1 | [๒] อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้งประกอบด้วยอวิชชา
(อวิชชาสูตร) 30/1/1530/1/15 30/1/15 |
2 | [๓] วิชชา (ความรู้) เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้งประกอบด้วยวิชชา
(อวิชชาสูตร) 30/2/530/2/5 30/2/7 |
3 | องค์แห่งมิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกัน เมื่อใดจิตประกอบด้วยทิฏฐิ ยังกายวิญญัติ (การแสดงออกทางกาย) ให้ตั้งขึ้นย่อมเกิดเมื่อนั้น ก็ย่อมมีองค์ 6 คือ ความเห็นผิด ความดำริผิด ความพยายามผิดความระลึกผิด ความตั้งใจผิด การงานผิด เมื่อใดจิตไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อนั้นมีองค์ 5 เว้นมิจฉาทิฏฐิ. (อ.อวิชชาสูตร) 30/3/1730/3/17 30/4/2 |
4 | วิชชา ได้แก่ รู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน (อ.อวิชชาสูตร) 30/4/1530/4/15 30/4/22 |
5 | สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นตามเป็นจริง คือ ความเห็นนำสัตว์ให้พ้นทุกข์ .(อ.อวิชชาสูตร) 30/4/2330/4/23 30/5/5 |
6 | มรรคมีองค์ 8 ย่อมไม่เกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกิยมรรค แต่ย่อมเกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกุตตรมรรค. (อ.อวิชชาสูตร) 30/5/230/5/2 30/5/8 |
7 | [๕-๗] ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น . (อุปัฑฒสูตร) 30/7/1030/7/10 30/7/10 |
8 | [๘-๑๑] พระสารีบุตร กราบทูลถึง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น (สารีปุตตสูตร) 30/9/330/9/3 30/8/12 |
9 | [๑๔] คำว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรค 8 เรียกว่า พรหมยาน ธรรมยาน รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง (พราหมณสูตร) 30/12/130/12/1 30/11/5 |
10 | [๑๕-๒๒] สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ โทสะ โมหะเป็นที่สุด... สัมมาสมาธิ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะ โทสะ โมหะเป็นที่สุด (พราหมณสูตร) 30/12/430/12/4 30/11/8 |
11 | [๒๖-๒๘] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ ทุกข์ โดยมีอริยมรรค 8 เป็นหนทาง เป็นปฏิปทา (กิมัตถิยสูตร) 30/20/1530/20/15 30/19/15 |
12 | [๓๐] อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้เป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะนี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ (ปฐมภิกขุสูตร) 30/22/830/22/8 30/21/2 |
13 | [๓๑-๓๒] ความกำจัดราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ. ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เรียกว่า อมตะ (ทุติยภิกขุสูตร) 30/23/230/23/2 30/21/13 |
14 | [๓๓-๔๑] พระพุทธเจ้า ทรงจำแนก อริยมรรค 8 ( วิภังคสูตร) 30/24/830/24/8 30/22/17 |
15 | ญาณ (ความรู้) อันเกิดขึ้น ด้วยอาการ 4 คือ ด้วยการฟัง การพิจารณารอบ-คอบ การแทงตลอด การพิจารณา (อ.วิภังคสูตร) 30/26/1330/26/13 30/25/2 |
16 | ในสัจจะ 4 ชื่อว่า เป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยาก. (อ.วิภังคสูตร) 30/28/1130/28/11 30/26/18 |
17 | จริงอยู่ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ได้ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ย่อมมีปฐมฌานเป็นบาท (อ.วิภังคสูตร) 30/31/1730/31/17 30/29/19 |
18 | [๔๒] ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะ (ข้าวเหนียว) ที่ตั้งไว้ผิด ย่อมไม่ทำมือหรือเท้าให้ห้อเลือด (สุกสูตร) 30/32/1430/32/14 30/30/17 |
19 | [๔๕] อริยมรรค 8 ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด. (นันทิยสูตร) 30/35/330/35/3 30/32/17 |
20 | [๔๗-๔๘] พระพุทธองค์ทรงหลีกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ถึงเมื่อแรกตรัสรู้ ทรงรู้ชัดว่าเวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง... เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงบ้าง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้ว เป็นปัจจัยบ้าง (ปฐมวิหารสูตร) 30/37/430/37/4 30/34/4 |
21 | เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ กึ่งเดือนเพราะในกึ่งเดือนนั้น สัตว์ที่พระองค์จะพึงแนะนำไม่มี และในอนาคต ชนผู้เกิดในภายหลัง จะเอาอย่างว่า แม้พระศาสดา ก็ยังทรงละคณะไปประทับอยู่ แต่พระองค์เดียว (อ.ปฐมวิหารสูตร) 30/38/1630/38/16 30/35/18 |
22 | บุคคลอาศัยความเห็นชอบเท่านั้นแล้ว จึงด่าบริภาษพวกมิจฉาทิฏฐิ ย่อมยกตนข่มคนอื่น เวทนาเป็นอกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่คนเหล่านั้น (อ.ปฐมวิหารสูตร) 30/41/1630/41/16 30/38/14 |
23 | [๔๙-๕๐] พระพุทธองค์ ทรงหลีกเร้นอยู่ตลอด 3 เดือน แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่าด้วยเวทนามีเพราะปัจจัยต่างๆ (ทุติยวิหารสูตร) 30/42/1530/42/15 30/39/14 |
24 | [๕๑] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นของพระเสขะ จึงจะชื่อว่า เป็นพระเสขะ(ผู้ยังต้องศึกษา) .(เสขสูตร) 30/44/1130/44/11 30/41/10 |
25 | [๕๒] ธรรม 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ จะไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคต (ปฐมอุปปาทสูตร) 30/45/1030/45/10 30/42/11 |
26 | [๕๓] ธรรม 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ จะไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยพระสุคต (ทุติยอุปปาทสูตร) 30/46/330/46/3 30/43/3 |
27 | [๕๔] ธรรม 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้า (ปฐมปริสุทธสูตร) 30/46/1230/46/12 30/43/13 |
28 | [๕๕] ธรรม 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต (ทุติยปริสุทธสูตร) 30/47/330/47/3 30/44/4 |
29 | [๕๖] พระอานนท์ตอบคำถามพระภัททะว่า มิจฉามรรค อันประกอบด้วยองค์ 8คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ นี้เป็น อพรหมจรรย์ (ปฐมกุกกุฏารามสูตร) 30/47/1530/47/15 30/44/15 |
30 | [๕๗] พระอานนท์ตอบคำถามพระภัททะว่า อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้เป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของ พรหมจรรย์ .(ทุติยกุกกุฏารามสูตร) 30/49/330/49/3 30/45/14 |
31 | [๕๓] พระอานนท์ตอบคำถามพระภัททะว่า อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นพรหมจรรย์บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรค มีองค์ 8 เรียกว่า เป็นพรหมจารี ความสิ้นราคะโทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ (ตติยกุกกุฏารามสูตร) 30/49/1530/49/15 30/46/10 |
32 | [๕๙-๖๑] มิจฉัตต คือ ความเห็นผิดฯลฯ ความตั้งใจผิด , สัมมัตตะ(ความถูก) คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ (มิจฉัตตสูตร) 30/51/430/51/4 30/48/4 |
33 | [๖๒-๖๔] ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิดเรียกว่า อกุศลธรรม,ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า กุศลธรรม (อกุศลธรรมสูตร) 30/51/1430/51/14 30/48/14 |
34 | [๖๕-๖๗] ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา, ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า สัมมาปฏิปทา (ปฐมปฏิปทาสูตร) 30/52/830/52/8 30/49/8 |
35 | [๖๘] พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ มิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต เพราะเมื่อปฏิบัติผิดแล้วย่อม ไม่ยังญายธรรม (อริยมรรค) อันเป็นกุศลให้สำเร็จ. .(ทุติยปฏิปทาสูตร) 30/53/330/53/3 30/49/17 |
36 | [๗๐-๗๒] บุคคลผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิดพยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ , ส่วนบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ เรียกว่า สัตบุรุษ (ปฐมอสัปปุริสสูตร) 30/54/330/54/3 30/50/16 |
37 | [๗๕] อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ คือ มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด (ทุติยอสัปปุริสสูตร) 30/55/130/55/1 30/51/10 |
38 | [๗๘-๘๐] จิตที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก อริยมรรค 8 เป็นเครื่องรองรับจิต (กุมภสูตร) 30/55/1230/55/12 30/52/3 |
39 | [๘๑-๘๓] ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความที่จิตมีเครื่องประกอบด้วยองค์ 7 ประการนั้น เรียกว่า สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง (สมาธิสูตร) 30/56/630/56/6 30/52/17 |
40 | [๘๔-๘๕] อริยมรรค 8 บุคคล พึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้ เวทนา 3. (เวทนาสูตร) 30/57/330/57/3 30/53/7 |
41 | [๘๗-๘๘] อริยมรรค 8 บุคคล พึงเจริญเพื่อละกามคุณ 5 (อุตติยสูตร) 30/58/130/58/1 30/54/5 |
42 | [๘๙-๙๑] มิจฉาปฏิบัติ คือ ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด, สัมมาปฏิบัติ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ (ปฏิปัตติสูตร) 30/60/430/60/4 30/57/4 |
43 | [๙๒-๙๔] บุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความตั้งใจผิด เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด, บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจชอบ เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ .(ปฏิปันนสูตร) 30/60/1330/60/13 30/57/13 |
44 | [๙๕-๙๖] ผู้พลาดแล้วจากอริยมรรค 8 ย่อมไม่ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ . (วิรัทธสูตร) 30/61/730/61/7 30/58/7 |
45 | [๙๗] อริยมรรค 8 ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง(นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (ปารสูตร) 30/62/330/62/3 30/59/3 |
46 | [๙๙-๑๐๑] อริยมรรค 8 นี้เรียกว่า สามัญญะ(ความเป็นสมณะ), โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า สามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) (ปฐมสามัญญสูตร) 30/63/830/63/8 30/60/3 |
47 | [๑๐๔] ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ . (ทุติยสามัญญสูตร) 30/64/830/64/8 30/60/19 |
48 | [๑๐๕-๑๐๗] อริยมรรค 8 นี้เรียกว่า พรหมัญญะ(ความเป็นพรหม), โสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) (ปฐมพรหมมัญญสูตร) 30/64/1430/64/14 30/61/3 |
49 | [๑๑๐] ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ เรียกว่าประโยชน์แห่ง พรหมัญญะ (ทุติยพรหมัญญสูตร) 30/65/1130/65/11 30/61/20 |
50 | [๑๑๑-๑๑๓] อริยมรรค 8 นี้เรียกว่า พรหมจรรย์, โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์ (ปฐมพรหมจริยสูตร) 30/66/330/66/3 30/62/5 |
51 | [๑๑๖] ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์ แห่งพรหมจรรย์ (ทุติยพรหมจริยสูตร) 30/67/130/67/1 30/63/4 |
52 | [๑๑๗-๑๑๙] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่อสำรอกราคะ โดยมี อริยมรรค 8 เป็นทาง เป็นข้อปฏิบัติ เพื่อสำรอกราคะ (วิราคสูตร) 30/69/430/69/4 30/65/4 |
53 | [๑๒๐] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่อละสังโยชน์ .(สังโยชนสูตร) 30/70/330/70/3 30/66/3 |
54 | [๑๒๑] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่อถอนอนุสัย (อนุสยสูตร) 30/70/1230/70/12 30/66/12 |
55 | [๑๒๒] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) อันยืดยาว (อัทธานสูตร) 30/71/330/71/3 30/67/4 |
56 | [๑๒๓] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่อความสิ้นอาสวะ .(อาสวสูตร) 30/71/830/71/8 30/67/9 |
57 | [๑๒๔] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชา และวิมุตติ (วิชชาวิมุตติสูตร) 30/71/1330/71/13 30/67/15 |
58 | [๑๒๕] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้า เพื่อญาณทัสสนะ (ความเห็นแจ้ง) (ญาณทัสสนสูตร) 30/72/330/72/3 30/68/3 |
59 | [๑๒๖-๑๒๘] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า เพื่ออนุปาทา-ปรินิพพาน โดยมีอริยมรรค 8 เป็นทาง เป็นข้อปฏิบัติ เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ความดับไม่มีเชื้อ) (อนุปาทาปรินิพพานสูตร) 30/72/830/72/8 30/68/8 |
60 | [๑๒๙] เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือแสงเงิน แสงทอง, สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี (ปฐมกัลยาณมิตตสูตร) 30/74/430/74/4 30/70/4 |
61 | [๑๓๐] ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค 8 คือ ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ .(ปฐมกัลยาณมิตตสูตร) 30/74/1030/74/10 30/70/10 |
62 | [๑๓๑] สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล (ปฐมสีลสัมปทาสูตร) 30/75/330/75/3 30/71/3 |
63 | [๑๓๒] สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ (ปฐมฉันทสัมปทาสูตร) 30/75/1130/75/11 30/71/11 |
64 | [๑๓๓] สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งตน (ความถึงพร้อมแห่งจิต) (ปฐมอัตตสัมปทาสูตร) 30/76/330/76/3 30/71/15 |
65 | [๑๓๔] สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ (ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร) 30/76/730/76/7 30/72/3 |
66 | [๑๓๕] สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท (ปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตร) 30/76/1130/76/11 30/72/7 |
67 | [๑๓๖] เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงิน แสงทอง, สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค 8 ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย .(ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปาทาสูตร) 30/77/330/77/3 30/72/11 |
68 | [๑๓๙-๑๔๔] ภิกษุผู้มีมิตรดี ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยฉันทะ ผู้ถึงพร้อมแห่งตน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค 8 คือ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ (สูตร๘-๑๓) 30/78/930/78/9 30/73/18 |
69 | [๑๔๖] ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริย-มรรค 8 คือ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะ โทสะ โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ .(ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร) 30/81/1030/81/10 30/76/10 |
70 | [๑๔๗-๑๕๔] ธรรมมีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค 8 คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี... ความถึงพร้อมแห่งศีล,... ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ, ... ความถึงพร้อมแห่งตน, ... ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ, ... ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท, ... ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (สูตร ๑-๗) 30/83/430/83/4 30/79/5 |
71 | [๑๕๗-๑๖๔] ภิกษุผู้มีมิตรดี ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยฉันทะ ผู้ถึงพร้อม แห่งตน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค 8 คือ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิมีอันกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ (สูตร ๘-๑๔) 30/87/130/87/1 30/83/1 |
72 | [๑๖๕-๑๘๒] ธรรมเป็นเหตุให้อริยมรรค 8 ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญบริบูรณ์ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี,...ความถึงพร้อมแห่งศีล, ... ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ , ... ความถึงพร้อมแห่งตน ,... ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ... ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท... ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (สูตร ๑-๑๔) 30/91/430/91/4 30/87/4 |
73 | [๑๘๓-๑๙๐] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่ทิศตะวันออก เหมือนผู้เจริญอริยมรรค 8 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน (สูตร ๑-๖) 30/99/530/99/5 30/95/6 |
74 | [๑๙๑-๑๙๘] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่สมุทร เหมือน ผู้เจริญอริยมรรค 8 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน (สูตร ๗-๑๒) 30/103/330/103/3 30/99/4 |
75 | [๑๙๙-๒๐๕] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่ทิศตะวันออก เหมือนผู้เจริญอริยมรรค 8 มีอันกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน (สูตร ๑-๖) 30/107/730/107/7 30/104/5 |
76 | [๒๐๖-๒๑๓] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่สมุทร เหมือน ผู้เจริญอริยมรรค 8 มีอันกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน (สูตร ๗-๑๒) 30/110/330/110/3 30/107/13 |
77 | [๒๑๔-๒๒๐] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่ทิศตะวันออก เหมือนผู้เจริญอริยมรรค 8 อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน (สูตร ๑-๖) 30/114/730/114/7 30/111/15 |
78 | [๒๒๑-๒๒๘] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่สมุทร เหมือน ผู้เจริญอริยมรรค 8 อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน (สูตร ๗-๑๒) 30/117/1130/117/11 30/115/4 |
79 | [๒๒๙-๒๔๔] ทรงเปรียบแม่น้ำคงคา และแม่น้ำใหญ่ ๆ อื่น ย่อมไหลไปสู่ทิศตะวันออก ย่อมไหลไปสู่สมุทร เหมือนผู้เจริญอริยมรรค 8 อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน (สูตร ๑-๑๒) 30/121/1330/121/13 30/119/5 |
80 | [๒๔๕-๒๔๖] พระพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ฉันนั้น , ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริย-มรรค 8 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ .(ปฐมตถาคตสูตร) 30/129/430/129/4 30/128/4 |
81 | [๒๔๗-๒๔๘] พระพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ฉันนั้น , ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริย-มรรค 8 มีอันกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด (ทุติยตถาคตสูตร) 30/130/330/130/3 30/129/6 |
82 | [๒๔๙-๒๕๐] พระพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ฉันนั้น , ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริย-มรรค 8 อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด .(ตติยตถาคตสูตร) 30/130/1830/130/18 30/130/3 |
83 | [๒๕๑-๒๕๒] พระพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ฉันนั้น , ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริย-มรรค 8 อันน้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน (จตุตถตถาคตสูตร) 30/131/1130/131/11 30/130/18 |
84 | [๒๕๓] รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ฉันนั้น (ปทสูตร) 30/132/1130/132/11 30/131/7 |
85 | [๒๕๕] กลอนแห่งเรือนยอด ทั้งหมดนั้นประชุมเข้าที่ยอดแห่งเรือนยอดฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมรวมลงในความไม่ประมาทฉันนั้น (กูฏสูตร) 30/133/1130/133/11 30/132/14 |
86 | [๒๕๖] ไม้กลัมพัก เป็นเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูลฉันนั้น เหมือนกัน. (มูลคันธสูตร) 30/134/330/134/3 30/133/3 |
87 | [๒๕๗] ไม้จันทน์แดง เป็นเลิสกว่าไม้มีกลิ่นที่แก่น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ฉันนั้น (สารคันธสูตร) 30/134/1030/134/10 30/133/10 |
88 | [๒๕๘] ดอกมะลิ เป็นเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ฉันนั้น (ปุปผคันธสูตร) 30/135/330/135/3 30/134/3 |
89 | [๒๕๙] พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นเลิศกว่าพระราชาผู้น้อยเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรม ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ฉันนั้น (กุฏฐราชสูตร) 30/135/1030/135/10 30/134/10 |
90 | [๒๖๐] พระจันทร์เป็นเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวฉันใด กุศลธรรมทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ฉันนั้น (จันทิมสูตร) 30/136/330/136/3 30/135/3 |
91 | [๒๖๑] พระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสง และแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันมีอยู่ในอากาศทั่วไปฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ฉันนั้น (สุริยสูตร) 30/136/1130/136/11 30/135/11 |
92 | [๒๖๒] ผ้าของชาวกาสีเป็นเลิศกว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดย่อมลงในความไม่ประมาทฉันนั้น (วัตถสูตร) 30/137/330/137/3 30/136/3 |
93 | พระเจ้าภาคิยมหาราช ทดลองความหอมของดอกมะลิ (อ.อัปปมาทเปยยาล) 30/138/1930/138/19 30/137/21 |
94 | [๒๖๔-๒๖๕] การงานที่จะพึงทำด้วยกำลัง อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญมรรค 8 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ก็ฉันนั้น (ปฐมพลกรณียสูตร) 30/140/430/140/4 30/139/4 |
95 | [๒๖๖-๒๖๗] การงานที่จะพึงทำด้วยกำลัง อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค 8มีอันกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด ก็ฉันนั้น. (ทุติยพลกรณียสูตร) 30/141/1130/141/11 30/140/12 |
96 | [๒๖๘-๒๖๙] การงานที่จะพึงทำด้วยกำลัง อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค 8 อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ฉันนั้น. .(ตติยพลกรณียสูตร) 30/142/1230/142/12 30/141/12 |
97 | [๒๗๐-๒๗๑] การงานที่จะพึงทำด้วยกำลัง อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค 8 อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้น(จตุตถพลกรณียสูตร) 30/143/1030/143/10 30/142/7 |
98 | [๒๗๒-๒๗๓] พืชคาม และภูตคามทั้งหมด อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามใหญ่โตฉันใด ภิกษุอาศัยศีลแล้วจึงเจริญมรรค 8 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น (พีชสูตร) 30/144/730/144/7 30/143/3 |
99 | [๒๗๔-๒๗๕] พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมวันต์ มีกายเติบโต มีกำลังแล้ว ย่อมลงสู่บึงน้อยบึงใหญ่ แม่น้ำน้อย แม่น้ำใหญ่ มหาสมุทร และถึงความโตใหญ่ทางกายในมหาสมุทรนั้น ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค 8 ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น (นาคสูตร) 30/145/1230/145/12 30/144/9 |
100 | พวกนางนาค จะไปออกลูกที่ป่าหิมวันต์ เมื่อลูกนาคมีกำลัง แล้วจึงลงมายังมหาสมุทร (อ.นาคสูตร) 30/146/1530/146/15 30/145/11 |
101 | [๒๗๖-๒๗๗] ต้นไม้น้อมไป โน้มไป โอนไปสู่ทิศตะวันออก ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดแล้ว จะล้มลงทางทิศที่มันน้อมโน้ม โอนไปฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรค 8 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเป็นผู้น้อมไป โน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น. (รุกขสูตร) 30/148/330/148/3 30/146/17 |
102 | [๒๗๘] หม้อที่คว่ำย่อมทำให้น้ำไหลออกอย่างเดียว ไม่ทำให้กลับไหลเข้าฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรค 8 ย่อมระบายอกุศลธรรมอันลามก ออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ฉันนั้น (กุมภสูตร) 30/149/330/149/3 30/147/14 |
103 | [๒๘๐] เดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะ(ข้าวเหนียว) ที่ตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จะทำมือหรือเท้าให้ห้อเลือดได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น จะทำลายอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ ข้อนี้ เป็นฐานะที่มีได้ (สุกกสูตร) 30/150/730/150/7 30/148/13 |
104 | [๒๘๒] ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศ ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรค 8 สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ก็ฉันนั้น. (อากาสสูตร) 30/151/830/151/8 30/149/14 |
105 | [๒๘๔] เมฆก้อนใหญ่ที่เกิดในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังฝุ่นละอองอันตั้งขึ้น ในเดือนท้ายฤดูร้อนให้หายราบไปได้โดยพลัน ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรค 8 ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้สงบไปได้โดยพลัน ก็ฉันนั้น. .(ปฐมเมฆสูตร) 30/153/330/153/3 30/151/3 |
106 | [๒๘๖] ลมแรงย่อมยังมหาเมฆอันเกิดขึ้นแล้วให้หายหมดไปได้ในระหว่างนั่นเอง ฉันใดภิกษุเมื่อ เจริญอริยมรรค 8 ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วให้หายสงบไปในระหว่างได้โดยพลัน ก็ฉันนั้น (ทุติยเมฆสูตร) 30/154/830/154/8 30/152/9 |
107 | [๒๘๘] เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วย เครื่องผูกคือ หวาย แช่อยู่ในน้ำตลอด 6 เดือน เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลมและ แดดแล้ว อันฝนตกรดแล้วย่อมจะเสียไป ผุไป โดยไม่ยากเลยฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค 8สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบหมดไปโดยไม่ยากเลย ก็ฉันนั้น (นาวาสูตร) 30/155/630/155/6 30/153/5 |
108 | [๒๙๑] ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งคือ อุปาทานขันธ์ 5 (อาคันตุกาคารสูตร) 30/156/1530/156/15 30/154/16 |
109 | [๒๙๒] ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งคือ อวิชชาและภวตัณหา (อาคันตุกาคารสูตร) 30/157/130/157/1 30/154/20 |
110 | [๒๙๓] ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งคือวิชชาและวิมุตติ (อาคันตุกาคารสูตร) 30/157/430/157/4 30/155/3 |
111 | [๒๙๔] ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งคือสมถะและวิปัสสนา (อาคันตุกาคารสูตร) 30/157/730/157/7 30/155/6 |
112 | [๒๙๖] พระราชา มหาอำมาตย์ มิตรสหาย หรือญาติสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญให้ภิกษุผู้เจริญอริยมรรค 8 เพื่อให้สึกออกมาเป็น คฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เพราะว่าจิตที่น้อมไปในวิเวก โน้มไป โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนานนั้น จักสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (นทีสูตร) 30/159/930/159/9 30/157/5 |
113 | [๒๙๘-๒๙๙] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา 3 คือ การแสวงหากาม การแสวงหาภพ การแสวงหาพรหมจรรย์ (ปฐมเอสนาสูตร) 30/161/430/161/4 30/159/4 |
114 | [๓๐๐-๓๐๑] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 มีอันกำจัดราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่สุด เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา 3 (ทุติยเอสนาสูตร) 30/162/1030/162/10 30/160/11 |
115 | [๓๐๒-๓๐๓] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 มีอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา 3 (ตติยเอสนาสูตร) 30/163/630/163/6 30/161/6 |
116 | [๓๐๔-๓๐๕] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 มีอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา 3 (จตุตถเอสนาสูตร) 30/164/330/164/3 30/162/3 |
117 | [๓๐๖-๓๐๗] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อกำหนดรู้ซึ่งการแสวงหา 3 .(ปัญจมเอสนาสูตร) 30/164/1630/164/16 30/162/16 |
118 | [๓๐๘] การแสวงหา 3 คือ การแสวงหากาม การแสวงหาภพ การแสวงหาพรหมจรรย์ (ฉัฏฐเอสนาสูตร) 30/165/830/165/8 30/163/3 |
119 | [๓๐๙-๓๑๐] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อความสิ้นไปแห่งการแสวงหา 3 . (สัตตมเอสนาสูตร) 30/165/1430/165/14 30/163/10 |
120 | [๓๑๑-๓๑๒] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อละการแสวงหา 3 . (อัฏฐมเอสนาสูตร) 30/166/830/166/8 30/164/3 |
121 | [๓๑๓-๓๑๔] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละการถือตัว 3 คือ การถือตัวว่า เราประเสริฐกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา (วิธาสูตร) 30/167/330/167/3 30/164/18 |
122 | [๓๑๕-๓๑๖] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ 3 (กิเลสที่หมักดองอยู่ในสันดาน) คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ .(อาสวสูตร) 30/168/830/168/8 30/166/3 |
123 | [๓๑๗-๓๑๘] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละภพ 3 (โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์) คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ (ภวสูตร) 30/169/330/169/3 30/166/12 |
124 | [๓๑๙-๓๒๐] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละความทุกข์ 3 คือ ทุกข์เกิดจากความไม่สบายกาย ทุกข์เกิดจากสังขาร ทุกข์เกิดจากความแปรปรวน (ทุกขตาสูตร) 30/169/1230/169/12 30/167/3 |
125 | [๓๒๑-๓๒๒] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละเสาเขื่อน 3 คือ ราคะ โทสะ โมหะ (ขีลสูตร) 30/170/330/170/3 30/167/14 |
126 | [๓๒๓-๓๒๔] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละมลทิน 3 คือ ราคะ โทสะ โมหะ (มลสูตร) 30/170/1230/170/12 30/168/3 |
127 | [๓๒๕-๓๒๖] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละทุกข์ 3 คือ ราคะ โทสะ โมหะ (นิฆสูตร) 30/171/330/171/3 30/168/12 |
128 | [๓๒๗-๓๒๘] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละเวทนา 3 คือ สุข , ทุกข์ , ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข. (เวทนาสูตร) 30/172/330/172/3 30/169/8 |
129 | [๓๒๙-๓๓๐] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 อันอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไป ในการสละเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา 3 (ความทะยานอยาก) คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น) (ปฐมตัณหาสูตร) 30/172/1230/172/12 30/170/3 |
130 | [๓๓๑-๓๓๒] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด ฯลฯ อันหยั่งลงสู่อมตะ ฯลฯ อันน้อมไป โน้มไป โอนไป สู่นิพพาน เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อความสิ้นไปเพื่อละตัณหา 3 (ทุติยตัณหาสูตร) 30/173/830/173/8 30/170/17 |
131 | [๓๓๓-๓๓๔] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอฆะ 4(กิเลสที่ท่วมทับหมู่สัตว์) คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (โอฆสูตร) 30/175/430/175/4 30/172/4 |
132 | [๓๓๕-๓๓๖] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ 4 (กิเลสเครื่องประกอบ) คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (โยคสูตร) 30/175/1330/175/13 30/173/3 |
133 | [๓๓๗-๓๓๘] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทาน 4 (การยึดถือ) คือ กาม ทิฏฐิ ศีลและพรต อัตตวาทะ (การถือมั่นวาทะว่าตน) (อุปาทานสูตร) 30/176/730/176/7 30/173/12 |
134 | [๓๓๙-๓๔๐] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะ 4 (เครื่องร้อยรัด) คือ อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง) พยาบาท สีลัพพต-ปรามาส(ความยึดมั่นในศีลพรต) อิทังสัจจาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง) .(คันถสูตร) 30/177/330/177/3 30/174/3 |
135 | [๓๔๑-๓๔๒] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย 7 (กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) คือ กามราคะ ปฏิฆะ (ความขัดเคือง) ทิฏฐิ วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ ภวราคะ อวิชชา (อนุสยสูตร) 30/177/1330/177/13 30/174/13 |
136 | [๓๔๓-๓๔๔] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ 5 (กามคุณสูตร) 30/178/730/178/7 30/175/3 |
137 | [๓๔๕-๓๔๖] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ 5 (นีวรณสูตร) 30/179/330/179/3 30/175/15 |
138 | [๓๔๗-๓๔๘] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ 5 (อุปาทานขันธสูตร) 30/179/1330/179/13 30/176/3 |
139 | [๓๔๙-๓๕๐] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ 5 คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท (โอรัมภาคิยสูตร) 30/180/730/180/7 30/176/14 |
140 | [๓๕๑-๓๕๒] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) อวิชชา (ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร) 30/181/330/181/3 30/177/3 |
141 | [๓๕๓-๓๕๔] ภิกษุควรเจริญอริยมรรค 8 มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด ฯลฯ อันหยั่งลงสู่อมตะ ฯลฯ อันน้อมไป โน้มไป โอนไป สู่นิพพาน เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 (ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร) 30/182/330/182/3 30/177/19 |
142 | กายคันถะ ได้แก่ เครื่องร้อยรัดแห่งนามกาย คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดติดแน่น. .(โอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓) 30/183/930/183/9 30/179/11 |
143 | [๓๕๖] ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย (หิมวันตสูตร) 30/184/1330/184/13 30/181/13 |
144 | ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือ องค์ของผู้ตรัสรู้ .(อ.หิมวันตสูตร) 30/185/830/185/8 30/182/12 |
145 | [๓๕๗-๓๖๒] นิวรณ์ 5 มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ (กายสูตร) 30/187/1130/187/11 30/184/14 |
146 | [๓๖๔-๓๗๑] อาหารของโพชฌงค์ ๗ (กายสูตร) 30/189/430/189/4 30/186/2 |
147 | สุภนิมิต ได้แก่ สิ่งที่งาม หรือ แม้อารมณ์ของสิ่งที่งาม ก็เป็นสุภนิมิต. .(อ.กายสูตร) 30/191/930/191/9 30/188/5 |
148 | ความเพียร 3 ระดับ (อ.กายสูตร) 30/194/530/194/5 30/190/19 |
149 | [๓๗๓] ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณ-ทัสสนะ การได้เห็น การได้ฟัง การเข้าไปนั่งใกล้ การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้น ก็ดี แต่ละอย่างๆ พระพุทธองค์ กล่าวว่า มีอุปการะมาก (สีลสูตร) 30/195/330/195/3 30/191/14 |
150 | [๓๗๔-๓๘๐] การเจริญโพชฌงค์ 7 (สีลสูตร) 30/195/1130/195/11 30/192/2 |
151 | [๓๘๑-๓๘๒] เมื่อภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 แล้วกระทำให้มากแล้ว พึงได้ผลานิสงส์7 ประการ (สีลสูตร) 30/197/130/197/1 30/193/11 |
152 | บรรพชิตที่บวชตามพระมหากัสสปเถระ คราวแรกมีประมาณ แสนรูป พวกบวชตามพระมหินทเถระกำหนดนับไม่ได้ (อ.สีลสูตร) 30/200/130/200/1 30/196/3 |
153 | พระอนาคามี 48 จำพวก (อ.สีลสูตร) 30/201/1630/201/16 30/197/18 |
154 | [๓๘๓-๓๘๙] พระสารีบุตรประสงค์ จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ ข้อใดๆ ในเวลาใด ก็ได้ ด้วยความชำนาญ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่แก่ท่าน สติสัมโพชฌงค์นั้นหาประมาณมิได้ เมื่อยังตั้งอยู่ก็รู้ เคลื่อนไปก็รู้ (วัตตสูตร) 30/202/930/202/9 30/198/7 |
155 | [๓๙๐-๓๙๑] ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ (ภิกขุสูตร) 30/205/1230/205/12 30/201/3 |
156 | [๓๙๓] เมื่อภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 ประการนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก กามาสวะภวาสวะ อวิชชาสวะ แล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี (ภิกขุสูตร) 30/206/130/206/1 30/201/12 |
157 | [๓๙๔] พระตถาคตมีวิชชา และวิมุตติ เป็นผลานิสงส์อยู่ (กุณฑลิยสูตร) 30/207/1330/207/13 30/202/21 |
158 | [๓๙๕-๓๙๙] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ สุจริต 3 อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยัง สติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยัง สุจริต 3 ให้บริบูรณ์ (กุณฑลิยสูตร) 30/207/1530/207/15 30/203/2 |
159 | เมื่อไม่ให้ส่วนกาย และวาจาหวั่นไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนา มาสู่คลองในจักขุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น จัดเป็นมโนทุจริตเมื่อพูดด้วยจิตประกอบด้วยความโลภ ว่าสิ่งนี้น่าปรารถนา จัดเป็นวจีทุจริตเมื่อเอามือจับต้อง จัดเป็นกายทุจริต (อ.กุณฑลิยสูตร) 30/212/1130/212/11 30/207/9 |
160 | เมื่อไม่จับต้องด้วยคิดว่า สิ่งนี้เป็นอนามาส (ของที่ไม่ควรจับต้อง) จัดเป็นกายสุจริต (อ.กุณฑลิยสูตร) 30/213/830/213/8 30/208/5 |
161 | [๔๐๑-๔๐๒] กลอนเรือนยอดทั้งหมดน้อมไปสู่ยอดฉันใด ภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเป็นผู้น้อมไปโน้มไป โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น. (กูฏสูตร) 30/214/630/214/6 30/209/3 |
162 | [๔๐๔-๔๐๖] ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้หรือว่าจิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะ(ความง่วงเหงาหาวนอน) เราถอนเสียแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้ง-ซ่านรำคาญ) เรากำจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง มิได้ย่อหย่อน ฯลฯ ตอบว่า ย่อมรู้ได้ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก(อุปวาณสูตร) 30/215/1330/215/13 30/210/13 |
163 | [๔๐๗] เว้นความปรากฏแห่งพระตถาคต โพชฌงค์ 7 ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น . (ปฐมอุปาทสูตร) 30/217/330/217/3 30/211/12 |
164 | [๔๐๘] โพชฌงค์ 7 ย่อมไม่เกิดขึ้นนอกวินัยของพระพุทธเจ้า (ทุติยอุปาทสูตร) 30/218/330/218/3 30/212/10 |
165 | [๔๐๙-๔๑๐] สัตว์สำเร็จอิริยาบท 4 บนแผ่นดินฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วย่อมเจริญ โพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละฉันนั้น. (ปาณูปมสูตร) 30/219/430/219/4 30/214/4 |
166 | [๔๑๑-๔๑๒] เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทองฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ 7 แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้น. ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ (ปฐมสุริยูปมสูตร) 30/220/1230/220/12 30/215/13 |
167 | [๔๑๓-๔๑๔] เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทองฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ 7 แก่ภิกษุ คือ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็ฉันนั้น. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ (ทุติยสุริยูปมสูตร) 30/221/730/221/7 30/216/8 |
168 | [๔๑๕-๔๑๙] พระมหากัสสปะป่วยหนัก พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปหา แล้วตรัส โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน จบเทศนา พระมหากัสสปได้หายจากอาการป่วยนั้น (ปฐมคิลานสูตร) 30/222/330/222/3 30/217/4 |
169 | เมื่อพระมหากัสสปะคิดอยู่ว่า คำสอนของพระศาสดานำสัตว์ออกจากทุกข์ ดังนี้ โลหิตก็ผ่องใส อุปาทารูป (รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป) ก็หมดจดโรคหายไปจากกาย เหมือนหยาดน้ำตกบนใบบัว (อ.ปฐมคิลานสูตร) 30/223/1230/223/12 30/218/11 |
170 | [๔๒๐-๔๒๔] พระมหาโมคคัลลานะป่วยหนัก พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปหาแล้ว ตรัสโพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จบเทศนา พระมหาโมคคัลลานะได้หายจากอาการป่วยนั้น. (ทุติยคิลานสูตร) 30/224/830/224/8 30/219/4 |
171 | [๔๒๕-๔๒๘] พระพุทธเจ้าประชวร ไม่ทรงสบาย ทรงเป็นไข้หนัก จึงตรัสให้พระมหาจุนทะ แสดงโพชฌงค์ 7 จบการแสดงธรรม พระองค์ทรงหายจากประชวรนั้น .(ตติยคิลานสูตร) 30/226/330/226/3 30/220/12 |
172 | [๔๒๙-๔๓๐] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง. ในหมู่มนุษย์ คนที่ไปถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ย่อมวิ่งไปตามฝั่ง (ปารคามีสูตร) 30/227/830/227/8 30/221/16 |
173 | [๔๓๑] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลใดปรารภผิดแล้ว อริยมรรคเป็นอันบุคคลนั้น ปรารภผิด โพชฌงค์ 7 อันบุคคลใดปรารภถูกแล้ว อริยมรรคเป็นอันบุคคลนั้น ปรารภถูก (วิรัทธสูตร) 30/228/1330/228/13 30/222/17 |
174 | [๔๓๓] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ให้เป็นอริยธรรม นำตนออกจากทุกข์ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ (อริยสูตร) 30/229/730/229/7 30/223/9 |
175 | [๔๓๔] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน (นิพพานสูตร) 30/230/330/230/3 30/224/3 |
176 | [๔๓๕-๔๓๖] ทรงตอบคำถามภิกษุรูปหนึ่ง เกี่ยวกับ โพชฌงค์. ภิกษุในธรรม-วินัยนี้ ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ และที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้. (โพธนสูตร) 30/231/430/231/4 30/225/4 |
177 | [๔๓๗] ทรงแสดงโพชฌงค์ 7 แก่ภิกษุทั้งหลาย (เทสนาสูตร) 30/232/1230/232/12 30/226/13 |
178 | [๔๓๘-๔๔๒] นิวรณ์ 5 เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ (ฐานิยสูตร) 30/233/530/233/5 30/227/5 |
179 | [๔๔๔] นิวรณ์ 5 เกิดเพราะมนสิการ โดยไม่แยบคาย (อโยนิโสสูตร) 30/235/330/235/3 30/229/3 |
180 | [๔๔๘] โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม (อปริหานิยสูตร) 30/236/330/236/3 30/230/3 |
181 | [๔๕๐] เมื่อภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ไพบูลย์เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละตัณหาได้ . (ขยสูตร) 30/236/1530/236/15 30/230/15 |
182 | ชื่อว่า มหรคต เพราะถึงความเป็นใหญ่ (อ.ขยสูตร) 30/238/230/238/2 30/231/21 |
183 | [๔๕๑-๔๕๒] โพชฌงค์ 7 เป็นทางและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหา (นิโรธสูตร) 30/238/1330/238/13 30/232/12 |
184 | [๔๕๓-๔๕๔] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแทงตลอด (นิพเพธสูตร) 30/239/830/239/8 30/233/6 |
185 | [๔๕๖] ภิกษุย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอัน เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ (เอกธรรมสูตร) 30/241/730/241/7 30/235/7 |
186 | [๔๕๗] ตาเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้นย่อมเกิดที่ตานี้... (เอกธรรมสูตร) 30/241/1430/241/14 30/235/14 |
187 | [๔๕๘-๔๖๒] พระอุทายี ออกบวช ด้วยความรัก เคารพ ละอายใจ เกรงกลัวในพระพุทธเจ้าแล้วพิจารณาถึง ความเกิด และความเสื่อมแห่งอุปทานขันธ์ 5 จึงได้รู้ตามความเป็นจริง. และพระพุทธองค์ทรงรับรองมรรคที่ท่านได้แล้ว (อุทายิสูตร) 30/242/830/242/8 30/236/9 |
188 | [๔๖๓-๔๖๔] ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท. ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้วย่อม เจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ (ปฐมกุสลสูตร) 30/246/430/246/4 30/240/5 |
189 | [๔๖๕-๔๖๖] ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ประชุมลงในโยนิโสมนสิการ. ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ (ทุติยกุสลสูตร) 30/247/330/247/3 30/241/4 |
190 | [๔๖๗-๔๗๒] อุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) ของทอง 5 อย่าง คือ เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว เงิน เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุกให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี (อุปกิเลสสูตร) 30/248/330/248/3 30/242/3 |
191 | [๔๗๔-๔๗๖] อุปกิเลสของจิต คือ นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงานไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ . (อุปกิเลสสูตร) 30/248/1730/248/17 30/242/18 |
192 | อุปกิเลสของโลกุตรจิตมีได้อย่างไร ? ตอบว่า ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่ให้อารมณ์ อันเลิศเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นอุปกิเลสของโลกิยจิตบ้างของโลกุตรจิตบ้าง ย่อมมี. (อ.อุปกิเลสสูตร) 30/250/830/250/8 30/244/9 |
193 | [๔๘๒-๔๘๖] เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย นิวรณ์ 5 จึงเกิดขึ้น(อโยนิโสสูตร) 30/251/330/251/3 30/245/3 |
194 | [๔๘๗-๔๘๘] เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคายย่อมเกิด โพชฌงค์ (โยนิโสสูตร) 30/252/330/252/3 30/245/17 |
195 | [๔๘๙] โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพื่อความไม่เสื่อม (วุฑฒิสูตร) 30/252/1130/252/11 30/246/6 |
196 | [๔๙๐-๔๙๑] นิวรณ์ 5 เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิตทำปัญญาให้ทราม ส่วนโพชฌงค์ 7 ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุตติ .(อาวรณานีวรณสูตร) 30/253/330/253/3 30/246/14 |
197 | [๔๙๕] สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรมสมัยนั้นนิวรณ์ 5 ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ .(นีวรณาวรณสูตร) 30/255/330/255/3 30/248/14 |
198 | [๔๙๖-๔๙๙] ทรงเปรียบนิวรณ์ 5 เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่งอกคลุมต้นไม้อื่น เป็นธรรมครอบงำจิตทำปัญญาให้ทราม (รุกขสูตร) 30/256/630/256/6 30/249/17 |
199 | [๕๐๑] นิวรณ์ 5 กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. . (นีวรณสูตร) 30/258/830/258/8 30/251/8 |
200 | [๕๐๓] สมณะพราหมณ์ ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ละมานะ 3 อย่างได้ เพราะกระทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว ซึ่ง โพชฌงค์ 7 (วิธาสูตร) 30/261/430/261/4 30/254/4 |
201 | [๕๐๕-๕๐๖] รัตนะ 7 อย่าง ปรากฏ เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ. รัตนะ คือ โพชฌงค์ 7 ปรากฏ เพราะ พระพุทธเจ้าปรากฏ (จักกวัตติสูตร) 30/262/1030/262/10 30/255/10 |
202 | ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะทำความเคารพ มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก เป็นของสัตว์ผู้ไม่ทราม (อ.จักกวัตติสูตร) 30/263/1230/263/12 30/256/12 |
203 | ชาวโลกคิดและพูดถึงกันมาก เรื่องความปรากฏแห่งรัตนะ 7 รัตนะเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น (อ.จักกวัตติสูตร) 30/264/2130/264/21 30/257/15 |
204 | ข้อเปรียบเทียบ รัตนะ 7 กับ โพชฌงค์ 7 (อ.จักกวัตติสูตร) 30/266/730/266/7 30/258/22 |
205 | [๕๐๗] โพชฌงค์ 7 เป็นทางเป็นเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร (มารสูตร) 30/267/1330/267/13 30/260/3 |
206 | [๕๐๙] ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว (ทุปปัญญสูตร) 30/268/730/268/7 30/260/15 |
207 | [๕๑๑] ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ก็เพราะโพชฌงค์ 7 อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว (ปัญญวาสูตร) 30/269/630/269/6 30/261/12 |
208 | [๕๑๓] ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ 7 อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว (ทลิททสูตร) 30/269/1630/269/16 30/262/5 |
209 | [๕๑๕] ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ 7 อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว (อทลิททสูตร) 30/270/530/270/5 30/262/15 |
210 | [๕๑๖-๕๑๗] เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทองฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ 7 แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดีก็ฉันนั้น. ภิกษุผู้มีมิตรดีย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ (อาทิจจสูตร) 30/270/1230/270/12 30/263/3 |
211 | [๕๑๘-๕๑๙] พระพุทธองค์ยังไม่เล็งเห็นเหตุอื่นอันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดแห่ง โพชฌงค์ 7 เหมือน โยนิโสมนสิการ เลย. อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ น้อมไปในการสละ (ปฐมอังคสูตร) 30/271/330/271/3 30/263/19 |
212 | [๕๒๐-๕๒๑] พระพุทธองค์ยังไม่เล็งเห็นเหตุอื่น แม้อันหนึ่งที่เป็นเหตุภายนอก เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ 7 เหมือน ความเป็นผู้มีมิตรดี เลย. อันภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ น้อมไปในการสละ . (ทุติยอังคสูตร) 30/271/1730/271/17 30/264/14 |
213 | [๕๒๓-๕๒๗] อาหารของนิวรณ์ 5 (อาหารสูตร) 30/273/730/273/7 30/266/8 |
214 | [๕๒๘-๕๓๔] อาหารของโพชฌงค์ (อาหารสูตร) 30/274/1430/274/14 30/267/17 |
215 | ธรรม 4 ประการเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (อ.อาหารสูตร) 30/280/930/280/9 30/272/10 |
216 | ธรรม 7 ประการเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (อ.อาหารสูตร) 30/280/1830/280/18 30/272/19 |
217 | อินทรีย์ที่ควร เสมอกัน คือ สัทธากับปัญญา สมาธิกับวิริยะ (อ.อาหารสูตร) 30/282/930/282/9 30/274/6 |
218 | พวกที่คิดว่า จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอแล้วไม่ทำบุญ ย่อมไปนรก (อ.อาหารสูตร) 30/282/1330/282/13 30/274/11 |
219 | สติ มีกำลังในที่ทั้งปวง จึงจะควร สตินั้น จึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง .(อ.อาหารสูตร) 30/283/530/283/5 30/275/2 |
220 | ธรรม 11 ประการ เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง วิริยสัมโพชฌงค์ (อ.อาหารสูตร) 30/284/130/284/1 30/275/21 |
221 | เรื่องพระมหามิตตะ อยู่ในถ้ำกสกะ อาศัยมหาอุบาสิกา เป็นผู้บำรุงอยู่ได้ยินว่า มหาอุบาสกกินข้าวตังกับน้ำส้ม แต่นำอาหารดีๆ ถวายพระ ท่านได้ยินดังนั้นจึงกลับไปทำความเพียร ได้บรรลุอรหันต์ ก่อนเที่ยงแล้วเข้ามาบิณฑบาตที่บ้านนั้น.(อ.อาหารสูตร) 30/285/1230/285/12 30/277/2 |
222 | ธรรม 11 ประการ เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ปีติสัมโพชฌงค์. (อ.อาหารสูตร) 30/288/930/288/9 30/279/21 |
223 | ธรรม 7 ประการ เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ความสงบ).(อ.อาหารสูตร) 30/289/830/289/8 30/280/19 |
224 | ธรรม 11 ประการเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง สมาธิสัมโพชฌงค์ (อ.อาหารสูตร) 30/290/330/290/3 30/281/12 |
225 | สมัยใด มีจิตหดหู่ ให้ยกจิตนั้น ด้วยการให้ธัมมวิจยะ วิริยะ และปีติสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น. สมัยใดมีจิตฟุ้งซ่าน ให้ข่มจิตด้วยการให้ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ ตั้งขึ้น (อ.อาหารสูตร) 30/290/1230/290/12 30/281/20 |
226 | ธรรม 5 ประการ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (อ.อาหารสูตร) 30/291/1230/291/12 30/282/21 |
227 | ธรรม 6 ประการ เพื่อละกามฉันทะ (อ.อาหารสูตร) 30/293/530/293/5 30/284/11 |
228 | ธรรม 6 ประการ เพื่อละพยาบาท (อ.อาหารสูตร) 30/294/130/294/1 30/285/2 |
229 | ความพยาบาท ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไปด้วยอนาคามิมรรค (อ.อาหารสูตร) 30/294/2030/294/20 30/285/23 |
230 | ธรรม 6 ประการ เพื่อละถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาซึมเซา) (อ.อาหารสูตร) 30/295/230/295/2 30/285/25 |
231 | ธรรม 6 ประการ เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) (อ.อาหารสูตร) 30/295/1930/295/19 30/286/18 |
232 | อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ด้วย อรหัตตมรรค กุกกุจจะย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ด้วยอนาคามิมรรค. (อ.อาหารสูตร) 30/296/530/296/5 30/287/4 |
233 | ธรรม 6 ประการ เพื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (อ.อาหารสูตร) 30/296/930/296/9 30/287/8 |
234 | วิจิกิจฉา ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค (อ.อาหารสูตร) 30/296/1930/296/19 30/287/20 |
235 | [๕๕๒-๕๕๗] ปริยายที่นิวรณ์ 5 อาศัย แล้วเป็น 10 อย่าง (ปริยายสูตร) 30/299/1130/299/11 30/290/9 |
236 | [๕๕๙-๕๖๖] ปริยายที่โพชฌงค์ 7 อาศัย แล้วเป็น 14 อย่าง (ปริยายสูตร) 30/300/1030/300/10 30/291/3 |
237 | [๕๖๙] สมัยใดจิตหดหู่ สมัยนั้นไม่ควรเจริญปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.(อัคคิสูตร) 30/306/1630/306/16 30/297/6 |
238 | [๕๗๐] สมัยใดจิตหดหู่ สมัยนั้นควรเจริญธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติสัมโพชฌงค์.(อัคคิสูตร) 30/307/930/307/9 30/297/19 |
239 | [๕๗๑] สมัยใดจิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นไม่ควรเจริญธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติสัมโพชฌงค์.(อัคคิสูตร) 30/307/2130/307/21 30/298/5 |
240 | [๕๗๒] สมัยใดจิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นควรเจริญปัสสิทธิ สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ .(อัคคิสูตร) 30/308/930/308/9 30/298/17 |
241 | [๕๗๒] สติ มีประโยชน์ ในที่ทั้งปวง (อัคคิสูตร) 30/308/1930/308/19 30/299/3 |
242 | [๕๙๗] เมตตาเจโตวิมุตติ มีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่งเพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอ จึงยังเป็นโลกีย์ (เมตตาสูตร) 30/315/930/315/9 30/304/25 |
243 | [๕๙๘] กรุณาเจโตวิมุตติ มีอากาสานัญจายตนะ เป็นอย่างยิ่ง (เมตตาสูตร) 30/315/2330/315/23 30/305/13 |
244 | [๕๙๙] มุทิตาเจโตวิมุตติ มีวิญญานัญจายตนะ เป็นอย่างยิ่ง (เมตตาสูตร) 30/316/1330/316/13 30/306/1 |
245 | [๖๐๐] อุเบกขาเจโตวิมุติ มีอากิญจัญญยตนะเป็นอย่างยิ่ง (เมตตาสูตร) 30/317/830/317/8 30/306/20 |
246 | เมื่อทำไว้ในใจว่าไม่งาม หรือไม่เที่ยงนั้น ทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ชื่อว่ามีความสำคัญว่า ปฏิกูลอยู่ เมื่อทำการแผ่เมตตา หรือทำในใจถึงโดยความเป็นธาตุนั้น ทั้งในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ชื่อว่า มีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่ (อ.เมตตาสูตร) 30/318/1630/318/16 30/308/5 |
247 | ความจริงพวกสัตว์ไม่เป็นสิ่งปฏิกูลสำหรับภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา.ลำดับนั้นเมื่อเธอนำจิตเข้าไปในสีเขียว เป็นต้น อันเป็นสีบริสุทธิ์ ไม่ปฏิกูล จิตย่อมแล่นไปในสิ่งอันไม่เป็นปฏิกูลนั้น เมตตาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งสุภวิโมกข์ด้วยอาการอย่างนี้ หายิ่งกว่านั้นไม่ (อ.เมตตาสูตร) 30/319/1830/319/18 30/309/7 |
248 | [๖๐๓-๖๑๒] นิวรณ์ 5 เป็นเหตุให้มนตร์ไม่แจ่มแจ้ง (สคารวสูตร) 30/321/1230/321/12 30/311/3 |
249 | [๖๒๕] โพชฌงค์ 7 มิใช่ธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ (สคารวสูตร) 30/326/1630/326/16 30/315/21 |
250 | อุบายเครื่องสลัดออกซึ่ง กามราคะ มี 3 อย่าง คือ ปฐมฌานในอสุภะ ชื่อว่าสลัดออกด้วยการข่มไว้ วิปัสสนา ชื่อว่า สลัดออกได้ชั่วคราว อรหัตมรรคชื่อว่า สลัดออกได้เด็ดขาด (อ.สคารวสูตร) 30/327/1030/327/10 30/316/12 |
251 | อุบายเครื่องสลัดออกซึ่ง พยาบาท มี 2 อย่าง คือ ปฐมฌานในเมตตา ชื่อว่าสลัดออกด้วยการข่มไว้ อนาคามิมรรค สลัดพยาบาทออกได้เด็ดขาด (อ.สคารวสูตร) 30/328/130/328/1 30/317/1 |
252 | อาโลกสัญญา ชื่อว่า สลัด ถีนมิทธะ ออกด้วยการข่มไว้ , อรหัตมรรค ชื่อว่าสลัดถีนมิทธะออกได้เด็ดขาด (อ.สคารวสูตร) 30/328/530/328/5 30/317/5 |
253 | สมถกัมมัฏฐานสลัดอุทธัจจกุกกุจจะออกได้ด้วยการข่ม อรหัตมรรคเป็นเครื่องสลัดอุทธัจจะออกได้เด็ดขาด. อนาคามิมรรคเป็นเครื่องสลัด กุกกุจจะ ออกได้เด็ดขาด. (อ.สคารวสูตร) 30/328/630/328/6 30/317/6 |
254 | [๖๓๑-๖๓๕] นิวรณ์ 5 เป็นเหตุปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น (อภยสูตร) 30/329/2030/329/20 30/318/20 |
255 | [๖๓๘-๖๓๙] โพชฌงค์ 7 เป็นเหตุปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น. (อภยสูตร) 30/331/130/331/1 30/319/24 |
256 | [๖๔๒-๖๖๖] อัฏฐิกสัญญา (หมายรู้ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก)เป็นต้น เมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ 2 อย่างๆ ใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ เป็นพระอนาคามี. (อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์) 30/333/1230/333/12 30/322/13 |
257 | [๖๖๙] ภิกษุควรเจริญโพชฌงค์ 7 เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา. (อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์) 30/338/1330/338/13 30/327/11 |
258 | เมื่อภิกษุเจริญ อัฏฐิกสัญญาว่า กระดูก กระดูกอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อมไม่ปรากฏเลย (อ.อัฏฐิกสัญญา) 30/345/430/345/4 30/334/13 |
259 | [๖๗๙] หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน 4 (อัมพปาลิสูตร) 30/347/1030/347/10 30/337/10 |
260 | [๖๘๒] ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของพระพุทธเจ้า (สติสูตร) 30/354/2030/354/20 30/344/19 |
261 | [๖๘๔] อย่างไร จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ (ความรู้สึกตัว) (สติสูตร) 30/355/730/355/7 30/345/8 |
262 | สัมปชัญญะ มี 4 อย่าง (อ.สติสูตร) 30/356/1130/356/11 30/346/12 |
263 | เรื่อง ภิกษุหนุ่มพาสามเณรไปหาไม้สีฟัน ได้เห็นอสุภะ ทั้งสองได้บรรลุธรรม .(อ.สติสูตร) 30/358/830/358/8 30/348/4 |
264 | พระมหาปุสสเทวเถระ บำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับอยู่ ตลอด 19 ปี ได้บรรลุพระอรหัตในปี 20 (อ.สติสูตร) 30/362/1230/362/12 30/352/1 |
265 | พระมหานาคเถระได้อธิฐานการยืน 7 ปี แล้วบำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับ ตลอด 16 ปี ได้บรรลุพระอรหัต แล้ว (อ.สติสูตร) 30/363/330/363/3 30/352/16 |
266 | ภิกษุ 50 รูป ได้ทำข้อตกลง กันว่าเรายังไม่บรรลุอรหัต จักไม่พูดกัน และได้บรรลุพระอรหัต ภายใน 3 เดือน นั้นเอง (อ.สติสูตร) 30/363/1730/363/17 30/353/5 |
267 | อานิสงส์ จากการบำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไป และการกลับ (อ.สติสูตร) 30/365/130/365/1 30/354/11 |
268 | อธิบายความเกี่ยวเนื่องใน ภวังคะ อาวัชชนะ ทัสสนะ สัมปฏิจฉนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ (อ.สติสูตร) 30/368/730/368/7 30/357/12 |
269 | การเคลื่อนไหวกาย มีได้ด้วยสามารถการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิต (อ.สติสูตร) 30/375/330/375/3 30/363/22 |
270 | การไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เมื่อถึงเวลา โรคอื่นย่อมเกิด (อ.สติสูตร) 30/376/730/376/7 30/364/26 |
271 | [๖๘๗-๖๘๙] ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้าขอกัมมัฏฐาน พระพุทธองค์ตรัสให้ภิกษุนั้นจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน คือ ทำศีลให้บริสุทธิ์ และทำความเห็นให้ตรง เมื่อทำได้แล้วก็ให้เจริญสติปัฏฐาน 4 โดยส่วน 3 ได้แก่ ที่เป็นภายในที่เป็นภายนอกทั้งที่เป็นภายใน และภายนอก ทำตามนี้พึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย. (ภิกขุสูตร) 30/379/1930/379/19 30/368/2 |
272 | [๖๙๑-๖๙๒] พระพุทธองค์แสดงสติปัฏฐาน 4 สำหรับภิกษุใหม่ คือ ให้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่นมีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง ฯลฯ (โกสลสูตร) 30/382/330/382/3 30/370/3 |
273 | [๖๙๓] สำหรับพระเสขะ ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย ฯลฯ (โกสลสูตร) 30/382/1630/382/16 30/370/17 |
274 | [๖๙๔] แม้พระอรหันต์ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว ฯลฯ (โกสลสูตร) 30/383/330/383/3 30/371/1 |
275 | [๖๙๖-๖๙๗] เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ 5. เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศลต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน 4 (อกุสลราสิสูตร) 30/384/1330/384/13 30/372/7 |
276 | [๖๙๙-๗๐๐] พระพุทธองค์ เตือนภิกษุ ไม่ให้เที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร คือกามคุณ 5 เพราะมารจะได้ช่อง ภิกษุจงเที่ยวไปในอารมณ์ อันเป็นโคจรของบิดา คือ สติปัฏฐาน 4 เปรียบด้วยเหยี่ยวกับนกมูลไถ (สกุณัคฆีสูตร) 30/387/130/387/1 30/374/4 |
277 | [๗๐๑] ถิ่นแห่งขุนเขาหิมพานต์ ที่ฝูงลิง และมนุษย์ไปไม่ได้ มีอยู่ ถิ่นแห่งขุนเขาหิมพานต์อันเป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิงเท่านั้นมีอยู่ ภูมิภาคแห่งขุนเขาหิมพานต์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของลิง และมนุษย์มีอยู่ (มักกฏสูตร) 30/389/330/389/3 30/376/5 |
278 | [๗๐๑-๗๐๓] พระพุทธองค์เปรียบอารมณ์ ที่มิใช่โคจร คือ กามคุณ 5 เหมือนลิงติดตัง อารมณ์อันเป็นโคจรของบิดา คือ สติปัฏฐาน 4 (มักกฏสูตร) 30/389/730/389/7 30/376/10 |
279 | [๗๐๔-๗๐๕] ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ย่อมไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน เหมือนพ่อครัวไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่สังเกตเครื่องหมายอาหารของตน (สูทสูตร) 30/391/1230/391/12 30/378/13 |
280 | [๗๑๐] แม้พระพุทธองค์ ก็มิได้ คิดว่าจะปกครองสงฆ์ (คิลานสูตร) 30/396/1230/396/12 30/382/26 |
281 | [๗๑๑] "เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด" (คิลานสูตร) 30/396/1930/396/19 30/383/7 |
282 | [๗๑๓] ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ (คิลานสูตร) 30/397/1230/397/12 30/383/21 |
283 | อรรถกถาอธิบายไว้ (อ.คิลานสูตร) 30/402/630/402/6 30/388/1 |
284 | ขณิกสมาบัติ ย่อมข่มเวทนาได้ ในภายในสมาบัติเท่านั้น พอออกจากสมาบัติแล้ว เวทนาย่อมครอบงำสรีระอีก เหมือนสาหร่าย ขาดจากกัน เพราะขอนไม้ตกใส่ (อ.คิลานสูตร) 30/399/1530/399/15 30/385/15 |
285 | [๗๑๗-๗๒๓] ทรงแสดง ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ และภาวนาย่อมมีเพราะไม่ได้ตั้งจิตไว้ (ภิกขุนีสูตร) 30/404/130/404/1 30/389/19 |
286 | [๗๒๕] พระพุทธองค์ เรียก ผู้มีจิตหลุดพ้นว่า มหาบุรุษ (มหาปุริสสูตร) 30/411/1130/411/11 30/396/11 |
287 | [๗๒๖-๗๓๒] พระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ว่า สมณหรือพราหมณ์อื่นซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่า พระพุทธเจ้าในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้วจักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้ พระเถระมิได้ กำหนดรู้ใจของพระพุทธเจ้าแต่รู้ได้ตามกระแสพระธรรม. พระพุทธองค์ให้ท่านกล่าวธรรมปริยายนี้ เนืองๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เพื่อให้ละความเคลือบแคลง สงสัยในพระตถาคต. (นาฬันทสูตร) 30/412/330/412/3 30/397/7 |
288 | พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมได้พระสัพพัญญุตญาณ และพระพุทธคุณทั้งสิ้นด้วยอรหัตมรรค. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมได้เฉพาะพระปัจเจก-โพธิญาณ ส่วนพระอัครสาวกทั้งสอง ย่อมได้สาวกบารมีญาณ ด้วยอรหัต-มรรค เท่านั้น (อ.นาฬันทสูตร) 30/415/1630/415/16 30/400/16 |
289 | วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น) (อ.นาฬันทสูตร) 30/417/2130/417/21 30/402/20 |
290 | [๗๓๕-๗๓๖] พระอานนท์โศกเศร้าที่พระสารีบุตรปรินิพพาน พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ ? (จุนทสูตร) 30/424/130/424/1 30/408/12 |
291 | [๗๓๗] สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้วมีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลยดังนี้ มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ (จุนทสูตร) 30/424/1730/424/17 30/409/4 |
292 | [๗๓๘-๗๓๙] ทรงตรัสให้ภิกษุมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง 30/425/130/425/1 30/409/10 |
293 | [๗๔๐] พวกภิกษุที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ (จุนทสูตร) 30/425/1830/425/18 30/410/1 |
294 | พระราหุลปรินิพพานในดาวดึงส์พิภพ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ปรินิพพานที่สระฉัททันต์ (อ.จุนทสูตร) 30/427/530/427/5 30/411/9 |
295 | พระสารีบุตร เข้าเฝ้ากราบลาพระพุทธองค์ เพื่อปรินิพพาน และแสดงธรรมด้วยฤทธิ์ต่างๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย (อ.จุนทสูตร) 30/428/130/428/1 30/412/2 |
296 | พระสารีบุตร แสดงธรรมแก่โยมมารดา ด้วยพระพุทธคุณ จบเทศนา นางพราหมณีได้โสดาปัตติผล (อ.จุนทสูตร) 30/434/130/434/1 30/417/13 |
297 | ก่อนตาย พระสารีบุตร ได้ขออดโทษ ต่อภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ก็ขอให้พระเถระอดโทษให้ด้วย (อ.จุนทสูตร) 30/434/2030/434/20 30/418/7 |
298 | ในงานศพของพระสารีบุตร ได้มีเหล่าเทวดาลงมาปะปนอยู่กับมนุษย์ ท้าวสักกะก็ลงมาพร้อมบริวาร มหาชนได้เหยียบนางเรวดีตาย ไปเกิดอยู่ดาวดึงส์ และนางนั้นได้ลงมาทั้งวิมาน แสดงสมบัติของตนแก่มหาชนในงานนั้นด้วย(อ.จุนทสูตร) 30/435/1830/435/18 30/419/5 |
299 | [๗๔๒] พระพุทธเจ้าที่มีมาแล้วในอดีต และพระพุทธเจ้าที่จะมีในอนาคต พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็มีคู่สาวกนั้น เป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ (เจลสูตร) (อุกกเจลสูตร) 30/443/1130/443/11 30/426/5 |
300 | [๗๔๓] สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (เจลสูตร) 30/444/430/444/4 30/426/17 |
301 | [๗๔๖] ภิกษุพวกใด ในบัดนี้ หรือในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน แล้วก็ตามจักเป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่านั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ (เจลสูตร) (อุกกเจลสูตร) 30/444/2230/444/22 30/427/12 |
302 | พระสารีบุตรปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน 12 จากนั้นล่วงมาครึ่งเดือน ในวันอุโบสถแห่งกาฬปักษ์ พระมหาโมคคัลลานะ จึงปรินิพพาน (เจลสูตร) (อุกกเจลสูตร) 30/445/830/445/8 30/427/22 |
303 | [๗๔๗-๗๔๘] พระพาหิยะเข้าเฝ้าขอโอวาท พระพุทธองค์ ตรัสให้ชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ เสียก่อน คือ ชำระศีลให้บริสุทธิ์ และ ทำความเห็นให้ ตรงจากนั้น เจริญสติปัฏฐาน 4 (พาหิยสูตร) 30/446/330/446/3 30/428/15 |
304 | [๗๕๐-๗๕๑] พระอุตติยะเข้าเฝ้าขอโอวาท พระพุทธองค์ ตรัสให้ชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน คือ ชำระศีลให้บริสุทธิ์ และทำความเห็นให้ตรงตรง.(อุตติยสูตร) 30/447/1430/447/14 30/430/8 |
305 | [๗๕๓] สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ (เครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์) ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม (อริยสูตร) 30/449/830/449/8 30/432/3 |
306 | [๗๕๔-๗๕๖] พระพุทธองค์ทรงปริวิตกว่า ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัสเพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกนั้น ได้ลงมากราบทูลว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น... (พรหมสูตร) 30/450/330/450/3 30/432/16 |
307 | [๗๕๙-๗๖๒] ผู้รักษาตนชื่อว่า รักษาผู้อื่น ผู้รักษาผู้อื่นย่อมชื่อว่ารักษาตน 30/453/1330/453/13 30/435/16 |
308 | บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่า รักษาผู้อื่น คือ ภิกษุใดละกามราคะ เป็นต้นเสพมูลกรรมฐาน ทั้งในที่พักกลางคืน และ กลางวันย่อมบรรลุอรหันต์ ที่นั้นคนอื่นเห็นเธอเข้า คิดว่าภิกษุนั้น เป็นผู้ปฏิบัติชอบ แล้วยังจิตให้เลื่อมใส ครั้นตายไปเขาก็ไปสวรรค์ ภิกษุนั้นเมื่อรักษาตนก็ชื่อว่า รักษาผู้อื่นด้วย(อ.ปฐมเสทกสูตร) 30/455/1630/455/16 30/437/21 |
309 | [๗๖๔-๗๖๖] พระพุทธองค์ทรงเปรียบ ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ.และให้ภิกษุพึงศึกษาว่ากายคตาสติ จักเป็นของอันเรา เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สังสมแล้ว ปรารภดีแล้ว (ทุติยเสทกสูตร) 30/456/1630/456/16 30/438/21 |
310 | ลักษณะของนางงามในชนบท (อ.ทุติยเสทกสูตร) 30/458/230/458/2 30/440/2 |
311 | [๗๖๘-๗๖๙] พระอานนท์ตอบคำถามพระภัททะว่า ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระพุทธองค์ตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น พระพุทธองค์ตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 (สีลสูตร) 30/460/1030/460/10 30/442/10 |
312 | [๗๗๑-๗๗๒] พระอานนท์ตอบคำถาม พระภัททะว่า เพราะบุคคลไม่ได้เจริญไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 พระสัทธรรม จึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อ พระตถาคต เสด็จปรินิพพานแล้ว (ฐิติสูตร) 30/462/530/462/5 30/444/5 |
313 | [๗๗๔-๗๗๕] พระอานนท์ ตอบคำถาม พระภัททะว่า เพราะบุคคลไม่ได้เจริญไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 พระสัทธรรม จึงเสื่อม (ปริหานสูตร) 30/464/830/464/8 30/445/12 |
314 | [๗๗๖] สติปัฏฐาน 4 คือ ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย... .(สุทธกสูตร) 30/465/930/465/9 30/447/3 |
315 | [๗๗๘-๗๗๙] พระพุทธองค์ ทรงตอบคำถาม พราหมณ์คนหนึ่งว่า เพราะบุคคลไม่ได้เจริญไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว (พราหมณสูตร) 30/466/930/466/9 30/447/19 |
316 | [๗๘๒] พระอนุรุทธะ ตอบคำถามพระสารีบุตรว่า บุคคลที่จะชื่อว่า เป็นพระเสขะ เพราะเจริญ สติปัฏฐาน 4 ได้เป็นส่วนๆ . (ปเทสสูตร) 30/468/930/468/9 30/449/9 |
317 | [๗๘๔] พระอนุรุทธะ ตอบคำถามพระสารีบุตรว่า บุคคลที่จะชื่อว่า เป็นพระอเสขะ เพราะเจริญ สติปัฏฐาน 4 ได้บริบูรณ์ (สมัตตสูตร) 30/469/1030/469/10 30/450/11 |
318 | [๗๘๖] พระอนุรุทธะตอบคำถามพระสารีบุตรว่า ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญา มาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน 4 จึงรู้โลกได้ตั้งพัน. .(โลกสูตร) 30/470/1330/470/13 30/451/10 |
319 | พระอนุรุทธะ ตื่นแต่เช้าบ้วนปากแล้ว ตามระลึกถึงอดีต 1 พันกัป อนาคต 1 พันกัป ตามพัวพันคติแห่งการ คิดคำนึงนั้นของพันจักรวาลแม้ในปัจจุบัน ด้วยตาทิพย์ (อ.โลกสูตร) 30/471/1130/471/11 30/452/5 |
320 | [๗๘๗-๗๙๒] สิริวัฑฒคฤหบดี ป่วยหนัก นิมนต์ พระอานนท์ ไปแสดงธรรม พระเถระแสดงสติปัฏฐาน 4 แต่คฤหบดี เจริญสติปัฏฐานมานานแล้ว และเป็นพระอนาคามีด้วย (สิริวัฑฒสูตร) 30/472/330/472/3 30/452/13 |
321 | [๗๙๓-๗๙๕] มานทินนคฤหบดีป่วยหนัก นิมนต์พระอานนท์ ให้เข้ามายังที่อยู่ของตนเพื่ออนุเคราะห์ แต่คฤหบดีนั้นเป็นพระอนาคามี (มานทินนสูตร) 30/474/330/474/3 30/454/13 |
322 | [๗๙๖] พระพุทธองค์ตรัสว่า จักษุ ญาน ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย... การพิจารณาเห็นกายในกายนี้อันเราควรเจริญ... การพิจารณาเห็นกายในกายอันเราเจริญแล้ว. (อนนุสสุตสูตร) 30/476/430/476/4 30/457/4 |
323 | [๘๐๐] สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว (วิราคสูตร) 30/477/330/477/3 30/458/3 |
324 | [๘๐๑] สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเหล่าใดไม่ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าไม่ปรารภอริมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ (วิรัทธสูตร) 30/477/1830/477/18 30/458/18 |
325 | [๘๐๒] สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง (ภาวนาสูตร) 30/478/1630/478/16 30/459/15 |
326 | [๘๐๓-๘๐๔] ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย (สติสูตร) 30/479/1730/479/17 30/460/6 |
327 | [๘๐๕] ภิกษุได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 แล้ว พึงหวังผลได้ 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่น เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี (อัญญสูตร) 30/481/130/481/1 30/462/3 |
328 | [๘๐๖] เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่าทำให้แจ้ง ซึ่งอมตะ (ฉันทสูตร) 30/481/730/481/7 30/462/10 |
329 | [๘๑๐] เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมกำหนดรู้กายได้ เพราะกำหนดรู้กายได้ จึงเป็นอันชื่อว่า กระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ (ปริญญาสูตร) 30/482/830/482/8 30/463/8 |
330 | [๘๑๔] ทรงแสดงสติปัฏฐาน 4 (ภาวนาสูตร) 30/483/830/483/8 30/464/6 |
331 | [๘๑๖-๘๑๗] การเจริญสติปัฏฐาน คือ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย ความเสื่อมไปในกาย ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสเสีย ฯลฯ โดยมีอริยมรรค 8 เป็นอริยมรรค 8 เป็นปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน (วิภังคสูตร) 30/484/530/484/5 30/465/5 |
332 | [๘๑๘] " เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่น ด้วยดีในสติปัฏฐาน 4 อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย" (อมตสูตร) 30/485/430/485/4 30/467/4 |
333 | [๘๑๙] ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง มนสิการ .(สมุทยสูตร) 30/485/1630/485/16 30/468/3 |
334 | [๘๒๐-๙๒๑] พระพุทธองค์ ได้เกิดปริวิตกขึ้นว่า ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน 4 (มรรคสูตร) 30/487/330/487/3 30/469/8 |
335 | [๘๒๕] ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย (สติสูตร) 30/488/2030/488/20 30/471/3 |
336 | [๘๒๖] เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน 4 เพราะกองกุศลทั้งสิ้น ได้แก่สติปัฏฐาน 4 (กุสลราสิสูตร) 30/489/1230/489/12 30/472/3 |
337 | [๘๒๘-๘๒๙] ทรงตรัสให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ขอโอวาทว่าจงชำระเบื้องต้นในกุศล-ธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน คือ จงสำรวมใน ปาฏิโมกขสังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้นเธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน 4 . (ปาฏิโมกขสูตร) 30/490/830/490/8 30/472/20 |
338 | ปาฏิโมขสังวรของภิกษุใดแตกแล้ว ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่าจะรักษาศีลที่เหลือไว้ได้เพราะเหมือนคนหัวขาด ไม่มีทางจะรักษามือเท้าไว้ได้ ฉะนั้น. .(อ.ปาฏิโมกขสูตร) 30/491/2030/491/20 30/474/11 |
339 | [๘๓๒-๘๓๓] ทรงตรัสให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้ขอโอวาท ว่าจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน คือ เธอจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต เมื่อเธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 (ทุจริตสูตร) 30/493/830/493/8 30/475/14 |
340 | [๘๓๔] เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึงสำคัญคำที่ควรฟังชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวนชักนำให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน 4 (มิตตสูตร) 30/494/1030/494/10 30/477/3 |
341 | [๘๓๖] เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3 ประการ (เวทนาสูตร) 30/495/1030/495/10 30/478/1 |
342 | [๘๓๘] เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อละอาสวะ 3 ประการ (อาสวสูตร) 30/496/630/496/6 30/478/15 |
343 | [๘๔๐] ภิกษุเมื่อเจริญและกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 จึงจะเป็นผู้น้อมไป โน้มไป โอนไปสู่นิพพาน (คังคาทิเปยยาลฯ) 30/497/730/497/7 30/480/9 |
344 | [๘๔๒] ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 (คังคาทิเปยยาลฯ) 30/497/1930/497/19 30/481/3 |