] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ เป็นผู้ยินดีธรรม ยินดีภาวนา ยินดีการละ ยินดีปริเวก ยินดีความไม่พยาบาท ยินดีธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ย่อมเป็น ผู้มากด้วยสุข และโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน. (สุขสูตร) 36/803/11 36/781/6 |
381 | [๓๕๐] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ ไม่ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญไม่ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม ไม่ฉลาดในอุบาย ไม่ยังฉันทะให้เกิดขึ้นเพื่อ บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ ไม่รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่ยังฉันทะให้ถึงพร้อมเพื่อกระทำติดต่อ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรม. (อธิคมสูตร) 36/804/14 36/782/16 |
382 | [๓๕๑] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมบรรลุความเป็นใหญ่ในธรรม ต่อกาลไม่นานนัก มีความเป็นผู้มากด้วยความสว่างแห่งญาณ เป็นต้น (มหัตตสูตร) 36/806/3 36/784/3 |
383 | [๓๕๒] ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำ มาเก็บไว้ (ปฐมนิรยสูตร) 36/807/3 36/785/3 |
384 | [๓๕๓] ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ กล่าวเท็จ ส่อเสียด กล่าวคำหยาบ คำเพ้อเจ้อ เป็นผู้โลภ เป็นผู้คะนอง ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาเก็บไว้. (ทุติยนิรยสูตร) 36/808/3 36/786/3 |
385 | [๓๕๔] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน ปัญญาทราม มีความห่วงใยในร่างกายและชีวิต ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต อันเป็นธรรมชั้นเลิศ. (อัคคธรรมสูตร) 36/809/3 36/787/3 |
386 | [๓๕๕] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ มีความปรารถนาลามก ไม่สันโดษ ในปัจจัย 4, เป็นผู้ไม่มีศรัทธา, ทุศีล, เกียจคร้าน, มีสติเลอะเลือน, ปัญญาทราม พึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมอย่างเดียว (รัตติสูตร) 36/810/3 36/788/3 |
387 | [๓๕๖] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ ไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ไม่ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ไม่วาง เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว เป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง (สีติสูตร) 36/812/4 36/790/3 |
388 | ธรรมดาจิตควรข่มไว้ด้วยสมาธิ ในเวลาที่ฟุ้งซ่าน. ควรข่มด้วยความเพียร เมื่อเกียจคร้าน. ควรให้ร่าเริงด้วยสมาธิ ในเวลาที่จิตขาดความแช่มชื่น. ควรเข้า ไปเพ่ง ด้วยอุเบกขาในเวลาที่จิตเป็นไปสม่ำเสมอ (อ.สีติสูตร) 36/813/5 36/791/6 |
389 | [๓๕๗] ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ เป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น มีกิเลส เป็นเครื่องกั้น มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ ปัญญาทราม แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอนในกุศลธรรม. (ภัพพสูตร) 36/813/13 36/791/13 |
390 | [๓๕๘] ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม 5 และ ผู้มี ปัญญาทรามใบ้บ้าน้ำลาย แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็ไม่ควรเข้าถึงธรรม (อาวรณตาสูตร) 36/815/3 36/793/3 |
391 | [๓๕๙] ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ เมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคต ประกาศไว้อยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี , ไม่เงี่ยโสตลงฟัง , ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง , ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ , ประกอบด้วยขันติที่ไม่สมควร แม้ฟังสัทธรรม อยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเข้าถึงธรรม. (สุสสูสาสูตร) 36/816/3 36/794/3 |
392 | [๓๖๐] บุคคลไม่ละธรรม 6 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติมรรค. (ปหาตัพพสูตร) 36/817/9 36/795/9 |
393 | [๓๖๑] ธรรม 6 ประการ อันพระโสดาบัน ละได้แล้ว คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุไปสู่อบาย (ปหีนสูตร) 36/818/7 36/796/7 |
394 | [๓๖๒] ธรรม 6 ประการ ที่พระโสดาบันไม่ทำให้เกิดขึ้น (อุปปาเทตัพพสูตร) 36/819/3 36/797/3 |
395 | [๓๖๓] ฐานะที่พระโสดาบันไม่ควรเป็นได้ 6 ประการ มีความเป็นผู้ไม่มีความ เคารพยำเกรงในพระศาสดา เป็นต้น (สัตถริสูตร) 36/819/13 36/797/13 |
396 | [๓๖๔] ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ 6 ประการ ของพระโสดาบัน คือ ไม่ควรเพื่อยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง... ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา นี้ (กัญจิสังขารสูตร) 36/820/9 36/798/9 |
397 | [๒๖๕] ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ 6 ประการ ของพระโสดาบัน คือ ไม่ควรเพื่อทำ อนันตริยกรรม 5 และไม่ควรเพื่อถือศาสดาอื่น (มาตริสูตร) 36/821/9 36/799/8 |
398 | [๓๖๖] ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ 6 ประการ ของพระโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ควร เพื่อเชื่อถือสุข ทุกข์ ที่ตนเอง กระทำแล้ว เป็นต้น (สยกตสูตร) (สยังกตสูตร) 36/822/3 36/800/3 |
399 | [๓๖๗] ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุที่หาได้ยากในโลก 6 ประการ คือ ความปรากฏ แห่งพระพุทธเจ้า... ความพอใจใน กุศลธรรม (ปาตุภาวสูตร) 36/824/4 36/802/4 |
400 | [๓๖๘] อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล 6 ประการ มีความเป็นผู้ แน่นอนในพระสัทธรรม เป็นต้น (อานิสังสสูตร) 36/825/3 36/803/9 |
401 | [๓๖๙-๓๗๑] ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง โดยความ เป็นสุข โดยความเป็นอัตตาจักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้... เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นชอบ และความแน่นอนจักกระทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (สูตร ๓-๕) 36/825/18 36/804/9 |
402 | [๓๗๒] ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วย ขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้... เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นชอบ และความแน่นอน จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เป็นต้น ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ (นิพพานสูตร) 36/827/10 36/805/17 |
403 | [๓๗๓] อานิสงส์ที่ทำให้เกิดอนิจจสัญญา 6 ประการ มีความที่สังขารทั้งปวงจัก ปรากฏเป็นของไม่มั่นคง เป็นต้น (ปฐมอโนทิสสูตร) 36/828/7 36/806/13 |
404 | [๓๗๔] อานิสงส์ที่ทำให้เกิดทุกขสัญญา 6 ประการ มีความที่นิพพานสัญญาใน สังขารทั้งปวง จักปรากฏแก่เราเหมือน เพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่ เป็นต้น. (ทุติยอโนทิสสูตร) 36/829/13 36/807/14 |
405 | [๓๗๕] อานิสงส์ที่ทำให้เกิดอนัตตสัญญา 6 ประการ มีความเป็นผู้ไม่มีตัณหา และทิฏฐิในโลกทั้งปวง เป็นต้น (ตติยอโนทิสสูตร) 36/830/14 36/808/13 |
406 | [๓๗๖] ภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้ควรละ, ควรศึกษาในไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (ภาวสูตร) (ภวสูตร) 36/831/16 36/809/16 |
407 | [๓๗๗] ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้ควรละ , มานะ 3 คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ความถือตัวว่าดีกว่าเขา นี้ควรละ (ตัณหาสูตร) 36/832/7 36/810/8 |
408 | [๓๗๘] อสุภะ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละราคะ , เมตตา อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละโทสะ , ปัญญาอันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละโมหะ (วิราคสูตร) 36/833/5 36/812/5 |
409 | [๓๗๙] กายสุจริต อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกายทุจริต , วจีสุจริต อันภิกษุพึง ให้เจริญเพื่อละวจีทุจริต , มโนสุจริต อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละมโนทุจริต. . (ทุจริตสูตร) 36/834/10 36/813/9 |
410 | [๓๘๐] เนกขัมมวิตก อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามวิตก, อัพยาบาทวิตก อันภิกษุ พึงให้เจริญ เพื่อละพยาบาทวิตก , อวิหิงสาวิตก อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ วิหิงสาวิตก. (วิตักกสูตร) 36/835/3 36/814/3 |
411 | [๓๘๑] เนกขัมมสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามสัญญา, อัพยาบาทสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละพยาบาทสัญญา , อวิหิงสาสัญญา อันภิกษุ พึงให้เจริญเพื่อละ วิหิงสาสัญญา, (สัญญาสูตร) 36/835/14 36/814/13 |
412 | [๓๘๒] เนกขัมมธาตุ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามธาตุ อัพยาบาทธาตุ อัน ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละพยาบาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ วิหิงสาวิหิงสาธาตุ (ธาตุสูตร) 36/836/6 36/815/3 |
413 | [๓๘๓] อนิจสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัสสาททิฏฐิ , อนัตตสัญญา อัน ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัตตานุทิฏฐิ, สัมมาทิฏฐิ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ มิจฉาทิฏฐิ (อัสสาทสูตร) 36/837/1 36/815/14 |
414 | [๓๘๔] มุทิตา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ อรติ (ความไม่ยินดี) อวิหังสา อันภิกษุ พึงให้เจริญเพื่อละวิหิงสา ธรรมจริยา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอธรรมจริยา. (อรติสูตร) 36/837/16 36/816/10 |
415 | [๓๘๕] ความเป็นผู้สันโดษ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ไม่สันโดษ สัมปชัญญะอันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความไม่มีสัมปชัญญะ ความเป็นผู้มี ความปรารถนาน้อย อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้มีความปรารถนา มาก (ตุฏฐิสูตร) 36/838/11 36/817/6 |
416 | [๓๘๖] ความเป็นผู้ว่าง่าย อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ว่ายาก ความ เป็นผู้มีมิตรดี อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้มีมิตรชั่ว, อานาปานสติ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความฟุ้งซ่านแห่งจิต. (ปฐมอุทธัจจสูตร) 36/839/3 36/818/3 |
417 | [๓๘๗] สมถะ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ ความฟุ้งซ่าน สังวร อันภิกษุพึงให้ เจริญเพื่อละ อสังวร ความไม่ประมาทอันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ ความ ประมาท (ทุติยอุทธัจจสูตร) 36/839/14 36/818/15 |
418 | [๓๘๘] ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ คือ เป็นผู้ชอบการงาน ชอบคุย ชอบหลับ ชอบคลุกคลีหมู่คณะ ไม่คุ้มครอง ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในอาหาร (พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค) 36/840/17 36/820/3 |
419 | [๓๙๕-๓๙๖] เหล่าอุบาสก มีตปุสสคฤหบดี เป็นต้น ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อริยศีลอริยญาณ อริยวิมุตติ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ (พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค) 36/842/22 36/822/2 |
420 | [๓๙๗-๓๙๙] ธรรม 6 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค) 36/843/19 36/823/2 |