1 | [๘๔๓] อินทรีย์ (สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) 5 ประการ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ (สุทธิกสูตร) 31/1/9 31/1/9 |
2 | อินทรีย์ 3 อย่างคือ สัทธินทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมได้ทั้งในกุศล และวิบากที่เป็นไปในภูมิ 4 ทั้งในกริยา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมได้ในจิตทุกดวง คือ ในกุศล ที่เป็นไปในภูมิ 4 ในอกุศลวิบาก ในกิริยา (อ.สุทธิกสูตร) 31/2/4 31/2/3 |
3 | [๘๔๔] เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์5 ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (ปฐมโสตาสูตร) 31/2/12 31/2/13 |
4 | [๘๔๕] เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (ทุติยโสตาสูตร) 31/3/3 31/3/4 |
5 | [๘๔๖-๘๔๗] เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ประการ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ. (สูตร ๔-๕) 31/3/10 31/3/14 |
6 | [๘๔๘] สมณะหรือพราหมณ์ พวกใดไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ประการ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพรามหณ์พวกนั้น ไม่นับว่า เป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในพวกพราหมณ์ (ปฐมสมณพราหมณสูตร) 31/4/13 31/5/4 |
7 | [๘๕๐] สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 5 ความเกิด ความ-ดับและปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอินทรีย์ 5 สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในพวกพราหมณ์ .(ทุติยสมณพราหมณสูตร) 31/5/12 31/6/4 |
8 | การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณา ด้วยอำนาจอธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ) (อ.ทุติยสมณพราหมณสูตร) 31/6/16 31/7/8 |
9 | [๘๕๓-๘๕๗] พึงเห็นสัทธินทรีย์ ในโสตาปัตติยังคะ 4 (ส่วนประกอบแห่งการถึงกระแส) ,พึงเห็นปัญญินทรีย์ ในอริยสัจ 4 (ทัฏฐัพพสูตร) 31/8/5 31/8/7 |
10 | ข้อเปรียบเทียบ ลูกชายเศรษฐี 4 คน มีพระราชาเป็นที่ 5 กับอินทรีย์ ทั้ง 5 . (อ.ทัฏฐัพพสูตร) 31/9/6 31/9/7 |
11 | [๘๕๙-๘๖๓] ความหมาย ของอินทรีย์ ทั้ง 5 (ปฐมวิภังคสูตร) 31/10/16 31/10/20 |
12 | สติที่ประกอบด้วยปัญญานั้น เป็นสติที่มีกำลัง ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาย่อมไม่มีกำลัง (อ.ปฐมวิภังคสูตร) 31/12/7 31/12/8 |
13 | [๘๖๕-๘๖๙] หน้าที่ของอินทรีย์ 5 (ทุติยวิภังคสูตร) 31/13/5 31/13/5 |
14 | [๘๗๓-๘๗๔] อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน 4 ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์,เมื่อยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิ ได้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นี้เรียกว่าสมาธินทรีย์ (ปฏิลาภสูตร) 31/16/12 31/16/15 |
15 | [๘๗๗] บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ 5 ประการ เต็มบริบูรณ์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระโสดา-บันผู้ธัมมานุสารี. (ปฐมสังขิตตสูตร) 31/17/11 31/17/14 |
16 | ความแตกต่างของ ธัมมานุสารี และสัทธานุสารีบุคคล (อ.ปฐมสังขิตตสูตร) 31/18/16 31/18/21 |
17 | [๘๗๙] ความต่างแห่งผลย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ (ทุติยสังขิตตสูตร) 31/19/14 31/19/20 |
18 | [๘๘๑] บุคคลผู้บำเพ็ญ อรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญมรรค 3 ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง 3 ทรงกล่าวอินทรีย์ 5 ว่าไม่เป็นหมันเลย. (ตติยสังขิตตสูตร) 31/20/15 31/21/5 |
19 | [๘๘๓] ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ ของพระอริยบุคคล ระดับต่างๆ มีพระอนาคามี 5 จำพวก เป็นต้น. (ปฐมวิตถารสูตร) 31/22/5 31/22/8 |
20 | [๘๘๕] ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล (ทุติยวิตถารสูตร) 31/24/5 31/24/1 |
21 | [๘๘๗] บุคคลผู้บำเพ็ญ อรหัตมรรคให้บริบูรณ์ย่อมได้ชม อรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญมรรค 3 ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง 3 ทรงกล่าวอินทรีย์ 5 ว่าไม่เป็นหมันเลย. (ตติยวิตถารสูตร) 31/25/5 31/25/5 |
22 | [๘๘๙] อินทรีย์ 5 ประการ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลย โดยประการทั้งปวง ทรงเรียก ผู้นั้นว่าเป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน (ปฏิปันนสูตร) 31/26/8 31/26/16 |
23 | [๘๙๐-๘๙๑] ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 อันให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ (อุปสมสูตร) 31/27/3 31/27/9 |
24 | [๘๙๓] เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ 5 ภิกษุจึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ (อาสวักขยสูตร) 31/28/5 31/28/9 |
25 | [๘๙๖] เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้ (ปุนัพภวสูตร) 31/29/11 31/30/11 |
26 | [๘๙๗] อินทรีย์ 3 คือ อิตถินทรีย์ (ใหญ่ในความเป็นหญิง) ปุริสินทรีย์ (ใหญ่ในความเป็นชาย) ชีวิตินทรีย์ (ใหญ่ในความเป็นอยู่) (ชีวิตินทริยสูตร) 31/30/3 31/31/3 |
27 | [๘๙๘] อินทรีย์ 3 คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค) อัญญินทรีย์(อินทรีย์ที่เกิดขึ้นในฐานะทั้ง 6 มีโสดาปัตติผลเป็นต้น) อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ที่เกิดขึ้นใน ธรรมทั้งหลาย ในอรหัตผลที่รู้ทั่วถึงแล้ว ) (อัญญาตาวินทริยสูตร) 31/31/3 31/32/3 |
28 | [๙๐๐] อินทรีย์อันยิ่งหย่อนกว่ากันในพระอริยบุคคล โดยแยกพระอนาคามี 5 จำพวก และพระโสดาบัน 5 จำพวก (เอกาภิญญาสูตร) 31/32/5 31/33/5 |
29 | เอกพีชีบุคคล คือ มาสู่ภพมนุษย์อีกครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้, ส่วนพระโสดาบันผู้ท่องเที่ยวไป 2-3 ภพ แล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เรียกว่า โกลังโกละ 31/33/15 31/34/16 |
30 | สัตตักขัตตุปรมบุคคล คือ พระโสดาบันผู้ท่องเที่ยวไปสู่เทพ และมนุษย์ อีก7 ครั้ง แล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (อ.เอกาภิญญาสูตร) 31/34/11 31/35/8 |
31 | พระโสดาบันผู้ชอบวัฏฏะ 7 ท่าน (อ.เอกาภิญญาสูตร) 31/35/12 31/36/6 |
32 | อธิบาย คำว่า ธัมมานุสารี และสัทธานุสารี (อ.เอกาภิญญาสูตร) 31/36/3 31/36/20 |
33 | พระโสดาบัน มี 24 พวก พระสกทาคามี 12 พวก พระอนาคามี 48 พวกพระอรหันต์ 12 พวก (อ.เอกาภิญญาสูตร) 31/37/6 31/37/21 |
34 | [๙๐๑] อินทรีย์ 6 ประการ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์กายินทรีย์ , มนินทรีย์ (สุทธกสูตร) 31/38/3 31/38/3 |
35 | [๙๐๓] เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ 6 ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเรียกอริย-สาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า (โสตาปันสูตร) 31/39/5 31/39/6 |
36 | [๙๐๕] เมื่อใดภิกษุรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 6 ประการ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นเมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ (ปฐมอรหันตสูตร) 31/39/14 31/39/16 |
37 | [๙๐๗] เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งอินทรีย์ 6 ประการ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้ (ทุคติยอรหันตสูตร) 31/40/5 31/40/6 |
38 | [๙๑๐] สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 6 ประการ ตามความเป็นจริง สมณ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น ไม่นับว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่า เป็นพรา-หมณ์ในหมู่พราหมณ์. (ปฐมสมณพราหมณสูตร) 31/41/5 31/41/6 |
39 | [๙๑๒] สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 6 ความเกิด ความดับและปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง อินทรีย์ 6 สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. . (ทุติยสมณพราหมณสูตร) 31/42/3 31/42/3 |
40 | [๙๑๔] อินทรีย์ 5 ประการ คือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ (สุทธกสูตร) 31/44/4 31/44/4 |
41 | [๙๑๖] เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ประการ ตามความเป็นจริง อริยสาวกนี้ เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า (โสตาปันนสูตร) 31/45/5 31/45/6 |
42 | [๙๑๘] เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ประการ ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่นเมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ (อรหันตสูตร) 31/46/5 31/46/7 |
43 | [๙๒๐] สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพรหามณ์ เหล่านั้น ไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. (ปฐมสมณพราหมณสูตร) 31/46/16 31/46/20 |
44 | [๙๒๓] สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 5 ความเกิด ความดับ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอินทรีย์ 5 สมณะหรือพราหมณ์นั้น ไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะหรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ (ทุติยสมณพราหมณสูตร) 31/47/15 31/47/20 |
45 | [๙๒๖-๙๓๐] ความหมายแห่งอินทรีย์ 5 มีสุขินทรีย์เป็นต้น. (ปฐมวิภังคสูตร) 31/48/17 31/49/1 |
46 | [๙๓๗-๙๓๙] สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา, ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุขเวทนา อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา (ทุติยวิภังคสูตร) 31/51/1 31/51/7 |
47 | [๙๔๘] อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็น 5 แล้วย่นเข้าเป็น 3 ก็ได้ เป็น 3 แล้ว ขยายออกเป็น 5 ก็ได้ (ตติยวิภังคสูตร) 31/52/8 31/52/16 |
48 | [๙๔๙-๙๕๕] อินทรีย์ 5 มีสุขินทรีย์ เป็นต้น ย่อมอาศัย ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาเกิดขึ้น เพราะผัสสะดับไป เวทนานั้นย่อมดับไป เปรียบเหมือน ไม้ 2 อัน เสียดสีกันจึงเกิดความร้อน เกิดไฟ เมื่อแยกไม้ 2 อันออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี ย่อมดับ (อรหันตสูตร) 31/52/14 31/53/3 |
49 | [๙๕๗] ทุกขินทรีย์ ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ในปฐมฌาน. (อุปปฏิกสูตร) 31/55/15 31/56/4 |
50 | [๙๕๘] โทมนัสสินทรีย์ ย่อมดับไปไม่มีเหลือใน ทุติยฌาน. (อุปปฏิกสูตร) 31/56/8 31/56/16 |
51 | [๙๕๙] สุขินทรีย์ ย่อมดับไปไม่มีเหลือใน ตติยฌาน (อุปปฏิกสูตร) 31/56/20 31/57/4 |
52 | [๙๖๐] โสมนัสสินทรีย์ ย่อมดับไปไม่มีเหลือใน จตุตถฌาน (อุปปฏิกสูตร) 31/57/11 31/57/17 |
53 | [๙๖๑] อุเบกขินทรีย์ย่อมดับไปไม่มีเหลือเมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ .(อุปปฏิกสูตร) 31/58/1 31/58/4 |
54 | แท้จริง ทุกขินทรีย์ ย่อมดับสิ้นไปในขณะอุปจาระ แห่ง ฌานที่ 1 ทีเดียว . (อ.อุปปฏิกสูตร) 31/59/10 31/59/17 |
55 | [๙๖๓] แม้ผิวพรรณของพระพุทธเจ้าก็หย่อนย่น มีพระกายค้อมไปข้างหน้า .(ชราสูตร) 31/62/11 31/62/12 |
56 | [๙๖๔] ชราธรรมย่อมมีในความเป็นหนุ่มสาว พยาธิธรรมย่อมมีในความไม่มีโรค มรณธรรมย่อมมีในชีวิต (ชราสูตร) 31/62/16 31/62/17 |
57 | [๙๖๗-๙๗๑] ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ 5 มีจักขุทรีย์ เป็นต้น สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ วิมุตติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุตติ (อุณณาภพราหมณสูตร) 31/66/7 31/66/7 |
58 | จริงอยู่ จักษุวิญญาณ เห็นแต่รูปเท่านั้นเอง ความรักความโกรธ หรือความหลง ในความรู้แจ้งทางตานี้ ไม่มี แต่ชวนะ(แล่นไปเสพอารมณ์) ในทวารหนึ่งย่อมรัก โกรธ หรือหลง (อ.อุณณาภพราหมณสูตร) 31/68/18 31/68/22 |
59 | ชวนะ ทั้งที่เป็นกุศล และอกุศล ท่านเรียกว่าใจ ในที่นี้ .(อ.อุณณาภพราหมณสูตร) 31/69/12 31/69/13 |
60 | [๙๗๗] สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ ฯลฯ (สาเกตสูตร) 31/71/8 31/71/11 |
61 | ที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ใหญ่ในสิ่งที่มีความน้อมเชื่อไปเป็นลักษณะชื่อว่า เป็นสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวในอินทรีย์ที่ไม่พึงเชื่อ (อ.สาเกตสูตร) 31/72/20 31/72/21 |
62 | [๙๘๔-๙๘๖] พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้าในเรื่องอินทรีย์ 5 ที่ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ เพราะพระเถระรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา จึงหมดความสงสัยในอมตะ (ปุพพโกฏฐกสูตร) 31/73/17 31/73/17 |
63 | [๙๘๘] ปัญญินทรีย์อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ (ปฐมปุพพารามสูตร) 31/76/6 31/76/4 |
64 | [๙๘๙] สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของพระอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น (ปฐมปุพพารามสูตร) 31/76/10 31/76/9 |
65 | [๙๙๒-๙๙๓] อินทรีย์ 2 ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ คือ ปัญญาอันเป็นอริยะ เป็นปัญญินทรีย์วิมุตติอันเป็นอริยะ เป็นสมาธินทรีย์ (ทุติยปุพพารามสูตร) 31/77/14 31/77/9 |
66 | [๙๙๖-๙๙๗] อินทรีย์ 4 ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ คือ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ (ตติยปุพพารามสูตร) 31/78/16 31/78/10 |
67 | [๑๐๐๐-๑๐๐๑] อินทรีย์ 5 ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ , ปัญญินทรีย์ (จตุตถปุพพารามสูตร) 31/79/13 31/79/10 |
68 | [๑๐๐๖-๑๐๐๗] พระปิณโฑลภารทวาชะ อาศัยอินทรีย์ 3 คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จึงพยากรณ์ อรหัตผล. (ปิณโฑลภารทวาชสูตร) 31/80/15 31/80/18 |
69 | [๑๐๑๗-๑๐๒๒] พระพุทธองค์ทรงแสดง ศรัทธาที่ประกอบด้วยอินทรีย์ทั้ง 4 ของพระอริยสาวกเป็นศรัทธา สำหรับพิจารณา (สัทธาสูตร) 31/83/5 31/83/2 |
70 | [๑๐๒๔] ปัญญินทรีย์ เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้) เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ (โกสลสูตร) 31/86/8 31/86/8 |
71 | [๑๐๒๙-๑๐๓๐] เมื่อใด อริยญาณ (ความหยั่งรู้อันประเสริฐ) เกิดขึ้นแล้ว แก่อริยสาวก เมื่อนั้นอินทรีย์ 4 คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ก็ตั้งลงมั่น , สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของ อริยสาวก ผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น (มัลลกสูตร) 31/88/2 31/88/4 |
72 | [๑๐๓๕] ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ 5 ว่ามีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่งมีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ปริยายนี้ ที่ภิกษุเป็นเสขะอาศัยแล้ว ย่อมรู้ว่าเราเป็น พระเสขะ (เสขสูตร) 31/89/17 31/90/3 |
73 | [๑๐๓๖] ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ 5 ว่ามีสิ่งใดเป็นคติมีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่งมีสิ่งใดเป็นผลมีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกายและเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ปริยายนี้ ที่ภิกษุเป็นอเสขะอาศัยย่อมรู้ว่าเราเป็น พระอเสขะ (เสขสูตร) 31/90/1 31/90/10 |
74 | [๑๐๓๘] บทแห่งธรรมเหล่าใดย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บทคือ ปัญญินทรีย์ พระพุทธองค์กล่าวว่า เป็นยอดแห่งบทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้เปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์ ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง (ปทสูตร) 31/91/8 31/91/17 |
75 | [๑๐๔๑] จันทน์แดงโลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้ มีกลิ่นที่แก่นฉันใด ปัญญินทรีย์พระพุทธองค์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น. (สารสูตร) 31/92/9 31/93/4 |
76 | [๑๐๔๔] อินทรีย์ 5 เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้วธรรมอันเอกเป็นไฉน คือ ความไม่ประมาท (ปติฏฐิตสูตร) 31/93/4 31/93/20 |
77 | [๑๐๔๗-๑๐๕๐] พระพุทธองค์ทรงปริวิตกว่า อินทรีย์ 5 ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความนั้น จึงลงมากราบทูลความที่ตน เคยบวชเป็นภิกษุในยุคพระกัสสปพุทธเจ้า เพราะเจริญอินทรีย์ 5 จึงคลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายเสียได้ เมื่อตายไปเกิดอยู่พรหมโลก (พรหมสูตร) 31/94/4 31/95/4 |
78 | [๑๐๕๗-๑๐๕๙] ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมจึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคตการนอบน้อมอย่างยิ่ง คือ มีความเคารพยำเกรงใน พระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในสมาธิ (สูกรขาตาสูตร) 31/97/1 31/97/24 |
79 | ประวัติถ้ำสูกรขาตา (อ.สูกรขาตาสูตร) 31/97/14 31/98/15 |
80 | [๑๐๖๑] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นและนอกจากความอุบัติ แห่งพระพุทธเจ้า แล้วหาเกิดไม่ (ปฐมอุปาทสูตร) 31/98/13 31/99/13 |
81 | [๑๐๖๒] อินทรีย์ 5 จะไม่เกิดนอกจากวินัยของพระพุทธเจ้า (ทุติยอุปาทสูตร) 31/99/3 31/100/3 |
82 | [๑๐๖๓] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ (สัญโญชนสูตร) 31/100/4 31/101/4 |
83 | [๑๐๖๔] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย (อนุสยสูตร) 31/100/12 31/101/12 |
84 | [๑๐๖๕] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) (ปริญญาสูตร) 31/101/3 31/102/3 |
85 | [๑๐๖๖] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (อาสวักขยสูตร) 31/101/11 31/102/10 |
86 | [๑๐๖๘] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี (ปฐมผลสูตร) 31/102/3 31/103/3 |
87 | [๑๐๖๙] อินทรีย์ 5 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ 7 ประการ (ทุติยผลสูตร) 31/102/11 31/103/11 |
88 | [๑๐๗๐] ต้นหว้า โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้ ในชมพูทวีปฉันใด ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น (ปฐมรุกขสูตร) 31/103/7 31/104/3 |
89 | [๑๐๗๓] ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ฉันใด ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น (ทุติยรุกขสูตร) 31/104/3 31/104/20 |
90 | [๑๐๗๖] ตันจิตตปาฏลี โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้ของพวกอสูร ฉันใด ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น. (ตติยรุกขสูตร) 31/104/17 31/105/16 |
91 | [๑๐๗๙] ต้นโกฏสิมพลี (ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้ของพวกครุฑ ฉันใดปัญญินทรีย์ บัณฑิต กล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น. (จตุตถรุกขสูตร) 31/105/11 31/106/9 |
92 | [๑๐๘๒] แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นผู้น้อมไปโน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น. . (อินทริยสังยุต คังคาทิเปยยาล) 31/106/14 31/108/3 |
93 | [๑๐๘๔-๑๐๘๕] อินทรีย์ 5 อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความ สิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วน เบื้องบน 5 (อินทริยสังยุต คังคาทิเปยยาล) 31/107/9 31/108/15 |
94 | [๑๐๙๐] สัมมัปปธาน 4 คือ ภิกษุย่อม ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น , เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น, เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (สัมมัปปธานสังยุต) 31/109/11 31/111/3 |
95 | [๑๐๙๑] แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นผู้น้อมไปโน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น. (สัมมัปปธานสังยุต) 31/110/1 31/111/16 |
96 | [๑๐๙๔] ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน 4 กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน 4 (สัมมัปปธานสังยุต) 31/111/6 31/113/4 |
97 | [๑๐๙๕-๑๐๙๖] สัมมัปปธาน 4 อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา3 คือ การแสวงหากาม การแสวง-หาภพ การแสวงหาพรหมจรรย์ (สัมมัปปธานสังยุต) 31/111/17 31/113/15 |
98 | [๑๐๙๘] สัมมัปปธาน 4 อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้น-ไป เพื่อความละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 (สัมมัปปธานสังยุต) 31/112/8 31/114/8 |
99 | [๑๐๙๙-๑๑๐๐] แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก ฉันใด ภิกษุเจริญ และกระทำให้มาก ซึ่งพละ 5 คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละย่อมเป็นผู้น้อมไปโน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น (พลสังยุต) 31/113/3 31/115/3 |
100 | [๑๑๐๗] พละ 5 อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 (พลสังยุต) 31/115/1 31/117/1 |
101 | [๑๑๐๘] อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ) อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจาก ที่มิใช่ฝั่ง (อปารสูตร) 31/116/5 31/118/5 |
102 | [๑๑๐๙] ผู้เบื่ออิทธิบาท 4 ชื่อว่า เบื่ออริยมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ (วิรัทธสูตร) 31/117/15 31/119/15 |
103 | [๑๑๑๐] อิทธิบาท 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะนำออกจากทุกข์ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ (อริยสูตร) 31/118/10 31/120/9 |
104 | [๑๑๑๑] อิทธิบาท 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบ เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (นิพพุตสูตร) 31/119/3 31/121/3 |
105 | [๑๑๑๒] สมณะ หรือ พราหมณ์ในอดีต อนาคต หรือ ปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ อิทธบาท 4 (ปเทสสูตร) (อิทธิปเทสสูตร) 31/119/14 31/121/15 |
106 | [๑๑๑๔] สมณะ หรือพราหมณ์ ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน สมณะ หรือ พราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ อิทธิบาท 4 . (สัมมัตตสูตร) 31/121/3 31/123/3 |
107 | [๑๑๑๖] ภิกษุในอดีตกาล อนาคต หรือปัจจุบัน ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะเจริญ อิทธิบาท 4 . (ภิกขุสูตร) 31/122/11 31/124/9 |
108 | [๑๑๑๘] เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท 4 เขาจึงเรียกพระตถาคตว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พุทธสูตร) 31/124/11 31/126/4 |
109 | [๑๑๑๙-๑๑๒๒] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระพุทธ-องค์ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาท 4... อิทธิบาท 4 นั้นควรเจริญ... อิทธิบาท 4 นั้น พระองค์เจริญแล้ว (ญาณสูตร) 31/125/3 31/126/13 |
110 | [๑๑๒๔] อิทธิบาท 4 อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยานกระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อจำนงอยู่พึงดำรงอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเกินกว่ากัปหนึ่ง (เจติยสูตร) 31/126/20 31/128/18 |
111 | [๑๑๒๕] พระอานนท์ ถูกมารดลใจ (เจติยสูตร) 31/127/6 31/128/25 |
112 | [๑๑๓๓-๑๑๓๕] พระพุทธเจ้า ทรงปลงอายุสังขาร ที่ปาวาลเจดีย์ (เจติยสูตร) 31/130/3 31/132/10 |
113 | คำว่า กัปในสูตรนี้ หมายเอา อายุกัป (กำหนดอายุ) (อ.เจติยสูตร) 31/131/12 31/133/14 |
114 | ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังไม่ถึง ความเป็นผู้มีพระทนต์หัก เป็นต้นเลย ก็ย่อมปรินิพพานในส่วน พระชนมายุที่ 5 (อ.เจติยสูตร) 31/132/3 31/133/24 |
115 | วิธีการที่มารดลใจ (อ.เจติยสูตร) 31/132/12 31/134/11 |
116 | ชื่อว่า มาร เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน ความฉิบหายให้ตาย (อ.เจติยสูตร) 31/133/4 31/135/1 |
117 | คำว่า ผีตํ ได้แก่ ถึงความเจริญ (อ.เจติยสูตร) 31/134/11 31/136/8 |
118 | [๑๑๓๗-๑๑๔๐] วิธีเจริญอิทธิบาท (ปุพพสูตร) 31/138/7 31/140/7 |
119 | [๑๑๔๑-๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท 4 แล้วย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง ย่อมได้ยินเสียงด้วยหูทิพย์ ย่อมกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น ย่อมระลึกชาติก่อนได้ ย่อมเห็นจุติและอุบัติของสัตว์ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ (ปุพพสูตร) 31/139/8 31/141/20 |
120 | [๑๑๔๗-๑๑๔๙] อิทธิบาท 4 อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. (มหัปผลสูตร) 31/142/3 31/144/8 |
121 | [๑๑๕๐] อธิบาย คำว่า ฉันทะ สมาธิและปธานสังขาร (ฉันทสูตร) 31/143/12 31/145/18 |
122 | ฉันทะ ฉันทสมาธิ ปธานสังขาร ธรรมทั้ง 3 อย่างเป็นทั้งฤทธิ์ เป็นทั้งทางให้ถึงฤทธิ์ (อ.ฉันทสูตร) 31/145/16 31/148/2 |
123 | [๑๑๕๕] พระพุทธองค์ สั่งให้ พระมหาโมคคัลลานะ ไปทำให้ ภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน ปากกล้าไม่สำรวมอินทรีย์ สังเวช พระเถระจึงทำปราสาทของนางวิสาขาให้ หวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า (โมคคัลลานสูตร) 31/148/13 31/150/12 |
124 | พระมหาโมคคัลลานะ ทำปราสาทให้ไหวได้อย่างไร (อ.โมคคัลลานสูตร) 31/151/12 31/153/15 |
125 | [๑๑๖๒-๑๑๖๙] อุณณาภพราหมณ์ ถามปัญญาพระอานนท์ ถึงทางเพื่อละฉันทะ พระอานนท์แสดงอิทธิบาท 4 (พราหมณสูตร) 31/152/4 31/154/4 |
126 | [๑๑๗๐] สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท 4 . (ปฐมสมณพรหมณสูตร) 31/155/3 31/156/14 |
127 | [๑๑๗๒] สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นผู้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท 4 . (ทุติยสมณพรหมณสูตร) 31/156/6 31/158/4 |
128 | [๑๑๗๔] ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท 4 (อภิญญาสูตร) 31/157/13 31/160/4 |
129 | [๑๑๗๕-๑๑๗๘] ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง นี้เรียกว่า อิทธิ ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร เป็นต้น นี้เรียกว่าอิทธิบาทภาวนา (เทสนาสูตร) 31/158/6 31/160/16 |
130 | [๑๑๘๐-๑๑๘๗] พระพุทธองค์ทรงจำแนกวิธีเจริญอิทธิบาท 4 มีฉันทะที่ย่อ-หย่อนเกินไป...อบรมจิตให้สว่างอยู่ (วิภังคสูตร) 31/160/6 31/162/21 |
131 | ภิกษุเมื่อปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วนั่งเอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่ ที่นั้น เธอมีอาการย่อท้อ หยั่งลงในจิต เธอรู้ว่าอาการย่อท้อหยั่งลงในจิตเรา ก็เอาภัยในอบายข่มจิต ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมาอีก แล้วตั้งจิตตั้งใจทำกัมมัฏฐานต่อไป (อ.วิภังคสูตร) 31/164/8 31/166/16 |
132 | ภิกษุเมื่อทำกรรมฐานแล้ว จิตเธอตกไปในความฟุ้งซ่านเธอก็ รำพึงถึง คุณพระพุทธเจ้าพระธรรม พระสงฆ์ ทำใจให้ร่าเริง ยินดี ควรแก่การงาน แล้วพิจารณากัมมัฏฐานต่อ (อ.วิภังคสูตร) 31/164/16 31/167/5 |
133 | ภิกษุเมื่อทำกัมมัฏฐานแล้ว จิตซัดส่ายไปในอารมณ์ แห่งกามคุณ ให้ข่มจิตด้วยอาชญา คือ พระสูตร เช่น เทวทูตสูตร (อ.วิภังคสูตร) 31/165/15 31/167/25 |
134 | ที่ชื่อว่า อบรมจิตให้มีความสำคัญว่าแสงสว่างอยู่ (อ.วิภังคสูตร) 31/167/8 31/169/14 |
135 | [๑๒๐๕] ครั้งพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดหาว่าอะไรเป็นทางเป็นปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาท ทรงแสดงถึงการเจริญอิทธิบาท ว่าต้องไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป... อบรมจิตให้สว่างอยู่ (มรรคสูตร) 31/169/4 31/171/4 |
136 | [๑๒๑๒] สมัยใดตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุข-สัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง (อโยคุฬสูตร) 31/172/3 31/173/23 |
137 | คำว่า สุขสัญญา และลหุสัญญา หมายถึง สัญญาที่เกิดพร้อมกับอภิญญาจิตสัญญานั้นเพราะประกอบด้วยสุขสงบ จึงชื่อว่า สุขสัญญา และเพราะไม่มีความประพฤติชักช้า เพราะกิเลส จึงชื่อว่า ลหุสัญญา (อ.อโยคุฬสูตร) 31/173/11 31/175/3 |
138 | [๑๒๑๖] เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง อิทธิบาท 4 ภิกษุจึงกระทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ (ภิกขุสุทธกสูตร) 31/174/11 31/176/7 |
139 | [๑๒๑๘] เพราะได้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่ง อิทธิบาท 4 ภิกษุพึงหวังผลได้ 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลใน ปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี (ปฐมผลสูตร) 31/175/10 31/177/7 |
140 | [๑๒๒๐] เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่ง อิทธิบาท 4 ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ 7 ประการ (ทุติยผลสูตร) 31/176/13 31/178/7 |
141 | [๑๒๒๓-๑๒๒๔] ทางอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะฤทธิ์ นี้เรียกว่าอิทธิบาท. ภิกษุย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารเป็นต้น นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา (ปฐมอานันทสูตร) 31/177/16 31/179/12 |
142 | [๑๒๓๑-๑๒๔๐] ทรงแสดงแก่ภิกษุหลายรูป ถึงเรื่อง อิทธิ อิทธิบาท อิทธิบาทภาวนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา (สูตร ๘-๙) 31/179/9 31/181/3 |
143 | [๑๒๔๑-๑๒๔๔] ทรงสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ ว่ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะได้เจริญอิทธิบาท 4 (โมคคัลลานสูตร) 31/181/13 31/183/3 |
144 | [๑๒๔๕-๑๒๔๘] พระตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท 4 (ตถาคตสูตร) 31/183/6 31/184/11 |
145 | [๑๒๔๙] แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก ฉันใด ภิกษุเจริญ และกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท 4 ย่อมเป็นผู้น้อมไป โน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น.. (คังคาทิเปยยาลแห่งอิทธิบาทสังยุต) 31/185/9 31/187/3 |
146 | [๑๒๕๒] ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท 4 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 (คังคาทิเปยยาลแห่งอิทธิบาทสังยุต) 31/186/4 31/187/18 |
147 | [๑๒๕๔-๑๒๖๒] พระอนุรุทธะ ตอบคำถามพระมหาโมคคัลลานะ ถึงเหตุที่ ภิกษุได้ชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน 4 (ปฐมรโหคตสูตร) 31/187/12 31/189/13 |
148 | [๑๒๖๓] พระอนุรุทธะ ได้เกิดความคิดว่า สติปัฏฐาน 4 อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้วชนเหล่านั้น ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน 4 อันชนเหล่าใด เหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ (ทุติยรโหคตสูตร) 31/191/3 31/193/11 |
149 | [๑๒๗๑] พระอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญาเพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 จึงได้รู้ธรรมอันเลว โดยความเป็นธรรมอันเลว รู้ธรรมปานกลาง โดยความเป็นธรรมปานกลาง รู้ธรรมอันประณีต โดยความเป็นธรรมอันประณีต (สุตนุสูตร) 31/193/8 31/195/13 |
150 | [๑๒๗๒-๑๒๗๓] พระอนุรุทธะ ตอบคำถามพระสารีบุตรว่า สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่ (ปฐมกัณฏกีสูตร) 31/194/12 31/197/3 |
151 | [๑๒๗๔-๑๒๗๕] พระอนุรุทธะ ตอบคำถามพระสารีบุตรว่า สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุผู้เป็นอเสขะพึงเข้าถึงอยู่ (ทุติยกัณฏกีสูตร) 31/195/12 31/198/3 |
152 | [๑๒๗๖-๑๒๗๗] พระอนุรุทธะ ตอบคำถามพระสารีบุตรว่า ผมบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญาเพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 ผมจึงรู้โลกพันหนึ่ง (ตติยกัณฏกีสูตร) 31/196/6 31/198/17 |
153 | [๑๒๗๘] พระอนุรุทธะ แสดงแก่ภิกษุทั้งหลายถึง สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา (ตัณหักขยสูตร) 31/197/3 31/199/12 |
154 | [๑๒๗๙] ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 จักลาสิกขานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะจิตที่น้อมไป โน้มไป โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนาน จักหวนสึกมิใช่ฐานะที่จะมีได้ (สลฬาคารสูตร) 31/198/16 31/201/5 |
155 | [๑๒๘๑-๑๒๘๒] พระสารีบุตรถามพระอนุรุทธะว่า อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก พระอนุรุทธะตอบว่า ผมตั้งจิตมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน 4 มาก. (อัมพปาลิสูตร) 31/200/3 31/202/9 |
156 | คำว่า อาสภิวาจา หมายถึง วาจาสูงสุดที่ส่องถึงความเป็นพระอรหันต์ของตน. (อ.อัมพปาลิสูตร) 31/201/2 31/203/7 |
157 | [๑๒๘๓-๑๒๘๔] พระอนุรุทธะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก แต่ท่านมีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน 4ทุกขเวทนาในร่างกายที่เกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต (คิลานสูตร) 31/201/8 31/203/14 |
158 | [๑๒๘๖] พระอนุรุทธะ ได้เจริญ และกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 จึงบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา และระลึกได้ตลอดพันกัป (สหัสสสูตร) 31/203/9 31/205/9 |
159 | [๑๒๘๗] พระอนุรุทธะ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (อิทธิสูตร) 31/204/3 31/206/3 |
160 | [๑๒๘๘] พระอนุรุทธะ ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (ทิพโสตสูตร) 31/204/9 31/206/10 |
161 | [๑๒๘๙] พระอนุรุทธะสามารถกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน 4 (เจโตปริจจสูตร) 31/205/3 31/207/3 |
162 | [๑๒๙๐] พระอนุรุทธะรู้ฐานะโดยความเป็นฐานะ และอฐานะโดยความเป็น อฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน 4 . (ฐานาฐานสูตร) 31/205/9 31/207/10 |
163 | [๑๒๙๑] พระอนุรุทธะสามารถรู้วิบากของการกระทำกรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (วิปากสูตร) 31/205/15 31/208/3 |
164 | [๑๒๙๒] พระอนุรุทธะสามารถรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงเพราะเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 . (สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร) 31/206/3 31/208/10 |
165 | [๑๒๙๓] พระอนุรุทธะ สามารถรู้ธาตุเป็นอเนก และโลกธาตุต่างๆ ตามความเป็นจริงเพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน 4 (นานาธาตุสูตร) 31/206/9 31/209/3 |
166 | [๑๒๙๔] พระอนุรุทธะรู้อธิมุตติ (อัธยาศัย) อันเป็นต่างๆ กันของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (อธิมุตติสูตร) 31/207/3 31/209/9 |
167 | [๑๒๙๕] พระอนุรุทธะ รู้ความยิ่งและหย่อน แห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4. (อินทริยสูตร) 31/207/9 31/210/3 |
168 | [๑๒๙๖] พระอนุรุทธะ รู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (สังกิเลสสูตร) 31/208/3 31/210/9 |
169 | [๑๒๙๗] พระอนุรุทธะ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก เพราะได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (ปฐมวิชชาสูตร) 31/208/9 31/211/3 |
170 | [๑๒๙๘] พระอนุรุทธะ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 (ติยวิชชาสูตร) 31/209/3 31/211/10 |
171 | [๑๒๙๙] พระอนุรุทธะ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน 4 (ตติยวิชชาสูตร) 31/209/10 31/212/3 |
172 | [๑๓๐๐] ทรงแสดงฌาน 4 (ฌานสังยุต) 31/210/14 31/214/3 |
173 | [๑๓๐๑] แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก ฉันใด ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน 4ย่อมเป็นผู้น้อมไป โน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น (ฌานสังยุต) 31/211/7 31/214/14 |
174 | [๑๓๐๔] ฌาน 4 อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 (ฌานสังยุต) 31/211/21 31/215/9 |
175 | [๑๓๐๕] ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ อานาปานสติ (เอกธรรมสูตร) 31/213/5 31/216/5 |
176 | [๑๓๐๖] วิธีการเจริญ อานาปานสติ (เอกธรรมสูตร) 31/213/8 31/216/9 |
177 | [๑๓๐๘] ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันประกอบด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ อานาปานสติอันภิกษุผู้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. (โพชฌงคสูตร) 31/215/12 31/218/13 |
178 | [๑๓๑๐] ภิกษุอยู่ในป่า อยู่ที่โคนไม้ อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ อานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. (สุทธิกสูตร) 31/216/8 31/219/8 |
179 | [๑๓๑๓] อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังได้ผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี (ปฐมผลสูตร) 31/217/13 31/220/13 |
180 | [๑๓๑๖] เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังได้ผลานิสงส์ 7 ประการ (ทุติยผลสูตร) 31/218/13 31/221/14 |
181 | [๑๓๑๘-๑๓๒๐] พระพุทธองค์ทรงแสดงอานาปานสติ อย่างบริบูรณ์โดยกว้าง-ขวาง แก่พระอริฏฐะ (อริฏฐสูตร) 31/219/5 31/222/5 |
182 | [๑๓๒๕-๑๓๒๖] ความไหว หรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหว หรือ ความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอานาปาน-สติสมาธิ (กัปปินสูตร) 31/221/17 31/224/9 |
183 | [๑๓๓๐-๑๓๔๕] พระพุทธองค์ ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย มนสิการ อานาปานสติ ให้ดี โดยทรงแสดง ฌาน 4 และอรูปฌาน (ทีปสูตร) 31/223/17 31/226/3 |
184 | [๑๓๔๖-๑๓๔๗] เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ถ้าเธอเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด หรือเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้ ไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิต .(ทีปสูตร) 31/225/22 31/228/11 |
185 | เมื่อกำลังทำงานในธาตุกัมมัฏฐาน กายย่อมลำบาก เมื่อกำลังทำงานในกสิณกัมมัฏฐานอยู่ ตาก็กลอกไปมา ย่อมเหนื่อย แต่เมื่อกำลังทำอานาปานสติกัมมัฏฐานนี้ กายก็ไม่เหนื่อย ตาทั้งสองข้างก็ไม่ลำบากด้วย (อ.ทีปสูตร) 31/227/4 31/229/9 |
186 | [๑๓๔๘-๑๓๕๔] พระพุทธองค์สอนอสุภกรรมฐาน แล้วทรงหลีกเร้นอยู่ 15 วัน ภิกษุเจริญอสุภะ แล้วอึดอัดระอาเกลียดกายนี้ จึงฆ่าตัวตายบ้าง ให้คนอื่นฆ่าตนบ้าง ทั้งหมด 500 องค์ เมื่อพระองค์ออกจากที่เร้นแล้ว จึงทรงตรัสอานาปานสติ (เวสาลีสูตร) 31/228/8 31/230/14 |
187 | เหตุที่ทำให้ภิกษุ 500 รูป ฆ่าตัวตายบ้าง ให้ผู้อื่นฆ่าตนบ้าง (อ.เวสาลีสูตร) 31/233/8 31/235/7 |
188 | ในบรรดา ภิกษุ 500 ที่ฆ่าตัวตายนั้น มีทั้งปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามีพระอนาคามี พระขีณาสพก็มี (อ.เวสาลีสูตร) 31/233/18 31/235/17 |
189 | [๑๓๕๕-๑๓๖๒] พระพุทธองค์ตรัสถามพระกิมิละ เกี่ยวกับอานาปานสติ ถึง3 วาระ แต่พระกิมิละก็นิ่งอยู่ พระอานนท์ จึงอาราธนาให้พระพุทธองค์แสดงภิกษุทั้งหลาย จะได้จำไว้ (กิมิลสูตร) 31/239/12 31/241/4 |
190 | ลมหายใจออก และหายใจเข้าย่อมเป็นกายอย่างหนึ่ง เพราะรวมเข้าในอายตนะ คือ สิ่งที่จะพึงถูกต้อง (อ.กิมิลสูตร) 31/243/5 31/244/18 |
191 | ยกเว้นความตรึก และความตรองแล้ว ธรรมที่ประกอบกับจิตแม้ทั้งหมดรวมลงในจิตตสังขาร (อ.กิมิลสูตร) 31/244/5 31/245/19 |
192 | [๑๓๖๔-๑๓๖๕] พระพุทธองค์ทรงหลีกเร้นอยู่ 3 เดือน ในป่าอิจฉานังคละ แล้วทรงบอกภิกษุทั้งหลายให้ตอบพวกปริพาชกว่า พระพุทธองค์อยู่จำพรรษาด้วยสมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติมาก. (อิจฉานังคลสูตร) 31/248/10 31/249/10 |
193 | [๑๓๖๖] สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติ เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (อิจฉานังคลสูตร) 31/249/3 31/250/4 |
194 | [๑๓๖๗] สมาธิอันประกอบด้วย อานาปานสติ อันภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ (อิจฉานังคลสูตร) 31/249/11 31/250/13 |
195 | [๑๓๖๙-๑๓๗๙] พระเจ้ามหานาม เข้าไปถามพระโลมสกังภิยะ ถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ นั้น เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ และเป็นวิหารธรรมของพระตถาคตด้วย หรือว่าเป็นคนละอย่าง พระเถระตอบว่าเป็นคนละอย่าง แล้วเล่าถึงที่ พระพุทธองค์แสดงวิหารธรรม หลังจากที่ทรงหลีกเร้น 3 เดือน ในป่าอิจฉานังคละ (โลมสกังภิยสูตร) 31/251/3 31/252/3 |
196 | [๑๓๘๑-๑๓๙๘] พระพุทธองค์ตอบคำถามของพระอานนท์ ถึงสมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ย่อมยัง วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ (ปฐมอานันทสูตร) 31/254/10 31/255/19 |
197 | อาการที่เป็นกลางๆ คือไม่หย่อนไม่ตึงเกินไปของโพชฌงค์ ทั้ง 6 นี้ เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (อ.ปฐมอานันทสูตร) 31/260/3 31/261/19 |
198 | [๑๔๐๒-๑๔๐๕] พระพุทธองค์ แสดงกับภิกษุมากรูป เกี่ยวกับ ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้วย่อมยังธรรม 4 ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม 4 ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว ย่อมยังธรรม 7 ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม 7 ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว ย่อมยังธรรม 2 ข้อ ให้บริบูรณ์ (สูตร ๕-๖) 31/262/14 31/264/3 |
199 | [๑๔๐๖-๑๔๐๗] สมาธิอันประกอบด้วย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ (สังโยชนสูตร) 31/264/19 31/266/6 |
200 | [๑๔๐๘] สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย (อนุสยสูตร) 31/265/11 31/267/3 |
201 | [๑๔๐๙] สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ (อัทธานสูตร) 31/266/3 31/267/11 |
202 | [๑๔๑๐] สมาธิอันประกอบด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (อาสวักขยสูตร) 31/266/10 31/268/3 |
203 | [๑๔๑๑-๑๔๑๓] สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว16 หน ของการได้ธรรม 4 ประการ ของพระอริยสาวก (ราชสูตร) 31/268/5 31/269/5 |
204 | [๑๔๑๔] อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเหล่านี้ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (โอคธสูตร) 31/272/8 31/273/7 |
205 | [๑๔๑๙-๑๔๒๔] พระพุทธองค์ตรัส แก่ทีฆาวุอุบาสก ซึ่งป่วยหนักอยู่ และเป็นผู้ตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา 4 แล้วให้เจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา 6 ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป คือ จงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ ในความคลายกำหนัด ในการดับ (ทีฆาวุสูตร) 31/275/6 31/276/4 |
206 | [๑๔๒๖] พระสารีบุตรตอบคำถามพระอานนท์ ถึงธรรม 4 ประการ ที่พยากรณ์ได้ว่าเป็นพระโสดาบัน (ปฐมสาริปุตตสูตร) 31/278/1 31/278/19 |
207 | [๑๔๒๗-๑๔๓๓] พระสารีบุตรตอบคำถามของพระพุทธองค์ เกี่ยวกับ โสดา-ปัตติยังคะ (องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา) คือ การคบสัตบุรุษ ฟังคำสั่งสอนของท่าน กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม , อริยมรรค 8 ชื่อว่า ธรรม เพียงเป็นดังกระแส และผู้ที่ประกอบด้วยอริยมรรค 8 นี้เรียกว่าโสดาบัน (ทุติยสาริปุตตสูตร) 31/279/3 31/279/12 |
208 | [๑๔๓๔-๑๔๔๗] พระพุทธองค์ตรัสกับพวกช่างไม้ ชาวเมืองสาวัตถี ที่รู้สึกเสียใจเวลาพระองค์จาริกไปที่อื่น และรู้สึกดีใจที่พระองค์กำลังเสด็จมาสาวัตถี ว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลาย ควรไม่ประมาท (ถปติสูตร) 31/281/3 31/281/19 |
209 | [๑๔๕๒] ทรงแสดงธรรม 4 ประการของพระโสดาบัน คือ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน (อ.ถปติสูตร) 31/286/1 31/286/12 |
210 | พระอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ พระพุทธองค์จัดว่าเป็นเจ้าของศาสนา (อ.ถปติสูตร) 31/287/15 31/288/5 |
211 | พระพุทธเจ้าย่อมเสด็จจาริกใปในมัชฌิมประเทศ และย่อมให้อรุณตั้งขึ้นในมัชฌิมประเทศ (อ.ถปติสูตร) 31/288/11 31/288/24 |
212 | [๑๔๕๘-๑๔๖๗] พระพุทธองค์แสดงธรรมอันควรน้อมเข้ามาในตน 7 ประการและองค์คุณ 4 ประการ ของพระโสดาบัน แก่พราหมณ์ และคฤหบดี ชาวเวฬุ-ทวาระ (เวฬุทวารสูตร) 31/292/15 31/292/17 |
213 | [๑๔๗๑-๑๔๗๒] การเข้าเฝ้าถามถึงคติที่ไปของคนตาย เป็นการสร้างความลำบากให้พระพุทธองค์. พระองค์ทรงแสดงธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้วย่อมพยากรณ์ตนเองได้ว่า เรามี นรก กำเนิดสัตว์ดิ-รัจฉาน ปิตติวิสัย อบายทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว (ปฐมคิญชกาวสถสูตร) 31/298/11 31/297/23 |
214 | ความหมายของการที่พระสกทาคามีย่อมมาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่ง แล้วจักกระทำที่สุดทุกข์ได้ (อ.ปฐมคิญชกาวสถสูตร) 31/300/10 31/300/7 |
215 | ความหมายของ อบาย ทุคติ วินิบาต (อ.ปฐมคิญชกาวสถสูตร) 31/301/4 31/301/1 |
216 | ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สัตว์ 2,400,000 ตายคราวเดียวกัน ด้วยอหิวาตกโรค.(อ.ตติยคิญชกาวสถสูตร) 31/305/5 31/304/18 |
217 | [๑๔๘๑] ทรงแสดงธรรม 4 ประการ ของพระโสดาบัน แก่ภิกษุณี 1,000 รูป.(สหัสสสูตร) 31/306/4 31/306/4 |
218 | พระเจ้าปเสนทิโกศล รับสินบนพวกเดียรถีย์ (อ.สหัสสสูตร) 31/307/6 31/307/6 |
219 | เทวดาโกรธพระราชาผู้รับสินบนจากดาบส 2 คณะ ทำให้ทะเลาะกัน จึงทำแว่นแคว้น มีประมาณ 1,000 โยชน์ ให้เป็นมหาสมุทร (อ.สหัสสสูตร) 31/310/8 31/310/7 |
220 | [๑๔๘๒] พราหมณ์ พวกหนึ่งสอนสาวกว่าจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ แล้วเดินไปทิศตะวันออกอย่าเว้นบ่อ เหว ตอที่มีหนาม หลุมเต็มด้วยคูถ บ่อโสโครกใกล้บ้าน ท่านพึงตกไปในที่ใด พึงรอความตายในที่นั้น ด้วยวิธีนี้ เมื่อตายท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ (พราหมณสูตร) 31/311/6 31/311/3 |
221 | [๑๔๘๓-๑๔๘๙] ทรงแสดง อุทยคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเจริญในลัทธิของตน)ที่เป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (พราหมณสูตร) 31/311/12 31/311/10 |
222 | [๑๔๘๖-๑๔๙๐] พระอานนท์ตอบคำถามพระสารีบุตร ที่ว่า เพราะละธรรม 4 ประการ เพราะเหตุประกอบธรรม 4 ประการ พระพุทธเจ้าจึงทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน.. (อานันทสูตร) 31/313/11 31/313/3 |
223 | [๑๔๙๑] อริยสาวกผู้ประกอบด้วย ธรรม 4 ประการ ย่อมล่วงภัย คือ ทุคติ ทั้ง-หมดได้ (ปฐมทุคติสูตร) 31/315/9 31/315/3 |
224 | [๑๔๙๒] อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมล่วงภัย คือ ทุคติ และวินิบาตทั้งหมดได้ (ทุติยทุคติสูตร) 31/316/8 31/316/3 |
225 | [๑๔๙๓] เธอทั้งหลาย พึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้เป็น อำมาตย์ ญาติหรือ สาโลหิต ผู้ที่สำคัญโอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตนควรฟัง พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ ในองค์ธรรมเป็น เครื่องบรรลุโสดา 4 ประการ (ปฐมมิตตามัจจสูตร) 31/317/8 31/317/3 |
226 | ญาติ ได้แก่ เป็นฝ่ายพ่อตาแม่ยาย. คำว่า สาโลหิต ได้แก่ พี่ชาย น้องชายพี่สาว น้องสาว และลุง เป็นต้น (อ.ปฐมมิตตามัจจสูตร) 31/318/5 31/318/1 |
227 | [๑๔๙๕] มหาภูตรูป 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอื่นไปได้ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าไม่พึงมีความแปรเป็นอื่นไปได้เลย. (ทุติยมิตตามัจจสูตร) 31/318/16 31/318/15 |
228 | ชื่อว่า ความแปรเป็นอย่างอื่น มีหลายอย่างคือ ความแปรเป็นอย่างอื่น โดยความเลื่อมใส โดยภาวะ โดยคติ โดยลักษณะ โดยการเปลี่ยนแปลง. (อ.ทุติยมิตตามัจจสูตร) 31/320/3 31/319/15 |
229 | [๑๔๙๘-๑๕๐๓] พระมหาโมคคัลลานะ ไปดาวดึงส์ กล่าวกะเหล่าเทวดาถึง การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นความดีการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นความดี เป็นเหตุให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ (สูตร ๘-๙) 31/321/3 31/320/16 |
230 | [๑๕๐๔-๑๕๐๖] พระพุทธเจ้าเสด็จไปดาวดึงส์ ตรัสกะเหล่าเทวดา ถึงการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นความดี การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นความดี เป็นเหตุให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน... (ตติยเทวจาริกสูตร) 31/323/13 31/323/9 |
231 | [๑๕๐๗-๑๕๐๙] พระพุทธองค์ ตรัสกับพระเจ้ามหานามะว่า อย่ากลัวเลย การสวรรคต อันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร จิตของผู้ใดที่อบรมแล้วด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน แม้ร่างกายนี้ตายไป จิตของผู้นั้นย่อมไปในเบื้องบน (ปฐมมหานามสูตร) 31/325/4 31/325/5 |
232 | [๑๕๑๐-๑๕๑๑] พระเจ้ามหานามะถามพระพุทธองค์ ถึงว่า ถ้าลืมสติที่ปรารภพระพุทธเจ้า ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตายลงเวลานั้น คติและอภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร ? พระพุทธองค์ตรัสว่า การตายอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตรอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไป โน้มไป โอนไปสู่นิพพาน (ทุติยมหานามสูตร) 31/327/16 31/327/17 |
233 | [๑๕๒๕] ถ้ามีคำกล่าว 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัส อีกฝ่ายหนึ่ง ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ กล่าวพระเจ้ามหานามะถือเอาคำกล่าวของพระพุทธเจ้า (โคธาสูตร) 31/332/7 31/332/21 |
234 | [๑๕๒๙] อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาล-นาน จะพึงไปสู่วินิบาตอย่างไร เล่า (ปฐมสรกานิสูตร) 31/335/1 31/335/15 |
235 | [๑๕๓๕] บุคคลบางคน ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามีความรักในพระตถาคตพอประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต (ปฐมสรกานิสูตร) 31/336/15 31/337/13 |
236 | [๑๕๓๖] ถ้าแม้ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ พึงรู้ทั่วถึงสุภาษิต ทุพภาษิตไซร้ พระพุทธองค์ก็พึงพยากรณ์ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ว่า เป็นพระโสดาบัน จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะสมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์..(ปฐมสรกานิสูตร) 31/336/21 31/337/19 |
237 | [๑๕๔๑] บุคคลบางคน เลื่อมใสยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีปัญญาร่าเริงเฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ 5 สิ้นไป เขาเป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปริ-นิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก. (ทุติยสรกานิสูตร) 31/339/16 31/340/16 |
238 | [๑๕๕๐-๑๕๖๗] พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ซึ่งป่วยหนัก โดยการจำแนกโสดาปัตติยังคะ 4 ด้วยอาการ 10 อย่าง จบการแสดงธรรม คฤหบดีหายป่วยโดยพลัน (ปฐมทุศีสลยสูตร) 31/343/17 31/345/3 |
239 | [๑๕๖๑] ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (ปฐมทสีลยสูตร) 31/346/3 31/347/12 |
240 | [๑๕๗๑] พระอานนท์แสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ถึงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้ทุศีล ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียวกลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า (ทุติยทุสีลยสูตร) 31/349/17 31/350/16 |
241 | [๑๕๗๒-๑๕๗๓] พระอานนท์ แสดงธรรมแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ถึงอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า (ทุติยทุสีลยสูตร) 31/350/12 31/351/7 |
242 | [๑๕๗๔-๑๕๗๙] ภัยเวร 5 ประการ ของอริยสาวก สงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดาปัตติยังคะ 4 ประการ และ ญายธรรมอันประเสริฐ พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (ปฐมเวรภยสูตร) 31/352/10 31/353/11 |
243 | [๑๕๘๑-๑๕๘๒] อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วย อายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์.(ลิจฉวีสูตร) 31/355/12 31/356/8 |
244 | [๑๕๘๔] ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการ คือ อริย-สาวก ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว (ปฐมอภิสันทสูตร) 31/357/4 31/358/4 |
245 | [๑๕๘๕] ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการ คือ อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อริยสาวกมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน (ทุติยอภิสันทสูตร) 31/358/8 31/359/10 |
246 | [๑๕๘๖] ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการ คือ อริยสาวก ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ อริยสาวกมีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นเหตุให้ถึงการเห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ (ตติยอภิสันทสูตร) 31/359/10 31/360/11 |
247 | [๑๕๘๗] เทวบท (ข้อปฏิบัติของเทวดา) ของพวกเทพ 4 ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่บริสุทธิ์ คือ อริยสาวก ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว (ปฐมเทวปทสูตร) 31/360/9 31/361/10 |
248 | [๑๕๘๘] เทวบทของพวกเทพ 4 ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว (ทุติยเทวปทสูตร) 31/362/3 31/363/3 |
249 | [๑๕๘๙] เทวดาทั้งหลายปลื้มใจไปสู่ที่ประชุมแล้ว กล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ (สภาคตสูตร) 31/363/8 31/364/8 |
250 | [๑๕๙๐] บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ชื่อว่าเป็น อุบาสก (มหานามสูตร) 31/364/16 31/365/15 |
251 | [๑๕๙๑] ที่ชื่อว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. (มหานามสูตร) 31/364/18 31/365/18 |
252 | [๑๕๙๒-๑๕๙๔] ที่ชื่อว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา (มหานามสูตร) 31/365/5 31/366/2 |
253 | [๑๕๙๕] ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อันใดและศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วของอริยสาวก ธรรมเหล่านี้ เมื่อไหลไปถึงฝั่งย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ เหมือนฝนตกยังน้ำให้เต็มจนถึงมหาสมุทร. (วัสสสูตร) 31/366/3 31/367/3 |
254 | [๑๕๙๖-๑๕๙๘] พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรม 4 ประการ ของพระโสดาบัน แก่นางกาฬิโคธาสากิยานี ซึ่งเป็นอริยสาวกผู้บรรลุโสดาปัตติผล (กาฬิโคธาสูตร) 31/367/3 31/368/3 |
255 | [๑๖๐๐] อริยสาวกใดไม่มีโสตาปัตติยังคะ 4 ประการ พระพุทธองค์ เรียกอริย-สาวกนั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน (นันทิยสูตร) 31/368/15 31/369/16 |
256 | [๑๖๐๑] อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า และพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท (นันทิยสูตร) 31/369/3 31/370/3 |
257 | [๑๖๐๕] ใครๆ จะนับประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วง กุศล 4 ประการนี้ มิใช่กระทำได้ง่าย ย่อมถึง ความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่จะนับจะประมาณมิได้ (ปฐมอภิสันทสูตร) 31/373/1 31/374/3 |
258 | [๑๖๐๙] มิใช่กระทำได้ง่ายเลยที่จะนับประมาณ น้ำที่ปากแม่น้ำ ซึ่งไหลมาจากแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 สาย ฉันใด ใครๆ จะนับประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วงกุศล 4 ประการ ก็มิใช่กระทำได้โดยง่าย ฉันนั้น. (ทุติยอภิสันทสูตร) 31/375/13 31/376/11 |
259 | [๑๖๑๓] " ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งมั่นในกุศลเจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้นบรรลุธรรมที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ) ย่อมไม่หวั่นไหวในเมื่อมัจจุราชมาถึง " (ตติยอภิสันทสูตร) 31/378/1 31/378/14 |
260 | [๑๖๑๔] อริยสาวกประกอบด้วยธรรม 4 ประการ พระพุทธองค์ เรียกว่าเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ คือ ประกอบด้วยความเลื่อมใส่อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว.(ปฐมมหัทธนสูตร) 31/379/3 31/379/15 |
261 | [๑๖๑๕] อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ พระพุทธองค์ เรียกว่าเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ คือ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ (ทุติยมหัทธนสูตร) 31/380/3 31/380/14 |
262 | [๑๖๑๖] อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า (ภิกขุสูตร) 31/380/14 31/381/10 |
263 | [๑๖๑๗-๑๖๑๙] ทรงแสดงธรรม 4 ประการ ของพระโสดาบัน แก่เจ้านันทิยศากยะ เจ้าภัททิยศากยะ พระเจ้ามหานามศากยะ (สูตร ๗-๙) 31/381/7 31/382/4 |
264 | [๑๖๒๐] โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ คือ การคบสัตบุรุษ การฟังธรรมของสัตบุรุษการทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม . (โสตาปัตติยังคสูตร) 31/383/3 31/385/3 |
265 | [๑๖๒๒] " ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์... ".(สคาถกสูตร) 31/384/12 31/386/16 |
266 | [๑๖๒๔] พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า พระอรหันต์ มีน้อยกว่าพระอนาคามี พระอนาคามี มีน้อยกว่าพระสกทาคามี พระสกทาคามีมีน้อยกว่า พระโสดาบัน .(วัสสวุตถสูตร) 31/386/1 31/387/22 |
267 | [๑๖๒๕-๑๖๒๖] อุบาสกผู้เป็นพระโสดาบัน 500 คน ขอฟังธรรมที่เหมาะกับภูมิของตนเพราะรู้ว่าตนยังครองเรือน ยังใช้ของหอม เครื่องลูบไล้ และยังยินดีทองและเงินอยู่ (ธรรมทินนสูตร) 31/387/12 31/389/3 |
268 | อุบาสก 7 คน เป็นผู้มีอุบาสก 500 เป็นบริวาร (อ.ธรรมทินนสูตร) 31/389/6 31/390/18 |
269 | [๑๖๒๗-๑๖๓๓] พระพุทธองค์ บอกวิธีสอนอุบาสก ผู้มีปัญญาผู้ป่วยหนัก แก่พระเจ้ามหานามะให้ปลอบผู้ป่วยนั้น ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการแล้วถามเป็นลำดับไป จนถึงให้น้อมจิตไปในความดับสักกายะ ถ้าอุบาสก พ้นแล้ว ก็ไม่ต่างจากภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี (คิลายนสูตร) 31/390/10 31/392/3 |
270 | [๑๖๓๔-๑๖๔๐] ธรรม 4 ประการ คือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล , สกทาคา-มิผล ,อนาคามิผล , อรหัตผล , เพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา , เพื่อความเจริญแห่งปัญญา, เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (สูตร ๕-๑๑) 31/394/7 31/396/4 |
271 | [๑๖๔๑-๑๖๕๓] ธรรม 4 ประการ คือ การคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก, มีปัญญาแน่นหนา , มีปัญญาไพบูลย์, มีปัญญาลึกซึ้ง , มีปัญญาประมาณมิได้ , มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน, มีปัญญามาก, มีปัญญาเร็ว, มีปัญญาเบา, มีปัญญาร่าเริง, มีปัญญาไว, มีปัญญาคมกล้า , มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส (สูตร ๑-๑๓) 31/389/4 31/400/4 |
272 | [๑๖๕๔] ภิกษุจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 (สมาธิสูตร) 31/404/5 31/406/5 |
273 | [๑๖๕๕] ภิกษุ จงถึงความประกอบในการหลีกออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 (ปฏิสัลลานสูตร) 31/406/3 31/408/3 |
274 | [๑๖๕๖-๑๖๕๗] กุลบุตร เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีต อนาคต และ ปัจจุบันกุลบุตร กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ เพื่อรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง. (สูตร ๓-๔) 31/407/3 31/409/3 |
275 | [๑๖๕๘-๑๖๕๙] สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ย่อมรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง (สูตร ๕-๖) 31/409/7 31/411/3 |
276 | [๑๖๖๐] ภิกษุจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตก อันลามก คือ กามวิตก พยาบาทวิตกวิหิงสาวิตก เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่งความตรัสรู้ นิพพาน. (วิตักกสูตร) 31/412/3 31/413/7 |
277 | [๑๖๖๑] ภิกษุทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศล อันลามกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง เป็นต้นพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 (จินตสูตร) 31/413/3 31/414/3 |
278 | [๑๖๖๒] ภิกษุทั้งหลายจงอย่าพูดถ้อยคำแก่งแย่งกันว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ... เพราะถ้อยคำนี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น (วิคคาหิกกถาสูตร) 31/414/3 31/415/3 |
279 | [๑๖๖๓] ภิกษุทั้งหลาย จงอย่าพูดติรัจฉานกถา... เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น (ติรัจฉานกถาสูตร) 31/415/3 31/416/3 |
280 | อธิบาย ติรัจฉานกถา 32 (อ.ติรัจฉานกถาสูตร) 31/416/3 31/417/4 |
281 | [๑๖๖๔-๑๖๗๓] พระพุทธองค์ทรงแสดง ธรรมจักรอันยอดเยี่ยม แก่ภิกษุ ปัญจวัคคีย์ (ปฐมตถาคตสูตร) 31/420/4 31/421/5 |
282 | เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจักรจบ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ กับพรหม18 โกฏิ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.ปฐมตถาคตสูตร) 31/427/1 31/428/1 |
283 | [๑๖๗๙] อุปาทานขันธ์ 5 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ทุกขอริยสัจ (ขันธสูตร) 31/429/6 31/430/6 |
284 | [๑๖๘๕] อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.(อายตนสูตร) 31/430/6 31/431/6 |
285 | [๑๖๙๐-๑๖๙๑] พระพุทธองค์ ตรัสให้ ภิกษุทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ 4 ที่พระองค์ แสดงไว้แล้ว (ปฐมธารณสูตร) 31/431/3 31/432/3 |
286 | [๑๖๙๓] ถ้าสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ 1 ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจ ข้อที่ 1 นั้นเสียแล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ 1 อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ มีได้ (ทุติยธารณสูตร) 31/432/19 31/433/20 |
287 | [๑๖๙๔] ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า อวิชชา (อวิชชาสูตร) 31/433/13 31/434/11 |
288 | [๑๖๙๕] ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา (วิชชาสูตร) 31/434/3 31/435/3 |
289 | [๑๖๙๖] บัญญัติ แห่งอริยสัจ ไม่สามารถ จะกำหนดได้ด้วย อักขระ พยัญชนะได้หมด (สังกาสนสูตร) 31/434/14 31/435/13 |
290 | [๑๖๙๗] สิ่ง 4 อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ (ตถสูตร) 31/436/3 31/436/13 |
291 | [๑๖๙๘-๑๖๙๙] เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 จึงท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ตลอดกาลนาน (ปฐมวัชชีสูตร) 31/438/4 31/438/4 |
292 | [๑๗๐๐] สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง นี้ทุกข์... นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่นับว่า เป็นสมณะในพวกสมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ ในพวกพราหมณ์ (ทุติยวัชชีสูตร) 31/439/12 31/439/10 |
293 | [๑๗๐๓] เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการ ตามความเป็นจริง พระตถาคต เขาจึงกล่าวว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (สัมมาสัมพุทธสูตร) 31/441/8 31/441/3 |
294 | [๑๗๐๔] พระพุทธเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง(อรหันตสูตร) 31/442/3 31/441/12 |
295 | [๑๗๐๕] พระพุทธองค์ กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น อริยสัจ ไม่กล่าวความสิ้นอาสวะ ของผู้ไม่รู้ไม่เห็น (อาสวักขยสูตร) 31/443/3 31/442/8 |
296 | [๑๗๐๖] ภิกษุจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิตก็ตาม จะพึงสำคัญถ้อยคำว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรเชื่อฟังชนเหล่านั้น พึงให้สมาทานให้ตั่งมั่นให้ประดิษฐานอยู่ ในการตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง.(มิตตสูตร) 31/443/12 31/442/17 |
297 | [๑๗๐๗] อริยสัจ 4 ประการ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อริยสัจ (ตถสูตร) 31/444/6 31/443/14 |
298 | [๑๗๐๘] ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ จึงเรียกว่า อริยสัจ.(โลกสูตร) 31/445/3 31/444/11 |
299 | [๑๗๐๙] ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้, ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละทุกขนิโรธอริยสัจ ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ ควรให้เกิดมี..(ปริญเญยยสูตร) 31/446/3 31/445/11 |
300 | [๑๗๑๑] ผู้ใดเห็นอริยสัจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ย่อมเห็น อริยสัจทั้ง 4.(ควัมปติสูตร) 31/447/1 31/446/8 |
301 | [๑๗๑๒-๑๗๑๓] ทรงเปรียบสิ่งที่พระองค์รู้มีมากเหมือนใบประดู่ลายบนต้น ส่วนที่นำมาบอกเหมือนใบประดู่ลาย 2-3 ใบ (สีสปาสูตร) 31/449/4 31/448/4 |
302 | [๑๗๑๔] ผู้ใดไม่ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริงแล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ (ขทิรสูตร) 31/450/9 31/449/8 |
303 | [๑๗๑๖] เปรียบท่อนไม้ที่โยนขึ้นไปในอากาศ ไม่รู้จะเอาส่วนไหนตกลงดิน เหมือนสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คือ อวิชชาได้ท่องเที่ยวไปอยู่บางคราวจากโลกนี้ ไปสู่ปรโลก ก็มี บางคราวจากปรโลก มาสู่โลกนี้ก็มี (ทัณฑสูตร) 31/452/3 31/451/3 |
304 | คำว่า จากโลกนี้ไปโลกอื่น คือ นรกบ้าง กำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง มนุษย์โลกบ้าง เทวโลกบ้าง (อ.ทัณฑสูตร) 31/452/15 31/451/15 |
305 | [๑๗๑๗] บุคคลพึงวางเฉยไม่ใส่ใจถึงผ้า หรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้ แล้วพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4 ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง (เจลสูตร) 31/453/3 31/452/4 |
306 | [๑๗๑๘] ถ้าเอาหอก 300 เล่มทิ่มแทง ทุกวันจน 100 ปี มีชีวิตอยู่ 100 ปี แล้วจักตรัสรู้อริยสัจ 4 กุลบุตรผู้เป็นไปใน อำนาจแห่งประโยชน์ควรรับเอา เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้. แต่พระพุทธองค์กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ 4 พร้อมด้วย สุข โสมนัส (สัตติสตสูตร) 31/454/3 31/452/19 |
307 | [๑๗๑๙] บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พ้นจากอบายที่ใหญ่โต อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริงซึ่ง อริยสัจ 4 (ปาณสูตร) 31/455/9 31/454/3 |
308 | [๑๗๒๐] เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่จะขึ้นก่อนสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทองฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) (ปฐมสุริยูปมสูตร) 31/456/6 31/454/19 |
309 | [๑๗๒๑] เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้นความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมาก ก็ย่อมมี การบอก การแสดง การบัญญัติการแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ 4 ก็ย่อมมี. (ทุติยสุริยูปมสูตร) 31/457/3 31/455/7 |
310 | [๑๗๒๓] สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ตามความเป็นจริงซึ่งอริยสัจ 4 เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหิน มีรากลึกเขาฝังไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว (อินทขีลสูตร) 31/458/16 31/456/21 |
311 | [๑๗๒๔] ภิกษุรูปใด รู้ตามความเป็นจริงซึ่งอริยสัจ 4 ย่อมไม่สะเทือนสะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะ หรือพราหมณ์ที่ จะมายกวาทะต่อภิกษุนั้น เปรียบเหมือนเสาหินที่ฝังไว้ดีแล้ว (วาทีสูตร) 31/460/3 31/458/3 |
312 | [๑๗๒๕] คนธรรมดาๆ ก็ยังเห็นกองทัพอสูร หนีเข้าไปทางก้านบัว ในสระโบกขรณี สุมาคธา (จินตสูตร) 31/462/4 31/460/5 |
313 | [๑๗๒๘-๑๗๒๙] เหวใหญ่ คือ ความเกิด. (ปปาตสูตร) 31/465/3 31/463/3 |
314 | [๑๗๓๑-๑๗๓๒] ความเร่าร้อน เพราะความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจ ย่อมเร่า-ร้อนกว่า น่ากลัวกว่า ความเร่าร้อนในนรก (ปริฬาหสูตร) 31/467/3 31/465/3 |
315 | [๑๗๓๕] ผู้ใดไม่ตรัสรู้ อริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ไม่ได้กระทำเรือนชั้นล่าง แล้วจักยกเรือนชั้นบนแห่งเรือนยอดดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (กูฏสูตร) 31/469/7 31/467/3 |
316 | [๑๗๓๘] ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่า การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น 7 ส่วน (วาลสูตร) 31/471/19 31/469/5 |
317 | [๑๗๓๙-๑๗๔๑] สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ 4 ย่อมตกไปสู่ความมืด คือ ความเกิด... และความคับแค้นใจ อันน่ากลัวกว่าความมืดในโลกันตนรก. (อันธการีสูตร) 31/473/11 31/470/18 |
318 | [๑๗๔๓] ทรงเปรียบเต่าตาบอด สอดคอให้เข้าไปในแอกมีช่องเดียวในมหา-สมุทร กับการได้เกิดเป็นมนุษย์ของคนพาล ซึ่งไปสู่วินิบาต (ปฐมฉิคคฬสูตร) 31/475/3 31/472/3 |
319 | [๑๗๔๔] ทรงเปรียบเต่าตาบอด สอดคอให้เข้าไปในแอกมีช่องเดียวในมหา-สมุทร ที่มีน้ำเป็นอันเดียวกัน กับการได้ความเป็นมนุษย์, ความอุบัติของพระพุทธเจ้า ,ธรรมวินัยที่ประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลก ก็เป็นของยาก (ทุติยฉิคคฬสูตร) 31/476/9 31/473/10 |
320 | [๑๗๔๕] ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ที่สิ้นไปหมดไปแล้วนั้น มากกว่า ทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ เปรียบเหมือน ขุนเขาสิเนรุราช ย่อมมากกว่า ก้อนหิน 7 ก้อน.(ปฐมสิเนรุสูตร) 31/478/14 31/475/14 |
321 | [๑๗๔๖] ทรงเปรียบขุนเขาสิเนรุราช พึงถึงความสิ้นไปหมดไป เหลือแต่ก้อนหินาประมณเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อน เหมือน ทุกข์ที่สิ้นไปหมดไปกับทุกข์ ที่ยังเหลืออยู่ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก (ทุติยสิเนรุสูตร) 31/479/11 31/476/11 |
322 | [๑๗๔๗] ทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ มีน้อย เท่าฝุ่นติดปลายเล็บ .(นขสิขาสูตร) 31/481/4 31/478/4 |
323 | [๑๗๔๘] ทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ มีน้อย ดุจน้ำที่ติดปลายหญ้าคาที่จุ่มขึ้นจากน้ำในสระโบกขรณี (โปกขรณีสูตร) 31/482/3 31/479/3 |
324 | [๑๗๔๙] ทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ มีน้อย ดุจน้ำ 2-3 หยด ที่เขาตักขึ้นมาจากน้ำที่ไหลไปประจบกันของแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 (ปฐมสัมเภชชสูตร) 31/482/17 31/479/18 |
325 | [๑๗๕๐] เปรียบน้ำที่ไหลไปประจบกันจากแม่น้ำใหญ่ ทั้ง 5 สาย น้ำนั้นหมดไปเหลือแค่น้ำ 2-3 หยด เหมือนทุกข์ที่สิ้นไป กับทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ . (ทุติยสัมเภชชสูตร) 31/483/12 31/480/10 |
326 | [๑๗๕๑] ทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ มีน้อย เหมือนก้อนดินเท่าเมล็ดกะเบา 7 ก้อน เทียบกับแผ่นดินใหญ่ (ปฐมปฐวีสูตร) 31/484/7 31/481/3 |
327 | [๑๗๕๒] เปรียบแผ่นดินใหญ่สิ้นไป เหลือแต่ ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา 7 ก้อน เหมือนทุกข์ที่สิ้นไปกับทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ (ทุติยปฐวีสูตร) 31/485/3 31/481/17 |
328 | [๑๗๕๓] เปรียบน้ำ 2-3 หยด ที่ตักขึ้นกับน้ำในมหาสมุทร เหมือน ทุกข์ที่เหลืออยู่กับทุกข์ที่สิ้นไป ของพระอริยะ (ปฐมสมุททสูตร) 31/485/17 31/482/11 |
329 | [๑๗๕๔] เปรียบความสิ้นไปของมหาสมุทร ยังเหลือแต่น้ำ 2-3 หยด เหมือนทุกข์ที่สิ้นไป กับทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ (ทุติยสมุททสูตร) 31/486/9 31/483/3 |
330 | [๑๗๕๕] เปรียบขุนเขาหิมวันต์ กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด 7 ก้อน เหมือนทุกข์ที่สิ้นไป กับทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ของพระอริยะ (ปฐมปัพพตูปมสูตร) 31/487/3 31/483/17 |
331 | [๑๗๕๖] เปรียบความสิ้นไป หมดไปแห่งขุนเขาหิมวันต์ ยังเหลือแต่ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด 7 ก้อน. เหมือนทุกข์ที่สิ้นไปกับทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ ของพระอริยะ(ทุติยปัพพตูปมสูตร) 31/487/17 31/484/10 |
332 | [๑๗๕๗] สัตว์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย ดุจฝุ่นเล็กน้อยติดปลายเล็บ.(อัญญตรสูตร) 31/489/4 31/486/4 |
333 | [๑๗๕๘] สัตว์กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทมีน้อย ดุจฝุ่นเล็กน้อยติดปลายเล็บ.(ปัจจันตสูตร) 31/490/3 31/487/3 |
334 | [๑๗๕๙] สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ตกไปในอวิชชาเป็นผู้งมงาย มีมากกว่า (ปัญญาสูตร) 31/490/17 31/487/18 |
335 | [๑๗๖๐] สัตว์ผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการดื่มน้ำเมามีมากกว่า (สุราเมรัยสูตร) 31/491/3 31/488/3 |
336 | [๑๗๖๑] สัตว์ผู้เกิดบนบก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้เกิดในน้ำมีมากกว่า (อุทกสูตร) 31/491/10 31/488/10 |
337 | [๑๗๖๑] สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่มารดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา มีมากว่า (มัตเตยยสูตร) 31/491/15 31/488/15 |
338 | [๑๗๖๒] สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่บิดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่บิดามีมากว่า. (เปตเตยยสูตร) 31/492/3 31/489/3 |
339 | [๑๗๖๓] สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่ สมณะมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่สมณะมีมากกว่า (สามัญญสูตร) 31/492/8 31/489/8 |
340 | [๑๗๖๔] สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่ พราหมณ์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีมากกว่า (พราหมัญญสูตร) 31/492/13 31/489/13 |
341 | [๑๗๖๕] สัตว์ผู้นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีมากกว่า (อปจายิกสูตร) 31/493/3 31/490/3 |
342 | [๑๗๖๖] สัตว์ผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เว้นจากการฆ่าสัตว์มีมากกว่า (ปาณาติปาตสูตร) 31/494/4 31/491/4 |
343 | [๑๗๖๗] สัตว์ผู้เว้นจากการลักทรัพย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการลักทรัพย์มีมากกว่า (อทินนาทานสูตร) 31/494/10 31/491/10 |
344 | [๑๗๖๘] สัตว์ผู้เว้นจากการประพฤติผิดในกามมีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามมีมากกว่า (กาเมสุมิจฉาจารสูตร) 31/494/15 31/492/3 |
345 | [๑๗๖๙] สัตว์ผู้เว้นจากการพูดเท็จ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการพูดเท็จมีมากกว่า (มุสาวาทสูตร) 31/495/3 31/492/9 |
346 | [๑๗๗๐] สัตว์ผู้เว้นจากคำส่อเสียด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำส่อเสียดมีมากกว่า (เปสุญญสูตร) 31/495/8 31/492/14 |
347 | [๑๗๗๑] สัตว์ผู้เว้นจากคำหยาบมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำหยาบมีมากกว่า (ผรุสสูตร) 31/495/13 31/493/3 |
348 | [๑๗๗๒] สัตว์ผู้เว้นจากคำเพ้อเจ้อ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อมีมากกว่า (สัมผัปปลาปสูตร) 31/496/3 31/493/9 |
349 | [๑๗๗๓] สัตว์ผู้เว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคามมีมากกว่า (พีชสูตร) 31/496/8 31/493/15 |
350 | [๑๗๗๔] สัตว์ผู้เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลมีมากกว่า (วิกาลโภชนสูตร) 31/496/14 31/494/3 |
351 | [๑๗๗๕] สัตว์ผู้เว้นจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรงประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัวมีมากกว่า.. (คันธวิเลปนสูตร) 31/497/3 31/494/9 |
352 | [๑๗๗๖] สัตว์ผู้งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม ดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกมีมากกว่า (นัจจสูตร) 31/498/4 31/496/4 |
353 | [๑๗๗๗] สัตว์ผู้งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ มีมากกว่า (สยนสูตร) 31/498/11 31/496/12 |
354 | [๑๗๗๘] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทอง และเงิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทอง และเงิน มีมากกว่า (รชตสูตร) 31/498/17 31/497/3 |
355 | [๑๗๗๙] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ มีมากกว่า (ธัญญสูตร) 31/499/3 31/497/9 |
356 | [๑๗๘๐] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มีมากกว่า (มังสสูตร) 31/499/9 31/497/15 |
357 | [๑๗๘๑] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารี มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสตรีและกุมารี มีมากกว่า (กุมาริกาสูตร) 31/499/15 31/498/3 |
358 | [๑๗๘๒] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับทาสี และทาส มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทาสี และทาส มีมากกว่า (รชตสูตร) 31/500/3 31/498/9 |
359 | [๑๗๘๓] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับแพะ และแกะ มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับแพะ และแกะ มีมากกว่า (อเชฬกสูตร) 31/500/9 31/498/15 |
360 | [๑๗๘๔] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไก่ และสุกร มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไก่ และสุกร มีมากกว่า (กุกกุฏสูตร) 31/500/15 31/499/3 |
361 | [๑๗๘๕] สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับช้าง โค ม้า และลา มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับช้าง โค ม้า และลา มีมากกว่า (หัตถีสูตร) 31/501/3 31/499/9 |
362 | [๑๗๙๒-๑๗๙๓] สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์, ในพวกเทวดา มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในปิตติวิสัย มีมากกว่า (อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐) 31/503/1 31/501/7 |
363 | [๑๗๙๔-๑๗๙๕] สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้วจะกลับมาเกิดในพวกเทวดา, ในพวกมนุษย์ มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากเทวดาแล้ว กลับไปเกิดในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในปิตติวิสัย มีมากกว่า (อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐) 31/503/17 31/501/24 |
364 | [๑๗๙๖-๑๗๙๗] สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์, ในพวกเทวดา มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากนรกแล้ว กลับไปเกิดในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในปิตติวิสัย มีมากกว่า (อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐) 31/504/3 31/502/6 |
365 | [๑๗๙๘-๑๗๙๙] สัตว์ที่จุติจากสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์,ในพวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่จุติ จากสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในปิตติวิสัย มีมากกว่า .(อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐) 31/504/9 31/502/14 |
366 | [๑๘๐๐-๑๘๐๑] สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ , ในพวกเทวดา มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ จากปิตติวิสัยแล้ว กลับไปเกิดในนรกในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานในปิตติวิสัย มีมากกว่า (อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐) 31/504/17 31/502/22 |
367 | สุรามี 5 อย่าง คือ สุราทำด้วยแป้ง ทำด้วยข้าวสุก ทำด้วยขนม ที่ใส่ด้วยส่าเหล้า สุราประกอบจากเครื่องปรุง (อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา) 31/506/6 31/504/7 |
368 | เว้นจากการรับธัญญชาติดิบแม้ 7 ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวละมานข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้ ก็การรับธัญญชาติดิบเหล่านั้น ไม่ควรอย่างเดียว เท่านั้นหามิได้ แม้การถูกต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย.(อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา) 31/508/9 31/506/8 |
369 | คำว่า เว้นจากการรับเนื้อดิบ ความว่า เว้นจากการรับเนื้อที่ทรงอนุญาตไว้โดยเจาะจง การรับเนื้อและปลาดิบก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น ถึงการถูกต้องก็ไม่ควร(อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา) 31/508/13 31/506/13 |
370 | อปรัณณชาติ คือ ถั่วและงา ย่อมงอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า สวน.(อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา) 31/509/1 31/506/26 |
371 | การรับหนังสือ หรือข่าวของพวกคฤหัสถ์แล้วไปที่นั้นๆ ท่านเรียกว่า การรับใช้.(อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา) 31/509/7 31/507/7 |