1 | [๒-๖] ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) อื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของสตรีเลย . (รูปาทิวรรคที่ ๑) 32/1/15 32/2/1 |
2 | [๗-๑๑] ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อื่นแม้อย่างหนึ่งที่จะครอบงำจิต ของสตรีตั้งอยู่เหมือนรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของบุรุษเลย (รูปาทิวรรคที่ ๑) 32/2/14 32/2/16 |
3 | คัมภีร์ อังคุตตรนิกาย มี11 นิบาต ว่าโดยสูตร มี 9,557 สูตร . (อ.สูตรที่ ๑) 32/7/3 32/6/13 |
4 | ภควา เป็นคำกล่าวด้วยเคารพ จริงอยู่ คนทั้งหลายเรียกครูในโลกว่า ภควา . (อ.สูตรที่ ๑) 32/22/13 32/19/4 |
5 | ปาพจน์ หมายถึง ธรรมและวินัย (อ.สูตรที่ ๑) 32/23/13 32/19/23 |
6 | พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ย่อมทั่วไปแก่คนทั้งปวง แต่เมื่อเทวดา และมนุษย์เหล่าอื่น ก็มีอยู่ในที่นั้น พระองค์ตรัสเรียกเฉพาะภิกษุ เพราะ ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้เจริญที่สุด (อ.สูตรที่ ๑) 32/28/17 32/24/4 |
7 | เหตุตั้งแห่งพระสูตร มี 4 อย่าง คือ เกิดเพราะอัธยาศัยของตน, เกิดเพราะ อัธยาศัยของผู้อื่น, เกิดด้วยอำนาจ คำถาม, เกิดเพราะเหตุเกิดเรื่อง . (อ.สูตรที่ ๑) 32/30/18 32/25/22 |
8 | ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดย่อมแตกสลาย เพราะเหตุนั้นธรรมชาตินั้นจึง เรียกว่า รูป (อ.สูตรที่ ๑) 32/33/9 32/27/20 |
9 | พระจิตตะ บวชเมื่อแก่ ได้เห็น พระอัครมเหสีของพระราชา แล้วถึงความ พร่ำเพ้อ เหมือนคนบ้า (อ.สูตรที่ ๑) 32/34/17 32/28/21 |
10 | ภิกษุหนุ่ม และนางสนมแลดูกัน และกัน ถูกไฟราคะแผดเผาได้ตายไป ด้วยกัน (อ.สูตรที่ ๑) 32/35/14 32/29/16 |
11 | เรื่อง ปูทอง และนกยูงทอง หลงเสียงหญิง (อ.สูตรที่ ๒) 32/36/20 32/30/16 |
12 | หญิงบางคนมีกลิ่นเหมือนกลิ่นม้า กลิ่นแพะ กลิ่นเลือด (อ.สูตรที่ ๓) 32/40/11 32/33/11 |
13 | ช้าง ม้า โค ตามกลิ่นระดูของตัวเมีย ได้ไกลถึง1-4 โยชน์ (อ.สูตรที่ ๓) 32/40/17 32/33/17 |
14 | รสน้ำลายที่เปื้อนเนื้อริมฝีปากของหญิง แม้แต่รสแห่งข้าวต้ม และข้าวสวย เป็นต้น ที่เธอให้แก่สามี ทั้งหมดนี้พึงทราบว่ารสแห่งหญิง เหมือนกัน . (อ.สูตรที่ ๔) 32/41/9 32/34/6 |
15 | ภิกษุรูปหนึ่งมีกลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปาก เพราะชาติก่อน ในเวลา ฟังธรรม ได้กล่าวว่า สาธุ สาธุ (อ.สูตรที่ ๕) 32/44/8 32/36/9 |
16 | [๑๒-๑๖] เหตุที่ทำให้นิวรณ์ 5 เกิด และเจริญขึ้น (นีวรณปหานวรรคที่ ๒) 32/46/3 32/38/4 |
17 | [๑๗-๒๑] เหตุที่ไม่ให้นิวรณ์ 5 เกิดขึ้น (นีวรณปหานวรรคที่ ๒) 32/47/18 32/39/19 |
18 | กิเลสย่อมไม่ฟุ้งขึ้น แก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจ วัตร คันถะ (การเล่าเรียน) ธุดงค์ สมาธิ วิปัสสนา และนวกรรม ที่เธอทำแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง . (อ.สูตรที่ ๑) 32/51/5 32/42/5 |
19 | ภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก เพราะตนไม่มีการส้องเสพมาก่อน กิเลสจึงไม่ได้โอกาส (อ.สูตรที่ ๑) 32/53/3 32/43/20 |
20 | ปฏิฆนิมิต เป็นชื่อของปฏิฆจิต ความแค้นเคืองก็มี อารมณ์ที่ทำให้แค้นเคืองก็มี . (อ.สูตรที่ ๒) 32/55/8 32/45/13 |
21 | ภาวะที่จิตไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า ถีนะ , ภาวะที่ขันธ์ทั้ง 3 ไม่ควรแก่ การงาน ชื่อว่า มิทธะ (อ.สูตรที่ ๓) 32/56/3 32/46/3 |
22 | พระมาลกติสสะ เคยเป็นนายพราน เพราะความกลัวภัยในนรกจึงบวช ท่าน ได้เอาใบไม้ชุ่มน้ำวางบนศีรษะทำความเพียร (อ.สูตรที่ ๖) 32/58/19 32/48/19 |
23 | พระมาลิยเทวะ ได้เรียนอุเทศ และทำวิปัสสนากรรมฐาน ท่านอาศัยอุบาสิกา ถวายอาหารประจำ ในวันปวารณาท่านได้บรรลุพระอรหันต์ เมื่อท่านแสดงธรรม ในที่ประชุมจบลง อุบาสิกานั้นฟังอยู่ ได้บรรลุโสดาปัตติผล (อ.สูตรที่ ๖) 32/62/12 32/51/17 |
24 | พระติสสภูตเถระ ข่มกิเลสด้วยการเรียน ไปขอกรรมฐานกับพระมัลลยวาสิมหารักขิตเถระ แล้วไปนั่งทำความเพียร ที่โคนกอไม้มะลื่น ทำอสุภกรรมฐาน ให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๖) 32/63/21 32/52/21 |
25 | พระมหาสิวเถระ มีลูกศิษย์ เป็นพระอรหันต์ 60,000 รูป แต่ตนเองยังเป็น ปุถุชน พระลูกศิษย์องค์หนึ่ง ทำให้ท่านสังเวช จึงไปทำความเพียร 30 ปี ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ (อ.สูตรที่ ๖) 32/65/11 32/54/3 |
26 | พระมหาติสสเถระ ได้สมาบัติ 8 ตั้งแต่ พรรษา 8 สำคัญว่าได้บรรลุ จน พรรษา 60 ลูกศิษย์ชื่อ พระธัมมทินนะ แนะนำบอกอสุภกรรมฐานให้ พอลูกศิษย์ท่าน ออกจากที่พักไปพระเถระก็บรรลุพระอรหันต์ (อ.สูตรที่ ๖) 32/67/8 32/55/17 |
27 | ภิกษุ 60 รูป สำคัญว่าได้บรรลุ พระพุทธองค์ไม่ให้พบ บอกให้พระอานนท์ ส่งไปป่าช้า ทำกรรมฐานได้บรรลุพระอรหันต์ (อ.สูตรที่ ๖) 32/69/1 32/57/7 |
28 | พระติสสะ ในเวลาได้ 8 พรรษา เกิดความอยากสึก พระอาจารย์จึงให้สร้าง ที่พัก เสร็จแล้วให้ท่านอยู่ในที่พักนั้น พระติสสะนั้นจึงเจริญวิปัสสนา ก็ได้ บรรลุพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๖) 32/70/12 32/58/6 |
29 | ปหานะ (การละ) 5 เหล่านี้ คือ ละกิเลสได้ชั่วคราว ละด้วยการข่ม ละด้วย การเว้นขาด ละด้วยความสงบระงับ ละด้วยการสละออก (อ.สูตรที่ ๖) 32/72/7 32/59/21 |
30 | ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละ กามฉันทะ (อ.สูตรที่ ๖) 32/73/7 32/60/18 |
31 | ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละ พยาบาท (อ.สูตรที่ ๗) 32/75/1 32/62/1 |
32 | ความเพียร 3 ได้แก่ ความเพียรครั้งแรก ความเพียรเพราะออกจากความเกียจคร้านได้ ความเพียรที่ก้าวไปยังฐานข้างหน้า ๆ (อ.สูตรที่ ๘) 32/76/3 32/63/3 |
33 | พระมหานาค เดิน ยืน นั่ง นอน อย่างละ1 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 4 ท่านเจริญวิปัสสนา ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๘) 32/77/15 32/64/8 |
34 | ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละ ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) . (อ.สูตรที่ ๘) 32/77/19 32/64/13 |
35 | ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละ อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) . (อ.สูตรที่ ๙) 32/79/1 32/65/9 |
36 | ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละ วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (อ.สูตรที่ ๑๐) 32/79/19 32/66/5 |
37 | [๒๓] จิตที่อบรมแล้วย่อมควรแก่การงาน (อกัมมนิยวรรคที่ ๓) 32/81/5 32/67/6 |
38 | [๒๕] จิตที่อบรมแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ (อกัมมนิยวรรคที่ ๓) 32/81/12 32/67/12 |
39 | [๓๑] จิตที่อรบมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ (อกัมมนิยวรรคที่ ๓) 32/82/15 32/68/14 |
40 | กรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า วัฏฏะ กรรม คือ การกระทำเพื่อได้วัฏฏะ ชื่อว่า วัฏฏบาท โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า วิวัฏฏะ กรรมคือ การปฏิบัติเพื่อได้ วิวัฏฏะ ชื่อว่า วิวัฏฏบาท (อ.สูตรที่ ๒) 32/83/12 32/69/13 |
41 | จิตแม้ในเทวสมบัติ มนุษย์สมบัติ และความเป็นใหญ่ในมาร และพรหม ยังให้ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ฯลฯ ย่อมให้แต่กองทุกข์ อย่างเดียวเท่านั้น . (อ.สูตรที่ ๓) 32/84/3 32/70/4 |
42 | [๓๓] จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์อย่างใหญ่ (อทันตวรรคที่ ๔) 32/87/7 32/73/6 |
43 | [๓๕] จิตที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ (อทันตวรรคที่ ๔) 32/87/14 32/73/13 |
44 | [๓๗] จิตที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ (อทันตวรรคที่ ๔) 32/88/5 32/73/19 |
45 | [๓๙] จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ (อทันตวรรคที่ ๔) 32/88/13 32/74/6 |
46 | [๔๑] จิตที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ อย่างใหญ่ (อทันตวรรคที่ ๔) 32/89/1 32/74/14 |
47 | [๔๒] ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วย จิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕) 32/93/3 32/78/3 |
48 | [๔๔] เพราะเหตุที่จิตอันโทษประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕) 32/94/3 32/78/17 |
49 | [๔๙] พระพุทธองค์ ย่อมไม่เล็งเห็นธรรม อื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต (ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕) 32/95/15 32/80/4 |
50 | [๕๐] จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา . (ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕) 32/95/18 32/80/7 |
51 | กุศลอันมาก หรือน้อยก็ตาม ถ้าปรารถนาวัฏฏะสมบัติ ชื่อว่า จิตที่ตั้งไว้ผิด . (อ.สูตรที่ ๒) 32/97/20 32/82/15 |
52 | คำว่า อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (อ.สูตรที่ ๓) 32/99/1 32/83/11 |
53 | กุศลกรรมบถ10 ประการ เรียกว่า มนุษยธรรม แต่ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล พึงทราบว่า ยิ่งไปกว่า มนุษยธรรมนั้น (อ.สูตรที่ ๕) 32/100/23 32/85/14 |
54 | [๕๒] จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา . (อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖) 32/106/3 32/90/3 |
55 | [๕๕] ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ชื่อว่า ไม่ฉันข้าวของชาวบ้านเปล่าๆ (อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖) 32/106/16 32/90/15 |
56 | [๕๗-๕๘] กุศลธรรม และอกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนบุคคล มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น (อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖) 32/107/8 32/91/3 |
57 | [๖๑] เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป (อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖) 32/108/3 32/91/19 |
58 | พระพุทธเจ้า ตรัสปุถุชนไว้ 2 พวก คือ อันธปุถุชน (คนธรรมดาผู้โง่เขลา) กัลยาณปุถุชน (คนธรรมดาผู้มีความประพฤติดี) (อ.สูตรที่ ๑) 32/111/1 32/93/11 |
59 | พุทธกิจ 5 (อ.สูตรที่ ๓) 32/113/1 32/95/6 |
60 | เมื่อนามกาย กลัดกลุ้ม กรัชกาย (ร่างกาย) ก็รุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออก จากปาก (อ.สูตรที่ ๓) 32/118/16 32/99/20 |
61 | ภิกษุทั้งหลาย นั้นเป็นส่วนเบื้องต้น ทั้งหมดแห่งเมตตา ไม่ใช่อัปปนา ไม่ใช่ อุเบกขา เป็นเพียง แผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น (อ.สูตรที่ ๓) 32/121/7 32/101/25 |
62 | คำว่า ซ่องเสพ ย่อมเสพอย่างไร ? คือ นึกถึงอยู่เสพ พิจารณาอยู่เสพ ประคองความเพียรอยู่เสพ น้อมใจเชื่อเสพ เข้าไปตั้งสติเสพ... กระทำให้ แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งเสพ. (อ.สูตรที่ ๓) 32/121/14 32/102/6 |
63 | บริโภค มี 4 อย่าง คือ บริโภคโดยอาการขโมย บริโภคโดยความเป็นหนี้ บริโภคโดยความเป็นทายาท บริโภคโดยเป็นเจ้าของ (อ.สูตรที่ ๓) 32/122/20 32/103/8 |
64 | คำว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย นี้ ท่านกล่าวเนื่องด้วยฌาน และวิปัสสนา แต่มรรคผลที่เกิดขึ้นแล้ว ครั้งเดียว ไม่เสื่อมอีกต่อไป (อ.สูตรที่ ๘) 32/127/4 32/107/7 |
65 | [๖๒-๗๑] เหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น และอกุศลธรรมเสื่อมไป ได้แก่ การปรารภความเพียร ความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ การใส่ใจโดยแยบคาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว, เหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น และกุศลธรรมเสื่อม ได้แก่ ความเป็นผู้มักมาก ความเป็นผู้ไม่สันโดษ การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (วิริยารัมภาทิวรรคที่ ๗) 32/128/3 32/108/3 |
66 | ความประกาศคุณที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่า ความปรารถนาลามก (อ.สูตรที่ ๓) 32/132/17 32/112/17 |
67 | ผู้มีศรัทธา มีศีล ปรารถนาให้ชนรู้จักเราว่า มีศรัทธา มีศีล ชื่อว่า มักมาก . (อ.สูตรที่ ๓) 32/133/3 32/112/22 |
68 | กองไฟ สมุทร คนมักมาก ให้ปัจจัยตั้งเล่มเกวียน ทั้ง 3 ประเภทนั้น ไม่รู้ จักอิ่ม. (อ.สูตรที่ ๓) 32/133/11 32/113/5 |
69 | พระมัชฌันติกเถระ มีบาตรและจีวร ราคาบาทเดียว ท่านดำลงในแผ่นดิน เข้าไปรับอาหารในงานฉลองวิหารของพระเจ้าธรรมาโศกราช (อ.สูตรที่ ๓) 32/133/19 32/113/14 |
70 | ความมักน้อย อีก 4 ประการ คือ มักน้อยในปัจจัย มักน้อยในธุดงค์ มักน้อย ในปริยัติ มักน้อยในอธิคม (อ.สูตรที่ ๓) 32/134/12 32/114/2 |
71 | ไทยธรรมมีมาก ทั้งทายกก็ประสงค์จะถวายมาก พึงรับแต่พอประมาณ . (อ.สูตรที่ ๓) 32/134/18 32/114/8 |
72 | ตัวอย่าง ของผู้มักน้อยในธุดงค์ มีพระมหากุมารกัสสปะ และพระ 2 พี่น้อง อยู่ที่เจติยบรรพต. (อ.สูตรที่ ๓) 32/135/1 32/114/12 |
73 | ความสันโดษนั้นมี12 อย่าง (อ.สูตรที่ ๕) 32/136/17 32/116/6 |
74 | ภิกษุได้บิณฑบาตที่แสลงต่อปกติของตน หรือต่อความป่วยไข้ บริโภคแล้ว ไม่ผาสุก เธอให้บิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วฉันอาหารที่เป็นที่ สบายจากมือของภิกษุนั้น ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ (อ.สูตรที่ ๕) 32/137/20 32/117/1 |
75 | บุคคลเหล่าใด เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีสุตน้อย เป็นผู้ตระหนี่ เป็นผู้มีปัญญาทราม การเสพ การคบหา ความภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น มีบุคคลเหล่านั้นเป็นเพื่อน นี้ เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (อ.สูตรที่ ๑๐) 32/141/12 32/120/7 |
76 | [๗๒] เมื่อบุคคลมีมิตรดี กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป (กัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘) 32/142/3 32/121/3 |
77 | [๗๖] เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ (กัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘) 32/143/9 32/122/5 |
78 | [๗๗-๘๑] ความเสื่อมญาติ เสื่อมโภคะ เสื่อมยศ มีประมาณน้อย ความ เสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย (กัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘) 32/143/14 32/122/10 |
79 | ในเวลาที่เกิดวิปัสสนา โพชฌงค์ จัดเป็นกามาวจร. ในเวลาที่เกิดในฌานอัน เป็นบาทของวิปัสสนา โพชฌงค์ เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร ในเวลาที่เกิด ในมรรค และผล โพชฌงค์เป็น โลกุตตระ (อ.สูตรที่ ๕) 32/147/1 32/125/6 |
80 | [๘๒] ความเจริญด้วยยศ มีประมาณน้อย ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่า ความเจริญทั้งหลาย (ปมาทาทิวรรคที่ ๙) 32/151/3 32/129/3 |
81 | [๘๓-๙๘] ความไม่ประมาท ความเป็นผู้ปรารภความเพียร ความเป็นผู้มัก น้อย ความเป็นผู้สันโดษ การใส่ใจโดยแยบคาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ความ เป็นผู้มีมิตรดี การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ . (ปมาทาทิวรรคที่ ๙) 32/151/7 32/129/7 |
82 | [๑๑๕-๑๓๐] ธรรมเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเสื่อมสูญ และดำรงมั่น มีความ ประมาท และความไม่ประมาท เป็นต้น (วรรคที่ ๑๐) 32/159/12 32/136/2 |
83 | โพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) 37 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 32/164/18 32/141/20 |
84 | กรรมที่ไม่ได้โจทย์ ไม่ให้ระลึกได้ ด้วยเรื่องอันไม่เป็นจริง แล้ว ปรับอาบัติ โดยที่ไม่ได้ปฏิญญาไว้ ชื่อว่า อธรรม (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/165/13 32/142/11 |
85 | โดยปริยายแห่งพระสูตรการกำจัดราคะ โทสะ โมหะ การสังวร การละ การ พิจารณา ชื่อว่า วินัย โดยปริยายแห่งพระวินัย วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่า วินัย . (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/165/15 32/142/14 |
86 | อันตรธาน มี 5 อย่าง คือ อธิคมอันตรธาน (อันตรธานแห่งการบรรลุ), ปฏิปัตติอันตรธาน (อันตรธานแห่งการปฏิบัติ) , ปริยัตติอันตรธาน(อันตรธาน แห่งปริยัติ) , ลิงคอันตรธาน (อันตรธานแห่งเพศ) , ธาตุอันตรธาน (อันตรธานแห่งธาตุ) (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/167/2 32/143/21 |
87 | นับตั้งแต่พระพุทธเจ้า ปรินิพพานได้1000 ปี เท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ และเพราะความสิ้นไปแห่งชีวิตของพระอริยบุคคล องค์ สุดท้าย ชื่อว่า อันตรธานแห่งอธิคม (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/167/8 32/144/1 |
88 | เมื่อปริยัติ เสื่อมหมด แม้คาถา 4 บท ก็ไม่มีผู้รู้จัก ชื่อว่า ปริยัตติอันตรธาน 32/170/1 32/146/9 |
89 | การอันตรธานแห่งเพศของภิกษุ และภิกษุองค์สุดท้าย (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/170/10 32/146/17 |
90 | ธาตุอันตรธาน (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/171/11 32/147/15 |
91 | การอันตรธานแห่งปริยัตินั้นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน 5 อย่าง (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/172/21 32/148/20 |
92 | ในคราวมีภัยใหญ่ครั้ง พระเจ้าจัณฑาลติสสะ ท้าวสักกะ เนรมิตแพใหญ่ ให้ภิกษุทั้งหลายใช้ข้ามฝั่งหนีภัย มีภิกษุ 60 รูป อยู่รักษาพระไตรปิฎก ไว้ในลังกา12 ปี อาศัยใบไม้เลี้ยงชีพ (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/173/1 32/148/22 |
93 | ปริยัติ เป็นมูลแห่งศาสนา (อ.วรรคที่ ๑๐) 32/174/1 32/149/17 |
94 | [๑๓๑] ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าเป็น ธรรม ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้ง ย่อมประสบบาปเป็นอันมาก ย่อมจะยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน (อธรรมวรรคที่ ๑๑) 32/176/3 32/140/3 |
95 | [๑๓๒] ภิกษุพวกที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย... ที่แสดงสิ่งอันตถาคตบัญญัติ ไว้ว่าตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาป เป็นอันมาก ย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน. (อธรรมวรรคที่ ๑๑) 32/176/8 32/140/8 |
96 | [๑๓๓] ภิกษุพวกที่แสดง อธรรมว่าอธรรม ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อม ประสบบุญเป็นอันมาก ย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น (อธรรมวรรคที่ ๑๑) 32/176/19 32/140/20 |
97 | [๑๓๕] ภิกษุพวกที่แสดง อนาบัติว่าเป็นอาบัติ,ที่แสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ... ที่แสดงอาบัติ ทำคืนไม่ได้ว่าเป็นอาบัติ ทำคืนได้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปเป็นอันมาก และย่อมทำให้สัทธรรมนี้อันตรธาน (อนาปัตติวรรคที่ ๑๒) 32/178/3 32/151/3 |
98 | [๑๓๖] ภิกษุพวกที่แสดง อนาบัติว่า เป็นอนาบัติ , ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อม ประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น. (อนาปัตติวรรคที่ ๑๒) 32/178/15 32/151/15 |
99 | [๑๓๙] พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เอก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓) 32/181/4 32/154/4 |
100 | [๑๔๓] พระพุทธเจ้าไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มี บุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ . (เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓) 32/182/5 32/154/23 |
101 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ละโลกสมมติ ใช้ภาษาของชาวโลก ใช้คำพูดจากันของชาวโลก นั้นแล แสดงธรรม. (อ.สูตรที่ ๑) 32/187/16 32/158/23 |
102 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ .... พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศ. (อ.สูตรที่ ๑) 32/189/6 32/160/6 |
103 | สัตว์ที่ได้บรรลุธรรม จากที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมในที่ต่าง ๆ (อ.สูตรที่ ๑) 32/192/2 32/162/14 |
104 | ปุจฉา (คำถาม) มี 5 อย่าง คือ ถามเพื่อให้กระจ่างในสิ่งที่ตนยังไม่เห็น ถามเพื่อเทียบกับสิ่งที่ตนเห็นแล้ว ถามเพื่อตัดความสงสัย ถามเพื่อรับอนุมัติ ถามโดยใคร่จะกล่าวเสียเอง (อ.สูตรที่ ๑) 32/193/19 32/164/1 |
105 | พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุ 8 ประการ (อ.สูตรที่ ๑) 32/196/4 32/165/21 |
106 | กาลกิริยาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กระทำความเดือดร้อนตามแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลายในหมื่นจักรวาล (อ.สูตรที่ ๔) 32/213/2 32/180/13 |
107 | รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี (อ.สูตรที่ ๕) 32/214/6 32/181/18 |
108 | อนุตตริยะ 6 (สิ่งที่ยอดเยี่ยม) (อ.สูตรที่ ๖) 32/216/17 32/184/3 |
109 | ปฏิสัมภิทา 4 เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (อ.สูตรที่ ๖) 32/219/13 32/186/11 |
110 | ธรรมทั้งหมด เป็นอันชื่อว่า พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้ว ส่วนชนนอกนั้น ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้ที่ดำเนินตามรอย (อ.สูตรที่ ๖) 32/224/18 32/190/23 |
111 | พุทธพจน์ คือ ปิฎก 3 เหมือนลายพระราชหัตถ์ ผู้ใดเรียนพุทธพจน์ ตาม กำลังของตนแล้ว แสดงประกาศแก่ชนเหล่าอื่น ก็ชื่อว่า ธรรมอันพระศาสดา แสดงแล้วเหมือนกัน (อ.สูตรที่ ๖) 32/225/1 32/191/3 |
112 | [๑๔๖] ว่าด้วยภิกษุ ผู้มีตำแหน่งเลิศ10 ท่าน มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น . (วรรคที่ ๑) 32/226/4 32/192/4 |
113 | การแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะนี้ ย่อมได้โดยเหตุ 4 ประการ คือ โดย เหตุเกิดเรื่อง โดยการมาก่อน โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ ในเหตุ 4 อย่างนั้น พระเถระบางรูป ได้เอตทัคคะโดยเหตุอย่างเดียว บางรูป ได้โดยเหตุทั้ง 4 (อ. สูตรที่ ๑) 32/228/1 32/194/1 |
114 | เรื่องย่อจากที่แสดง ยมกปาฏิหาริย์ แล้วไปจำพรรษาอยู่ดาวดึงส์ (อ. สูตรที่ ๑) 32/228/9 32/194/9 |
115 | พระพุทธเจ้าลงจากดาวดึงส์แล้ว ได้ถามปัญหาเพื่อแสดงปัญญาของพระสารีบุตร ซึ่งสามารถตอบปัญหาในพุทธวิสัยโดยได้นัยจากพระพุทธองค์ . (อ. สูตรที่ ๑) 32/231/1 32/196/10 |
116 | ธรรมดาว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่ปฏิสนธิ ในอรูปาวจรภูมิ (อ. สูตรที่ ๑) 32/233/16 32/198/15 |
117 | คนแม้เกินกว่า1000 คน ประชุมกัน ผู้ที่ไม่มีปัญญาพึงคร่ำครวญอยู่ตลอด100 ปี บุคคลผู้รู้แจ้งความหมายของ ภาษิต เป็นผู้มีปัญญา คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า (คนตั้ง1000 คน) (อ. สูตรที่ ๑) 32/234/19 32/199/8 |
118 | พระมหาโมคคัลลานะ อธิษฐาน ให้นรกเย็น เพื่อความเบาใจของสัตว์ นั่งแสดง ธรรมบนดอกบัว (อ. สูตรที่ ๑) 32/239/4 32/202/25 |
119 | พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นเลิศ แห่งภิกษุสาวกผู้รัตตัญญู รู้ราตรีนาน . (อ. สูตรที่ ๑) 32/241/9 32/205/13 |
120 | พระปทุมุตตรพุทธเจ้า เมื่อจะทรงวางพระบาทบนแผ่นดิน จะมีดอกบัว ผุดขึ้นรองรับ จึงมีพระนามว่า ปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า (อ. สูตรที่ ๑) 32/242/20 32/206/4 |
121 | การตั้งความปรารถนา ในที่สุด แสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ ของพระอัญญาโกณฑัญญะ (อ. สูตรที่ ๑) 32/244/6 32/207/6 |
122 | ในกัปที่ 91 พระอัญญาโกณฑัญญะ บังเกิดในเรือนแห่งกุฎุมพี ได้นามว่า มหากาล น้องชายชื่อจุลกาล ได้ถวายทานในเพราะข้าวกล้าอันเลิศตาม คราว 9 ครั้ง แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นประธาน. (อ. สูตรที่ ๑) 32/246/22 32/209/14 |
123 | โกณฑัญญมาณพ กับบุตรพราหมณ์ อีก 4 คน บวชตามพระโพธิสัตว์. . (อ. สูตรที่ ๑) 32/253/17 32/215/1 |
124 | ในวันแรม 5 ค่ำ เมื่อพระพุทธองค์ แสดงอนัตตลักขณสูตรจบ ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต (อ. สูตรที่ ๑) 32/257/6 32/217/23 |
125 | พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ไปอยู่สระฉัททันต์12 ปี แล้วปรินิพพาน(อ. สูตรที่ ๑) 32/258/5 32/218/16 |
126 | ในที่สุดอสงไขยกัปยิ่งด้วยแสนกัป สรทมาณพ และสิริวัฑฒกุฎุมพี ตั้งความ ปรารถนาเป็น พระอัครสาวก ต่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (อ. สูตรที่ ๒-๓) 32/259/1 32/219/8 |
127 | พระอัสสชิเถระ กล่าวต่อ อุปติสสปริพาชกว่า เราแล เป็นผู้ใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระวินัยนี้ เราไม่อาจแสดงธรรมโดยพิสดารได้ (อ. สูตรที่ ๒-๓) 32/271/21 32/229/21 |
128 | พระมหาโมคคัลลานะบวชได้ 7 วัน ได้ฟังธาตุกรรมฐาน จึงถึงที่สุดแห่ง สาวกบารมีญาณ , ส่วนพระสารีบุตรบวชได้15 วัน ได้ฟังเวทนาปริคห สูตร ที่ถ้ำสุกรขาตา จึงบรรลุถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ (อ. สูตรที่ ๒-๓) 32/274/19 32/232/2 |
129 | ธรรม 5 ประการ อันเป็นบริวารของธุดงคเจตนา (ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส) คือ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้ขัดเกลา ความเป็น ผู้สงัด ความเป็นผู้มีสิ่งนี้ (ญาณ) (อ. สูตรที่ ๔) 32/277/3 32/234/5 |
130 | พระมหากัสสปะ ในที่สุดแสนกัป เป็นกุฎุมพี นามว่า เวเทหะ ได้ตั้งความ ปรารถนา ต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ. สูตรที่ ๔) 32/278/5 32/235/3 |
131 | ในกัปที่ 91 พระวิปัสสีพุทธเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนาทุกๆ 7 ปี พระมหากัสสปะเกิดเป็น เอกสาฎกพราหมณ์ (อ. สูตรที่ ๔) 32/281/1 32/237/12 |
132 | ในระหว่างแห่งพระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปพุทธเจ้า พระมหากัสสปะ เป็นกุฎุมพี ได้ถวายผ้าสาฎกแก่ พระปัจเจกพุทธเจ้า (อ. สูตรที่ ๔) 32/284/10 32/240/6 |
133 | ลูกสาวเศรษฐีผู้มีกลิ่นตัวเหม็น (อ. สูตรที่ ๔) 32/285/15 32/241/4 |
134 | พระมหากัสสปะ สมัยเกิดเป็นลูกอำมาตย์ ได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้านันทราช (อ. สูตรที่ ๔) 32/287/14 32/242/21 |
135 | ปิปผลิมาณพเป็นบุตรกบิลพราหมณ์ นางภัททากาปิลานี เกิดในโกสยโคตร . (อ. สูตรที่ ๔) 32/293/18 32/247/19 |
136 | สรีระของพระมหากัสสปะประดับด้วยมหาปุริลักษณะ 7 ประการ (อ. สูตรที่ ๔) 32/302/10 32/254/15 |
137 | พระอนุรุทธเถระ เว้นแต่ชั่วเวลาฉันเท่านั้น ตลอดเวลาที่เหลือ เจริญอาโลกกสิณ ตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียวอยู่ จึงชื่อว่า เป็นยอดของภิกษุ ทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ. ท่านได้สร้างประทีปหลายพันต้น เพื่อเจดีย์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า. (อ. สูตรที่ ๕) 32/30432/304/10 32/256/6 |
138 | สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า พระอนุรุทธะเกิดเป็นกุฎุมพี ให้สร้างภาชนะสำริด บรรจุเนยใส ตั้งไว้ล้อมพระเจดีย์ และตนเองได้จุดไฟเทินภาชนะสำริด เดิน เวียนรอบพระเจดีย์ ประมาณ1 โยชน์ ตลอดคืนยังรุ่ง (อ. สูตรที่ ๕) 32/306/12 32/257/25 |
139 | เมื่อให้ส่วนบุญ... ได้บุญมากขึ้น (อ. สูตรที่ ๕) 32/310/4 32/260/26 |
140 | นายอันนภาระ ให้ส่วนบุญแก่เศรษฐีด้วยศรัทธา และเศรษฐี ก็ได้บูชาคุณ ของนายอันนภาระ ด้วยทรัพย์พันกหาปณะ (อ. สูตรที่ ๕) 32/310/10 32/261/7 |
141 | ธรรมดาบิณฑบาตที่บุคคลถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมให้ผลในวันนั้นนั่นเอง (อ. สูตรที่ ๕) 32/310/20 32/261/16 |
142 | พระภัททิยเถระ บรรลุพระอรหัตภายในพรรษานั่นเอง พระอนุรุทธะทำ ทิพยจักขุให้บังเกิด พระเทวทัตทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิด พระอานนทเถระ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภัคคุ และพระกิมภิละได้บรรลุอรหัตในภายหลัง . (อ. สูตรที่ ๕) 32/314/10 32/264/15 |
143 | พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร เป็นยอดของภิกษุผู้มีตระกูลสูง เคยครองราชสมบัติ ถึง 500 ชาติ ติดต่อกันโดยลำดับ (อ. สูตรที่ ๖) 32/316/4 32/266/4 |
144 | หลังศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าสิ้นแล้ว พระภัททิยะเกิดเป็นกุฎุมพีใน กรุงพาราณสี ได้วางแผ่นหิน 8 แผ่น เพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า นั่งทำภัตรกิจ และได้บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าจนตลอดชีพ. (อ. สูตรที่ ๖) 32/318/1 32/267/17 |
145 | พระลกุณฏกภัททิยะ เป็นยอดของภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ได้ตั้งความปรารถนา ในครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ. สูตรที่ ๗) 32/319/8 32/268/12 |
146 | ในกัปที่ 91 พระลกุณฏกภัททิยะ เกิดเป็นนกดุเหว่า ได้ถวายผลมะม่วงแด่ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ด้วยกรรมนั้น ท่านจึงมีเสียงไพเราะ (อ. สูตรที่ ๗) 32/320/5 32/269/8 |
147 | เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพาน พระลกุณฏกภัททิยะเกิดเป็นนายช่างใหญ่ ได้บอกให้ชนทั้งหลายผู้จะสร้างเจดีย์ให้สร้างเพียง1 โยชน์ เพื่อการบำรุงง่าย ด้วยกรรมนั้น ท่านจึงเป็นผู้มีขนาดต่ำกว่าคนอื่น (อ. สูตรที่ ๗) 32/320/19 32/269/21 |
148 | พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นยอดของภิกษุผู้บันลือสีหนาท ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ท่านเกิดเป็นพระยาสีหะได้ถวายอาสนะดอกไม้บูชา พระพุทธเจ้าผู้เข้านิโรธสมาบัติ ตลอด 7 วัน (อ. สูตรที่ ๘) 32/322/13 32/271/4 |
149 | เพราะอินทรีย์ 3 คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ พระปิณโฑลภารทวาชะ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จึงพยากรณ์ ซึ่งอรหัตตผล (อ. สูตรที่ ๘) 32/325/7 32/273/9 |
150 | พระปุณณมันตานีบุตร ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ท่านเป็นโคตมดาบส มีบริวาร18,000 ล้วนมีอภิญญา 5 สมาบัติ 8 ได้ถวายผลไม้และอาสนะ ดอกไม้ ตั้งความปรารถนาเป็นยอดภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก. และโคตมดาบส ก็บำรุงพระตถาคตจนตลอดชีวิต. (อ. สูตรที่ ๙) 32/326/7 32/274/7 |
151 | ครั้งพระพุทธเจ้าของเรา พระอัญญาโกณฑัญญะได้ให้ปุณณมาณพ หลานชาย ของตนบวชแล้ว ก็ไปอยู่ที่สระฉัททันต์ ส่วนพระปุณณมันตนีบุตร อยู่กรุงกบิลพัสดุ์ กระทำมนสิการกรรมฐาน ไม่นานนักก็บรรลุอรหันต์ และสอนกุลบุตร 500 รูป ในกถาวัตถุ10 (อ. สูตรที่ ๙) 32/330/6 32/277/12 |
152 | พระมหากัจจายนะ เป็นยอดของภิกษุ ผู้จำแนกอรรถออกทำเทศนานั้นให้ พิสดาร ได้ตั้งความปรารถนาต่อ พระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ. สูตรที่ ๑๐) 32/333/12 32/280/3 |
153 | ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัจจายนะ เกิดในกรุงพาราณสี ได้สร้างอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่งบูชาเจดีย์ ตั้งความปรารถนาให้มีผิว ดุจทอง. (อ. สูตรที่ ๑๐) 32/334/14 32/280/20 |
154 | ครั้งพระทศพลของเรา พระมหากัจจายนะ ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี ท่านมากับบุรุษ 7 คน ได้ฟังธรรมพระพุทธองค์ จบเทศนาได้บรรลุพระอรหัต พร้อมปฏิสัมภิทา พระพุทธองค์สั่งท่านไป กรุงอุชเชนี (อ. สูตรที่ ๑๐) 32/334/19 32/280/26 |
155 | เรื่องธิดาผมยาว ขายผมของตนเอง เพื่อมาซื้ออาหาร ถวาย ภิกษุ 8 รูป มีพระมหากัจจายนะ เป็นหัวหน้า และพร้อมกับที่นางไหว้พระเถระ ผม ทั้งหลายของนางก็งอกขึ้นใหม่เป็นปกติ และได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจัณฑปัชโชต (อ. สูตรที่ ๑๐) 32/336/6 32/282/4 |
156 | พระจุลลปัณฐกะ เป็นยอดของภิกษุผู้นิรมิต มโนมัยกาย และผู้ฉลาดใน เจโตวิวัฏฏะ พระมหาปัณฐกเถระเป็นยอดของภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ . (อ.สูตรที่ ๑-๒) 32/339/13 32/286/17 |
157 | กำเนิดของพระมหาปัณฐกะ และพระจุลลปัณฐกะ (อ.สูตรที่ ๑-๒) 32/342/5 32/288/24 |
158 | เป็นเศรษฐีเพราะหนูตาย (อ.สูตรที่ ๑-๒) 32/348/20 32/294/6 |
159 | บุคคลผู้มีปัญญา มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้เล็กน้อยดุจบุคคลก่อไฟอันน้อย ให้โพลงขึ้นได้ ฉะนั้น (อ.สูตรที่ ๑-๒) 32/351/8 32/296/6 |
160 | พระสุภูติเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้ และผู้ควรแก่ ทักษิณา (อ.สูตรที่ ๓-๔) 32/352/8 32/297/8 |
161 | พระสุภูติ ได้เป็นนันทฤๅษี มีบริวาร 44,000 ล้วนมีอภิญญา 5 สมาบัติ 8 ท่านตั้งความปรารถนา ต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในกาลนี้ท่านได้ไปฟังธรรม พร้อมกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในวันฉลองเชตวันวิหาร ได้ศรัทธาจึงบวช กระทำเมตตาฌานให้เป็นบาท บรรลุอรหัต (อ.สูตรที่ ๔) 32/353/13 32/298/13 |
162 | พระเรวตเถระ เป็นน้องชายคนเล็กของพระสารีบุตร ได้เป็นยอดของภิกษุ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร. ในที่สุดแสนกัปท่านได้ผูกเรือขนานต่อกัน ให้พระปทุมุตตรพระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ข้ามฝาก และทำมหาทาน 7 วัน ปรารถนา ตำแหน่งนี้ (อ.สูตรที่ ๕) 32/357/4 32/301/5 |
163 | อุบายการออกบวชของพระเรวตเถระ (อ.สูตรที่ ๕) 32/358/11 32/302/7 |
164 | พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกพร้อมภิกษุทั้งหลาย เพื่อไปเยี่ยมพระเรวตะ โดยเลือก ใช้ทางของอมนุษย์ เพื่อทดลองบุญของพระสีวลี (อ.สูตรที่ ๕) 32/360/16 32/304/6 |
165 | พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด ไม่ว่าเป็นบ้านป่า ที่ลุ่ม หรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้น เป็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ทั้งนั้น (อ.สูตรที่ ๕) 32/364/18 32/307/11 |
166 | พระกังขาเรวตเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้ได้ฌาน ท่านได้บำเพ็ญมหาทาน 7 วันและตั้งความปรารถนา ในครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในกาลนี้เกิดใน กรุงสาวัตถี ได้ฟังธรรม มีศรัทธาออกบวช กระทำฌานให้เป็นบาท บรรลุ พระอรหัตตผล. (อ.สูตรที่ ๖) 32/365/8 32/308/4 |
167 | พระโสณโกฬิวิสเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ท่าน ตั้งความปรารถนานี้ ต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้าในครั้งเป็นสิริวัฑฒกุมาร เมื่อ สิ้นศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าแล้ว ท่านได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่ง และปูผ้ากัมพลที่พื้นกุฏิ ปรารถนาให้วรรณะ และสัมผัสของตน เป็นเช่นกับฝ้ายที่เขายีแล้ว ถึง 7 ครั้ง (อ.สูตรที่ ๗) 32/368/5 32/310/11 |
168 | ขั้นตอนการจัดอาหาร ของโสณกุมาร ซึ่งเสวยสมบัติอยู่ปานเทพเจ้า . (อ.สูตรที่ ๗) 32/370/9 32/312/9 |
169 | พระโสณกุฏิกัณณเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีวาจาไพเราะ ท่านได้ตั้งความ ปรารถนาต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในกาลนี้ ท่านถือปฏิสนธิในท้องของ อุบาสิกาผู้เป็นแม่บ้านของครอบครัว ชื่อว่า กาฬี (อ.สูตรที่ ๘) 32/374/5 32/315/5 |
170 | นางกาฬี ได้ยิน สาตาคิรยักษ์ แสดงธรรมแก่เหมวตยักษ์ จบเทศนา เหมวตยักษ์ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นางกาฬี ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน คนแรกในหญิงทั้งหมด และนางก็คลอดบุตรในคืนนั้น . (อ.สูตรที่ ๘) 32/375/9 32/316/5 |
171 | พระพุทธเจ้าทรงประทานสาธุการ ประกาศถึงความเลื่อมใส ที่พระโสณะ แสดงพระสูตรที่เนื่องด้วยอัฏฐกวัคค์ โดยพยัญชนะตัวหนึ่งก็ไม่เสีย ด้วยเสียง อันไพเราะ. (อ.สูตรที่ ๘) 32/379/18 32/319/13 |
172 | พระสีวลีเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีลาภ ท่านได้ถวายมหาทาน 7 วัน ตั้ง ความปรารถนาต่อ พระปทุมมุตตรพุทธเจ้า ครั้งพระวิปัสสีพุทธเจ้า ท่านได้ ถวายนมส้มผสมน้ำผึ้งปรุงกับผงเครื่องเผ็ดร้อน 5 อย่าง ปรารถนาความเป็น ยอดทางลาภ และเป็นยอดทางยศ. (อ.สูตรที่ ๙) 32/381/12 32/321/7 |
173 | ในพุทธกาลนี้ พระสีวลี ต้องอยู่ในท้องพระนางสุปปวาสาอยู่ 7 ปี กับอีก 7 วัน เมื่อบรรพชา ได้บรรลุพระอรหัตขณะปลงผมเสร็จ. (อ.สูตรที่ ๙) 32/385/1 32/323/20 |
174 | เทวดาถวายทาน แด่พระสีวลี ถึง 7 ครั้ง ๆ ละ 7 วัน (อ.สูตรที่ ๙) 32/387/19 32/326/3 |
175 | พระวักกลิเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา ท่านได้ถวายมหาทาน 7 วัน ตั้งความปรารถนาต่อ พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในกาลนี้ท่านบวช แล้ว ตามดูแต่พระพุทธองค์ จึงถูกตำหนิว่า ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยมองรูป กายอันเปื่อยเน่านี้ที่ท่านเห็น ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม (อ.สูตรที่ ๑๐) 32/389/4 32/327/4 |
176 | [๑๔๘] ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศ10 ท่าน มีพระราหุล เป็นต้น (วรรคที่ ๓) 32/393/3 32/330/2 |
177 | พระราหุลเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา (อ.สูตรที่ ๑) 32/394/4 32/331/10 |
178 | พระรัฐปาลเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา พระราหุลกับพระรัฐปาล เป็นสหายกัน สร้างบุญร่วมกัน มาตั้งแต่ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.สูตรที่ ๒) 32/394/18 32/331/15 |
179 | ในกัปที่ 92 สมัยพระผุสสพุทธเจ้า พระราชกุมาร 3 พระองค์ ได้อุปัฏฐาก พระพุทธเจ้า ตลอด 3 เดือน คนจัดแจงการเงิน และข้าวในทานนั้นมาเกิดเป็น พระเจ้าพิมพิสาร คนตวงข้าวมาเกิดเป็นวิสาขอุบาสก คนจัดทานมาเกิดเป็น พระรัฐปาลเถระ (อ.สูตรที่ ๒) 32/400/11 32/336/4 |
180 | สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า พระราหุลเกิดเป็นพระเชฏฐโอรสของ พระเจ้ากิกิ ชื่อ ปฐวินทรกุมาร ได้ดำรงตำแหน่งอุปราช (อ.สูตรที่ ๒) 32/402/7 32/337/15 |
181 | พระพุทธเจ้าตรัส อัมพลัฏฐิยราหุโลวาท แก่สามเณรราหุล ตอนอายุ 7 ขวบ ทรงตรัสมหาราหุโลวาทสูตรตอนท่านอายุ18 ปี ส่วนราหุโลวาทในสังยุตและ ในอังคุตตรนิกาย ทรงตรัสเพื่อบ่มญาณแก่พระราหุล. เมื่อท่านเป็นภิกษุ ยัง ไม่มีพรรษา ทรงตรัส จุลลราหุโลวาทสูตร จบเทศนา พระราหุลบรรลุอรหัต พร้อมกับเทวดาจำนวนมาก (อ.สูตรที่ ๒) 32/404/5 32/339/1 |
182 | พระโกณฑธานเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้จับสลากได้ก่อนภิกษุอื่นทั้งหมด ท่านได้ตั้งความปรารถนาต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านเกิดเป็นภุมมเทวดา ได้ทำภิกษุ 2 รูปให้แตกสามัคคีกัน และแม้ได้ขอขมาโทษ แล้วก็ตามแต่ยังไปสู่อบายตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในกาลนี้ตั้งแต่วันที่บวช จะปรากฏ มีผู้หญิงเดินตามท่านประจำด้วยผลของกรรมเก่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบ ความนั้นแล้วส่งภิกษาไปถวายท่านประจำ (อ.สูตรที่ ๓) 32/406/6 32/341/6 |
183 | พระวังคีสเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีปฏิภาณสมบูรณ์ ท่านได้ตั้งความ ปรารถนาต่อพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ในพุทธบาทกาลนี้เกิดเป็นพราหมณ์ รู้มนต์ ชื่อว่า ฉวสีสมนต์ คือ เอาเล็บเคาะหัวศพแล้ว ก็รู้ว่าไปเกิดที่ไหน ท่าน บวชเพื่อหวังเรียนมนต์ที่ยิ่งกว่านั้น กับพระพุทธเจ้า พระองค์บอกอาการ 32 ท่านสาธยายอาการ 32 เห็นความเสื่อมไปสิ้นไป เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต (อ.สูตรที่ ๔) 32/414/5 32/347/5 |
184 | พระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ พระพุทธองค์ตำหนิท่านตอนพรรษา 2 เมื่อท่านได้พรรษา10 และเป็นพระ อรหัตแล้ว มีลูกศิษย์ 500 ล้วนสมาทานธุดงค์ตามกำลังของตน พระพุทธองค์ จึงประทานสาธุการ เพราะอาศัยบริษัทของพระเถระนั้น (อ.สูตรที่ ๕) 32/420/5 32/351/10 |
185 | พระทัพพมัลลบุตร เป็นยอดของภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ ครั้งศาสนา ของพระกัสสปพุทธเจ้าเสื่อม ได้มีภิกษุ 7 รูป ขึ้นไปภาวนาบนเขา. (อ.สูตรที่ ๖) 32/423/4 32/354/4 |
186 | พระทัพพมัลลบุตร บวชตอนอายุ 7 ขวบ ได้บรรลุอรหัตผล ตอนปลงผมเสร็จ (อ.สูตรที่ ๖) 32/425/9 32/356/1 |
187 | พระปิลินทวัจฉเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา ท่านเคย เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สอนคนให้ตั้งอยู่ในกุศล และศีล 5 ชนเหล่านั้น จึงไป เกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ ทั้ง 6 ชั้น เทวดาเหล่านั้นจึงรักเคารพท่าน ท่านมัก ใช้คำ เรียกผู้อื่นว่า เจ้าถ่อย เจ้าถ่อย เสมอ เพราะเคยเกิดเป็นพราหมณ์ถึง 500 ชาติ (อ.สูตรที่ ๗) 32/427/8 32/357/16 |
188 | โวหารแห่งพระอริยะ ทั้งหลายแม้จะหยาบอยู่บ้าง ก็ชื่อว่า บริสุทธิ์ (อ.สูตรที่ ๗) 32/429/4 32/359/2 |
189 | ดีปลี กลายเป็น ขี้หนู (อ.สูตรที่ ๗) 32/429/13 32/359/9 |
190 | พระพาหิยทารุจิริยะ เป็นยอดของภิกษุผู้ตรัสรู้เร็ว พระพุทธองค์ทรงประทาน โอวาทแก่ท่านว่า พาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่ารูปที่เห็นแล้ว จักเป็นเพียง เห็นแล้ว เมื่อจบเทศนาท่านบรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา (อ.สูตรที่ ๘) 32/431/4 32/360/14 |
191 | ขณะที่ท่านพาหิยะ กำลังหาผ้าอยู่อมนุษย์ที่เป็นคู่เวรกันมาแต่ก่อนได้เข้าสิง ร่างของแม่โคลูกอ่อนขวิดท่านเสียชีวิต (อ.สูตรที่ ๘) 32/434/16 32/363/13 |
192 | พระกุมารกัสสปเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร มารดาของท่าน ตั้งครรภ์ก่อนบวชเป็นภิกษุณี เมื่อคลอดแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเลี้ยงไว้ ท่านบวชแล้วพระพุทธองค์ มักเรียกว่า กุมารกัสสปะ ท่านบรรลุพระอรหัต ด้วยปัญหาพยากรณ์15 ข้อจากพระพุทธองค์ แล้วนำไปปฏิบัติ (อ.สูตรที่ ๙) 32/436/7 32/364/15 |
193 | พระอุบาลีเถระให้เชิญเหล่าสกุลชาวกรุงสาวัตถี และนางวิสาขา มาช่วยตรวจชำระ ในอธิกรณ์ของนางภิกษุณี (อ.สูตรที่ ๙) 32/437/4 32/365/15 |
194 | พระมหาโกฏฐิตะ เป็นยอดของภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 เมื่อจะถามปัญหา ก็ถามในปฏิสัมภิทา เท่านั้น เพราะเป็นผู้ช่ำชอง (อ.สูตรที่ ๑๐) 32/439/4 32/367/7 |
195 | [๑๔๙] ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศ12 ท่าน มีพระอานนท์ เป็นต้น (วรรคที่ ๔) 32/441/3 32/369/2 |
196 | พระอานนท์ เป็นยอดของภิกษุผู้เป็น พหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร ผู้มีอุปัฏฐาก (อ.สูตรที่ ๑) 32/443/5 32/370/5 |
197 | ในที่สุดแสนกัปแต่กัปนี้ไป พระอานนท์เกิดเป็น สุมนราชกุมาร น้องชาย ต่างมารดา ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า และได้ตั้งความปรารถนาต่อพระพุทธองค์ไว้. (อ.สูตรที่ ๑) 32/444/5 32/371/3 |
198 | ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า พระอานนท์ได้ ถวายผ้าห่มเพื่อรองรับบาตรแก่ภิกษุ ผู้เที่ยวบิณฑบาต แล้วได้เกิดในสวรรค์ จากนั้นได้เป็นพระเจ้าพาราณสี อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า 8 พระองค์อยู่หมื่นปี บังเกิดอยู่ในสวรรค์ ชั้นดุสิต ในกาลนี้ลงมาเกิดพร้อมพระโพธิสัตว์ เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยะ ท่านบวชแล้วได้ฟังธรรมของพระปุณณมันตานีบุตร ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล . (อ.สูตรที่ ๑) 32/450/6 32/376/10 |
199 | พระพุทธเจ้าทรงมีอุปัฏฐากไม่ประจำถึง 20 ปีในปฐมโพธิกาล (อ.สูตรที่ ๑) 32/451/3 32/377/5 |
200 | พระอานนท์ ขอพร 8 ประการ ต่อพระพุทธเจ้า (อ.สูตรที่ ๑) 32/453/6 32/379/2 |
201 | กิจที่พระอานนท์ อุปัฏฐากพระพุทธองค์ (อ.สูตรที่ ๑) 32/454/20 32/380/13 |
202 | พระอุรุเวลกัสสปเถระ เป็นยอดของภิกษุ ผู้มีบริวารมาก (อ.สูตรที่ ๒) 32/456/4 32/381/6 |
203 | ในกัปที่ 92 พระอุรุเวลกัสสปะ เกิดเป็นน้องชายต่างมารดา ของพระปุสสพุทธเจ้า ทั้ง 3 พี่น้องได้ปราบชนบท แล้วรับพร จากพระราชา เพื่อบำรุง พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยทหาร1000 ถือศีล10 ตลอด 3 เดือน ก็อำมาตย์ 3 คน ที่ช่วยหารายได้ เป็นผู้รับจ่าย เป็นผู้เลี้ยงภิกษุสงฆ์ ได้มาเกิดเป็น พระเจ้าพิมพิสาร วิสาขะ และรัฐปาละ (อ.สูตรที่ ๒) 32/457/3 32/382/5 |
204 | พระกาฬุทายีเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส ท่านเกิดวันเดียว กับพระโพธิสัตว์ (อ.สูตรที่ ๓) 32/461/4 32/385/6 |
205 | พระพากุลเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีอาพาธน้อย ท่านบวชเป็นฤๅษี ไป ฟังธรรมพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ตั้งอยู่ในรัตนตรัยเป็นสรณะ และได้ถวาย ยาแก้โรคลมแด่พระพุทธเจ้า ปรารถนาไม่ให้ตน พบความเจ็บไข้ (อ.สูตรที่ ๔) 32/466/7 32/389/7 |
206 | ครั้งพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระพากุลเถระ บวชเป็นฤๅษี ได้ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ ในสรณะ ไม่อาจละบรรพชาของตนแต่ก็มาอุปัฏฐาก พระศาสดาเป็นครั้งคราว ท่านได้ถวายยาต่างๆ บำบัดโรคที่เกิดจากดอกไม้พิษ แก่พระพุทธเจ้าและภิกษุ สงฆ์ (อ.สูตรที่ ๔) 32/467/12 32/390/13 |
207 | ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า พระพากุลเถระ บังเกิดในกรุงพาราณสี ได้นำพวก ช่างไม้ สร้างโรงอุโบสถ โรงฉัน โรงไฟ เรือนไฟ กัปปิยกุฏิ ที่พักกลางคืน กลางวัน ส้วม จัดตั้งยาใช้และฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ไว้ทุกอย่าง (อ.สูตรที่ ๔) 32/468/5 32/391/1 |
208 | ในกาลนี้ พระพากุลเถระ ได้เจริญวัยในตระกูลเศรษฐีกรุงโกสัมพี และพาราณสี ครองเรือนอยู่ 80 ปี บวช 80 พรรษา ท่านเปลี่ยนจีวรทุกครึ่งเดือน ไม่รู้จัก อาพาธเลย และไม่ขาดแคลนปัจจัย 4. (อ.สูตรที่ ๔) 32/468/15 32/391/11 |
209 | พระโสภิตเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้ระลึกชาติก่อนได้ ท่านตั้งความปรารถนา ตำแหน่งนี้ต่อพระปทุมุตตรพระพุทธเจ้า เมื่อมาเกิดในกรุงสาวัตถีได้ออกบวช บรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้ช่ำชองในการระลึกชาติ เมื่อไม่เห็นประวัติ 500 ชาติ แต่ก็เข้าใจได้ว่าเกิดในอสัญญีภพ 500 กัป (อ.สูตรที่ ๕) 32/472/4 32/394/18 |
210 | พระอุบาลี เป็นยอดของภิกษุผู้ทรงวินัย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านเป็นช่างกัลบก ออกบวชพร้อมกับเจ้าศากยะ 6 พระองค์ พระพุทธองค์ไม่อนุญาตให้ท่านไป อยู่ป่า เพื่อจะได้เรียนวินัยให้บริบูรณ์ ต่อมาท่านวินิจฉัยอธิกรณ์ 3 เรื่อง พระพุทธองค์ทรงรับรอง และสรรเสริญ (อ.สูตรที่ ๖) 32/474/4 32/396/5 |
211 | พระนันทกะเป็นยอดของภิกษุผู้สอนภิกษุณี ท่านเกิดในกรุงสาวัตถี มีศรัทธา ออกบวช บรรลุพระอรหัต ท่านสามารถจับใจของบริษัทได้หมดแล้วกล่าว ธรรมกถา เหล่าภิกษุณี 500 เคยเป็นนางสนมของท่านในชาติที่ท่านเป็นพระราชา พระพุทธองค์สั่งให้ท่านไปโอวาท ภิกษุณี ทั้ง 500 นั้น 2 คราว ภิกษุณี เหล่านั้น ได้บรรลุพระอรหัตทั้งหมด. (อ.สูตรที่ ๗) 32/476/4 32/397/13 |
212 | พระนันทเถระเป็นยอดของภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ 6 ท่านบวชแล้ว อยากสึก พระพุทธองค์จึงพาไปเที่ยวชมเทวโลก และรับประกันให้ได้นางเทพอัปสร 500 พระศาสดาทรงสั่งให้ภิกษุคอยไปพูดว่า พระนันทะรับจ้างประพฤติ พรหมจรรย์ ท่านจึงคิดทบทวน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต. (อ.สูตรที่ ๘) 32/479/4 32/400/5 |
213 | พระมหากัปปินเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้โอวาทภิกษุ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านเป็นหัวหน้าบุรุษ1000 คนช่วยกันสร้าง บริเวณมีห้อง1000 ห้อง . (อ.สูตรที่ ๙) 32/483/4 32/404/1 |
214 | พระเจ้ากัปปินะ พร้อมกับอำมาตย์1000 คน ขี่ม้าข้ามแม่น้ำใหญ่ 3 สาย ด้วยสัจจกิริยาถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ (อ.สูตรที่ ๙) 32/486/22 32/406/23 |
215 | พระมหากัปปินเถระ ไม่เคยให้แม้โอวาทแก่ลูกศิษย์ท่านเลย พระศาสดาจึง ทรงตำหนิว่า อย่าทำอย่างนี้ ต่อแต่นี้จงแสดงธรรมแก่ลูกศิษย์ทั้งหลาย พระเถระจึงประชุมลูกศิษย์ท่าน1000 รูป และแสดงธรรม คราวเดียว ได้บรรลุ พระอรหัตหมดทุกรูป (อ.สูตรที่ ๙) 32/489/19 32/409/6 |
216 | พระสาคตเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ ท่านใช้เดชครอบงำ นาค ชื่อ อัมพติตถะ ให้ตั้งอยู่ในสรณะ ท่านเป็นภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบท เรื่องสุราเกิดความสลดใจ ขออดโทษต่อพระศาสดา แล้วไปเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต. (อ.สูตรที่ ๑๐) 32/491/4 32/410/4 |
217 | พระราธเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิภาณ. ท่านเป็นพราหมณ์ แก่ มาขอบวชแต่ภิกษุหลายรูปไม่อยากให้บวช พระพุทธองค์ตรัสให้พระสารีบุตรบวชให้ พระสารีบุตรคอยให้เสนาสนะ และอาหารประณีตแก่ท่าน และ บอกกรรมฐานไม่นานท่านก็บรรลุพระอรหัต. (อ.สูตรที่ ๑๑) 32/495/7 32/413/19 |
218 | พึงเห็นบัณฑิตผู้กล่าวสอน ชี้โทษ พูดข่มไว้ มีปัญญากว้างขวาง เหมือนชี้ บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบบัณฑิต เช่นนั้น ก็มีแต่ดี ไม่มี เสียเลย ดังนี้ (อ.สูตรที่ ๑๑) 32/499/4 32/417/1 |
219 | พระโมฆราชเถระ เป็นยอดของภิกษุผู้มีจีวรปอน ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ ชั้น หัวหน้าของพาวรีพราหมณ์ ถือตัวว่าเป็นบัณฑิตกว่าทุกคน พระศาสดาจึงทรง รุกราน ให้ท่านถามปัญหา เกือบสุดท้าย จบการตอบปัญหา ท่านและบริวาร1000 คน ก็บรรลุพระอรหัต ท่านก็ใช้ผ้าปอนๆ มาตั้งแต่นั้น (อ.สูตรที่ ๑๒) 32/500/4 32/417/13 |
220 | มารดาของพาวรีพราหมณ์ในอัตตภาพที่แล้ว บังเกิดเป็นเทวดา จึงมาพูดให้ พราหมณ์ หายทุกข์ใจ และบอกความที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว. (อ.สูตรที่ ๑๒) 32/504/3 32/421/1 |