1 | [๓๐๒] เจตนาในฝันนั้นมีอยู่ แต่นั้นเป็น อัพโพหาริก (กล่าวไม่ได้ว่ามี) (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/6/5 3/6/6 |
2 | [๓๐๓] ประเภทของ น้ำอสุจิ 10 อย่าง (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/7/1 3/7/4 |
3 | [๓๐๓] ความหมายของ คำว่า สังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/7/8 3/7/11 |
4 | [๓๐๖] ภิกษุ จงใจ พยายามในรูปภายใน, ในรูปภายนอก, ในรูปทั้งที่เป็นภายในและภายนอก, หรือยังเอวให้ไหวในอากาศ สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/9/21 3/10/12 |
5 | [๓๔๑] ภิกษุ จงใจ พยายาม สุกกะเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส , ภิกษุไม่จงใจ หรือไม่พยายาม อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง สุกกะเคลื่อนหรือไม่เคลื่อนก็ตาม ไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/71/7 3/69/1 |
6 | [๓๔๒] อสุจิเคลื่อนเพราะฝัน , ภิกษุไม่ประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/71/16 3/69/10 |
7 | [๓๖๒] ภิกษุรูปหนึ่ง มีความกำหนัด เพ่งองค์กำเนิดของหญิง อสุจิเคลื่อนต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑) 3/85/15 3/82/22 |
8 | อรรถกถาอธิบายไว้ 3/122/1 3/115/16 |
9 | พระโลลุทายี เป็นอุปัชฌาย์ ของพระเสยยสกะ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/97/4 3/93/10 |
10 | พระเจ้ามหาเสนะ กลัดกลุ้มด้วยราคะ ให้ผ่าต้นพระพาหุ(แขน) ของพระองค์ แสดงน้ำอสุจิไหลออกทางแผลนั้น (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/101/7 3/97/6 |
11 | เหตุให้เกิดความฝัน 4 อย่าง (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/102/9 3/98/1 |
12 | เมื่ออสุจิเคลื่อนตามธรรมดาของมัน ภิกษุจับองคชาตไว้ด้วยคิดว่า อย่าเปื้อนผ้ากาสาวะ หรือเสนาสนะ ย่อมควร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/115/21 3/110/7 |
13 | ภิกษุ สวมกอดบ่อยๆ ซึ่งมารดา หรือพี่สาว น้องสาว ด้วยความรัก อาศัยเรือน ต้องอาบัติทุกกฏ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/117/21 3/112/2 |
14 | พระวินัยธรเมื่อจะพิจารณาอาบัติสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑ นี้ พึงพิจารณาด้วยประโยค 11 เหล่านี้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/118/14 3/112/18 |
15 | [๓๘๐] สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และถูก คลำ เป็นต้น ด้วยกายต่อกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/129/19 3/122/21 |
16 | [๓๘๐] สตรีหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่า กะเทย บุรุษ ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และถูก คลำ ฯลฯ ด้วยการต่อกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/130/1 3/123/1 |
17 | [๓๘๐] กะเทยเป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย บุรุษ และสัตว์ดิรัจฉาน เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/130-1323/130-132 3/123-125 |
18 | [๓๘๓] ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องของที่เนื่องด้วยกายของสตรีนั้น ด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/142/2 3/134/6 |
19 | [๓๘๓] ภิกษุมีความกำหนัด ถูกต้องซึ่งกายนั้น ของสตรี ด้วยของที่โยนไป ต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/143/16 3/135/20 |
20 | [๓๘๕] ภิกษุ มีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รู้ตอบผัสสะ ต้องอาบัติทุกกฏ , แต่ถ้าไม่พยายามด้วยกาย รู้ตอบ หรือไม่รู้ตอบผัสสะ ก็ตามไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/149/14 3/141/17 |
21 | [๓๘๕] ภิกษุ มีความประสงค์ จะให้พ้น พยายาม หรือไม่พยายามด้วยกาย รู้ตอบ หรือไม่รู้ตอบผัสสะก็ตาม ไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/149/20 3/141/23 |
22 | [๓๘๖] ภิกษุไม่จงใจถูกต้อง ไม่มีสติ ไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ 3/150/8 3/142/9 |
23 | [๓๘๙] ภิกษุเคล้าคลึงด้วยกายกับนางยักษิณี ต้องอาบัติถุลลัจจัย 3/151/19 3/144/3 |
24 | [๓๘๙] ภิกษุเคล้าคลึงกับศพผู้หญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒) 3/152/14 3/144/18 |
25 | อรรถกถาอธิบายไว้ 3/180/1 3/170/5 |
26 | [๓๘๙] ภิกษุเคล้าคลึงกับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติทุกกฏ 3/152/19 3/145/5 |
27 | ภิกษุมีความกำหนัดเคล้าคลึงกายกับเด็กผู้หญิงแรกเกิดในวันนั้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/158/16 3/151/19 |
28 | หญิงดำห่มผ้าเขียวภิกษุคิดว่าจักเบียดกายแล้วเบียดผ้าเขียว ต้องอาบัติถุลลัจจัย (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/168/19 3/160/16 |
29 | ภิกษุใดถูกผู้หญิงจับ ถ้าต้องการให้หญิงนั้นพ้นจากร่างกายของตน จึงผลักหรือตี ไม่เป็นอาบัติ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/171/7 3/162/20 |
30 | อธิบาย วัตถุที่เป็นอนามาส (วัตถุที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง) (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/173/17 3/165/2 |
31 | ภิกษุ จะถือเอาผลไม้ที่หล่นจากต้นด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่อนุปสัมบัน ควรอยู่ 3/175/6 3/166/7 |
32 | รัตนะ 10 ที่ยังไม่ได้เจียระไน ภิกษุจับต้องได้อยู่ หรือรับไว้เพื่อเป็นยา แก่คนโรคเรื้อนควรอยู่ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/175/9 3/166/10 |
33 | เงิน และทอง เป็นของไม่ควรรับไว้ จำเดิมตั้งแต่ยังเป็นแร่ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/176/14 3/167/10 |
34 | ภิกษุรับอาวุธไว้ ด้วยตั้งใจว่าจะทำให้เสียหายก่อน แล้วทำให้เป็นของสมควรใช้ควรอยู่ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/178/8 3/168/21 |
35 | กลอง เครื่องดนตรี ที่ขึงด้วยหนัง เป็นอนามาส (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/178/20 3/169/7 |
36 | ภิกษุ เคล้าคลึงด้วยกาย กับนางนาค นางครุฑ นางกินรี เป็นอาบัติทุกกฏ 3/180/3 3/170/7 |
37 | ผู้หญิงประสงค์จะนวดเท้าภิกษุ ภิกษุพึงปกปิดเท้าไว้ หรือนิ่งเฉยเสียเพราะภิกษุผู้นิ่งเฉย แม้จะยินดี ก็ไม่เป็นอาบัติ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/181/1 3/171/1 |
38 | [๔๐๑] ภิกษุ มีความกำหนัดพูดชม ติ ขอ อ้อนวอน ถาม ย้อนถาม บอก สอน ด่า มุ่งอวัยวะเพศ และทวารหนัก ของสตรี ต้องสังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓) 3/187/21 3/177/10 |
39 | [๔๐๔] ภิกษุ พูดถึงอวัยวะจากไหปลาร้าลงมา จากเหนือเข่าขึ้นไปของสตรี เว้นทวารหนักทวารเบา เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓) 3/201/4 3/189/23 |
40 | [๔๐๕] ภิกษุ พูดถึงอวัยวะ ส่วนบนเหนือไหปลาร้าขึ้นไป ส่วนล่างใต้เข่าลงมา และของที่เนื่องด้วยกายของสตรี เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฎ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓) 3/202/10 3/191/3 |
41 | [๔๐๖] ภิกษุ ผู้มุ่งประโยชน์ ภิกษุผู้มุ่งธรรม ภิกษุผู้มุ่งสั่งสอน ไม่เป็นอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓) 3/204/15 3/193/4 |
42 | ในสิกขาบทนี้ พึงประกอบราคะด้วย อำนาจแห่งความยินดีในวาจาอย่างเดียว (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/209/21 3/198/22 |
43 | สตรีในสิกขาบทนี้ หมายถึง สตรีที่รู้ความหมาย ของวาจาชั่วหยาบได้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/210/3 3/199/5 |
44 | ในการพูดชม เช่น ต้องพูดเชื่อมเข้ากับอวัยวะเพศ หรือทวารหนักของสตรี จึงเป็นสังฆาทิเสส (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/211/2 3/200/1 |
45 | [๔๑๕] ในสิกขาบทนี้หญิงผู้รู้ความ วาจาสุภาพ หรือชั่วหยาบ เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔) 3/222/21 3/210/20 |
46 | [๔๑๖] กะเทย เป็นวัตถุแห่ง ถุลลัจจัย , บุรุษและสัตว์ดิรัจฉาน เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔) 3/224/17 3/212/14 |
47 | ภิกษุใด กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกาม ด้วยคำพาดพิงเมถุนจังๆ จึงเป็นสังฆาทิเสส (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/240/18 3/228/5 |
48 | [๔๒๘] สตรี 10 จำพวก และภรรยา 10 จำพวก (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕) 3/254/3 3/240/7 |
49 | [๔๘๖] ภิกษุรับคำ นำไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุ รับคำ ไม่นำไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕) 3/333/15 3/318/13 |
50 | [๔๘๖] ภิกษุ ไม่รับคำ นำไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕) 3/333/20 3/318/19 |
51 | [๔๘๙] ภิกษุ ผู้ไปด้วยกรณียกิจของสงฆ์ ของเจดีย์ ของภิกษุอาพาธ ไม่เป็นอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕) 3/335/17 3/320/14 |
52 | บรรดาหญิง 10 จำพวกนี้ เฉพาะ 2 พวกหลังเท่านั้น เมื่อคบชายอื่น ย่อมเป็นมิจฉาจาร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/344/13 3/329/15 |
53 | อาบัติย่อมเกิดโดยทางกาย และวาจา แม้แก่พระอรหันต์ ผู้ไม่รู้พระบัญญัติ 3/353/5 3/337/17 |
54 | นางยักษิณี นางเปรต เป็นวัตถุ แห่งถุลลัจจัย (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/354/9 3/338/16 |
55 | [๔๙๔] ภิกษุ ขอเกินประมาณ ชาวบ้านจึงเบื่อหน่าย (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/354/15 3/339/3 |
56 | [๔๙๗] เรื่องฤๅษีขอแก้วมณี ต่อ มณีกัณฐนาคราช (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/357/22 3/342/2 |
57 | [๔๙๙] คนผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ ฝ่ายคนผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้ ก็ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/362/12 3/345/24 |
58 | [๕๐๕] คำว่า อันหาชานรอบมิได้ หมายถึง เกวียนไม่สามารถเวียนได้ หรือบันไดไม่สามารถจะทอดเวียนไปได้โดยรอบ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/368/7 3/351/14 |
59 | [๕๐๙-๕๑๓]พื้นที่มีผู้จองไว้ หรือไม่มีชานรอบ เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ พื้นที่ที่สงฆ์มิได้แสดง หรือทำเกินประมาณ เป็นวัตถุแห่ง สังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/370-3763/370-376 3/353-359 |
60 | [๕๑๕] กรณีภิกษุ สั่งเขาสร้างโดยถูกต้องแล้ว ถ้ารู้ข่าวว่าเขาสร้างให้ไม่ถูกภิกษุนั้น ต้องไปบอกหรือสั่งทูตไปบอก ถ้าไม่บอก ต้องทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/381/12 3/364/4 |
61 | [๕๑๗] ภิกษุสั่งให้สร้างโดยถูกต้อง แต่ผู้สร้าง ๆ ผิดคำสั่ง ภิกษุผู้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/389/9 3/371/6 |
62 | [๕๑๘] ภิกษุ สั่งเขาสร้างไว้แล้วหลีกไป ผู้รับคำสั่งสร้างให้ โดยสงฆ์มิได้แสดงที่ให้ เป็นต้น ทำค้างไว้เมื่อเธอกลับมาพึงให้กุฎีนั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่แก้ไขตามนี้ ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/394/13 3/376/2 |
63 | [๕๑๙] กุฎีที่ตนสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่น หรือตนเองสร้างต่อให้สำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/400/7 3/381/9 |
64 | [๕๒๐] ภิกษุ สร้างถ้ำ สร้างคูหา สร้างกุฎีหญ้า สร้างเพื่อภิกษุอื่น เว้นอาคารอันเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างนอกจากนั้นไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖) 3/400/16 3/381/18 |
65 | ถ้าโยมเขาบอกว่า ผมไม่มีเวลา ขอให้คนอื่นทำจะจ่ายค่าแรงให้ ภิกษุจึงให้คนอื่นทำ แล้วให้เขาไปเอาค่าแรงกับคนนั้น ควรอยู่ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/403/13 3/384/10 |
66 | ภิกษุ จะไปยังสำนักช่างไม้ ช่างอิฐ ช่างมุงหลังคา แล้วขอหัตถกรรมควรอยู่ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/403/17 3/384/14 |
67 | ภิกษุ เข้าไปในบ้านแล้ว สั่งให้เขานำอาสนะมาให้นั่ง ก่อนที่จะลุกไป ต้องบอกเจ้าของก่อน ถ้าไม่บอกอาสนะนั้นหาย จะต้องเป็นสินใช้แก่ ภิกษุนั้น 3/405/3 3/385/19 |
68 | ในเสนาสนะปัจจัย ภิกษุออกปากว่า ท่านจงนำมา จงให้ไม่ควร ปริกถา โอภาสนิมิตตกรรมจึงควร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/406/18 3/387/4 |
69 | คืบพระสุคต = 3 คืบของบุรุษขนาดกลาง , ในปัจจุบันนี้ = ศอกคืบ โดยคืบช่างไม้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/412/20 3/393/2 |
70 | ทำให้เกินประมาณ ไปทางด้านยาว หรือด้านกว้าง แม้เพียงปลายเส้นผมเป็นอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค ถ้าทำเสร็จเป็นสังฆาทิเสส (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/413/18 3/393/23 |
71 | [๕๓๓] ภิกษุ สั่งเขาสร้างโดยถูกต้องแล้วหลีกไป ถ้ารู้ว่าเขาสร้างให้ ไม่ถูกต้องภิกษุนั้นต้องไปบอก หรือสั่งทูตไปบอก ถ้าไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗) 3/436/21 3/415/2 |
72 | [๕๓๖] วิหารที่ตนเอง หรือคนอื่นสร้างค้างไว้ ถ้าตนเองสร้างต่อ หรือให้สร้างต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗) 3/443/4 3/421/2 |
73 | [๕๓๗] สร้างถ้ำ สร้างคูหา สร้างกุฎีหญ้า สร้างวิหารเพื่อภิกษุอื่น เว้นอาคารเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างนอกนั้นไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗) 3/443/13 3/421/11 |
74 | [๕๔๖] คำว่าหามูลมิได้คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘) 3/458/12 3/435/14 |
75 | [๕๕๓] ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุผู้กำลังทำปาราชิกธรรม มีความสงสัย ในสิ่งที่ได้เห็น กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืม ถ้าโจทว่าได้เห็น ต้องสังฆาทิเสสทุกๆคำพูด (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘) 3/464/2 3/441/5 |
76 | [๕๕๗] ภิกษุ ผู้โจทก์ได้เห็น ภิกษุผู้กำลังทำปาราชิกธรรม มีความสงสัย ในสิ่งที่ได้เห็น กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืม ถ้าสั่งให้โจทว่าได้เห็น ต้องสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘) 3/471/6 3/448/12 |
77 | [๕๕๙] จำเลยไม่บริสุทธิ์ แต่โจทก์เห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอหมายจะให้เคลื่อนต้องอาบัติทุกกฏ กับสังฆาทิเสสถ้าโจทหมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘) 3/473/21 3/451/2 |
78 | [๕๖๐] จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ โจทก์เห็นว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘) 3/474/15 3/451/17 |
79 | ที่มาของวิหารเวฬุวัน (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/476/18 3/453/13 |
80 | ภิกษุกล่าวตู่ ผู้ที่สงฆ์มิได้สมมติ ด้วยคำไม่จริง เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้ากล่าวตู่ผู้ที่สงฆ์สมมติแล้ว เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/481/21 3/458/9 |
81 | เมื่อผู้มีฤทธิ์คนเดียวพูด อัตภาพนิรมิตทั้งหมดก็พูดด้วย (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/483/17 3/460/4 |
82 | นาสนะ(การทำให้ฉิบหายเสีย) มี 3 อย่าง (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/489/8 3/465/15 |
83 | พระเถระในมหาวิหาร และอภัยคิรีวิหาร วิวาทกันในความหมาย ของพระสูตรในสมัยของพระเจ้าภาติยราช (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/490/5 3/466/8 |
84 | ความที่ปาราชิกไม่มีมูลนั้น ทรงประสงค์เอาด้วยอำนาจแห่งโจทก์ ไม่ใช่อำนาจแห่งจำเลย (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/495/3 3/470/16 |
85 | ผู้โจทก์เห็น ภิกษุออกมาจากที่กำบัง แต่ไม่เห็นการล่วงละเมิด แล้วกล่าวว่าข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่าไม่มีมูล ในเรื่องเดียวกันถ้าเขาเห็นแค่นั้นแล้วสำคัญว่าเห็นแล้วโจทชื่อว่ามีมูล ด้วยอำนาจแห่งสัญญา (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/497/11 3/472/22 |
86 | ภิกษุ โจทด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นโจทก็ตาม ชื่อว่าย่อมทำการกำจัด ทั้งนั้น (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/498/2 3/473/8 |
87 | ที่ชื่อว่า โจทก์เพลา คือ พูดไม่เจาะจงตัว (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/499/6 3/474/11 |
88 | เมื่อภิกษุส่งทูต หนังสือ หรือข่าวสาสน์ไปโจท ยังไม่เป็นการโจท แต่เมื่อบุคคลยืนอยู่ที่ใกล้ๆ แล้ว โจทด้วยหัวแม่มือ หรือเปล่งวาจา จึงถึงที่สุด แห่งการโจท (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/499/21 3/474/26 |
89 | การโจทมี 4 อย่าง คือ โจทด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/500/17 3/475/18 |
90 | การโจทจะถึงที่สุด เมื่อพูดเชื่อมต่อกับคำ เป็นต้นว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่ใช่เหล่าก่อแห่งศากยบุตร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/501/12 3/476/10 |
91 | การที่จะรับวินิจฉัยอธิกรณ์ ถ้าบริษัทหนาแน่นด้วยอลัชชี พึงวินิจฉัยด้วยอุพพาหิกาญัตติ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/503/13 3/478/6 |
92 | โจทก์เป็นอลัชชี ผู้ไม่ฉลาด พระวินัยธรไม่พึงให้การซักถามแก่เธอ ถ้าเป็นอลัชชีผู้ฉลาด ก็ซักถามได้แล้วกระทำกรรม ตามการยอมรับสารภาพ จำเลยของผู้เป็นลัชชี (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/504/4 3/478/18 |
93 | ภิกษุอลัชชีถูกภิกษุลัชชีโจท แม้เรื่องเกิดขึ้นเป็นอันมาก ก็ไม่ให้ปฏิญญาพระวินัยธรไม่ควรกล่าวว่าภิกษุนั้นบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์บุคคลนี้ ชื่อว่าตายทั้งเป็น ไม่ต้องวินิจฉัย (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/506/5 3/480/13 |
94 | ถ้าลัชชีภิกษุโจทลัชชีภิกษุ ด้วยเรื่องเล็กน้อย พระวินัยธรพึงให้ รอมชอม (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/506/16 3/480/25 |
95 | การวิวาทที่อาศัยเภทกรวัตถุ (เรื่องทำความแตกกัน) 18 อย่าง ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์การกล่าวหากัน อาศัยวิบัติ 4 ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/512/5 3/485/22 |
96 | [๕๖๗] อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์ คือ วิวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนอื่นแห่ง อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์... (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙) 3/523/8 3/496/9 |
97 | [๕๖๙] เลศ 10 อย่าง (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙) 3/525/2 3/497/22 |
98 | [๕๘๕-๕๘๘] ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสส ว่าเป็นสังฆาทิเสส หรืออื่นๆ แต่โจทเธอด้วยตนเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท ด้วยอาบัติปาราชิก...ต้องสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด ถึง 5523/532/20 3/504/16 |
99 | [๕๘๙] ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นอย่างนั้น โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท ไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙) 3/552/6 3/522/14 |
100 | เลศ คือ อาบัตินี้ ตรัสด้วยเห็นภิกษุรูปเดียวนั้น ต้องอาบัติอื่น แล้วโจทด้วยอาบัติอื่น (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/559/20 3/529/24 |
101 | [๕๙๐] พระเทวทัตและพวก กราบทูลข้อวัตถุ 5 ประการ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐) 3/561/10 3/531/13 |
102 | [๕๙๑] พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ โดยส่วน 3 (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐) 3/563/7 3/533/5 |
103 | [๕๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ทราบแล้วว่า ภิกษุนี้พยายามทำลายสงฆ์ ไม่ว่ากล่าวต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐) 3/568/18 3/537/24 |
104 | [๕๙๗] เมื่อต้องสังฆาทิเสส เพราะจบกรรมวาจา ครั้งที่ 3 แล้ว อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง ย่อมระงับ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐) 3/570/13 3/539/21 |
105 | [๕๙๙] ภิกษุ ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ภิกษุผู้สละเสียได้ ไม่ต้องอาบัติ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐) 3/571/13 3/540/13 |
106 | เนื้อที่เขาทำเพื่อประโยชน์แห่งเปตกิจ แก่ผู้ตายไปแล้ว เพื่อประโยชน์แก่งานมงคล ย่อมควร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/577/15 3/546/12 |
107 | เนื้อที่เขาทำเจาะจงภิกษุพวกใด พวกนั้นรู้และพวกอื่นก็รู้ ย่อมไม่ควรแก่พวกที่รู้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/577/19 3/546/16 |
108 | บุคคลใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพียง ย่อมหมกไหม้ในนรกชั่วกัป (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/580/22 3/549/8 |
109 | ข่าวภิกษุใดมุ่งทำลายสงฆ์ ในระยะกึ่งโยชน์ ภิกษุทั้งหลายส่งทูต หรือจดหมายไปพูด ยังไม่พ้นอาบัติ พึงไปห้ามเองทีเดียว (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/583/19 3/552/1 |
110 | [๖๐๒] ภิกษุทั้งหลาย รู้ว่ามีภิกษุสนับสนุน ผู้มุ่งทำลายสงฆ์ พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้น แม้ 3 ครั้ง ถ้าไม่ว่ากล่าวต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑) 3/591/19 3/560/1 |
111 | [๖๐๕] กรรมในการสวดสมนุภาสไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นธรรมไม่สละต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๑) 3/595/6 3/562/22 |
112 | [๖๐๖] ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ภิกษุผู้สละเสียได้ ไม่ต้องอาบัติ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/595/9 3/563/2 |
113 | สงฆ์จะทำกรรมแก่สงฆ์ไม่ได้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/596/7 3/564/3 |
114 | [๖๐๙] ภิกษุเหล่าใด เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ ซึ่งภิกษุผู้ว่ายากนั้นต้องตักเตือนภิกษุนั้นแม้ 3 ครั้ง ถ้าไม่ตักเตือนต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒) 3/601/4 3/569/2 |
115 | ธรรมอันทำความเป็นผู้ว่ายาก 18 อย่าง (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/606/9 3/573/21 |
116 | [๖๑๗] พระพุทธองค์ทรงตำหนิ ความประพฤติไม่เหมาะสม เหล่านี้ ของภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓) 3/614/11 3/581/1 |
117 | [๖๑๙] วิธีทำปัพพาชนียกรรม (ขับออกจากหมู่) พึงโจท แล้วให้จำเลยให้การแล้วพึงยกอาบัติขึ้น (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓) 3/617/10 3/583/17 |
118 | [๖๒๒] เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล คือ ประจบสกุลด้วยดอกไม้ ผลไม้ การแพทย์การสื่อสาร... เป็นต้น (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓) 3/624/3 3/589/14 |
119 | [๖๒๕] ภิกษุที่ได้ยินว่า ผู้นี้ประจบชาวบ้าน เลวทราม แล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ (สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๓) 3/625/7 3/590/22 |
120 | ภิกษุ ที่ดำเนินการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ในวิหาร หรือซ่อมแซมของเก่า เรียกว่าเจ้าอาวาส ส่วนภิกษุผู้เพียงแต่อยู่ในวิหาร เรียกว่า ภิกษุเจ้าถิ่น (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/630/13 3/595/18 |
121 | ภิกษุ อลัชชีเลวทรามได้แก่ เป็นพวกภิกษุไม่มีความละอาย ลามก (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/631/1 3/596/5 |
122 | ประวัติพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/631/5 3/596/8 |
123 | อธิบายลักษณะ 5 อย่าง คือ อกัปปิยโวหาร กัปปิยโวหาร ปริยาย โอภาสนิมิตกรรม (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/633/14 3/598/13 |
124 | คำในอรรถกถา ไม่ได้ละมติของพระสาวก ทั้งหลายผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว เว้นคำที่พลั้งเผลอแล้วย่อมเป็นประมาณได้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/636/12 3/600/26 |
125 | วินิจฉัยอาบัติในการปลูกต้นไม้ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/637/18 3/602/3 |
126 | ข่าวสาส์นที่เป็นกัปปิยะ ไม่เกี่ยวด้วยการงานของพวกคฤหัสถ์ ......ย่อมควร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/650/4 3/613/12 |
127 | ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ถูกสงฆ์ขับไล่แล้ว จะอยู่ในวัดหรือนครนั้นไม่ได้เลย (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/652/1 3/615/4 |
128 | หมู่บ้านที่ไม่มีกำแพงเป็นเครื่องล้อม มีร้านตลาด เรียกว่า นิคม (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/654/1 3/617/4 |
129 | เป็นอาบัติถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ให้ดอกไม้ ที่เขากำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ แก่เสนาสนะ โดยถือว่าตนเป็นใหญ่ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/654/14 3/617/18 |
130 | ผลไม้ที่เป็นของตน ภิกษุจะให้แก่ พวกคนไข้ หรืออิสรชนผู้หมดเสบียงมา...ก็ควร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/657/5 3/619/24 |
131 | สงฆ์ ควรตั้งกติกากำหนดผลไม้ หรือต้นไม้ เมื่อคนไข้ หรือคนอื่น ๆ มาขอ (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/657/10 3/620/3 |
132 | ภิกษุรับสาส์น ของพวกคฤหัสถ์ แล้วเดินไป เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า แม้เมื่อฉันโภชนะที่อาศัยกรรมนั้นได้มา ก็เป็นทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/658/7 3/620/20 |
133 | ภิกษุจะส่งสาส์นของพวกสหธรรมิก 5 ของมารดาบิดา ของคนเตรียม ที่จะบวช และของไวยาวัจกรของตน ควรอยู่ แม้ข่าวที่สมควรของพวกคฤหัสถ์ก็ควร (เตรสกัณฑวรรณนา) 3/658/16 3/621/5 |
134 | [๖๓๓] ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ ภิกษุ หรือมาตุคาม ขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้ (อนิยตสิกขาบทที่ ๑) 3/667/3 3/629/1 |
135 | [๖๓๓] อาสนะที่ชื่อว่ากำบัง คือ กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบังต้นไม้ เสา หรือฉาง (อนิยตสิกขาบทที่ ๑) 3/667/6 3/629/5 |
136 | [๖๓๖-๖๔๓] ถ้าอุบาสิกา บอกว่าเห็นภิกษุ นั่ง/นอน...กับมาตุคาม ภิกษุรับว่านั่ง/นอน พึงปรับเพราะการนั่ง/นอน ถ้าภิกษุบอกว่า ข้าพเจ้ายืนไม่พึงปรับ (อนิยตสิกขาบทที่ ๑) 3/668-6723/668-672 3/630-634 |
137 | เมื่อมีบุรุษ ผู้รู้เดียงสานั่งอยู่ใกล้บานประตู ที่เปิด หรือนั่ง โอกาสภายใน 12 ศอกคุ้มอาบัติได้ ส่วนคนตาบอด หรือสตรีตั้ง 100 คุ้มอาบัติไม่ได้ (อนิยตวรรณนา) 3/675/13 3/636/25 |
138 | เรื่อง ภิกษุไปบิณฑบาต เห็นพระขีณาสพนั่งกับมาตุคาม (อนิยตวรรณนา) 3/677/2 3/638/4 |
139 | กิเลสที่อาศัยเมถุนธรรม ตรัสเรียกว่า ความยินดีการนั่งในที่ลับ (อนิยตวรรณนา) 3/679/2 3/640/2 |
140 | [๖๔๖] ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้ (อนิยตสิกขาบทที่ ๒) 3/684/12 3/645/14 |
141 | [๖๕๖] ภิกษุ ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ,อาบัติ. ภิกษุ ไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่งไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ (อนิยตสิกขาบทที่ ๒) 3/689/5 3/649/17 |
142 | คนรู้เดียงสา ผู้หนึ่งจะเป็น ชาย หรือหญิง ที่ไม่ตาบอด หูไม่หนวก ยืนหรือนั่ง ภายในโอกาส 12 ศอก จะมีจิตฟุ้งซ่านไปบ้าง เคลิ้มไปบ้างก็คุ้มอาบัติได้ (อนิยตวรรณนา) 3/691/14 3/652/7 |
143 | [๓] อดิเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐานยังไม่ได้วิกัป (จีวรวรรคสิกขาบทที่๑) 3/697/6 3/657/14 |
144 | [๗] จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ ถ้าบริโภคต้องอาบัติทุกกฏ 3/700/2 3/660/9 |
145 | [๘] ภายใน 10 วัน ภิกษุอธิษฐาน ภิกษุวิกัปไว้ ภิกษุสละให้ไป จีวรหาย จีวรฉิบหาย จีวรถูกไฟไหม้ จีวรถูกโจรชิง ภิกษุถือวิสาสะ...ไม่ต้องอาบัติ (จีวรวรรคสิกขาบทที่๑) 3/700/10 3/660/18 |
146 | [๙] จีวรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใด ไม่คืนให้...ต้องอาบัติทุกกฏ (จีวรวรรคสิกขาบทที่๑) 3/702/3 3/662/10 |
147 | พระอานนท์ได้ จีวรที่ชอบใจ ย้อมแล้วกระทำพินทุกัปปะ แล้วถวายแก่ พระสารีบุตร 3/703/13 3/663/19 |
148 | แม้การเดาะกฐินในระหว่าง ก็มาในภิกขุนีวิภังค์ (สงฆ์ประกาศเดาะกฐิน) 3/706/22 3/666/24 |
149 | จีวร 6 ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าป่าน ผ้าผสมกัน 3/708/5 3/668/2 |
150 | ทรงอนุญาตให้วิกัปจีวรอย่างต่ำ ด้านยาว 8 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต 3/708/9 3/668/9 |
151 | จีวรที่พับไว้ผูกรวมกันเก็บไว้ เป็นอาบัติตัวเดียว เมื่ออรุณวันที่ 11 ขึ้นมา 3/709/13 3/669/9 |
152 | การเสียสละผ้า และแสดงอาบัติเมื่อไม่สามารถจะกล่าวบาลีได้ พึงกล่าวโดยภาษาอื่นก็ได้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/710/15 3/670/7 |
153 | ภิกษุ ใช้สอยจีวรของภิกษุอื่น ไม่เป็นอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/715/1 3/674/5 |
154 | จีวรที่ควรอธิษฐาน และวิกัป (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/715/8 3/674/16 |
155 | ขนาดอย่างต่ำของจีวร และสังฆาฏิ ยาว 5 ศอกกำ กว้าง 3 ศอกกำ สบงยาว 5 ศอกกำ กว้าง 2 ศอกก็ควร เพราะอาจเพื่อจะปกปิด สะดือด้วย ผ้านุ่งบ้าง ผ้าห่มบ้าง (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/716/4 3/675/7 |
156 | จีวรที่เกิน และหย่อนกว่าประมาณของไตรจีวร พึงอธิษฐานว่า บริขารโจล 3/716/10 3/675/13 |
157 | การอธิษฐานจีวรมี 2 อย่าง คือ อธิษฐานด้วยกาย ด้วยวาจา (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/716/12 3/675/15 |
158 | ถ้าทำผ้านุ่งห่ม ด้วยผ้าที่อธิษฐานเก็บไว้ เมื่อย้อมและกัปปะแล้วพึงถอนอธิษฐานแล้วอธิษฐานใหม่ ถ้าเย็บแผ่นผ้าใหม่ที่เล็กกว่า หรือเท่ากัน. เข้ากับจีวรที่อธิษฐานแล้วไม่ต้องอธิษฐานใหม่ ถ้าใหญ่กว่าให้ อธิษฐานใหม่ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/717/8 3/676/8 |
159 | ผ้าปูนอน ถึงใหญ่มากผืนสีเขียว สีเหลือง มีชายเป็นลายดอกไม้ ย่อมควรทุกประการ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/718/18 3/677/15 |
160 | ผ้าบริขารโจล ไม่จำกัดจำนวน ในเสนาสนะบริขาร ไม่มีกิจที่ต้องอธิษฐาน 3/719/7 3/677/25 |
161 | จีวรที่อธิษฐานแล้ว จะละอธิษฐานด้วยเหตุ 9 อย่าง (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/719/18 3/678/10 |
162 | ผ้าไตรจีวรย่อมละอธิษฐาน ด้วยช่องทะลุเท่าหลังเล็บนิ้วก้อย เมื่อทะลุแล้วจัดเป็นอดิเรกจีวร พึงเย็บแล้วอธิษฐานใหม่ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/720/4 3/678/23 |
163 | สำหรับจีวร 2 ชั้น เมื่อชั้นหนึ่งขาด ยังไม่ถือว่าขาดอธิษฐาน ถ้าตัดผ้าออกก่อนแล้วเย็บภายหลัง ผ้านั้นขาดอธิษฐาน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/723/12 3/681/14 |
164 | ในการวิกัปต่อหน้า ภิกษุวิกัปเองแล้วให้ผู้อื่นถอนได้ ในวิกัปลับหลัง ภิกษุให้คนอื่นวิกัปแล้ว ให้คนอื่นถอน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/726/5 3/683/25 |
165 | สำหรับภิกษุ ผู้มีความสงสัยว่าผ้านั้น อธิษฐานแล้วหรือยัง จะพึงทำอย่างไร ? 3/728/6 3/685/17 |
166 | ถ้าภิกษุ ผู้รับสละจีวร ชิงเอาจีวรนั้นด้วยเลศ พึงให้ตีราคาสิ่งของปรับอาบัติ 3/728/16 3/686/1 |
167 | [๑๑] ทรงอนุญาตให้ สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่ภิกษุผู้ป่วย (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/732/11 3/689/12 |
168 | [๒๒] ภิกษุ เก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียนของสกุลเดียว ไม่พึงละ 7 อัพภันดร ทางด้านหน้าและหลัง ส่วนด้านข้าง ไม่พึงละ 1 อัพภันดร, ในหมู่เกวียนของต่างสกุล เก็บผ้าไว้หมู่เกวียนใดไม่พึงละจากหัตถบาส (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/738/22 3/695/14 |
169 | [๒๗] โคนไม้ของสกุลเดียวที่มีเงาแผ่ไปโดยรอบ ในเวลาเที่ยง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตเงานั้น ต้องอยู่ภายในเขตเงาของโคนไม้, โคนไม้ของต่างสกุลภิกษุไม่พึงละจากหัตถบาส (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/740/2 3/696/14 |
170 | [๒๘] ภิกษุ เก็บจีวรไว้ในที่แจ้งในป่า อันหาบ้านมิได้ ไม่พึงละ 7 อัพภันดรโดยรอบ (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/740/5 3/696/17 |
171 | [๓๐] ภิกษุ ไม่สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ , จีวรไม่อยู่ปราศจาก สำคัญว่าอยู่ปราศจาก หรือสงสัย บริโภคต้องอาบัติทุกกฏ (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/741/8 3/697/16 |
172 | [๓๑] ในภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย , ภิกษุสละให้ไป, จีวรหาย, จีวรฉิบหาย, จีวรถูกไฟไหม้,จีวรถูกโจรชิง,ภิกษุถือวิสาสะ, ภิกษุได้รับสมมติ..ไม่ต้องอาบัติ (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/741/14 3/698/2 |
173 | ไตรจีวรที่ภิกษุถอนอธิษฐาน จะตั้งอยู่ในฐานะอดิเรกจีวร (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/743/13 3/699/20 |
174 | คำว่า ไม่พึงละจากหัตถบาส คือ ไม่พึงละให้ห่างจากเรือนนั้น โดยประมาณ 2 ศอกคื (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/745/10 3/701/20 |
175 | หัตถบาส แห่งจีวรเท่านั้น ชื่อว่า หัตถบาสในไร่นาที่ไม่ได้ล้อม (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/749/4 3/705/2 |
176 | ในเวลาทำอุโบสถในป่า พึงชำระ 7 อัพภันดรสีมาให้หมดจดตั้งแต่ ภิกษุองค์สุดท้ายแห่งบริษัท (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/750/5 3/705/26 |
177 | ภิกษุวางจีวรไว้ริมฝั่งแม่น้ำ กำลังสรงน้ำอยู่ อรุณขึ้นก่อน เธอตั้งอยู่ใน ฐานะแห่งภิกษุผู้มีจีวรหาย เพราะจีวรเหล่านั้นเป็นของไม่ควรบริโภค (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/750/9 3/706/6 |
178 | [๓๔] อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เมื่อไม่ได้กรานกฐินเกิดได้ตลอด 11 เดือนเว้นเดือนกัตติกาหลัง 1 เดือน เมื่อได้กรานกฐินแล้วเกิดได้ตลอด 7 เดือน เว้น 5 เดือน คือ เดือนกัตติกานั้นด้วย 4 เดือนฤดูหนาวด้วย (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/757/12 3/712/14 |
179 | อรรถกถาอธิบายไว้ 3/765/8 3/720/2 |
180 | [๓๖] คำว่า เมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่ คือ มีความหวังว่าจะได้จากสงฆ์ คณะ ญาติ มิตร ที่บังสุกุล แต่ทรัพย์ของตน (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/758/5 3/713/9 |
181 | [๓๘] เมื่อจีวรเดิมเกิดขึ้นแล้ว จีวรที่หวังจึงเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน และราตรียังเหลืออยู่ ภิกษุไม่ต้องการก็ไม่พึงให้ทำ (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/762/17 3/717/10 |
182 | [๔๐] จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ, จีวรยังไม่ล่วงเดือน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว หรือ สงสัยบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/763/20 3/718/14 |
183 | [๔๑] ภายใน 1 เดือน ภิกษุอธิษฐาน, ภิกษุวิกัปไว้, ภิกษุสละให้ไป, ผ้าหาย, ผ้าฉิบหาย, ผ้าถูกไฟไหม้, ผ้าถูกโจรชิง ภิกษุถือวิสาสะ...ไม่เป็นอาบัติ (จีวรวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/764/7 3/719/2 |
184 | คำว่า ทรัพย์ของตน ได้แก่ ทรัพย์มีฝ้ายและด้าย เป็นต้น ของตน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/766/12 3/721/5 |
185 | ถ้าจีวรเดิมเป็นเนื้อผ้าหยาบ จีวรใหม่เป็นเนื้อละเอียด พึงอธิษฐานจีวรเดิมให้เป็นบริขารโจล แล้วเก็บจีวรใหม่ให้เป็นจีวรเดิม เก็บไว้ได้อีก 1 เดือน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/767/6 3/721/25 |
186 | [๔๓] ภิกษุ สั่งว่า จงซัก จงย้อม จงทุบ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำสั่ง, เมื่อภิกษุณีทำตามสั่งนั้น เป็นนิสสัคคีย์ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔) 3/771/16 3/726/7 |
187 | [๔๔] ภิกษุ ใช้ภิกษุณีให้ซักจีวรเก่าของภิกษุอื่น ซักผ้าปูนั่ง ซักผ้าปูนอนต้องอาบัติทุกกฏ ใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซักต้องอาบัติทุกกฏ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔) 3/777/13 3/732/2 |
188 | [๔๕] ภิกษุณี ผู้เป็นญาติ ซักให้เอง ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ, ภิกษุไม่ไม่ได้บอกใช้ ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ซักให้เอง, ภิกษุใช้ให้ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค, ภิกษุใช้ให้ซักบริขารอย่างอื่นเว้นจีวร, ใช้สามเณรีให้ซัก.....ไม่ต้องอาบัติ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔) 3/777/21 3/732/10 |
189 | อธิบายบุคคลที่จัดเป็นญาติ และมิใช่ญาติ ตลอด 7 ชั่วยุค (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/778/10 3/733/6 |
190 | ภิกษุณีที่ถูกภิกษุใช้ จัดเตรียมการจะซัก ย่อมเป็นทุกกฏแก่ภิกษุ ทุกๆประโยค (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/780/15 3/735/9 |
191 | ภิกษุ ใช้ภิกษุณีให้ซัก ถุงรองเท้า ถลกบาตร ประคดเอว เตียง ตั่ง ฟูก เสื่ออ่อน ไม่เป็นอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/783/5 3/737/16 |
192 | [๔๘] สหธรรมิกทั้ง 5 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕) 3/788/6 3/742/5 |
193 | อรรถกถาอธิบายไว้ 3/795/1 3/749/5 |
194 | [๔๙] ภิกษุรับ เป็นทุกกฏ ในประโยคที่รับ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕) 3/789/18 3/743/20 |
195 | ภิกษุรับเอาจีวรที่ภิกษุณีฝากไปในมือของ สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ไม่เป็นอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/795/8 3/749/13 |
196 | [๕๔] ภิกษุ ผู้ถูกโจรชิงผ้า ไม่ควรเปลือยกายเดินมา รูปใดเปลือยกายเดินมาต้องอาบัติทุกกฏ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖) 3/802/11 3/756/4 |
197 | [๕๕] ภิกษุขอนอกจากสมัย เป็นทุกกฏที่ขอ เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมา 3/804/15 3/758/6 |
198 | [๕๗] ภิกษุขอในสมัย, ขอต่อญาติ, ขอต่อคนปวารณา, ขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน, ไม่เป็นอาบัติ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖) 3/807/2 3/760/11 |
199 | ภิกษุหนุ่มจะหักกิ่งไม้ ใบไม้ เอาปอถักแล้ว ให้ผ้าของตน แก่พระเถระผู้ถูกโจรชิงผ้า ตนเองก็นุ่งปอถัก ไม่เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ไม่เป็นทุกกฏ เพราะทรงผ้าธงชัยของเดียรถีย์ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/809/3 3/762/18 |
200 | ภิกษุ ผู้ถูกโจรชิงผ้า เมื่อได้ผ้าแบบใด เป็นกัปปิยะบ้าง อกัปปิยะบ้าง ควรนุ่งห่มได้ทั้งนั้น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/809/11 3/763/2 |
201 | ผ้าของเจดีย์ ของสงฆ์ แม้ไม่ขออนุญาตก่อนก็ถือเอาได้ โดยคิดว่าเมื่อได้ผ้าแล้วจะคืนให้ แต่เมื่อไปต่างถิ่นแล้ว ให้คืนผ้าไว้วัดใดวัดหนึ่งเพื่อเป็น ของสงฆ์หรือถ้าผ้านั้นเสียหายไป ก็ไม่เป็นสินใช้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/810/15 3/764/4 |
202 | ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอ คือผู้สั่งให้จ่าย หรือ สั่งให้แลกเปลี่ยน ด้วยกัปปิยภัณฑ์ของตน โดยกัปปิยโวหารเท่านั้น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/812/1 3/765/8 |
203 | [๕๙] ผ้าไตรจีวร ถ้าหายผืนเดียว อย่าพึงยินดีที่จะขอผ้าเลย (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗) 3/817/5 3/770/4 |
204 | [๖๑] ภิกษุ นำเอาไปด้วยคิดว่า จะนำผ้าที่เหลือมาคืน, เขาบอกว่าจีวรที่เหลือจงเป็นของท่านรูปเดียว , เขาไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรถูกชิงไป, เขาไม่ได้ถวายเพราะเหตุจีวรหาย , ภิกษุขอต่อญาติ, ขอต่อคนปวารณา, จ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน... ไม่เป็นอาบัติ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๗) 3/819/12 3/772/14 |
205 | [๖๓] เขาจ่ายจีวรตามที่ภิกษุนั้นบอก เป็นทุกกฏในประโยคที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้จีวรมา (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘) 3/827/20 3/780/14 |
206 | [๖๕] ภิกษุขอต่อญาติ ขอต่อผู้ปวารณา, ขอเพื่อภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน, ให้เขาจ่ายผ้าราคาถูก...ไม่ต้องอาบัติ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๘) 3/830/7 3/783/2 |
207 | [๖๗] เขาจ่ายจีวรดีตามที่ภิกษุนั้นบอก เป็นทุกกฏในประโยคที่เขาจ่าย เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้ผ้ามา (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙) 3/840/13 3/792/11 |
208 | [๖๙] ภิกษุขอต่อญาติ หรือผู้ปวารณา, ขอเพื่อภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน,ให้เขาจ่ายจีวรราคาถูก...ไม่ต้องอาบัติ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๙) 3/843/4 3/795/2 |
209 | [๗๑] ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย แก้วผลึก (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐) 3/849/16 3/801/4 |
210 | [๗๓] ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรถวายเอง, เจ้าของเขาทวงเอามาถวาย... ไม่เป็นอาบัติ (จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐) 3/853/18 3/805/2 |
211 | อธิบาย การทวง การยืน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/857/14 3/808/12 |
212 | กัปปิยการก มี 2 (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/860/1 3/810/19 |
213 | พระพุทธองค์ให้ยินดี สิ่งที่เป็นกัปปิยะ จากเงิน ทอง แต่ไม่ได้ให้ภิกษุแสวงหาเงินทอง (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/862/7 3/812/19 |
214 | ไวยาวัจกร 4 จำพวก ที่ทูตแสดงนี้ ไม่มีกำหนดการทวง , ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่าจะทวงมากครั้งก็ควร หรือให้กัปปิยการกอื่น ให้นำมาก็ได้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/862/14 3/813/1 |
215 | กัปปิยการก ผู้ออกปากเอง กัปปิยการกลับหลัง ที่ทูตไม่ได้แสดง พึงปฏิบัติ เหมือนใน จีวรวรรคสิกขาบทที่ 6 ถ้ากัปปิยการกนำมาถวายเอง พึงรับ ถ้าไม่นำมาไม่พึงพูดคำอะไรเลย (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/862/19 3/813/6 |
216 | ถ้าใคร ๆ นำทองเงิน มาถวายแก่สงฆ์ กล่าวว่า ท่านจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ ภิกษุไม่ควรรับ พึงปฏิเสธ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/863/14 3/813/24 |
217 | ถ้าเขาไม่ระบุสงฆ์ คณะ บุคคล แต่ถวายแก่เจดีย์ วิหาร เพื่อนวกรรม จะปฏิเสธไม่ควร พึงบอกแก่พวกกัปปิยการกว่า เขาพูดอย่างนี้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/864/5 3/814/12 |
218 | ถ้าเขาถวายเงินทอง แก่สงฆ์ ว่า ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย 4 เถิด ไม่ควรรับและบริโภค (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/864/10 3/814/17 |
219 | เขาถวายเพื่อประโยชน์ปัจจัย 4 พึงน้อมไปเพื่อปัจจัยที่ต้องการ,ถวายเพื่อจีวรพึงน้อมไปในจีวรเท่านั้น ถ้าจะใช้เพื่อประโยชน์อื่น พึงอปโลกน์ ด้วยความเห็นดีแห่งสงฆ์ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/864/21 3/815/2 |
220 | เขาถวายบึงใหญ่แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์รับเป็นอาบัติทั้งรับ ทั้งการบริโภค 3/865/15 3/815/17 |
221 | ถ้าภิกษุผู้ไม่เข้าใจ รับ หรือให้สร้างสระ โดยอกัปปิยโวหาร สระนั้นไม่ควรบริโภคใช้สอย แม้กัปปิยภัณฑ์ที่อาศัยสระนั้น ก็ไม่ควร. ถ้าภิกษุทั้งหลายสละแล้ว เจ้าของ(สระ)ถวายใหม่ด้วยกัปปิยโวหาร สระนั้นควร หรือผู้มีอำนาจริบคืนแล้ว ถวายใหม่ ให้ถูกต้อง ก็ควร (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/867/12 3/817/8 |
222 | ภิกษุไม่ควรจัดการ เงินทอง แม้สิ่งของที่ได้มาจากเงินทอง ที่ภิกษุจัดการนั้นเป็นของไม่ควรแก่พวกภิกษุทั่วไป (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/869/8 3/818/21 |
223 | ภิกษุ ไม่ควรจัดการข้าวเปลือก แม้สิ่งของที่ได้จากการจัดการข้าวเปลือกนั้นไม่ควรแก่ภิกษุผู้จัดการเท่านั้น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/869/14 3/819/3 |
224 | ภิกษุ จัดการข้าวสาร หรือ อปรัณชาติ (เช่น ถั่ว งา ) ได้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/869/19 3/819/8 |
225 | ภิกษุผู้ไม่ประมาท ไม่ละการปฏิบัติขัดเกลา ไม่พึงกระทำความโลเล เพื่อประโยชน์แก่อามิส แม้ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/870/16 3/820/1 |
226 | ถ้าเขาบอกถวายป่า ควรจะรับไว้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/871/3 3/820/10 |
227 | ถ้าเขาถวายเขตแดน ภิกษุทั้งหลายไม่ควรปักเสา หรือวางหินเพื่อกำหนดเขตแดนเอง (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/871/14 3/820/20 |
228 | ในกรรมอันเป็นของสงฆ์ ภิกษุรูปใดทำกรรมเป็นธรรม ภิกษุนั้นเป็นใหญ่ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/872/6 3/821/7 |
229 | ถ้าอารามิกชนทำงานสงฆ์ เท่านั้น พึงกระทำแม้การพยาบาลทุกอย่างแก่เขาเหมือนกับสามเณร (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/872/19 3/821/20 |
230 | พวกชาวบ้านถวายช้าง ม้า วัว ควาย ไก่ หมู ภิกษุจะรับไม่ควร (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/873/14 3/822/12 |
231 | เมื่อเขากล่าวว่า ถวายสระ นา ไร่นี้ แก่วิหาร ภิกษุจะปฏิเสธไม่ได้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/873/19 3/822/17 |
232 | [๗๕] สันถัต ได้แก่ ที่รองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๑) 3/878/4 3/826/16 |
233 | [๗๗] ภิกษุ ทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก ปลอกหมอน...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๑) 3/880/11 3/828/18 |
234 | [๗๙] ภิกษุ ทำเองหรือใช้ให้เขาทำ เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ เมื่อได้สันถัตมาเป็นนิสสัคคีย์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/884/20 3/833/7 |
235 | [๘๑] ภิกษุทำเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก ปลอกหมอน...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/887/6 3/835/16 |
236 | [๘๕] ภิกษุถือเอาขนเจียมขาว/แดง มากกว่า หรือขนเจียมขาว/แดงล้วนๆ แล้วทำ ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก ปลอกหมอน ...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/893/11 3/842/15 |
237 | [๙๐] ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้วใช้สอย ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้นม่าน เปลือกฟูก ปลอกหมอน หรือได้รับสมมติ...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๔) 3/902/12 3/851/12 |
238 | [๙๒] สาวกไม่ควรตั้ง หรือถอนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๕) 3/907/3 3/855/15 |
239 | [๙๖] ภิกษุ หาสันถัตเก่าไม่ได้ หรือไม่ถือเอาเลย แล้วทำ, ได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย, ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก ปลอกหมอน...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๕) 3/912/17 3/861/5 |
240 | ภิกษุ ไม่ควรกระทำ กติกาวัตรอันไม่เป็นธรรม (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/913/13 3/862/2 |
241 | การบัญญัติสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติ หรือการถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว นี้เป็นพุทธวิสัย (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/915/9 3/863/19 |
242 | ภิกษุ ใดสอดขนเจียมลงในระหว่างถลกบาตรบางๆ ก็ดีในหลืบผ้ารัดเข่า และประคดเอว ในฝักมีด เพื่อป้องกันสนิมกรรไกร โดยที่สุดป่วยเป็นลม ยอนขนเจียมไว้ในช่องหูแล้วเดินไป เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/926/3 3/873/20 |
243 | [๑๐๓] ภิกษุ ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ให้ซัก ให้ย้อม ให้สาง ซึ่งขนเจียม เป็นทุกกฏ 2 ตัว กับนิสสัคคีย์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๗) 3/932/19 3/880/9 |
244 | [๑๐๔] ภิกษุณี ผู้เป็นญาติซักให้ ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเป็นผู้ช่วยเหลือ, ภิกษุไม่ได้ ไม่ได้บอกใช้ ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติซักให้เอง, ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ , ใช้สิกขมานาซัก , ใช้สามเณรีซัก...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๗) 3/937/2 3/884/6 |
245 | [๑๐๕] ภิกษุใดรับ หรือให้รับซึ่งทองเงิน หรือยินดีทองเงิน อันเขาเก็บไว้ให้เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/940/17 3/887/18 |
246 | [๑๐๖] เงินทองที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องสละในท่ามกลางสงฆ์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/942/3 3/889/1 |
247 | [๑๐๖] ของที่เป็นกัปปิยะอันได้มาจากเงินที่สละ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้รับ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/942/15 3/889/15 |
248 | [๑๐๖] องค์ 5 ของภิกษุผู้ทิ้งทองเงิน (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/943/2 3/889/21 |
249 | [๑๐๖] ถ้าภิกษุผู้รับสมมติ ทิ้งทองเงินหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/943/18 3/890/15 |
250 | [๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ รับรูปิยะเป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/944/6 3/891/2 |
251 | [๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัด ภายในที่อยู่ ภิกษุเก็บด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใดผู้นั้นจะนำไป...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/944/14 3/891/10 |
252 | มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ 7 ชนิด ทาสชาย ทาสหญิง นา ไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/946/8 3/893/6 |
253 | ถ้าภิกษุรับนิสสัคคิยวัตถุ เพื่อตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. รับเพื่อผู้อื่นเป็นทุกกฏ. รับทุกกฏวัตถุเพื่อประโยชน์ทุกอย่างเป็นทุกกฏ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/946/13 3/893/12 |
254 | เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับเงินเป็นต้น แม้ทั้งหมดด้วยหน้าที่ ภัณฑาคาริก เพื่อต้องการเก็บไว้ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/946/18 3/893/17 |
255 | ภิกษุรับ หรือใช้ให้รับทองเงิน เป็นอาบัติตามจำนวนวัตถุ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/947/7 3/894/2 |
256 | เขาเอาเงินมาถวาย ภิกษุต้องปฏิเสธ แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกาย หรือวาจารับอยู่ด้วยจิตย่อมต้องอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/947/13 3/894/8 |
257 | ปัจจัยที่ได้จาก รูปิยะที่ภิกษุรับไม่ควรแก่เธอผู้รับ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/949/3 3/895/17 |
258 | ปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ยังไม่ได้พิจารณา จะบริโภคก็ไม่ควร 3/951/14 3/897/23 |
259 | การบริโภคมี 4 อย่าง คือ บริโภคอย่างขโมย บริโภคอย่างเป็นหนี้ บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/951/17 3/898/2 |
260 | สุทธิ (ความหมดจด) มี 4 อย่าง (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/952/10 3/898/16 |
261 | การบริโภคมี 4 อย่าง คือ ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิยบริโภค อธัมมิยบริโภค (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/953/21 3/900/2 |
262 | อลัชชีภิกษุแม้รูปเดียว ย่อมทำให้ภิกษุเป็นอลัชชีได้แม้ตั้งร้อยรูป 3/954/10 3/900/13 |
263 | ภิกษุลัชชียกย่องอลัชชี ภิกษุนี้ชื่อว่า ทำศาสนาให้อันตรธานไป 3/955/7 3/901/6 |
264 | เรียน คัณฐะ จากคนเลวเพื่ออนุเคราะห์ธรรม (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/955/17 3/901/16 |
265 | เขาผูกเงินไว้ที่ชายผ้า ภิกษุรับเอาด้วยสำคัญว่าผ้า ชื่อว่าผู้มีความสำคัญในรูปิยะว่ามิใช่รูปิยะ รับเอารูปิยะ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/956/14 3/902/14 |
266 | [๑๐๙] ภิกษุใด ถึงความซื้อขาย ด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๙) 3/959/18 3/905/15 |
267 | [๑๑๐] สิ่งของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น ต้องเสียสละใน ท่ามกลางสงฆ์ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๙) 3/962/3 3/907/16 |
268 | [๑๑๐] ถ้าอุบาสกนำของที่เสียสละ นั้นไป เปลี่ยนเป็นกัปปิยภัณฑ์มาถวายกัปปิยภัณฑ์นั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ แต่ควรกับภิกษุอื่น 3/962/16 3/908/3 |
269 | [๑๑๐] ภิกษุผู้รับสมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะต้องไม่หมายที่ตก ถ้าหมายที่ตกต้องอาบัติทุกกฏ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๙) 3/963/18 3/909/5 |
270 | ภิกษุ ซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ด้วย วัตถุแห่งทุกกฏ. เป็นทุกกฏในเพราะรับมูลค่าเป็นปาจิตตีย์ เพราะการแลกเปลี่ยน. ถ้าซื้อขายทุกกฏวัตถุ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏเพราะรับและเป็นทุกกฏเพราะซื้อขาย (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/966/21 3/912/13 |
271 | ภิกษุ ซื้อขายวัตถุนิสสัคคีย์ ด้วยกัปปิยวัตถุ ไม่เป็นอาบัติเพราะรับมูลค่า(กัปปิยวัตถุ) แต่เป็นปาจิตตีย์ด้วยการซื้อขาย (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/967/21 3/913/11 |
272 | ภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏ ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นทุกกฏเพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/968/3 3/913/15 |
273 | ภิกษุประกอบการหากำไร เป็นทุกกฏ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/968/11 3/913/23 |
274 | ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้วจ้างให้ขุดแร่เหล็ก ด้วยรูปิยะนั้นแล้ว ให้ทำบาตรบาตรนี้เป็นมหาอกัปปิยะ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/968/14 3/914/2 |
275 | ถ้าภิกษุ รับเงินแล้วซื้อบาตรด้วยเงินนั้น บาตรนั้นไม่สมควรแม้แก่ สหธรรมิกทั้ง 5 ต้อง คืนเงินให้เจ้าของเงิน และคืนบาตรให้เจ้าของบาตร (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/969/1 3/914/11 |
276 | ถ้าภิกษุ ไม่ได้รับเงิน แต่ทำการซื้อขาย สิ่งของที่ได้มานั้นไม่ควรแก่ภิกษุนั้นรูปเดียว แต่ควรแก่ภิกษุอื่น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/969/14 3/914/24 |
277 | [๑๑๓] ภิกษุใด ถึงการแลกเปลี่ยน มีประการต่างๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 3/974/7 3/919/2 |
278 | [๑๑๔] สิ่งของที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะหรือบุคคล (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 3/975/9 3/920/4 |
279 | [๑๑๖] ภิกษุถามราคา, ภิกษุบอกแก่กัปปิยการกว่า ของสิ่งนี้ ของเรามีอยู่แต่เราต้องการของสิ่งนี้ และของสิ่งนี้...ไม่ต้องอาบัติ (โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๑๐)๑๐) 3/977/14 3/922/11 |
280 | ภิกษุกล่าวถึงกัปปิยภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ท่านจงให้สิ่งนี้ ด้วยสิ่งนี้ เป็นเป็นทุกกฏ เมื่อของตนถึงมือคนอื่น และของคนอื่นถึงมือตน เป็นนิสสัคคีย์ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/980/8 3/924/21 |
281 | ภิกษุ บอกแก่คนกินเดนว่า จงกินข้าวสุกนี้ แล้วนำน้ำย้อม และฟืนมาให้แล้วให้ข้าวสุก เป็นนิสสัคคีย์ตามจำนวนฟืน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/981/9 3/925/21 |
282 | ภิกษุ พึงแสดงปาจิตตีย์ในการจ้างซักผ้า เหมือนแสดงปาจิตตีย์ในเพราะนิสสัคคิยวัตถุที่ตนใช้สอยแล้ว หรือเสียหายแล้วฉะนั้น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/981/22 3/926/11 |
283 | ถ้าสิ่งของ ของภิกษุมีราคาถูก สิ่งของที่ต้องการมีราคามาก ภิกษุต้องบอกเขาถ้าไม่บอกหวังหลอกลวง พึงให้ตีราคาสิ่งของ แล้วปรับอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/982/15 3/927/3 |
284 | [๑๑๙] บาตรที่ทรงอนุญาต มี 2 คือ บาตรเหล็ก บาตรดิน (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑) 3/987/18 3/931/16 |
285 | [๑๑๙] ขนาดของบาตรที่ควรใช้ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑) 3/987/20 3/931/18 |
286 | อรรถกถาอธิบายไว้ 3/992/12 3/936/14 |
287 | [๑๒๐] บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละให้แก่สงฆ์ คณะหรือบุคคล 3/988/8 3/932/9 |
288 | [๑๒๕] บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ 3/991/2 3/934/21 |
289 | [๑๒๖] ภิกษุอธิษฐาน, ภิกษุวิกัปไว้, ภิกษุเสียสละ, บาตรหาย, บาตรฉิบหาย, บาตรแตก, บาตรถูกโจรชิง, ภิกษุถือวิสาสะ,...ไม่ต้องอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑) 3/991/10 3/935/5 |
290 | [๑๒๗] บาตรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ บุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑) 3/991/15 3/935/9 |
291 | บาตรเหล็กระบม 5 ไฟ บาตรดินระบบ 2 ไฟ และให้มูลค่าหมดแล้วจึงควรอธิษฐาน (ติงสกกัณฑวรรณา) 3/995/14 3/939/9 |
292 | นับกาลล่วง 10 วัน ถือเอาตั้งแต่ภิกษุได้รับบาตร หรือได้รู้ข่าวจากภิกษุ ที่ช่างบาตร บอกข่าวมา พึงอธิษฐาน หรือวิกัปเสีย (ติงสกกัณฑวรรณา) 3/996/4 3/939/21 |
293 | การขาดอธิษฐานของบาตร มีได้ด้วยเหตุ 7 ประการ (ติงสกกัณฑวรรณา) 3/998/5 3/941/17 |
294 | [๑๒๙] พระพุทธานุญาต ผู้มีบาตรหาย หรือมีบาตรแตก ขอบาตรเขาได้ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/1004/6 3/947/2 |
295 | [๑๓๑] ถ้าภิกษุอธิษฐานบาตรเลว ด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/1009/6 3/950/26 |
296 | [๑๓๒] ภิกษุจะไม่เปลี่ยนบาตร เพราะสงสารภิกษุนั้นไม่ได้ ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/1010/17 3/952/9 |
297 | [๑๓๒] เมื่อภิกษุได้บาตรที่เปลี่ยนมาแล้ว ต้องใช้ด้วยความไม่ทอดธุระ ถ้าปล่อยทิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/1011/1 3/952/16 |
298 | [๑๓๗] ภิกษุมีบาตรหาย, มีบาตรแตก, ภิกษุขอต่อญาติ, ขอต่อคนปวารณา ขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น, ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน...ไม่ต้องอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๒) 3/1021/13 3/963/2 |
299 | นายช่างหม้อที่ปวารณาถวายบาตรแก่สงฆ์ ในต้นเรื่องสิกขาบทนี้ เป็นโสดาบันบุคคล อาศัยอยู่ในสักกชนบท (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1022/1 3/963/12 |
300 | บาตรที่มีรอยร้าว 5 แห่ง หรือ แห่งเดียวแต่ยาวถึง 10 นิ้ว ไม่จัดเป็นบาตร 3/1023/12 3/965/5 |
301 | ความจริง ที่เก็บบาตร พระพุทธองค์ตรัสเป็นต้นว่า "ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเชิงรองบาตร " (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1024/8 3/965/24 |
302 | ภิกษุไม่ควรใช้บาตร โดยการใช้ไม่สมควร มีการต้มข้าวต้ม ต้มน้ำย้อมเป็นต้น (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1024/13 3/966/3 |
303 | [๑๓๘] ทรงอนุญาตให้มี คนทำการวัด (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1026/19 3/968/7 |
304 | [๑๓๘] หมู่บ้านคนทำการวัด 500 คน ได้ตั้งอยู่แผนกหนึ่ง เรียกว่า ตำบลอารามิกบ้าง หรือตำบลบ้านปิลินทวัจฉะบ้าง (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1027/17 3/969/3 |
305 | [๑๓๙] พระปิลินทวัจฉะ อธิษฐานให้หมวกฟางกลายเป็นทอง และปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารให้เป็นทอง (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1028/13 3/969/23 |
306 | [๑๔๑] ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ รสหวานที่เกิดจากอ้อย (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1033/9 3/974/8 |
307 | [๑๔๑] เมื่ออรุณที่ 8 ขึ้นมา เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้อง เสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1033/12 3/974/13 |
308 | [๑๔๓] เภสัชเป็นนิสสัคคีย์ ที่เสียสละแล้ว ภิกษุนั้นได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกาย และไม่ควรฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีบ หรือในการผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกายได้อยู่ แต่ไม่ควรฉัน (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1036/1 3/976/21 |
309 | [๑๔๔] ภิกษุผูกใจไว้ว่าจะไม่บริโภค , ในภายใน 7 วัน ภิกษุให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้คืนมาฉันได้...ไม่ต้องอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๓) 3/1036/10 3/977/8 |
310 | เนยใส ที่ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน ควรจะฉันเจืออามิสก็ได้ ปราศจากอามิสก็ได้ ในเวลาก่อนฉันในวันนั้น ตั้งแต่ภายหลังฉันไป พึงฉันปราศจากอามิสได้ตลอด 7 วัน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1039/1 3/980/3 |
311 | ภิกษุจะกลืนกินเนยใสที่ตนทำให้เป็น อุคคหิตก์ เก็บไว้ในเวลาก่อนฉัน หรือหลังฉัน ย่อมไม่ควร พึงน้อมไปในกิจอื่น มีการทา เป็นต้น แม้ล่วง 7 วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1039/8 3/980/11 |
312 | ถ้าอนุปสัมบันทำเนยใส ด้วยเนยข้น ที่รับประเคนไว้ ในเวลาก่อนฉันถวาย, จะฉันกับอามิสในเวลาก่อนฉัน ควรอยู่ ถ้าภิกษุทำเอง ฉันไม่เจืออามิส ย่อมควรตลอด 7 วัน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1039/12 3/980/15 |
313 | เนยใส ที่บุคคลใดคนหนึ่งทำด้วยเนยข้นที่รับประเคนในเวลาหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิส ตลอด 7 วัน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1039/14 3/980/17 |
314 | เนยใส ที่ทำด้วย นมสด หรือนมส้ม ที่ภิกษุรับประเคนในเวลาฉัน ควรน้อมไปใช้ในกิจมีการทาตัวเป็นต้น , เนยใส ที่ทำจากนมสด หรือนมส้ม ที่เป็นอุคคหิตก์ ก็ควรใช้ภายนอก ไม่ควรฉัน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1040/7 3/981/7 |
315 | พวกชาวบ้าน เทเนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, มีหยาดเปรียง, เมล็ดข้าวสุกบ้าง,รำข้าวสารบ้าง, มีแมลงวันบ้าง, รวมอยู่ในเนยใส นั้น, ภิกษุทำให้สุกด้วยแสงแดดแล้ว กรองเอาไว้ เนยใสจัดเป็นสัตตาหกาลิก (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1041/20 3/982/17 |
316 | น้ำมันงาที่รับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิสในเวลาก่อนฉันย่อมควร , ตั้งแต่หลังฉันไปปราศจากอามิสจึงควร ส่วนที่รับประเคนหลังฉันนั้น ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1042/10 3/983/3 |
317 | ภิกษุจะดื่มกินน้ำมันงา ที่ทำให้เป็น อุคคหิตก์ เก็บไว้ไม่ควร ควรใช้ภายนอกแม้เกิน 7 วันก็ไม่เป็นอาบัติ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1042/14 3/983/8 |
318 | น้ำมัน ที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดงาในปุเรภัตทำ เจืออามิสย่อมควรในปุเรภัตตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เป็นของไม่ควรกิน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1042/16 3/983/10 |
319 | น้ำมัน ที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดงาในปัจฉาภัตทำ เป็นของไม่ควรกลืนกิน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1042/19 3/983/12 |
320 | น้ำมัน ที่พวกอนุปสัมบันทำจากผงเมล็ดพันธุ์ผักกาด หรือเมล็ดละหุ่ง แม้เจืออามิสก็ควร ในเวลาก่อนฉัน . ก็เพราะวัตถุเป็นยาวชีวิก จึงไม่มีโทษในการรับประเคนทั้งวัตถุ ถ้าภิกษุทำเองพึงบริโภค ปราศจากอามิสอย่างเดียว. (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1043/17 3/984/7 |
321 | น้ำมัน ที่ทำจากเมล็ดพันธุ์ผักกาด เป็นต้น ที่เป็นอุคคหิตก์ ไม่ควรกลืนกินควรใช้ภายนอก (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1044/1 3/984/13 |
322 | เมล็ดพันธุ์ผักกาด มะซาง ละหุ่ง ที่รับประเคนไว้เพื่อทำน้ำมัน ถ้าทำในวันนั้นเป็น สัตตาหกาลิก. ถ้าเก็บไว้จนอรุณที่ 8 ขึ้น เป็นของต้องสละ ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1044/2 3/984/15 |
323 | น้ำมันผลมะพร้าว เมล็ดสะเดา สะคร้อ เล็บเหยี่ยว สำโรง อื่นๆ ที่ไม่ได้มาในบาลี เมื่อภิกษุรับประเคนน้ำมันเหล่านั้นแล้วให้ล่วง 7 วันไป เป็นทุกกฏ 3/1044/12 3/984/24 |
324 | ทรงอนุญาต เปลวมัน ของสัตว์ที่มีเนื้อเป็นอกัปปิยะ ยกเว้นเปลวมันแห่งมนุษย์เสีย ส่วนเปลวมันของสัตว์ที่มีเนื้อเป็น กัปปิยะ ได้ทุกชนิด (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1045/2 3/985/10 |
325 | เปลวมันที่อนุปสัมบันเจียวและกรองแล้ว ภิกษุรับก่อนฉัน แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนฉัน หลังฉันไป ไม่เจืออามิสจึงควรตลอด 7 วัน ธุลีละเอียด เป็น เนื้อ เอ็น กระดูก ปนอยู่ จัดเป็นอัพโพหาริก (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1045/12 3/985/19 |
326 | ภิกษุต้องรับประเคนเปลวมัน แล้วเจียวและกรองในปุเรภัต จึงควรเพื่อบริโภคน้ำมัน แต่จะรับประเคน หรือเจียว หรือกรอง ในปัจฉาภัต ไม่ควรเลย เพื่อบริโภค 3/1045/16 3/985/23 |
327 | ถ้าภิกษุ รับประเคนเปลวมัน ในวิกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล ถ้าภิกษุบริโภคซึ่งน้ำมันนั้น ต้องทุกกฏ 3 ตัว (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1046/3 3/986/7 |
328 | รังผึ้ง หรือขี้ผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งไม่ติด บริสุทธิ์ เป็นยาวชีวิก ถ้ามีน้ำผึ้งติดอยู่ มีคติอย่างน้ำผึ้ง (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1047/20 3/987/20 |
329 | ผึ้งตัวยาวมีปีก แมลงภู่ใหญ่ตัวดำปีกแข็ง ในรังของแมลงเหล่านั้น มีน้ำผึ้งคล้ายกับยาง. น้ำผึ้งนั้นเป็น ยาวชีวิก (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1048/1 3/987/22 |
330 | น้ำอ้อยที่ยังไม่ได้เคี่ยว หรือเคี่ยวแล้วไม่มีกาก และน้ำอ้อยสดไม่มีกาก ชื่อว่า น้ำอ้อย (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1048/5 3/988/3 |
331 | น้ำอ้อยที่ยังไม่ได้กรอง ซึ่งภิกษุรับประเคนไว้ในก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควร ถ้าภิกษุทำเองไม่เจืออามิสเลย จึงควร หลังจากปัจฉาภัตไปไม่ควรกลืนกิน เพราะรับประเคนทั้งวัตถุ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1048/14 3/988/12 |
332 | น้ำอ้อยสด ที่กรองและรับประเคนแล้ว ในเวลาหลังภัต ปราศจากอามิส เท่านั้น จึงควรตลอด 7 วัน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1049/4 3/988/23 |
333 | ผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกทั้งหมด มีกล้วย อินทผลัม (เป้งก็ว่า) มะม่วง สาเก มะขาม ฯลฯ งบที่ทำจากผลไม้นั้นเป็นยาวกาลิก (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1049/20 3/989/15 |
334 | ข้อที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะมี 7 อย่าง เฉพาะอาพาธ เฉพาะบุคคล เฉพาะกาลเฉพาะสมัย เฉพาะประเทศ เฉพาะมันเปลว เฉพาะเภสัช (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1050/9 3/989/25 |
335 | เภสัช 5 พึงบริโภคได้ตามสบาย ในปุเรภัตในวันนั้น ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เมื่อมีเหตุ พึงบริโภคได้ตลอด 7 วัน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1052/3 3/991/8 |
336 | ถ้าเภสัช 5 นั้น เป็นของ 2 เจ้าของ ภิกษูรูปหนึ่งรับประเคนไว้ ยังไม่ได้แบ่งกันเมื่อล่วง 7 วันไป ไม่เป็นอาบัติทั้ง 2 รูป (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1053/8 3/992/16 |
337 | [๑๔๗] เมื่อผ้าอาบน้ำฝนมี ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๔) 3/1060/17 3/1000/2 |
338 | ตั้งแต่แรม 1ค่ำ หลังวันเพ็ญเดือน 12 ไปจนถึงวันเพ็ญแห่ง เดือน 7, (7 เดือนนี้) ชื่อว่า หลังสมัย เมื่อภิกษุทำการเตือนสติในคนผู้ไม่ใช่ญาติ ปวารณา ผู้ไม่ได้ปวารณา ถ้าได้ผ้านั้นมาเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1063/14 3/1002/25 |
339 | ภิกษุ เปลือยกายอาบน้ำที่ตกจากอากาศอยู่กลางแจ้งเท่านั้น จึงต้องทุกกฏแต่อาบอยู่ในซุ้ม อาบน้ำในบึง หรือ ด้วยน้ำที่ใช้หม้อตักรด ไม่เป็นอาบัติ 3/1065/8 3/1004/10 |
340 | ถ้าภิกษุกรานกฐินในเดือน 12 ย่อมได้ บริหารอีก 4 เดือน (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1065/17 3/1004/23 |
341 | ผ้าอาบน้ำฝนที่ได้มา และสำเร็จแล้ว ในเมื่อวันเข้าพรรษา ยังไม่มาถึง 1-10 วัน พึงอธิษฐานภายใน 10 วัน เมื่อยังไม่ครบ 10 วัน ก็ไม่ควรให้เลยจีวรกาล 3/1066/12 3/1005/13 |
342 | [๑๕๑] ให้บริขารอย่างอื่นแก่ภิกษุแล้ว โกรธ ชิง หรือให้ชิงเอามา ต้องอาบัติทุกกฏ, ให้ผ้าหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบัน แล้วโกรธ ชิงหรือให้ชิงเอามาต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๕) 3/1073/17 3/1012/12 |
343 | [๑๕๒] ภิกษุผู้ได้รับไปนั้นให้คืนเอง , ภิกษุเจ้าของเดิมถือวิสาสะแก่ผู้ได้รับไปนั้น...ไม่ต้องอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๕) 3/1074/5 3/1013/2 |
344 | ภิกษุ ผู้ชิงจีวรที่ตนสละให้แล้ว คืนมา พึงปรับตามราคาสิ่งของ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1076/20 3/1015/23 |
345 | [๑๕๔] ด้าย 6 อย่าง ได้แก่ ด้ายทำด้วยเปลือกไม้ ทำด้วยฝ้าย ทำด้วยไหม ทำด้วยขนสัตว์ ทำด้วยป่าน ทำด้วยของเจือกันใน 5 อย่าง (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๖) 3/1080/20 3/1019/21 |
346 | [๑๕๔] ภิกษุให้ช่างหูกทอ เป็นทุกกฏ ในประโยคที่ช่างหูกทออยู่นั้น ได้ผ้ามาเป็นนิสสัคคีย์ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๖) 3/1081/1 3/1020/1 |
347 | [๑๕๖] ภิกษุขอด้ายมาเพื่อเย็บจีวร, ทำผ้ารัดเข่า, ทำประคดเอว, ทำถุงบาตรทำผ้ากรองน้ำ, ภิกษุขอต่อญาติ, ขอต่อคนปวารณา, ขอเพื่อภิกษุอื่น, จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน...ไม่เป็นอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๖) 3/1083/7 3/1022/7 |
348 | ภิกษุให้ช่างหูกที่เป็นอกัปปิยะ ทอด้ายที่เป็นกัปปิยะ เป็นทุกกฏ , ให้ช่างหูกที่เป็นกัปปิยะ ทอด้ายที่เป็นอกัปปิยะ ก็เป็นทุกกฏ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1085/6 3/1024/13 |
349 | ถ้าแม้ช่างเป็นกัปปิยะ ด้ายก็เป็นกัปปิยะ ต้องป้องกันอาบัติ เพราะล่วง10 วันไป (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1087/1 3/1026/7 |
350 | [๑๕๘] ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ ไม้ชำระฟัน ด้ายเชิงชาย โดยที่สุดแม้กล่าวธรรม (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๗) 3/1094/9 3/1033/9 |
351 | [๑๖๐] ภิกษุ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน, เขาให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวร จีวรมีราคาน้อย...ไม่เป็นอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๗) 3/1097/2 3/1036/2 |
352 | [๑๖๒] สมัยที่เป็นจีวรกาล ได้แก่ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้ท้ายฤดูฝน 1 เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ได้ขยายออกเป็น 5 เดือน (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/1102/13 3/1041/16 |
353 | [๑๖๓] จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/1105/12 3/1044/10 |
354 | [๑๖๔] จีวรถูกไฟไหม้,จีวรถูกชิงเอาไป,ภิกษุถือวิสาสะ,ในภายในสมัย...ไม่ต้องอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๘) 3/1105/18 3/1044/16 |
355 | ควรทำเครื่องหมายที่ผ้ารีบด่วนไว้ เพราะเวลาแจกผ้า ต้องแจกแก่ภิกษุผู้ไม่เป็นผู้ขาดพรรษา ถ้าเป็นผู้ขาดพรรษา ผ้านั้นจะกลายเป็นของสงฆ์ไปเสีย (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1108/1 3/1046/21 |
356 | [๑๖๘] ภิกษุอยู่ปราศจาก 6 ราตรี แล้วกลับมายังคามสีมา อยู่แล้วหลีกไป, ภิกษุถอนเสียภายใน 6 ราตรี...ไม่เป็นอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๙) 3/1116/11 3/1055/2 |
357 | ต้องประกอบด้วยองค์สมบัติ 4 ข้อ จึงเก็บผ้าไว้ในบ้านได้ คือ 1. ภิกษุเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาแรก 2. เป็นเดือน 12 เท่านั้น 3.เสนาสนะป่าไกล 500 ชั่วธนู หย่อน หรือมีระยะเกินคาวุตไป ย่อมไม่ได้ 4. มีภัยเป็นที่รังเกียจ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1119/17 3/1057/22 |
358 | [๑๗๐] ภิกษุ น้อมมาเพื่อตน เป็นทุกกฏ ในประโยคที่ทำ ได้มาเป็นนิสสัคคีย์ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 3/1125/10 3/1063/2 |
359 | [๑๗๐] ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่ออันหนึ่ง ภิกษุน้อมไปเพื่ออันอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 3/1127/11 3/1065/5 |
360 | [๑๗๑] ภิกษุอันทายกถามว่า จะถวายที่ไหน ? บอกแนะนำให้ถูก...ไม่ต้องอาบัติ (ปัตตวรรคสิกขาบทที่ ๑๐) 3/1128/5 3/1065/18 |
361 | ลาภนั้นแม้ยังไม่ถึงมือ ก็จัดว่าเป็นของสงฆ์ โดยปริยายหนึ่ง เพราะเขาน้อมไปเพื่อสงฆ์แล้ว (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1130/12 3/1067/19 |
362 | แต่ถ้าของนั้นเป็นอันเขาถวายสงฆ์แล้ว ภิกษุใดพลอยกินกับพวกคนวัด สงฆ์พึงให้ตีราคาภัณฑะนั้น ปรับอาบัติแก่ภิกษุ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1131/3 3/1068/7 |
363 | ถ้าแม้ภิกษุอาพาธ รู้ว่าเขาน้อมไปเพื่อถวายสงฆ์แล้ว ยังขออะไรๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1131/21 3/1069/2 |
364 | แม้อาหารที่เขาน้อมไปเพื่อสุนัข ภิกษุน้อมไปเพื่อสุนัขตัวอื่น ก็เป็นทุกกฏ (ติงสกกัณฑวรรณนา) 3/1132/15 3/1069/22 |