1 | [๑] อายตนะภายใน 6 เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. . (อัชฌัตติกอนิจจสูตร) 28/2/228/2/2 28/2/1 |
2 | จักษุ 2 คือ ญาณจักษุ มังสจักษุ , ญาณจักษุ มี 5 อย่าง คือ พุทธจักษุธรรมจักษุ สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ , มังสจักษุ ก็มี 2 อย่าง คือสสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ (อ.อัชฌัตติกอนิจจสูตร) 28/3/628/3/6 28/3/5 |
3 | [๒] อายตนะภายใน 6 เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เราเราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (อัชฌัตติกทุกขสูตร) 28/5/328/5/3 28/4/20 |
4 | [๔] อายตนะภายใน 6 เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา . (อัชฌัตติกอนัตตสูตร) 28/5/1628/5/16 28/5/13 |
5 | [๔] อายตนะภายนอก 6 เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา . (พาหิรอนิจจสูตร) 28/6/828/6/8 28/6/11 |
6 | [๕] อายตนะภายนอก 6 เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เราเราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (พาหิรทุกขสูตร) 28/7/1028/7/10 28/7/17 |
7 | [๖] อายตนะภายนอก 6 เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (พาหิรอนัตตสูตร) 28/8/328/8/3 28/8/11 |
8 | [๗] อายตนะภายใน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง อริย-สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในอายตนะภายใน ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินอายตนะภายใน ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับซึ่งอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบัน (อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร) 28/8/1628/8/16 28/9/9 |
9 | [๘] อายตนะภายใน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นทุกข์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในอายตนะภายใน ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินอายตนะภายใน ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับซึ่งอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบัน (อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร) 28/9/928/9/9 28/10/3 |
10 | [๙] อายตนะภายใน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นอนัตตา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในอายตนะภายใน ที่เป็นอดีต ไม่เพลิด-เพลินอายตนะภายใน ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับซึ่งอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบัน (อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร) 28/10/328/10/3 28/10/14 |
11 | [๑๐-๑๒] อายตนะภายนอกที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตไม่เพลิดเพลินอายตนะภายนอก ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับซึ่งอายตนะภาย-นอกที่เป็นปัจจุบัน (พาหิรสูตร) 28/10/1428/10/14 28/11/4 |
12 | [๑๓] สุขโสมนัส เกิดขึ้นเพราะอาศัยอายตนะภายใน นี้เป็นคุณแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายในเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งอายตนะภายใน การกำจัด การละฉันทราคะในอายตนะภายใน นี้เป็นความสลัดออกแห่งอายตนะภายใน เมื่อยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ในสิ่งเหล่านี้ก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ตรัสรู้. (ปฐมสัมโพธสูตร) 28/13/728/13/7 28/14/8 |
13 | [๑๔] สุขโสมนัส เกิดขึ้นเพราะอาศัย อายตนะภายนอก นี้เป็นคุณแห่งอายตนะภายนอก อายตนะภายนอกเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งอายตนะภายนอก การกำจัด การละฉันทราคะในอายตนะภายนอก นี้เป็นความสลัดออกแห่งอายตนะภายนอก เมื่อยังไม่รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งเหล่านี้ ก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ตรัสรู้ (ทุติยสัมโพธสูตร) 28/14/1228/14/12 28/15/14 |
14 | [๑๕] พระพุทธองค์ได้เที่ยวแสวงหาคุณ โทษ ความสลัดออก แห่งอายตนะภายใน 6 ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา (ปฐมอัสสาทสูตร) 28/17/328/17/3 28/17/16 |
15 | [๑๖] พระพุทธองค์ได้เที่ยวแสวงหาคุณ โทษ ความสลัดออกแห่งอายตนะภายนอก 6 ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา (ทุติยอัสสาทสูตร) 28/17/1828/17/18 28/18/10 |
16 | [๑๗] ปฏิเสธไม่ได้ว่า อายตนะภายใน มีทั้งคุณ โทษ และความสลัดออกแห่งอายตนะภายใน 6 สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้นเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลกฯลฯ มีใจถูกครอบงำอยู่เพียงนั้น (ปฐมโนอัสสาทสูตร) 28/18/1728/18/17 28/19/5 |
17 | [๑๘] ปฏิเสธไม่ได้ว่า อายตนะภายนอก มีทั้ง คุณ โทษ และความสลัดออกแห่งอายตนะภายนอก 6 สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งเหล่านี้เพียงใดสัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ฯลฯ มีใจถูกครอบงำอยู่เพียงนั้น (ทุติยโนอัสสาทสูตร) 28/20/1428/20/14 28/21/3 |
18 | [๑๙] ผู้ใดยังเพลิดเพลินอายตนะภายใน ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ (ปฐมอภินันทสูตร) 28/22/328/22/3 28/22/12 |
19 | [๒๐] ผู้ใดยังเพลิดเพลินอายตนะภายนอก ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ (ทุติยอภินันทสูตร) 28/22/1328/22/13 28/23/7 |
20 | [๒๑] ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอายตนะภายในเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ (ปฐมอุปปาทสูตร) 28/23/328/23/3 28/24/3 |
21 | [๒๒] ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอายตนะภายนอกเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา และมรณะ (ทุติยอุปปาทสูตร) 28/23/1528/23/15 28/24/15 |
22 | [๒๔] อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง ? อายตนะภายในและภายนอก พระพุทธองค์กล่าวว่าสิ่งทั้งปวง (สัพพสูตร) 28/25/528/25/5 28/26/4 |
23 | สิ่งทั้งปวง (สัพพะ) มี 4 อย่าง คือ สัพพสัพพะ, อายตนสัพพะ, สักกายสัพพะ,ปเทสสัพพะ (อ.สัพพสูตร)(อ.สัพพสูตร) 28/25/1428/25/14 28/26/16 |
24 | [๒๕] จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรละ... อันนี้แลเป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง (ปฐมปหานสูตร) 28/27/1128/27/11 28/28/14 |
25 | มโน ได้แก่ ภวังคจิต, ธัมมา ได้แก่ อารมณ์, มโนวิญญาณ ได้แก่ ชวนจิตที่เกิดพร้อมกับอาวัชชนจิต มโนสัมผัส ได้แก่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต(จิตตามสภาพปกติ ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรู้อารมณ์) (อ.ปฐมปหานสูตร) 28/28/828/28/8 28/29/9 |
26 | [๒๖] จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้ว ละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุ-สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย... อันนี้แลเป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง (ทุติยปหานสูตร) 28/28/1728/28/17 28/29/19 |
27 | [๒๗] บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ซึ่งจักษุรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส แม้สุข ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย... ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ (ปฐมปริชานสูตร) 28/29/1728/29/17 28/31/3 |
28 | [๓๐] บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง คือ จักษุรูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ... เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์. (ทุติยปริชานสูตร) 28/32/628/32/6 28/33/12 |
29 | [๓๑] สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน... (อาทิตตปริยายสูตร) 28/33/628/33/6 28/34/16 |
30 | ประวัติย่อภิกษุชฎิล 3 พี่น้อง สมัยพระปุสสพุทธเจ้าในกัปที่ 92 (อ.อาทิตตปริยายสูตร) 28/35/128/35/1 28/36/7 |
31 | [๓๒] สิ่งทั้งปวงเป็นของ มืดมน คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของมืดมน แม้สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน... (อันธภูตสูตร) 28/41/628/41/6 28/41/6 |
32 | [๓๓] ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันสมควร แก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ (สารุปปสูตร) 28/42/1628/42/16 28/42/9 |
33 | [๓๔] ภิกษุย่อมไม่สำคัญ ซึ่งอายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ ผัสสะเวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ ว่าของเรา... ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งขันธ์ ธาตุ อายตนะว่าเป็นของเรา ผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกย่อมไม่สะดุ้ง-กลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว ฯลฯ อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐิ. (ปฐมสัปปายสูตร) 28/45/328/45/3 28/44/15 |
34 | [๓๕] ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย แก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐิ (ทุติยสัปปายสูตร) 28/47/328/47/3 28/47/4 |
35 | [๓๖-๔๕] สิ่งทั้งปวงมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าโศก เศร้าหมอง สิ้นไป เสื่อมไป มีเหตุให้เกิด มีความดับไปเป็นธรรมดา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย ฯลฯ กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี (ชาติอาทิธรรมสูตร) 28/50/428/50/4 28/50/4 |
36 | [๔๖-๕๔] สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ สิ่งทั้งปวงวุ่นวาย ขัดข้อง อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ฯลฯ กิจที่ ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี (อนิจจาทิธรรมสูตร) 28/54/428/54/4 28/54/4 |
37 | [๕๖] บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น... (อวิชชาสูตร) 28/57/5 28/57/5 28/57/5 |
38 | [๕๗] บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ ได้... (ปฐมสังโยชนสูตร) 28/58/328/58/3 28/58/3 |
39 | [๕๘] เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตาสังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน... (ทุติยสังโยชนสูตร) 28/58/16 28/58/16 28/58/16 |
40 | [๕๙-๖๒] เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอาสวะได้, อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน, จึงจะละอนุสัย, อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน (สูตร ๔-๗) 28/59/10 28/59/10 28/59/9 |
41 | [๖๓] อาศัยจักษุ และรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวมธรรม 3 ประการ เป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายฯลฯ ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ย่อมทราบชัดว่าเรากำหนดรู้ว่าหลุดพ้นอุปาทาน นี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง (ปริญญาสูตร) 28/61/5 28/61/5 28/61/5 |
42 | [๖๔] อาศัยจักษุ และรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวมธรรม 3 ประการ เป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายฯลฯ ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ย่อมทราบชัดว่าเราครอบงำอุปาทานได้แล้วว่าหลุดพ้น นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง (ปฐมปริยาทานสูตร) 28/62/528/62/5 28/62/5 |
43 | [๖๕] ทรงแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง (ทุติยปริยาทานสูตร) 28/63/3 28/63/3 28/63/3 |
44 | [๖๖] ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นในรูปเป็นต้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีความกำหนัด มีความเกี่ยวข้อง นี้เรียกว่า ผู้มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน.. (ปฐมมิคชาลสูตร) 28/66/928/66/9 28/66/9 |
45 | [๖๗] ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความเกี่ยวข้อง นี้เรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว แม้จะอยู่ปะปนกับ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอำมาตย์ ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียวเพราะตัณหา ซึ่งเป็นเพื่อน เธอละได้แล้ว (ปฐมมิคชาลสูตร) 28/67/7 28/67/7 28/67/8 |
46 | เสนาสนะที่ให้สำเร็จเป็นอารัญญิกธุดงค์ องค์คุณของผู้อยู่ป่า ท่านกล่าวว่าโดยที่สุดชั่ว 500 ธนู. (อ.ปฐมมิคชาลสูตร) 28/69/228/69/2 28/68/20 |
47 | [๖๘] ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นในรูปเป็นต้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เพราะความเพลิดเพลินจึงเกิดทุกข์. (ทุติยมิคชาลสูตร) 28/70/828/70/8 28/70/8 |
48 | [๗๑] จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น... (ปฐมสมิทธิสูตร) 28/72/828/72/8 28/72/8 |
49 | [๗๓-๗๕] ทรงแสดงแก่พระสมิท ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่า สัตว์ , ทุกข์ , โลก . (สูตร ๔-๖) 28/73/328/73/3 28/73-74 |
50 | ที่ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าแตกทำลาย (อ.จตุตถสมิทธิสูตร) 28/74/1628/74/16 28/75/3 |
51 | พระอุปเสนะ นั่งเย็บผ้านุ่ง 2 ชั้น อยู่ในถ้ำ ลูกงูตกลงมาที่จะงอยบ่าท่านพระเถระถูกพิษงูเข้า จึงให้ภิกษุทั้งหลาย นำท่านออกไปตายอยู่นอกถ้ำ . (อ.อุปเสนสูตร) 28/76/1428/76/14 28/76/19 |
52 | [๗๙] อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุ แล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความกำหนัดในรูปและรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน (อุปวาณสูตร) 28/77/16 28/77/16 28/78/1 |
53 | [๘๒] อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุ แล้วรู้เสวยรูป แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในภายในอย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุ จะพึงเห็นเอง ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน (อุปวาณสูตร) 28/78/1528/78/15 28/78/24 |
54 | [๘๕-๘๗] ภิกษุบางรูปไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอยังไม่อยู่จบแล้ว เธอชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ (สูตร ๙-๑๑) 28/80/828/80/8 28/80/14 |
55 | [๘๘-๘๙] พระพุทธเจ้าทรงเสด็จเข้าไปหาภิกษุอาพาธรูปหนึ่งถึงที่อยู่แล้ว ทรงตรัสถามถึงอาการป่วย และความบริสุทธิ์แห่งศีลของภิกษุนั้น แล้วแสดงธรรม (ปฐมคิลานสูตร) 28/86/428/86/4 28/88/4 |
56 | [๙๐-๙๑] พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปหาภิกษุอาพาธ ถึงที่อยู่ แล้วทรงแสดงธรรมว่าด้วยความไม่เที่ยง ของอายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จบเทศนา ภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะ . (ทุติยคิลานสูตร) 28/89/328/89/3 28/90/17 |
57 | [๙๒-๙๔] ทรงแสดงธรรมแก่พระราธะ ให้ละความพอใจในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นสภาพไม่ใช่ตัวตน ได้แก่ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย... (สูตร ๓-๕) 28/91/1828/91/18 28/93-94 |
58 | [๙๕] ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ (ปฐมอวิชชาสูตร) 28/95/528/95/5 28/96/4 |
59 | [๙๖] ภิกษุได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เธอย่อมรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วย่อมเห็นนิมิตทั้งปวง โดยประการอื่น (เห็นโดยเป็นอนัตตา) เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิด. (ทุติยอวิชชาสูตร) 28/96/1428/96/14 28/97/14 |
60 | จริงอยู่ ชนผู้มีความยึดมั่น อันมิได้กำหนดรู้ ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวง โดยเป็นอัตตาส่วนผู้มีความยึดมั่นอันได้กำหนดรู้แล้ว ย่อมเห็นโดยเป็นอนัตตา ไม่เห็นโดยเป็นอัตตา (อ.ทุติยอวิชชาสูตร) 28/97/728/97/7 28/98/8 |
61 | [๙๗] การประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้า ก็เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ จักษุเป็นทุกข์ , รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น... (ภิกขุสูตร) 28/98/1028/98/10 28/99/11 |
62 | [๙๘] ที่เรียกว่า โลก เพราะจะต้องแตกสลาย อะไรเล่าแตกสลาย ? ตอบว่า จักษุรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แตกสลาย... (โลกสูตร) 28/99/1628/99/16 28/100/12 |
63 | [๑๐๐] บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้า ผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้นไม่มีเลย... (ผัคคุนสูตร) 28/101/128/101/1 28/101/17 |
64 | [๑๐๑] สิ่งใดมีความแตกสลาย เป็นธรรมดา นี้เรียกว่า โลกในอริยวินัย. . (ปโลกสูตร) 28/103/728/103/7 28/104/8 |
65 | [๑๐๒] ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่า เพราะว่างเปล่าจากตน หรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า (สุญญสูตร) 28/104/928/104/9 28/105/10 |
66 | [๑๐๓] พระอานนท์ ทูลขอโอวาทโดยย่อ เพื่อหลีกออกจากหมู่ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมว่าด้วย ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แห่งอายตนะภายในและภายนอก วิญญาณ สัมผัส และเวทนาที่เกิดจากสัมผัสเป็นปัจจัย . (สังขิตตสูตร) 28/105/1228/105/12 28/106/13 |
67 | [๑๑๑] ภิกษุใดแล ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ยึดถือกายอื่นด้วย พระพุทธองค์ทรงเรียกภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่พึงเข้าไปหา (ฉันนสูตร) 28/113/928/113/9 28/113/9 |
68 | [๑๑๕-๑๑๖] มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท เป็นผู้ดุร้าย หยาบคายนัก. (ปุณณสูตร) 28/119/10 28/119/10 28/119/2 |
69 | พระฉันนะ บรรลุพระอรหันต์ เป็นพระอรหันตสมสีสี ปรินิพพานแล้ว (อ.ฉันนสูตร) 28/116/4 28/116/4 28/116/2 |
70 | ในสมัยพุทธกาล ไม้จันทน์แดง ขนาด 4 นิ้ว ได้ราคาตั้ง แสน (อ.ปุณณสูตร) 28/127/828/127/8 28/125/20 |
71 | คนทำลายป่า เทวดาโกรธ (อ.ปุณณสูตร) 28/127/1028/127/10 28/125/22 |
72 | พระพุทธเจ้าเสด็จมาสุนาปรันตชนบท ตั้งแต่ชาวบ้าน เริ่มทำโรงกลม. (อ.ปุณณสูตร) 28/128/1428/128/14 28/126/23 |
73 | ดาบสสัจจพันธ์ ได้บรรลุพระอรหัต (อ.ปุณณสูตร) 28/130/628/130/6 28/128/7 |
74 | พระพุทธเจ้าทรงแสดง รอยพุทธบาทไว้ริมฝั่ง แม่น้ำนัมมทา และหลังแผ่นหินที่ภูเขาสัจจพันธ์(อ.ปุณณสูตร) 28/131/628/131/6 28/129/1 |
75 | [๑๑๘-๑๑๙] พระพุทธองค์ทรงแสดง ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาของจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแก่พระพาหิยะ เพื่อหลีกออกจากหมู่ ทำความเพียรก็ท่านพระพาหิยะไปทำความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง . (พาหิยสูตร) 28/132/328/132/3 28/129/20 |
76 | [๑๒๐] ไม่พึงสำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่าสิ่งทั้งปวงของเรา เมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับสนิทเฉพาะตนทีเดียว (ปฐมเอชสูตร) 28/136/1428/136/14 28/133/25 |
77 | [๑๒๒] ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะของเรา เมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก... (ทุติยเอชสูตร) 28/138/2028/138/20 28/135/24 |
78 | [๑๒๓] ทรงแสดงส่วนสองคือ ตากับรูป , หูกับเสียง , จมูกกับกลิ่น , ลิ้นกับรส ,กายกับสิ่งที่ถูกต้องกาย ใจกับธรรมารมณ์ นี้เรียกว่า ธรรมคู่ (ปฐมทวยสูตร) 28/140/328/140/3 28/137/3 |
79 | [๑๒๔] จักษุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุ และรูป ซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นอย่างอื่น ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง 3 นี้ เรียกว่า จักษุสัมผัส (ทุติยทวยสูตร) 28/140/1728/140/17 28/138/3 |
80 | [๑๒๕] เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และ อาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น. (ทุติยทวยสูตร) 28/141/1228/141/12 28/138/18 |
81 | จริงอยู่แม้ในมโนทวาร วัตถุรูปจัดเป็น รูปขันธ์ โดยส่วนเดียว เมื่ออารมณ์ คือรูปมีอยู่ แม้อารมณ์ก็จัด เป็นรูปขันธ์ (อ.ทุติยทวยสูตร) 28/144/2028/144/20 28/141/16 |
82 | [๑๒๘] ผัสสายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ (ปฐมสังคัยหสูตร) 28/146/4 28/146/4 28/143/4 |
83 | [๑๓๓] ในรูปที่เห็นแล้ว จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว จักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ ที่ได้ทราบแล้ว จักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง (ทุติยสังคัยหสูตร) 28/152/728/152/7 28/149/6 |
84 | [๑๓๔] " ลืมสติไปแล้ว เพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิด เป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌา และวิหิงสาเข้าไปกระทบเมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน "... (ทุติยสังคัยหสูตร) 28/153/3 28/153/3 28/149/25 |
85 | จริงอยู่จักขุวิญญาณ ย่อมเห็นสักว่ารูปในรูปเท่านั้น ย่อมไม่เห็นสภาวะว่าเที่ยงเป็นต้น. (อ.ทุติยสังคัยหสูตร) 28/159/1228/159/12 28/155/8 |
86 | [๑๔๐] อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นครอบงำ ไม่ละไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ ปริหานธรรม(มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ) มีอย่างนี้ (ปริหานสูตร) 28/162/528/162/5 28/157/18 |
87 | [๑๔๑] อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิด ขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นครอบงำ ละบรรเทา กำจัดให้สิ้นไป ไม่ให้มี ข้อนั้นภิกษุทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลายดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ อปริหานธรรมมีอย่างนี้ (ปริหานสูตร) 28/163/228/163/2 28/158/12 |
88 | [๑๔๒] อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตาพึงทราบว่า อายตนะ นี้เราครอบงำแล้วอายตนะนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ (ปริหานสูตร) 28/163/18 28/163/18 28/159/4 |
89 | [๑๔๓] ภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไป ปราโมทย์ก็ไม่มี ปีติก็ไม่มี กายก็ไม่สงบ อยู่ลำบาก จิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ ชื่อว่า ผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง (ปมาทวิหารีสูตร) 28/165/628/165/6 28/160/15 |
90 | [๑๔๕] รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี สรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่าเราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย (สังวรสูตร) 28/167/828/167/8 28/162/15 |
91 | [๑๔๗] ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า ตา รูป จักษุวิญญาณจักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยสิ่งเหล่านี้ ไม่เที่ยง ฯลฯ . (สมาธิสูตร) 28/169/328/169/3 28/164/6 |
92 | [๑๔๘] เมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียร ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า ตา รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นไม่เที่ยง ฯลฯ (ปฏิสัลลีนสูตร) 28/170/328/170/3 28/165/10 |
93 | [๑๔๙] ภิกษุจงละสิ่งที่ไม่ใช่ของตน คือ ตา รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย... ละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข ทรงเปรียบ กิ่งไม้ ใบไม้ ในวิหารเชตวัน ถ้ามีคนนำไปเผา จะคิดว่าเขาเผาเรา เผาของเรา หรือ ? (ปฐมนตุมหากสูตร) 28/171/328/171/3 28/166/11 |
94 | [๑๕๐] สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข (ทุติยนตุมหากสูตร) 28/173/1228/173/12 28/169/3 |
95 | [๑๕๑] ภิกษุผู้จบเวท ย่อมรู้ตามความเป็นจริงซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ 6 (อุททกสูตร) 28/175/1828/175/18 28/171/7 |
96 | [๑๕๑] คัณฑะ เป็นชื่อของกายนี้ , คัณฑมูล เป็นชื่อของตัณหา (อุททกสูตร) 28/176/428/176/4 28/171/14 |
97 | [๑๕๒] รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รักอาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด อันตถาคตละได้แล้ว... ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคตบัณฑิตจึงเรียกว่าผู้เกษมจากโยคะ ฯลฯ (โยคักเขมีสูตร) 28/179/528/179/5 28/175/5 |
98 | [๑๕๓] เมื่ออายตนะภายในมี สุขและทุกข์ที่ เป็นภายในอาศัย อายตนะภายในนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย ฯลฯ (อุปาทายสูตร) 28/181/1 28/181/1 28/176/18 |
99 | [๑๕๔] อาศัย ตา และรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม 3 ประการเป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหานี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ (ทุกขสูตร) 28/182/828/182/8 28/178/8 |
100 | [๑๕๖-๑๕๗] ทรงแสดง ความเกิด และความดับแห่งโลก โลกในที่นี้ หมายเอาสังขารโลก (โลกสูตร) 28/183/1828/183/18 28/180/3 |
101 | [๑๕๘] เมื่ออายตนะภายในมี เพราะยึดมั่น ถือมั่น ในอายตนะภายในนั้น จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา (เสยยสูตร) 28/185/12 28/185/12 28/181/13 |
102 | [๑๕๙] ตา เป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในตานั้น เป็นสังโยชน์ในตานั้น. (สังโยชนสูตร) 28/187/1228/187/12 28/183/7 |
103 | [๑๖๐] ตา เป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในตานั้น เป็นอุปาทานในตานั้น. (อุปาทานสูตร) 28/188/328/188/3 28/184/3 |
104 | [๑๖๑] บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละ อายตนะภายใน และภายนอกย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละอายตนะภายในและภายนอกย่อมควรสิ้นทุกข์ (ปฐมอปริชานสูตร) 28/188/1428/188/14 28/184/14 |
105 | [๑๖๒-๑๖๔] พระพุทธองค์ประทับพักอยู่ในที่เร้น ได้ทรงภาษิตธรรมปริยาย ว่าด้วยความเกิด ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล. ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ พระองค์จึงตรัสให้ ภิกษุนั้นจงเรียน จงเล่าเรียน จงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ เพราะว่าธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ (สูตร ๙-๑๐) 28/189/7 28/189/7 28/185/3 |
106 | [๑๖๕] รูปทั้งหลายเป็นบ่วงแห่งมาร (ปฐมมารปาสสูตร) 28/192/428/192/4 28/188/4 |
107 | [๑๖๗] ผู้ใดเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันในรูป เป็นต้น ย่อมตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา (ทุติยมารปาสสูตร) 28/193/1028/193/10 28/189/13 |
108 | [๑๗๑] บุคคลย่อมมีความ สำคัญในโลก ว่าโลก ถือว่าโลกด้วย ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ ธรรมนี้ เรียกว่า โลกในวินัยของพระอริยะ (ปฐมโลกกามคุณสูตร) 28/197/2028/197/20 28/193/23 |
109 | พระพุทธเจ้าประสงค์จะชมเชย พระอานนท์ จึงตรัสธรรมโดยย่อแก่ภิกษุทั้งหลายแล้วหายไป ณ อาสนะที่ประทับนั่ง ไปปรากฏในพระคันธกุฎี เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นไปถามพระอานนท์ (อ.ปฐมโลกกามคุณสูตร) 28/200/428/200/4 28/195/21 |
110 | [๑๗๓] อายตนะอันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือจักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น... ใจดับ ณ ที่ใดธรรมสัญญา ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น. (ทุติยโลกกามคุณสูตร) 28/204/4 28/204/4 28/199/13 |
111 | การดับ สฬายตนะ(อายตนะ6) เรียกว่า นิพพาน. จริงอยู่ จักษุ และรูปสัญญาเป็นต้น ย่อมดับในเพราะนิพพาน (อ.ทุติยโลกกามคุณสูตร) 28/209/1628/209/16 28/205/12 |
112 | [๑๗๘] หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูป เป็นต้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหาย่อมมี อุปาทาน อาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทานยังไม่ปรินิพพาน เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน (สักกสูตร) 28/210/1028/210/10 28/206/4 |
113 | [๑๘๑] รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน นี้แลเป็นเหตุ ทำให้สัตว์บางพวกไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน (ปัญจสิขสูตร) 28/212/1028/212/10 28/208/10 |
114 | [๑๘๓-๑๘๖] พระสารีบุตร กล่าวถึง ข้อที่ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายรู้ประมาณในโภชนะ ประกอบด้วยความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ (สารีปุตตสูตร) 28/213/16 28/213/16 28/209/13 |
115 | [๑๘๘] ทรงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่พระราหุล ว่าด้วย ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในอายตนะภายใน และภายนอก หมวดวิญญาณ 6สัมผัส 6 เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย . (ราหุลสูตร) 28/216/1628/216/16 28/212/8 |
116 | ธรรม 15 อย่าง เป็นเครื่องบ่มวิมุตติ (อ.ราหุลสูตร) 28/220/2028/220/20 28/215/20 |
117 | [๑๘๙] รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น (สังโยชนสูตร) 28/222/1628/222/16 28/217/11 |
118 | [๑๙๐] รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวอุปาทานในรูปนั้น (อุปาทานสูตร) 28/223/10 28/223/10 28/218/3 |
119 | [๑๙๑-๑๙๒] อุคคคฤหบดี ชาวกรุงเวสาลี ทูลถามเหตุปัจจัย ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน และปรินิพพาน ในปัจจุบัน. (เวสาลีสูตร) 28/225/428/225/4 28/220/5 |
120 | อุคคคฤหบดี เป็นสาวกผู้เลิศในการถวายของประณีต (อ.เวสาลีสูตร) 28/226/1728/226/17 28/221/18 |
121 | [๑๙๓] อุคคคฤหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม แคว้นวัชชี ทูลถามเหตุปัจจัยที่สัตว์ บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน และปรินิพพาน ในปัจจุบัน (วัชชีสูตร) 28/227/328/227/3 28/222/4 |
122 | [๑๙๔] อุบาลีคฤหบดี ทูลถามเหตุปัจจัย ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน และปรินิพพาน ในปัจจุบัน. (นาฬันทสูตร) 28/228/1628/228/16 28/223/14 |
123 | [๑๙๕] พระเจ้าอุเทน ถามถึงเหตุที่ภิกษุหนุ่มประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ได้นาน พระปิณโฑลภารทวาชะตอบ ที่พระพุทธองค์สอน คือ ให้ตั้งจิตว่าเป็น มารดาในหญิงปูนมารดา จงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในหญิงปูนพี่สาว น้องสาว จงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ให้หญิงปูนธิดา (ภารทวาชสูตร) 28/230/1128/230/11 28/225/7 |
124 | [๑๙๖] การพิจารณาอาการ 32 เป็นเหตุที่ภิกษุหนุ่มประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้นาน (ภารทวาชสูตร) 28/231/928/231/9 28/226/4 |
125 | [๑๙๗] ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย เป็นเหตุที่ภิกษุหนุ่มประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้นาน (ภารทวาชสูตร) 28/232/628/232/6 28/226/22 |
126 | พระปิณโฑละบวชเพื่อเสาะแสวงก้อนข้าว เป็นผู้ฉันจุ พระพุทธเจ้าจึงไม่อนุญาตให้ท่านใช้ถุงบาตร (อ.ภารทวาชสูตร) 28/234/1528/234/15 28/229/3 |
127 | [๑๙๙] บุตรคฤหบดี ชื่อว่า โสณะ เข้าเฝ้าถามถึงเหตุที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน และปรินิพพาน ในปัจจุบัน (โสณสุตร) 28/239/328/239/3 28/233/4 |
128 | [๒๐๐] พระอานนท์ ตอบคำถามของโฆสิตคฤหบดี เกี่ยวกับ ความแตกต่างแห่งธาตุ (โฆสิตสูตร) 28/239/1428/239/14 28/233/15 |
129 | จริงอยู่ในที่นี้ จักขุปสาท เป็นจักขุธาตุ อารมณ์อันกระทบจักขุปสาท นั้นเป็นรูปธาตุ จักขุวิญญาณเป็นวิญญาณธาตุ ขันธ์ 3 ที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ-ธาตุ เป็นธรรมธาตุ (อ.โฆสิตสูตร) 28/241/428/241/4 28/235/10 |
130 | [๒๐๑-๒๐๒] หาลิททกานิคฤหบดี ถามพระมหากัจจายนะ ถึงความแตกต่าง แห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ อาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไร ? . (หาลิททกานิสูตร) 28/241/1428/241/14 28/236/4 |
131 | [๒๐๓] นกุลบิดาคฤหบดี ทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน และปรินิพพานในปัจจุบัน (นกุลปิตุสูตร) 28/243/1628/243/16 28/238/4 |
132 | [๒๐๗-๒๐๘] โลหิจจพราหมณ์ ถามพระมหากัจจายนะ ถึง ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง และผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว (โลหิจจสูตร) 28/247/528/247/5 28/241/25 |
133 | [๒๑๐] พระอุทายี ไม่แสดงธรรมแก่ พราหมณีเวรหัญจานิโคตร ผู้สวมเขียงเท้านั่งบนอาสนะอันสูง คลุมศีรษะอยู่ (เวรหัญจานีสูตร) 28/254/1628/254/16 28/248/23 |
134 | [๒๑๒] เมื่อจักษุมีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติ สุขและทุกข์ เมื่อจักษุไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติ สุขและทุกข์ ฯลฯ(เวรหัญจานีสูตร) 28/256/1028/256/10 28/250/10 |
135 | [๒๑๓] พระพุทธองค์กล่าวว่า พระอรหันต์ ไม่ควรทำกิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ 6 ส่วนภิกษุ นอกนั้น ควรทำกิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ6 (เทวทหสูตร) 28/258/428/258/4 28/252/4 |
136 | [๒๑๔-๒๑๕] พระพุทธองค์ ตรัส นรกชื่อ ผัสสายตนิกะ 6 และสวรรค์ ชื่อ ผัสสายตนิกะ 6 ในที่นี้หมายเอา อเวจีมหานรก และดาวดึงส์ (ขณสูตร) 28/260/328/260/3 28/254/9 |
137 | ใครๆ ไม่อาจอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในนรก หรือในเทวโลกได้ ส่วนมนุษยโลก มีความสุข และความทุกข์ระคนกัน ในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ย่อมมีทั้งอบายและสวรรค์ปรากฏ นี้ชื่อว่า กรรมภูมิของมรรคพรหมจรรย์ (อ.ขณสูตร) 28/261/1728/261/17 28/256/4 |
138 | [๒๑๖] เทวดา และมนุษย์ เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดี แล้วในรูปเป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูป แปรปรวน คลายไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ฯลฯ (ปฐมรูปารามสูตร) 28/262/1728/262/17 28/257/3 |
139 | ความเห็นของบัณฑิต ย่อมขัดแย้งผิดกับชาวโลกทั้งมวล ชาวโลก สำคัญ ขันธ์ 5 ว่าเที่ยงเป็นสุข เป็นอัตตา เป็นของงาม แต่บัณฑิต สำคัญว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม (อ.ปฐมรูปารามสูตร) 28/265/828/265/8 28/259/11 |
140 | [๒๑๘] พระตถาคต รู้แจ้งแล้ว ซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณโทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง อายตนะภายนอก 6 ไม่เป็นผู้ยินดี เพลิดเพลินในอายตนะภายนอก 6 เพราะอายตนะภายนอก แปรปรวน คลายไป และดับไป พระตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข (ทุติยรูปารามสูตร) 28/267/1128/267/11 28/261/11 |
141 | [๒๑๙] อายตนะภายใน 6 ไม่ใช่ของเรา จงละอายตนะภายใน 6 นั้นเสีย ละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เปรียบเหมือน คนนำเอากิ่งไม้ใบไม้ในเชตวันไป จะคิดว่าเขานำพวกเราไป หรือเผาพวกเราดังนี้หรือ ? (ปฐมนตุมหากสูตร) 28/268/3 28/268/3 28/262/3 |
142 | [๒๑๐] อายตนะภายนอก 6 ไม่ใช่ของเรา จงละอายตนะภายนอก 6 นั้นเสีย ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เปรียบเหมือน คนนำเอากิ่งไม้ใบไม้ ในเชตวันไป จะคิดว่าเขานำพวกเราไป หรือเผา พวกเรา ดังนี้หรือ ? (ทุติยนตุมหากสูตร) 28/269/328/269/3 28/263/5 |
143 | [๒๒๑] จักษุเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุ และปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็ไม่เที่ยงจักษุอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ . (ปฐมเหตุอัชฌัตตสูตร) 28/270/728/270/7 28/264/7 |
144 | [๒๒๒] จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์จักษุอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ . (ทุติยเหตุอัชฌัตตสูตร) 28/271/328/271/3 28/26/3 |
145 | [๒๒๓] จักษุเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นอนัตตา จักษุอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ . (ทุติยเหตุอัชฌัตตสูตร) 28/271/1328/271/13 28/265/14 |
146 | [๒๒๔-๒๒๖] อายตนะภายนอกเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง อายตนะภายนอกก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา (สูตร ๙-๑๐) 28/272/328/272/3 28/266-267 |
147 | [๒๒๗] อายตนะภายใน อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เรียกว่า กรรมเก่า (กรรมสูตร) 28/275/428/275/4 28/269/4 |
148 | [๒๒๘] กรรมที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ เรียกว่า กรรมใหม่ (กรรมสูตร) 28/275/1128/275/11 28/269/12 |
149 | [๒๒๙] นิโรธ ที่ถูกต้องด้วย วิมุตติ เพราะความดับแห่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เรียกว่า ความดับแห่งกรรม (กรรมสูตร) 28/275/1328/275/13 28/269/14 |
150 | [๒๓๒] จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ไม่เที่ยง แม้เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ นี้เป็นปฏิปทาอันเป็น สัปปายะ (เป็นที่สบาย) แก่นิพพาน (ปฐมสัปปายสูตร) 28/277/328/277/3 28/271/5 |
151 | [๒๓๓] จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นทุกข์ แม้เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ นี้เป็นปฏิปทาอันเป็น ที่สบาย แก่นิพพาน (ทุติยสัปปายสูตร) 28/277/1628/277/16 28/272/3 |
152 | [๒๓๔] จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นอนัตตา แม้เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ฯลฯ นี้เป็นปฏิปทาอันเป็น ที่สบาย แก่นิพพาน (ตติยสัปปายสูตร) 28/278/1128/278/11 28/272/16 |
153 | [๒๓๕] ทรงแสดงปฏิปทาอันเป็นที่สัปปายะแก่นิพพาน (จตุตถสัปปายสูตร) 28/279/328/279/3 28/273/9 |
154 | [๒๓๖] ภิกษุยังมี อันเตวาสิก ยังมีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ส่วนภิกษุไม่มีอันเตวาสิกไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข, เพราะอกุศลธรรมอันลามกอยู่ภายใน ของภิกษุนั้น จึงเรียกว่ามีอันเตวาสิก(ลูกศิษย์) เพราะอกุศลธรรมอันลามกย่อมครอบงำภิกษุนั้นจึงเรียกว่า มีอาจารย์ (อนันเตวาสิกานาจริยสูตร) 28/282/328/282/3 28/276/3 |
155 | [๒๓๘] การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระพุทธเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ (ติตถิยสูตร) 28/285/328/285/3 28/278/3 |
156 | [๒๔๐-๒๔๒] เหตุที่จะให้ภิกษุ อาศัยพยากรณ์ อรหัตตผล ด้วยตนเอง คือ ภิกษุเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น แล้วย่อมรู้ชัดซึ่ง ราคะ โทสะ และโมหะ อันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ โมหะ มีอยู่ภายใน หรือไม่มีอยู่ภายใน ของเรา ธรรมเหล่านี้ ย่อมเห็นด้วยปัญญา (ปริยายสูตร) 28/286/1328/286/13 28/280/13 |
157 | [๒๔๓] ถ้าว่าภิกษุพิจารณา เห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในจักขุนทรีย์ เป็นต้นย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ (อินทริยสูตร) 28/289/1328/289/13 28/284/3 |
158 | ภิกษุใดพิจารณาอินทรีย์ 6 แล้วบรรลุอรหัตภิกษุนั้นชื่อว่า มีอินทรีย์ สมบูรณ์ . (อ.อินทริยสูตร) 28/290/1028/290/10 28/284/20 |
159 | [๒๔๔] ภิกษุผู้แสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอายตนะภายใน ควรเรียกได้ว่า พระธรรมกถึก (ธรรมกถิกสูตร) 28/291/328/291/3 28/285/10 |
160 | [๒๔๕] ภิกษุเห็นอายตนะภายใน อันไม่เที่ยงนั้นแลว่าไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่า ความเห็นชอบ ภิกษุเมื่อเห็นชอบ ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว (ปฐมนันทิขยสูตร) 28/293/528/293/5 28/287/5 |
161 | [๒๔๖] ภิกษุเห็นอายตนะภายนอก อันไม่เที่ยงนั้นแลว่าไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่า ความเห็นชอบ ภิกษุเมื่อเห็นชอบ ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว (ทุตยนันทิขยสูตร) 28/293/1628/293/16 28/288/3 |
162 | [๒๔๗] เมื่อใส่ใจถึงอายตนะภายในโดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งอายตนะภายในตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว (ตติยนันทิขยสูตร) 28/294/1028/294/10 28/288/15 |
163 | [๒๔๘] เมื่อใส่ใจถึง อายตนะภายนอกโดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งอายตนะภายนอกตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว (จตุตถนันทิขยสูตร) 28/295/328/295/3 28/289/14 |
164 | [๒๔๙] ทรงตรัสให้ภิกษุเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวง ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง คือ ความไม่เที่ยงแห่ง อายตนะภายในและภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏ (ปฐมชีวกัมพวนสูตร) 28/296/1228/296/12 28/291/3 |
165 | [๒๕๐] ทรงตรัสให้ภิกษุจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวง ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง คือ ความไม่เที่ยงแห่ง อายตนะ ภายในและภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏ (ทุติยชีวกัมพวนสูตร) 28/297/1328/297/13 28/292/3 |
166 | [๒๕๑] ทรงแสดงแก่พระมหาโกฏฐิกะ ให้ละความพอใจในสิ่งที่ไม่เที่ยง ก็สิ่งที่ไม่เที่ยง คือ อายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย (ปฐมมหาโกฏฐิกสูตร) 28/299/328/299/3 28/293/11 |
167 | [๒๕๒] ทรงแสดงแก่พระมหาโกฏฐิกะ ให้ละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์ ก็สิ่งที่เป็นทุกข์ คือ อายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย (ทุติยมหาโกฏฐิกสูตร) 28/300/728/300/7 28/294/15 |
168 | [๒๕๓] ทรงแสดงแก่พระมหาโกฏฐิกะ ให้ละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา ก็สิ่งที่เป็นอนัตตา คือ อายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสเป็นปัจจัย (ตติยมหาโกฏฐิกสูตร) 28/301/1128/301/11 28/295/17 |
169 | [๒๕๔] บุคคลรู้เห็นใน อายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ (มิจฉาทิฏฐิสูตร) 28/303/328/303/3 28/297/3 |
170 | [๒๕๕] บุคคลรู้เห็นใน อายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกาย-ทิฏฐิได้ (สักกายทิฏฐิสูตร) 28/304/328/304/3 28/298/3 |
171 | [๒๕๖] บุคคลรู้เห็นใน อายตนะภายใน และภายนอก วิญญาณ 6 สัมผัส 6 เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ (อัตตานุทิฏฐิสูตร) 28/305/328/305/3 28/299/3 |
172 | [๒๕๗] สิ่งใดไม่เที่ยง พึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งที่ไม่เที่ยง คือ อายตนะภายใน (สูตร ๑-๓) 28/307/428/307/4 28/301-302 |
173 | [๒๕๘] สิ่งใดเป็นทุกข์ พึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งที่เป็นทุกข์ คือ อายตนะภายใน (สูตร ๔-๖) 28/308/1228/308/12 28/302/15 |
174 | [๒๕๙] สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งที่เป็นอนัตตา คือ อายตนะภายใน (สูตร ๗-๙) 28/310/328/310/3 28/304/6 |
175 | [๒๖๐] สิ่งใดไม่เที่ยง พึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งที่ไม่เที่ยงคือ อายตนะภายนอก (สูตร ๑๐-๑๒) 28/311/1228/311/12 28/305/15 |
176 | [๒๖๑] สิ่งใดเป็นทุกข์ พึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ คือ อายตนะภายนอก (สูตร ๑๓-๑๕) 28/313/328/313/3 28/307/6 |
177 | [๒๖๒] สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งที่เป็นอนัตตา คือ อายตนะภายนอก (สูตร ๑๖-๑๘) 28/314/1228/314/12 28/308/15 |
178 | [๒๖๓-๒๖๕] อายตนะภายใน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง.(สูตร ๑๙-๒๑) 28/316/328/316/3 28/310/8 |
179 | [๒๖๖] อายตนะภายใน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นทุกข์ .(สูตร ๒๒-๒๔) 28/317/1128/317/11 28/312/3 |
180 | [๒๖๗] อายตนะภายใน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นอนัตตา .(สูตร ๒๕-๒๗) 28/319/328/319/3 28/313/10 |
181 | [๒๖๘] อายตนะภายนอก ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง .(สูตร ๒๘-๓๐) 28/320/1128/320/11 28/315/3 |
182 | [๒๖๙] อายตนะภายนอก ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นทุกข์ .(สูตร ๓๑-๓๓) 28/322/328/322/3 28/316/11 |
183 | [๒๗๐] อายตนะภายนอก ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นอนัตตา .(สูตร ๓๔-๓๖) 28/323/1128/323/11 28/318/3 |
184 | [๒๗๑-๒๗๓] อายตนะภายใน ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (สูตร ๓๗-๓๙) 28/325/328/325/3 28/319/12 |
185 | [๒๗๔] อายตนะภายใน ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .(สูตร ๔๐-๔๒) 28/326/1228/326/12 28/321/6 |
186 | [๒๗๕] อายตนะภายใน ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นอนัตตา .(สูตร ๔๓-๔๕) 28/328/328/328/3 28/323/3 |
187 | [๒๗๖] อายตนะภายนอก ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (สูตร ๔๖-๔๘) 28/329/1228/329/12 28/324/13 |
188 | [๒๗๗] อายตนะภายนอก ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .(สูตร ๔๙-๕๑) 28/331/328/331/3 28/326/15 |
189 | [๒๗๘] อายตนะภายนอก ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นอนัตตา .(สูตร ๕๒-๕๔) 28/332/1228/332/12 28/328/13 |
190 | [๒๗๙-๒๘๑] อายตนะภายใน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .(สูตร ๕๕-๕๗) 28/334/328/334/3 28/330/3 |
191 | [๒๘๒-๒๘๔] อายตนะภายนอก เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .(สูตร ๕๘-๖๐) 28/335/328/335/3 28/331/10 |
192 | [๒๘๕] จักษุเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของจักษุนั้นเกิดจากรูป บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปนั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ ข้ามสมุทร คือ จักษุซึ่งมีทั้งคลื่น น้ำวน สัตว์ร้าย ผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก .(ปฐมสมุททสูตร) 28/338/428/338/4 28/335/4 |
193 | [๒๘๗] รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักอาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดนี้เรียกว่า เป็นสมุทรในวินัยของพระอริยะเจ้า .(ทุติยสมุททสูตร) 28/340/1628/340/16 28/337/17 |
194 | [๒๘๙] ทรงเปรียบ อายตนะภายนอก ดุจเบ็ด 6 ชนิด ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูป เป็นต้น นั้นเรียกได้ว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ย่อมถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ (พาลิสิกสูตร) 28/342/1428/342/14 28/339/13 |
195 | [๒๙๒] ทรงเปรียบ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ซึ่งมีอยู่ในรูปอันจักษุ-วิญญาณพึงรู้แจ้ง เป็นต้น ที่ภิกษุยังละไม่ได้ เหมือน ต้นไม้มียาง (ขีรรุกขสูตร) 28/345/128/345/1 28/341/19 |
196 | [๒๙๕] ความพอใจ รักใคร่ เกิดขึ้นเพราะอาศัย อายตนะภายใน และภายนอก เป็นสังโยชน์ เครื่องผูก อายตนะภายใน และภายนอกนั้น.(โกฏฐิกสูตร) 28/349/628/349/6 28/345/10 |
197 | [๒๙๘] จักษุของพระพุทธเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ แต่พระพุทธเจ้าไม่มีความพอใจ รักใคร่เลย พระพุทธเจ้าทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว .(โกฏฐิกสูตร) 28/351/1528/351/15 28/347/9 |
198 | [๒๙๙] พระอานนท์ตอบคำถามพระกามภูเกี่ยวกับ เครื่องผูก เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว ที่เขาผูกติดกันด้วย เชือกเส้นเดียว (กามภูสูตร) 28/353/328/353/3 28/348/10 |
199 | [๓๐๐-๓๐๒] พระอุทายี ถามพระอานนท์ ถึงวิญญาณ เป็นอนัตตา เพราะเหตุอย่างไร ? (อุทายีสูตร) 28/354/1828/354/18 28/350/3 |
200 | [๓๐๓] โทษของผู้ยึดติดรูป เป็นต้น พึงเข้าถึง คติ 2 อย่าง คือ นรก หรือ สัตว์เดียรฉาน (อาทิตตปริยายสูตร) 28/357/328/357/3 28/352/9 |
201 | การถือ นิมิต โดย อนุพยัญชนะ ได้แก่ การถือ เอานิมิตโดยแยกถือ เป็นส่วนๆอย่างนี้ว่ามืองาม เท้างาม ดังนี้ (อ.อาทิตตปริยายสูตร) 28/361/328/361/3 28/355/16 |
202 | เมื่ออารมณ์ มาปรากฏในจักขุทวาร จิตที่กำหนัด จิตที่ขัดเคือง จิตที่ลุ่มหลงย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์หยั่งลงสู่ภวังคจิตอยู่ในภวังคจิตแล้ว ย่อมกระทำกาลกิริยา(ตาย) ในสมัยนั้นพึงหวังคติเป็นสอง (อ.อาทิตตปริยายสูตร) 28/361/1528/361/15 28/356/9 |
203 | [๓๐๕-๓๐๘] เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เหมือนเมื่อมือทั้ง 2 มีอยู่ การจับและการวางก็ปรากฏ (สูตร ๙-๑๐) 28/363/328/363/3 28/357/10 |
204 | [๓๐๙-๓๑๖] ทรงแสดงอุปมา อสรพิษ 4 จำพวก เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป 4 เพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึก ทั้ง 5 คน เป็นชื่อ แห่งอุปาทานขันธ์ 5 ... คำว่า ข้าม-ฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์ เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ (อาสีวิสสูตร) 28/366/528/366/5 28/360/5 |
205 | พระสูตรนี้ตรัสด้วยอำนาจเหล่าภิกษุ อุคฆฏิตัญญูบุคคลที่อยู่ในทิศต่างๆผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีทุกขลักขณะเป็นอารมณ์ (อ.อาสีวิสสูตร) 28/369/828/369/8 28/363/7 |
206 | อสรพิษ 4 จำพวก(อ.อาสีวิสสูตร) 28/370/128/370/1 28/363/23 |
207 | ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมฆ่า ซึ่งกันและกัน เมื่อรูปขันธ์แตกก็พาเอาอรูปขันธ์ 4 แตกไปด้วย เพราะฉะนั้น รูปถือว่าฆ่า อรูปอย่างนี้ (อ.อาสีวิสสูตร) 28/385/528/385/5 28/376/12 |
208 | พระพุทธเจ้าครั้นทรงกำหนด นันทิราคะนั้นว่าเป็นสังขารขันธ์ดังนี้แล้ว จึงทรงกำหนดขันธ์ 5 อย่างนี้ว่า เวทนาที่ประกอบด้วยสังขารขันธ์นั้น จัดเป็นเวทนา-ขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ อารมณ์ของขันธ์เหล่านั้น จัดเป็นรูปขันธ์ (อ.อาสีวิสสูตร) 28/386/1728/386/17 28/377/19 |
209 | กรรมฐานที่กำหนดเอาอายตนะภายใน 6 (อ.อาสีวิสสูตร) 28/387/328/387/3 28/378/1 |
210 | [๓๑๗-๓๑๙] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อมมากด้วยสุขโสมนัส อยู่ในปัจจุบัน และย่อมเป็นอันภิกษุนั้น ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะ คือ ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในอาหาร ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ (รถสูตร) 28/394/1328/394/13 28/384/8 |
211 | รู้จักประมาณในโภชนะ มี 2 อย่าง คือ ประมาณในการรับ และประมาณในการบริโภค (อ.รถสูตร) 28/398/428/398/4 28/387/19 |
212 | ตัวอย่าง พระเจ้าติสสมหาราชเลื่อมใส สามเณร อายุ 7 ขวบ ผู้รู้จักประมาณในการรับ (อ.รถสูตร) 28/398/1528/398/15 28/388/4 |
213 | การนอน 4 อย่าง คือ การนอนของผู้บริโภคกาม การนอนของเปรต การนอนของสีหะ การนอนของพระตถาคต (อ.รถสูตร) 28/404/128/404/1 28/392/20 |
214 | นอนอย่างไร ชื่อว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ (อ.รถสูตร) 28/405/1228/405/12 28/393/25 |
215 | [๓๒๐] ทรงประทานโอวาท ให้ภิกษุทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ย่อมทำให้มารไม่ได้โอกาส เหมือนเต่า หดอวัยวะทั้ง 5 ย่อมปลอดภัยจากสุนัขจิ้งจอก (กุมมสูตร) 28/406/1128/406/11 28/395/3 |
216 | [๓๒๑] " ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฏฐิไม่อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใดผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอ และ ขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น " (กุมมสูตร) 28/407/1728/407/17 28/396/4 |
217 | [๓๒๒-๓๒๓] ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่ แวะเข้าฝั่งข้างนี้ หรือ ฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์ หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆไว้ จักไม่เป็นผู้เสียภายในไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลาย จักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสัมมาทิฎฐิย่อมโน้มเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ปฐมทารุขันธสูตร) 28/409/828/409/8 28/398/1 |
218 | [๓๒๓] ภิกษุทุศีลมีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ พระพุทธองค์ เรียกว่า เป็นผู้เน่าในภายใน (ปฐมทารุขันธสูตร) 28/410/1428/410/14 28/399/3 |
219 | บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ แม้ลงสู่อริยมรรค มีสมาธิก็ไม่อาจถึงสาครคือนิพพาน เพราะไกลพระศาสนา (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/415/528/415/5 28/403/3 |
220 | บุคคลผู้เป็นสมณกุฎุมพี ยังตัดความผูกพันทางคฤหัสถ์ไม่ขาด แม้ลงสู่อริยมรรคมีสมาธิ ก็ไม่อาจถึงสาคร คือ นิพพานได้ (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/415/1028/415/10 28/403/8 |
221 | บวช ในสถานที่อันไม่ควร ก็เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรม (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/416/1628/416/16 28/404/10 |
222 | บุคคลผู้เกียจคร้าน และกินจุ เห็นแก่อามิส และละโมบในปัจจัย แม้หยั่งลงสู่อริยมรรค มีสมาธิ ก็ไม่อาจถึงสาคร คือนิพพานได้ (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/417/2028/417/20 28/405/9 |
223 | บุคคลผู้บวช เมื่อแก่ และไม่ได้ศึกษา แล้วไปอยู่ชนบท แม้หยั่งลงสู่อริยมรรคมีสมาธิก็ไม่อาจถึงสาคร คือ นิพพานได้ (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/419/1728/419/17 28/406/24 |
224 | ภิกษุเป็นผู้อ่อนโยน กล่าวด้วยเสียงอันไพเราะ สร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ไว้ มีจิตผูกพันในอุปัฏฐาก มีความสามารถเพื่อเรียนพุทธพจน์ หรือ กรรมฐานได้ แต่ก็ไม่เรียน บุคคลนี้ ไม่อาจถึงสาคร คือนิพพานได้ (อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/421/1328/421/13 28/408/11 |
225 | บุคคลผู้ประพฤติย่อหย่อน แต่ได้เรียนธรรมอาศัยข้อปฏิบัติตามปกติ เป็นผู้มีเสียงไพเราะ ยึดถือมหาชนเป็นปัจจัย มีภิกษุว่ายากเป็นบริวาร แม้หยั่งลงสู่อริยมรรค มีสมาธิ ก็ไม่อาจถึงสาคร คือ พระนิพพานได้ เพราะนอนขวางในพระศาสนา(อ.ปฐมทารุขันธสูตร) 28/424/1628/424/16 28/410/26 |
226 | [๓๒๕] ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัตินั้นยังไม่ปรากฏ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน (ทุติยทารุขันธสูตร) 28/431/628/431/6 28/416/11 |
227 | [๓๒๖] เจ้าศากยราชทั้งหลาย นิมนต์พระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ให้ใช้สอย สัณฐาคารหลังใหม่ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน (อวัสสุตสูตร) 28/432/1228/432/12 28/417/15 |
228 | [๓๒๘-๓๓๐] พระมหาโมคคัลลานะ แสดงถึงภิกษุผู้มีใจชุ่มด้วยกาม มารย่อมได้ช่อง ได้เหตุ (อวัสสุตสูตร) 28/434/1428/434/14 28/419/12 |
229 | การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งฌาน และเพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ (อ.อวัสสุตสูตร) 28/449/1728/449/17 28/432/17 |
230 | [๓๓๒] ที่ได้ชื่อว่า ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (ทุกขธรรมสูตร) 28/453/1728/453/17 28/436/3 |
231 | [๓๓๓] ภิกษุเป็นผู้เห็นกาม เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง (ทุกขธรรมสูตร) 28/454/1328/454/13 28/436/19 |
232 | [๓๓๔] ธรรม คือ ปิยรูป (รูปอันน่ารัก) และสาตรูป (รูปอันน่าพอใจ) ในโลก เป็นหนามในวินัยของพระอริยะ (ทุกขธรรมสูตร) 28/455/1528/455/15 28/437/18 |
233 | [๓๓๖-๓๓๘] ภิกษุพึงสังวร เมื่อเห็นรูปที่น่ายินดี และรูปที่ไม่น่ายินดี ถ้าเมื่อความดำริอันซ่านไป ในอกุศลธรรมบังเกิดขึ้น เพราะความหลงลืมสติ บางครั้งบางคราวทีนั้นแลภิกษุย่อมบรรเทา อกุศลธรรมนั้นให้พินาศได้ เร็วพลัน .(ทุกขธรรมสูตร) 28/456/928/456/9 28/438/8 |
234 | [๓๓๙] พระอรหันต์ เมื่อถูกถามถึงความหลุดพ้น ท่านย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว (กิงสุกสูตร) 28/462/928/462/9 28/443/3 |
235 | ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณ (ปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงพระอริยมรรค) จะเห็นพระนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลส อันเป็นกิจที่จะต้องทำ (อ.กิงสุกสูตร) 28/467/628/467/6 28/447/6 |
236 | [๓๔๓] เมื่อ ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง แม้ความคับแค้นใจในรูปเกิดขึ้น ภิกษุพึงห้ามจิตเสียด้วย มนสิการว่า ทางนี้มีภัย เป็นทางผิดเป็นทางที่ไปลำบาก... (วีณาสูตร) 28/484/1428/484/14 28/461/3 |
237 | [๓๔๔] คราวใด จิตอันภิกษุข่มขู่แล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัสสายตนะ 6 คราวนั้น จิตย่อมดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมตั้งมั่น (วีณาสูตร) 28/486/328/486/3 28/462/7 |
238 | ตัณหาที่มีกำลังอ่อน ชื่อว่า ฉันทะ ฉันทะนั้นไม่สามารถเพื่อให้กำหนัดได้ตัณหาที่มีกำลัง เมื่อเกิดบ่อยๆ จึงชื่อว่า ราคะ ราคะนั้นสามารถทำให้กำหนัดยินดีได้ (อ.วีณาสูตร) 28/488/928/488/9 28/464/6 |
239 | ความโกรธที่มีกำลังน้อย ชื่อว่า โทสะ ส่วนความโกรธที่มีกำลังมาก เกิดขึ้นติดต่อกัน ชื่อว่า ปฏิฆะ (อ.วีณาสูตร) 28/488/1128/488/11 28/464/9 |
240 | เมื่อกำหนัดในรูปที่น่าพอใจ ให้ระลึกถึงโดยความเป็นอสุภะ ถ้าขัดเคืองในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ให้ระลึกถึงโดยเมตตา ถ้าหลงให้ระลึกถึง การสอบถามการอยู่กับครู ถ้าไม่สามารถทำได้อย่างนี้ ก็ให้ระลึกถึงความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ พระธรรมเป็นสวากขาตธรรม และ ความปฏิบัติชอบของพระสงฆ์เมื่อระลึกอย่างนี้ จิต จะหมุนกลับ (อ.วีณาสูตร) 28/490/828/490/8 28/465/26 |
241 | สิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิด เป็นของเลว. (อ.วีณาสูตร) 28/494/1728/494/17 28/469/17 |
242 | คติ 5 อย่าง คือ คติคติ สัญชาติคติ สลักขณคติ วิภวคติ เภทคติ(อ.วีณาสูตร) 28/495/1228/495/12 28/470/5 |
243 | [๓๔๖] ภิกษุอยู่ในบ้าน หรืออยู่ป่าก็ตาม ถ้ามีความประพฤติไม่บริสุทธิ์ ไม่สะอาด ย่อมเป็นเสี้ยนหนามของชาวบ้าน (ฉัปปาณสูตร) 28/497/828/497/8 28/471/16 |
244 | [๓๔๗-๓๔๘] อสังวร คือ ภิกษุเห็นรูป แล้วย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ไม่ตั้งกายสติไว้ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหมือนจับงู จระเข้ นก หมาบ้าน หมาจิ้งจอก ลิง ผูกไว้ด้วยกัน สัตว์ที่มีกำลังมากย่อมพาสัตว์อื่นไปสู่อำนาจแห่งสัตว์นั้น (ฉัปปาณสูตร) 28/497/1728/497/17 28/472/4 |
245 | ทรงอุปมา งู จระเข้ นก หมาบ้าน หมาจิ้งจอก ลิง แสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะทั้งหลาย (อ.ฉัปปาณสูตร) 28/503/128/503/1 28/476/10 |
246 | [๓๕๑] ทรงเปรียบ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว คิดเพื่อเกิดต่อไปอีก ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกกระทบกระทั่งหนักกว่า เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำ ด้วยไม้คาน อันที่ 7 (ยวกลาปิสูตร) 28/507/328/507/3 28/479/7 |
247 | [๓๕๓] ภิกษุเมื่อสำคัญ ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ ชื่อว่าถูกมารจองจำแล้ว... (เทวาสุรสังคามสูตร) 28/510/928/510/9 28/482/4 |
248 | เครื่องผูกคือ กิเลสนี้ ละเอียดกว่าเครื่องผูกของท้าวเวปจิตติ เมื่อจะขาด ก็ขาดด้วยญาณไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น (อ.เทวาสุรสังคามสูตร) 28/514/1228/514/12 28/486/4 |