1 | [๔๔๐] ภัย อุปัทวะ อุปสรรค ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแก่บัณฑิตไม่ (ภยสูตร) 34/1/1534/1/15 34/2/2 |
2 | ความที่จิตสะดุ้งกลัว ชื่อว่าภัย อาการที่จิตไม่เป็นสมาธิ ชื่อว่า อุปัทวะ. อาการ ที่จิตข้องอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อ อุปสรรค. (อ.ภยสูตร) 34/3/634/3/6 34/3/6 |
3 | [๔๔๑] คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บุคคลผู้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตพึงทราบว่าเป็นคนพาล (ลักขณสูตร) 34/5/1534/5/15 34/5/18 |
4 | [๔๔๒] ลักษณะ นิมิต อปทานของคนพาล มี 3 อย่าง คือ คนพาลในโลกนี้ ย่อม เป็นผู้คิดอารมณ์ชั่ว โดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติ (จินตสูตร) 34/7/734/7/7 34/7/10 |
5 | [๔๔๓] บุคคล ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล คือ ไม่เห็น ความล่วงเกินโดยเป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินแล้วไม่ทำคืนตามวิธีที่ ชอบ อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกิน ก็ไม่รับตามวิธีที่ชอบ (อัจจยสูตร) 34/9/1134/9/11 34/9/13 |
6 | [๔๔๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบได้ว่าเป็นพาล คือ ตั้งปัญหา โดยไม่แยบคาย แก้ปัญหาโดยไม่แยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วยถ้อยคำอันกลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้ว ไม่อนุโมทนา. (อโยนิโสสูตร) 34/11/334/11/3 34/11/3 |
7 | [๔๔๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบได้ว่าเป็นพาล คือ กายกรรมเป็นอกุศล ,วจีกรรมเป็นอกุศล , มโนกรรมเป็นอกุศล. (อกุสลสูตร) 34/14/634/14/6 34/14/3 |
8 | [๔๔๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบได้ว่าเป็นพาล คือ กายกรรมที่เป็นโทษ , วจีกรรมที่เป็นโทษ, มโนกรรมที่เป็นโทษ. (สาวัชชสูตร) 34/15/334/15/3 34/14/19 |
9 | [๔๔๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ พึงทราบได้ว่าเป็นพาล คือ กายกรรมที่เป็นการเบียดเบียน วจีกรรมที่เป็นการเบียดเบียน มโนกรรมที่เป็นการ เบียดเบียน (สัพยาปัชชสูตร) 34/15/1434/15/14 34/15/14 |
10 | [๔๔๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต นี้เป็นคนพาลไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันขาด (แก่นสาร) ถูกประหาร (เสียจากคุณธรรม)แล้วอยู่ เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้ประสบ สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย (ขตสูตร) 34/16/1334/16/13 34/16/12 |
11 | [๔๔๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ไม่ละมลทิน 3 ย่อมเป็นผู้อุบัติใน นรก คือเป็นผู้ทุศีลและ ไม่ละมลทิน คือความเป็นผู้ทุศีลด้วย เป็นผู้ริษยา และ ไม่ละมลทิน คือ ความริษยาด้วย เป็นผู้ตระหนี่ และไม่ละมลทิน คือความตระหนี่ด้วย (มลสูตร) 34/18/334/18/3 34/18/3 |
12 | ที่ชื่อว่า มลทิน เพราะหมายความว่า ตามเผาไหม้, มีกลิ่นเหม็น,ทำให้เศร้าหมอง (อ.มลสูตร) 34/19/634/19/6 34/19/6 |
13 | [๔๕๐] ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ คือ ชักชวนในกายกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลาย อันไม่สมควร ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อทุกข์แก่ชนมาก ทั้งเทวดาทั้งมนุษย์. (ญาตกสูตร) 34/21/434/21/4 34/21/4 |
14 | บอกกรรมฐานผิด ทำให้เสียหายแก่มนุษย์ และเทวดาจนถึง พรหมโลก (อ.ญาตกสูตร) 34/23/134/23/1 34/23/6 |
15 | พระทัตตาภยเถระ มีโรคเกิดขึ้น ให้พระน้องชาย ชื่อติสสะ ช่วยบอกกรรมฐาน และน้องชายท่านบอกให้กำหนด กวฬิงการาหาร (อาหารที่เป็นก้อนได้แก่คำข้าว) พระเถระสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก่อนที่น้องชายจะออกไปพ้นวิหาร (อ.ญาตกสูตร) 34/23/2034/23/20 34/24/2 |
16 | [๔๕๑] สถานที่ ที่ภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต คือ สถานที่ที่ออกบวช สถานที่ ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน สถานที่ที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ (สรณียสูตร) 34/25/1334/25/13 34/25/19 |
17 | [๔๕๒] บุคคล 3 จำพวก มีอยู่ในหมู่ภิกษุ คือ ผู้ไร้ความหวัง ได้แก่ผู้ทุศีล , ผู้มีส่วนแห่งความหวัง ได้แก่ ผู้มีศีล , ผู้สิ้นหวัง ได้แก่ พระอรหันต์ (ภิกขุสูตร) 34/29/2034/29/20 34/30/1 |
18 | บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า มีผิวพรรณดังตอถูกไฟไหม้ คล้ายปีศาจคลุกฝุ่น . (อ.ภิกขุสูตร) 34/32/1434/32/14 34/32/21 |
19 | [๔๕๓] พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น ทรงสักการะ เคารพนบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น อธิปไตย (จักกวัตติสูตร) 34/35/2034/35/20 34/36/16 |
20 | ที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรัก ด้วยสังคหวัตถุ 4. . (อ.จักกวัตติสูตร) 34/36/1734/36/17 34/38/4 |
21 | บุคคลเมื่อรักษาคนอื่น ชื่อว่า รักษาตน. (อ.จักกวัตติสูตร) 34/38/634/38/6 34/39/19 |
22 | พระเจ้าจักรพรรดิ ต้องจัดการอารักขาให้กับคนในปกครอง รวมถึง สมณพราหมณ์อย่างไร ? (อ.จักกวัตติสูตร) 34/38/1934/38/19 34/40/3 |
23 | พระตถาคต ชื่อว่า ธัมมาธิปเตยยะ เพราะหมายความว่า ทรงทำธรรมให้เป็น อธิบดี คือให้เป็นใหญ่อยู่ (อ.จักกวัตติสูตร) 34/40/1434/40/14 34/42/3 |
24 | [๔๕๔] พระโพธิสัตว์ เคยเกิดเป็นช่างทำรถของพระเจ้าปเจตนะ พระพุทธองค์ ทรงตรัสให้ภิกษุพึงสำเหนียก เพื่อละ ความคด โทษ ทางกาย วาจา และใจ . (ปเจตนสูตร) 34/43/134/43/1 34/44/14 |
25 | พระอริยบุคคล 3 ประเภทข้างต้น ชื่อว่าตกไปแล้วจากคุณงามความดี ในขณะ ที่กิเลสทั้งหลายฟุ้งขึ้น ส่วนพระขีณาสพ ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่แล้วโดยส่วนเดียว โดยแท้ (อ.ปเจตนสูตร) 34/45/1034/45/10 34/46/22 |
26 | [๔๕๕] ข้อปฏิบัติไม่ผิด 3 ประการ คือ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ทั้งหลาย,เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ, เป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็น แก่นอน. (อปัณณกสูตร) 34/46/334/46/3 34/47/12 |
27 | ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ถือปฏิบัติโดยการคาดคะเน จะเสื่อม จากมนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ และนิพพานสมบัติ (อ.อปัณณกสูตร) 34/48/834/48/8 34/49/8 |
28 | โยนิ เป็นชื่อ ของส่วนแห่งขันธ์บ้าง เหตุบ้าง ปัสสาวมรรคบ้าง . (อ.อปัณณกสูตร) 34/49/134/49/1 34/49/21 |
29 | ความหมายของ คำว่า อาสวะ (อ.อปัณณกสูตร) 34/49/1434/49/14 34/50/12 |
30 | เมื่อเราผู้ศึกษาอยู่ ดำเนินไปตาม ทางอันตรงในขณะสิ้นอาสวะ ญาณจะ เกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น อรหัตผลจึงจะเกิด (อ.อปัณณกสูตร) 34/52/634/52/6 34/52/21 |
31 | ความเป็นผู้แบ่งกลางคืน กลางวัน ออกเป็น 6 ส่วน แล้วประกอบเนืองๆ ซึ่ง ความเป็นผู้ตื่นใน 5 ส่วน ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน. . (อ.อปัณณกสูตร) 34/52/2234/52/22 34/53/10 |
32 | ภิกษุ เมื่อหลับจะ ชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะได้อย่างไร ? (อ.อปัณณกสูตร) 34/53/1734/53/17 34/54/5 |
33 | [๔๕๖] ธรรม 3 ประการ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมเป็นไปทั้ง เพื่อเบียดเบียนตน ทั้งเพื่อเบียดเบียนคนอื่น ทั้งเพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย (อัตตสูตร) 34/54/1834/54/18 34/55/7 |
34 | [๔๕๗] " ภิกษุทั้งหลาย นัยว่าท่านทั้งหลายระอา ละอาย รังเกียจอายุทิพย์ วัณณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการ ที่ท่านทั้งหลาย ระอา ละอาย รังเกียจ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต" . (เทวสูตร) 34/56/334/56/3 34/56/15 |
35 | [๔๕๘] พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ 3 คือ ไม่ตั้งการงานอย่างดีในตอนเช้า ไม่ตั้ง การงานอย่างดีในตอนกลางวัน ไม่ตั้งการงานอย่างดีในตอนเย็น ย่อมเป็นผู้ อภัพเพื่อจะได้โภคทรัพย์ ที่ยังไม่ได้ก็ดี เพื่อจะทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น ก็ดี (ปฐมปาปณิกสูตร) 34/57/334/57/3 34/57/15 |
36 | [๔๕๘] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 คือ ไม่ตั้งสมาธินิมิตอย่างดีในตอนเช้า ไม่ตั้ง สมาธินิมิตอย่างดีในตอนกลางวัน ไม่ตั้งสมาธินิมิตอย่างดีในตอนเย็น ย่อม เป็นผู้อภัพ เพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ดี เพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุ แล้วให้เจริญขึ้นก็ดี (ปฐมปาปณิกสูตร) 34/57/934/57/9 34/58/3 |
37 | อธิบาย พ่อค้าผู้ไม่ตั้งใจทำการงาน. (อ.ปฐมปาปณิกสูตร) 34/58/1834/58/18 34/59/14 |
38 | [๔๕๙] พ่อค้าประกอบด้วยองค์ 3 คือ เป็นผู้มีดวงตา ฉลาด ถึงพร้อมด้วยที่พึ่ง อาศัย ย่อมถึงความใหญ่ความไพบูลย์ ในโภคทรัพย์ไม่นานเลย (ทุติยปาปณิกสูตร) 34/61/334/61/3 34/61/16 |
39 | [๔๕๙] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 คือ เป็นผู้มีดวงตา มีความเพียร ถึงพร้อมด้วย ที่พึ่งอาศัย ย่อมถึงความใหญ่ ความไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย . (ทุติยปาปณิกสูตร) 34/61/2034/61/20 34/62/14 |
40 | [๔๖๐] ไม่ง่ายเลย ที่จะพยากรณ์บุคคล 3 คือ ผู้กายสักขิ ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตตะ ว่าใครประณีตกว่ากัน เพราะทั้ง 3 สามารถบรรลุ อรหัตผลได้ (สวิฏฐสูตร) 34/68/134/68/1 34/69/2 |
41 | พระอริยบุคคล ชื่อว่า กายสักขี เพราะสัมผัสฌานผัสสะมาก่อน ภายหลังจึง กระทำให้แจ้ง ซึ่งนิโรธ คือ พระนิพพาน (อ.สวิฏฐสูตร) 34/69/434/69/4 34/70/4 |
42 | พระสวิฏฐเถระ ในขณะแห่งอรหัตมรรค ได้มีสัทธินทรีย์เป็นธุระ อินทรีย์ที่ เหลือ เป็นบริวาร ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวถึงมรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว . (อ.สวิฏฐสูตร) 34/69/1034/69/10 34/70/12 |
43 | [๔๖๑] คนไข้ 3 ประเภท มีคนไข้ในโลกนี้ แม้จะได้อาหาร ยา คนพยาบาลที่ สมควรหรือไม่ได้ ก็ตาม ก็คงไม่หายจากอาพาธนั้น เป็นต้น. (คิลานสูตร) 34/70/1234/70/12 34/71/11 |
44 | [๔๖๑] พระพุทธเจ้า อาศัยคนไข้ประเภทที่ได้ อาหาร ยา คนพยาบาลที่สมควร จึงหาย ไม่ได้อย่างนั้นจะไม่หายจากอาพาธ จึงทรงอนุญาต อาหารคนไข้ ยาแก้ไข้ ผู้พยาบาลคนไข้ (คิลานสูตร) 34/71/434/71/4 34/72/3 |
45 | [๔๖๑] บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ 3 ประเภท มีอยู่ในโลก คือ บุคคลบางคนใน โลกนี้ จะได้เห็นตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ แล้ว หรือไม่ได้ฟังก็ตาม ก็คงไม่เข้าทาง คือ ความถูกทำนองในกุศลธรรมทั้ง หลาย... (คิลานสูตร) 34/71/1134/71/11 34/72/12 |
46 | [๔๖๑] พระพุทธเจ้าอาศัยบุคคลประเภทที่ได้เห็นพระตถาคต ได้ฟังธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงเข้าทาง ถ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง ย่อมไม่เข้าทาง จึงอำนวยการแสดงธรรม และแสดงธรรมแก่บุคคลประเภทอื่นด้วย (คิลานสูตร) 34/71/2134/71/21 34/73/2 |
47 | เมื่อภิกษุไข้ นั้นไม่สามารถจะพยาบาลตามธรรมดาของตนได้ ภิกษุสงฆ์ต้อง มอบหมายภิกษุรูปหนึ่ง และสามเณรรูปหนึ่ง ให้ปฏิบัติภิกษุไข้นั้น ภิกษุไข้และ ผู้ปฏิบัติทั้งสองนั้น มีความต้องการสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นภาระของภิกษุสงฆ์ ทั้งนั้น (อ.คิลานสูตร) 34/72/1934/72/19 34/74/7 |
48 | [๔๖๒] บุคคล 3 จำพวก มีอยู่ในโลก คือ บุคคลบางจำพวก ปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารอันประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมเข้าถึงโลกอันประกอบด้วยความเบียดเบียน... (สังขารสูตร) 34/75/334/75/3 34/76/3 |
49 | วิบากของฌานที่ไม่มีปีติ มีแต่สุขอย่างเดียวจะเป็นไป ในพรหมชั้นสุภกิณหะ . (อ.สังขารสูตร) 34/77/1434/77/14 34/79/1 |
50 | เทวดาชั้นกามาวจร ก็มีสุขมีทุกข์ ตามกาลเวลา (อ.สังขารสูตร) 34/77/2134/77/21 34/79/10 |
51 | [๔๖๓] อาจารย์ 3 จำพวกนี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ศิษย์ คือ ผู้ให้สรณะ ผู้ให้ถึง โสดาปัตติมรรค ผู้ให้ถึงอรหัตมรรค บุคคลอื่นจะมีอุปการะมากแก่ ศิษย์ ยิ่งกว่า อาจารย์ 3 จำพวกนี้ไม่มี (พหุการสูตร) 34/78/1034/78/10 34/80/3 |
52 | ผู้ไม่ได้ทำบุญญาธิการไว้ ย่อมเหมาะในการถึงสรณคมน์เท่านั้น. (อ.พหุการสูตร) 34/80/934/80/9 34/81/21 |
53 | [๔๖๔] ผู้มีจิตเหมือนแผล ได้แก่ เป็นคนขี้โกรธ ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง . (วชิรสูตร) 34/81/634/81/6 34/83/6 |
54 | [๔๖๔] ผู้มีจิตเหมือนสายฟ้า ได้แก่ ผู้รู้ตามเป็นจริงในอริยสัจ หมายเอาโสดาปัตตมรรค. (วชิรสูตร) 34/81/1334/81/13 34/83/15 |
55 | [๔๖๔] ผู้มีจิตเหมือนเพชร ได้แก่ พระอรหันต์ (วชิรสูตร) 34/81/1934/81/19 34/83/23 |
56 | [๔๖๕] ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ ผู้ด้อยกว่า โดยศีล สมาธิ ปัญญา เว้นแต่เอ็นดู เว้นแต่อนุเคราะห์ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ บุคคลผู้ เป็นเช่นเดียวกัน โดย ศีล สมาธิ ปัญญา (เสวิตัพพสูตร) 34/84/1534/84/15 34/86/14 |
57 | [๔๖๕] ควรสักการะ เคารพก่อนแล้วจึงเข้าใกล้ผู้ที่ยิ่งกว่าโดย ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อความฉลาด และความเจริญของตน (เสวิตัพพสูตร) 34/85/534/85/5 34/87/13 |
58 | [๔๖๕] " คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม ส่วนคนผู้คบคนเสมอกันไม่เสื่อมในกาล ไหนๆ ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่ง กว่าตน" (เสวิตัพพสูตร) 34/85/1534/85/15 34/88/1 |
59 | [๔๖๖] เปรียบผู้ทุศีลมีธรรมลามก ดุจงูเปื้อนขี้ ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ (ชิคุจฉิตัพพสูตร) 34/87/1834/87/18 34/90/8 |
60 | [๔๖๖] เปรียบคนขี้โกรธ ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง เหมือนหลุมขี้ถูกรันด้วยไม้ ยิ่งเหม็นขึ้น ฉะนั้น จึงควรเฉยๆ เสีย (ชิคุจฉิตัพพสูตร) 34/88/1034/88/10 34/90/22 |
61 | [๔๖๗] บุคคล 3 จำพวก มีอยู่ในโลก คือ คนพูดเหม็น คนพูดหอม คนพูดหวาน (คนพูดเท็จทั้งรู้ เรียกว่า คนพูดเหม็น.) (คูถภาณีสูตร) 34/91/934/91/9 34/94/3 |
62 | [๔๖๘] ทรงเปรียบบุคคล 3 จำพวก คือ คนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา. ควรหลีกคนตาบอด และคนตาเดียวเสียให้ไกล ควรคบแต่คนสองตา ซึ่งเป็น บุคคลประเสริฐ (อันธสูตร) 34/94/934/94/9 34/97/5 |
63 | [๔๖๙] ผู้มีปัญญา 3 จำพวกคือ ปัญญาดังหม้อคว่ำ ปัญญาดังหน้าตัก ปัญญามาก (อวกุชชิตสูตร) 34/98/334/98/3 34/101/3 |
64 | [๔๗๐] มารดาบิดาเป็น พรหม เป็นบุรพาจารย์ของบุตร ผู้บำรุงท่านทั้งสอง เมื่อตายย่อมไปสวรรค์ (พรหมสูตร) 34/105/434/105/4 34/108/4 |
65 | [๔๗๑] " ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ ของผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณาเห็นอารมณ์ อันยิ่ง และหย่อนในโลกเรากล่าวว่า ผู้นั้นซึ่งเป็นคนสงบไม่มีโทษดุจควัน ไม่มี ทุกข์ใจไม่มีความหวัง ข้ามชาติและชราได้ ดังนี้. (อานันทสูตร) 34/110/534/110/5 34/114/4 |
66 | [๔๗๒] พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่า " เราพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารบ้าง แต่ผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก" . (สารีปุตตสูตร) 34/113/634/113/6 34/117/6 |
67 | วิโมกข์ (ความหลุดพ้นจากกิเลส) ที่เกิดขึ้นแก่พระอรหัตผล ชื่อว่า อัญญาวิโมกข์ . (อ.สารีปุตตสูตร) 34/117/134/117/1 34/120/18 |
68 | [๔๗๓] โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม. . (นิทานสูตร) 34/118/334/118/3 34/121/3 |
69 | [๔๗๓] กรรมที่บุคคลทำเพราะ โลภะ โทสะ โมหะ บุคคลนั้นย่อมได้เสวยผล ของกรรมนั้น ในอัตภาพปัจจุบันบ้าง อัตภาพหน้าบ้าง อัตภาพต่อๆ ไปบ้าง. . (นิทานสูตร) 34/118/634/118/6 34/121/6 |
70 | พระพุทธเจ้า ทรงจำแนกกรรมไว้ 11 อย่าง (อ.นิทานสูตร) 34/121/1734/121/17 34/125/17 |
71 | กรรมที่อำนวยผลในอัตภาพต่อไปในฝ่ายที่เป็นกุศลพึงทราบด้วยสามารถ แห่งสมาบัติ 8 ในฝ่ายอกุศลพึงทราบด้วยสามารถแห่งอนันตริยกรรม 5 สมาบัติที่เหลือ และกรรมที่เหลือจะถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก . (อ.นิทานสูตร) 34/122/2134/122/21 34/126/19 |
72 | กรรมที่ให้ผลในอัตภาพต่อๆ ไป กรรมนั้นจะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม ย่อมไม่มี ได้โอกาสในที่ใด ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที (อ.นิทานสูตร) 34/123/1034/123/10 34/127/7 |
73 | เมื่อครุกรรม (กรรมหนัก) นั้นมีอยู่ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือจะไม่ สามารถให้ผลได้ เสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวด หรือก้อนเหล็ก แม้ขนาดเล็ก ก็ย่อมจมน้ำเท่านั้น. (อ.นิทานสูตร) 34/124/134/124/1 34/127/17 |
74 | กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้น หรือมีกำลังโดยอำนาจทำให้เดือดร้อนมาก กรรมนั้นจะให้ผลเสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ 2 คนขึ้นเวที คนใดมีกำลัง มากคนนั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้มไป (อ.นิทานสูตร) 34/124/834/124/8 34/128/5 |
75 | เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย (อ.นิทานสูตร) 34/124/1834/124/18 34/128/16 |
76 | กรรมใดระลึกถึงเวลาใกล้ตาย กรรมนั้นจะให้ผลก่อน (อ.นิทานสูตร) 34/127/1234/127/12 34/131/5 |
77 | นายประตูผู้ตกปลาเลี้ยงชีพอยู่ 50 ปี ก่อนตายได้รับศีล เมื่อรับศีลยังไม่ทันจบ ก็สิ้นใจ ไปเกิดที่ชั้นจาตุมหาราชิกา (อ.นิทานสูตร) 34/127/2034/127/20 34/131/14 |
78 | หมิ่นธรรม ได้เกิดเป็นจระเข้ (อ.นิทานสูตร) 34/129/234/129/2 34/132/18 |
79 | ชนกกรรม เป็นกรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิอย่างเดียว เหมือนมารดา ส่วนกรรมที่มา ประจวบเข้าในปวัตติกาล (เวลาที่สืบต่อ) เหมือนพี่เลี้ยงนางนม. (อ.นิทานสูตร) 34/129/1534/129/15 34/133/8 |
80 | อุปัตถัมภกกรรม ไม่สามารถให้เกิดวิบากได้ แต่จะสนับสนุน สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้น ในเพราะวิบากที่ให้เกิดปฏิสนธิ ที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว ย่อมเป็นไปตลอดกาลนาน (อ.นิทานสูตร) 34/130/234/130/2 34/133/14 |
81 | กรรมที่เบียดเบียน บีบคั้นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบากที่ให้เกิด ปฏิสนธิ ที่ กรรมอื่นให้ผลแล้วจะไม่ให้ สุขหรือทุกข์นั้น เป็นไปตลอดกาลนาน ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม. (อ.นิทานสูตร) 34/130/1434/130/14 34/134/7 |
82 | เรื่อง เพชฌฆาต ชื่อตาวกาฬกะ ผู้ฆ่าโจรมา 50 ปี ได้ถวายอาหารแก่พระสารีบุตร ขณะตามส่งพระเถระเขาถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดตาย ไปเกิดในดาวดึงส์พิภพ. . (อ.นิทานสูตร) 34/131/734/131/7 34/134/22 |
83 | กรรมที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง มีอยู่เอง จะตัดรอนกรรมอื่น ที่มีกำลัง เพลากว่า ห้ามวิบากของกรรมนั้นไว้ แล้วทำโอกาสแก่วิบากของตน ชื่อว่า กรรมตัดรอน. (อ.นิทานสูตร) 34/132/1434/132/14 34/136/4 |
84 | อธิบายกรรม 16 อย่าง ตามแนวพระอภิธรรม (อ.นิทานสูตร) 34/133/434/133/4 34/136/18 |
85 | อธิบายกรรม 12 อย่าง ตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค. (อ.นิทานสูตร) 34/136/2034/136/20 34/140/5 |
86 | กรรมที่คนหนึ่งทำไว้ จะให้ผลในอัตภาพของอีกคนหนึ่งไม่ได้ (อ.นิทานสูตร) 34/141/234/141/2 34/144/3 |
87 | [๔๗๔] เจ้าชายหัตถกอาฬวก เห็นพระพุทธเจ้า ประทับนั่งบนเครื่องลาดใบไม้ ในฤดูหนาว คราวหิมะตก จึงตรัสถามว่า พระพุทธองค์บรรทมเป็นสุขอยู่ หรือ พระพุทธองค์ตอบว่า เพราะละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว จึงนอนเป็นสุข . (หัตถกสูตร) 34/142/334/142/3 34/145/3 |
88 | [๔๗๕] พญายม ถามถึง เทวทูต 3 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ต่อสัตว์นรก. . (ทูตสูตร) 34/148/334/148/3 34/151/7 |
89 | [๔๗๕] พวกนายนิรยบาล ทำกรรมกรณ์ ชื่อ เครื่องจองจำ 5 อย่าง แก่สัตว์นรก และจับโยนลงไปมหานรก สัตว์นั้นไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้น. . (ทูตสูตร) 34/150/1634/150/16 34/153/24 |
90 | [๔๗๕] ความปรารถนาของพญายม ขอให้ได้พบ และฟังธรรมพระพุทธเจ้า และพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นเถิด. (ทูตสูตร) 34/151/1534/151/15 34/154/19 |
91 | [๔๗๕] " คนเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นย่อมเข้า ถึงกายอันเลว โศกเศร้า สิ้นกาลนาน" (ทูตสูตร) 34/152/434/152/4 34/155/3 |
92 | พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. (อ.ทูตสูตร) 34/153/1734/153/17 34/156/11 |
93 | นายนิรยบาล มีจริง หรือไม่ ? (อ.ทูตสูตร) 34/154/1134/154/11 34/157/5 |
94 | พญายม คือ พญาเวมานิกเปรต มีอยู่ถึง 4 พระองค์ ที่ประตูทั้ง 4. . (อ.ทูตสูตร) 34/154/1934/154/19 34/157/12 |
95 | เทวทูตที่ 1- เทวทูตที่ 3 (อ.ทูตสูตร) 34/156/1134/156/11 34/159/8 |
96 | ผู้ทำกรรมหนักจะไปนรกทันที ผู้ทำกรรมเล็กน้อย พญายมจะถามเทวทูต 3 . (อ.ทูตสูตร) 34/158/1534/158/15 34/161/11 |
97 | ตัวอย่าง ผู้ระลึกถึงบุญได้ แม้เกิดใกล้อุสสุทนรกก็เปลี่ยนไปสู่เทวโลก (อ.ทูตสูตร) 34/159/134/159/1 34/161/22 |
98 | ฝากบุญยมราชไว้ก่อน (อ.ทูตสูตร) 34/159/1834/159/18 34/162/16 |
99 | การลงโทษในนรก (อ.ทูตสูตร) 34/160/434/160/4 34/163/2 |
100 | [๔๗๖] ท้าวโลกบาลตรวจโลก ในวัน 8 ค่ำ พวกอำมาตย์ ของมหาราชทั้ง 4 มาตรวจ วัน 14 ค่ำบุตรของมหาราชทั้ง 4 มาตรวจ วัน15 ค่ำ ท้าวมหาราชทั้ง 4 มาตรวจเอง (ปฐมราชสูตร) 34/162/334/162/3 34/165/3 |
101 | สายงานการปกครองสวรรค์ (อ.ปฐมราชสูตร) 34/163/434/163/4 34/166/9 |
102 | อธิบาย ปฏิชาครอุโบสถ. (อ.ปฐมราชสูตร) 34/163/1634/163/16 34/167/5 |
103 | อุโบสถที่รักษา ติดต่อกันตลอด 3 เดือน ภายในพรรษา หรือตลอดเดือนหนึ่ง หรือครึ่งเดือน ก็ชื่อว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ. (อ.ปฐมราชสูตร) 34/166/1134/166/11 34/169/16 |
104 | ท้าวสักกะทราบคุณของอุโบสถ จึงละสมบัติในเทวโลกไปเข้าจำอุโบสถ เดือน ละ 8 วัน (อ.ปฐมราชสูตร) 34/166/1734/166/17 34/170/2 |
105 | [๔๗๗] ท้าวสักกะ กล่าวคาถาบทหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เป็นสุภาษิต เพราะผู้กล่าวยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ ผู้ควรกล่าวคาถานั้น โดยชอบควร เป็นพระอรหันต์ (ทุติยราชสูตร) 34/168/334/168/3 34/171/7 |
106 | [๔๗๘] พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า พระองค์เป็นสุขุมาล สุขุมาลยิ่ง สุขุมาลโดยส่วนเดียว และทรงแสดงสมบัติของพระองค์ตอนเป็นหนุ่ม . (สุขุมาลสูตร) 34/169/17 34/169/17 34/173/3 |
107 | [๔๗๘] ความเมา 3 คือ ความเมาในความหนุ่ม ความเมาในความไม่มีโรค ความเมาในชีวิต (สุขุมาลสูตร) 34/171/1234/171/12 34/174/14 |
108 | วิสสุกรรมเทพบุตร สร้างสระโบกขรณี ให้พระโพธิสัตว์. (อ.สุขุมาลสูตร) 34/173/1434/173/14 34/176/16 |
109 | ปราสาท 3 ฤดู ของพระโพธิสัตว์ (อ.สุขุมาลสูตร) 34/176/134/176/1 34/178/23 |
110 | พระโพธิสัตว์ แสดงศิลปะ มีการยิงธนู เป็นต้น (อ.สุขุมาลสูตร) 34/178/134/178/1 34/181/1 |
111 | การบอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อภาวะที่เลว คือ เพื่อเป็นคฤหัสถ์อันเป็นภาวะที่ต่ำ . (อ.สุขุมาลสูตร) 34/183/634/183/6 34/186/6 |
112 | [๔๗๙] อธิปไตย (ความเป็นใหญ่) 3 คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย . (อธิปไตยสูตร) 34/184/1434/184/14 34/187/16 |
113 | [๔๗๙] ภิกษุทำตนให้เป็นใหญ่ในการทำกุศล ละธรรมที่มีโทษ บริหารตนให้ หมดจด มีความเพียร นี้เรียกว่า อัตตาธิปไตย (อธิปไตยสูตร) 34/184/1634/184/16 34/187/18 |
114 | [๔๗๙] ภิกษุอาศัยโลกเป็นใหญ่ด้วยคิดว่า ผู้อื่นที่รู้เห็นจิตมีอยู่ อย่าทำความ ชั่ว ให้มีความเพียร นี้เรียกว่า โลกาธิปไตย (อธิปไตยสูตร) 34/185/1134/185/11 34/188/12 |
115 | [๔๗๙] ภิกษุพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว มาบวชในธรรมนี้ไม่ควรมัวประมาท ประมาทอยู่ นี้เรียกว่า ธรรมาธิปไตย. (อธิปไตยสูตร) 34/186/934/186/9 34/189/13 |
116 | [๔๗๙] " ชื่อว่าความลับ ย่อมไม่มีในโลกสำหรับผู้ทำการบาป แน่ะบุรุษ ตัวของ ท่านย่อมรู้ว่าจริงหรือเปล่า ผู้เจริญท่านดูหมิ่นตัวเอง ซึ่งเป็นพยานอย่างดีเสีย แล้วเมื่อบาปมีอยู่ในตัว ไฉนท่านจะปิดซ่อนมัน (ไม่ให้ตัวเองรู้) ได้" (อธิปไตยสูตร) 34/187/234/187/2 34/190/6 |
117 | [๔๗๙] " เทวดาทั้งหลาย และตถาคตทั้งหลาย ย่อมเห็นคนเขลาที่ประพฤติไม่ สมควรอยู่ในโลก เพราะเหตุนั้นแหละ บุคคลควรประพฤติเป็นผู้มีตนเป็นใหญ่ ควรมีสติ เป็นผู้มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญารักษาตน มีความพินิจ เป็นผู้มี ธรรมเป็นใหญ่ ควรประพฤติตามธรรม" (อธิปไตยสูตร) 34/187/834/187/8 34/190/10 |
118 | [๔๘๐] เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ 3 คือ ศรัทธา ไทยธรรม และทักษิไณย กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก (สัมมุขีสูตร) 34/191/434/191/4 34/195/4 |
119 | ธรรม 2 อย่าง คือ ไทยธรรม ทักขิไณยบุคคล หาได้ง่าย แต่ศรัทธาหาได้ยาก เพราะปุถุชนมีศรัทธาไม่มั่นคง (อ.สัมมุขีสูตร) 34/192/234/192/2 34/196/12 |
120 | [๔๘๑] ลักษณะผู้มีศรัทธาเลื่อมใส 3 ประการ คือ เป็นผู้ใคร่เห็นผู้มีศีล เป็นผู้ ใคร่เพื่อจะฟังธรรม ยินดีในการสละ (ฐานสูตร) 34/192/1134/192/11 34/197/3 |
121 | [๔๘๑] " ผู้ใดใคร่ในการเห็นผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิน คือ ความตระหนี่เสียได้ ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีศรัทธา" (ฐานสูตร) 34/192/1734/192/17 34/197/9 |
122 | พราหมณ์ 2 คน จากนครปาฏลีบุตร เดินทางไปลังกา หาพระมหานาคเถระ คนหนึ่งตายในระหว่างทาง คนหนึ่งได้บวชในสำนักของพระเถระ ได้บรรลุ อรหัตผลโดย 2-3 วัน เท่านั้น. (อ.ฐานสูตร) 34/193/1634/193/16 34/198/12 |
123 | พระอรหันต์ 2 องค์ ปรินิพพานในกูฏาคารเดียวกัน กูฏาคารลอยไปในอากาศ เป็นระยะทาง 5 โยชน์ พระเจ้าสัทธาติสสมหาราช ทรงบูชาและให้ทำสรีระกิจ รับเอาพระธาตุไปสร้างเจดีย์ พระองค์จะได้เป็นอัครสาวกที่ 2 ของพระศรีอาริยเมตไตรย (อ.ฐานสูตร) 34/194/1234/194/12 34/199/6 |
124 | พระปิณฑปาติกเถระ นั่งฟังธรรมอยู่ ถูกงูกัด ก็ยังฟังต่อจนอรุณขึ้น จบเทศนา ท่านได้บรรลุผลทั้งสาม พิษงูไหลออกจากปากแผลลงดินไป (อ.ฐานสูตร) 34/196/1234/196/12 34/201/3 |
125 | ภิกษุหนุ่มเดินทางไปฟังธรรมสิ้นระยะทาง 1 โยชน์ ท่านฟังไม่รู้เรื่อง เพราะ ร่างกายกระวนกระวายจากการเดินทาง พระเถระจึงเทศน์ให้ฟังอีกในวันรุ่งขึ้นภิกษุนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล. (อ.ฐานสูตร) 34/197/734/197/7 34/201/21 |
126 | หญิงชาวเมืองอุลลังคโกลิกัณณิ อุ้มลูกไปฟังธรรมสิ้นระยะทาง 5 โยชน์ นาง ให้ลูกนอนบนดิน ตัวเองยืนฟังอริยวังสปฏิปทา จนอรุณขึ้น นางได้บรรลุโสดาปัตติผล (อ.ฐานสูตร) 34/197/2134/197/21 34/202/14 |
127 | หญิงคนหนึ่งอุ้มลูกไปฟังธรรมที่จิตตลบรรพต ให้ลูกนอนพิงต้นไม้ตัวเองยืน ฟังธรรมอยู่ งูตัวหนึ่งได้กัดลูกของนาง แต่นางยืนฟังธรรมต่อ จนได้บรรลุโสดาปัตติผลเมื่ออรุณขึ้น แล้วทำสัจกิริยาทำลายพิษงู (อ.ฐานสูตร) 34/198/1434/198/14 34/203/6 |
128 | [๔๘๒] เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ 3 ประการ ก็ควรที่จะแสดงธรรม แก่คนอื่น คือ ผู้แสดงธรรม ผู้ฟังธรรม ทั้งผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรม ย่อมได้รสอรรถได้ รสธรรม (ปัจจยวัตตสูตร) 34/199/334/199/3 34/204/3 |
129 | [๔๘๓] ธรรมกถา ย่อมเป็นไปได้ด้วยสถานะ 3 คือ ผู้ใดแสดงธรรม ผู้ใดฟังธรรม ทั้งผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรม ย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถได้รสธรรม (ปเรสสูตร) 34/200/334/200/3 34/205/3 |
130 | [๔๘๔] บัณฑิตได้บัญญัติธรรม 3 ประการ คือ ทาน บรรพชา การบำรุง บิดามารดา (ปัณฑิตสูตร) 34/200/1634/200/16 34/206/3 |
131 | [๔๘๔] " ทาน อหิงสา สัญญมะ ทมะ การบำรุงมารดาและบิดา เป็นข้อที่ สัตบุรุษทั้งหลายตั้งขึ้นไว้ ข้อเหล่านี้เป็นฐานะแห่งสัตบุรุษ ผู้สงบระงับเป็น พรหมจารีซึ่งเป็นฐานะที่บัณฑิตพึงเสพ บัณฑิต (ผู้เสพฐานะเหล่านั้น) เป็น อริยะ ถึงพร้อมด้วยความเห็นย่อมไปสู่โลกอันเกษม " (ปัณฑิตสูตร) 34/201/134/201/1 34/206/10 |
132 | [๔๘๕] บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนในหมู่บ้านหรือ ตำบลนั้นย่อมได้บุญมาก ด้วยสถาน 3 คือ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (ศีลสูตร) 34/203/334/203/3 34/208/6 |
133 | [๔๘๖] สังขตลักษณะ ของสังขตธรรม 3 (ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) คือ ความเกิดขึ้นย่อมปรากฏ ความเสื่อมสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อยังตั้งอยู่ ความ แปรไปย่อมปรากฏ (สังขตสูตร) 34/204/834/204/8 34/209/15 |
134 | ลักษณะเครื่องหมายไม่ใช่สังขตะ (สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง) สังขตะก็ไม่ใช่ลักษณะ (เครื่องหมาย) แต่สิ่งที่เป็นสังขตะ ถูกกำหนดด้วยลักษณะ (อ.สังขตสูตร) 34/205/334/205/3 34/210/13 |
135 | [๔๘๗] อสังขตลักษณะของ อสังขตธรรม 3 คือ ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ ความ เสื่อมสิ้นก็ไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรไปก็ไม่ปรากฏ (อสังขตสูตร) 34/205/1434/205/14 34/211/3 |
136 | เครื่องหมายที่เป็นเหตุให้รู้กันได้ว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตลักษณะ (อ.อสังขตสูตร) 34/206/434/206/4 34/211/11 |
137 | [๔๘๘] คนภายในตระกูลได้อาศัย กุลบดีบุคคล(ผู้เจริญที่สุดในตระกูล) ผู้มี ศรัทธาย่อมเจริญด้วยความเจริญ 3 ประการ คือ เจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา. (ปัพพตสูตร) 34/206/1634/206/16 34/212/9 |
138 | [๔๘๘] " ต้นไม้ใหญ่ๆ ได้อาศัยภูเขาหินในป่าสูง ย่อมเจริญแม้ฉันใด บุตรภริยา พวกพ้อง เพื่อน หมู่ญาติ และบ่าวไพร่ ได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเจริญในโลกนี้ ฉันนั้นแล " (ปัพพตสูตร) 34/207/134/207/1 34/212/14 |
139 | [๔๘๙] ความเพียรพึงกระทำโดย 3 สถาน คือ เพื่อไม่ให้เกิดบาปอกุศลที่ยัง ไม่เกิด เพื่อยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ขมขื่นไม่เจริญใจพอจะคร่าชีวิตได้ (อาตัปปสูตร) 34/208/334/208/3 34/213/13 |
140 | [๔๙๐] มหาโจรได้องค์ 3 ย่อมตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดมและตีชิง คือ มหาโจร ได้อาศัยที่อันขรุขระ ได้อาศัยป่าชัฏ ได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจ. (มหาโจรสูตร) 34/210/334/210/3 34/215/12 |
141 | [๔๙๐] ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม 3 ชื่อว่า ครองตนอันถูกก่น (ขุดรากคือความดี) ถูกประหาร (ตายจากคุณธรรม) ได้บาปมาก คือ ภิกษุชั่วกระทำไม่สมควร มีความเห็นผิด พึ่งพิงผู้มีอำนาจ (มหาโจรสูตร) 34/210/1834/210/18 34/216/7 |
142 | [๔๙๑] พราหมณ์ 2 คน อายุ 120 ปี ไม่ได้สร้างความดี ไม่ได้สร้างกุศลเลย มาเขาเฝ้า พระพุทธเจ้า พระองค์ให้รักษาศีล 5 ทั้ง 2 รักษาศีล 5 ตลอดชีวิต จึงไปเกิดในสวรรค์ (ปฐมชนสูตร) 34/214/534/214/5 34/219/5 |
143 | [๔๙๒] " ครั้นเมื่อเรือนถูกไฟไหม้ เจ้าของขนของสิ่งใดออกได้ ของสิ่งนั้นก็เป็น ประโยชน์แก่เจ้าของ ส่วนของที่ไม่ได้ขนออกก็ไหม้อยู่ในนั้น ฉันเดียวกัน ครั้น เมื่อโลกอันชรามรณะ ไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว ชาวโลกพึงขนออกด้วยการให้ทานเถิด สิ่งที่ให้เป็นทานไปแล้ว จัดว่าได้ขนออกอย่างดีแล้ว " (ทุติยชนสูตร) 34/217/1734/217/17 34/223/22 |
144 | [๔๙๓] พราหมณ์ผู้หนึ่ง เข้าเฝ้าถามพระพุทธเจ้า ถึงเหตุที่ว่าพระธรรมเป็นธรรม อันผู้บรรลุพึงเห็นเอง เป็นต้น พระองค์ตอบว่า คนที่เกิดราคะแล้ว ย่อมคิดเพื่อ ทำตน ทำคนอื่น ทำทั้ง 2 ฝ่ายให้ลำบากบ้าง ย่อมรู้สึกทุกข์ โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเช่นนั้น ไม่รู้สึกทุกข์ โทมนัสในใจ นี้แล พระธรรมเป็นสันทิฏฐิโก... (พราหมณสูตร) 34/219/334/219/3 34/225/3 |
145 | [๔๙๔] บุคคลผู้กำหนัดถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ประพฤติ ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ (ปริพาชกสูตร) 34/221/1534/221/15 34/228/16 |
146 | [๔๙๕] เมื่อบุคคลได้รสความสิ้น ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีเหลือนั่นแล พระนิพพานจึงเป็นสันทิฏฐิกัง... (นิพพุตสูตร) 34/223/1834/223/18 34/231/13 |
147 | [๔๙๖] เหตุที่ทำให้มนุษย์มีจำนวนน้อยลง เพราะคนยินดีไม่เป็นธรรม , โลภเกิน สมควร, มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม จึงจับอาวุธฆ่ากัน จึงเกิดทุพภิกขภัย ยักษ์ทั้ง หลาย จึงปล่อยอมนุษย์ร้าย คนเป็นอันมากตายไปเพราะเหตุนั้น (ปโลภสูตร) 34/225/134/225/1 34/232/19 |
148 | [๔๙๗] ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ย่อมทำอันตรายต่อคน 3 คน คือ ทำอันตรายต่อ บุญของผู้ให้ ทำอันตรายต่อลาภของผู้รับ ตัวผู้นั้นเองชื่อว่า ถูกขุดรากความดี ถูกประหารตายไปจากความดี (ชัปปสูตร) 34/228/1034/228/10 34/236/17 |
149 | [๔๙๗] ทิ้งของโสโครกก็ได้บุญ (ชัปปสูตร) 34/228/1634/228/16 34/236/26 |
150 | [๔๙๗] " เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก หาได้กล่าวอย่างนั้น ในผู้ทุศีลไม่ " (ชัปปสูตร) 34/228/2134/228/21 34/237/3 |
151 | [๔๙๘] พระพุทธองค์ทรงแสดง ผู้ที่ได้ วิชชา 3 ในอริยะวินัยนี้ แก่ ติกัณณพราหมณ์ (ติกัณณสูตร) 34/234/534/234/5 34/242/6 |
152 | เรื่อง คัมภีร์ของพราหมณ์ (อ.ติกัณณสูตร) 34/241/1834/241/18 34/248/18 |
153 | ชาติไหนของพระขีณาสพ นั้นสิ้นไปแล้ว และท่านจะรู้ว่า ชาตินั้นสิ้นไปได้ อย่างไร ? (อ.ติกัณณสูตร) 34/246/534/246/5 34/253/9 |
154 | [๔๙๙] พระพุทธองค์ ทรงแสดงผู้ที่ได้วิชชา 3 ในอริยะวินัยนี้ แก่ชานุสโสณีพราหมณ์ (ชานุสโสณีสูตร) 34/249/334/249/3 34/256/3 |
155 | ไทยธรรม ชื่อว่ายัญ เพราะต้องบูชา คำว่า ยัญ นี้เป็นชื่อของไทยธรรม . (อ.ชานุสโสณีสูตร) 34/252/434/252/4 34/258/19 |
156 | [๕๐๐] พระพุทธองค์ ทรงแสดง ปาฏิหาริย์ 3 แก่สังคารวพราหมณ์, ปาฏิหาริย์ 3 คือ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ (สังคารวสูตร) 34/255/634/255/6 34/262/2 |
157 | ปุถุชนผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตปุถุชนด้วยกัน แต่ไม่รู้จิตของพระอริยเจ้า, พระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยบุคคลชั้นสูง. (อ.สังคารวสูตร) 34/266/134/266/1 34/272/15 |
158 | [๕๐๑] พระพุทธเจ้าแสดงเหตุที่พระองค์ลบล้างลัทธิเดียรถีย์ 3 พวก คือ พวก ถือกรรมเก่ามาเป็นสาระ พวกถือว่าพระผู้เป็นเจ้า(พระอิศวร) สร้างสวรรค์ให้ พวกไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยทั้งสิ้น (ติตถสูตร) 34/268/434/268/4 34/275/4 |
159 | [๕๐๑] ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงนี้ ใครๆ ลบล้างไม่ได้ เป็นธรรมไม่หมองมัว สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่ติ ไม่ค้าน คือ ธาตุ 6 ผัสสายตนะ 6 มโนปวิจาร 18 (การท่องเที่ยวไปของใจในฐานะ 18 ) อริยสัจ 4 (ติตถสูตร) 34/270/2034/270/20 34/277/24 |
160 | ทิฏฐิ 62 ชื่อว่า ติตถะ (ลัทธิ) บุคคลผู้ให้เกิดทิฏฐิ 62 เหล่านั้น ชื่อว่า ติตถกร (เจ้าลัทธิ) บุคคลผู้พอใจชอบใจ ทิฏฐิ 62 เหล่านั้น ชื่อว่า เดียรถีย์. บุคคลผู้ ถวายปัจจัยแก่เดียรถีย์ เหล่านั้น ชื่อว่า สาวกของเดียรถีย์ (อ.ติตถายตนสูตร) 34/274/1534/274/15 34/282/4 |
161 | เหตุ ชื่อว่า อายตนะ , ถิ่นเกิด ชื่อว่า อายตนะ เช่น แคว้นกัมโพชะ เป็นถิ่นเกิด ของม้าทั้งหลาย ทักขิณาปถชนบท เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย . (อ.ติตถายตนสูตร) 34/275/234/275/2 34/282/8 |
162 | ปรัมปรา (การสืบต่อ) 3 อย่าง (อ.ติตถายตนสูตร) 34/276/934/276/9 34/283/11 |
163 | โรค 8 อย่าง (อ.ติตถายตนสูตร) 34/278/934/278/9 34/285/10 |
164 | ความหมายของธาตุทั้ง 6 มีธาตุดิน เป็นต้น (อ.ติตถายตนสูตร) 34/284/234/284/2 34/291/2 |
165 | การกำหนดกัมมัฏฐานด้วยอำนาจธาตุ 6 โดยย่อ และโดยพิสดาร . (อ.ติตถายตนสูตร) 34/284/1834/284/18 34/291/21 |
166 | อายตนะ 5 ข้อแรก ชื่อว่า อุปาทารูป เมื่อเห็นอายตนะ 5 นั้นแล้วก็เป็นอัน เห็น อุปาทารูปที่เหลือด้วยอายตนะที่ 6 คือ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ . (อ.ติตถายตนสูตร) 34/287/334/287/3 34/294/9 |
167 | ชื่อว่า คัพภสัตว์ (สัตว์ผู้เกิดในครรภ์) นี้มีประการต่างๆ คือ คัพภสัตว์ในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย ในกำเนิดมนุษย์ ในกำเนิดเทวดา . (อ.ติตถายตนสูตร) 34/289/834/289/8 34/296/6 |
168 | การประชุมพร้อมแห่งองค์ 3 จึงมีการก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ของสัตว์ผู้เกิดใน ครรภ์ คือ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดาเป็นหญิงอยู่ในวัยที่มีรอบเดือน คันธัพพสัตว์ (สัตว์ที่จะมาเกิด) ปรากฏ. (อ.ติตถายตนสูตร) 34/289/1534/289/15 34/296/10 |
169 | พระพุทธเจ้า แม้เมื่อจะตรัสว่า เมื่อมีการก้าวลง (สู่ครรภ์มารดา) นามรูปจึงมี ก็ตรัสแก่บุคคลผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น. แม้เมื่อจะตรัสว่า เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัยเวทนาจึงมี ก็ตรัสแก่บุคคลผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น (อ.ติตถายตนสูตร) 34/291/1334/291/13 34/298/2 |
170 | [๕๐๒] ภัย 3 อย่าง ที่มารดา และบุตร ไม่สามารถจะป้องกันได้ คือ ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย (ภยสูตร) 34/296/1934/296/19 34/302/6 |
171 | [๕๐๓] พระพุทธองค์ มีพระเกียรติศัพท์อันดีฟุ้งเฟื่องไปดังนี้... (เวนาคสูตร) 34/299/1734/299/17 34/305/7 |
172 | [๕๐๓] พราหมณ์ และคฤหบดี ชาวบ้านเวนาคปุระ พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า บางพวกอภิวาท บางพวกแสดงความยินดี กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิดความ ชื่นชม บางพวกประคองอัญชลี บางพวกร้องบอกชื่อและนามสกุล บางพวกนิ่ง 34/301/534/301/5 34/306/13 |
173 | [๕๐๓] อุจจาสยนมหาสยนะทิพย์ ของพระพุทธองค์ ได้แก่ ที่ยืน เดิน นั่ง นอน ในขณะที่ทรงเข้าฌานอยู่ (เวนาคสูตร) 34/303/934/303/9 34/308/3 |
174 | [๕๐๓] อุจจาสยนมหาสยนะพรหม ของพระพุทธองค์ ได้แก่ ที่ยืน เดิน นั่ง นอน ในขณะที่ทรงอยู่ในพรหมวิหารภาวนา (เวนาคสูตร) 34/304/534/304/5 34/309/4 |
175 | [๕๐๓] อุจจาสยนมหาสยนะอริยะ ของพระพุทธองค์ ได้แก่ ที่ยืน เดิน นั่ง นอน ในขณะที่ละราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว (เวนาคสูตร) 34/304/2134/304/21 34/310/2 |
176 | การจาริกของพระพุทธเจ้า มี 2 อย่าง คือ การเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน การ เสด็จอย่างไม่รีบด่วน (อ.เวนาคสูตร) 34/305/1934/305/19 34/311/10 |
177 | พระธรรมกถึกใดอาศัย พรรณนาถึงข้าวต้ม ข้าวสวย หญิงและชายเป็นต้น อาศัยสิ่งเหล่านี้ เป็นเหตุจูงใจในการแสดง ไม่ชื่อว่าแสดงธรรมที่พรั่งพร้อมไป ด้วย อรรถ (ประโยชน์) (อ.เวนาคสูตร) 34/312/534/312/5 34/317/11 |
178 | พระธรรมกถึกรูปใดแสดงธรรมด้วยหวังลาภสักการะ เทศนาของพระธรรมกถึกรูปนั้น ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ (อ.เวนาคสูตร) 34/313/534/313/5 34/318/8 |
179 | หมู่ชนที่เข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า ย่อมมีทั้งฝ่ายสัมมาทิฏฐิ และฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ . (อ.เวนาคสูตร) 34/314/1134/314/11 34/319/15 |
180 | อธิบาย เรื่อง อาสนะ (ที่นั่ง) เป็นต้น (อ.เวนาคสูตร) 34/317/1034/317/10 34/322/15 |
181 | [๕๐๔] สรภปริพาชก แกล้งมาบวชเพื่อเรียนปาฏิโมกข์ แล้วก็กลับไปเป็นปริพาชก อย่างเดิม หวังเป็นหัวหน้าหมู่ แล้วคุยว่ารู้ทั่วถึงธรรม พระพุทธองค์เข้าไปสอบถาม ถึงที่อยู่ สรภปริพาชกนั้นไม่ตอบเป็นผู้นิ่ง นั่งคอตก พระองค์จึงทรงเปล่งสีหนาท 3 วาระแล้วเสด็จไปทางอากาศ. บริษัทประมาณ 84,000 ได้ดื่มน้ำอมฤต . (สรภสูตร) 34/320/1134/320/11 34/325/15 |
182 | เรื่อง โคกาฬกะ ลากเกวียน 500 เล่ม ขึ้นจากหล่ม. (อ.สรภสูตร) 34/330/934/330/9 34/335/2 |
183 | พระพุทธองค์ทรงแสดง อสุภกัมมัฏฐาน เพื่อประโยชน์แก่การบำบัดราคะ , เมตตาภาวนา เพื่อการกำจัดโทสะ, สัจธรรม คือมรณะเพื่อการกำจัดโมหะ, อานาปานสติเพื่อการกำจัดวิตก. (อ.สรภสูตร) 34/335/334/335/3 34/339/15 |
184 | [๕๐๕] ทรงตรัสแก่หมู่ชนกาลามโคตร มิให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง มีโดยการ ได้ฟังตามกันมา เป็นต้น เมื่อใดรู้ด้วยตนนั้นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล มีโทษท่านผู้รู้ติเตียน ใครประพฤติแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ควรละธรรมเหล่านั้นเสีย (กาลามสูตร) 34/338/1934/338/19 34/343/11 |
185 | [๕๐๕] อริยสาวกผู้มีจิตหาเวรมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้ว ย่อมได้ ความอุ่นใจ 4 ประการในชาตินั้น (กาลามสูตร) 34/345/734/345/7 34/349/1 |
186 | [๕๐๖] พระนันทกะแสดงแก่ นายสาฬหะ และนายโรหนะ มิให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่างดังในกาลามสูตร (สาฬหสูตร) 34/349/1034/349/10 34/354/3 |
187 | [๕๐๗] บุคคลพึงรู้กันว่าเป็นผู้ควรสนทนา หรือว่าเป็นผู้ไม่ควรสนทนา ก็ด้วย การประกอบถ้อยคำเช่น ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหาแล้ว ไม่แก้ให้ตรงซึ่งปัญหา ที่ต้องแก้ให้ตรง,ไม่จำแนกในปัญหาที่ต้องจำแนก,ไม่ย้อนถามในปัญหาที่ต้อง ย้อนถามแล้วจึงแก้,ไม่ยกเลิกในปัญหาที่ต้องยกเลิก บุคคลนี้เป็นบุคคลไม่ควร สนทนา (กถาวัตถุสูตร) 34/357/834/357/8 34/362/8 |
188 | [๕๐๗] บุคคลพึงรู้กันได้ด้วยการประกอบถ้อยคำ ว่าจะเป็นผู้มีอุปนิสัยปัจจัย หรือเป็นผู้ไม่มีอุปนิสัยปัจจัย เช่น ผู้ไม่เงี่ยโสต คอยฟัง เป็นผู้ไม่มีอุปนิสัยปัจจัย เป็นต้น (กถาวัตถุสูตร) 34/358/1734/358/17 34/363/14 |
189 | [๕๐๗] " การพูดของสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นการพูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความ เลื่อมใส อารยชนทั้งหลายย่อมพูดกันอย่างนี้ นี่เป็นการสนทนากันแห่งอารยชน ผู้มีปัญญา รู้ความข้อนี้แล้วพึงพูดจาอย่ายกตัว " (กถาวัตถุสูตร) 34/360/134/360/1 34/364/9 |
190 | สถานที่และเวลาที่ไม่ควรตอบปัญหา (อ.กถาวัตถุสูตร) 34/363/334/363/3 34/367/10 |
191 | [๕๐๘] ราคะมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมี โทษมากด้วยคลายช้าด้วย (ติตถิยสูตร) 34/368/1734/368/17 34/373/9 |
192 | [๕๐๘] อารมณ์ที่สวยงามเป็นปัจจัยให้เกิดราคะ, อารมณ์ที่ไม่พอใจ เป็นปัจจัย ให้เกิดโทสะ ความทำในใจโดยไม่แยบคาย ความใส่ใจอย่างไม่ฉลาด เป็นปัจจัย ให้เกิดโมหะ (ติตถิยสูตร) 34/369/134/369/1 34/373/12 |
193 | เรื่องหญิงฆ่าผัว (อ.ติตถิยสูตร) 34/372/1434/372/14 34/377/2 |
194 | ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ประพฤติผิดในมารดาบิดา ในบรรพชิตบ้าง เมื่อเขาขออดโทษขอขมาแล้ว กรรมนั้นจะกลายเป็นปกติไปทันที (อ.ติตถิยสูตร) 34/374/1834/374/18 34/379/1 |
195 | [๕๐๙] อกุศลมูล 3 (รากเง่าของอกุศล) คือ โลภะ โทสะ โมหะ (มูลสูตร) 34/375/1634/375/16 34/380/3 |
196 | [๕๐๙] กุศลมูล 3 (รากเง่าของกุศล) คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ (มูลสูตร) 34/377/934/377/9 34/382/11 |
197 | [๕๑๐] ทรงแสดงอุโบสถ 3 อย่าง คือ อุโบสถเยี่ยงโคบาล อุโบสถเยี่ยงนิครนถ์ อุโบสถเยี่ยงอริยะ แก่นางวิสาขา (อุโปสถสูตร) 34/382/1534/382/15 34/388/22 |
198 | [๕๑๐] อริยอุโบสถ (อุโปสถสูตร) 34/384/434/384/4 34/390/7 |
199 | [๕๑๐] อายุของเทวดาในสวรรค์ ทั้ง 6 ชั้น (อุโปสถสูตร) 34/390/1234/390/12 34/397/23 |
200 | [๕๑๐] อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 (อุโปสถสูตร) 34/391/2134/391/21 34/399/19 |
201 | ชื่อว่า เถนะ เพราะลักขโมย ชื่อว่า อเถนะ เพราะไม่ลักขโมย (อ.อุโปสถสูตร) 34/400/634/400/6 34/407/15 |
202 | การดูที่ชื่อว่า เป็นข้าศึก คือเป็นศัตรูเพราะอนุโลมตามคำสอนไม่ได้ (ขัดต่อศาสนา) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสูกทัสสนะ (อ.อุโปสถสูตร) 34/402/434/402/4 34/409/10 |
203 | ผู้รักษาอุโบสถ ควรนอนบนเตียง มีเท้าสูงศอกกำ (อ.อุโปสถสูตร) 34/403/1834/403/18 34/410/24 |
204 | [๕๑๑] พระอานนท์ ตอบฉันนปริพาชกถึงคนที่เกิด ราคะ โทสะ โมหะครอบงำจิตแล้วย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบากบ้าง... ย่อมประพฤติทุจริต 3... ย่อม ไม่รู้ประโยชน์ตนบ้าง... ทำให้มืด ทำให้บอด ปิดปัญญา ไม่เป็นทางนิพพาน อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นทางดำเนินเพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะนั้น (ฉันนสูตร) 34/406/434/406/4 34/413/4 |
205 | [๕๑๒] พระอานนท์ กล่าวย้อนถาม คฤหบดีสาวกของอาชีวก ผู้หนึ่งถึงบุคคล แสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ธรรมนั้นอันบุคคลปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว บุคคลผู้ละ ราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลก (อาชีวกสูตร) 34/410/334/410/3 34/417/17 |
206 | [๕๑๓] พระพุทธเจ้าทรงพระประชวรไข้เพิ่งหาย พระเจ้ามหานามะไปเข้าเฝ้า ถามปัญหา พระอานนท์จึงพาออกมาแล้วตอบปัญหาแทนถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นเสขะก็มี เป็นอเสขะก็มี (สักกสูตร) 34/413/334/413/3 34/421/8 |
207 | วิปัสสนาญาณที่เป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) และผลญาณที่เป็นอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) เกิดขึ้นภายหลังสมาธิที่เป็นเสขะ และผลสมาธิที่เป็นอเสขะ เกิดขึ้นภายหลังวิปัสสนาที่เป็นเสขะ (อ.สักกสูตร) 34/415/834/415/8 34/423/16 |
208 | [๕๑๔] พระอานนท์แสดง นิชชราวิสุทธิ 3 (ความหมดจดอันเป็นเครื่องทำทุกข์ ให้โทรมหมด) แก่ เจ้าอภัยลิจฉวี และเจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวี (นิคัณฐสูตร) 34/415/1434/415/14 34/424/3 |
209 | พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล พระอนาคามี เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ (อ.นิคัณฐสูตร) 34/419/1334/419/13 34/428/4 |
210 | [๕๑๕] พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าเอ็นดูบุคคลใด พึงชักชวนให้ตั้งมั่น ในความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้คุณ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อริยสาวก ที่เลื่อมใสดังนี้ จะไม่ไปนรก กำเนิดเดียรัจฉาน หรือเปตติวิสัย (สมาทปกสูตร) 34/420/334/420/3 34/428/16 |
211 | [๕๑๕] ความแปรแห่งมหาภูต 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ พึงมีได้ แต่ความแปรแห่งอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่พึงมีเลย (สมาทปกสูตร) 34/420/1134/420/11 34/429/17 |
212 | [๕๑๖] กรรมที่อำนวยผลให้ใน กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ จักไม่มีแล้ว กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่พึงปรากฏ กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง (นวสูตร) 34/422/834/422/8 34/432/3 |
213 | [๕๑๗] กรรม ชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุเลว อย่างกลาง อย่าง ประณีต ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก (ภวสูตร) 34/424/1734/424/17 34/434/10 |
214 | [๕๑๙] พระอานนท์ ตอบคำถามพระพุทธองค์ ถึงศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐาน ไม่มีผลไปทั้งหมด อันใดปฏิบัติแล้ว อกุศลธรรม เสื่อม กุศลธรรมเจริญ ศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐาน นั้น เป็นการมีผล (สีลัพพตสูตร) 34/426/334/426/3 34/435/13 |
215 | [๕๑๙] กลิ่นศีล หอมทวนลม หรือตามลมก็ได้ (คันธสูตร) 34/428/1234/428/12 34/438/19 |
216 | [๕๑๙] " กลิ่นดอกไม้หาไปทวนลมได้ไม่ กลิ่นจันทน์ กฤษณาและกระลำพักก็ไป ทวนลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัตบุรุษ ไปทวนลมได้ สัตบุรุษย่อมขจรไปทุกทิศ " (คันธสูตร) 34/429/134/429/1 34/439/14 |
217 | ในเทวโลก ก็ยังมีดอกมะลิ ในวันที่ดอกมะลินั้นบานแล้ว กลิ่นก็จะฟุ้งไปได้ตั้ง 100 โยชน์ (อ.คันธสูตร) 34/430/1434/430/14 34/441/12 |
218 | [๕๒๐] พระพุทธเจ้าทรงแสดง โลกธาตุอย่างเล็กมี 1,000 จักรวาล มีทวีปทั้ง 4 อย่าง ละ 1,000 มีมหาราช อย่างละ 4,000 มีสวรรค์ 6 ชั้น และพรหมโลกชั้นละ 1,000 จนถึงแสนโกฏิจักรวาล และตรัสว่า พระอานนท์จะปรินิพพานในชาติปัจจุบัน. . (จูฬนีสูตร) 34/431/1934/431/19 34/443/11 |
219 | พระอภิภู อัครสาวกของพระสิขีพุทธเจ้า กล่าวคาถาบนพรหมโลกได้ยินไป ตลอด 1,000 โลกธาตุ (อ.จูฬนีสูตร) 34/433/1534/433/15 34/445/10 |
220 | ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต (อ.จูฬนีสูตร) 34/440/134/440/1 34/451/10 |
221 | [๕๒๑] สมณกรณียะ 3 (กิจที่สมณะต้องทำ) คือ การสมาทานอธิสีลสิกขา การสมาทานอธิจิตตสิกขา การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สมณสูตร) 34/446/434/446/4 34/457/4 |
222 | การสมาทาน การถือ การบำเพ็ญอธิสีลสิกขา ชื่อว่า อธิสีลสิกขาสมาทาน อธิสีลนั้นแหละ เรียกว่า สิกขา เพราะต้องศึกษา (อ.สมณสูตร) 34/447/634/447/6 34/458/14 |
223 | [๕๒๒] ฉันทะในการสมาทาน อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา ของภิกษุใดไม่มี ภิกษุนั้นเปรียบเหมือน ลาเดินตามฝูงโค ฉะนั้น ภิกษุพึงสำเหนียกว่า ฉันทะของ เราจักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา 3 (คัทรภสูตร) 34/448/334/448/3 34/459/3 |
224 | [๕๒๓] บุพกรณียะ (กิจที่ต้องทำก่อน) ของคฤหบดีชาวนา 3 คือ ไถคราดพื้นที่นา ให้ดีก่อนครั้นแล้วปลูกพืชลงในเวลาอันควร แล้วไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง ตามคราว เช่นเดียวกัน กิจที่ต้องทำก่อนของภิกษุ 3 คือ การสมาทานสิกขา 3 . (เขตตสูตร) 34/449/934/449/9 34/460/15 |
225 | [๕๒๔] ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง กราบทูลต่อพระพุทธองค์ว่าไม่อาจศึกษาใน สิกขาบท 150 ข้อ ได้ พระองค์จึงให้ศึกษาใน สิกขา 3 (วัชชีปุตตสูตร) 34/450/1234/450/12 34/462/3 |
226 | สิกขาบท 150 ข้อนั้น ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ใน สมัยนั้น. (อ.วัชชีปุตตสูตร) 34/451/1434/451/14 34/463/4 |
227 | [๕๒๕] ที่ว่าพระเสขะ เพราะยังต้องศึกษาอยู่ จึงเรียกว่า เสขะ ศึกษาอะไร ? ศึกษาในสิกขา 3 (ปฐมเสขสูตร) 34/453/334/453/3 34/464/14 |
228 | [๕๒๕] " เมื่อพระเสขะศึกษาอยู่ เป็นผู้ดำเนินในทางตรง ขยญาณเกิดขึ้นก่อน พระอรหัตผล จึงเกิดในลำดับนั้น ต่อนั้นเมื่อพ้นด้วยพระอรหัตผลแล้ว เธอก็มี ญาณ (หยั่งรู้) ว่าความพ้นของเราไม่กำเริบ เพราะสิ้นเครื่องผูกไว้ในภพ " (ปฐมเสขสูตร) 34/453/1034/453/10 34/465/2 |
229 | [๕๒๖] สิกขาบทที่สำคัญ 150 ข้อ ย่อมมาสู่อุทเทส (การสวดในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน และสิกขาบททั้งปวงนั้นรวมกันอยู่ในสิกขา 3 (ทุติยเสขสูตร) 34/454/1634/454/16 34/466/7 |
230 | [๕๒๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ และในปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ที่เป็นเช่นนั้น เพราะไม่มีใครกล่าวความอภัพ เพราะการล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการออกจากอาบัตินี้ (ทุติยเสขสูตร) 34/455/334/455/3 34/466/12 |
231 | [๕๒๖] ภิกษุที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลและในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้ง หลาย ภิกษุนั้นเพราะ สิ้นสังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานใน โลกที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา (ทุติยเสขสูตร) 34/455/1534/455/15 34/467/8 |
232 | [๕๒๖] ภิกษุที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ทั้งในศีล สมาธิ ปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (ทุติยเสขสูตร) 34/455/2034/455/20 34/467/17 |
233 | [๕๒๖] ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ (บางส่วน) ย่อมทำได้มีเพียงเอกเทศ ผู้ทำได้ บริบูรณ์ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ พระพุทธองค์จึงกล่าวว่าสิกขาบททั้งหลายหาเป็น หมันไม่ (ทุติยเสขสูตร) 34/456/334/456/3 34/467/26 |
234 | พระขีณาสพต้องอาบัติ (อ.ทุติยเสขสูตร) 34/457/134/457/1 34/469/1 |
235 | พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี นั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์ได้ เป็นบางส่วน เท่านั้น พระอรหันต์ นั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์ (อ.ทุติยเสขสูตร) 34/458/1334/458/13 34/470/19 |
236 | [๕๒๗] ประเภทของพระเสขะ มีพระโสดาบัน 3 จำพวก พระสกทาคามี พระอนาคามี 5 จำพวก. (ตติยเสขสูตร) 34/459/534/459/5 34/471/14 |
237 | อธิบายประเภทแห่งพระอริยบุคคล มีพระโสดาบัน 24 จำพวก พระสกทาคามี 12 จำพวก พระอนาคามี 48 จำพวก พระอรหันต์ 12 จำพวก (อ.ตติยเสขสูตร) 34/460/1234/460/12 34/473/8 |
238 | [๕๒๘] สิกขาบทที่สำคัญ 150 นี้ ย่อมมาสู่อุเทสทุกกึ่งเดือน สิกขาบททั้งปวง นั้นรวมกันอยู่ในสิกขา 3 และทรงแสดง พระอรหันต์ พระอนาคามี 5 จำพวก พระสกทาคามี และพระโสดาบัน 3 จำพวก. (จตุตถเสขสูตร) 34/464/734/464/7 34/477/8 |
239 | [๕๒๙] สิกขา 3 คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. (ปฐมสิกขาสูตร) 34/465/1134/465/11 34/479/3 |
240 | [๕๓๐] " ผู้มีความเพียร มีกำลัง มีปัญญา มีความพินิจ มีสติ รักษาอินทรีย์ พึงประพฤติอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ก่อนอย่างใดภายหลังก็อย่างนั้น ภายหลังอย่างใดก่อนก็อย่างนั้น ต่ำอย่างใดสูงก็อย่างนั้น สูงอย่างใดต่ำก็ อย่างนั้น กลางวันอย่างใดกลางคืน ก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างใดกลางวันก็ อย่างนั้น ครอบงำทิศทั้งปวงด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้" (ทุติยสิกขาสูตร) 34/466/1434/466/14 34/480/16 |
241 | ความหลุดพ้นไปแห่งจิตที่เปรียบเหมือน การดับไปของดวงประทีปย่อมมี แก่ พระขีณาสพ สถานที่ที่พระขีณาสพไปก็ไม่ปรากฏ ท่านเป็นผู้เข้าถึงความเป็น ผู้หาบัญญัติมิได้เลย. (อ.ทุติยสิกขาสูตร) 34/468/1734/468/17 34/482/15 |
242 | [๕๓๑] ภิกษุกัสสปโคตร เกิดความไม่พอใจขึ้นว่า พระพุทธองค์นี้ขัดเกลายิ่งนัก แล้วเกิดร้อนรำคาญใจจึงเดินทางไปขอขมาพระพุทธองค์ (ปังกธาสูตร) 34/469/334/469/3 34/483/3 |
243 | [๕๓๑] พระพุทธองค์ไม่สรรเสริญ ภิกษุผู้ไม่ใคร่ศึกษา ไม่ชักชวนภิกษุอื่นๆ ให้ ศึกษา และไม่ยกย่องภิกษุอื่นที่ใคร่ศึกษา ภิกษุใดคบหาภิกษุนั้น ก็จะได้เยี่ยงอย่าง ซึ่งจะเป็นทางเกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เกิดทุกข์ตลอดกาลนาน (ปังกธาสูตร) 34/470/1734/470/17 34/484/26 |
244 | [๕๓๒] กิจที่ต้องรีบทำของคฤหบดีชาวนา 3 อย่างคือ รีบไถคราดพื้นที่นาให้ดี ครั้นแล้วรีบปลูกพืชแล้วรีบไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง แต่ว่าชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์ ที่จะบันดาลให้ข้าวงอกในวันนี้ ตั้งท้องพรุ่งนี้ สุกมะรืนนี้ได้ ที่ถูกต้องย่อมมีสมัย ที่ข้าวนั้นเปลี่ยนสภาพไปตามฤดู. (อัจจายิกสูตร) 34/474/434/474/4 34/489/4 |
245 | [๕๓๒] กิจที่ต้องรีบทำของภิกษุคือ การบำเพ็ญสิกขา 3 และย่อมมีสมัยที่เมื่อภิกษุ นั้นศึกษาสิกขา3 ไปจิตย่อมจะเลิกยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะได้ (อัจจายิกสูตร) 34/474/1134/474/11 34/489/12 |
246 | [๕๓๓] ปวิเวก(ความสงบสงัด) ของภิกษุ 3 คือ เป็นผู้มีศีล สงบสงัดจากความ ทุศีล เป็นผู้มีความเห็นชอบ สงบสงัดจากความเห็นผิด เป็นขีณาสพ สงบสงัด จากอาสวะทั้งหลาย (วิวิตตสูตร) 34/477/534/477/5 34/492/11 |
247 | [๕๓๔] เมื่อธรรมจักษุ อันปราศจากธุลีไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวก พร้อมกับ การเกิดความเห็นขึ้นนั้น สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) สีลัพพตปรามาส(ความลูบคลำในศีลพรต) อริยสาวก ย่อมละได้ ถ้าละอภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา) และพยาบาทได้ เมื่อตายไปก็ไม่ มาสู่โลกนี้อีก (สรทสูตร) 34/480/334/480/3 34/495/15 |
248 | [๕๓๕] บริษัท 3 คือ บริษัทที่มีแต่คนดี บริษัทที่เป็นพรรค บริษัทที่สามัคคีกัน . (ปริสาสูตร) 34/481/834/481/8 34/497/3 |
249 | [๕๓๕] ในสมัยใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพียงกัน มองดูกันและกันด้วยสายตา ของคนที่รักใคร่กัน ในสมัยนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมได้บุญมาก ชื่อว่า อยู่อย่าง พรหม มีปีติปราโมทย์ มีกายระงับเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมเป็นสมาธิ (ปริสาสูตร) 34/482/534/482/5 34/497/22 |
250 | [๕๓๖] ภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ 3 คือ วรรณะงาม(ศีล) เข้มแข็ง(ความเพียร) มีเชาน์ (ปัญญา) จึงเป็นผู้ควรของคำนับ ผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรของทำบุญ ผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เปรียบเหมือนม้า อาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชา (ปฐมอาชานียสูตร) 34/485/334/485/3 34/501/3 |
251 | [๕๓๗] ภิกษุมีเชาวน์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 เป็น โอปปาติกะปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา . (ทุติยอาชานียสูตร) 34/487/1634/487/16 34/504/14 |
252 | [๕๓๘] ภิกษุมีเชาวน์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติในปัจจุบัน (ตติยอาชานียสูตร) 34/488/1034/488/10 34/506/5 |
253 | [๕๓๙] ทรงเปรียบความมีสีทราม สัมผัสหยาบ ราคาถูก ของผ้าเปลือกไม้กับ ภิกษุทุศีล ชนเหล่าใดคบหาทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน (นวสูตร) 34/489/334/489/3 34/507/3 |
254 | [๕๔๐] ถ้ากล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใด ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ การอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ เมื่อกล่าวว่าคนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ กล่าวอย่างนี้จึงถูก (โลณกสูตร) 34/492/334/492/3 34/511/10 |
255 | [๕๔๐] บางคนทำบาปกรรมแม้ประมาณน้อย กรรมนั้นพาเขาไปนรก บางคน ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน กรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน ไม่ปรากฏผลมากเลย . (โลณกสูตร) 34/492/934/492/9 34/511/17 |
256 | [๕๔๑] เครื่องทำให้ทองหมอง อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด. (สังฆสูตร) 34/499/334/499/3 34/519/13 |
257 | [๕๔๑] อุปกิเลส (เครื่องทำให้หมอง) อย่างหยาบของภิกษุ คือ กาย วจี มโนทุจริต อย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อย่างละเอียด คือ ความตรึกถึงชาติ ความตรึกถึงชนบท ความตรึกเกี่ยวด้วยการจะไม่ให้ คนอื่นดูหมิ่น. (สังฆสูตร) 34/499/1834/499/18 34/520/10 |
258 | [๕๔๑] อภิญญา 6 (สังฆสูตร) 34/500/834/500/8 34/520/25 |
259 | [๕๔๒] ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ นิมิต 3 ตามกาลอันควร คือ สมาธินิมิต (ข่มจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว) ปัคคาหนิมิต (ทำความเพียรยกจิต ให้อาจหาญแช่มชื่น) อุเบกขานิมิต(เพ่งดูเฉยอยู่ไม่ข่มไม่ยกเมื่อจิตเรียบร้อยแล้ว) . (สมุคคตสูตร) 34/505/1034/505/10 34/526/3 |
260 | [๕๔๓] ทรงตรัสถึง เมื่อใดพระองค์รู้แจ้งชัดซึ่ง อัสสาทะ (ความยินดี ความ เพลิดเพลิน) อาทีนพ (โทษที่ไม่น่ายินดี ความขมขื่น) และนิสสรณะ (ความ ออกไป ความไม่ติด) ของโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริงแล้ว เมื่อนั้นจึงพูดได้ ว่าเป็นพระพุทธเจ้า (ปุพพสูตร) 34/510/534/510/5 34/530/5 |
261 | เมื่อได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้วว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ หนึ่งภายหน้า จึงเรียกว่า พระโพธิสัตว์ (อ.ปุพพสูตร) 34/511/834/511/8 34/531/15 |
262 | [๕๔๔] พระพุทธองค์ได้ตรวจค้น อัสสาทะ อาทีนพ นิสสรณะในโลก และได้ ประสบแล้วได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว (มนุสสสูตร) 34/512/1234/512/12 34/533/3 |
263 | [๕๔๕] เมื่อใดรู้แจ้งชัด ซึ่งอัสสาทะอาทีนพ นิสสรณะ ของโลกตามความเป็นจริง แล้ว เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงมีใจไม่ถูกกักขัง ออกได้หลุดพ้นไปจากโลก (อัสสาทสูตร) 34/513/1134/513/11 34/534/12 |
264 | [๕๔๖] สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใด ไม่รู้แจ้งชัด ซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และ นิสสรณะของโลกอย่างถูกต้องตามจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่นับ ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่นับว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. (สมณสูตร) 34/514/1334/514/13 34/535/16 |
265 | [๕๔๗] การร้องไห้ในวินัยของพระอริยะ คือ การขับร้อง ความเป็นบ้า คือ การ ฟ้อนรำ ความเป็นเด็ก คือการหัวเราะจนเห็นฟันอย่างพร่ำเพรื่อ เมื่อเกิดความ ยินดีร่าเริงในธรรม ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม (โรณสูตร) 34/515/1634/515/16 34/537/3 |
266 | [๕๔๘] ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง 3 ไม่มี คือ ความหลับ การดื่มสุราเมรัย การประกอบเมถุนธรรม (อติตตสูตร) 34/517/934/517/9 34/538/14 |
267 | [๕๔๙] เมื่อจิตอันบุคคลไม่รักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็เป็น อันไม่ได้รักษาด้วย การตายของบุคคลนั้นย่อมไม่เป็นการตายดี (ปฐมกูฏสูตร) 34/518/634/518/6 34/539/13 |
268 | การตายดีนั้น ใช้ได้สำหรับพระอริยสาวกทั้งหลาย 3 จำพวก มีพระโสดาบัน เป็นต้น โดยส่วนเดียวเท่านั้น (อ.ปฐมกูฏสูตร) 34/519/1034/519/10 34/541/1 |
269 | [๕๕๐] เมื่อจิตร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ร้ายด้วย การตาย ของผู้นั้น ย่อมไม่เป็นการตายดี (ทุติยกูฏสูตร) 34/519/1734/519/17 34/541/8 |
270 | [๕๕๑] ต้นเหตุ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง อกุศลกรรม คือ โลภะ โทสะ โมหะ กรรมนั้นมีโทษมีทุกข์เป็นผล ส่วนต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง กุศลกรรม คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะกรรมนั้นไม่มีโทษ มีสุข เป็นผล. (ปฐมนิทานสูตร) 34/520/1534/520/15 34/542/8 |
271 | [๕๕๒] ต้นเหตุ 3 เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม คือ ความพอใจ เกิดเพราะ ปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ(ความรักใคร่พอใจ) ที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน. (ทุติยนิทานสูตร) 34/522/834/522/8 34/544/3 |
272 | [๕๕๓] บุคคล 3 พวก คือ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี , กำจัดท่านผู้เป็นพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ด้วยอพรหมจรรย์ อันไม่มีมูล, ผู้เห็นโดยปกติว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี จมอยู่ในกามทั้งหลาย. ถ้าไม่ละโทษนี้เป็นคนอบาย เป็นคนนรก. (อาปายิกสูตร) 34/527/434/527/4 34/548/4 |
273 | [๕๕๔] ความปรากฏแห่งบุคคล 3 จำพวกหาได้ยากในโลก คือ พระพุทธเจ้า ผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ผู้กตัญญูกตเวที (ทุลลภสูตร) 34/528/934/528/9 34/549/20 |
274 | [๕๕๕] บุคคล 3 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก คือ คนประมาณง่าย คนประมาณ ยาก คนประมาณไม่ได้ (อัปปเมยยสูตร) 34/529/334/529/3 34/550/14 |
275 | [๕๕๖] เทวดาเหล่า อากาสานัญจายตนะ มีอายุ 20,000 กัป, เหล่าวิญญาณัญจายตนะ มีอายุ 40,000 กัป , เหล่าอากิญจัญญายตนะ มีอายุ 60,000 กัป บุคคลใดติดใจยินดี ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจ น้อมใจ มากด้วยฌานนั้นไม่ เสื่อมจนตาย ย่อมไปเกิดในเหล่าเทวดาแห่งฌานนั้นๆ ถ้าเป็นปุถุชน เมื่อหมด อายุจากฌานนั้นๆ แล้วไปนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต ก็เป็นได้ ส่วนอริยสาวก ย่อมปรินิพพานในภพนั้นนั่นเอง (อาเนญชสูตร) 34/531/534/531/5 34/552/14 |
276 | [๕๕๗] วิบัติ 3 (ความเสีย) คือ สีลวิบัติ จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ สัตว์ทั้งหลาย ตายแล้วย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวิบัติเหล่านี้. (อยสูตร) 34/533/1934/533/19 34/555/14 |
277 | การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ , ลาภสักการะที่เพียงพอ ทรงประสงค์เอาว่า หุตะ (อ.อยสูตร) 34/535/1534/535/15 34/557/9 |
278 | [๕๕๘] สัตว์ทั้งหลายตายแล้วย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุ แห่งสีลวิบัติ เป็นต้น เปรียบเหมือนลูกบาศก์ ที่ถูกโยนขึ้นไปแล้ว ย่อมกลับมา ตั้งอยู่อย่างดี. (อปัณณกสูตร) 34/536/1434/536/14 34/558/9 |
279 | [๕๕๙] วิบัติ 3 คือ ความเสียทางการงาน ความเสียทางอาชีพ ความเสีย ทางความเห็น (กัมมันตสูตร) 34/538/1034/538/10 34/560/11 |
280 | [๕๖๐] โสไจยะ 3 (ความสะอาด) คือ ความสะอาดทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทรงตรัสสำหรับผู้ครองเรือน (ปฐมโสเจยยสูตร) 34/539/1634/539/16 34/561/16 |
281 | [๕๖๑] " บุคคลผู้สะอาดทางกาย สะอาดทางวาจา สะอาดทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นคนสะอาดพร้อมด้วยคุณธรรมของคนสะอาด ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคล นั้นว่า ผู้ล้างบาปแล้ว " (ทุติยโสเจยยสูตร) 34/541/1434/541/14 34/564/14 |
282 | [๕๖๒] " บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางกาย เป็นปราชญ์ทางวาจา เป็นปราชญ์ทางใจ หาอาสวะมิได้ เป็นปราชญ์พร้อมด้วยคุณธรรมของปราชญ์ บัณฑิตกล่าว บุคคลนั้นว่าผู้ละบาปหมด " (โมเนยยสูตร) 34/543/934/543/9 34/566/2 |
283 | การเข้าทุติยฌาน คือ การดับวจีสังขาร ชื่อว่า วจีโมเนยยะ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ คือ การดับจิตสังขาร ชื่อว่า มโนโมเนยยะ (อ.โมเนยยสูตร) 34/544/834/544/8 34/566/20 |
284 | [๕๖๓] ทานที่ให้แก่ภิกษุผู้มัวเมา ไม่มีผลมาก (กุสินารสูตร) 34/545/634/545/6 34/568/8 |
285 | [๕๖๔] ภิกษุในทิศใด เกิดแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน ทิ่มแทงกัน และกันด้วย หอก คือ ปากแม้แต่นึกถึงทิศนั้นก็ไม่เป็นที่ผาสุกแก่พระพุทธองค์ ภิกษุเหล่า นั้นย่อมละทิ้ง เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก มัวประกอบแต่ กามวิกตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (ภัณฑนสูตร) 34/547/1534/547/15 34/571/3 |
286 | [๕๖๕] พระพุทธเจ้าแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง ประกอบด้วยเหตุ แสดง ธรรมมีปาฏิหารย์ จึงควรที่บุคคลจะพึงประพฤติตามและ ควรจะยินดี มีใจ เป็นของตน จะโสมนัสว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พระธรรม อันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว จบเทศนานี้ 1000 โลกธาตุ ได้หวั่นไหวแล้ว (โคตมสูตร) 34/549/534/549/5 34/572/11 |
287 | ในปฐมโพธิกาล โดยมากพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เทวาลัยเท่านั้น เป็นเวลา ถึง 20 พรรษา เช่น จาปาลเจดีย์ สารันททเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ . (อ.โคตมสูตร) 34/550/434/550/4 34/573/13 |
288 | [๕๖๖] พระพุทธองค์แสดงศาสดา 3 จำพวก ที่บัญญัติ กามปริญญา รูปปริญญา เวทนาปริญญา แล้วถามเจ้ามหานามะว่า ศาสดา 3 จำพวกนี้ เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกัน ภรัณฑุ กาลามะ บอกให้เจ้ามหานามะตอบว่า เป็นอย่างเดียวกัน พระพุทธองค์ให้ตอบว่าต่างกัน ดังนี้ถึง 3 วาระ ภรัณฑุกาลามะเข้าใจว่าถูก รุกรานต่อหน้ากษัตริย์ จึงหลีกไปจากกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่กลับมาอีก (ภรัณฑุสูตร) 34/553/1234/553/12 34/577/4 |
289 | [๕๖๗] พระพุทธเจ้าตรัสให้ หัตถกเทวบุตร เนรมิตตัวให้หยาบ จะได้ยืนบน แผ่นดินได้ หัตถกเทวบุตรยังไม่อิ่ม ไม่เบื่อในธรรม 3 อย่าง คือ การเห็นพระพุทธเจ้า การฟังพระสัทธรรม การอุปัฏฐากพระสงฆ์ (หัตถกสูตร) 34/555/1134/555/11 34/579/9 |
290 | ความหมายของคำว่า กัปปะ (อ.หัตถกสูตร) 34/559/834/559/8 34/583/5 |
291 | [๕๖๘] พระพุทธองค์เห็นภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ไร้ความแช่มชื่นทาง สมณะ ลืมสติไม่มีสัมปชัญญะใจไม่มั่น มีอินทรีย์เปิด จึงตรัสเตือนว่า อย่า ทำตัวให้เป็นของเน่า ตัวที่ถูกทำให้เป็นของเน่าแล้วส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้ง แมลงวันจักไม่ไต่ไม่ตอม เป็นไปไม่ได้ อภิชฌาเป็นของเน่า พยาบาทเป็นกลิ่น เหม็นคาว ความตรึกที่เป็นบาปเป็นแมลงวัน. (กฏุวิยสูตร) 34/561/334/561/3 34/584/13 |
292 | [๕๖๙] ธรรม 3 อย่าง ที่พาหญิงไปอบายภูมิ คือ เช้ามีใจกลุ้มด้วยความตระหนี่ ตอนกลางวันมีใจกลุ้มด้วยความริษยา ตอนเย็นมีใจกลุ้มด้วยกามราคะ . (ปฐมอนุรุทธสูตร) 34/564/334/564/3 34/587/7 |
293 | [๕๗๐] พระอนุรุทธะ สำเร็จตาทิพย์แล้ว แต่ยังละอุปาทานไม่ได้ จึงสอบถาม พระสารีบุตร พระเถระบอกให้พระอนุรุทธะละธรรม 3 ประการ คือ มานะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ แล้วน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุคือพระนิพพาน.(ทุติยอนุรุทธสูตร) 34/565/334/565/3 34/588/3 |
294 | [๕๗๑] พระธรรมวินัยต้องเปิดเผยจึงรุ่งเรือง (ปฏิจฉันนสูตร) 34/567/634/567/6 34/590/1 |
295 | พระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ชื่อว่า สิ่งที่เปิดเผยโดยทั่วไป . (อ.ปฏิจฉันนสูตร) 34/567/1934/567/19 34/590/16 |
296 | [๕๗๒] บุคคล 3 นี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ บุคคลเหมือนรอยขีดในหิน บุคคล เหมือนรอยขีดในดิน บุคคลเหมือนรอยขีดในน้ำ (เลขสูตร) 34/568/334/568/3 34/591/3 |
297 | [๕๗๓] ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 จึง เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นนาบุญของโลก คือ 1.ยิงไกลได้แก่ เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามจริงว่า ขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา, 2.ยิงเร็ว ได้แก่ รู้ตามเป็นจริงในอริยสัจ 4, 3.ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ได้แก่ ทำลายกองอวิชชา (โยธสูตร) 34/570/434/570/4 34/593/4 |
298 | [๕๗๔] บริษัท 3 จำพวก คือ บริษัทที่รับการฝึกอธิบายให้กระจ่างแจ้งโดยไม่ได้ สอบถาม, บริษัทที่รับการฝึกโดยสอบถาม, บริษัทที่รับการฝึกโดยผู้ฝึกเพียงแนะ ให้รู้จักเพ่งพิจารณาเอง. (ปริสาสูตร) 34/573/334/573/3 34/596/7 |
299 | [๕๗๕] มิตรที่ควรคบ 3 คือ ให้สิ่งที่ให้ยาก ทำสิ่งที่ทำยาก ทนสิ่งที่ทนยาก . (มิตตสูตร) 34/574/334/574/3 34/597/7 |
300 | [๕๗๖] พระตถาคตทั้งหลาย เกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุคือสิ่งที่ทรงตัวเอง อยู่ได้อันนั้น ความตั้งอยู่โดยธรรมดาอันนั้น ความแน่นอนโดยธรรมดาอันนั้น พระตถาคตตรัสรู้ธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา (อุปปาทสูตร) 34/574/1034/574/10 34/597/15 |
301 | [๕๗๗] ในบรรดาวาทะของเจ้าลัทธินอกศาสนา มักขลิ เลวกว่าเขาทั้งหมด คือ กล่าวว่ากรรมไม่มี กิริยาไม่มีวิริยะไม่มี ซึ่งคัดค้านคำของพระพุทธเจ้าทั้ง หลาย มักขลิเป็นเสมือนไซดักคน เกิดขึ้นในโลก เพื่อความพินาศแห่งคนเป็น อันมาก (เกสกัมพลสูตร) 34/575/1334/575/13 34/599/3 |
302 | [๕๗๘] สัมปทา 3 (สมบัติ) คือ ศรัทธา ศีล ปัญญา (สัมปทาสูตร) 34/577/1234/577/12 34/601/3 |
303 | [๕๗๙] วุฑฒิ 3 (ความเจริญ) คือ ความเจริญแห่งศรัทธา ความเจริญแห่งศีล ความเจริญแห่งปัญญา (วุฑฒิสูตร) 34/577/1834/577/18 34/601/11 |
304 | [๕๘๐] ทรงเทียบม้ากระจอก 3 กับคนกระจอก 3 เช่น คนกระจอกมีเชาวน์ดี แต่สีไม่งามทรวดทรงไม่งาม คือ ภิกษุรู้ตามเป็นจริงในอริยสัจ แต่แก้ปัญหา ในอภิธรรม อภิวินัยไม่ได้และไม่ใคร่ได้ปัจจัย 4 (ปฐมอัสสสูตร) 34/578/334/578/3 34/602/3 |
305 | [๕๘๑] ทรงเปรียบม้าดี 3 กับคนดี 3 ซึ่งความมีเชาวน์ดีในที่นี้ คือ ความเป็น พระอนาคามี (ทุติยอัสสสูตร) 34/580/1234/580/12 34/604/14 |
306 | [๕๘๒] ทรงเปรียบเทียบม้าอาชาไนย กันคนอาชาไนย 3 จำพวก ซึ่งความมี เชาวน์ดีในที่นี้คือ การกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ (ตติยอัสสสูตร) 34/582/334/582/3 34/607/3 |
307 | [๕๘๓] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย คือ ศีลขันธ์เป็นอเสขะ สมาธิขันธ์เป็น อเสขะ ปัญญาขันธ์เป็นอเสขะ (ปฐมโมรนิวาปสูตร) 34/583/1134/583/11 34/608/11 |
308 | [๕๘๔] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. (ทุติยโมรนิวาปสูตร) 34/584/934/584/9 34/609/9 |
309 | [๕๘๕] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ คือ ความเห็นชอบ ความรู้ชอบ ความพ้นชอบ เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดา และมนุษย์ทั้ง หลาย. (ตติยโมรนิวาปสูตร) 34/585/334/585/3 34/610/9 |
310 | [๕๘๖] บุคคลประกอบด้วย ธรรม 3 คือ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็น อกุศล มโนกรรมเป็นอกุศล ย่อมอุบัติในนรกเหมือนถูกนำไปเก็บไว้ (อกุศลสูตร) 34/586/434/586/4 34/612/4 |
311 | [๕๘๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมมีโทษ วจีกรรมมีโทษ มโนกรรมมีโทษ ย่อมอุบัติในนรก (สาวัชชสูตร) 34/587/834/587/8 34/613/9 |
312 | [๕๘๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมผิด วจีกรรมผิด มโนกรรมผิด ย่อมอุบัติในนรก. (วิสมสูต) 34/588/334/588/3 34/614/3 |
313 | [๕๘๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมโสโครก วจีกรรมโสโครก มโนกรรมโสโครก ย่อมอุบัติในนรก. (อสุจิสูตร) 34/588/1434/588/14 34/614/14 |
314 | [๕๙๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็น อกุศล มโนกรรมเป็นอกุศล เป็นคนพาล คนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษครองตน ถูกขุดเสียแล้วตายไปครึ่งหนึ่งแล้ว ได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย (ปฐมขตสูตร) 34/589/834/589/8 34/615/8 |
315 | [๕๙๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมที่มีโทษ มโนกรรมที่มีโทษ เป็นคนพาล คนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษครองตน ถูกขุดเสีย แล้ว ตายไปครึ่งหนึ่งแล้ว ได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย (ทุติยขตสูตร) 34/590/334/590/3 34/616/3 |
316 | [๕๙๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมผิด วจีกรรมผิด มโนกรรมผิด เป็นคนพาล คนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษครองตนถูกขุดเสียแล้ว ตายไปครึ่งหนึ่ง แล้ว ได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย (ตติยขตสูตร) 34/590/934/590/9 34/616/9 |
317 | [๕๙๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 คือ กายกรรมโสโครก วจีกรรมโสโครก มโนกรรมโสโครก เป็นคนพาล คนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษครองตนถูกขุดเสีย แล้ว ตายไปครึ่งหนึ่งแล้ว ได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย (จตุตถขตสูตร) 34/590/1534/590/15 34/616/15 |
318 | [๕๙๔] การไหว้ 3 คือ ไหว้ด้วยกาย ไหว้ด้วยวาจา ไหว้ด้วยใจ. (วันทนาสูตร) 34/591/334/591/3 34/617/8 |
319 | [๕๙๕] ฤกษ์ดีตลอดกาล. (สุปุพพัณหสูตร) 34/591/834/591/8 34/617/13 |
320 | [๕๙๖] ปฏิปทา 3 อย่าง คือ ข้อปฏิบัติอย่างหยาบช้า ข้อปฏิบัติอย่างเหี้ยมเกรียม ข้อปฏิบัติอย่างกลาง (พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์) 34/594/334/594/3 34/621/3 |
321 | [๕๙๘] ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ คือ ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ชักชวนผู้อื่น ในการฆ่าสัตว์ พอใจในการฆ่าสัตว์ ต้องตกนรกเหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้. (พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์) 34/597/234/597/2 34/623/19 |