1 | [๒-๓] ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท (สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น) โดยอนุโลม และปฏิโลม. (เทศนาสูตร) 26/1/17 26/2/2 |
2 | เมื่อมีทวยเทพ และมนุษย์อื่นๆ อยู่ เหตุไฉน พระพุทธเจ้าจึงตรัสแต่ภิกษุเท่านั้นเพราะภิกษุเป็นหัวหน้า... จริงอยู่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเป็นสาธารณะแก่บริษัททุกเหล่า (อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/5/3 26/5/4 |
3 | เหตุตั้งพระสูตร มี 4 อย่าง คือ อัธยาศัยของพระองค์เอง, อัธยาศัยของผู้อื่น, เป็นไปด้วยอำนาจคำถาม, เกิดเรื่องขึ้น (อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/7/4 26/6/26 |
4 | บุคคล 4 จำพวก คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ .(อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/8/19 26/8/11 |
5 | พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นในกุศลธรรม. คือ ทำศีลให้บริสุทธิ์ และทำความเห็นให้ตรง เป็นต้น (อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/10/3 26/9/13 |
6 | ความหมายของ คำว่า สาธุ คือ ทูลขอ การตอบรับ การทำให้ร่าเริง ความดีการทำให้มั่นคง เป็นต้น (อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/12/9 26/11/13 |
7 | การถาม มี 5 อย่าง คือ การถามส่องความที่ยังไม่เห็น การถามเทียบเคียงที่เห็นแล้ว การถามตัดความสงสัย การถามเห็นตาม(อนุมัติ) การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง (อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/15/5 26/13/18 |
8 | ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนักวิปัสสนาจำนวน 500 รูป นั้นเป็นบุคคลชั้น อุคฆติ-ตัญญู แทงตลอดสัจจะ ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล (อ.ปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตร) 26/18/18 26/16/26 |
9 | [๖-๑๗] ความหมายของคำว่า ชรา และมรณะ ชาติ ภพ... อวิชชา (วิภังคสูตร) 26/20/10 26/18/17 |
10 | ชรามี 2 อย่าง ปากฏชรา(ชราที่ปรากฏ) ปฏิจฉันนชรา(ชราที่ปกปิด), ความแปลกแห่งวรรณะของทอง เงิน พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็เรียกว่าชรา(อ.วิภังคสูตร) 26/25/4 26/22/24 |
11 | เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้นแตก ใครๆ ที่ชื่อว่าสัตว์ย่อมไม่ตาย. แต่เมื่อขันธ์แตก สัตว์ย่อมตาย (อ.วิภังคสูตร) 26/26/6 26/24/1 |
12 | ชื่อว่า สัญชาติ เพราะอรรถว่า เกิดพร้อม ประกอบด้วยอายตนะที่บริบูรณ์ 26/27/1 26/24/19 |
13 | กามภพ ได้แก่ กรรมภพ(ภพคือกรรม) และอุปปัตติภพ (ภพคือการเกิด), กรรมภพได้แก่ กรรมที่ให้เกิดใน กามภพ นั่นเอง . (อ.วิภังคสูตร) 26/27/18 26/25/13 |
14 | การยึดมั่น ท่านเรียกว่า อุปาทาน (อ.วิภังคสูตร) 26/28/9 26/26/2 |
15 | รูปมีการแตกสลาย เป็นลักษณะ , เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นสังขารขันธ์ 26/32/1 26/29/11 |
16 | ความไม่รู้ในทุกขสัจจะด้วยเหตุ 4 คือ โดยภาวะที่หยั่งลงในภายใน โดยวัตถุโดยอารมณ์ และโดยการปกปิด (อ.วิภังคสูตร) 26/33/18 26/31/2 |
17 | [๑๙-๒๑] พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฏิปทา 2 คือ มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา..(ปฏิปทาสูตร) 26/35/10 26/32/16 |
18 | บุคคลปรารถนา วัฏฏะ(การเวียนว่ายตายเกิด) ถึงแม้ปฏิบัติจนได้ อภิญญา 5สมาบัติ 8 ก็จัดเป็น มิจฉาปฏิปทา. (อ.ปฏิปทาสูตร) 26/36/9 26/33/14 |
19 | นิพพาน กล่าวคือ การดับสนิทนี้ เป็นผลของปฏิปทาใด ปฏิปทานี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา (อ.ปฏิปทาสูตร) 26/37/3 26/34/16 |
20 | [๒๒-๒๔] พระวิปัสสีพุทธเจ้า เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ก่อนแต่ตรัสรู้ ได้พิจารณาโดยแยบคายในปัจจยาการ ฝ่ายข้างเกิด และฝ่ายข้างดับ. (วิปัสสีสูตร) 26/37/15 26/35/5 |
21 | พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงเพ่งดูด้วยดวงตา ที่ไม่กลอก ไม่กะพริบ เหมือนเทวดาในดาวดึงส์ จึงชื่อว่า วิปัสสี (อ.วิปัสสีสูตร) 26/41/3 26/38/3 |
22 | พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ได้รับคำพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้าแน่นอนแล้ว (อ.วิปัสสีสูตร) 26/42/16 26/39/18 |
23 | [๒๕-๒๗] ความปริวิตกของพระพุทธเจ้า 8 พระองค์ ในปัจจยาการ ฝ่ายข้างเกิด และฝ่ายข้างดับ (๕. สิขีสูตร - ๑๐. มหาศักยมุนี โคตมสูตร) 26/44/12 26/41/9 |
24 | พระโพธิสัตว์ ทุกพระองค์ ออกจากฌานที่ 4 อันมีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ทำญานให้หยั่งลงในปัจจยาการ พิจารณาปัจจยาการนั้น โดยอนุโลม และปฏิโลม ย่อมเป็นพระพุทธเจ้า (อรรถสิขีสูตร เป็นต้นไป) 26/48/17 26/45/4 |
25 | [๒๘-๒๙] อาหาร 4 อย่าง และเหตุเกิดแห่งอาหาร 4. (อาหารสูตร) 26/49/7 26/46/6 |
26 | คำว่า สัมภเวสี และภูต ในบรรดากำเนิด 4 (อ.อาหารสูตร) 26/51/6 26/48/7 |
27 | จระเข้กินก้อนหินเข้าไปในท้อง ก้อนหินก็ย่อยละเอียด , หมาในกินกระดูกก็พอกระดูกถูกน้ำลายของมัน ก็อ่อนเหมือน เหง้ามัน. (อ.อาหารสูตร) 26/52/20 26/49/23 |
28 | วัตถุหยาบโอชาน้อย มีกำลังอ่อน วัตถุละเอียดโอชามีกำลังดี. จริงอย่างนั้น ผู้ที่ดื่มข้าวยาคูแม้เต็มบาตรหนึ่ง ครู่เดียวเท่านั้นก็หิว ส่วนผู้ที่ดื่มเนยใสเพียงฟายมือหนึ่ง ก็อยู่ได้ทั้งวัน. (อ.อาหารสูตร) 26/53/19 26/50/18 |
29 | กพฬีการาหาร เป็นปัจจัยแห่งรูปกายของสัตว์ ที่มีกพฬีการาหาร เป็นภักษา,ผัสสาหารเป็นปัจจัย แห่งเวทนาในนามกาย, มโนสัญเจตนาหาร เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ , วิญญาณาหาร เป็นปัจจัยแห่งนามรูป (อ.อาหารสูตร) 26/55/12 26/52/4 |
30 | ควรเห็นภัยในอาหาร 4 อย่าง (อ.อาหารสูตร) 26/58/8 26/54/13 |
31 | [๓๑-๓๗] พระพุทธเจ้า ทรงแสดงอาหาร 4 แล้วพระโมลิยผัคคุนะ ตั้งคำถามเกี่ยวกับอาหารไม่ถูก พระองค์จึงบอกข้อที่ควรเป็นปัญหา และแก้ปัญหาให้ . (ผัคคุนสูตร) 26/62/12 26/58/4 |
32 | [๓๘] สมณะ หรือพราหมณ์ ที่ไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับแห่ง ชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชรา และมรณะ... ท่านเหล่านั้น ไม่ถือว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ถือว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่ พราหมณ์. (ปฐมสมณพราหมณสูตร) 26/68/8 26/63/14 |
33 | สมณะและพราหมณ์ ผู้ถือลัทธิภายนอก ไม่สามารถจะแทงตลอดสัจจะทั้งหลายได้ (อ.ปฐมสมณพราหมณสูตร) 26/69/15 26/64/18 |
34 | [๔๐-๔๑] ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะ และพราหมณ์. .(ทุติยสมณพราหมณสูตร) 26/70/11 26/65/15 |
35 | [๔๒-๔๓] พระกัจจานโคตต์ ทูลถามพระพุทธองค์ว่าด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) พระองค์ตรัส ถึง โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน2 อย่าง คือ ความมี ความไม่มี...(กัจจานโคตตสูตร) 26/72/14 26/67/11 |
36 | [๔๔] ส่วนสุดข้อที่ 1 นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ 2 นี้ว่าสิ่งทั้งปวง ไม่มีพระตถาคตแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้น..(กัจจานโคตตสูตร) 26/73/11 26/68/7 |
37 | สังขารโลกชื่อว่า โลก ความเกิดขึ้นแห่งสังขารโลกนั้นชื่อว่า โลกสมุทัย. (อ.กัจจานโคตตสูตร) 26/74/6 26/69/1 |
38 | [๔๕-๔๖] พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงผู้เช่นไร เรียกว่าธรรมกถึก ผู้เช่นไรจึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้เช่นไร กล่าวว่า บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.(ธรรมกถิกสูตร) 26/76/11 26/71/7 |
39 | [๔๗-๕๒] อเจลกัสสปถามพระพุทธองค์ ขณะเข้าไปบิณฑบาต เรื่องความทุกข์พระองค์ไม่ให้อเจลกัสสปถามแบบนั้น แล้วทรงแก้คำถามที่ผิดให้ และแสดงปัจจยาการ สุดท้ายอเจลกัสสปขอบวช ท่านหลีกออกจากหมู่ทำความเพียรไม่นานก็บรรลุพระอรหันต์ (อเจลกัสสปสูตร) 26/78/10 26/73/6 |
40 | เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามคำถามถึง 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความเคารพและตั้งใจฟัง เชื่อคำที่ทรงตรัส (อ.อเจลกัสสปสูตร) 26/82/20 26/77/6 |
41 | [๕๔-๕๖] ติมพรุกขปริพาชก ทูลถามพระพุทธองค์เรื่อง สุขและทุกข์. พระองค์ไม่กล่าวว่าสุขและทุกข์ ตนกระทำเองและไม่กล่าวว่า ผู้อื่นกระทำให้ ทรงแสดงธรรมโดยสายกลาง สุดท้ายติมพรุกขปริพาชกขอเป็นอุบาสก. (ติมพรุกขสูตร) 26/87/8 26/81/8 |
42 | [๕๗-๕๙] พระพุทธองค์ทรงแสดง ความต่างกัน แห่งพาล และบัณฑิตเมื่อเสวยสุขและทุกข์ (พาลบัณฑติสูตร) 26/91/4 26/84/18 |
43 | พระขีณาสพ เรียกว่าเป็นบัณฑิต ส่วนพระเสขะ 3 จำพวก ใครๆ ไม่ควรเรียกว่าบัณฑิต หรือคนพาล. (อ.พาลบัณฑติสูตร) 26/95/8 26/88/20 |
44 | [๖๑] พระพุทธเจ้า จะอุบัติ หรือไม่อุบัติ ก็ตามธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ(ความตั้งอยู่ธรรมดา) ธัมมนิยาม(ความแน่นอนของธรรมดา) อิทัปปัจจัย (มูลเหตุอันแน่นอน)ก็ยังดำรงอยู่ (ปัจจยสูตร) 26/96/2 26/89/10 |
45 | [๖๑] ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น. เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท. (ปัจจยสูตร) 26/96/18 26/90/1 |
46 | [๖๔] พระตถาคตประกอบด้วยทศพลญาณ และเวสารัชญาณ 4 จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย (ปฐมทสพลสูตร) 26/103/7 26/96/7 |
47 | [๖๖-๖๗] พระพุทธเจ้า ประกาศธรรม อันตัดสมณะขี้ริ้ว กุลบุตรผู้บวชพึงปรารภความเพียร บากบั่นด้วยเรี่ยวแรง ของบุรุษ. เมื่อยังไม่บรรลุอิฐผลจักไม่หยุดความเพียร. (ทุติยทสพลสูตร) 26/105/7 26/98/2 |
48 | ช้าง 10 ตระกูล (อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/107/1 26/99/9 |
49 | กำลังของพระตถาคตเท่ากับช้างหนึ่งพันโกฏิ, ทศพลญาณ 10(อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/108/5 26/100/17 |
50 | เวสารัชญาณ คือ ญาณอันเป็นปฏิปักษ์ ต่อความขลาดกลัว 4 อย่าง.(อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/109/12 26/101/25 |
51 | พระธรรมจักรนั้น มี 2 คือ ปฏิเวธญาณ เทศนาญาณ. (อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/111/21 26/104/4 |
52 | พระพุทธเจ้าบอกให้กำจัด สมณะหยากเยื่อ (อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/115/13 26/107/11 |
53 | กุลบุตร มี 2 คือ อาจารกุลบุตร และชาติกุลบุตร (อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/116/8 26/107/23 |
54 | กุลบุตรผู้เกียจคร้าน ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สามารถจะยึด พระอัธยาศัย ของพระศาสดาไว้ได้ แม้อาหารของชาวแคว้น ที่ภิกษุนั้นบริโภคแล้ว ย่อมไม่มีผลมาก (อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/117/5 26/108/18 |
55 | ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมอยู่เป็นสุข ย่อมอาจยึดพระอัธยาศัย ของพระศาสดาไว้ได้ แม้อาหารของชาวแคว้นที่ภิกษุนั้น บริโภคแล้ว ย่อมมีผลมาก.(อ.ทุติยทสพลสูตร) 26/117/16 26/109/4 |
56 | [๖๘] เมื่อรู้เห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป... ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายย่อมมี (อุปนิสสูตร) 26/120/15 26/111/19 |
57 | [๖๙-๗๐] พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่อิงอาศัยกัน เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป เกิดขึ้นแล้ว ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใดมีอยู่ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปมีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย... สังขารทั้งหลาย มีอวิชชา เป็นที่อิงอาศัย. (อุปนิสสูตร) 26/121/4 26/112/7 |
58 | [๗๕] ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น (อัญญติตถิยสูตร) 26/133/3 26/122/21 |
59 | [๘๒] สุข และทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์ อาศัยผัสสะเกิดขึ้น (ภูมิชสูตร) 26/142/6 26/130/23 |
60 | [๘๓] บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้างเพราะผู้อื่นบ้าง โดยรู้สึกตัวก็มีไม่รู้สึกตัวก็มี. ซึ่งทั้งหมดนั้นมีอวิชชาแทรกอยู่ (ภูมิชสูตร) 26/142/22 26/131/13 |
61 | กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่เพียงเป็นกิริยา. (อ.ภูมิชสูตร) 26/146/4 26/134/12 |
62 | [๘๗] พระพุทธองค์ตอบคำถามของพระอุปวาณะ เกี่ยวกับวาทะ 4 ของสมณ-พราหมณ์ ที่บัญญัติเรื่อง ทุกข์ (อุปวาณสูตร) 26/147/12 26/135/18 |
63 | [๘๙-๙๐] ในกาลใดอริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัย รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัย รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัย รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัย ในกาลนั้นอริยสาวกนี้ เรียกได้ว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง... อยู่ชิดประตูอมตนิพพาน บ้าง. (ปัจจยสูตร) 26/148/16 26/137/1 |
64 | [๙๒-๙๓] ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึง ชรา และมรณะ เหตุเกิด เหตุดับ และ ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่ง ชรา และมรณะ เป็นต้น ในกาลนั้น ภิกษุนี้เรียก ได้ว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง... (ภิกขุสูตร) 26/151/17 26/139/17 |
65 | [๙๔] สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่กำหนดรู้ชรา มรณะ เหตุเกิด ความดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งชรา มรณะ... สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมไม่ได้รับสมมติ ว่าเป็นสมณะใน หมู่สมณะ .(ปฐมสมณพราหมณสูตร) 26/153/17 26/141/13 |
66 | [๙๖] สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึง ชรา มรณะ เหตุเกิดความดับ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งชรา มรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักล่วงพ้น ชรา มรณะได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. (ทุติยสมณพราหมณสูตร) 26/155/14 26/143/10 |
67 | [๙๘-๑๐๑] พระพุทธเจ้าทรงถามพระสารีบุตร ในปัญหาที่อชิตมาณพ เคยถาม พระองค์ไว้ในปรายนวรรคว่า โดยพิสดาร มีเนื้อความอย่างไร พระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ถึง 3 วาระ ครั้นพระองค์ทรงชี้นัย คือ ขันธ์ 5 พระเถระจึงสามารถแสดงเนื้อความตามอัธยาศัย ของพระศาสดา (ภูตมิทสูตร) 26/158/4 26/146/4 |
68 | เหตุที่พระสารีบุตรได้นิ่งถึง 3 วาระ ก็เพราะไม่ทราบอัธยาศัยของพระศาสดา. (อ.ภูตมิทสูตร) 26/163/7 26/150/18 |
69 | [๑๐๕-๑๑๔] พระกฬารขัตติยะได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพระสารีบุตรอวดอ้างพระอรหัตผล พระพุทธองค์จึงถามพระสารีบุตรว่า ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่าท่านรู้เห็นอย่างไรจึงอวดอ้างอรหัตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว... พระเถระก็ตอบความเป็นจริง. (กฬารขัตติยสูตร) 26/166/3 26/153/16 |
70 | [๑๑๕-๑๑๗] หากพระพุทธเจ้าจะพึงตรัสถามพระสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ตลอด 7 วัน 7 คืน พระสารีบุตรก็จะตอบคำถามด้วยบทอื่นๆ นั้น ตลอด 7 วัน 7 คืน .(กฬารขัตติยสูตร) 26/169/22 26/156/25 |
71 | ในคำว่า เพราะความหลุดพ้นภายในนั้น พึงทราบหมวด 4 ดังนี้ คือ ความตั้งมั่นในภายใน ที่ชื่อว่า การออกภายใน, ความตั้งมั่นในภายใน ที่ชื่อว่า การออกภายนอก, ความตั้งมั่นในภายนอก ที่ชื่อว่า การออกภายนอก, ความตั้งมั่นในภายนอก ที่ชื่อว่า การออกภายใน . (อ.กฬารขัตติยสูตร) 26/177/21 26/163/25 |
72 | [๑๑๙] พระพุทธเจ้าทรงแสดงความรู้ในปัจจยาการ ความรู้ในเหตุเกิด ความรู้ ในความดับ ปฏิปทาให้ถึงความดับ รวมเป็น ญาณวัตถุ 44. (ปฐมญาณวัตถุสูตร) 26/183/16 26/168/21 |
73 | [๑๒๒] ความรู้ 2 อย่าง คือ ธรรมญาณ (มรรคญาณ) อันวยญาณ (ผลญาณ) เหล่านี้ของพระอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เรียกว่าผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง... อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง (ปฐมญาณวัตถุสูตร) 26/186/3 26/170/24 |
74 | อันวยญาณ นี้ เป็นชื่อของ ปัจจเวกขณญาณ(ความรู้อันเกิดจากการพิจารณา). (อ.ปฐมญาณวัตถุสูตร) 26/189/7 26/173/14 |
75 | [๑๒๗] พระพุทธเจ้าทรงแสดง ญาณวัตถุ 77 คือ ความรู้ในปัจจยาการ 11 บท บทละ 7 รวมเป็น 77. (ทุติยญาณวัตถุสูตร) 26/189/20 26/174/8 |
76 | [๑๒๘-๑๓๖] พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัจจยาการอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งถามว่า ชรามรณะเป็นไฉนและชรามรณะเป็นของใคร พระองค์ตรัสตอบว่า ตั้งปัญหาไม่ถูกแล้วทรงชี้แจงต่อไป. (ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร) 26/194/3 26/178/3 |
77 | [๑๓๗-๑๔๒] พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัจจยาการ และทั้งถาม-ตอบ ด้วยพระองค์เองเพราะภิกษุผู้ถือทิฏฐิ ไม่กล้าถาม (ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร) 26/200/6 26/183/9 |
78 | [๑๔๓] กรรมเก่านี้ อันปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจเป็นที่ตั้ง ของเวทนา.. (นตุมหสูตร) 26/203/6 26/186/6 |
79 | กายนี้ บังเกิดเพราะกรรมเก่า กายนี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยแต่งแล้วมีความจงใจเป็นมูล เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา (อ.นตุมหสูตร) 26/204/5 26/187/10 |
80 | [๑๔๕] ภิกษุย่อมจงใจดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นเหตุแห่งอารมณ์ เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ วิญญาณเมื่อตั้งมั่นเจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิด คือ ภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีภพ ชาติ ชรามรณะ... กองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีอย่างนี้ (ปฐมเจตนาสูตร) 26/204/16 26/188/4 |
81 | [๑๔๗] ภิกษุย่อมจงใจดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นเหตุแห่งอารมณ์เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อวิญญาณตั้งมั่นแล้วเจริญขึ้นแล้วความหยั่งลงแห่งรูปจึงมี... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีอย่างนี้ (ทุติยเจตนาสูตร) 26/208/16 26/191/14 |
82 | [๑๔๙] ภิกษุย่อมจงใจ ดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นเหตุแห่งอารมณ์เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อวิญญาณตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้วตัณหาจึงมีเมื่อตัณหามี คติในการเวียนมาจึงมี... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีอย่างนี้ (ตติยเจตนาสูตร) 26/210/13 26/193/9 |
83 | [๑๕๒] ภัยเวร 5 ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เป็นไฉน ? (ปฐมปัญจเวรภยสูตร) 26/213/16 26/196/15 |
84 | [๑๕๓] ธรรม 4 ประการ ของพระโสดาบัน คือ ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และ ประกอบด้วยศีลอันเป็นอริยะ. (ปฐมปัญจเวรภยสูตร) 26/214/15 26/197/14 |
85 | องค์แห่งโสดาปัตติ มี 2 อย่าง คือ องค์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องต้นเพื่อได้เฉพาะโสดาปัตติมรรค องค์แห่งบุคคลผู้มีคุณธรรมอันได้แล้ว ซึ่งเรียกว่า องค์แห่งโสดาบัน. (อ.ปฐมปัญจเวรภยสูตร) 26/217/6 26/200/6 |
86 | ความจงใจที่เกิดขึ้นแก่นายนิรยบาล ผู้เห็นสัตว์นรกแล้วถือค้อนเหล็กด้วยคิดว่า"เราจักฆ่ามัน" นี้เป็นเวรภายนอกอันจะมีในภายหน้า. (อ.ปฐมปัญจเวรภยสูตร) 26/218/20 26/201/18 |
87 | [๑๕๖-๑๖๐] เมื่อใดแล ภัยเวร 5 ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ 4 อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐอันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาพึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่าเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว. (ทุติยปัญจเวรภยสูตร) 26/219/19 26/202/13 |
88 | [๑๖๑-๑๖๓] ทรงแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์, เพราะอาศัยตาและรูป จึงเกิดความรับรู้ทางตา ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการ เป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหานี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์... (ทุกขนิโรธสูตร) 26/222/3 26/204/11 |
89 | [๑๖๔-๑๖๕] ทรงแสดงความเกิด และความดับแห่งโลก(สังขารโลก), เพราะอาศัยตา และรูปจึงเกิดความรับรู้ทางตา ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา... นี้แล เป็นความเกิดแห่ง โลก... (โลกนิโรธสูตร) 26/224/12 26/207/4 |
90 | [๑๖๖-๑๖๘] พระพุทธเจ้าทรงเร้นอยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า เพราะอาศัยตาและรูป จึงเกิดความรับรู้ทางตา ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการ เป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ย่อมมีอย่างนี้...ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ พระองค์จึงตรัสให้ ภิกษุนั้นจงศึกษาเล่าเรียน ทรงจำธรรมปริยายนี้ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ (ญาติกสูตร) 26/226/8 26/209/4 |
91 | เมื่อพระพุทธเจ้าทรงมนสิการปัจจยาการแต่ต้น ทรงรำพึงว่า " สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้ สิ่งนี้ย่อมมี เพราะปัจจัยนี้ " สังขารได้ปรากฏ เป็นกลุ่มเดียวกัน จนถึงภวัคคพรหม. (อ.ญาติสูตร) 26/228/6 26/210/18 |
92 | [๑๗๐] พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปถามพระพุทธเจ้าว่า คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผลหรือ, คนอื่นทำเหตุคนอื่นเสวยผลหรือ พระองค์ตรัสถึงคำถามทั้งสองว่า เป็นส่วนสุดที่หนึ่งและส่วนสุดที่สอง พระตถาคตแสดงธรรมสายกลาง แล้วทรงแสดงปัจจยาการ ทั้งข้างเกิด ข้างดับ (อัญญตรสูตร) 26/229/8 26/212/1 |
93 | [๑๗๓] ชาณุสโสณีพราหมณ์ ทูลถามว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือ, สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือซึ่งเป็นส่วนสุดทั้งสอง พระองค์แสดงธรรมสายกลางแล้วแสดงปัจจยาการทั้งข้างเกิดข้างดับ. (ชาณุสโสณิสูตร) 26/231/1 26/213/11 |
94 | [๑๗๖] พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ ทูลถามปัญหาว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอเป็นต้น พระองค์แสดงให้เห็นว่าข้อที่ถามนั้นเป็นทิฏฐิ ว่าด้วยความสืบต่อแห่งโลก แล้วทรงแสดงปัจจยาการ (โลกายติกสูตร) 26/232/11 26/215/6 |
95 | [๑๗๘-๑๘๒] อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัย มีญาณหยั่งรู้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในปัจจัยรู้ทั่วถึงเหตุเกิด และความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริง เรียกว่าเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง... อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง (ปฐมอริยสาวกสูตร) 26/234/18 26/217/8 |
96 | [๑๘๓-๑๘๗] อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความสงสัย มีญาณหยั่งรู้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่าเมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เป็นต้น เมื่อรู้ทั่วถึงเหตุเกิด และความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยทิฏฐิบ้าง... อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง (ทุติยอริยสาวกสูตร) 26/236/17 26/219/8 |
97 | [๑๘๘-๑๙๓] ทรงแสดงการพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง (ปริวีมังสนสูตร) 26/240/9 26/222/9 |
98 | [๑๙๑] " บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่งวิญญาณก็เข้าถึง อเนญชา " (ปริวีมังสนสูตร) 26/242/13 26/224/9 |
99 | [๑๙๔-๑๙๕] ทรงตรัสถามให้ภิกษุตอบหลายประการ และทรงกล่าวตอนท้ายว่า " ดีละๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญจงเชื่อซึ่งข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์ " (ปริวีมังสนสูตร) 26/243/20 26/225/13 |
100 | เมื่อจับชรามรณะนั้นได้แล้ว ก็จะเป็นอันจับทุกข์ทั้งปวงได้ (อ.ปริวีมังสนสูตร) 26/245/19 26/227/7 |
101 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีกถา(การกล่าว) อยู่ 2 อย่าง คือ สมมติกถา ปรมัตถกถาเมื่อทรงกล่าว สมมติ ก็ดี ทรงกล่าว ปรมัตถ์ก็ดี ย่อมทรงกล่าวเรื่องจริงเท่านั้น. .(อ.ปริวีมังสนสูตร) 26/247/3 26/228/12 |
102 | ผู้ที่เพลิดเพลินความสุขอยู่ ชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ เพราะผู้ถึงทุกข์ ปรารถนาความสุข และความสุขก็กลายเป็นทุกข์ เพราะแปรปรวน (อ.ปริวีมังสนสูตร) 26/249/5 26/230/7 |
103 | ในเวลาที่คนมีอายุ 20 ปี เป็นต้น ในปฐมวัยย่อมมีกำลังแรงยิ่ง ด้วยอำนาจความรัก ความโกรธ และความหลง , ในเวลาที่คนมีอายุ 50 ปี ย่อมคงที่จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ 60 ปี ก็จะเสื่อมลง (อ.ปริวีมังสนสูตร) 26/249/18 26/230/21 |
104 | [๑๙๗] เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เปรียบเหมือนไฟที่ได้เชื้ออยู่เสมอ (อุปาทานสูตร) 26/254/4 26/234/11 |
105 | [๒๐๐-๒๐๑] เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่(กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์) ตัณหาย่อมเจริญ ... เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันที่เติมน้ำมัน และใส่ไส้ ทุกๆ ระยะ (ปฐมสังโยชนสูตร) 26/258/3 26/238/3 |
106 | [๒๐๔] บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ ประทีปน้ำมันนั้นมีอาหารและเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาล แม้ฉันใด เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญฉันนั้น เหมือนกัน. (ทุติยสังโยชนสูตร) 26/260/3 26/240/5 |
107 | [๒๐๖-๒๐๗] เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ตัณหาย่อมเจริญ ... เปรียบเหมือนต้นไม้มีรากหยั่งลงดิน รากย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ต้นไม้นั้นมีอาหารจึงอยู่ได้ตลอดกาลนาน. (ปฐมมหารุกขสูตร) 26/261/7 26/241/9 |
108 | [๒๑๐] ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลง และแผ่ไปข้างๆ รากย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบนต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารจึงอยู่ได้ตลอดกาลนาน แม้ฉันใดเมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญฉันนั้นเหมือนกัน. (ทุติยมหารุกขสูตร) 26/264/8 26/244/5 |
109 | [๒๑๒-๒๑๓] เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ... เปรียบเหมือน ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่ บุรุษพรวนดินใส่ปุ๋ย รดน้ำเสมอ ๆ ต้นไม้นั้นก็ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ (ตรุณรุกขสูตร) 26/265/12 26/245/9 |
110 | [๒๑๖-๒๑๗] เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่นามรูปก็หยั่งลง...เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลง และ แผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดดูดโอชารสไปเบื้องบน ต้นไม้ได้อาหารนั้นพึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน. (นามรูปสูตร) 26/267/11 26/247/7 |
111 | [๒๒๐-๒๒๑] เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่วิญญาณก็หยั่งลง... เปรียบเหมือนต้นไม้ ใหญ่มีราก หยั่งลง และแผ่ไปข้าง ๆ. (วิญญาณสูตร) 26/268/19 26/248/13 |
112 | [๒๒๔-๒๒๕] พระอานนท์พิจารณา ปฏิจจสมุปบาทแล้วอัศจรรย์ เห็นเป็นของง่ายจึงกราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ให้กล่าวอย่างนั้นเพราะปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง ย่อมไม่ผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร (นิทานสูตร) 26/270/3 26/250/3 |
113 | ปลาอานนท์ ปลาปนันทะ ปลาอัชโฌหาระ ปลามหาติมิ ยาวตั้งพันโยชน์พระยาครุฑสูงตั้ง 150 โยชน์ อสุรินทราหูสูง 4,800 โยชน์ (อ.นิทานสูตร) 26/276/13 26/255/13 |
114 | ความปรารถนา ของพระอานนท์ ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.นิทานสูตร) 26/278/10 26/257/2 |
115 | พระอานนท์ ได้ฟังธรรมของพระปุณณมันตานีบุตร แล้วบรรลุโสดาบัน.(อ.นิทานสูตร) 26/286/9 26/263/11 |
116 | พระพุทธองค์ ทรงตำหนิพระอานนท์ ที่กล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นของง่าย.(อ.นิทานสูตร) 26/287/13 26/264/10 |
117 | นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย และอสุรกาย ชื่อว่า อบาย (อ.นิทานสูตร) 26/290/19 26/267/3 |
118 | [๒๓๐] พระตถาคตเรียกกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้างมโนบ้าง วิญญาณบ้าง (อัสสุตวตาสูตรที่ ๑) 26/292/12 26/268/12 |
119 | [๒๓๒] จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันเหมือนลิงเที่ยวไปในป่า จับกิ่งไม้ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่นปล่อยกิ่งที่ยึดเดิมเหนี่ยวกิ่งใหม่ ต่อไป. (อัสสุตวตาสูตรที่ ๑) 26/293/10 26/269/9 |
120 | ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุที่ยังกิเลสมากนานัปการ เป็นต้น ให้เกิด (อ.อัสสุตวตาสูตรที่ ๑) 26/294/20 26/271/6 |
121 | ในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง (อ.อัสสุตวตาสูตรที่ ๑) 26/298/8 26/274/10 |
122 | เมื่องูพิษกัด หมองูจะร่ายมนต์ให้พิษไปรวมอยู่ที่แผล (อ.อัสสุตวตาสูตรที่ ๑) 26/299/12 26/275/12 |
123 | [๒๓๖] ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้โดยความเป็นตนยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ (อัสสุตวตาสูตรที่ ๒) 26/301/7 26/277/5 |
124 | [๒๓๘] เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองออกจากกันความร้อนที่เกิดจากการสีกันของไม้ก็ดับไปฉันใด เพราะอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ฉันนั้น เหมือนกัน. (อัสสุตวตาสูตรที่ ๒) 26/302/9 26/278/2 |
125 | [๒๔๑] กวฬีการาหาร พึงเห็นดุจเนื้อบุตรที่ 2 ผัวเมีย กิน เพื่อข้ามทางกันดาร เมื่อกำหนดรู้กวฬีการาหารได้ ก็เป็นอันกำหนดรู้ ความยินดีซึ่งเกิดแต่กามคุณ 5..(ปุตตมังสสูตร) 26/304/17 26/280/11 |
126 | [๒๔๒] ผัสสาหาร พึงเห็น ดุจแม่โคนมที่ไม่มีหนังหุ้ม เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาทั้งสามได้ (ปุตตมังสสูตร) 26/306/3 26/281/13 |
127 | [๒๔๓] มโนสัญเจตนาหาร พึงเห็นเหมือน หลุมถ่านเพลิง เมื่อกำหนดรู้มโนสัญ-เจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ตัณหาทั้งสามได้แล้ว (ปุตตมังสสูตร) 26/306/14 26/281/23 |
128 | [๒๔๔] วิญญาณาหาร พึงเห็น เหมือนโจรถูกแทงด้วยหอก 300 เล่ม เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนด รู้นามรูปได้แล้ว (ปุตตมังสสูตร) 26/307/4 26/282/8 |
129 | ถ้าพระพุทธองค์จะบัญญัติปาราชิกข้อที่ 5 ขึ้นได้ พระองค์จะบัญญัติการบริโภคอาหารโดยไม่พิจารณา ให้เป็นปาราชิกข้อที่ 5 (อ.ปุตตมังสสูตร) 26/310/9 26/285/5 |
130 | สองสามีภรรยาอุ้มลูกเดินทางกันดาร ประมาณ 100 โยชน์ (อ.ปุตตมังสสูตร) 26/312/1 26/286/20 |
131 | ภิกษุงด ฉันคำข้าว 4-5 คำ พึงดื่มน้ำพอที่จะอยู่อย่างสบาย สำหรับภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว (อ.ปุตตมังสสูตร) 26/315/21 26/290/5 |
132 | ชนทั้งหลายย่อมไม่เศร้าโศก ถึงอาหารที่เป็นอดีต ย่อมไม่พะวงถึงอาหารที่เป็นอนาคต ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส. (อ.ปุตตมังสสูตร) 26/317/1 26/291/2 |
133 | กำหนดรู้ กวฬีการาหาร ด้วยปริญญา 3 มีญาตปริญญา เป็นต้น (อ.ปุตตมังสสูตร) 26/318/19 26/292/15 |
134 | กำหนดรู้การเกิดแห่งกามคุณ 5 ด้วยปริญญา 3 มี เอกปริญญา เป็นต้น..(อ.ปุตตมังสสูตร) 26/319/17 26/293/9 |
135 | [๒๔๖] ถ้าความยินดีเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในอาหาร 4 ไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในอาหาร 4 นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย... ในที่ใดมีชาติ ชรา มรณะ ต่อไป เรียกที่นั้นว่า มีความโศกมีธุลี (คือราคะ) มีความคับแค้น ( อัตถิราคสูตร) 26/326/7 26/299/4 |
136 | จริงอยู่โลภะ นั้นเรียกว่าราคะ ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่านันทิ ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เรียกว่า ตัณหา ด้วยอำนาจความอยาก. (อ.อัตถิราคสูตร) 26/330/3 26/302/10 |
137 | กรรมที่พระขีณาสพทำไม่จัดเป็นกุศล และอกุศล ตั้งอยู่ในทางแห่งกิริยาไม่มีวิบากกรรมของท่าน ชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีนั่นเอง (อ.อัตถิราคสูตร) 26/331/13 26/303/22 |
138 | [๒๕๐-๒๕๓] ก่อนแต่ตรัสรู้พระโพธิสัตว์ มีความคิดว่า โลกนี้ลำบากย่อมเกิด แก่ตาย และด้วยการพิจารณา โดยแยบคาย จึงรู้ปัจจยาการ เหตุให้ทุกข์เกิดเหตุดับทุกข์และอริยมรรค 8 เปรียบเหมือนบุคคลพบทางเก่าที่เคยมีคนเดินไป มาสู่นครเก่าโบราณซึ่งสมบูรณ์ นั่นคือ ทางของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ. (นครสูตร) 26/332/3 26/304/6 |
139 | [๒๕๓] ครั้นพระพุทธเจ้า รู้ทางอันประเสริฐประกอบด้วย องค์ 8 ประการ จึงได้บอกแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาพรหมจรรย์นี้ จึงได้เจริญแพร่หลายกว้างขวาง มีชนเป็นอันมากรู้ เป็นปึกแผ่นจนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ประกาศได้เป็นอย่างดี. (นครสูตร) 26/335/14 26/307/6 |
140 | บทว่า ผีตํ ได้แก่ เจริญด้วยสมบัติทุกอย่าง (อ.นครสูตร) 26/338/18 26/310/3 |
141 | [๒๕๖-๒๖๒] การพิจารณา ซึ่งปัจจัยภายใน มีชรามรณะ อุปธิ(ขันธ์ 5) ตัณหาและเหตุเกิด ความดับ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านั้น ซึ่งสมณหรือพราหมณ์เหล่าใด ในอดีต อนาคต และปัจจุบันก็ตามที่ละธรรมเหล่านั้นได้ ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ (สัมมสสูตร) 26/342/11 26/313/14 |
142 | [๒๖๔-๒๖๗] พระมหาโกฏฐิตะสนทนากับพระสารีบุตร เรื่องปัจจัยให้มีชรามรณะ...จนถึงนามรูปกับวิญญาณ ซึ่งอาศัยกันและกันดุจไม้อ้อ 2 กำ พิงกันอยู่. (นฬกลาปิยสูตร) 26/353/11 26/323/8 |
143 | [๒๖๙-๒๗๕] พระมุสิละ พระปวิฏฐะ พระนารทะ ได้ถามปัญหากันด้วยเรื่อง เมื่อเว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ และการทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ พระมุสิละได้มีญาณเฉพาะตัวว่า เพราะ ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ เป็นต้น และพระนารทะแสดงให้เห็นว่าผู้เห็นด้วยปัญญาว่า ภพดับเป็นนิพพาน ยังไม่ได้ เป็นพระขีณาสพก็มี. (โกสัมพีสูตร) 26/358/5 26/327/5 |
144 | [๒๗๗-๒๗๘] เมื่ออวิชชาเกิด ย่อมทำให้สังขารเกิด... อวิชชาไม่เกิดย่อมทำให้สังขารไม่เกิดเปรียบเหมือน เมื่อมหาสมุทรมีน้ำขึ้น และลดลง ทำให้แม่น้ำใหญ่ น้อยมีน้ำขึ้น และลดลงเป็นทอดๆ ไป (อุปยสูตร) 26/364/14 26/332/15 |
145 | [๒๘๐-๒๘๑] สุสิมปริพาชก บวชในธรรมวินัย นี้ เพื่อขโมยธรรม. (สุสิมสูตร) 26/367/1 26/334/21 |
146 | [๒๘๒-๒๘๙] พระอรหันต์ ที่แสดงฤทธิ์ไม่ได้ ไม่ได้หูทิพย์ ไม่รู้ใจสัตว์อื่น ระลึกชาติไม่ได้ไม่รู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ ไม่ได้อรูปฌาน แต่หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา..(สุสิมสูตร) 26/368/3 26/335/21 |
147 | [๒๙๐] ธรรมฐิติญาณ(วิปัสสนาญาณ) เกิดก่อนญาณในพระนิพพานเกิดที่หลัง.(สุสิมสูตร) 26/372/5 26/339/2 |
148 | [๓๐๒-๓๐๔] พระสุสิมะ หมอบแทบพระบาทขอขมาโทษที่ตนบวชเพื่อขโมยธรรม พระองค์ตรัสตอนท้ายว่า ผู้ใดเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ (สุสิมสูตร) 26/378/9 26/344/6 |
149 | มรรค ผล ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ เป็นผลของวิปัสสนา (อ.สุสิมสูตร) 26/384/11 26/349/12 |
150 | [๓๐๕-๓๐๘] มี 11 สูตร ว่าด้วยสมณะ หรือพราหมณ์ ที่ไม่รู้ปัจจยาการ ไม่รู้เหตุเกิด ไม่รู้ความดับ ไม่รู้ปฏิปทาให้ถึงความดับ ในปัจจยาการ ย่อมไม่เป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์ ที่รู้ดังกล่าว ก็นัยตรงกันข้ามนี้.(๑. ปฐมสมณพราหมณสูตร - ๑๑. เอกาทสมสมณพราหมณสูตร) 26/386-38826/386-388 26/351-353 |
151 | [๓๐๙] บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชรามรณะ เหตุเกิดความดับปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรา มรณะ เป็นต้น ตามความเป็นจริงพึงแสวงหาครู (สัตถุสูตร) 26/389/4 26/354/5 |
152 | [๓๑๐] บุคคลเมื่อไม่รู้ ไม่เห็น ชราและมรณะตามเป็นจริง พึงกระทำความศึกษา... พึงกระทำความเพียร... พึงกระทำฉันทะ... พึงกระทำความอุตสาหะ... พึงกระทำความไม่ย่อท้อ... พึงกระทำความเพียรแผดเผากิเลส... พึงกระทำความเป็นผู้กล้า... พึงกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ... พึงกระทำสติ... พึงกระทำสัมปชัญญะ... พึงกระทำความไม่ประมาท... (สูตรที่ ๒-๑๒) 26/390/7 26/355/11 |
153 | บทว่า สติ ได้แก่สติที่กำหนดสัจจะ 4 เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจชราและมรณะเป็นต้น (อ.สัตถุสูตร เป็นต้น) 26/391/18 26/356/15 |
154 | [๓๑๑-๓๑๒] พระพุทธเจ้าเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนฝุ่นที่ติดเล็บเมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่นี้ (นขสิขาสูตร) 26/393/5 26/358/6 |
155 | [๓๑๓-๓๑๔] ทรงเปรียบทุกข์ ที่เหลือ อยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนน้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคา เทียบกับน้ำในสระโบกขรณี ยาว 50 โยชน์ กว้าง50 โยชน์ ลึก 50 โยชน์ (โปกขรณีสูตร) 26/395/9 26/360/5 |
156 | [๓๑๕-๓๑๖] ทรงเปรียบทุกข์ ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนน้ำ2-3 หยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว จากที่แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหีไหลมาบรรจบกัน. (ปฐมสัมเภชอุททกสูตร) 26/396/15 26/361/11 |
157 | [๓๑๗-๓๑๘] ทรงเปรียบทุกข์ ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวก มีประมาณน้อยเมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนแม่น้ำ ใหญ่ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำนั้นพึง หมดสิ้นไป ยังเหลืออยู่ 2-3 หยาด (ทุติยสัมเภชอุทกสูตร) 26/397/19 26/362/15 |
158 | [๓๑๙-๓๒๐] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา 7 ก้อน เทียบกับแผ่นดินใหญ่นี้ (ปฐมปฐวีสูตร) 26/398/18 26/363/16 |
159 | [๓๒๑-๓๒๒] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อนเหมือนแผ่นดินใหญ่พึงถึงความหมดไป สิ้นไป เหลือก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา 7 ก้อน (ทุติยปฐวีสูตร) 26/400/3 26/365/4 |
160 | [๓๒๓-๓๒๔] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนน้ำ 2-3 หยาดที่บุรุษวักขึ้นจากมหาสมุทร เทียบกับน้ำในมหาสมุทร (ปฐมสมุททสูตร) 26/401/3 26/365/20 |
161 | [๓๒๕-๓๒๖] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนมหาสมุทรพึงถึงการหมดไปสิ้นไป ยังเหลือน้ำอยู่ 2-3 หยด. (ทุติยสมุททสูตร) 26/401/18 26/366/13 |
162 | [๓๒๗-๓๒๘] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด 7 ก้อน เที่ยบกับ ขุนเขาหิมวันต์ (ปฐมปัพพตูปมสูตร) 26/402/13 26/367/6 |
163 | [๓๒๙-๓๓๐] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวกมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนขุนเขาหิมวันต์ พึงถึงความหมดไป สิ้นไป ยังเหลือก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด. . (ทุติยปัพพตูปมสูตร) 26/403/8 26/368/4 |
164 | [๓๓๑-๓๓๒] ทรงเปรียบทุกข์ที่เหลืออยู่ใน 7 อัตภาพ ของพระอริยสาวก มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน เหมือนก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อน เทียบกับขุนเขาสิเนรุ (ตติยปัพพตูปมสูตร) 26/404/8 26/369/4 |
165 | [๓๓๔] ทรงแสดงความต่างแห่งธาตุ 18 มี จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น (ธาตุสูตร) 26/407/11 26/371/11 |
166 | ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ, มิใช่สัตว์, เป็นของสูญ (อ.ธาตุสูตร) 26/408/5 26/372/5 |
167 | ขันธ์ 3 มี เวทนา เป็นต้น สุขุมรูป และนิพพาน ชื่อว่า ธรรมธาตุ. (อ.ธาตุสูตร) 26/408/17 26/372/16 |
168 | ธาตุ 16 อย่าง เป็นกามาวจร (ท่องเที่ยวไปในกาม) ธาตุ 2 ในที่สุดเป็นไปในภูมิ 4 (กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ, โลกุตตรภูมิ ) (อ.ธาตุสูตร) 26/408 /1826/408 /18 26/372/18 |
169 | [๓๓๕-๓๓๖] ความต่างแห่งผัสสะ บังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่ง ธาตุ 6 มีจักขุธาตุ เป็นต้น (สัมผัสสสูตร) 26/409/3 26/373/4 |
170 | [๓๓๗-๓๓๘] ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่าง แห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะ อาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ .(โนสัมผัสสสูตร) 26/410/9 26/374/8 |
171 | [๓๓๙-๓๔๐] ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งผัสสะ (เวทนาสูตร) 26/411/14 26/375/11 |
172 | [๓๔๑-๓๔๒] ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะ บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง เวทนาหามิได้ .(โนเวทนาสูตร) 26/413/3 26/376/15 |
173 | [๓๔๓] ความต่างแห่งธาตุ ได้แก่ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ. (พาหิรธาตุสูตร) 26/414/16 26/378/8 |
174 | ธาตุ 5 เป็นกามาวจร ธรรมธาตุเป็นไปในภูมิ 4 (อ.พาหิรธาตุสูตร) 26/415/5 26/378/15 |
175 | [๓๔๔-๓๔๕] ความต่างแห่งสัญญา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุความต่างแห่งความดำริ บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา... ความพอใจ... ความเร่าร้อน... ความต่างแห่งการแสวงหาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อน (สัญญาสูตร) 26/415/10 26/379/4 |
176 | [๓๔๖] ความต่างแห่ง ความเร่าร้อน บังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่งการแสวงหาหามิได้... ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ (โนสัญญาสูตร) 26/417/16 26/381/4 |
177 | [๓๔๘] ...ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งความดำริความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ... ความพอใจ... ความเร่าร้อน.... การแสวงหา.... ความต่างแห่งลาภบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างกันแห่งการแสวงหา (ผัสสสูตร) 26/419/16 26/383/4 |
178 | ความพอใจที่เกิดขึ้นในอารมณ์ ชื่อว่ารูปฉันทะ ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะทำรูปฉันทะให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่ารูปปริฬาหะ การพาเอาเพื่อนไปแสวงหารูปนั้นชื่อว่ารูปปริเยสนา อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา ชื่อว่าลาภะ . (อ.ผัสสสูตร) 26/422/8 26/385/9 |
179 | [๓๕๐] ... ความต่างแห่งการแสวงหา บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่ง ลาภะหามิได้... ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่งสัญญาหามิได้ (โนผัสสสูตร) 26/423/13 26/386/10 |
180 | [๓๕๒] ธาตุ 7 ประการ คือ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ. (สัตติมสูตร) 26/427/6 26/390/7 |
181 | [๓๕๓] ธาตุ 7 ประการนั้น อาศัย อะไร จึงปรากฏ? ตอบว่า อาภาธาตุ อาศัย ความมืดจึงปรากฏได้... สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ อาศัย นิโรธจึงปรากฏได้ . (สัตติมสูตร) 26/427/15 26/390/15 |
182 | [๓๕๔] อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุอากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่าง บุคคลพึงเข้าถึงสัญญาสมาบัติ,เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ บุคคลพึงเข้าถึงสังขาราวเสสสมาบัติ. สัญญา-เวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลพึงเข้าถึง นิโรธสมาบัติ (สัตติมสูตร) 26/428/5 26/391/5 |
183 | อาภาธาตุ ได้แก่ อาโลกธาตุ คือฌานที่เกิดขึ้น เพราะทำบริกรรมในอาโลกกสิณ มีปีติเป็นอารมณ์. (อ.สัตติมสูตร) 26/428/14 26/392/4 |
184 | ความดับแห่งขันธ์ 4 พึงทราบว่า นิโรธสมาบัติ (อ.สัตติมสูตร) 26/429/15 26/393/2 |
185 | บุคคลพึงเข้าถึง สังขาราวเสสสมาบัติ เพราะสังขาร อันละเอียดยังเหลืออยู่.(อ.สัตติมสูตร) 26/429/19 26/393/8 |
186 | [๓๕๖] เหตุบังเกิดขึ้นของกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก (สนิทานสูตร) 26/430/9 26/393/22 |
187 | [๓๕๗] สมณะหรือพราหมณ์คนใด ไม่รีบละบรรเทาทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เร่าร้อนในปัจจุบันเมื่อตาย พึงหวังทุคติได้ (สนิทานสูตร) 26/431/8 26/394/20 |
188 | [๓๕๙] เหตุบังเกิดขึ้นของ เนกขัมมวิตก(ความคิดที่จะออกจากกาม) อัพยาบาท-วิตก อวิหิงสาวิตก (สนิทานสูตร) 26/431/19 26/395/5 |
189 | กามธาตุ ได้แก่ เบื้องต่ำทำอเวจีมหานรกเป็นที่สุด เบื้องบนทำปรนิมมิตวสวัตตีเทพ เป็นที่สุด (อ.สนิทานสูตร) 26/433/11 26/396/16 |
190 | [๓๖๑] สัญญา ทิฏฐิ(ความเห็น) วิตก(ความคิด) เกิดขึ้นเพราะอาศัย ธาตุ..(คิญชกาวสถสูตร) 26/437/7 26/400/7 |
191 | [๓๖๓] ธาตุ คืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบัญญัติ ซึ่งธรรมที่เลว ความอุปบัติของบุคคลที่เลวนั้น ย่อมเลว (คิญชกาวสถสูตร) 26/437/13 26/400/13 |
192 | [๓๖๔] สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้า สมาคมกันโดยธาตุ คือ พวกมีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากับพวกมีอัธยาศัยดี พวกมีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากับพวกมีอัธยาศัยเลว ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต. (หีนาธิมุตติสูตร) 26/440/3 26/403/4 |
193 | [๓๖๕-๓๖๗] พระพุทธเจ้าแสดงให้เห็น การคบค้าสมาคมของภิกษุผู้มีธาตุและอัธยาศัยเดียวกันคือ พระสารีบุตร จงกรมกับภิกษุหลายรูปล้วนเป็นผู้มีปัญญามาก... พระเทวทัตจงกรมอยู่ กับภิกษุหลายรูปล้วนเป็นผู้มีความปรารถนาลามก. (จังกมสูตร) 26/441/9 26/404/10 |
194 | ข้อที่ตถาคต พึงปรินิพพาน ด้วยความพยายามของผู้อื่น นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสจะมีได้ (อ.จังกมสูตร) 26/447/13 26/409/20 |
195 | [๓๖๙] พวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้าพวกที่มีอัธยาศัยเลว เหมือนคูถกับคูถ มูตรกับมูตร ย่อมเข้ากันได้ รวมกันได้ (สตาปารัทธสูตร) 26/448/12 26/410/12 |
196 | [๓๗๑] พวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้าพวกที่มีอัธยาศัยดี เหมือนน้ำนมสดกับน้ำนมสด ย่อมเข้ากันได้ รวมกันได้ (สตาปารัทธสูตร) 26/449/7 26/411/4 |
197 | [๓๗๒] " กิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า เกิดขึ้นเพราะการคบค้าสมาคม ย่อมขาดเพราะไม่คบค้าสมาคม คนเกาะท่อนไม้เล็กๆ พึงจมลงในห้วงมหรรณพ ฉันใด แม้สาธุชนก็ย่อมจมลง เพราะอาศัยคนเกียจคร้านฉันนั้น เพราะฉะนั้นพึงเว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้สงัด ผู้เป็นอริยะผู้มีใจสูง ผู้เพ่งพินิจ ผู้ปรารภความเพียร เป็นนิตย์ " (สตาปารัทธสูตร) 26/449/16 26/411/15 |
198 | [๓๗๓] สัตว์จำพวกไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้านมีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับ สัตว์จำพวกที่มีธาตุเดียวกันนั้น. ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรือในอนาคต. (ปฐมอัสสัทธมูลกสูตร) 26/451/3 26/413/4 |
199 | [๓๗๕] สัตว์จำพวกไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากับสัตว์จำนวนที่มีธาตุเดียวกันนั้น. ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรือในอนาคต.. (ทุติยอัสสัทธมูลกสูตร) 26/454/10 26/416/5 |
200 | [๓๘๐] สัตว์จำพวกไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน. (อหิริกมูลกสูตร) 26/457/3 26/418/10 |
201 | [๓๘๔] สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน. (อโนตตัปปมูลกสูตร) 26/459/4 26/420/5 |
202 | [๓๘๗] สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน (อัปปสุตสูตร) 26/460/14 26/421/12 |
203 | [๓๘๙] สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน (กุสิตสูตร) 26/461/16 26/422/15 |
204 | [๓๙๐] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีใจไม่มั่นคง มีปัญญาทรามย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน. (อสมาหิตสูตร) 26/464/4 26/425/5 |
205 | [๓๙๑] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ทุศีล มีปัญญาทรามย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน (ทุสสีลสูตร) 26/465/15 26/427/4 |
206 | [๓๙๓] สัตว์จำพวก ทำการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน. (ปัญจสิกขาปทสูตร) 26/467/4 26/428/8 |
207 | [๓๙๕] พวกทำการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียดพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อย่อมคบกันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน (สัตตกัมมปถสูตร) 26/468/11 26/429/16 |
208 | [๓๙๗] พวกทำอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมคบค้ากับพวกทำอกุศลกรรมบถ 10. (ทสกัมมปถสูตร) 26/469/18 26/430/20 |
209 | ปาณาติบาต มีองค์ 5 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/472/16 26/433/9 |
210 | อทินนาทาน นั้นมีองค์ 5 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/473/15 26/434/3 |
211 | สตรี 20 จำพวก เป็นฐานะที่ไม่พึงเกี่ยวข้อง สำหรับบุรุษ ในการประพฤติผิดในกาม (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/474/6 26/434/17 |
212 | กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ 4 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/475/6 26/435/13 |
213 | มุสาวาทนั้น มีองค์ 4(อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/476/4 26/436/8 |
214 | ปิสุณาวาจา(วาจาส่อเสียด) มีองค์ 4 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/476/22 26/436/26 |
215 | วาจาหยาบแต่ใจไม่หยาบ (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/477/8 26/437/8 |
216 | ผรุสวาจา (วาจาหยาบ) มีองค์ 3 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/478/6 26/438/2 |
217 | สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) มีองค์ 2 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/478/11 26/438/7 |
218 | อภิชฌา (ความคิดเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น) มีองค์ 2 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/478/19 26/438/15 |
219 | พยาบาท มีองค์ 2 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/479/4 26/438/22 |
220 | มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มีองค์ 2 (อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/479/13 26/439/5 |
221 | วิรัติ(งดเว้น) โดยประเภทมี 3 อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ สมุจเฉทวิรัติ .(อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/481/7 26/440/17 |
222 | เรื่อง จักกนะอุบาสกได้ปล่อยกระต่าย ที่จะเอามาทำยารักษามารดา.(อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/481/13 26/440/23 |
223 | เรื่อง อุบาสกผู้รับศีลแล้ว แม้ถูกงูรัด ก็ไม่ยอมทำร้ายงู เพื่อรักษาศีลของตน..(อ.ทสกัมมปถสูตร) 26/482/9 26/441/15 |
224 | [๓๙๙] พวกมิจฉาทิฏฐิ... มิจฉาสมาธิย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน. (อัฏฐังคิกสูตร) 26/484/3 26/443/4 |
225 | [๔๐๑] พวกมิจฉาทิฏฐิ... มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ ย่อมคบค้ากันกับพวกที่มีธาตุเดียวกัน (ทสังคิกสูตร) 26/485/11 26/444/9 |
226 | [๔๐๓] ธาตุ 4 อย่าง คือธาตุที่เป็นที่ตั้ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ธาตุที่เอิบอาบ ชื่อว่า อาโปธาตุ ธาตุที่ให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ ธาตุที่เคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ . (จตัสสสูตร) 26/488/4 26/447/5 |
227 | [๔๐๔] สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งปฐวีธาตุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัด ออกแห่งปฐวีธาตุ (ปุพพสูตร) 26/489/3 26/448/12 |
228 | [๔๐๗] ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นแห่งธาตุ 4 รู้โทษแห่งธาตุ 4 รู้เครื่องสลัดออกแห่งธาตุ 4 พระองค์ก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (อจริสูตร) 26/495/12 26/454/20 |
229 | [๔๐๘] ถ้าว่าความแช่มชื่นอื่นแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ ถ้าโทษแห่ง ปฐวีธาตุไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่พึงสลัดตนออกจากปฐวีธาตุ ก็เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตนออกจากปฐวีธาตุ (โนเจทสูตร) 26/496/11 26/456/5 |
230 | [๔๑๐-๔๑๑] ถ้าปฐวีธาตุนี้จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้ว สัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุอันสุขติดตามถึง สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ. (ทุกขสูตร) 26/499/3 26/458/10 |
231 | [๔๑๒] ผู้ใดย่อมชื่นชม ธาตุ 4 ผู้นั้น ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ (อภินันทนสูตร) 26/500/13 26/460/4 |
232 | [๔๑๔] ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง ธาตุ 4 นั้นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ (อุปปาทสูตร) 26/501/10 26/461/4 |
233 | [๔๑๖] สมณะ หรือ พราหมณ์ บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษและเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง 4 สมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้นย่อมไม่ได้รับสมมติ ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ (ปฐมสมณพราหมณสูตร) 26/502/6 26/461/20 |
234 | [๔๑๘] สมณะ หรือ พราหมณ์ บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดความดับ ความแช่มชื่น โทษและเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง 4 สมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้นย่อมไม่ได้รับสมมติ ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ (ทุติยสมณพราหมณสูตร) 26/503/6 26/462/19 |
235 | [๔๑๙] สมณะหรือพราหมณ์ บางพวกย่อมไม่ทราบชัดซึ่งธาตุ 4 เหตุเกิดความดับปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งธาตุทั้ง 4 สมณะ หรือ พราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ (ตติยสมณพราหมณสูตร) 26/504/2 26/463/10 |
236 | [๔๒๑-๔๒๒] สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ แม้จะเอาไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีป มาทำเป็นมัดๆ แล้วสมมติว่านี้เป็นมารดาเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ นั้นพึงหมดสิ้นไปแต่การนับมารดา นั้น ไม่พึงสิ้นสุด (ติณกัฏฐสูตร) 26/506/6 26/465/8 |
237 | [๔๒๔] บุรุษปั้นมหาปฐพีนี้ ให้เป็นก้อนๆ ละเท่าเมล็ดกระเบา แล้วสมมติว่านี้เป็นบิดาของเรานี้เป็นบิดาของบิดาของเราโดยลำดับ บิดาของบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุดส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไปเพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ (ปฐวีสูตร) 26/508/20 26/468/18 |
238 | มหาปฐพี ได้แก่ มีจักรวาลเป็นที่สุด. (อ.ปฐวีสูตร) 26/509/12 26/469/8 |
239 | [๔๒๖] น้ำตาที่ไหลออกของผู้ที่ยังท่องเที่ยวไปมาโดยกาลนานนี้ มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 (อัสสุสูตร) 26/510/11 26/470/15 |
240 | ในมหาสมุทรทั้ง 4 ที่กำหนดด้วยรัศมีภูเขาสิเนรุ ในสูตรนี้ ท่านหมายเอามหาสมุทร 4 เหล่านั้น (อ.อัสสุสูตร) 26/511/11 26/471/11 |
241 | [๔๒๘] น้ำนมมารดาที่ผู้ท่องเที่ยวไปมาโดยกาลนานนี้ ดื่มแล้วยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 (ขีรสูตร) 26/512/19 26/472/18 |
242 | [๔๓๐] ภูเขาหินแท่งทึบใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น100 ปีต่อครั้ง ภูเขาหินนั้นพึงหมด ไป สิ้นไปยังเร็วกว่ากัปหนึ่ง. (ปัพตสูตร) 26/514/8 26/474/4 |
243 | [๔๓๒] นครที่ทำด้วยเหล็กยาว 1โยชน์ กว้าง 1โยชน์ สูง 1โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาด ออกจากนครนั้น โดยล่วงไป 100 ปีต่อ 1 เมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงหมดไปสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่ากัปหนึ่ง (สาสปสูตร) 26/515/20 26/475/15 |
244 | [๔๓๔] มีสาวก 4 รูป ในศาสนานี้เป็นผู้มีอายุ 100 ปี หากว่า ท่านเหล่านั้น พึงระลึกถอยหลังไปได้วันละ แสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก 4 รูป นั้นพึงตายโดยล่วงไป 100 ปี ๆ โดยแท้ กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมากอย่างนี้ มิใช่ง่ายที่จะนับ (สาวกสูตร) 26/517/7 26/477/3 |
245 | [๔๓๖] แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใดเมล็ดทรายในระยะนี้ ไม่เป็นของง่ายที่จะนับได้ กัปที่ผ่านไปแล้วล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น (คงคาสูตร) 26/518/16 26/478/13 |
246 | [๔๓๙] สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ บางคราวก็จากโลกนี้ ไปสู่ปรโลก (โลกอื่น) บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้ เปรียบเหมือน โยนท่อนไม้ ขึ้นบนอากาศ บางคราวก็ตกลงทางโคน ทางขวาง หรือ ทางปลาย (ทัณฑสูตร) 26/520/9 26/480/1 |
247 | [๔๔๑] กองกระดูกของบุคคลหนึ่ง ผู้ท่องเที่ยวไปตลอดกัปหนึ่ง ถ้าขนมากองรวมไว้ได้จนใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละ กระดูกที่สั่งสมไว้นั้น ก็ยังไม่หมดไป เพราะว่าสงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ (ปุคคลสูตร) 26/521/8 26/481/1 |
248 | [๔๔๓] " เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือ และเท้าไม่สมประกอบ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ ". (ทุคตสูตร) 26/524/5 26/483/5 |
249 | [๔๔๔] " เธอทั้งหลาย เห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้พึงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ " (สุขิตสูตร) 26/525/4 26/485/11 |
250 | [๔๔๘] เลือดที่ไหลออกของผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 (ติงสมัตตาสูตร) 26/527/7 26/486/12 |
251 | [๔๕๐] สัตว์ที่ไม่เคย เป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย (มาตุสูตร) 26/529/4 26/488/3 |
252 | [๔๕๑] สัตว์ที่ไม่เคย เป็นบิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย (ปิตุสูตร) 26/530/4 26/489/3 |
253 | [๔๕๒] สัตว์ที่ไม่เคย เป็นพี่ชาย น้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย . (ภาตุสูตร) 26/530/13 26/489/12 |
254 | [๔๕๓] สัตว์ที่ไม่เคย เป็นพี่หญิง น้องหญิงโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย . (ภคินีสูตร) 26/531/3 26/490/3 |
255 | [๔๕๔] สัตว์ที่ไม่เคย เป็นบุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย (ปุตตสูตร) 26/531/11 26/490/11 |
256 | [๔๕๕] สัตว์ที่ไม่เคย เป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย (ธีตุสูตร) 26/532/3 26/491/4 |
257 | [๔๕๗] สมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่า ปาจีนวังสะ หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า ติวรา มีอายุ 4 หมื่นปี หมู่มนุษย์ชื่อ ติวรา เดินขึ้นภูเขาปาจีนวังสะเป็นเวลา 4 วัน ลงก็เป็นเวลา 4 วัน (เวปุลลปัพพตสูตร) 26/533/3 26/492/7 |
258 | พระกกุสันธพุทธเจ้าบังเกิดในเวลามีอายุ 4 หมื่นปี ในกัปนี้แบ่งประมาณอายุออกเป็น 5 ส่วน ทรงดำรงอยู่ 4 ส่วน ปรินิพพานแล้วในเมื่อส่วนที่ 5 ยังมีอยู่.อายุนั้นเสื่อมลงถึง 10 ปี กลับเจริญขึ้น ถึงอสงไขยปี แล้วกลับเสื่อมลง ในเวลาอายุ 3 หมื่นปี พระโกนาคมนพุทธเจ้าจึงบังเกิด (อ.เวปุลลปัพพตสูตร) 26/537/2 26/495/6 |
259 | [๔๖๒-๔๖๓] พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความสันโดษในปัจจัย 4 ของพระมหากัสสปะ และให้ภิกษุทั้งหลายศึกษาเป็นแบบอย่าง (สันตุฏฐสูตร) 26/538/4 26/497/5 |
260 | ความสันโดษในปัจจัย 4 มี 3 อย่าง ยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้) ยถาพล-สันโดษ (ยินดีตามกำลัง) ยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) (สันตุฏฐสูตร) 26/540/10 26/499/8 |
261 | [๔๖๕-๔๖๙] พระสารีบุตรถามพระกัสสปะ ถึงเหตุ ที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ และเหตุที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้. (อโนตตาปีสูตร) 26/545/9 26/503/20 |
262 | [๔๗๐] " พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้ไม่คะนองในสกุลทั้งหลายเข้าไปสู่สกุลเถิด " (จันทูปมสูตร) 26/550/5 26/508/5 |
263 | [๔๗๑] พระพุทธเจ้าทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ เพื่อเปรียบเทียบกับภิกษุผู้สมควรเข้าไปสู่สกุล (จันทูปมสูตร) 26/550/21 26/508/21 |
264 | [๔๗๒] ธรรมเทศนาของภิกษุ ชนิดไร ไม่บริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไรบริสุทธิ์ (จันทูปมสูตร) 26/551/11 26/509/7 |
265 | ภิกษุใดไม่อยู่แม้ในป่าแต่ตรึกกามวิตก เป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่พรากทั้งกายทั้งจิต ส่วนภิกษุใดแม้อยู่ในป่าตรึกกามวิตก เป็นต้น ภิกษุนั้นชื่อว่าพรากกายอย่างเดียวแต่ไม่พรากจิต. (อ.จันทูปมสูตร) 26/553/20 26/511/11 |
266 | พระมหานาคเถระ พระจูฬนาคเถระ 2 พี่น้อง อยู่บนภูเขา 30 ปี เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้ไปเยี่ยมมารดา มารดาของท่านจำไม่ได้ จึงได้ถามถึงชื่อพระเถระทั้ง 2 ในขณะบิณฑบาต พระเถระไม่ได้ตอบตามคำถาม รับแต่อาหารบิณฑบาตแล้วหลีกไป (อ.จันทูปมสูตร) 26/554/17 26/512/4 |
267 | ความคะนองกายมีฐานะ 8 อย่าง คือ ในสงฆ์ คณะ บุคคล โรงฉัน เรือนไฟท่าอาบน้ำ ทางภิกขาจาร การเข้าไปละแวกบ้าน (อ.จันทูปมสูตร) 26/555/7 26/512/18 |
268 | ความที่ภิกษุผู้ทุศีล แม้มีความปรารถนาลามก อย่างนี้ว่า ขอชนจงรู้เราว่าเป็นผู้มีศีลดังนี้ ชื่อว่า ความคะนองใจ (อ.จันทูปมสูตร) 26/556/10 26/513/17 |
269 | [๔๗๕] ภิกษุผู้มีความคิดว่าขอชนทั้งหลาย จงให้แก่เราเท่านั้น จงให้มาก จงให้แต่สิ่งประณีต จงให้เร็วพลัน จงให้เราโดยเคารพ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นเข้าไปสู่สกุล แล้วชนทั้งหลายไม่ให้ดังที่คิด. ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด เป็นทุกข์ ภิกษุนี้ ไม่ควรเป็นผู้เข้าไปสู่สกุล (กุลูปกสูตร) 26/559/13 26/516/10 |
270 | [๔๗๙] พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับ พระมหากัสสปะว่า บัดนี้เธอชราแล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่มเพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงคฤหบดีจีวร จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ในสำนักเราเถิด (ชิณณสูตร) 26/562/3 26/518/15 |
271 | [๔๘๑] พระมหากัสสปเถระเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการคือการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่ออนุเคราะห์ ชนรุ่นหลัง จึงสมาทานธุดงค์ ตลอดชีวิต. (ชิณณสูตร) 26/563/5 26/519/17 |
272 | [๔๘๓-๔๘๔] พระพุทธเจ้าตรัสให้ พระมหากัสสปเถระกล่าวสอนภิกษุทั้งหลายพระเถระกราบทูลความที่ ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำสอนโดยเคารพ. (ปฐมโอวาทสูตร) 26/569/6 26/525/3 |
273 | พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พระมหากัสสปเถระ จะมีอายุ 120 ปี เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระเถระจะเป็นผู้ทำการรวบรวม พระธรรมวินัยทำพระศาสนาให้ดำรงอยู่ 5,000 ปี พระองค์จึงตั้งพระเถระไว้ในฐานะของพระองค์ เพื่อให้ภิกษุอื่นสำคัญคำของพระเถระว่าอันตนพึงฟังด้วยดี. (อ.ปฐมโอวาทสูตร) 26/572/5 26/527/14 |
274 | [๔๙๐] พระมหากัสสปเถระ กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า บัดนี้ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ว่ายากไม่อดทน ไม่รับฟังการสอน โดยเคารพ มีแต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย (ทุติยโอวาทสูตร) 26/573/9 26/528/20 |
275 | [๔๙๕] ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ถือธุดงค์ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการเป็นผู้ถือธุดงค์และภิกษุใดเป็นผู้ถือธุดงค์ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเป็นผู้ถือธุดงค์ย่อมได้รับการยกย่อง และเชื้อเชิญด้วยอาสนะ จากพระเถระเหล่านั้น ทำให้ภิกษุผู้ใหม่ๆ ประพฤติตาม การปฏิบัติตามของพวกภิกษุนั้น เป็นการอำนวยประโยชน์สุขชั่วกาลนาน (ตติยโอวาทสูตร) 26/577/8 26/532/13 |
276 | [๔๙๖] บัดนี้ ภิกษุผู้เถระ ไม่เป็นผู้ถือธุดงค์ และไม่กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความเป็นผู้ถือธุดงค์ และภิกษุใดเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ได้ปัจจัย 4 ย่อมได้รับการยกย่อง และเชื้อเชิญด้วยอาสนะทำให้ภิกษุใหม่ๆ ประพฤติตาม ดังนี้ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถูกความปรารถนาเกินประมาณ สำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว (ตติยโอวาทสูตร) 26/578/22 26/533/24 |
277 | [๔๙๗-๕๑๑] พระพุทธเจ้าสรรเสริญ พระมหากัสสปเถระ โดยนัยว่าพระองค์ดำรงอยู่ในรูปฌาน 4 อรูปสมาบัติ อภิญญา ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ เข้าถึงอยู่ได้อย่างใดแม้พระเถระก็เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน. (ฌานาภิญญาสูตร) 26/581/7 26/536/6 |
278 | [๕๑๒-๕๑๔] พระอานนท์นิมนต์ พระมหากัสสปเถระไปสำนักภิกษุณี เพื่อแสดงธรรม เมื่อพระมหากัสสปะแสดงธรรมจบแล้ว ภิกษุณีถุลลติสสาไม่พอใจ ดูหมิ่นพระมหากัสสปะว่า ทำไมจึงกล่าวธรรมต่อหน้าพระอานนท์ ผู้เปรื่อง-ปราชญ์ (ภิกขุนูปัสสยสูตร) 26/587/10 26/541/18 |
279 | เมื่อพระมหากัปปะ บันลือสีหนาทด้วยอภิญญา 6 อยู่ ผ้าย้อมน้ำฝาดของภิกษุณีถุลลติสสานั้นเริ่มระคาย ที่ร่างกายดุจเรียวหนาม นางจึงเคลื่อนจากเพศพรหมจรรย์ (อ.ภิกขุนูปัสสยสูตร) 26/592/11 26/546/7 |
280 | [๕๑๘-๕๒๑] พระมหากัสสปเถระตำหนิการเที่ยวไปกับภิกษุใหม่ และเข้าไปสู่ตระกูลของพระอานนท์ ทำให้ลูกศิษย์ของพระอานนท์ต้องพากันลาสิกขาไป.. (จีวรสูตร) 26/592/18 26/546/15 |
281 | [๕๒๒] ภิกษุณีถุลลนันทาได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ที่พระมหากัสสปะ ตำหนิพระอานนท์ ว่าเป็นเด็ก (จีวรสูตร) 26/594/7 26/547/26 |
282 | บุพกรรม ของพระมหากัสสปเถระ ตั้งแต่สมัย พระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.จีวรสูตร) 26/602/15 26/555/12 |
283 | บุพกรรมของ ธิดาเศรษฐี ผู้มีกลิ่นตัวเหม็นเหมือนส้วม (อ.จีวรสูตร) 26/608/15 26/560/11 |
284 | การบริโภคมี 4 อย่าง คือ ไถยบริโภค อิณบริโภค ทายชัชบริโภค สามิบริโภค. .(อ.จีวรสูตร) 26/625/19 26/575/8 |
285 | มหาปฐพี ในหมื่นจักรวาล สั่นสะเทือน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงนำเอาผ้าห่อศพมาทำจีวร (อ.จีวรสูตร) 26/627/3 26/576/13 |
286 | [๕๒๘-๕๓๐] พระสารีบุตรถามพระมหากัสสปเถระว่า สัตว์เมื่อตายไปแล้วเกิดอีกหรือ ? ฯลฯ พระมหากัสสปะตอบว่าพระพุทธองค์ไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่มีประโยชน์ (ปรัมมรณสูตร) 26/628/18 26/578/3 |
287 | [๕๓๒] " เมื่อหมู่สัตว์เลวลงพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไปสิกขาบทจึงมีมากขึ้นภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้น พระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใดเมื่อนั้นพระสัทธรรมจึง เลือนหายไป " (สัทธรรมปฏิรูปกสูตร) 26/631/7 26/580/11 |
288 | [๕๓๓] ธาตุ 4 ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไปเปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะต้นหน เท่านั้น (สัทธรรมปฏิรูปกสูตร) 26/631/17 26/580/21 |
289 | [๕๓๔] ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดาในพระธรรมในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม. (สัทธรรมปฏิรูปกสูตร) 26/631/22 26/581/1 |
290 | สัทธรรมปฏิรูป 2 คือ อธิคม ปริยัติ (อ.สัทธรรมปฏิรูปกสูตร) 26/633/4 26/581/19 |
291 | สัทธรรมแม้ 3 อย่าง คือ อธิคมสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรม ย่อมอันตรธาน (อ.สัทธรรมปฏิรูปกสูตร) 26/634/6 26/582/21 |
292 | ศาสนาไม่อันตรธาน ตลอดเวลาที่พระไตรปิฎกพุทธพจน์ ยังเป็นไปอยู่.(อ.สัทธรรมปฏิรูปกสูตร) 26/635/7 26/583/18 |
293 | [๕๓๗] " ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า " (สุทธกสูตร) 26/639/10 26/587/10 |
294 | [๕๔๐] ภิกษุบางรูปยินดี พอใจ ลาภสักการะ และความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วพระพุทธเจ้ากล่าวว่า ภิกษุนี้กลืนเบ็ดของมารได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ อันมารใจบาป พึงทำได้ตามความพอใจ. (พฬิสสูตร) 26/641/4 26/589/12 |
295 | ความว่า อันมาร คือ กิเลส พึงทำได้ตามความใคร่ คือ พึงให้ถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือ เปรตวิสัยก็ได้ (อ.พฬิสสูตร) 26/642/3 26/590/11 |
296 | [๕๔๓-๕๔๔] ภิกษุใดยินดี พอใจลาภ สักการะ และความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเรียกว่าได้รับทุกข์ถึงความพินาศ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ ดุจเต่าถูกลูกดอก (กุมมสูตร) 26/642/14 26/591/1 |
297 | [๕๔๖] แกะขนยาวเข้าไปสู่ชัฏหนาม มันถูกหนามเกี่ยวติดอยู่ในที่นั้น เหมือนภิกษุอันลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิต แล้วเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน เธอข้องอยู่อันปัจจัยเกี่ยวไว้ผูกไว้ในที่นั้นๆ ย่อมได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น. . (ทีฆโลมสูตร) 26/644/17 26/593/8 |
298 | [๕๔๘] ภิกษุที่อวดอ้างลาภสักการะแล้วดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก มีลาภสักการะน้อย เปรียบเหมือนแมลงวันกินขี้เต็มท้องแล้วยังเห็นว่ามีขี้กองใหญ่อื่นอีก (เอฬกสูตร) 26/645/14 26/594/8 |
299 | [๕๕๐] ขวานฟ้าตกถูกใคร ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ย่อมตามถึงพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล คำว่า ขวานฟ้านี้เป็นชื่อของลาภสักการะ และความสรรเสริญ. (อสนิสูตร) 26/647/8 26/595/19 |
300 | ความจริงฟ้าผ่าลงบนศีรษะ ให้อัตภาพเดียวเท่านั้น ฉิบหาย คนผู้มีจิตติดลาภ-สักการะ และสรรเสริญ ย่อมเสวยอนันตทุกข์ในนรก เป็นต้น (อ.อสนิสูตร) 26/647/20 26/596/11 |
301 | [๕๕๒] ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ย่อมตามถึงพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ดุจถูกแทงด้วยลูกศร อาบยาพิษ (ทิฏฐิสูตร) 26/648/10 26/597/9 |
302 | [๕๕๔] ภิกษุอันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วเหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ เป็นโรคเรื้อนจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่สบาย (สิคาลสูตร) 26/649/8 26/598/9 |
303 | [๕๕๖] ภิกษุอันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต แล้วเข้าไปบิณฑบาตในบ้านไม่รักษากาย วาจา จิต ไม่สำรวมอินทรีย์ เห็นผู้หญิงนุ่งผ้า ลับๆ ล่อๆ เกิดราคะ ย่อมลาสิกขาสึกออกมา เปรียบเหมือนนกถูกลมเวรัมภา(ลมบ้าหมู) ซัดไปฉะนั้น (เวรัมภสูตร) 26/651/1 26/599/20 |
304 | [๕๕๘] คนบางคน อันสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ตายไปต้องเข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก (สคัยหกสูตร) 26/652/11 26/601/8 |
305 | [๕๕๙] " สมาธิของผู้ใดที่เขาสักการะอยู่ด้วยผลสมาธิหาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวด้วยสักการะ และความเสื่อมสักการะ ผู้นั้นเพ่งอยู่ ทำความเพียรเป็นไปติดต่อเห็นแจ้งด้วยทิฏฐิอย่างละเอียด ยินดีในพระนิพพานเป็นที่สิ้นอุปาทาน บัณฑิตทั้งหลาย เรียกว่า สัปปุรุษ ดังนี้ " (สคัยหกสูตร) 26/653/1 26/601/18 |
306 | [๕๖๑] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะถาดทองคำเต็มด้วยผงเงิน เป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (สุวัณณปาติสูตร) 26/655/9 26/603/9 |
307 | [๕๖๓] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะถาดเงินอันเต็มด้วยผงทองคำเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (รูปิยปาติสูตร) 26/656/15 26/604/19 |
308 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะแท่งทองคำเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (สุวัณณนิกขสูตร) 26/657/6 26/605/11 |
309 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะแท่งทองคำร้อยแท่งเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (สุวัณณนิกขสตสูตร) 26/658/3 26/606/3 |
310 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะแท่งทองสิงคิเป็นเหตุท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิต แล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (สิงคินิกขสูตร) 26/658/8 26/606/8 |
311 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะแท่งทองสิงคิร้อยแท่งเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจผูกโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (สิงคินิกขสตสูตร) 26/658/13 26/606/13 |
312 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะแผ่นดินที่เต็มด้วยทองเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ปฐวีสูตร) 26/659/3 26/607/3 |
313 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเห็นแก่ของกำนัลเพียงเล็กน้อยเป็นเหตุท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (อามิสกิญจิกขสูตร) 26/659/8 26/607/8 |
314 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเป็นเหตุท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบง่ำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ชีวิตสูตร) 26/659/14 26/607/13 |
315 | [๕๖๔] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะนางงามประจำชนบทเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ชนปทกัลยาณีสูตร) 26/660/3 26/608/3 |
316 | [๕๖๖] ผู้หญิงคนเดียว ย่อมไม่อาจย่ำยีจิตของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ย่อมอาจย่ำยีจิตได้ (มาตุคามสูตร) 26/661/9 26/610/9 |
317 | [๕๖๘] นางงามประจำชนบทคนเดียว ย่อมไม่อาจย่ำยีจิตของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะ และความสรรเสริญย่อมอาจย่ำยีได้ (ชนปทกัลยาณีสูตร) 26/662/11 26/611/16 |
318 | [๕๗๐] ถ้าลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่ภิกษุนั้น (ปุตตสูตร) 26/663/16 26/612/20 |
319 | [๕๗๒] ถ้าลาภสักการะ และความสรรเสริญ ครอบงำ ภิกษุณีผู้เป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เขา. (เอกธีตุสูตร) 26/665/2 26/614/6 |
320 | [๕๗๓] สมณะหรือพราหมณ์บางจำพวก ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะ และความสรรเสริญย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ (ปฐมสมณพราหมณสูตร) 26/666/2 26/615/14 |
321 | [๕๗๕] สมณะหรือพราหมณ์ บางจำพวก ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดเหตุดับ ความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะ และความสรรเสริญ ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ . (ทุติยสมณพราหมณสูตร) 26/666/18 26/616/12 |
322 | [๕๗๖] สมณะ หรือพราหมณ์ บางจำพวก ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งลาภสักการะและความสรรเสริญ เหตุเกิด เหตุดับ และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งลาภ สักการะ และความสรรเสริญย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ (ตติยสมณพราหมณสูตร) 26/667/7 26/617/5 |
323 | [๕๗๗] ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมตัดผิว ตัดหนัง ตัดเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดเยื่อในกระดูก (ฉวิสูตร) 26/668/15 26/618/10 |
324 | [๕๗๙] เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง เอาเชือกหางสัตว์อย่างเหนียว พันแข้งแล้วสีไปสีมา เชือกนั้นพึงบาดผิวแล้วบาดหนัง แล้วบาดเนื้อแล้วตัดเอ็นแล้วตัดกระดูกแล้วตัดจดถึงเยื่อในกระดูก ฉันใด ลาภสักการะและสรรเสริญ ย่อมตัดผิว ตัดหนังตัดเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก ฉันนั้นเหมือนกัน.. (รัชชุสูตร) 26/669/16 26/619/13 |
325 | [๕๘๐-๕๘๑] ลาภสักการะ เป็นอันตราย แม้แก่พระอรหันตขีณาสพ (ภิกขุสูตร) 26/670/16 26/620/13 |
326 | [๕๘๒] พระเทวทัตถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญ ครอบงำย่ำยีจิตแล้วจึงทำลายสงฆ์ ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายอย่างนี้แล. (ภินทิสูตร) 26/673/4 26/623/5 |
327 | [๕๘๓] กุศลมูลของพระเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิต ถึงความขาดสูญแล้ว (มูลสูตร) 26/674/3 26/624/8 |
328 | [๕๘๔] กุศลธรรมของพระเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญ ครอบงำย่ำยีจิต ถึงความขาดสูญแล้ว (ปฐมธรรมสูตร) 26/675/3 26/625/13 |
329 | [๕๘๕] สุกกธรรมของพระเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญ ครอบงำย่ำยีจิต ถึงความขาดสูญแล้ว (ทุติยธรรมสูตร) 26/675/16 26/626/5 |
330 | [๕๙๑] " ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าไม้ไผ่ ดอกอ้อฆ่าไม้อ้อ ลูกม้าฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉันใด สักการะก็ฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น " (ปักกันตสูตร) 26/677/10 26/628/1 |
331 | [๕๙๓] พระพุทธเจ้าไม่ให้ภิกษุ ยินดี ลาภสักการะ และความสรรเสริญของเทวทัตแม้พระเจ้าอชาตสัตรู จักเสด็จไปบำรุงทั้งเช้า-เย็นเพียงใด พระเทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญเพียงนั้น (รถสูตร) 26/678/16 26/629/13 |
332 | [๕๙๔] สุนัขดุที่เขาขยี้ดีหมี ดีปลา ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่งดุร้ายกว่าเดิมหลายเท่า (รถสูตร) 26/679/2 26/629/19 |
333 | [๕๙๖] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งมารดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (มาตุสูตร) 26/680/4 26/630/18 |
334 | [๕๙๘] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งบิดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหกแต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ปิตุสูตร) 26/681/8 26/631/13 |
335 | [๕๙๘] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งพี่ชาย น้องชาย ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญ ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ภาตุสูตร) 26/681/13 26/632/3 |
336 | [๕๙๘] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งพี่สาว น้องสาว ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหก แต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ภคินิสูตร) 26/681/18 26/632/8 |
337 | [๕๙๘] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งบุตร ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหกแต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ปุตตสูตร) 26/682/3 26/632/13 |
338 | [๕๙๘] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งธิดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหกแต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ธีตุสูตร) 26/682/8 26/633/3 |
339 | [๕๙๘] บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เพราะเหตุแห่งภรรยา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดโกหกแต่สมัยต่อมาเขาถูกลาภสักการะ และความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้วก็กล่าวโกหกทั้งที่รู้ได้ (ปชาปติสูตร) 26/682/13 26/633/8 |
340 | [๖๐๐-๖๐๑] พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับอายตนะภายใน 6 มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา (จักขุสูตร) 26/684/14 26/635/14 |
341 | ชื่อว่าทุกข์ ด้วยเหตุ 4 ประการ คือ ด้วยทนได้ยาก เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก ด้วยบีบคั้นสัตว์ ด้วยการปฏิเสธความสุข (อ.จักขุสูตร) 26/686/11 26/637/13 |
342 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับอายตนะภายนอก 6 มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (รูปสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/687/3 26/638/18 |
343 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับ วิญญาณ 6 มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาไม่ควรเห็น ว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (รูปสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/687/14 26/639/7 |
344 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับ หมวดผัสสะ 6 มีจักขุสัมผัส เป็นต้น. มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (สัมผัสสสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/688/11 26/640/3 |
345 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับ หมวดเวทนา 6 มีเวทนา ที่เกิด แต่จักขุสัมผัส เป็นต้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (เวทนาสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/689/3 26/640/16 |
346 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับ หมวดสัญญา 6 มีรูปสัญญา เป็นต้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็น ว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (สัญญาสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/689/14 26/641/9 |
347 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับ หมวดสัญเจตนา 6 (ความคิดอ่าน)มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (เจตนาสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/690/6 26/642/3 |
348 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุล เกี่ยวกับ หมวดตัณหา 6 (ความอยาก) มีรูปตัณหา เป็นต้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (ตัณหาสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/690/15 26/642/16 |
349 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุล เกี่ยวกับ ธาตุ 6 มีปฐวีธาตุ เป็นต้นมีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (ธาตุสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/691/9 26/643/8 |
350 | [ - ]*พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับขันธ์ 5 มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (ขันธสูตร) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/692/3 26/644/7 |
351 | [ - ]* พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลเกี่ยวกับ อายตนะ หมวดวิญญาณ หมวดสัมผัส หมวดเวทนา หมวดสัญญา หมวดสัญเจตนา หมวดตัณหา ธาตุ 6ขันธ์ 5 มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. (สูตรที่ ๑ - ๑๐ มีจักขุสูตร เป็นต้น) (* มีข้อผิดพลาดในการจัดเรียงลำดับเลขบาลี จึงไม่ใส่เลขบาลีไว้) 26/694-69526/694-695 26/646-649 |
352 | [๖๓๓] เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร อหังการ (ทิฏฐิว่าเรา) มมังการ(ตัณหาว่าของเรา) และมานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน คือ มานะ) จึงจะไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก (อนุสยสูตร) 26/696/10 26/650/10 |
353 | [๖๓๕] เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร มนัส(ใจ) จึงจะปราศจาก อหังการ มมังการและ มานะในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว (อปคตสูตร) 26/698/8 26/652/11 |
354 | [๖๓๙-๖๔๐] เศษกรรม ของคนฆ่าโค (อัฏฐิสูตร) 26/702/8 26/656/6 |
355 | พระลักขณเถระ เป็นผู้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นผู้หนึ่งแห่งชฎิลจำนวน 1,000 คน (อ.อัฏฐิสูตร) 26/703/10 26/657/6 |
356 | [๖๔๑] เศษกรรมของคนฆ่าโค ชำแหละเนื้อโคเป็นชิ้นๆ ตากให้แห้ง ขายเนื้อแห้งเลี้ยงชีวิตอยู่หลายปี. ได้เป็นเปรตชิ้นเนื้อ (เปสิสูตร) 26/707/7 26/661/3 |
357 | [๖๔๒] เศษกรรมของคนฆ่านกขาย โดยจับนกมาเอาขนและหนังออก เหลือไว้แต่ก้อนเนื้อ ขายเลี้ยงชีพ ได้เป็นเปรตก้อนเนื้อ (ปิณฑสูตร) 26/708/6 26/662/3 |
358 | [๖๔๓] เศษกรรมของคนฆ่าแกะขายเขาถลกหนังแกะออกขายเลี้ยงชีพ ได้เป็นบุรุษไม่มีผิวหนัง ลอยอยู่ในอากาศ (นิจฉวิสูตร) 26/709/3 26/663/3 |
359 | [๖๔๔] เศษกรรมของคนฆ่าหมูขาย ได้เป็นเปรต มีขนเป็นดาบ (อสิสูตร) 26/709/17 26/664/3 |
360 | [๖๔๕] เศษกรรมของคนฆ่าเนื้อขาย ได้เป็นเปรต มีขนเป็นหอก (สัตสิสูตร) 26/710/13 26/665/3 |
361 | [๖๔๖] เศษกรรมของเพชฌฆาต ได้เป็นเปรต มีขนเป็นลูกธนู (อุสุสูตร) 26/711/7 26/666/3 |
362 | [๖๔๗] เศษกรรมของคนฝึกม้า ได้เป็นเปรต มีขนเป็นประตัก (ปฐมสูจิสูตร) 26/712/6 26/667/3 |
363 | [๖๔๘] เศษกรรมของคนพูดส่อเสียด ได้เป็นเปรต มีขนเป็นเข็ม (ทุติยสูจิสูตร) 26/713/3 26/668/3 |
364 | [๖๔๙] เศษกรรมของผู้พิพากษาตัดสินอรรถคดีโกง ได้เป็นเปรต มีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อ (อัณฑภารีสูตร) 26/714/3 26/669/3 |
365 | [๖๕๐] เศษกรรมของคนเป็นชู้ กับภรรยาของผู้อื่น ได้เป็นเปรตจมอยู่ในหลุมคูถจนมิดศีรษะ (กูปนิมุคคสูตร) 26/716/5 26/671/5 |
366 | [๖๕๑] พราหมณ์ ผู้นิมนต์ พระภิกษุสงฆ์ ในพระศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าแล้ว เอาคูถใส่จนเต็มราง แล้วกล่าวว่าขอพวกท่านจงฉันและจงนำไปจนพอแก่ความต้องการ เมื่อตายแล้วเศษกรรมที่เหลือ จึงได้เป็นเปรตจมอยู่ในหลุมคูถใช้มือทั้ง 2 กอบคูถกิน (คูถขาทิสูตร) 26/717/6 26/673/3 |
367 | [๖๕๒] เศษกรรมของหญิงผู้นอกใจสามี ได้เป็นเปรตผู้ไม่มีผิวหนัง (นิจฉวิตถีสูตร) 26/718/3 26/674/3 |
368 | [๖๕๓] เศษกรรมของหญิงแม่มด (ร่างทรง) ได้เป็นเปรตผู้หญิง มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียด (มังคุฬิตถีสูตร) 26/718/18 26/675/3 |
369 | [๖๕๔] อัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะได้เอาเตาซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิง เทรดหญิงร่วมผัว เศษกรรมได้เป็นเปรตหญิง มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม ร่างกายเต็มไปด้วย ถ่านเพลิง (โอกิลินีสูตร) 26/719/17 26/676/3 |
370 | [๖๕๕] เศษกรรมของเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจรด้วยการตัดศีรษะ ได้เป็นตัวกะพันธ์ ไม่มีศีรษะ มีตาและปากอยู่ที่อก (สีสัจฉินนสูตร) 26/721/3 26/677/10 |
371 | [๖๕๖] เศษกรรมของภิกษุผู้ชั่วช้า ได้เป็นเปรตภิกษุ ลอยอยู่ในอากาศ ผ้าสังฆาฏิบาตร ประคดเอว ร่างกาย มีไฟติดทั่วลุกโชติช่วง (ภิกขุสูตร) 26/721/17 26/678/8 |
372 | [๖๕๗] เศษกรรมของภิกษุณี ผู้ชั่วช้า (ภิกขุนีสูตร) 26/722/15 26/679/7 |
373 | [๖๕๘] เศษกรรมของสิกขมานา ผู้ชั่วช้า (สิกขมานาสูตร) 26/723/5 26/679/15 |
374 | [๖๕๙] เศษกรรมของสามเณร ผู้ชั่วช้า (สามเณรสูตร) 26/723/14 26/680/6 |
375 | [๖๖๐-๖๖๑] เศษกรรมของสามเณรี ผู้ชั่วช้า (สามเณรีสูตร) 26/724/5 26/680/15 |
376 | [๖๖๒] อกุศลธรรมทั้งหมด มีอวิชชาเป็นมูล ประชุมกันที่อวิชชา เมื่ออวิชชาถูกถอนขึ้นแล้ว อกุศลธรรมทั้งหมดย่อมถึงการถอนขึ้น. (กูฏาคารสูตร) 26/726/5 26/683/5 |
377 | [๖๖๔] สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย เหมือนฝุ่นติดปลายเล็บ ส่วนสัตว์ไปเกิดในกำเนิดอื่น จากมนุษย์มีมากกว่ามากทีเดียว เหมือนมหาปฐพี (นขสิขสูตร) 26/727/19 26/685/7 |
378 | ในพระสูตรนี้ ท่านรวมเทวดากับมนุษย์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน พึงทราบว่าผู้เกิดในเทวโลกมีประมาณน้อย เหมือนผู้ที่เกิดในมนุษยโลก (อ.นขสิขสูตร) 26/728/9 26/685/18 |
379 | [๖๖๕] ภิกษุใดไม่เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ไม่กระทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ง่าย (กุลสูตร) 26/729/1 26/686/6 |
380 | ปีศาจผู้เล่นฝุ่น ย่อมกำจัดผู้เว้น เมตตาภาวนา จะป่วยกล่าวไปไยถึงพวกอมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่เล่า (อ.กุลสูตร) 26/729/17 26/687/3 |
381 | [๖๖๗] การเจริญเมตตาจิตแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค มีผลมากกว่า ทาน ที่บุคคลให้แล้ว วันละ 3 ครั้งๆ ละ 100 หม้อใหญ่ (โอกขาสูตร) 26/730/6 26/687/16 |
382 | [๖๖๙] ภิกษุผู้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก สั่งสมปรารภด้วยดี ถ้าอมนุษย์จะพึงกระทำจิตของภิกษุนั้น ให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย ลำบากถ่ายเดียว (สัตติสูตร) 26/732/10 26/689/16 |
383 | [๖๗๑] อายุสังขารสิ้นไปเร็วกว่า ความเร็วของเทวดาที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ธนุคคหสูตร) 26/734/2 26/691/4 |
384 | พระโพธิสัตว์ ตอนเป็นพญาหงส์ สามารถเก็บลูกธนู ที่นายขมังธนูยิงมาจากทั้ง4 ทิศได้ (อ.ธนุคคหสูตร) 26/735/4 26/692/5 |
385 | [๖๗๒-๖๗๓] พระพุทธองค์แสดงไว้ว่าในอนาคตพระสูตรที่พระองค์ทรงแสดงซึ่งมีอรรถลึกซึ้ง จะไม่มีใครอยากฟัง จะไปฟังสูตรที่นักปราชญ์ รจนาไว้ เป็นสาวกภาษิตพระสูตรของพระพุทธองค์จะอันตรธาน. (อาณีสูตร) 26/738/1 26/694/14 |
386 | ปูทองก้ามใหญ่ ถึงแก่ความตาย เพราะ หลงเสียงมาตุคาม (อ.อาณีสูตร) 26/739/2 26/695/15 |
387 | [๖๗๖] ภิกษุหนุนหมอนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท ทำความเพียร มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้โอกาส แต่ในอนาคต ภิกษุจะมีมือเท้าอ่อนนุ่มจะนอนจนพระอาทิตย์ขึ้น มารย่อมได้ช่อง ได้โอกาส (กลิครสูตร) 26/742/12 26/698/17 |
388 | ในครั้งปฐมโพธิกาล ภิกษุฉันเสร็จแล้ว มนสิการกรรมฐาน จนพระอาทิตย์ตกอาบน้ำแล้วลงจงกรมอีก ตลอดปฐมยาม นอนหนุนหมอนท่อนไม้ แล้วลุกขึ้นจงกรมในปัจฉิมยาม (อ.กลิครสูตร) 26/743/19 26/700/5 |
389 | [๖๗๘-๖๗๙] พระพุทธองค์ตรัสถึงภิกษุใหม่ไปกระทำตามพระเถระเพื่อเข้าไปสู่บ้านแสดงธรรมอยู่ คฤหัสถ์ก็ศรัทธาเลื่อมใส ตัวเองก็หมกมุ่นพัวพัน กำหนัดไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก เธอย่อมเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เหมือนลูกช้าง ทำตามช้างใหญ่ แบบไม่รู้เรื่อง (นาคสูตร) 26/745/9 26/701/13 |
390 | [๖๘๒] ภิกษุผู้เข้าไปสู่บ้านไม่สำรวมกาย วาจา จิต เห็นผู้หญิงนุ่งผ้าลับๆ ล่อๆแล้วกำหนัด มีจิตอันราคะรบกวน ย่อมตายหรือ ทุกข์ปางตาย, ตาย คือลาสิกขาการที่เธอต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การปรากฏแห่งการออกจากอาบัติตามที่ต้องนั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์ปางตาย (วิฬารสูตร) 26/748/8 26/704/8 |
391 | [๖๘๓-๖๘๔] พระพุทธเจ้าเปรียบพระเทวทัตดุจหมาจิ้งจอกแก่ขี้เรื้อน อยากไปอยู่ตรงไหนก็ไปอยู่ และทรงเตือน ภิกษุทั้งหลายไม่ให้ประมาท (ปฐมสิคาลสูตร) 26/749/9 26/705/14 |
392 | [๖๘๕] พระพุทธองค์เปรียบพระเทวทัตว่าไม่มีความกตัญญูกตเวที แม้หมาจิ้งจอกแก่ ยังมีความกตัญญูกตเวที ดังนั้น ภิกษุพึงทำความศึกษา ว่าเราจักเป็นผู้กตัญญูกตเวที (ทุติยสิคาลสูตร) 26/750/14 26/706/17 |
393 | เรื่องหมาจิ้งจอก มีความกตัญญูกตเวที ต่อชาวนาที่ช่วยมันจากงูเหลือม. (อ.ทุติยสิคาลสูตร) 26/751/18 26/707/17 |
394 | [๖๘๗] ทุติยฌาน นี้เรียกว่า ดุษณีภาพอันประเสริฐ (โกลิตสูตร) 26/753/9 26/709/11 |
395 | การมนสิการกัมมัฏฐานก็ดี ปฐมฌาน เป็นต้นก็ดี นับว่าเป็นดุษณีภาพอันประเสริฐทั้งนั้น (อ.โกลิตสูตร) 26/755/4 26/711/13 |
396 | [๖๘๙-๖๙๐] พระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า โสกปริเทว ทุกขโทมนัส และอุปายาสไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของสัตว์หรือสังขารใด สัตว์ หรือสังขารบางอย่างนั้น ไม่มีอยู่ในโลกเลย พระอานนท์จึงถามว่าถ้าพระศาสดาแปรปรวนไป ไม่โศกหรือ ? พระสารีบุตร ตอบว่าไม่. (อุปติสสสูตร) 26/756/1 26/712/15 |
397 | [๖๙๒-๖๙๓] พระมหาโมคคัลลานะ ใช้ตาทิพย์และหูทิพย์ ถามพระพุทธเจ้าถึงบุคคลจะชื่อว่า เป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร (ฆฏสูตร) 26/758/2 26/714/15 |
398 | จริงอยู่รูปายตนะและสัททายตนะที่พระเถระทั้งสองนั้นฟังแล้ว เป็นอารมณ์หยาบ.วิหารธรรมนั้นชื่อว่า หยาบ เพราะเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ และฟังเสียงด้วยทิพย-โสตธาตุ. (อ.ฆฏสูตร) 26/760/10 26/716/18 |
399 | พระมหาโมคคัลลานเถระ บรรลุความสำเร็จในสมาธิลักษณะ พระสารีบุตรเถระบรรลุในวิปัสสนาลักษณะ (อ.ฆฏสูตร) 26/762/1 26/718/6 |
400 | [๖๙๗-๖๙๘] ภิกษุใหม่รูปหนึ่งเมื่อฉันเสร็จแล้วก็เข้าวิหาร เป็นผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายกระทำจีวร พระพุทธองค์ตรัสถามภิกษุนั้นตอบว่าข้าพระองค์ ก็กระทำกิจส่วนตัวเหมือนกัน พระองค์ทรงบอกความที่ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ พวกเธออย่าพึงยกโทษ ภิกษุนี้เลย (นวสูตร) 26/762/14 26/718/19 |
401 | [๖๙๙] " บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อน ปรารภความเพียรด้วยกำลัง น้อย ไม่พึงบรรลุพระนิพพานอันเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวงได้ แต่ภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นอุดมบุรุษ ชำนะมารทั้งพาหนะได้แล้วย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีใน ที่สุด ดังนี้ " (นวสูตร) 26/763/18 26/719/21 |
402 | [๗๐๑] พระพุทธองค์ ตรัสชมพระสุชาต ที่กำลังมาเพื่อจะเข้าเฝ้าพระองค์ ต่อภิกษุทั้งหลายว่ากุลบุตรนี้ งามด้วยสมบัติ 2 คือ รูปงามและถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์แล้ว (สุชาตสูตร) 26/764/19 26/721/1 |
403 | [๗๐๔] พระพุทธเจ้าตรัสให้ภิกษุทั้งหลายดู พระลกุณฏกภัททิยะ ผู้กำลังเข้ามาว่ามีวรรณะไม่น่าดู เตี้ยเป็นที่ดูแคลนแต่ท่านเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก (ภัททิยสูตร) 26/766/7 26/722/7 |
404 | กรรมที่ทำให้พระลกุณฏกภัททิยะ มีผิวพรรณทราม เพราะเคยเป็นพระราชาแต่ชอบแกล้งคนแก่ ๆ (อ.ภัททิยสูตร) 26/767/12 26/723/9 |
405 | สมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า ท่านลกุณฏกภัททิยะนี้ เป็นนกดุเหว่า ได้ถวายผลมะม่วงแด่พระศาสดา ท่านจึงมีเสียงไพเราะ (อ.ภัททิยสูตร) 26/768/18 26/724/12 |
406 | ท่านลกุณฏกภัททิยะ นี้ เป็นหัวหน้าช่าง ทำให้พวกช่างตกลงใจ สร้างเจดีย์ของพระกัสสปพุทธเจ้า ลดลงแค่ 1 โยชน์ ท่านจึงมี รูปร่างเตี้ย (อ.ภัททิยสูตร) 26/769/8 26/724/24 |
407 | [๗๐๖-๗๐๗] พระพุทธองค์สรรเสริญ พระวิสาขปัญจาลบุตร ผู้แสดงธรรมด้วยวาจาไพเราะสละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความไม่อิงอาศัยวัฏฏะ (วิสาขสูตร) 26/770/4 26/725/16 |
408 | [๗๐๘] " ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้จักคนที่ไม่พูด ว่าเจือด้วยพาล หรือเป็นบัณฑิต แต่ย่อมรู้จักคนที่พูด ผู้แสดงทางอมฤตอยู่ บุคคลพึงกล่าวธรรม พึงส่องธรรม พึงประคองธงชัยของฤๅษี ฤๅษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง ธรรมนั่นเอง เป็นธงชัยของพวกฤๅษี ดังนี้ " (วิสาขสูตร) 26/771/2 26/726/13 |
409 | [๗๐๙-๗๑๒] พระพุทธองค์ตรัสแก่พระนันทะให้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และถือบิณฑบาตเป็นวัตร . (นันทสูตร) 26/772/4 26/727/15 |
410 | [๗๑๓-๗๑๔] พระพุทธองค์ ตรัสให้ พระติสสะ โอรสพระเจ้าอาของพระองค์ให้อดทนต่อถ้อยคำของผู้อื่น ไม่ควรว่าเขาฝ่ายเดียว (ติสสสูตร) 26/774/6 26/729/16 |
411 | อดีตชาติของ พระติสสะ ตอนเป็นฤๅษี ชื่อว่า ชาติมา (อ.ติสสสูตร) 26/777/4 26/732/8 |
412 | [๗๒๐] " สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคืนได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็นปัจจุบัน ถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์ โดยพิสดารกว่าอย่างนี้แล " (เถรนามสูตร) 26/781/8 26/735/23 |
413 | [๗๒๑] " เราย่อมเรียก นรชนผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ และไตรภพทั้งหมดได้ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้ ผู้หลุดพ้น ในเพราะนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็นผู้มีปกติ อยู่คนเดียว ดังนี้. " . (เถรนามสูตร) 26/781/15 26/736/4 |
414 | [๗๒๓] พระพุทธองค์ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย ดูพระมหากัปปินะ ผู้กำลังเข้ามา ท่านมีอานุภาพมาก มีฤทธ์มาก และ เป็นพระอรหันต์ (กัปปินสูตร) 26/783/3 26/737/10 |
415 | ประวัติของพระมหากัปปินะ (อ.กัปปินสูตร) 26/784/3 26/738/10 |
416 | [๗๒๖] พระพุทธองค์ ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย ดูภิกษุ 2 รูปซึ่งเป็นสหายกันมาตลอด500 ชาติ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เป็นพระอรหันต์ ลูกศิษย์ พระมหากัปปินะ. (สหายสูตร) 26/791/1 26/744/8 |