1 | [๑๕๐] ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีตำแหน่งเลิศ 13 ท่าน มีพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณี เป็นต้น (วรรคที่ ๕) 33/1/8 33/1/8 |
2 | พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้รู้ราตรีนาน ท่านตั้งความ ปรารถนาต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า จุติจากเทวโลกเกิดเป็นหัวหน้าทาสี 500 ได้พากันสร้างที่พักในการจำพรรษาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า 500 องค์ จากนั้น เกิดเป็นลูกสาวช่างหูก ในที่ไม่ไกลกรุงพาราณสี ได้ถวายอาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุตรของนางปทุมวดี 500 องค์ (อ.สูตรที่ ๑) 33/3/7 33/3/9 |
3 | ในกาลนี้ พระมหาปชาบดีโคตมี เป็นราชธิดาของเจ้ามหาสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช นำไปเป็นมเหสีทั้ง 2 พี่น้อง พระนาง ทรงเลี้ยงพระโพธิสัตว์เอง และมอบนันทกุมาร แก่พระพี่เลี้ยงนางนม ส่วน พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับธรรมกถา ณ ระหว่างถนน เป็นพระโสดาบัน และ พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงทำให้แจ้งพระอรหัตแล้วปรินิพพาน ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร (อ.สูตรที่ ๑) 33/6/7 33/6/5 |
4 | พระเขมาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี ผู้มีปัญญามาก ท่านได้ถวายขนมต้ม 3 ก้อน แก่พระสุชาตเถรี อัครสาวิกาของ พระปทุมุตตรพุทธเจ้า แล้วปรารถนา มีปัญญามากเหมือน สุชาตภิกษุณี ครั้นพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านเป็นธิดาของ พระเจ้ากิงกิ ได้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ 20,000 ปี . (อ.สูตรที่ ๒) 33/8/13 33/8/8 |
5 | ในพุทธุปบาทกาลนี้ พระนางเขมาเกิดในราชสกุล กรุงสาคละ พระเจ้าพิมพิสาร นำไปเป็นพระเทวี นางเป็นผู้เมาในรูป พระศาสดาทรงแสดงให้เห็นโทษในรูป โดยแสดงรูปเนรมิต แล้วแสดงธรรม จบเทศนา พระนางบรรลุพระอรหัต . (อ.สูตรที่ ๒) 33/9/3 33/8/20 |
6 | ธรรมดาว่า ผู้อยู่ครองเรือนบรรลุพระอรหัต จำต้องปรินิพพาน หรือบวชเสีย ในวันนั้น. (อ.สูตรที่ ๒) 33/11/4 33/10/9 |
7 | พระอุบลวรรณาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้มีฤทธิ์ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า พระเถรีเกิดเป็นพระธิดาของพระเจ้ากิงกิ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ 20,000 ปี ครั้นจุติจากเทวโลก เกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งได้ถวายดอกบัว และข้าวตอกแก่ พระปัจเจกพุทธเจ้า ปรารถนามีลูก 500 และให้มีดอกบัวรองทุกย่างก้าว . (อ.สูตรที่ ๓) 33/12/6 33/11/6 |
8 | นางปทุมวดีเกิดในดอกบัว มีบุตร 500 คน ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง 500 . (อ.สูตรที่ ๓) 33/13/15 33/12/10 |
9 | ในพุทธุปบาทกาลนี้ พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในครอบครัวเศรษฐี พระราชาทั่ว ชมพูทวีปต่างส่งคนไปขอนาง เศรษฐีจึงให้นางบวช เมื่อถึงเวรในโรงอุโบสถ นาง ตามประทีปกวาดโรงอุโบสถ ถือเอานิมิตที่เปลวประทีป ทำฌานมีเตโชกสิณเป็น อารมณ์ ทำฌานให้เป็นบาท ก็บรรลุพระอรหันต์. (อ.สูตรที่ ๓) 33/22/21 33/20/6 |
10 | พระปฏาจาราเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้ทรงวินัย ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า พระเถรีเกิดเป็นพระธิดาของพระเจ้ากิงกิ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ 20,000 ปี ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นธิดาเศรษฐี เมื่อเจริญวัยได้ลักลอบ และหนีไปกับ คนงานในบ้าน เพราะความพรัดพรากจากสามี ลูก บิดา มารดา และพี่ชาย นางจึงเสียสติเปลือยกายเที่ยวไป จนเข้าไปในวิหารขณะพระศาสดากำลัง แสดงธรรม พระองค์ทรงแผ่เมตตา และตรัสให้นางกลับได้สติ ฟังธรรม จบคาถา นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ครั้นบวชแล้วไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต . (อ.สูตรที่ ๔) 33/24/4 33/21/5 |
11 | ไม่มีบุตรจะช่วยได้ บิดาก็ไม่ได้ พวกพ้องก็ไม่ได้ เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำแล้ว หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้เลย บัณฑิตรู้ความจริงข้อนี้แล้ว สำรวมในศีล พึงรีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว (อ.สูตรที่ ๔) 33/27/15 33/23/24 |
12 | พระธรรมทินนาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึก ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ท่านทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปแก่ท่านพระสุชาตเถระ อัครสาวก แล้วตั้ง ความปรารถนาตำแหน่งนั้น ครั้งพระปุสสะพุทธเจ้า นางก็อยู่ในเรือนของผู้เป็น ใหญ่ในเรื่องทานของ 3 พี่น้องต่างมารดากับพระพุทธเจ้า ครั้งสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านเกิดราชธิดาของพระเจ้ากิงกิ ได้ประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ 20,000 ปี (อ.สูตรที่ ๕) 33/28/13 33/24/15 |
13 | ในพุทธุปบาทกาลนี้ เป็นภริยาของวิสาขเศรษฐี เมื่อวิสาขเศรษฐีได้บรรลุ อนาคามิผล นางจึงขอบวช (อ.สูตรที่ ๕) 33/29/6 33/25/6 |
14 | พระนันทาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี ผู้ยินดีในฌาน ท่านเป็นราชธิดาของ พระมหาปชาบดีโคตมีต่อมาได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี เมื่อพระนางมหาปชาบดี โคตมี และพระนางพิมพา ออกบวชแล้ว นางจึงตามไปบวช พระพุทธองค์สั่ง ให้ภิกษุณีต้องไปรับโอวาท แล้วทรงแสดงรูปเนรมิตที่งามกว่าให้นางเห็นความ เสื่อมแห่งรูป จบคาถา พระเถรีบรรลุพระอรหัต. (อ.สูตรที่ ๖) 33/32/6 33/27/18 |
15 | พระโสณาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้ปรารภความเพียร ท่านเป็นผู้มีบุตร ธิดามาก ในกรุงสาวัตถี เมื่อบุตรและธิดาของนางมีครอบครัวหมดแล้วต่าง ไม่เคารพผู้เป็นมารดา ท่านจึงบวช ครั้นถูกลงทัณฑกรรมเพราะไม่รู้ข้อวัตร และลูกก็มาพูดเยาะเย้ยอีก นางจึงท่องบ่นอาการ 32 ทั้งในที่นั่งและยืน เจริญ วิปัสสนา พระศาสดาตรัสคาถาจบ นางก็บรรลุพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๗) 33/34/9 33/29/14 |
16 | พระสกุลาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้มีจักษุทิพย์ ท่านตั้งความปรารถนา ในครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในสกุลกรุงสาวัตถี ได้ ฟังธรรมมีศรัทธาขอบวชไม่นานก็บรรลุพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๘) 33/36/17 33/31/15 |
17 | พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้ตรัสรู้เร็ว ครั้นพระกัสสปพุทธเจ้า เป็นพระธิดาของพระเจ้ากิงกิ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ 20,000 ปี 33/37/12 33/32/10 |
18 | เรื่องบุรุษผู้เกิดโดยฤกษ์โจร ประพฤติตัวเป็นโจร แม้บิดาห้ามปรามก็ไม่ฟัง บิดาจึงไล่ออกจากบ้าน (อ.สูตรที่ ๙) 33/38/4 33/33/1 |
19 | ภัททาธิดาเศรษฐีเห็นสัตตุกะโจร ผู้กำลังถูกนำตัวไปประหาร เกิดความ ปรารถนาในโจรนั้น จึงติดสินบนเจ้าหน้าที่แล้วนำโจรมาเป็นสามี ต่อมาโจร ได้ลวงนางไปเพื่อฆ่าชิงเครื่องประดับ แต่ด้วยปัญญาของนางได้ผลักโจรนั้น ตกเหวตาย แล้วจึงไปบวชกับพวกนิครนถ์ เรียนศิลปะเหล่านั้น รู้ทุกอย่างหมด วันหนึ่งนางได้โต้วาทะแพ้พระสารีบุตร พระเถระบอกนางให้ถึงพระพุทธเจ้าเป็น สรณะ ในเวลาที่พระศาสดากำลังแสดงธรรม นางยืนฟังอยู่จบคาถา นางก็ บรรลุพระอรหัต แล้วขอบรรพชา (อ.สูตรที่ ๙) 33/39/19 33/34/11 |
20 | พระภัททกาปิลานีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ นางตั้ง ความปรารถนาต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า สมัยหนึ่งนางเกิดในเรือนสกุล เมือง พาราณสี ได้เทอาหารในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้าทิ้ง แล้วใส่ตมในบาตร เมื่อมหาชนต่างตำหนิ นางจึงนำบาตรมาล้างแล้วใส่อาหารมีรสอร่อย แล้ว ตั้งความปรารถนาให้ร่างกายมีแสงสุกใส ในกาลนี้ได้บวชเป็นนางปริพาชิกา ก่อน ครั้นมีภิกษุณีแล้วนางจึงมาขอบวชได้บรรลุพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๑๐) 33/46/15 33/40/5 |
21 | สำหรับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้ 4 ท่าน ในกาลนี้ คือ พระอัครสาวก 2 รูป พระพากุลเถระ พระภัททากัจจานาเถรี ส่วนสาวก ที่เหลือย่อมสามารถระลึกชาติได้ตลอดแสนกัปเท่านั้น (อ.สูตรที่ ๑๑) 33/48/10 33/41/17 |
22 | พระภัททากัจจานาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ พระเถรี นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว ระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัปโดยการระลึก ถึงครั้งเดียว (อ.สูตรที่ ๑๑) 33/48/21 33/42/6 |
23 | พระกีสาโคตมีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี ผู้ทรงผ้าเศร้าหมอง นางเกิดใน สกุลเข็ญใจ เมื่อมีครอบครัวบุตรน้อยของนางตายลง นางเสียใจมากจึงอุ้ม ศพลูกเที่ยวไปขอยาตามบ้าน พระศาสดาให้นางไปนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดใน บ้านที่ไม่มีคนตายมาทำยา เมื่อนางเที่ยวไปอย่างนั้นก็ได้สติจึงเอาศพลูกไป ไว้ป่าช้า จบคาถานางได้โสดาปัตติผล หลังจากบวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัต เป็นผู้ใช้จีวรด้วยความปอน 3 อย่างเที่ยวไป (อ.สูตรที่ ๑๒) 33/50/4 33/43/8 |
24 | มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูกและสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ ต่างๆ ไป เหมือนห้วงน้ำพัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลอยู่ไป ฉะนั้น . (อ.สูตรที่ ๑๒) 33/53/3 33/45/17 |
25 | พระสิงคาลมาตาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา นางเกิด ในสกุลเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ได้สามีแล้วมีบุตรชื่อ สิงคาลกุมาร นางมีศรัทธา บวชแล้ว ยิ่งมีศรัทธาอย่างยิ่ง พระศาสดาทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใส ทรงทำให้เป็นที่สบายแก่พระเถรี แม้พระเถรีนั้นก็กระทำศรัทธาลักษณะ ให้เป็นธุระ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว (อ.สูตรที่ ๑๓) 33/54/4 33/46/13 |
26 | [๑๕๑] อุบาสกผู้มีตำแหน่งเลิศ 10 ท่าน (วรรคที่ ๖) 33/56/3 33/48/3 |
27 | ตปุสสะ และภัลลิกอุบาสก เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถึงสรณะก่อนคน ทั้งปวง ได้ตั้งความปรารถนาตั้งแต่ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.สูตรที่ ๑) 33/57/6 33/49/6 |
28 | สิงเพื่อชักนำให้เข้าถึง สรณะอันประเสริฐ (อ.สูตรที่ ๑) 33/58/1 33/49/20 |
29 | ตปุสสะและภัลลิกอุบาสก ได้นำพระเกศธาตุ 8 เส้น ใส่ในผอบทองคำบรรจุ เจดีย์ไว้ที่ประตูอสิตัญชนนคร (อ.สูตรที่ ๑) 33/59/4 33/50/25 |
30 | อนาถบิณฑิกคฤหบดีชื่อ สุทัตตะ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ยินดียิ่งในทาน ได้ตั้ง ความปรารถนาตั้งแต่ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในพุทธุปบาลกาลนี้ เกิดเป็น บุตรของสุมนเศรษฐี ได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ได้ ซื้อที่ดิน 18 โกฏิ สร้างวิหารด้วยทรัพย์ 18 โกฏิ ทำการฉลองวิหารด้วยทรัพย์ 18 โกฏิ (อ.สูตรที่ ๒) 33/59/18 33/51/12 |
31 | จิตตคฤหบดี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก ได้ตั้งความปรารถนา ตั้งแต่ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า เขาเกิดในเรือนนายพรานเนื้อ ขณะกำลังหาเนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งนั่งคลุ่มศีรษะอยู่บนแผ่นหิน จึงกลับไปบ้านหุงข้าว และปิ้งเนื้อ มีภิกษุ 2 รูปมาบิณฑบาต ก็ให้คนในบ้าน จัดอาหารให้ ส่วนตนนำอาหารไปในป่าถวายแก่ภิกษุที่นั่งอยู่นั้น บูชาด้วย ดอกไม้ ปรารถนาให้ได้บรรณาการ 1000 และขอฝนดอกไม้ 5 สี จงตกลงใน สถานที่เกิด พระเถระเห็นอุปนิสัย จึงบอกกรรมฐานมีอาการ 32 เป็นอารมณ์ . (อ.สูตรที่ ๓) 33/61/11 33/53/4 |
32 | จิตตคฤหบดี สร้างที่อยู่ในอัมพาตการาม ถวายพระมหานามะ พระเถระแสดง ธรรมแก่เขาเฉพาะสฬายตนวิภังค์เท่านั้น ไม่ช้าเขาก็บรรลุอนาคามิผล พระสุธัมมเถระด่าว่าจิตตคฤหบดี แล้วถูกพระศาสดาให้มาขอขมาคฤหบดี และอยู่ใน อัมพาตการามนั้น เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๓) 33/62/16 33/54/6 |
33 | จิตตคฤหบดี เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมบริวาร 2,000 เอาเกวียน 500 บรรทุก น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ได้ถวายทานแม้ครึ่งเดือน สิ่งที่ตนนำมาก็ยัง ไม่หมดสิ้นไป จึงถวายทุกสิ่งที่ตนนำมาแก่ภิกษุสงฆ์ เหล่าเทวดาก็ทำรัตนะ 7 ให้เต็มเกวียนที่ว่างเปล่า (อ.สูตรที่ ๓) 33/64/1 33/55/8 |
34 | คนผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศ และโภคสมบัติ ไปยัง ประเทศใดๆ คนเขาก็บูชาในประเทศนั้น ๆ (อ.สูตรที่ ๓) 33/64/19 33/56/1 |
35 | จิตตคฤหบดีนั้น ก็มีอุบาสกที่เป็นอริยสาวก 500 คน ห้อมล้อมเที่ยวไป . (อ.สูตรที่ ๓) 33/64/22 33/56/4 |
36 | หัตถกอาฬวกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้สงเคราะห์ บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4 อย่าง (อ.สูตรที่ ๔) 33/65/9 33/56/14 |
37 | อาฬวกยักษ์ ถามปัญหา 8 ข้อ พระศาสดาก็ทรงตอบ จบเทศนา ยักษ์ดำรง อยู่ในโสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๔) 33/67/15 33/58/11 |
38 | ชาวเมืองอาฬวี จัดพลีกรรมแก่อาวฬกยักษ์ทุกปี แม้ยักษ์นั้นก็สงเคราะห์ ชาวเมืองด้วยการจัดรักษาอย่างเป็นธรรม (อ.สูตรที่ ๔) 33/69/6 33/59/20 |
39 | อาฬวกกุมารเจริญวัยแล้ว ได้ฟังธรรมพระศาสดาจึงแทงตลอดมรรค และผล 3 มีอุบาสกผู้เป็นอริยสาวก 500 คน ห้อมล้อมเที่ยวไปทุกเวลา (อ.สูตรที่ ๔) 33/69/10 33/59/23 |
40 | พระเจ้ามหานามศากยะ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายทานอันมีรสประณีต หลังจากที่พระพุทธองค์จำพรรษาที่ เมืองเวรัญชาแล้ว เสด็จมาที่นิโครธาราม พระเจ้ามหานามศากยะ จึงขอทะนุบำรุงภิกษุสงฆ์ตลอด 4 เดือน 8 เดือน ตลอดทั้งปี (อ.สูตรที่ ๕) 33/70/7 33/60/17 |
41 | อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ ท่านมีรูปร่างสูงสง่างามจึงชื่อ อุคคเศรษฐี ได้โสดาปัตติผล ด้วยการเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกเท่านั้น ต่อมาก็กระทำให้แจ้งมรรค และผล 3 เวลาที่แก่เฒ่า ท่านจึงขอถวายสิ่งที่ชอบใจ แด่พระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ (อ.สูตรที่ ๖) 33/72/1 33/62/5 |
42 | อุคคตฤหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ สมัยหนึ่งเศรษฐีนี้เมาเหล้าอยู่ 7 วันมีนักฟ้อนรำห้อมล้อมเข้าไปในอุทยาน พบพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ ด้วยความละอายความเมาจึงหายไปหมด ครั้น พระศาสดาแสดงธรรมจบ เขาก็แทงตลอดมรรค และผล 3 เป็นผู้ยินดียิ่งในการ ถวายทานแก่สงฆ์เท่านั้น แม้เทวดามาบอกว่า ภิกษุรูปนี้มีอภิญญา 6 รูปนี้ทุศีล แต่เขาก็ถวายไทยธรรมด้วยจิตสม่ำเสมอทีเดียว (อ.สูตรที่ ๗) 33/73/16 33/63/20 |
43 | สูรอัมพัฏฐอุบาสก เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว เขาเกิดใน สกุลเศรษฐี พวกญาติได้ขนานนามว่า ปุรพันธะ เป็นอุปัฏฐากของเหล่าอัญญเดียรถีย์ พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยจึงเสด็จไปยังเรือนเขาในเวลาแสวงหา อาหาร เมื่อเสร็จภัตกิจทรงแสดงธรรมแก่เขา จบเทศนา เขาก็ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล. (อ.สูตรที่ ๘) 33/75/4 33/65/5 |
44 | มารแปลงเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อทำลายศรัทธาของ สูรอัมพัฏฐอุบาสก . (อ.สูตรที่ ๘) 33/76/2 33/65/23 |
45 | หมอชีวกโกมารภัจ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสใน บุคคล เกิดเป็นลูกของหญิงอาศัยรูปเลี้ยงชีพในกรุงราชคฤห์ ชื่อสาลวดี เมื่อ คลอดออกมาได้ถูกนำไปทิ้งไว้ที่กองขยะ อภัยราชกุมารเป็นผู้ชุบเลี้ยงไว้ พอ อายุได้ 16 ปี ก็ไปกรุงตักกศิลาเรียนแพทย์ศิลปะ (อ.สูตรที่ ๙) 33/77/15 33/67/7 |
46 | นกุลบิดาคฤหบดี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้กล่าวถ้อยคำแสดงความคุ้นเคย ท่านเป็นเศรษฐีนครสุงสุมารคิรี แคว้นภัคคะ แม้ในชาติก่อนๆ ก็ได้เป็นบิดา ของพระโพธิสัตว์ 500 ชาติ เป็นอา 500 ชาติ เป็นลุง 500 ชาติ ได้ฟังธรรม พระศาสดาแล้ว ทั้งคฤหบดีและภรรยาก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล . (อ.สูตรที่ ๑๐) 33/79/8 33/69/4 |
47 | [๑๕๒] อุบาสิกาผู้มีตำแหน่งเลิศ 10 ท่าน (วรรคที่ ๗) 33/82/3 33/71/3 |
48 | นางสุชาดา เสนียธิดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ดำรงอยู่ในสรณะก่อนคนอื่น ทั้งหมด ได้ตั้งความปรารถนาในครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในกาลนี้เกิดใน ครอบครัวของกุฎุมพีชื่อเสนียะ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม นางได้ทำความ ปรารถนาไว้ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้ามีเหย้าเรือน ได้บุตรชายในท้องแรกจัก ทำพลีกรรมประจำปี ความปรารถนาของนางก็สำเร็จ (อ.สูตรที่ ๑) 33/83/6 33/72/6 |
49 | เทวดาช่วยทำอาหาร (อ.สูตรที่ ๑) 33/84/5 33/73/3 |
50 | นางสุชาดา และภริยาเก่าของพระยสะ ได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าจบลง แล้ว ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๑) 33/85/19 33/74/12 |
51 | นางวิสาขามิคารมารดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดีในการถวายทาน ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า นางบังเกิดเป็นราชธิดาองค์เล็ก ของพระเจ้ากิงกิ พระราชธิดา 7 องค์ เหล่านั้นในบัดนี้ คือ พระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี พระนางมหามายาเถรี และนางวิสาขา (อ.สูตรที่ ๒) 33/86/9 33/75/4 |
52 | อาณาจักรของพระเจ้าพิมพิสาร มีบุคคลผู้มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วน ถึง 5 คน คือ โชติยะ ชฏิละ เมณฑกะ ปุณณะ กากพลิยะ (อ.สูตรที่ ๒) 33/87/14 33/76/4 |
53 | นางวิสาขา พร้อมกับเด็กหญิง 500 คน ได้ฟังธรรมพระศาสดา ก็ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๒) 33/88/2 33/76/14 |
54 | โอวาทของหญิง ที่จะไปสู่สกุลของสามี 10 ประการ (อ.สูตรที่ ๒) 33/96/18 33/83/24 |
55 | มิคารเศรษฐีได้โสดาปัตติผล เพราะฟังธรรมพระศาสดา (อ.สูตรที่ ๒) 33/99/16 33/86/8 |
56 | นางวิสาขาสละทรัพย์ 9 โกฏิ มาสร้างพระคันธกุฎี เป็นที่ประทับอยู่สำหรับ พระตถาคตในวิหารที่ชื่อว่า บุพพาราม (อ.สูตรที่ ๒) 33/101/1 33/87/11 |
57 | นางขุชชุตตรา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เป็นพหูสูต นางสามาวดี เป็นเลิศ กว่าพวกอุบาสิกาผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/101/17 33/88/4 |
58 | เมื่อตายเพราะยังมีความอาลัย จึงเกิดในท้องนางสุนัขในบ้าน (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/103/8 33/89/13 |
59 | สุนัขรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อท่านจากไป ก็เกิดความโศกเศร้าอย่างแรง หัวใจแตกตาย ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตอนเป็นสุนัขได้เห่าไล่สัตว์ ร้ายให้พระปัจเจกพุทธเจ้า เสียงของเทวบุตรนั้นดังกลบเสียงเทวดาอื่น จึงได้ ชื่อว่า โฆษสกเทวบุตร (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/104/13 33/90/15 |
60 | ด้วยอานุภาพของบุญ เมื่อยังไม่ถึงคราวตายย่อมไม่ตาย (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/106/3 33/91/23 |
61 | คนเคยเป็นสามีภรรยากันมาแต่ชาติก่อน แม้เพียงได้ยินเรื่องราวของกัน ก็รู้สึกชอบ (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/110/2 33/95/11 |
62 | เทวดาที่อยู่ต้นไทร ถวายน้ำปานะแก่ดาบส 500 เทวดานั้นเคยเป็นคนงาน ในบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สมาทานอุโบสถครึ่งวันแล้วตายในวันนั้น 33/116/2 33/100/11 |
63 | ระหว่างที่พระพุทธองค์ เสด็จไปกรุงโกสัมพี ตามที่ 3 เศรษฐีนิมนต์ ทรงเห็น อุปนิสัยพระอรหัตของมาคัณฑิยพราหมณ์จึงงดไปโกสัมพีไว้ แล้วเสด็จไปยัง นิคม ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/118/1 33/102/3 |
64 | รอยเท้าของผู้ที่ถูกราคะย้อมแล้ว พึงเป็นรอยเท้ากระหย่ง รอยเท้าของผู้ที่ ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว พึงเป็นรอยเท้าจิกปลาย รอยเท้าของผู้ที่ถูกโมหะ ให้ลุ่มหลงแล้ว พึงเป็นรอยเท้าที่กดลงส้นเท้า (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/119/14 33/103/8 |
65 | มาคัณฑิยพราหมณ์ และนางพราหมณี ได้ฟังธรรมพุทธองค์ ก็ดำรงอยู่ใน อนาคามิผล ครั้นบวชแล้วทั้งสองก็บรรลุอรหัต (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/121/2 33/104/12 |
66 | พระนางมาคัณฑิยาจ้างนักเลงให้ด่าพระพุทธเจ้า พระอานนท์กราบทูลให้ เสด็จไปที่อื่น แต่พระพุทธองค์ไม่ไป (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/121/17 33/105/1 |
67 | นางขุชชุตตรา ได้ช่วยขวนขวายในโรงอาหาร เพื่อพระพุทธะทั้งหลายแล้ว ได้ฟังอนุโมทนาก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/122/18 33/105/23 |
68 | นางขุชชุตตรา นั่งบนอาสนะสูงแสดงธรรมแก่นางสามาวดี และหญิงบริวาร 500 จบเทศนา หญิงทั้งหมดมีพระนางสามาวดีเป็นประมุข ก็ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/123/12 33/106/12 |
69 | โทษของการสั่งใช้สมณะ (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/124/1 33/106/23 |
70 | นางขุชชุตตราเกิดมาหลังค่อม เพราะล้อเลียนพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นคนค่อม 33/124/5 33/107/1 |
71 | ในชาติก่อน พระอานนท์ได้ถวายชิ้นผ้าพร้อมเข็มเล่มหนึ่ง แด่พระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่งในเวลาเย็บผ้า. ด้วยผลของเข็มพระเถระนั้นได้เป็นผู้มีปัญญามาก ทั้งได้ผ้า 500 ผืน ตามทำนองนี้ด้วยผลแห่งชิ้นผ้า (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/128/9 33/110/14 |
72 | กรรมที่พระนางสามาวดี กับบริวารถูกไฟเผา (อ.สูตรที่ ๓-๔) 33/129/14 33/111/14 |
73 | นางอุตตรานันทมารดา เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาผู้ยินดีในฌาน ได้ตั้งความปรารถนา ตั้งแต่พระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.สูตรที่ ๕) 33/130/16 33/112/13 |
74 | นายปุณณะ และภริยา เป็นคนงานของ ราชคหเศรษฐี ได้ทำบุญกับพระสารีบุตร ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ จึงได้พบทองในที่ตนไถนาอยู่ และได้เป็นเศรษฐี ในวันนั้น. เมื่อได้เป็นเศรษฐีก็ได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข 7 วัน ครั้นจบอนุโมทนา ปุณณเศรษฐี ภริยาและธิดา ก็ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๕) 33/131/14 33/113/9 |
75 | นางอุตตราได้จ้างหญิงโสเภณี ชื่อสิริมาให้บำเรอสามีอยู่ครึ่งเดือน เพื่อตนเอง จะได้รักษาอุโบสถศีล (อ.สูตรที่ ๕) 33/135/9 33/116/13 |
76 | นางสิริมาสำนึกผิดที่ตนนำน้ำมันเดือดๆ ราดบนศีรษะของนางอุตตรา แล้วได้ ขอให้พระพุทธองค์ และนางอุตตรายกโทษให้ ครั้นนางได้ฟังอนุโมทนาคาถา ของพระทศพลจบ ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๕) 33/136/16 33/117/16 |
77 | พึงชำนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชำนะคนไม่ดีด้วยความดี พึงชำนะคน ตระหนี่ด้วยการให้ พึงชำนะคนพูดเท็จด้วยคำจริง (อ.สูตรที่ ๕) 33/137/22 33/118/16 |
78 | พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต เกิดในสกุลกษัตริย์ พระนครโกลิยะ อภิเษกกับศากยกุมารพระองค์หนึ่ง ได้เข้า เฝ้าฟังพระธรรมกถาของพระศาสดา ครั้งแรกเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ต่อมาพระนางประสูติพระโอรส พระนามว่า สีวลี (อ.สูตรที่ ๖) 33/138/12 33/119/5 |
79 | อริยสาวกผู้ถวายโภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ 5 แห่งปฏิคาหก (ผู้รับ) คือให้อายุ วรรณะ สุข พละ ปฏิภาณ และผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งฐานะ 5 ทั้งที่เป็น ของทิพย์ และของมนุษย์ (อ.สูตรที่ ๖) 33/139/7 33/119/20 |
80 | นางสุปปิยาอุบาสิกา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ นางเกิดใน เรือนสกุลกรุงพาราณสี ได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วยการเข้าเฝ้าพระศาสดา และ ฟังธรรมครั้งแรก (อ.สูตรที่ ๗) 33/140/2 33/120/9 |
81 | นางกาติยานี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น นางเกิดในกุรรฆรนคร เป็นเพื่อนสนิทของ นางกาฬี แม่ของพระโสณะกุฏิกัณณะ ได้บรรลุโสดาบัน จากการฟังธรรมของพระโสณะ (อ.สูตรที่ ๘) 33/142/4 33/122/5 |
82 | นางนกุลมารดาคหปตานี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้กล่าวคำคุ้นเคย . (อ.สูตรที่ ๙) 33/144/10 33/124/4 |
83 | นางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆรนคร เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสโดยฟังตามๆ กันมา นางเป็นมารดาของพระโสณกุฏิกัณณะ ได้ บรรลุโสดาปัตติผลเพราะฟังคาถาสรรเสริญจากสาตาคิรยักษ์พูดกับเหมวตยักษ์ . (อ.สูตรที่ ๑๐) 33/144/18 33/124/13 |
84 | [๑๕๓-๑๕๕] ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความ เป็นสภาพเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะที่มีได้ (วรรคที่๑) 33/146/4 33/126/4 |
85 | [๑๕๖-๑๖๐] ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงทำอนันตริยกรรมนั้น มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ (วรรคที่๑) 33/146/16 33/126/16 |
86 | [๑๖๒] ข้อที่พระพุทธเจ้า 2 พระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุ เดียวกันนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (วรรคที่๑) 33/147/17 33/127/15 |
87 | ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ได้แก่ พระอริยสาวก คือ พระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วย ปัญญาในมรรค (อ.วรรคที่ ๑) 33/148/8 33/128/9 |
88 | สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ 5 คือ ด้วยกรรม ด้วยอุเทศ (การสวดปาฏิโมกข์) ด้วยการชี้แจง ด้วยประกาศ ด้วยจับสลาก (อ.วรรคที่ ๑) 33/151/4 33/130/22 |
89 | ผู้เป็นมนุษย์ ฆ่าบิดา มารดา ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น จึงเป็นอนันตริยกรรม. . (อ.วรรคที่ ๑) 33/152/10 33/131/24 |
90 | เรื่องการตัดต้นโพธิ์ (อ.วรรคที่ ๑) 33/154/4 33/133/10 |
91 | สังฆเภทเป็นบาปตั้งอยู่ชั่วกัป กรรม 4 ประการที่เหลือเป็นอนันตริยกรรมเท่านั้น ไม่เป็นกรรมตั้งอยู่ชั่วกัป (อ.วรรคที่ ๑) 33/156/1 33/134/24 |
92 | ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ทำลายสงฆ์ไม่ได้ 33/157/1 33/135/20 |
93 | เขตมี 3 คือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต (อ.วรรคที่ ๑) 33/157/11 33/136/9 |
94 | เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน (อ.วรรคที่ ๑) 33/158/22 33/137/16 |
95 | [๑๖๓] ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ 2 พระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันใน โลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (วรรคที่ ๒) 33/164/3 33/142/3 |
96 | [๑๖๔-๑๖๖] ข้อที่สตรีจะพึงเป็น พระพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ ท้าวสักกะ มาร พรหมนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ (วรรคที่ ๒) 33/164/7 33/142/7 |
97 | [๑๖๗-๑๖๙] ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (วรรคที่ ๒) 33/164/18 33/142/17 |
98 | จักรรัตนะ จะอันตรธานในวันที่ 7 แต่การสวรรคต หรือแต่การทรงผนวช ของ พระเจ้าจักรพรรดิ (อ.วรรคที่ ๒) 33/165/13 33/143/12 |
99 | การตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าย่อมสำเร็จด้วยประชุมธรรม 8 ประการ 33/166/16 33/144/12 |
100 | ไม่มีเพศหญิงในพรหมโลก (อ.วรรคที่ ๒) 33/168/3 33/145/12 |
101 | คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล เช่นนั้น คนทำเหตุดีย่อมได้ผลดี ส่วนคนทำ เหตุชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว (อ.วรรคที่ ๒) 33/168/16 33/146/2 |
102 | จริงอยู่ แม้เมื่อนรกปรากฏขึ้นแล้ว เทวโลกก็ปรากฏขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น นิมิตของ นรกที่ปรากฏต่อ ภิกษุผู้เป็นบิดาของพระโสณเถระ (อ.วรรคที่ ๒) 33/170/2 33/147/8 |
103 | [๑๗๐-๑๗๒] ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ (วรรคที่ ๓) 33/172/3 33/149/3 |
104 | [๑๗๓-๑๗๕] ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ . (วรรคที่ ๓) 33/172/15 33/149/15 |
105 | [๑๗๖-๑๗๘] ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ (วรรคที่ ๓) 33/173/15 33/150/13 |
106 | [๑๗๙-๑๘๐] พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ (ระลึกถึง ความสงบระงับ) อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (วรรคที่ ๑) 33/175/4 33/152/4 |
107 | เมื่อภิกษุเจริญอสุภสัญญาอยู่แล้ว เกิดเอือมระอาไม่แช่มชื่น จิตซัดส่ายไป ทางโน้นทางนี้ ไม่เป็นไปตามวิถี พึงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่ จิตย่อม ผ่องใสปราศจากนิวรณ์ แล้วจึงมนสิการ กรรมฐานเดิมนั้นแหละอีก (อ.วรรคที่ ๑) 33/178/9 33/155/2 |
108 | อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ ย่อมเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอย่างเดียว กรรมฐานที่เหลือ 7 อย่าง เป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริงด้วย เป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาด้วย. (อ.วรรคที่ ๑) 33/181/14 33/157/19 |
109 | [๑๘๑] เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง (วรรคที่ ๒) 33/182/3 33/158/3 |
110 | [๑๘๒] เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง (วรรคที่ ๒) 33/182/9 33/158/9 |
111 | [๑๘๕] เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และมิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น (วรรคที่ ๒) 33/183/5 33/158/25 |
112 | [๑๘๗] ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก . (วรรคที่ ๒) 33/183/15 33/159/10 |
113 | [๑๘๙] กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ สังขาร ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม (วรรคที่ ๒) 33/184/5 33/159/19 |
114 | [๑๙๐] กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ สังขาร ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเจริญ (วรรคที่ ๒) 33/184/21 33/160/9 |
115 | มิจฉาทิฏฐิ 3 อย่างนี้คือ อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุไม่มีมูล) อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ) นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) ห้ามสวรรค์ และห้ามมรรค. (อ.วรรคที่ ๒) 33/186/14 33/161/23 |
116 | สัมมาทิฏฐิมี 5 อย่าง (อ.วรรคที่ ๒) 33/187/8 33/162/13 |
117 | [๑๙๑] บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจาก สัทธรรมแล้วให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม (วรรคที่ ๓) 33/191/3 33/165/4 |
118 | [๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีโทษ มากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย (วรรคที่ ๓) 33/191/20 33/165/21 |
119 | [๑๙๕] ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความ เป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก (วรรคที่ ๓) 33/192/12 33/166/9 |
120 | [๑๙๖] ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อ ความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก (วรรคที่ ๓) 33/192/16 33/166/12 |
121 | [๑๙๘] ปฏิคาหก (ผู้รับ) พึงรู้จักประมาณในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ทายกไม่ จำต้องรู้จักประมาณ (วรรคที่ ๓) 33/193/1 33/166/19 |
122 | [๒๐๐] ผู้เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ย่อมอยู่เป็นทุกข์ (วรรคที่ ๓) 33/193/7 33/166/25 |
123 | [๒๐๓] คูถแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้น เหมือนกัน พระพุทธองค์ไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วกาล เพียงลัดนิ้วมือเดียวเลย. . (วรรคที่ ๓) 33/193/15 33/167/6 |
124 | มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม 5 (อ.สูตรที่ ๓) 33/195/9 33/169/6 |
125 | ในคราวกัปพินาศ เมื่อมหาชนพากันเกิดในพรหมโลก บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดอันดิ่ง) ไม่เกิดในพรหมโลกนั้น แต่กลับเกิดที่หลังจักรวาล เมื่อ จักรวาลถูกไฟไหม้อยู่ในโอกาสแห่งหนึ่งในอากาศ (อ.สูตรที่ ๓) 33/195/19 33/169/15 |
126 | ผู้ชักชวนคน 100 คน ให้ทำการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ย่อมได้อกุศลเท่ากันกับ อกุศลของคนผู้ถูกชักชวนทั้ง 100 คนนั้น (อ.สูตรที่ ๕ เป็นต้น) 33/197/15 33/171/13 |
127 | ผู้ชักชวนคนอื่นๆ ให้ถวายอาหาร เป็นต้น ย่อมได้กุศลเท่ากับกุศลของผู้ถวาย ทาน ทั้งหมดนั้น (อ.สูตรที่ ๕ เป็นต้น) 33/198/2 33/171/22 |
128 | เมื่อให้เต็มแล้วแม้จะให้เกินไป มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ หรือนิพพานสมบัติ ที่เกินไปย่อมไม่มี (อ.สูตรที่ ๕ เป็นต้น) 33/198/6 33/172/2 |
129 | อย่างไร จึงได้ชื่อว่า ปฏิคาหกผู้รู้จักประมาณ (อ.สูตรที่ ๕ เป็นต้น) 33/198/17 33/172/14 |
130 | พระเจ้าสัทธาติสสมหาราช ทรงเลื่อมใส สามเณรผู้รู้จักประมาณในการรับ 33/199/18 33/173/10 |
131 | ในพระธรรมวินัยที่ตรัสไว้ดีแล้ว ชื่อว่ากิจที่จะต้องรู้ประมาณแล้วจึงให้ ย่อมไม่มี แก่ทายก ไทยธรรมประมาณเท่าใดมีอยู่ ควรให้ไม่เกินประมาณเท่านั้น. 33/201/12 33/174/23 |
132 | คุณเครื่องเป็นสมณะที่บุคคลจับต้องไม่ดี ย่อมคร่าไปนรก เหมือนหญ้าคาที่ บุคคลจับไม่แน่น(แล้วดึงมา) ย่อมบาดมือนั่นแหละ ฉะนั้น (อ.สูตรที่ ๕ เป็นต้น) 33/202/17 33/175/21 |
133 | บุคคลปรารภความเพียร ทำให้บริบูรณ์ในวัตร เรียนเอาพระพุทธพจน์ และ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจิตย่อมเลื่อมใส เมื่อไม่อาจบรรลุพระอรหัตในปัจจุบัน ย่อมจะเป็นผู้ตรัสรู้เร็วในภพที่เกิด. จึงชื่อว่าอยู่เป็นสุข (อ.สูตรที่ ๕ เป็นต้น) 33/203/7 33/176/7 |
134 | [๒๐๕] สัตว์ที่เขลาโง่เง่า เงอะงะไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำ เป็นทุพภาษิตได้ มีมากกว่า สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า มีเป็นส่วนน้อย (วรรคที่ ๔) 33/205/7 33/178/7 |
135 | [๒๐๕] สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้มากกว่าโดยแท้ (วรรคที่ ๔) 33/205/13 33/178/13 |
136 | [๒๐๖] สัตว์ที่ตายจากมนุษย์ แล้วเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดามีน้อย ไปเกิดใน นรก สัตว์เดียรัจฉาน เปรต มีมากกว่า (วรรคที่ ๔) 33/206/16 33/179/13 |
137 | [๒๐๖] สัตว์ที่ตายจากเทวดาแล้วเกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ มีน้อย ไปเกิดใน นรก สัตว์เดียรัจฉาน เปรต มีมากกว่า (วรรคที่ ๔) 33/206/20 33/179/17 |
138 | [๒๐๖] สัตว์จุติจากนรก แล้วเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา มีน้อย ไปเกิดในนรก สัตว์เดียรัจฉาน เปรต มีมากกว่า (วรรคที่ ๔) 33/207/3 33/179/22 |
139 | ต้นหว้าใหญ่ ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นซึก ต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นปาริชาต ต้นไม้เหล่านี้ตั้งอยู่ชั่วกัป (อ.สูตรที่ ๑) 33/208/7 33/180/19 |
140 | จากชมพูทวีปไป 700 โยชน์ มีประเทศชื่อว่า สุวรรณภูมิ เรือแล่นไปโดยลม จะเดินทางถึงใน 7 วัน 7 คืน (อ.สูตรที่ ๑) 33/209/15 33/182/3 |
141 | พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาสาวก พระพุทธอุปัฏฐาก พระพุทธสาวก พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเกิดใน มัชฌิมประเทศ (อ.สูตรที่ ๒ เป็นต้น) 33/211/5 33/183/14 |
142 | [๒๐๗] คุณสมบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของลาภ ได้แก่ ความเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร... ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย (ปสาทกรธัมมาทิบาลี) 33/214/3 33/186/3 |
143 | [๒๐๘-๒๒๔] ผู้ที่ได้ชื่อว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า (ปสาทกรธัมมาทิบาลี) 33/214/12 33/186/10 |
144 | [๒๒๖] กายคตาสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สังเวชใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ผล คือ วิชชา และวิมุตติ (ปสาทกรธัมมาทิบาลี) 33/219/15 33/190/21 |
145 | [๒๓๒] กายคตาสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอด ธาตุมากหลาย มีการแทงตลอดธาตุต่างๆ มีความแตกฉานในธาตุมากหลาย . (ปสาทกรธัมมาทิบาลี) 33/221/14 33/192/9 |
146 | [๒๓๓] กายคตาสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง เพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง (ปสาทกรธัมมาทิบาลี) 33/221/20 33/192/15 |
147 | [๒๓๕] ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ . (ปสาทกรธัมมาทิบาลี) 33/222/20 33/193/10 |
148 | ฌานมี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน (การเข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์) และ ลักขณูปนิชฌาน (การเข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะ) (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/226/10 33/196/11 |
149 | เมตตา ได้แก่ แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ทั้งหลาย พรหมวิหาร 4 เป็น บาทแห่งวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวิปัสสนาเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นบาทแห่งนิโรธ แต่ไม่เป็นโลกุตระ เพราะยังมีสัตว์เป็นอารมณ์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/227/6 33/197/7 |
150 | กุศลกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นเสีย ให้โอกาสแก่วิบากของตน วิบากที่เกิดขึ้น ในโอกาสที่ได้อย่างนี้ เรียกว่า อุปปันนะ จำเดิมแต่ได้โอกาสนี้ ชื่อว่า โอกาสกตุปปันนะ. (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/231/20 33/201/13 |
151 | ชื่อว่า ธรรมวิจัย เพราะค้นหาสัจธรรมทั้ง 4 มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มี ความแจ่มแจ้งเป็นรส มีความไม่หลงลืม เป็นปัจจุปัฏฐาน (เครื่องปรากฏ) . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/241/4 33/209/17 |
152 | ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/242/1 33/210/10 |
153 | ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/242/14 33/210/23 |
154 | ศรัทธา กับปัญญา และสมาธิ กับวิริยะ ต้องทำให้เสมอกัน . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/244/8 33/212/10 |
155 | สติ มีประโยชน์ทุกอย่าง เพราะ จิตมีสติ เป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการรักษา เป็นเครื่องปรากฏ เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิต จะมีไม่ได้ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/245/13 33/213/11 |
156 | ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/246/6 33/214/1 |
157 | เรื่องพระมหามิตตะ อยู่ในถ้ำกัสสกะ อาศัยมหาอุบาสิกา เป็นผู้บำรุงอยู่ ได้ยินว่านางกินข้าวค้างคืนกับน้ำผักดอง แต่นำอาหารดีๆ ถวายพระ ท่านได้ยิน ดังนั้น จึงกลับไปทำความเพียร ได้บรรลุพระอรหัตก่อนเที่ยง แล้วเข้ามา บิณฑบาตที่บ้านของนาง (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/247/19 33/215/11 |
158 | คนขายฟืนเข็ญใจ ถวายอาหารให้พระเณรแล้ว พระเณรเอาไปทิ้งต่อหน้า จึง นำลูกสาวไปจำนอง แล้วซื้อโคมารีดนมแล้วถวายสลากภัตปรุงด้วยนมสด พร้อมกับเนยใส จำเดิมแต่นั้น พระผู้มีบุญจึงได้สลากภัตในเรือนของเขา . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/249/13 33/216/22 |
159 | ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/256/17 33/222/23 |
160 | ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/258/4 33/224/2 |
161 | ธรรม 11 ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/259/2 33/224/23 |
162 | ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/260/19 33/226/10 |
163 | ธรรมดาว่า สัมมาทิฏฐินี้ในเบื้องต้นมีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน แต่ใน เวลาเป็นมรรค มีขณะเดียวกันมีอารมณ์เดียวกัน (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/263/15 33/228/21 |
164 | พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นอุปการะ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ นิพพาน สัมมาทิฏฐินี้ ชื่อว่า ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังศัสตรา . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/264/5 33/229/7 |
165 | สัมมาสังกัปปะ มีอุปการะมากแก่ สัมมาทิฏฐิ เหมือนว่า เหรัญญิกใช้มือพลิก ไปพลิกมา ดูเหรียญกษาปณ์ ย่อมรู้ว่า อันนี้ปลอม อันนี้ดี. . (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/264/17 33/229/17 |
166 | รูปที่เป็นปริตตารมณ์ เป็นสัปปายะของวิตกจริต. รูปมากหลายไม่มีประมาณ เป็นสัปปายะของโมหจริต. รูปมีวรรณะดีเป็นสัปปายะของโทสจริต รูปมีวรรณะ ทราม เป็นสัปปายะของราคะจริต. (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/268/5 33/232/21 |
167 | อภิภายตนฌาน ทั้ง 8 ประการนี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวัฏฏะบ้าง เป็น บาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง แต่พึงทราบว่าเป็นโลกิยะ เท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/268/20 33/233/11 |
168 | ภิกษุเมื่อจะเจริญกสิณ พึงชำระศีล ตัดความกังวล 10 ประการ แล้วเข้าไปหา ผู้ให้กรรมฐาน เรียนเอากรรมฐานที่เหมาะกับจริตของตน อยู่ในที่อยู่อันเหมาะสม ตัดความกังวลเล็กๆ น้อยๆ แล้วพึงเจริญเถิด. (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/270/7 33/234/20 |
169 | กสิณ 10 นี้เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขในปัจจุบันบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง เป็นบาท ของนิโรธบ้าง เป็นโลกิยะเท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ (อ.อปรอัจฉราสังฆาตวรรค) 33/270/19 33/235/6 |
170 | การแผ่มี 2 อย่าง คือ แผ่ไปด้วยอาโปกสิน แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ . (อ.กายคตาสติวรรค) 33/273/2 33/237/5 |
171 | วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อภิญญา 6 (อ.กายคตาสติวรรค) 33/273/14 33/237/17 |
172 | [๒๔๗] โทษ 2 อย่าง คือ โทษที่เป็นไปในปัจจุบัน โทษที่เป็นไปในภพหน้า (สูตรที่ ๑) 33/285/13 33/248/13 |
173 | [๒๔๗] กรรมกรณ์ 26 อย่าง (สูตรที่ ๑) 33/286/1 33/249/2 |
174 | อรรถกถาอธิบายไว้ (อ.สูตรที่ ๑) 33/289/14 33/251/18 |
175 | บาปให้ผลแก่พระขีณาสพในอัตภาพนี้เท่านั้น (อ.สูตรที่ ๑) 33/292/19 33/254/24 |
176 | [๒๔๘] ในโลกมี ความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก 2 อย่าง คือ ความเพียรเพื่อทำให้เกิด ปัจจัย 4 ของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิ (สิ่งที่ยังระคนด้วย กิเลส) ทั้งปวง ของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต (สูตรที่ ๒) 33/293/3 33/255/5 |
177 | เรื่อง 2 พี่น้อง ฆ่าวัวแบ่งเนื้อกันแล้ว ผู้พี่ฆ่าน้องชายเพราะขอไส้วัวเพิ่ม เมื่อ เขาคิดได้ ก็เศร้าโศก นึกถึงแต่กรรมนั้น จนตาย ไปบังเกิดในนรก (อ.สูตรที่ ๓) 33/295/18 33/257/19 |
178 | [๒๕๑] ภิกษุพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อน แม้จะเหลือ อยู่แต่หนัง เอ็นและกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของ บุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย (สูตรที่ ๕) 33/298/4 33/260/1 |
179 | [๒๕๒] บุคคลผู้ตามเห็นโดยความพอใจในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง สังโยชน์อยู่ย่อมละราคะ โทสะ โมหะไม่ได้ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ (สูตรที่ ๖) 33/301/3 33/263/7 |
180 | [๒๕๕] ธรรมคุ้มครองโลก 2 อย่าง คือ หิริ (ความละอาย) และ โอตตัปปะ (ความเกรงกลัว) (สูตรที่ ๙) 33/304/3 33/267/4 |
181 | [๒๕๖] วัสสูปนายิกา (การเข้าพรรษา) 2 อย่าง คือ วัสสูปนายิกาต้น ตั้งแต่ วันแรม1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญ เดือน 11 และวัสสูปนายิกาหลัง ตั้งแต่ เดือน 8 ล่วงไปถึงเข้าพรรษา 3 เดือนหลัง มีวันเพ็ญเดือน 12 เป็นที่สุด (สูตรที่ ๑๐) 33/305/6 33/268/10 |
182 | 20 พรรษาตอนปฐมโพธิกาล พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติ วันเข้าพรรษา . (อ.สูตรที่ ๑๐) 33/305/15 33/269/1 |
183 | [๒๕๗] พละ 2 อย่าง คือ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ (สูตรที่ ๑) 33/307/4 33/270/4 |
184 | ชื่อว่า พละ ด้วยอรรถว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งความหวั่นไหว (อ.สูตรที่ ๑) 33/308/4 33/271/4 |
185 | [๒๕๘] ภิกษุย่อมเจริญ โพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ (สูตรที่ ๒) 33/309/7 33/272/12 |
186 | [๒๕๙] ฌาน 4 นี้เรียกว่า ภาวนาพละ (สูตรที่ ๓) 33/312/12 33/275/11 |
187 | [๒๖๐] การแสดงธรรมของพระตถาคต 2 อย่าง คือ โดยย่อ โดยพิสดาร (สูตรที่ ๔) 33/313/20 33/276/18 |
188 | [๒๖๑] เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อ และไม่ยืดเยื้อ (สูตรที่ ๕) 33/315/3 33/278/3 |
189 | ภิกษุต้องอาบัติใดแล้ว ในเรื่องนั้น อาบัติไม่มีโทษ ภิกษุผู้โจทก์ก็ไม่มีโทษ แต่ภิกษุผู้ต้องอาบัติรูปนั้น เท่านั้นมีโทษ (อ.สูตรที่ ๕) 33/318/13 33/281/12 |
190 | [๒๖๒] เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ประพฤติไม่เป็นธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (สูตรที่ ๖) 33/319/12 33/282/9 |
191 | โทษของการนั่ง 6 อย่าง (อ.สูตรที่ ๖) 33/322/2 33/284/16 |
192 | อกุศลกรรมบท 10 ชื่อว่าความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความประพฤติ ผิดธรรม (อ.สูตรที่ ๖) 33/323/5 33/285/17 |
193 | เธอจงเข้าถึงธรรมเครื่องสำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล งาม คล่องแคล่ว จำแนกไว้ดีแล้ว นี้ว่าเป็นสรณะเถิด (อ.สูตรที่ ๖) 33/326/11 33/288/8 |
194 | ชื่อว่า พุทธ เพราะกำจัดภัยของเหล่าสัตว์ ด้วยให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไป ให้ออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า ธรรม เพราะยกสัตว์ให้ข้ามจากกันดาร คือภพ และเพราะทำความเบาใจแก่สัตว์โลก ชื่อว่า สงฆ์ เพราะทำสักการะ แม้มีประมาณน้อย กลับได้ผลไพบูลย์ (อ.สูตรที่ ๖) 33/327/11 33/289/4 |
195 | การถึงสรณะเป็นไปโดยอาการ 4 คือ โดยการมอบถวายตน โดยความเป็นผู้ มีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า โดยเข้าถึงความเป็นศิษย์ โดยการนอบน้อม . (อ.สูตรที่ ๖) 33/328/9 33/289/25 |
196 | บุคคลพึงใช้ทรัพย์ส่วนหนึ่งกินอยู่ ใช้ทรัพย์ 2 ส่วนประกอบการงาน ส่วนที่ 4 พึงเก็บไว้ เพื่อคราวอันตรายดังนี้ (อ.สูตรที่ ๖) 33/330/16 33/291/20 |
197 | อุบาสก อุบาสิกา ไหว้ญาติแม้บวชในพวกเดียรถีย์ ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติ ของเรา ดังนี้ สรณคมน์ไม่ขาด (อ.สูตรที่ ๖) 33/330/22 33/291/25 |
198 | ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะจักไม่ไปสู่อบายภูมิ (อ.สูตรที่ ๖) 33/332/11 33/292/23 |
199 | สรณคมน์ ที่เป็นโลกิยะ ย่อมเศร้าหมองด้วยไม่รู้ สงสัยและรู้ผิด (อ.สูตรที่ ๖) 33/333/1 33/293/10 |
200 | ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ชื่อว่า อุบาสก . (อ.สูตรที่ ๖) 33/333/17 33/294/1 |
201 | การค้าขาย 5 อย่าง อุบาสกไม่พึงกระทำ คือ ขายศัสตรา ขายสัตว์ ขายเนื้อ ขายน้ำเมา ขายยาพิษ (อ.สูตรที่ ๖) 33/334/7 33/294/14 |
202 | อุบาสกประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นอุบาสกต่ำช้า มัวหมอง เลวทราม คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ทุศีล ถือมงคลตื่นข่าว คิดเชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม แสวงหา เขตบุญนอกพุทธศาสนา ไม่บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา (อ.สูตรที่ ๖) 33/334/14 33/294/21 |
203 | [๒๖๓] บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ย่อมทำ แต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ย่อมทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (สูตรที่ ๗) 33/337/5 33/297/5 |
204 | [๒๖๔] กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว เพราะ มีโทษ 5 อย่าง คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ กิตติศัพท์ชั่วย่อมกระฉ่อนไป เป็นคนหลงทำกาละ (ตาย) เมื่อตายไป ย่อมเข้า ถึง อบาย ทุคติ วินิบาติ นรก. (สูตรที่ ๘) 33/340/7 33/300/6 |
205 | [๒๖๕] ภิกษุทั้งหลาย จงยังกุศลให้เกิด ก็เพราะกุศลอันบุคคลให้เกิดแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข (สูตรที่ ๙) 33/342/15 33/302/12 |
206 | [๒๖๖] ธรรม 2 อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี อรรถที่นำมาไม่ดี (สูตรที่ ๑๐) 33/343/3 33/303/3 |
207 | [๒๖๗] คนพาล 2 จำพวก คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ คนที่ไม่รับรอง ตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ. (สูตรที่ ๑) 33/345/4 33/305/4 |
208 | [๒๖๘] คน 2 จำพวกย่อมกล่าวตู่พระตถาคต คือ คนเจ้าโทสะ ซึ่งมีโทษอยู่ ภายใน คนที่เชื่อโดยถือผิด (สูตรที่ ๒) 33/346/8 33/307/3 |
209 | ผู้ถือว่าร่างกายของพระพุทธเจ้านั้นเป็นโลกุตระทั้งพระองค์ ชื่อว่า กล่าวตู่ พระพุทธองค์ (อ.สูตรที่ ๒) 33/346/19 33/307/13 |
210 | [๒๖๙] คน 2 จำพวกย่อมกล่าวตู่พระตถาคต คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ ภาษิตไว้มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคต ภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ (สูตรที่ ๓) 33/347/5 33/308/3 |
211 | [๒๗๐] คน 2 จำพวกย่อมกล่าวตู่พระตถาคต คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่ มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว คนที่แสดงพระสุตตันตะ ที่มีอรรถนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป (สูตรที่ ๔) 33/348/3 33/309/3 |
212 | อรรถกถาอธิบายไว้ (อ.สูตรที่ ๔) 33/348/16 33/309/16 |
213 | [๒๗๑] ผู้มีการงานลามกพึงหวังคติ 2 อย่างได้ คือนรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง (สูตรที่ ๕) 33/350/3 33/311/3 |
214 | [๒๗๒] คนมิจฉาทิฏฐิพึงหวัง คติ 2 อย่าง คือ นรก หรือกำสัตว์ดิรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง (สูตรที่ ๖) 33/350/17 33/312/4 |
215 | [๒๗๓] ฐานะที่ต้อนรับคนทุศีลมี 2 อย่าง คือ นรก หรือกำสัตว์ดิรัจฉาน (สูตรที่ ๗) 33/351/9 33/312/14 |
216 | [๒๗๔] พระพุทธองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ จึงเสพเสนาสนะ อันสงัด คือเห็นการอยู่สบายในปัจจุบันของตน อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง . (สูตรที่ ๘) 33/352/3 33/313/8 |
217 | [๒๗๕] สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมละอวิชชาได้ . (สูตรที่ ๙) 33/353/3 33/314/14 |
218 | [๒๗๖] เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุตติ , เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ (สูตรที่ ๑๐) 33/353/11 33/314/20 |
219 | ราคะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมห้ามมิให้มรรคจิต เกิดขึ้นเมื่อนั้น คือ ตัดหนทาง มรรคจิตเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมรรคจิตก็เพิกถอนราคะพร้อมทั้งรากทีเดียว . (อ.สูตรที่ ๑๑) 33/354/7 33/315/15 |
220 | [๒๗๗] ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิสัตบุรุษ (สูตรที่ ๑) 33/356/10 33/317/10 |
221 | [๒๗๘] แม้นำพ่อแม่ แบกอยู่บนบ่าทั้ง 2 ข้าง แล้วปฏิบัติท่านทั้งสองอย่างดี ก็ยัง ไม่ชื่อว่าได้ตอบแทนคุณท่าน (สูตรที่ ๒) 33/357/11 33/318/17 |
222 | [๒๗๘] เหตุที่ได้ชื่อว่า ตอบแทนคุณบิดามารดา (สูตรที่ ๒) 33/358/2 33/319/9 |
223 | [๒๘๐] ในโลกนี้พระเสขะกับพระอเสขะ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายก. ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก (สูตรที่ ๔) 33/362/11 33/323/16 |
224 | [๒๘๑] พระสารีบุตร แสดงถึงบุคคลผู้มีสังโยชน์ใน ภายใน และบุคคลผู้มีสังโยชน์ใน ภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย (สูตรที่ ๕) 33/364/3 33/325/3 |
225 | [๒๘๑] เทวดาสามารถยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง 60 องค์ บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน (สูตรที่ ๕) 33/366/12 33/327/4 |
226 | สถานที่ ที่พระพุทธองค์ ทรงจำพรรษาในช่วง 20 พรรษาตอนปฐมโพธิกาล . (อ.สูตรที่ ๕) 33/368/2 33/328/19 |
227 | ธรรมดา พระอัครสาวกทั้งหลาย มีประชุมสาวกใหญ่ ครั้งเดียว (อ.สูตรที่ ๕) 33/370/10 33/330/19 |
228 | เทวดาผู้เป็นอริยะบางองค์ รู้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกเริ่มเทศนา เทศนา นี้จักตื้นหรือลึก จักพาดพิงถึงฌาน วิปัสสนา มรรค หรือพาดพิงถึงพระนิพพาน จะมีผู้บรรลุธรรมหรือไม่ (อ.สูตรที่ ๕) 33/372/16 33/332/17 |
229 | เทวดา 60 โกฏิเบื้องต้น ได้ยืนเนรมิตอัตภาพให้ละเอียดในที่เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง (อ.สูตรที่ ๕) 33/374/9 33/334/1 |
230 | พระสารีบุตร อธิษฐานให้ ทั้งเทวดา และมนุษย์ ที่มาประชุมทั้งหมดได้เห็น และได้ยินเสียงท่าน (อ.สูตรที่ ๕) 33/374/15 33/334/7 |
231 | สัตว์ทั้งหลายมีเวลาอยู่ในกามภพน้อย เพียงส่วนที่ 4 ของกัปเท่านั้น เวลา 3 ส่วนนอกนี้ กามภพว่างเปล่า. ในกามภพนั้น เหล่าสัตว์มีจุติ และปฏิสนธิ มาก จึงมีความอาลัย ความปรารถนา และ รำพึงรำพัน (อ.สูตรที่ ๕) 33/375/4 33/334/18 |
232 | สังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 ชื่อว่า สังโยชน์ภายใน , สังโยชน์เบื้องบน 5 ชื่อว่า สังโยชน์ภายนอก (อ.สูตรที่ ๕) 33/375/14 33/335/1 |
233 | เปรียบพระอริยะบุคคล ภพ 3 และสังโยชน์ อุปมาด้วย คอกลูกวัว (อ.สูตรที่ ๕) 33/376/11 33/335/20 |
234 | ปาติโมกขสังวรเป็นศีลโดยตรง ภิกษุผู้มีปาติโมกขสังวรแตก ไม่ควรจะกล่าวว่า จักรักษาข้อที่เหลือไว้ได้ เหมือนคนศีรษะขาด ก็ไม่ควรกล่าวว่าจักรักษามือเท้า ไว้ได้ (อ.สูตรที่ ๕) 33/379/10 33/338/7 |
235 | เวลาจบเทศนาในสูตรนี้ เทวดาพันโกฏิ บรรลุพระอรหัต และที่เป็นพระโสดาบัน เป็นต้น นับไม่ถ้วน (อ.สูตรที่ ๕) 33/382/11 33/341/3 |
236 | [๒๘๒] เหตุให้คนทะเลาะกันเพราะ กามราคะ เหตุที่สมณะวิวาทกัน คือ ทิฏฐิราคะ (สูตรที่ ๖) 33/387/9 33/345/15 |
237 | [๒๘๓] พระมหากัจจานะแสดงถึงผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นบัณฑิต เป็นเถระ มิใช่เพราะ เป็นคนแก่ จบเทศนา พราหมณ์กัณฑรายนะ กราบเท้าพระเถระ พร้อมกับ บอกความที่ตนเป็นเด็ก และขอประกาศตนเป็นอุบาสก (สูตรที่ ๗) 33/390/16 33/349/13 |
238 | ผู้ใดมีสัจจะ เที่ยงธรรม ไม่เบียดเบียน สำรวมฝึกฝน ผู้นั้น แหละเป็นผู้คาย กิเลส ดุจธุลีแล้ว เป็นปราชญ์ เราเรียกว่า เถระ (อ.สูตรที่ ๗) 33/394/11 33/352/12 |
239 | [๒๘๔] สมัยใด ภิกษุเลวทรามมีกำลัง ภิกษุมีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง เป็นผู้ นิ่งเงียบในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทปลายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (สูตรที่ ๘) 33/395/3 33/353/9 |
240 | [๒๘๕] " เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน 2 จำพวก คือ คฤหัสถ์ บรรพชิต " (สูตรที่ ๙) 33/397/8 33/355/13 |
241 | [๒๘๖] ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะ ปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความฉิบหาย เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย ยังจะประสบบาปเป็นอันมาก ทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน (สูตรที่ ๑๐) 33/398/6 33/356/16 |
242 | [๒๘๗] บริษัท 2 จำพวก คือบริษัทตื้น บริษัทลึก, บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุ ฟุ้งซ่านเชิดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดอื้อฉาว หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทตื้น . (สูตรที่ ๑) 33/400/4 33/358/4 |
243 | [๒๘๘] บริษัท 2 จำพวกคือ บริษัทที่แยกออกเป็นพวก บริษัทที่สามัคคีกัน, บริษัท ใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุหมายมั่นทะเลาะวิวาทกัน ต่างเอาหอก คือ ปากทิ่ม แทงกันและกันอยู่ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทที่แยกกันเป็นพวก (สูตรที่ ๒) 33/401/12 33/360/3 |
244 | สมคฺคา (ความสามัคคี) ความว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ด้วยการกระทำสิ่งเหล่านี้ คือ งานเดียวกัน อุเทศเดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน . (อ.สูตรที่ ๒) 33/402/11 33/361/5 |
245 | [๒๘๙] บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนมักมาก เป็นหัวหน้าใน การก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ทำความเพียร ชนรุ่นหลังถือเอา พระเถระนั้นเป็นแบบอย่าง บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทไม่มีอัครบุคคล (สูตรที่ ๓) 33/402/18 33/361/12 |
246 | [๒๙๑] ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงฉันทาคติ, โทสาคติ, โมหาคติ, ภยาคติ ภยาคติ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทหยากเยื่อ (สูตรที่ ๕) 33/406/3 33/365/3 |
247 | [๒๙๒] บริษัทดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ได้แก่ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตร ที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ภิกษุในบริษัทนั้น ไม่ตั้งใจ ฟังให้ดี ไม่ตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง ไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน (สูตรที่ ๖) 33/407/19 33/367/3 |
248 | [๒๙๓] บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ได้แก่ ภิกษุบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ต่างสรรเสริญคุณของกันและกัน ต่อหน้าคฤหัสถ์ ผู้นุ่งผ้าขาว ว่าภิกษุรูป โน้นเป็น อุภโตภาควิมุต รูปโน้นมีศีล รูปโน้นทุศีล เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้ว ต่างก็กำหนัดยินดีหมกมุ่นไม่เห็นโทษ ไร้ปัญญาเป็นเหตุออกไปจาก ภพบริโภคอยู่ (สูตรที่ ๗) 33/410/16 33/370/3 |
249 | อธิบาย พระอริยบุคคล 7 จำพวก (อ.สูตรที่ ๗) 33/413/4 33/372/9 |
250 | [๒๙๔] บริษัทไม่เรียบร้อย ได้แก่ ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมฝ่าย อธรรม เป็นไปกรรมฝ่ายธรรมไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่ เป็นไป กรรมฝ่ายอธรรม ฝ่ายไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมฝ่ายธรรม ฝ่ายที่เป็น วินัยไม่รุ่งเรือง (สูตรที่ ๘) 33/414/3 33/373/3 |
251 | [๒๙๖] อธรรมวาทีบริษัท ได้แก่ ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย ยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถือ อธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ยังกัน และกันให้ยินยอมไม่เข้าถึงความตกลงกัน ไม่ยังกัน และกันให้เพ่งโทษตน (สูตรที่ ๑๐) 33/416/3 33/375/8 |
252 | [๒๙๗] พระพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย (สูตรที่ ๑) 33/419/6 33/378/6 |
253 | [๒๙๘] พระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเป็น อัจฉริยมนุษย์ (สูตรที่ ๒) 33/420/8 33/379/13 |
254 | การปรินิพพานของพระตถาคต ย่อมกระทำความร้อนใจแก่เทวดา และมนุษย์ ในหมื่นจักรวาล การตายของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมกระทำความร้อนใจแก่ เทวดา และมนุษย์ในจักรวาลเดียว. (อ.สูตรที่ ๓) 33/421/12 33/381/2 |
255 | ผู้ปรนนิบัติ พระเจดีย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ ผู้ปรนนิบัติ พระเจดีย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมได้นิพพานสมบัติด้วย . (อ.สูตรที่ ๔) 33/422/5 33/381/15 |
256 | [๓๐๑] พระพุทธเจ้า 2 จำพวก คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า (สูตรที่ ๕) 33/422/11 33/382/3 |
257 | [๓๐๒-๓๐๔] เมื่อฟ้าผ่า พระขีณาสพ ย่อมไม่สะดุ้งเพราะละสักกายทิฏฐิได้ แล้ว ส่วนช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย สีหมฤคราช ย่อมไม่สะดุ้ง เพราะมี สักกายทิฏฐิจัด (สูตรที่ ๖-๘) 33/423/3 33/382/14 |
258 | [๓๐๕] กินนร เห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ เราอย่าพูดเท็จ เราอย่า พูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง. จึงไม่พูดภาษามนุษย์ (สูตรที่ ๙) 33/424/11 33/384/13 |
259 | เรื่องกินนร พูดภาษา มนุษย์ (อ.สูตรที่ ๙) 33/425/5 33/385/5 |
260 | [๓๐๖] ผู้หญิงไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม 2 ประการ คือ เสพเมถุนธรรม การ คลอดบุตร (สูตรที่ ๑๐) 33/426/3 33/386/3 |
261 | [๓๐๗] การอยู่ร่วมกันแต่ว่ากล่าวกันไม่ได้ ชื่อว่า อยู่กันอย่างอสัตบุรุษ (สูตรที่ ๑๑) 33/426/14 33/386/14 |
262 | [๓๐๘] อธิกรณ์ ที่เป็นเหตุให้ภิกษุอยู่ไม่ผาสุก และอยู่ผาสุก (สูตรที่ ๑๒) 33/430/3 33/390/3 |
263 | [๓๑๐] สุข 2 อย่าง คือ กามสุข เนกขัมมสุข (บรรพชา) บรรดาสุข 2 อย่างนี้ เนกขัมมเนกขัมมสุขเป็นเลิศ (สูตรที่ ๒) 33/432/9 33/392/9 |
264 | [๓๑๓] สุข 2 อย่าง คือ สุขอิงอามิส สุขไม่อิงอามิส บรรดาสุข 2 อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ (สูตรที่ ๕) 33/433/8 33/393/12 |
265 | [๓๑๕] สุข 2 อย่าง คือ กายิกสุข (สุขทางกาย) เจตสิกสุข (สุขทางใจ) บรรดา สุข 2 อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ (สูตรที่ ๗) 33/434/2 33/394/8 |
266 | [๓๑๘] สุข 2 อย่าง คือ สุขที่ถึงสมาธิ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ บรรดาสุข 2 อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ (สูตรที่ ๑๐) 33/434/19 33/395/8 |
267 | [๓๒๑] สุข 2 อย่าง คือ สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ บรรดา สุข 2 อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ (สูตรที่ ๑๓) 33/435/18 33/396/9 |
268 | [๓๒๒-๓๓๑] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิตไม่เกิดขึ้น ฯลฯ มีนิทานจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีเหตุจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีเครื่องปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีรูปจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีเวทนาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีสัญญา จึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น (สูตรที่ ๑-๑๐) 33/440/3 33/402-405 |
269 | ในขณะแห่งมรรค ธรรมที่เป็นบาปอกุศล ชื่อว่าไม่มีอยู่ เมื่อบรรลุผลแล้ว ก็ชื่อว่ามิได้มีแล้ว (อ.สูตรที่ ๑๐) 33/443/16 33/407/12 |
270 | [๓๓๒] ธรรม 2 อย่าง คือ เจโตวิมุตติ(สมาธิที่ประกอบด้วยอรหัตผล) ปัญญาวิมุตติ (ปัญญาที่ประกอบด้วยอรหัตผล) (สูตรที่ ๑) 33/444/3 33/408/3 |
271 | [๓๓๔] ธรรม 2 อย่าง คือ นาม รูป (สูตรที่ ๓) 33/444/13 33/409/2 |
272 | [๓๓๘] ธรรม 2 อย่าง คือ หิริ(ความละอาย) โอตตัปปะ(ความเกรงกลัว) (สูตรที่ ๗) 33/445/12 33/410/7 |
273 | [๓๔๒] ธรรม 2 อย่าง คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ความเป็นผู้ฉลาดในการ ออกจากอาบัติ (สูตรที่ ๑๑) 33/446/12 33/411/12 |
274 | [๓๔๓] คนพาล 2 จำพวก คือ คนที่นำเอาภาระที่ยังมาไม่ถึงไป คนที่ไม่นำ เอาภาระที่มาถึงไป (สูตรที่ ๑) 33/450/3 33/416/3 |
275 | [๓๔๕] คนพาล 2 จำพวก คือ คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร คนที่เข้าใจ ว่าไม่ควรในของที่ควร (สูตรที่ ๓) 33/450/13 33/417/2 |
276 | [๓๔๗] คนพาล 2 จำพวก คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติ ในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ (สูตรที่ ๕) 33/451/4 33/417/12 |
277 | [๓๔๙] คนพาล 2 จำพวก คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม คน ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม (สูตรที่ ๗) 33/451/16 33/418/8 |
278 | [๓๕๑] คนพาล 2 จำพวก คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย คนที่ เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย (สูตรที่ ๙) 33/452/8 33/419/2 |
279 | [๓๕๓] อาสวะย่อมเจริญแก่คน 2 จำพวก คือ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ (สูตรที่ ๑๑) 33/452/20 33/419/13 |
280 | [๓๖๑] อาสวะย่อมเจริญแก่คน 2 จำพวก คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่ เป็นวินัย ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย (สูตรที่ ๑๙) 33/455/5 33/422/8 |
281 | ถวายโรงอุโบสถ ตามประทีป ตั้งน้ำดื่ม ตั้งอาสนะ นำฉันทะมา นำปาริสุทธิมา บอกฤดูนับภิกษุ โอวาท สวดปาติโมกข์ ท่านเรียกว่า ภาระหน้าที่ของพระเถระ . (อ.สูตรที่ ๑) 33/456/5 33/424/6 |
282 | [๒๖๓] ความหวัง 2 อย่าง คือ ความหวังในลาภ ความหวังในชีวิต 2 อย่าง นี้ละได้ยาก (สูตรที่ ๑) 33/459/4 33/428/4 |
283 | [๓๖๔] บุคคล 2 จำพวก คือ บุพพการีบุคคล (ผู้ทำอุปการะก่อน) กตัญญูกตเวที บุคคล(ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทนภายหลัง) 2 พวกนี้ หาได้ยากในโลก . (สูตรที่ ๒) 33/459/9 33/428/9 |
284 | [๓๖๖] บุคคล 2 จำพวก คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้วๆ บุคคลผู้สละสิ่งที่ได้ แล้วๆ 2 พวกนี้ให้อิ่มได้ยาก (สูตรที่ ๔) 33/460/2 33/429/7 |
285 | [๓๖๘] สุภนิมิต และการใส่ใจโดยไม่แยบคาย เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่งราคะ (สูตรที่ ๖) 33/460/14 33/430/2 |
286 | [๓๖๙] ปฏิฆนิมิต (นิมิตให้ขัดเคือง)และอโยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งโทสะ (สูตรที่ ๗) 33/460/19 33/430/8 |
287 | [๓๗๐] การโฆษณาแต่บุคคลอื่นและอโยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยเพื่อความเกิด ขึ้นแห่ง มิจฉาทิฏฐิ (สูตรที่ ๘) 33/461/4 33/430/14 |
288 | [๓๗๔] อาบัติ 2 อย่าง คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือและอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ (สูตรที่ ๑๒) 33/462/7 33/432/2 |
289 | [๓๗๙] อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม 2 ประการ คือ ไม่พิจารณา ไตร่ตรองพูดสรรเสริญคุณของคนที่ควรติเตียน ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติเตียน โทษของคนที่ควรสรรเสริญ เขาย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย (สูตรที่ ๕) 33/467/9 33/438/14 |
290 | [๓๘๐] อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม 2 ประการ คือ ไม่ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส, เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เขาย่อมบริหารตนให้ถูก กำจัด เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย . (สูตรที่ ๖) 33/468/5 33/439/16 |
291 | [๓๘๑] ผู้ปฏิบัติผิดต่อ บิดา มารดา ย่อมประสบบาปเป็นอันมาก (สูตรที่ ๗) 33/469/5 33/440/14 |
292 | [๓๘๒] ผู้ปฏิบัติผิดต่อพระตถาคต และสาวกของพระตถาคต ย่อมประสบบาป เป็นอันมาก (สูตรที่ ๘) 33/469/21 33/441/8 |
293 | [๓๘๓] ธรรม 2 อย่าง คือ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว การไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก (สูตรที่ ๙) 33/470/16 33/442/2 |
294 | [๓๘๖] ทาน 2 อย่าง คือ อามิสทาน ธรรมทาน บรรดาทาน 2 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ (สูตรที่ ๑) 33/476/3 33/448/3 |
295 | [๓๘๗] การบูชา 2 อย่างคือ การบูชาด้วยอามิส การบูชาด้วยธรรม บรรดา การบูชา 2 อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ (สูตรที่ ๒) 33/476/9 33/448/8 |
296 | [๓๙๑] การสมโภค (การอยู่ร่วม) 2 อย่าง คือ การสมโภคอามิส การสมโภคธรรม บรรดาการสมโภค 2 อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ (สูตรที่ ๖) 33/477/14 33/450/2 |
297 | [๒๙๓] การสงเคราะห์ 2 อย่าง คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส การสงเคราะห์ ด้วยธรรม บรรดาการสงเคราะห์ 2 อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ . (สูตรที่ ๘) 33/478/6 33/450/14 |
298 | [๓๙๔] การอนุเคราะห์ 2 อย่าง คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส การอนุเคราะห์ ด้วยธรรม บรรดาการอนุเคราะห์ 2 อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ . (สูตรที่ ๙) 33/478/13 33/451/2 |
299 | [๓๙๕] ความเอื้อเฟื้อ 2 อย่าง คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ความเอื้อเฟื้อ ด้วยธรรม บรรดาความเอื้อเฟื้อ 2 อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ . (สูตรที่ ๑๐) 33/478/20 33/451/8 |
300 | [๓๙๗] ปฏิสันถาร 2 อย่าง คือ อามิสปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร บรรดา ปฏิสันถาร 2 อย่างนี้ ธรรมปฏิสันถารเป็นเลิศ (สูตรที่ ๒) 33/483/9 33/456/9 |
301 | [๓๙๙] ปริเยสนา(การแสวงหา) 2 อย่าง คือ การแสวงหาอามิส การแสวงหาธรรม บรรดาการแสวงหา 2 อย่างนี้ การแสวงหาธรรมเป็นเลิศ (สูตรที่ ๔) 33/484/2 33/457/8 |
302 | [๔๐๒] ของต้อนรับแขก 2 อย่าง คือ ของต้อนรับแขกคืออามิส ของต้อนรับแขกคือธรรม บรรดาของต้อนรับแขก 2 อย่างนี้ ของต้อนรับแขกคือธรรม เป็นเลิศ (สูตรที่ ๗) 33/485/2 33/458/7 |
303 | [๔๐๔] ความเจริญ 2 อย่าง คือ ความเจริญด้วยอามิส ความเจริญด้วยธรรม บรรดาความเจริญ 2 อย่างนี้ ความเจริญด้วยธรรมเป็นเลิศ (สูตรที่ ๙) 33/485/14 33/459/2 |
304 | [๔๐๗] ความไพบูลย์ 2 อย่าง คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส ความไพบูลย์แห่ง ธรรม บรรดาความไพบูลย์ 2 อย่างนี้ ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ (สูตรที่ ๑๒) 33/486/14 33/460/2 |
305 | การปูลาดด้วยปัจจัย 4 โดยปกปิดช่องว่างตน และคนอื่น ชื่อว่า อามิสสันถาร . (อ.สูตรที่ ๑) 33/487/4 33/460/11 |
306 | [๔๐๘] ธรรม 2 อย่าง คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ความเป็นผู้ฉลาดใน การออกจากสมาบัติ (สูตรที่ ๑) 33/490/3 33/465/3 |
307 | [๔๐๙] ธรรม 2 อย่าง คือ ความเป็นผู้ซื่อตรง ความเป็นผู้อ่อนโยน (สูตรที่ ๒) 33/490/8 33/465/8 |
308 | [๔๑๐] ธรรม 2 อย่าง คือ ขันติ โสรัจจะ (ความสงบเสงี่ยม) (สูตรที่ ๓) 33/490/13 33/466/2 |
309 | [๔๑๑] ธรรม 2 อย่าง คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน การต้อนรับแขก (สูตรที่ ๔) 33/490/18 33/466/6 |
310 | [๔๑๒] ธรรม 2 อย่าง คือ ความไม่เบียดเบียน ความเป็นคนสะอาด (สูตรที่ ๕) 33/491/5 33/466/11 |
311 | [๔๑๕] ธรรม 2 อย่าง คือ กำลังคือการพิจารณา กำลังคือการอบรม (สูตรที่ ๘) 33/492/2 33/467/12 |
312 | [๔๑๖] ธรรม 2 อย่าง คือ กำลังคือสติ กำลังคือสมาธิ (สูตรที่ ๙) 33/492/7 33/468/2 |
313 | [๔๒๒] ธรรม 2 อย่าง คือ ความเป็นผู้ยังไม่พอในกุศลธรรม ความเป็นผู้ไม่ ท้อถอยในความเพียร (สูตรที่ ๑๕) 33/493/17 33/470/2 |
314 | [๔๒๔] ธรรม 2 อย่าง คือ สติ สัมปชัญญะ (ความรู้สึกตัว) (สูตรที่ ๑๗) 33/494/7 33/470/12 |
315 | [๔๒๗] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 2 ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ธรรม 2 ประการ คือ ความโกรธ ความผูกโกรธ, ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ, ...ความริษยา ความตระหนี่,... มายา โอ้อวด... ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว 33/500/12 33/477/12 |
316 | [๔๒๙] ธรรม 2 อย่าง คือ ความโกรธ ความผูกโกรธ... ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ... ความริษยา ความตระหนี่... มายา โอ้อวด... ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ 33/501/3 33/477/24 |
317 | [๔๓๑] บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 2 ประการ ตั้งอยู่ในนรกเหมือนดังถูกนำมา ฝังไว้ธรรม 2 อย่าง คือ ความโกรธ ความผูกโกรธ... ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ... ความริษยา ความตระหนี่... มายา โอ้อวด... ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว 33/501/16 33/478/11 |
318 | [๔๓๓] บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย ธรรม 2 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม 2 อย่าง คือ ความโกรธ ความผูกโกรธ... ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ... ความริษยา ความตระหนี่... มายา โอ้อวด... ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว 33/502/8 33/478/24 |
319 | [๔๓๖] เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ 2 อย่าง พระตถาคตจึงทรงบัญญัติ สิกขาบทแก่สาวก อำนาจประโยชน์ 2 อย่าง คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ เพื่อ ความสำราญแห่งสงฆ์... เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้ มีศีลเป็นที่รัก...เพื่ออนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุ ผู้มีความปรารถนาลามก... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่ออนุเคราะห์ พระวินัย 33/503/14 33/479/25 |
320 | [๔๓๘] เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม 2 อย่าง คือ สมถะ วิปัสสนา 33/505/14 33/481/17 |
321 | สิกขาบทที่ ทรงบัญญัติเมื่อพวกคฤหัสถ์กล่าวโทษ ชื่อว่าทรงบัญญัติ เพื่ออนุ เคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย (อ.พระสูตร ข้อ ๔๒๕-๔๓๙) 33/508/7 33/485/15 |
322 | ทรงบัญญัติ อุปสัมปทา 8 อย่าง (อ.พระสูตร ข้อ ๔๒๕-๔๓๙) 33/509/15 33/486/25 |