1 | [๓๕๙] เวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา (สมาธิสูตร) 29/1/529/1/5 29/1/5 |
2 | [๓๖๐] สาวกของพระพุทธเจ้ามีจิตมั่นคงดีแล้ว มีสัมปชัญญะ มีสติย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา และเหตุเกิด ความดับ ทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนา(สมาธิสูตร) 29/1/829/1/8 29/1/8 |
3 | [๓๖๒] ความเสวยอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุข ทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตามทั้งที่เป็นภายใน และภายนอก มีอยู่ ภิกษุรู้ว่าเวทนานี้เป็นทุกข์ มีความพินาศ มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความเสื่อมไปอยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น (สุขสูตร) 29/3/629/3/6 29/3/6 |
4 | [๓๖๓] ภิกษุพึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา. (ปหานสูตร) 29/4/829/4/8 29/4/9 |
5 | [๓๖๕] คำว่า บาดาล นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปใน สรีระถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบากร่ำไรทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ พระองค์กล่าวว่าไม่ปรากฏในบาดาล (ปาตาลสูตร) 29/6/1929/6/19 29/6/18 |
6 | [๓๖๗] ภิกษุพึงเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง (ทัฏฐัพพสูตร) 29/9/329/9/3 29/9/3 |
7 | สุขพึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ ด้วยอำนาจความเปลี่ยนแปลง ส่วนทุกข์พึงเห็นว่าเป็นลูกศรด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องแทง พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดย ความเป็นของไม่เที่ยงโดยอาการมีแล้วก็ไม่มี (อ.ทัฏฐัพพสูตร) 29/10/329/10/3 29/10/3 |
8 | [๓๖๙-๓๗๒] ความต่างกันระหว่างอริยสาวก กับปุถุชน เมื่อเสวยเวทนา 3 คืออริยสาวกย่อมมีทุกข์ ทางกายอย่างเดียว ไม่ทุกข์ทางใจ ส่วนปุถุชนจะมีทุกข์ทั้งกายและใจ (สัลลัตถสูตร) 29/10/1129/10/11 29/10/13 |
9 | [๓๗๔] พระพุทธเจ้าเข้าไปยังศาลาคนไข้ ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ(ปฐมเคลัญญสูตร) 29/15/329/15/3 29/14/15 |
10 | [๓๗๕-๓๗๖] ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะอย่างไร ? (ปฐมเคลัญญสูตร) 29/15/929/15/9 29/15/1 |
11 | [๓๗๗-๓๗๙] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป คลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและเวทนาอยู่ ย่อมละราคา-นุสัยในกายและในสุขเวทนา ย่อมละปฏิฆานุสัยในกายและในทุกขเวทนาย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาเสียได้(ปฐมเคลัญญสูตร) 29/16/829/16/8 29/15/20 |
12 | [๓๘๐-๓๘๑] ถ้าภิกษุรู้ชัดว่า เวทนาไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด หรือ เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอาศัยน้ำมัน และไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นพึงดับไป. (ปฐมเคลัญญสูตร) 29/17/1929/17/19 29/17/1 |
13 | แม้พระตถาคต เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ยังเสด็จไปที่อุปัฏฐากคนไข้ พวกภิกษุไข้ ชื่อว่า ควรที่ภิกษุพึงบำรุง (อ.ปฐมเคลัญญสูตร) 29/18/1729/18/17 29/17/21 |
14 | [๓๘๕] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ว่า สุขเวทนา อาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้น แต่ว่าผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ก็สุขเวทนา ซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง จักเที่ยงแต่ที่ไหนเธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป คลายไป ความดับ ความสละคืนในผัสสะ และในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะ และในสุขเวทนาเสียได้. (ทุติยเคลัญญสูตร) 29/20/1529/20/15 29/19/20 |
15 | [๓๘๘] เวทนา 3 ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา (อนิจจสูตร) 29/22/1729/22/17 29/21/15 |
16 | [๓๘๙-๓๙๐] เวทนา 3 เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนไม้2 อัน สีกันจึงเกิดความร้อน จึงเกิดไฟ (ผัสสมูลกสูตร) 29/23/1129/23/11 29/22/10 |
17 | [๓๙๑] ที่พระพุทธองค์กล่าวว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ดังนี้ทรงกล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา (รโหคตสูตร) 29/26/1529/26/15 29/25/15 |
18 | [๓๙๒] ทรงกล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ ตั้งแต่ปฐมฌานถึงความดับราคะ โทสะ โมหะ ของพระอรหันต์ (รโหคตสูตร) 29/27/129/27/1 29/26/1 |
19 | [๓๙๕-๓๙๗] ทรงแสดงเวทนา 3 เปรียบด้วยลมต่างชนิด (สูตร ๒-๓) 29/29/329/29/3 29/28/3 |
20 | [๓๙๘] เวทนา 3 ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ เปรียบเหมือน เรือนพักคนเดินทาง . (นิวาสสูตร) 29/31/829/31/8 29/30/3 |
21 | [๓๙๙] เวทนา 3 เกิดขึ้นเพราะผัสสะเกิดขึ้น เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ, สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย เวทนาใดนี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา การกำจัดการละฉันทราคะในเวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา (สูตร ๕-๖) 29/33/929/33/9 29/31/17 |
22 | [๔๐๔-๔๐๘] ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าเฝ้าทูลถามเรื่องเวทนา พระองค์ทรงตรัสถึง เวทนามี 3 เพราะผัสสะเกิดขึ้น เวทนาจึงเกิด ผัสสะดับเวทนาจึงดับอริยมรรค 8เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ สุขโสมนัสเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนาใดนี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน นี้เป็นโทษแห่งเวทนาการกำจัดฉันทราคะในเวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา. (สูตร ๗-๘) 29/35/1329/35/13 29/34/3 |
23 | [๔๑๒] เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ ตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้วแก่กันและกันเหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้น หวังได้ คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกันเกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก. .(ปัญจกังคสูตร) 29/39/1629/39/16 29/37/16 |
24 | [๔๑๓-๔๒๔] ทรงแสดง กามสุข และสุขที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าไปโดยลำดับถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ (ปัญจกังคสูตร) 29/40/729/40/7 29/38/4 |
25 | เวทนา 2 ถึง เวทนา 108 (อ.ปัญจกังคสูตร) 29/44/1729/44/17 29/42/1 |
26 | นิโรธ ชื่อว่า สุข ด้วยสามารถมิได้เสวยอารมณ์ (อ.ปัญจกังคสูตร) 29/45/1329/45/13 29/42/18 |
27 | [๔๒๕] พระพุทธองค์ กล่าวเวทนา 2 ก็มี
เวทนา108 ก็มี... (ภิกขุสูตร) 29/46/829/46/8 29/43/8 |
28 | [๔๒๗-๔๒๙] โรค 8 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เกิดจากดีกำเริบ , ลม, เสมหะ, ดีเสมหะลมรวมกัน, ฤดู, รักษาตัวไม่สม่ำเสมอ, ถูกทำร้าย, ผลของกรรม (สีวกสูตร) 29/48/1229/48/12 29/45/12 |
29 | ยา หรือเครื่องป้องกันอันใด ก็ไม่สามารถกำจัดเวทนา อันเกิดจากผลกรรมได้. (อ.สิวกสูตร) 29/51/1929/51/19 29/48/18 |
30 | [๔๓๐-๔๓๗] ทรงแสดงธรรมปริยาย ว่าด้วยประเภทแห่งเวทนา . (อัฏฐสตปริยายสูตร) 29/52/329/52/3 29/49/3 |
31 | เมื่ออารมณ์ อันน่าปรารถนาไปปรากฏในทวาร 6 อย่างนี้ว่า พาล ปุถุชนคนลุ่มหลง คือ คนหนา อันยังไม่เกิดวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อุเบกขาก็ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาเห็นปานนี้ นั้นย่อมล่วงรูปไปไม่ได้ จึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน. (อ.อัฏฐสตปริยายสูตร) 29/56/329/56/3 29/52/14 |
32 | [๔๓๘] เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงเหตุเกิดแห่งเวทนา เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ อริยมรรค 8 เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุขโสมนัส เกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนาความกำจัด ฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา (ภิกขุสูตร) 29/57/329/57/3 29/53/12 |
33 | [๔๓๙] เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงคิดว่าเวทนาเป็นไฉน ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉนปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา (ปุพพสูตร) 29/58/329/58/3 29/54/8 |
34 | [๔๔๐] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแก่พระพุทธองค์ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เวทนา นี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้ความดับแห่งเวทนา นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนานี้เป็นคุณแห่งเวทนา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา (ญาณสูตร) 29/58/1629/58/16 29/55/3 |
35 | [๔๔๑] ภิกษุเป็นอันมากเข้าเฝ้าทูลถามเกี่ยวกับเรื่องเวทนา (ภิกขุสูตร) 29/59/329/59/3 29/55/12 |
36 | [๔๔๒-๔๔๔] สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใด ย่อมไม่รู้ ความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา 3 ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นยังไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ (สูตร ๗-๙) 29/59/1429/59/14 29/56/3 |
37 | [๔๔๕] เวทนา 3 เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา . (สุทธิกสูตร) 29/61/1129/61/11 29/57/15 |
38 | [๔๔๖-๔๕๗] ทรงแสดงถึง ปีติ สุข อุเบกขา วิโมกข์(ความหลุดพ้นจากกิเลส) ทั้งที่มีอามิสและไม่มีอามิส ส่วนปีติ สุข อุเบกขา วิโมกข์ของพระขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วนั้น เป็นธรรมไม่มีอามิส ยิ่งกว่าธรรมไม่มีอามิสเหล่านั้น (นิรามิสสูตร) 29/61/1729/61/17 29/58/3 |
39 | [๔๕๘] สตรี ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจ ของบุรุษโดยส่วนเดียว คือ รูปไม่สวย ไม่มีโภคสมบัติ ไม่มีมารยาท เกียจคร้าน ไม่ได้บุตรเพื่อเขา. (อมนาปสูตร) 29/66/629/66/6 29/62/5 |
40 | [๔๖๐] บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของสตรีโดยส่วนเดียว คือ รูปไม่สวย ไม่มีโภคสมบัติ ไม่มีมารยาท เกียจคร้าน ไม่ได้บุตรเพื่อเขา. (มนาปสูตร) 29/68/429/68/4 29/64/3 |
41 | [๔๖๒-๔๖๖] ความทุกข์ เฉพาะของสตรี 5 ประการ คือ ไปสู่สกุลสามีเว้นจากญาติ มีระดู มีครรภ์ คลอดบุตร เป็นหญิงบำเรอของบุรุษ (อาเวณิกสูตร) 29/68/1729/68/17 29/64/16 |
42 | [๔๖๗] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ โดยมากเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ ตอนเช้ามีใจตระหนี่อยู่ครองเรือน กลางวันมีความริษยาอยู่ครองเรือน ตอนเย็นมีใจอันกามราคะกลุ้มรุม (มาตุคามสูตร) 29/70/329/70/3 29/66/4 |
43 | [๔๖๙] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มักโกรธ มีปัญญาทราม (อนุรุทธสูตร) 29/71/1429/71/14 29/67/17 |
44 | [๔๗๐] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มักผูกโกรธ มีปัญญาทราม (อุปนาหีสูตร) 29/72/329/72/3 29/68/6 |
45 | [๔๗๑] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความริษยามีปัญญาทราม (อิสสุกีสูตร) 29/72/1229/72/12 29/68/15 |
46 | [๔๗๒] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม (มัจฉรีสูตร) 29/73/329/73/3 29/69/7 |
47 | [๔๗๓] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ประพฤตินอกใจ มีปัญญาทราม (อติจารีสูตร) 29/73/1229/73/12 29/69/16 |
48 | [๔๗๔] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เป็นคนทุศีลมีปัญญาทราม (ทุสสีลสูตร) 29/74/329/74/3 29/70/7 |
49 | [๔๗๕] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อยมีปัญญาทราม (อัปปัสสุตสูตร) 29/74/1229/74/12 29/70/16 |
50 | [๔๗๖] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้านมีปัญญาทราม (กุสีตสูตร) 29/75/329/75/3 29/71/7 |
51 | [๔๗๗] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสติหลงมีปัญญาทราม (มุฏฐัสสติสูตร) 29/75/1229/75/12 29/71/16 |
52 | [๔๗๘] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. (ปัญจเวรสูตร) 29/76/329/76/3 29/72/8 |
53 | [๔๗๙] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก-สวรรค์ คือเป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ ไม่มักโกรธ มีปัญญา (อักโกธนสูตร) 29/77/1029/77/10 29/74/10 |
54 | [๔๘๐] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก-สวรรค์ คือเป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ ไม่ผูกโกรธ มีปัญญา (อนุปนาหีสูตร) 29/77/1729/77/17 29/75/3 |
55 | [๔๘๑] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก-สวรรค์ คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ ไม่มีความริษยา มีปัญญา (อนิสสุกีสูตร) 29/78/329/78/3 29/75/11 |
56 | [๔๘๒] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก-สวรรค์ คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ ไม่มีความตระหนี่ มีปัญญาฯลฯไม่ประพฤตินอกใจ มีปัญญาฯลฯ มีศีล มีปัญญาฯลฯ มีสุตะมาก มีปัญญาฯลฯ ปรารภความเพียร มีปัญญา ฯลฯ มีสติตั้งมั่น มีปัญญา (อมัจฉรีสูตร) 29/78/1029/78/10 29/76/3 |
57 | [๔๘๓] สตรีผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก-สวรรค์เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาคือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. (ปัญจสีลสูตร) 29/79/329/79/3 29/76/15 |
58 | [๔๘๔] สตรีผู้ประกอบด้วยกำลัง 5 ประการ คือ รูป โภคะ ญาติ บุตร ศีล เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน (วิสารทสูตร) 29/80/429/80/4 29/78/4 |
59 | ชื่อว่า พละ (กำลัง) เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องสนับสนุน (อ.วิสารทสูตร) 29/80/1729/80/17 29/79/4 |
60 | [๔๘๕] สตรีผู้ประกอบด้วยกำลัง 5 ประการ คือ รูป โภคะ ญาติ บุตร ศีล ย่อมบังคับสามีอยู่ครองเรือนได้ (ปสัยหสูตร) 29/81/329/81/3 29/79/9 |
61 | [๔๘๖] สตรีผู้ประกอบด้วยกำลัง 5 ประการ คือ รูป โภคะ ญาติ บุตร ศีลย่อมประพฤติข่มขี่สามีได้ ส่วนบุรุษผู้ประกอบด้วยกำลังเดียว คือ ความเป็นใหญ่ ย่อมประพฤติข่มขี่สตรีได้ (อภิภุยยสูตร) 29/81/1329/81/13 29/80/3 |
62 | [๔๘๗-๔๘๘] กำลังของสตรี 5 ประการ คือ รูป โภคะ ญาติ บุตร ศีล แต่เมื่อสตรีประกอบด้วยกำลัง ครบทั้ง 5 อย่างนี้ ชื่อว่า บริบูรณ์ (อังคสูตร) 29/82/1129/82/11 29/81/3 |
63 | [๔๙๐] สตรีผู้ไม่ประกอบด้วยกำลัง คือ ศีล พวกญาติย่อมยังสตรีนั้นให้ พินาศ คือ ไม่ให้อยู่ในสกุล (นาสยิตถสูตร) 29/83/1529/83/15 29/82/7 |
64 | พวกญาติรู้ว่า ประโยชน์ อะไรด้วยรูป หรือ ด้วยโภคะ เป็นต้น หญิงนี้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีมารยาทดีงาม จึงให้อยู่ในตระกูลนั้น ไม่ให้พินาศ . (อ.นาสยิตถสูตร) 29/84/1729/84/17 29/83/9 |
65 | [๔๙๒] สตรีเมื่อตายไปย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะ กำลัง คือ รูป โภคะ ญาติ บุตร เป็นเหตุหามิได้ แต่ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกำลัง คือ ศีลเป็นเหตุ (เหตุสูตร) 29/85/629/85/6 29/84/6 |
66 | [๔๙๓] ฐานะ 5 ประการ อันสตรีผู้มิได้ทำบุญไว้ ยากที่จะได้ คือ ขอเราพึงเกิดในสกุลอันสมควร ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร ขอเราพึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร ขอเราประพฤติครอบงำสามี (ฐานสูตร) 29/85/1429/85/14 29/84/14 |
67 | [๔๙๔] ฐานะ 5 ประการ อันสตรี ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย คือ ขอเราพึงเกิดในสกุลอันสมควร ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร ขอเราพึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร ขอเราประพฤติครอบงำสามี (วิสารทสูตร) 29/86/629/86/6 29/85/8 |
68 | [๔๙๕] สตรีประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน คือ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท (ปัญจเวรสูตร) 29/86/2229/86/22 29/86/4 |
69 | [๔๙๖] อริยสาวิกา เมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม 5 ประการ คือ เจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ย่อมถือเอาสาระ และสิ่งประเสริฐของกายไว้ได้. (วัฑฒิสูตร) 29/87/829/87/8 29/86/12 |
70 | [๔๙๗] ปริพาชก ชื่อว่า ชัมพุขาทก ถามพระสารีบุตรว่า ที่เรียกว่า นิพพาน เป็นไฉนหนอ. พระเถระตอบว่า ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน. (นิพพานปัญหาสูตร) 29/88/429/88/4 29/88/4 |
71 | [๔๙๘] ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต (อรหัตตปัญหาสูตร) 29/90/929/90/9 29/90/12 |
72 | [๔๙๙] ท่านผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นธรรมวาที ในโลกท่านผู้ใดปฏิบัติ เพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก (ธรรมวาทีปัญหาสูตร) 29/91/1129/91/11 29/91/12 |
73 | [๕๐๐] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ . (กิมัตถิยสูตร) 29/92/1629/92/16 29/93/3 |
74 | [๕๐๑] เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ (อัสสาสัปปัตตสูตร) 29/93/1529/93/15 29/94/3 |
75 | [๕๐๒] เมื่อไรภิกษุ รู้ความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ตามความเป็นจริงแล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงจะชื่อว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง (ปรมัสสาสัปปัตตสูตร) 29/94/1329/94/13 29/95/3 |
76 | [๕๐๓] เวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3 (เวทนาปัญหาสูตร) 29/95/1529/95/15 29/96/3 |
77 | [๕๐๔] อาสวะ (กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน) 3 อย่าง คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ (อาสวปัญหาสูตร) 29/96/1429/96/14 29/96/20 |
78 | [๕๐๕] ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า อวิชชา (อวิชชาปัญหาสูตร) 29/97/1229/97/12 29/97/15 |
79 | [๕๐๖] ตัณหา (ความทะยานยาก) 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (ตัณหาปัญหาสูตร) 29/98/1129/98/11 29/98/9 |
80 | [๕๐๗] โอฆะ (กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์) 4 ประการ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ (โอฆปัญหาสูตร) 29/99/329/99/3 29/99/3 |
81 | [๕๐๘] อุปาทาน (ความยึดมั่น) 4 ประการ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน (อุปาทานปัญหาสูตร) 29/100/329/100/3 29/99/19 |
82 | [๕๐๙] ภพ(โลกเป็นอยู่ของสัตว์) 3 เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ (ภวปัญหาสูตร) 29/101/329/101/3 29/100/14 |
83 | [๕๑๐] สภาพทุกข์ 3 ประการ คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ สภาพทุกข์คือสังขาร สภาพทุกข์คือความแปรปรวน (ทุกขปัญหาสูตร) 29/102/329/102/3 29/101/7 |
84 | [๕๑๑] อุปาทานขันธ์ 5 ประการ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอุปาทานขันธ์ 5 นี้แล เรียกว่า สักกายะ (สักกายปัญหาสูตร) 29/103/329/103/3 29/102/8 |
85 | [๕๑๒] การบรรพชา เป็นการยากที่จะกระทำได้ในธรรมวินัยนี้ ความยินดียิ่ง อันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้โดยยาก การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้ว กระทำได้โดยยาก (ทุกกรปัญหาสูตร) 29/104/329/104/3 29/103/5 |
86 | [๕๑๓-๕๑๔] ปริพาชก ชื่อ สามัณฑกะ ถามปัญหา กับพระสารีบุตร ว่าด้วยปัญหาเรื่องนิพพานจนถึง ปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก. รวม 16 สูตร เช่นเดียวกับใน ชัมพุขาทกสังยุต (สูตร ๑-๑๖) 29/106/429/106/4 29/105-106 |
87 | [๕๑๕] พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวถึงปฐมฌานว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่าปฐมฌาน. (สวิตักกปัญหาสูตร) 29/108/729/108/7 29/107/7 |
88 | [๕๑๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่า ทุติยฌาน (อวิตักกปัญหาสูตร) 29/109/1129/109/11 29/108/12 |
89 | [๕๑๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่า ตติยฌาน (สุขปัญหาสูตร) 29/110/1529/110/15 29/109/15 |
90 | [๕๑๘] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ เรียกว่า จตุตถฌาน (อุเปกขาปัญหาสูตร) 29/111/1629/111/16 29/110/18 |
91 | [๕๑๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญา (สัญญาในความขัดเคือง) เสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา (สัญญาในความเป็นต่างๆกัน)โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า อากาสานัญ-จายตนฌาน (อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร) 29/112/1429/112/14 29/111/15 |
92 | [๕๒๐] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌาน (วิญญาณัญจายตนปัญหาสูตร) 29/113/1629/113/16 29/112/15 |
93 | [๕๒๑] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน เสียได้ โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน (อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร) 29/114/1529/114/15 29/113/13 |
94 | [๕๒๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วง อากิญจัญญายตนฌานเสียได้ โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า เนวสัญญา-นาสัญญายตนฌาน (เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร) 29/115/1429/115/14 29/114/11 |
95 | [๕๒๓] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ(สมาธิอันไม่มีนินิต) อยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิต ทั้งปวง นี้เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิ (อนิมิตตปัญหาสูตร) 29/116/1229/116/12 29/115/8 |
96 | [๕๒๔] พระมหาโมคคัลลานะไปดาวดึงส์ พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า การถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ดีนัก เพราะเป็นเหตุให้สัตว์บางพวกเมื่อตายไปเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ (อนิมิตตปัญหาสูตร) 29/117/529/117/5 29/115/22 |
97 | [๕๓๐] พระมหาโมคคัลลานะ แสดงธรรม แก่ท้าวสักกะ และบริวารว่า การถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ดีนัก เพราะเป็นเหตุให้สัตว์บางพวกเมื่อตายไปเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ (สักกสูตร) 29/123/1229/123/12 29/121/12 |
98 | [๕๓๖] พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรม แก่จันทนเทพ สุยามเทพ สันดุสิตเทพ สุนิมมิตเทพ วสวัตตีเทพ ดังในสักกสูตร (จันทนสูตร) 29/128/729/128/7 29/126/1 |
99 | [๕๓๙-๕๔๐] จิตตคฤหบดี แสดงความต่างกันของ สังโยชน์ กับสังโยชนียธรรม ว่าต่างกันทั้งอรรถ และพยัญชนะ แก่พระเถระที่สนทนาเรื่องนี้กันอยู่เปรียบ ด้วย ผูกโค 2 ตัว ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ฉะนั้น จักษุไม่ติดกับรูป รูปไม่ติด กับจักษุ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ และรูปทั้ง 2 นั้น ชื่อว่าเป็น เครื่องติด... (สังโยชนสูตร) 29/130/429/130/4 29/128/4 |
100 | [๕๔๑] จิตตคฤหบดีได้อาราธนา พระเถระในอัมพาฏกวัน ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดย ดุษณีภาพ (ปฐมอิสิทัตตสูตร) 29/132/1429/132/14 29/130/12 |
101 | [๕๔๒-๕๔๕] จิตตคฤหบดีถามปัญหาว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ แก่ภิกษุสงฆ์ ปัญหานี้ ไม่แจ่มแจ้งแก่พระเถระผู้เป็นประธาน จึงเปิดโอกาสให้พระอิสิทัตตะเป็นผู้ตอบคำถาม. (ปฐมอิสิทัตตสูตร) 29/133/129/133/1 29/130/19 |
102 | [๕๔๙-๕๕๓] พระอิสิทัตตะ ตอบคำถามของจิตตคฤหบดี ว่าด้วยอะไรมี ทิฏฐิจึงมี ? และสักกายทิฏฐิ เกิดมีได้อย่างไร ? คฤหบดี ได้นิมนต์ให้ท่านอยู่ในอาวาสของตน เพราะเคยเป็นสหายที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน แต่พระอิสิทัตตะได้เดินทาง ออกไปจากอาวาส นั้นโดยไม่กลับมาอีก (ทุติยอิสิทัตตสูตร) 29/137/1029/137/10 29/134/15 |
103 | [๕๕๕-๕๕๖] ท่านพระมหกะเป็นผู้อ่อนกว่าทุกรูป ในหมู่สงฆ์ ได้บันดาลด้วยฤทธิ์ให้มีลมเย็นพัดมา และมีแดดอ่อน ทั้งให้มีฝนโปรยลงมาทีละเม็ดๆ เพื่อให้พระเถระทั้งหลาย เดินทางด้วยความสบาย จากอากาศที่ร้อนจัด. (มหกสูตร) 29/142/529/142/5 29/138/9 |
104 | [๕๕๗] จิตตคฤหบดี ได้ขอร้องให้ พระมหกะแสดงฤทธิ์ให้ดู พระมหกะจึงทำให้ไฟไหม้หญ้าที่อยู่บนผ้าห่ม แต่ผ้าห่มไม่ไหม้ คฤหบดีจึงนิมนต์ให้ท่านอยู่ในอาวาสของตน แต่พระมหกะเดินทางออกไป ไม่ได้กลับมาอีก. (มหกสูตร) 29/142/1529/142/15 29/138/20 |
105 | เมื่อบุคคลออกจากฌาน อันเป็นบาททำบริกรรมแล้ว การอธิษฐานนั้นย่อมสำเร็จ ด้วยจิตอธิษฐาน อันเป็นมหัคคตะ (ถึงความเป็นสภาพใหญ่)เท่านั้นโดยระหว่างแห่งบริกรรม (อ.มหกสูตร) 29/144/1529/144/15 29/140/17 |
106 | [๕๕๘] " เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียวไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน " (ปฐมกามภูสูตร) 29/145/1429/145/14 29/141/11 |
107 | [๕๕๙] จิตตคฤหบดี ได้ขยายความในคาถาที่พระพุทธองค์ตรัสโดยย่อ ให้แก่พระกามภูฟังว่า คำว่าไม่มีโทษนั้นเป็น ชื่อของศีล คำว่ามีหลังคาขาว เป็นชื่อของวิมุตติ คำว่า มีเพลาเดียว เป็นชื่อของสติ คำว่า ย่อมแล่นไป เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ คำว่า รถ เป็นชื่อ ของร่างกายนี้ (ปฐมกามภูสูตร) 29/145/1729/145/17 29/141/14 |
108 | [๕๖๑-๕๖๒] พระกามภู ตอบคำถามเกี่ยวกับสังขาร แก่จิตตคฤหบดีว่า ลม-หายใจเข้าและลมหายใจออก ชื่อว่า กายสังขาร วิตกวิจาร ชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนา ชื่อว่า จิตตสังขาร (ทุติยกามภูสูตร) 29/148/1329/148/13 29/144/1 |
109 | [๕๖๔] เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารดับ (ทุติยกามภูสูตร) 29/149/1329/149/13 29/144/22 |
110 | [๕๖๕] ความแตกต่างของคนตาย กับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ. (ทุติยกามภูสูตร) 29/150/129/150/1 29/145/5 |
111 | [๕๖๖-๕๖๗] การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ (ทุติยกามภูสูตร) 29/150/829/150/8 29/145/12 |
112 | เมื่อภิกษุออกจากสมาบัติแล้ว ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นอัพโพหาริก(มีเหมือนไม่มี) (อ.ทุติยกามภูสูตร) 29/156/1629/156/16 29/151/1 |
113 | [๕๗๑-๕๗๕] พระโคทัตตะถามจิตตคฤหบดีถึง อัปปมาณาเจโตวิมุตติ อากิญ-จัญญาเจโตวิมุตติ สุญญตาเจโตวิมุตติ และอนิมิตตาเจโตวิมุตติ ว่ามีความต่างกัน หรือเหมือนกัน ในอรรถและพยัญชนะอย่างไร... ธรรมทั้ง 4 นั้น มีอรรถและพยัญชนะต่างกัน มีอยู่ และมีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ มีอยู่. .(โคทัตตสูตร) 29/159/329/159/3 29/153/3 |
114 | [๕๗๖] เจโตวิมุตติ ทั้ง 4 อย่างนั้น ของพระอรหันต์ มีอรรถเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ (โคทัตตสูตร) 29/161/129/161/1 29/154/14 |
115 | อัปปมาณาเจโตวิมุตติมี 12 คือ พรหมวิหาร 4 มรรค 4 ผล 4 (อ.โคทัตตสูตร) 29/163/129/163/1 29/156/13 |
116 | อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ มี 9 คือ อากิญจัญญายตนะ 1 มรรค 4 ผล 4.(อ.โคทัตตสูตร) 29/163/1329/163/13 29/157/1 |
117 | อนิมิตตาเจโตวิมุตติ มี 13 คือ วิปัสสนา 1 อรูป 4 มรรค 4 ผล 4 .(อ.โคทัตตสูตร) 29/164/729/164/7 29/157/17 |
118 | [๕๗๗-๕๗๘] จิตตคฤหบดี กล่าวต่อพวกนิครนถ์ ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เชื่อต่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้ว่า สมาธิอันไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่งวิตก วิจาร มีอยู่ (นิคัณฐสูตร) 29/165/1129/165/11 29/158/15 |
119 | จิตตคฤหบดี เป็นอริยสาวก ชั้นอนาคามีบุคคล เข้าไปหาพวกนิครนถ์เปลือยกาย เพื่อปลดเปลื้องการว่าร้าย ของพวกนิครนถ์ (อ.นิคัณฐสูตร) 29/167/929/167/9 29/160/11 |
120 | [๕๘๐-๕๘๒] จิตตคฤหบดี ได้สนทนากับ อเจลกัสสปะ ผู้เป็นสหายเก่า บวชเปลือยมา 30 ปี และได้พาเขาไปบวชกับภิกษุทั้งหลาย ท่านพระอเจลกัสสปะอุปสมบทแล้วไม่นาน ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ (อเจลสูตร) 29/168/1629/168/16 29/161/18 |
121 | [๕๘๓] จิตตคฤหบดี ป่วยหนัก พวกอารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา ที่หญ้าและพญาไม้ ได้มาประชุมกัน บอกให้ปรารถนา ไปเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต. (คิลานสูตร) 29/172/829/172/8 29/164/16 |
122 | [๕๘๕] จิตตคฤหบดีแนะนำมิตรสหาย และญาติ ให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระธรรม พระสงฆ์ และการเสียสละ แล้วจิตตคฤหบดีก็สิ้นใจตาย.(คิลานสูตร) 29/174/329/174/3 29/166/6 |
123 | [๕๘๖-๕๘๗] ผู้ละราคะ โทสะ โมหะ ยังไม่ได้ จึงนับได้ว่าเป็นคนดุ ผู้ละได้แล้ว นับว่าเป็นคนสงบเสงี่ยม (คามณิสังยุต) 29/177/429/177/4 29/169/4 |
124 | [๕๙๑] อันตรายของวงการบันเทิง (ตาลปุตตสูตร) 29/181/129/181/1 29/172/22 |
125 | ความสามารถของนายตาลบุตร (อ.ตาลปุตตสูตร) 29/182/1129/182/11 29/174/3 |
126 | ปหาสนรกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอเวจี (อ.ตาลปุตตสูตร) 29/183/1529/183/15 29/175/2 |
127 | [๕๙๓] นรกของนักรบอาชีพ (โยธาชีวสูตร) 29/184/1829/184/18 29/176/7 |
128 | สรชิตนรกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีที่พวกนักรบอาชีพ ผูกสอดอาวุธ 5 อย่างถือไล่ ขึ้นช้างม้ารถ เหมือนรบอยู่ในสนามรบ หมกไหม้อยู่ (อ.โยธาชีวสูตร) 29/186/729/186/7 29/177/16 |
129 | [๕๙๕-๕๙๖] นรกของทหารช้าง , ทหารม้าอาชีพ (สูตร ๔-๕) 29/186/1429/186/14 29/178/3 |
130 | [๕๙๙] แม้จะสวดมนต์อ้อนวอน หากไม่ทำความดีเมื่อตายก็ไปอบาย (ภูมกสูตร) (อสิพันธกปุตตสูตร) 29/190/1529/190/15 29/181/11 |
131 | [๖๐๑] ผู้ทำความดี ถึงแม้มหาชนจะสวดวิงวอนให้เขาไปนรก เมื่อเขาตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ (ภูมกสูตร) (อสิพันธกปุตตสูตร) 29/192/129/192/1 29/182/14 |
132 | [๖๐๓-๖๐๔] นายบ้าน อสิพันธกบุตร ถามเหตุที่พระพุทธองค์ แสดงธรรมโดยเคารพแก่คนบางพวก แต่บางพวกไม่แสดงอย่างนั้น พระองค์ทรง เปรียบเทียบด้วยนาข้าว 3 ชนิด คือ นาดี นาปานกลาง นาเลว (เทศนาสูตร) 29/193/1429/193/14 29/184/3 |
133 | [๖๐๖] พระพุทธเจ้าย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องตน งามในท่ามกลาง งามในที่สุดแก่อัญเดียรถีย์ สมณะพราหมณ์ และปริพาชก เพราะถ้าเขาเหล่านั้นจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่เขา สิ้นกาลนาน (เทศนาสูตร) 29/196/1229/196/12 29/186/16 |
134 | ความจริงการแสดงธรรมโดยไม่เคารพ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย . (อ.เทศนาสูตร) 29/198/329/198/3 29/188/3 |
135 | [๖๑๔] ศาสดาที่สอนว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่าสัตว์ที่เราฆ่าก็มี แม้เราก็ต้องตกนรก ถ้าเขายังไม่ละวาจาและความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ (อสังขาสูตร) 29/201/1129/201/11 29/190/22 |
136 | [๖๑๕-๖๑๘] การละและการล่วงบาปกรรมตามที่พระพุทธเจ้าสอน (อสังขาสูตร) 29/202/1029/202/10 29/191/16 |
137 | เมื่อกล่าวว่า เมตตา หมายถึง ทั้งที่เป็นอุปจาร ทั้งที่เป็นอัปปนา แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตติ หมายถึงที่เป็นอัปปนาเท่านั้น (อ.อสังขาสูตร) 29/206/1329/206/13 29/195/5 |
138 | [๖๒๒] เหตุปัจจัย 8 อย่าง เพื่อความคับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย (กุลสูตร) 29/209/1429/209/14 29/197/23 |
139 | [๖๒๖] ทอง-เงิน ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร (มณิจูฬกสูตร) 29/213/929/213/9 29/201/5 |
140 | [๖๒๗-๖๒๘] พระพุทธองค์ทรงแสดงถึง ทุกข์ ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล (คันธภกสูตร) 29/215/1029/215/10 29/203/3 |
141 | [๖๓๐] บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด 2 อย่างนี้ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย การประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า (ราสิยสูตร) 29/221/129/221/1 29/207/19 |
142 | [๖๓๑] บุคคลผู้บริโภคกาม 3 จำพวก (ราสิยสูตร) 29/221/1729/221/17 29/208/10 |
143 | [๖๔๔] บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง 3 จำพวก (ราสิยสูตร) 29/228/1129/228/11 29/213/21 |
144 | [๖๔๘] ธรรม 3 อย่าง อันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน.(ราสิยสูตร) 29/231/229/231/2 29/215/22 |
145 | [๖๕๐] พระตถาคตรู้จักมายา แต่ว่าพระตถาคตไม่มีมายา (ปาฏลิยสูตร) 29/237/429/237/4 29/221/5 |
146 | [๖๖๕-๖๗๓] พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ธรรมสมาธิมีอยู่ ถ้าตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พึงละความสงสัยได้ (ปาฏลิยสูตร) 29/247/1529/247/15 29/230/2 |
147 | ธรรม 5 คือ ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่าเมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมสมาธิ ส่วนมรรค 4 พร้อมด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า จิตตสมาธิ (อ.ปาฏลิยสูตร) 29/258/1629/258/16 29/239/5 |
148 | [๖๗๔] ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตะ กายคตาสตินี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง อสังขตะ(ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง) (วรรคที่๑) 29/260/1029/260/10 29/240/9 |
149 | [๖๗๕] สมถะ และวิปัสสนา นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ (วรรคที่๑) 29/261/429/261/4 29/241/9 |
150 | [๖๗๖] สมาธิที่มีทั้ง วิตก วิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้ง วิตก วิจาร นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ (วรรคที่๑) 29/261/629/261/6 29/241/13 |
151 | [๖๗๗] สุญญตสมาธิ(สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง) อนิมิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต) อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันกำหนดทุกขลักษณะ) นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ (วรรคที่๑) 29/261/929/261/9 29/242/3 |
152 | [๖๗๘] สติปัฏฐาน 4 นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึง อสังขตะ (วรรคที่๑) 29/261/1229/261/12 29/242/8 |
153 | [๖๗๙] สัมมัปปธาน 4(ความเพียรชอบ) นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ(วรรคที่๑) 29/261/1429/261/14 29/242/12 |
154 | [๖๘๐] อิทธิบาท 4 นี้ เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ (วรรคที่๑) 29/261/1629/261/16 29/242/16 |
155 | [๖๘๑] อินทรีย์ 5 (สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึง อสังขตะ(วรรคที่๑) 29/261/1829/261/18 29/243/3 |
156 | [๖๘๒] พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง อันเกื้อหนุนแก่อริยมรรค) นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึง อสังขตะ (วรรคที่๑) 29/262/129/262/1 29/243/7 |
157 | [๖๘๓] โพชฌงค์ 7(ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้) นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ (วรรคที่๑) 29/262/329/262/3 29/243/11 |
158 | [๖๘๔] อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ (วรรคที่๑) 29/262/529/262/5 29/243/15 |
159 | [๖๘๕-๗๕๑] ทรงแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึง อสังขตะ... แสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (วรรคที่๒) 29/263/429/263/4 29/245/5 |
160 | [๗๕๑] " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย " (วรรคที่๒) 29/276/129/276/1 29/255/11 |
161 | ชื่อว่า สรณะ เพราะอรรถว่ากำจัดภัย อธิบายว่า ทำภัยให้พินาศ (อ.อสังขตสังยุต) 29/278/1529/278/15 29/258/6 |
162 | [๗๕๔-๗๖๑] พระเจ้าปเสนทิโกศล เข้าถามปัญหาว่าด้วย สัตว์ตายแล้ว เกิดหรือ ? เป็นต้น แก่เขมาภิกษุณี ซึ่งคำถามเหล่านี้ พระพุทธเจ้าไม่ทรง พยากรณ์ (เขมาเถรีสูตร) 29/281/629/281/6 29/260/5 |
163 | [๗๖๕-๗๗๐] พระพุทธองค์ ทรงแสดงแก่พระอนุราธะ ถึงความที่ ขันธ์ 5 ไม่เป็นสัตว์ ไม่มีสัตว์ในขันธ์ 5 พระตถาคตทรงบัญญัติทุกข์ และความดับ-ทุกข์ เท่านั้น (อนุราธสูตร) 29/293/129/293/1 29/269/19 |
164 | [๗๗๒] คำว่า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก เป็นต้น นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึง ขันธ์ 5 นี่แหละเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น (ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/298/129/298/1 29/273/19 |
165 | [๗๗๔] ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก เป็นต้น ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่รู้ไม่เห็นขันธ์ 5 ความเกิด ความดับ ปฏิปทาเครื่องให้ถึง ความดับแห่งขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง (ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/299/1629/299/16 29/275/9 |
166 | [๗๗๗] ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก เป็นต้น ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหายความเร่าร้อน ความทะยานอยากใน ขันธ์ 5 (ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/301/1429/301/14 29/277/7 |
167 | [๗๘๐] ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก เป็นต้น ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีขันธ์ 5 เป็นที่มายินดี ผู้ยินดี แล้วในขันธ์ 5 ผู้หมกมุ่นแล้วในขันธ์ 5ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง (จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/303/929/303/9 29/278/14 |
168 | [๗๘๒] ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก เป็นต้น ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีภพเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในภพ ผู้หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งภพ ตามความเป็นจริง. (จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/304/1229/304/12 29/279/12 |
169 | [๗๘๔] ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก เป็นต้น ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีอุปาทานเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีในอุปาทาน ผู้หมกมุ่นแล้วในอุปาทานผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งอุปาทานตามความเป็นจริง (จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/305/429/305/4 29/279/25 |
170 | [๗๘๖] ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก เป็นต้น ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ยินดีแล้วในตัณหา ผู้หมกมุ่นแล้วในตัณหา ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งตัณหาตามความเป็นจริง (จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร) 29/305/1729/305/17 29/280/12 |
171 | [๗๙๒] พวกปริพาชก ผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมตามเห็น อายตนะภายในว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ .(โมคคัลลานสูตร) 29/310/1429/310/14 29/284/11 |
172 | [๗๙๓] วัจฉโคตรปริพาชก ถามปัญหา ว่าด้วยโลกเที่ยง เป็นต้น กับพระมหาโมคคัลลานะ และพระพุทธองค์ เขาได้รับคำตอบ เดียวกัน ตรงกันทั้งอรรถและพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ เข้ากันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ. (โมคคัลลานสูตร) 29/311/729/311/7 29/284/23 |
173 | [๗๙๔-๗๙๘] วัจฉโคตรปริพาชก ถามปัญหา เรื่องโลกเที่ยงและสัตว์ตายแล้วเกิดเป็นต้น กับพระพุทธองค์ แล้วเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะ อีก ทั้งพระพุทธองค์และพระมหาโมคคัลลานะ แสดงทั้งอรรถและพยัญชนะ ตรงกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ. (วัจฉสูตร) 29/311/1929/311/19 29/285/9 |
174 | [๘๐๐] พระพุทธองค์ ย่อมบัญญัติ ความเกิดขึ้น แก่คนที่ยังมีอุปาทาน เท่านั้นหาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ เปรียบเหมือนไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่ (กุตุหลสาลาสูตร) 29/317/629/317/6 29/289/25 |
175 | [๘๐๑-๘๐๒] วัจฉโคตรปริพาชก เข้าเฝ้าถามเรื่องอัตตามีอยู่หรือ และอัตตาไม่มี หรือ พระพุทธองค์ ทรงนิ่งไม่ตอบเลย วัจฉโคตรปริพาชก จึงลุกไปเอง . (อานันทสูตร) 29/318/1429/318/14 29/291/9 |
176 | [๘๐๓] วัจฉโคตรปริพาชก ถามปัญหาเรื่อง สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ? เป็นต้น กับ พระสภิยกัจจานะ (สภิยสูตร) 29/320/1129/320/11 29/293/3 |