1 | [๔๑๘] " เรารู้แล้วว่าตบะอื่นๆ อย่างหนึ่งไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตบะทั้งหมด หาอำนวยประโยชน์ให้ไม่ ดุจถ่อเรือบนบก ฉะนั้น.... " (ตโปกรรมสูตร) 25/2/1125/2/11 25/2/10 |
2 | มารนั้นมีชื่ออื่นๆ บ้าง มีหลายชื่อ เป็นต้นว่า กัณหะ อธิปติ วสวัตติ อันตกะ นมุจี ปมัตตพันธุ ที่ชื่อว่า มาร เพราะทำเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อก้าวล่วงวิสัยของตน ให้ตาย(อ.ตโปกรรมสูตร) 25/3/825/3/8 25/3/9 |
3 | ทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า ศีล ทรงถือ เอาสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา(อ.ตโปกรรมสูตร) 25/4/825/4/8 25/4/9 |
4 | [๔๒๐] มารเนรมิตเพศเป็นพระยาช้างใหญ่ เข้าไปใกล้พระพุทธเจ้า (นาคสูตร) 25/5/825/5/8 25/5/8 |
5 | พระพุทธองค์ วางจีวร ผืนใหญ่ไว้บนพระเศียร ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีอันมืด และฝนลงเม็ดประปรายอยู่ เพื่อเป็นตัวอย่างของกุลบุตรภายหลัง ในการอยู่กลางแจ้ง(อ.นาคสูตร) 25/6/525/6/5 25/6/5 |
6 | [๔๒๔] " ...ชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ชนเหล่านั้น ไม่เดินตามหลังมาร " (สุภสูตร) 25/8/1925/8/19 25/8/2 |
7 | [๔๒๕-๔๒๖] พระพุทธเจ้า กำลังอบรมภิกษุทั้งหลายอยู่ มารผู้มีบาปได้มา กล่าวว่า ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้ว ด้วยบ่วงของมารทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่ เป็นของมนุษย์... " (ปฐมปาสสูตร) 25/10/425/10/4 25/9/4 |
8 | [๔๒๘] พระพุทธเจ้า ส่งพระอรหันต์ไป ประกาศศาสนาครั้งแรก. (ทุติยปาสสูตร) 25/13/825/13/8 25/11/4 |
9 | หมู่บ้านเสนานิคม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้งกองทัพ ของเหล่า มนุษย์ต้นกัป หรือได้แก่ หมู่บ้านของบิดานางสุชาดา (อ.ทุติยปาสสูตร) 25/16/1025/16/10 25/13/19 |
10 | [๔๓๒] พระพุทธองค์ประทับนั่งอยู่กลางแจ้งในคืนอันมืดสนิท มารผู้มีบาปนิรมิต เพศเป็นพระยางูใหญ่ เข้าไปใกล้พระองค์ (สัปปสูตร) 25/17/825/17/8 25/14/13 |
11 | [๔๓๓] "... ถึงแม้ท้องฟ้าจะแตก แผ่นดินจะไหว สัตว์ทั้งหลายพึงสะดุ้งกลัว กันหมดก็ตามที แม้ถึงว่าหอกจะจ่ออยู่ ที่อกก็ตามเถิด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงป้องกัน เพราะอุปธิ (คือขันธ์) ทั้งหลาย " (สัปปสูตร) 25/18/625/18/6 25/15/9 |
12 | [๔๓๔-๔๓๕] พระพุทธองค์เสด็จจงกรมตลอดราตรี ในเวลาใกล้รุ่งทรงล้าง พระบาทแล้วเสด็จเข้าวิหาร สำเร็จสีหไสยาสน์ มารมากล่าวตู่ว่าพระองค์ นอนหลับเป็นตายจนตะวันโด่ง. (สุปปติสูตร) 25/21/425/21/4 25/17/19 |
13 | พระพุทธองค์ ทรงล้างพระบาท หรือสรงน้ำ เพื่อยึดถือธรรมเนียมไว้ เพราะ พระพุทธเจ้าไม่ทรงละเลย กิริยาของมนุษย์ (อ.สุปปติสูตร) 25/22/725/22/7 25/18/17 |
14 | [๔๓๙] " คนมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร คนมีโคก็ย่อมเศร้าโศกเพราะ โค ฉันนั้น เหมือนกัน อุปธิ (กามคุณ 5) ทั้งหลายนั่นแล เป็นเหตุเศร้าโศกของนรชน เพราะคนที่ไม่มีอุปธิหาเศร้าโศกไม่" (นันทนสูตร) 25/24/1525/24/15 25/20/14 |
15 | [๔๔๐] " อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี คนที่เป็นอยู่นาน ย่อมเป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือ จะอยู่เกินไปได้บ้าง ก็มีน้อย" (ปฐมอายุสูตร) 25/26/925/26/9 25/21/8 |
16 | [๔๔๕] " วันคืนย่อมผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมสั้นเข้า อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป ดุจน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ฉะนั้น" (ทุติยอายุสูตร) 25/28/1625/28/16 25/23/10 |
17 | [๔๔๘] " แม้ถึงว่าท่านจะพึงกลิ้งภูเขาคิชฌกูฏหมดทั้งสิ้น ความหวั่นไหวก็จะ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบแน่แท้" (ปาสาณสูตร) 25/30/1225/30/12 25/25/12 |
18 | [๔๕๑] พระพุทธเจ้าแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ทรงแสดงธรรมอยู่ มารเข้าไป ประสงค์จะยัง ปัญญาจักษุของบริษัทให้เสีย พระพุทธองค์จึงตรัสว่า " ตถาคต เป็นมหาวีรบุรุษองอาจในบริษัท บรรลุทสพลญาณ ข้ามตัณหาอันเป็นเหตุข้อง ในโลกเสียได้ บันลืออยู่โดยแท้ " (สีหสูตร) 25/32/1625/32/16 25/27/5 |
19 | [๔๕๒-๔๕๓] เมื่อพระบาทของพระพุทธองค์ ถูกสะเก็ดหินเจาะแล้ว เวทนาทั้งหลาย อันยิ่งเป็นไปในพระสรีระเป็นทุกข์ แรงกล้า เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่พอพระทัย ย่อม เป็นไปแด่พระพุทธองค์ๆ อดกลั้นเวทนาเหล่านั้น ไม่กระสับกระส่ายสำเร็จ สีหไสยามีสติสัมปชัญญะอยู่ มารเข้ามากล่าวตู่ว่า พระองค์นอนคิดกาพย์กลอน อยู่. (สกลิกสูตร) 25/34/625/34/6 25/28/4 |
20 | [๔๕๗] พระพุทธองค์แสดงธรรมแก่คฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่อยู่ มารเข้าไปประสงค์ จะยังปัญญาจักษุให้พินาศ พระพุทธองค์ จึงตรัสตอบมารว่า " พระสัมพุทธเจ้ามี ปกติอนุเคราะห์ด้วยจิตอันเกื้อกูล ทรงพร่ำสอนผู้อื่นด้วยสิ่งใด ตถาคตมีจิต หลุดพ้นจากความยินดี ยินร้ายในสิ่งนั้นแล้ว " (ปฏิรูปสูตร) 25/37/1725/37/17 25/31/4 |
21 | [๔๕๙-๔๖๐] มารมากล่าวว่า จะคล้องพระพุทธองค์ด้วยบ่วงที่มีใจไปได้ในอากาศ พระองค์ตอบว่า " เราหมดความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันเป็นของ รื่นรมย์ใจแล้ว แน่ะมาร เรากำจัดท่านได้แล้ว " (มานสสูตร) 25/39/625/39/6 25/32/6 |
22 | [๔๖๑-๔๖๒] พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอุปาทานขันธ์ 5 อยู่มารแปลงเพศเป็นโคเดินไปยังบริเวณที่ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตร เพื่อประสงค์ จะยังปัญญาจักษุของภิกษุเหล่านั้นให้พินาศ พระองค์จึงบอกให้รู้ว่านั่นไม่ใช่โคนั่นเป็นมาร (ปัตตสูตร) 25/40/325/40/3 25/33/5 |
23 | [๔๖๔-๔๖๕] พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เกี่ยวด้วยผัสสายตนะ 6 ก็ภิกษุเหล่านั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์อยู่ มารผู้มีบาปได้ร้องเสียงดังพิลึก ประดุจแผ่นดินจะถล่ม เพื่อประสงค์ทำปัญญาจักษุให้พินาศ(อายตนสูตร) 25/43/325/43/3 25/35/14 |
24 | [๔๖๗-๔๖๘] มารดลใจไม่ให้ใส่บิณฑบาต (ปิณฑิกสูตร) 25/45/325/45/3 25/37/15 |
25 | [๔๖๙] " มารมาขัดขวางตถาคต ได้ประสบสิ่งมิใช่บุญแล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเข้าใจว่า บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เราฉะนั้นหรือ พวกเราไม่มีความกังวล ย่อมอยู่เป็นสุขสบายหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษาดุจอาภัสสรเทพฉะนั้น" .(ปิณฑิกสูตร) 25/45/2025/45/20 25/38/13 |
26 | พวกสาว 500 คน พบพระศาสดา ระหว่างทางได้ถวายขนมอ่อน พระพุทธองค์ แสดงธรรมเพื่ออนุโมทนา จบเทศนา พวกสาวทั้งหมด ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. .(อ.ปิณฑิกสูตร) 25/46/1625/46/16 25/39/9 |
27 | [๔๗๐-๔๗๑] มารแปลงเป็นชาวนา แบกไถใหญ่ ถือปฏักมีด้ามยาม มีผมยาว รุงรังเข้าไปถามหาโค ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม (กัสสกสูตร) 25/48/425/48/4 25/40/19 |
28 | [๔๗๔] " ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้น ไม่ใช่เรา ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา" .(กัสสกสูตร) 25/50/725/50/7 25/42/16 |
29 | [๔๗๕-๔๗๖] พระพุทธองค์ทรงเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ถูกผู้อื่นลงโทษเบียดเบียน ในสมัยพระราชาผู้ไม่ทรงธรรม จึงทรงคิดว่าเราสามารถเสวยรัชสมบัติ โดยธรรม โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกได้ หรือไม่. มารได้รู้ความคิดนั้น จึงมาเชิญให้พระองค์ เสวยรัชสมบัติ. (รัชชสูตร) 25/52/325/52/3 25/44/11 |
30 | [๔๗๗] " ภูเขาทองคำล้วนมีสีสุกปลั่ง ถึงสองเท่าก็ยังไม่พอแก่บุคคลคนหนึ่ง บุคคลทราบดังนี้ พึงประพฤติสงบ ผู้ใดได้เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว ไฉนผู้นั้น จะพึงน้อมใจไปในกามเล่า... " (รัชชสูตร) 25/53/425/53/4 25/45/13 |
31 | [๔๗๙] มารแปลงกายเป็นพราหณ์แก่ ถือไม้เท้า มาถามกวนภิกษุหนุ่มๆ ผู้กำลัง ทำความเพียร ให้บริโภคกาม อันเป็นของมนุษย์ดีกว่า. (สัมพหุลสูตร) 25/56/825/56/8 25/48/8 |
32 | [๔๘๒-๔๘๗] มารทำเสียงดุจแผ่นดินถล่ม เพื่อกวนพระสมิทธิซึ่งกำลังทำความ เพียรอยู่ (สมิทธิสูตร) 25/60/325/60/3 25/51/4 |
33 | [๔๘๙-๔๙๑] พระโคธิกะได้เสื่อมจากฌานถึง 6 ครั้ง ในครั้งที่ 7 ท่านฆ่าตัวตาย และได้บรรลุอรหันต์ ก่อนสิ้นใจ (โคธิกสูตร) 25/63/725/63/7 25/54/1 |
34 | [๔๙๒-๔๙๓] พระพุทธองค์บอกให้ภิกษุทั้งหลาย ดูควัน หรือหมอกที่พลุ่งไปสู่ ทิศต่างๆ ว่านั่นเป็นมารตามหาวิญญาณของพระโคธิกะ (โคธิกสูตร) 25/65/425/65/4 25/55/10 |
35 | พระโคธิกะเป็นโรคลม น้ำดี และเสมหะเรื้อรัง จึงทำให้เสื่อมจากฌาน (อ.โคธิกสูตร) 25/67/725/67/7 25/56/22 |
36 | สมสีสีมี 3 ประเภท คือ อิริยาบถสมสีสี โรคสมสีสี ชีวิตสมสีสี (อ.โคธิกสูตร) 25/68/825/68/8 25/57/25 |
37 | [๕๐๒] " ชนเหล่าใดมุ่งไปสู่ฝั่ง ย่อมถึงพระนิพพาน อันมิใช่โอกาสของมารเราถูก ชนเหล่านั้นถามแล้ว จักบอกว่า สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งนั้นหาอุปธิกิเลสมิได้ " .(สัตตวัสสสูตร) 25/71/1725/71/17 25/60/26 |
38 | [๕๐๓-๕๐๔] มารคอยหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าสิ้น 7 ปี แล้วจึงกล่าวคาถา อันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย เปรียบตนเองเหมือนกามาพบศิลา แล้วหลีกไปนั่ง สมาธิ คอตก ก้มหน้า เอาไม้ขีดแผ่นดินอยู่ (สัตตวัสสสูตร) 25/71/2125/71/21 25/61/3 |
39 | [๕๐๕-๕๑๓] ธิดามาร 3 นาง คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา ได้มาขอบำเรอ พระพุทธองค์ และแปลงเพศเป็นหญิงหลายรูปแบบ (มารธีตุสูตร) 25/75/325/75/3 25/64/3 |
40 | [๕๑๔] สมณะ หรือพราหมณ์ คนใดที่ยังไม่หมดราคะ หากถูกธิดามารเล้าโลมหัวใจ ของคนนั้นพึงแตก หรือโลหิตอุ่น พึงพลุ่งออกจากปาก ถึงกับเป็นบ้าถึงความ มีจิตฟุ้งซ่าน ย่อมหงอยเหงาเหี่ยวแห้งไป.(มารธีตุสูตร) 25/78/125/78/1 25/66/15 |
41 | [๕๒๓-๕๒๔] มารมากล่าวคาถารบกวน อาฬวิกาภิกษุณี ซึ่งต้องการความวิเวก ในป่าอันธวัน (อาฬวิกาสูตร) 25/85/1025/85/10 25/73/11 |
42 | เรื่องย่อของป่าอันธวัน (อ.อาฬวิกาสูตร) 25/87/525/87/5 25/74/18 |
43 | [๕๒๖-๕๒๗] มารมารบกวนโสมาภิกษุณี ในป่าอันธวัน ว่าสตรีมีปัญญาเพียง สองนิ้ว (โสมาสูตร) 25/88/825/88/8 25/75/18 |
44 | [๕๒๙-๕๓๐] มารมารบกวน กิสาโคตมีภิกษุณี ว่า เสียลูกไปแล้ว มานั่งหา ผู้ชายอยู่หรือ. (โคตมีสูตร) 25/90/825/90/8 25/77/14 |
45 | เรื่อง ทรัพย์ของเศรษฐี กลายเป็นถ่าน (อ.โคตมีสูตร) 25/92/425/92/4 25/78/19 |
46 | [๕๓๒-๕๓๓] มารมารบกวนวิชยาภิกษุณี ด้วยชวนมาอภิรมย์กันด้วยดนตรี (วิชยาสูตร) 25/94/625/94/6 25/80/20 |
47 | คนตรี ที่ประกอบด้วยองค์ 5 (อ.วิชยาสูตร) 25/95/825/95/8 25/81/23 |
48 | [๕๓๕-๕๓๖] มารมารบกวนอุบลวรรณาภิกษุณี ว่าอยู่คนเดียวไม่กลัวพวกนักเลง หรือ พระเถรีตอบว่า แม้เราหายตัวเข้าท้องมาร หรือยืนอยู่บนดั้งจมูกมาร มาร ก็หาเราไม่เห็น. (อุบลวรรณาสูตร) 25/96/625/96/6 25/83/1 |
49 | [๕๓๘-๕๔๐] มารมารบกวนจาลาภิกษุณี ด้วยถามว่าท่านไม่ชอบใจอะไร พระเถรี ตอบว่า ไม่ชอบความเกิด (จาลาสูตร) 25/99/825/99/8 25/84/21 |
50 | [๕๔๒-๕๔๔] มารมารบกวนอุปจาลาภิกษุณี ให้ตั้งใจไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์ จนถึงวสวัตตี เถิด. (อุปจาลาสูตร) 25/101/825/101/8 25/86/18 |
51 | [๕๔๖-๕๔๘] มารมารบกวนสีสุปจาลาภิกษุณี ว่าท่านทำตัวเหมือนสมณะ แต่ทำตัวงมงาย (สีสุปจาลาสูตร) 25/103/825/103/8 25/88/8 |
52 | [๕๕๐-๕๕๑] มารแกล้งถามกวนเสลาภิกษุณี ด้วยเรื่อง รูปใครสร้าง ... รูปดับไป ในที่ไหน พระเถรีตอบว่า " ...พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่านลงในนาย่อมงอก ขึ้นเพราะอาศัยเหตุ 2 ประการ คือ รสในแผ่นดิน และยางในพืช ฉันใดขันธ์ธาตุ และอายตนะ 6 เหล่านี้ ก็เกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุ ดับไปเพราะเหตุดับ ฉันนั้น " .(เสลาสูตร) 25/106/825/106/8 25/90/15 |
53 | [๕๕๓-๕๕๔] มารแกล้งถามกวนวชิราภิกษุณี ว่าสัตว์นี้ ใครสร้าง... สัตว์ดับไปใน ที่ไหน พระเถรีตอบว่า " ... เมื่อขันธ์ ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้นความจริง ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ " (วชิราสูตร) 25/108/1025/108/10 25/92/10 |
54 | [๕๕๕-๕๕๘] พระพุทธองค์ ทรงน้อมพระทัยในอันที่จะไม่แสดงธรรม ท้าวสหัมบดีพรหม จึงลงมาอาราธนา (อายาจนสูตร) 25/111/625/111/6 25/95/6 |
55 | พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงคิดจะไม่แสดงธรรมในสัปดาห์ที่ 8 หลังตรัสรู้ . (อ.อายาจนสูตร) 25/115/725/115/7 25/98/22 |
56 | เหตุที่พระพุทธองค์ ทรงมีความขวนขวายน้อยในการแสดงธรรม (อ.อายาจนสูตร) 25/119/1525/119/15 25/103/3 |
57 | พรหมนี้เคยเป็นพระเถระชื่อสหกะ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ทำปฐมฌานให้เกิด แล้วเกิดเป็นพรหมมีอายุ กัปหนึ่ง (อ.อายาจนสูตร) 25/120/125/120/1 25/103/13 |
58 | บุคคล 4 จำพวก มีอุคฆติตัญญู เป็นต้น (อ.อายาจนสูตร) 25/124/225/124/2 25/107/12 |
59 | บุคคลใดสดับมาก กล่าวมาก ทรงจำได้มาก หรือให้ผู้อื่นสอนมากก็ตาม ยังตรัสรู้ธรรมนั้นไม่ได้ เรียกว่า ปทปรมะ (อ.อายาจนสูตร) 25/124/925/124/9 25/107/19 |
60 | พระพุทธเจ้าทรงใช้พระญาณ กำหนดภัพบุคคล 6 พวกตามจริต. (อ.อายาจนสูตร) 25/125/725/125/7 25/108/17 |
61 | [๕๕๙] พระพุทธเจ้าได้คิดว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์ ใครผู้ใดอยู่หนอ (คารวสูตร) 25/127/425/127/4 25/109/18 |
62 | [๕๖๐] พระพุทธเจ้าทรงสักการะเคารพธรรม (คารวสูตร) 25/128/1025/128/10 25/110/25 |
63 | [๕๖๒] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเคารพธรรม (คารวสูตร) 25/129/525/129/5 25/111/17 |
64 | ความคิดเรื่องที่สักการะเคารพ เกิดขึ้นแก่พระพุทธองค์ในสัปดาห์ที่ 5 หลังการ ตรัสรู้. (อ.คารวสูตร) 25/130/325/130/3 25/112/3 |
65 | ท้าววสวัตดีมาร ย่อมมีอำนาจเหนือมาร และพรหม (อ.คารวสูตร) 25/130/825/130/8 25/112/10 |
66 | [๕๖๔-๕๖๕] ท้าวสหัมบดีพรหมลอยอยู่ในอากาศบอกแก่ นางพราหมณีซึ่งกำลัง บูชาพรหมอยู่ว่า อาหารของพรหมไม่ใช่แบบนี้ ให้เอาอาหารนี้ถวายพระพรหมเทวะ ผู้เป็นบุตรของนางพราหมณีนั้น (พรหมเทวสูตร) 25/132/1525/132/15 25/114/15 |
67 | ก็ชาติไหนของพระพรหมเทวะนั้นสิ้นแล้ว (อ.พรหมเทวสูตร) 25/136/125/136/1 25/117/9 |
68 | พรหมโลกชั้นต่ำสุด อยู่ไกลจากโลก ประมาณโดยเทียบการทิ้งก้อนหินขนาด เท่าเรือนยอด ตกจากพรหมโลก วันหนึ่งคืนหนึ่ง สิ้นระยะทาง 48,000 โยชน์ ใช้เวลาถึง 4 เดือน จึงตกถึงแผ่นดิน (อ.พรหมเทวสูตร) 25/138/325/138/3 25/119/13 |
69 | พรหมทั้งหลาย ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยฌานที่มีปีติ หาได้ใส่ข้าวสารแห่ง ข้าวสาลี และเคี้ยวกินน้ำนมที่เคี่ยวแล้วไม่ (อ.พรหมเทวสูตร) 25/138/1025/138/10 25/119/20 |
70 | [๕๖๖] พกพรหมได้มีความเห็นอันชั่วช้าว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ไม่แก่ ไม่ตาย ก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่มี (พกสูตร) 25/140/325/140/3 25/121/16 |
71 | [๕๖๙] ยังมีพรหมอีก 72 องค์ เป็นดังพกพรหมนี้ (พกสูตร) 25/141/825/141/8 25/122/22 |
72 | [๕๗๐] อายุของพกพรหมยังเหลืออีก หนึ่งแสนนิรัพพุท (นิรัพพุท มีจำนวนเลข ศูนย์ 68 ศูนย์) (พกสูตร) 25/141/1625/141/16 25/123/2 |
73 | [๕๗๒] ศีล และวัตร ที่พกพรหมเคยประพฤติมา 4 ข้อ (พกสูตร) 25/142/525/142/5 25/123/11 |
74 | อรรถกถาอธิบายไว้ (อ.พกพรหมสูตร) 25/145/2325/145/23 25/127/3 |
75 | พกพรหมเคยบวชเป็นฤๅษี ไม่เสื่อมฌานตายแล้วไปเกิดใน พรหมโลกชั้นเวหัปผลา มีอายุ 500 กัป, ต่อมาอยู่ชั้น สุภกิณหะมีอายุ 64 กัป เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ลืม มีอายุ 64 กัป เมื่อกาลล่วงไปๆ กรรมและสถานที่ทั้ง 2 เสีย. (อ.พกพรหมสูตร) 25/144/325/144/3 25/125/2 |
76 | [๕๗๓] พรหมองค์หนึ่งได้เกิดความเห็นชั่วช้าว่า สมณะหรือพราหมณ์ ที่จะพึง มาในพรหมโลกนี้ได้ ไม่มีเลย. (อปราทิฏฐิสูตร) 25/149/425/149/4 25/130/6 |
77 | [๕๗๔-๕๘๐] พระพุทธเจ้า พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสป พระมหากัปปินะ พระอนุรุทธะ ได้หายไปจากเชตวันวิหาร ปรากฏในพรหมโลก นั่งขัดสมาธิในเวหา เบื้องบนของพรหมผู้มีความเห็นผิดนั้น. (อปราทิฏฐิสูตร) 25/149/825/149/8 25/130/8 |
78 | พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นอันมากในเรื่อง ทิฏฐิ 2 อย่าง ในที่สุด เทศนา พรหมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.อปราทิฏฐิสูตร) 25/154/925/154/9 25/134/16 |
79 | พรหมปาริสัชชะแม้ของพรหมทั้งหลาย ก็เหมือนภิกษุหนุ่ม และสามเณรผู้ถือห่อ ของพระเถระ (อ.อปราทิฏฐิสูตร) 25/154/1325/154/13 25/134/23 |
80 | [๕๘๖-๕๙๑] สุพรหมปัจเจกพรหม กับ สุทธาวาสปัจเจกพรหม ไปหาพรหม ผู้ประมาท แล้วถามว่า ท่านไม่ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าบ้าง หรือพรหมนั้น อดกลั้นคำนั้นไม่ได้จึงนิรมิตตน 1000 แสดงอานุภาพ สุพรหมปัจเจกพรหม ได้นิรมิตตน 2000 แสดงอานุภาพ ทำพรหมนั้นให้สลดใจ (ปมาทสูตร) 25/156/425/156/4 25/135/18 |
81 | [๕๙๒-๕๙๓] สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าไปหา พระพุทธเจ้า ได้กล่าวคาถาถึง พระโกกาลิกะ (ปฐมโกกาลิกสูตร) 25/161/425/161/4 25/139/4 |
82 | ก็ผู้ใดเป็นปุถุชน ปรารภจะวัดพระขีณาสพนั้น เรากล่าวผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรม (ธรรมเครื่องกำจัดออกซึ่งกิเลส) คือ มีปัญญาต่ำทราม (อ.ปฐมโกกาลิกสูตร) 25/161/2125/161/21 25/140/2 |
83 | [๕๙๔-๕๙๕] สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าไปหา พระพุทธเจ้า ได้กล่าวคาถาถึง พระกตโมรกติสสกะ (ติสสกสูตร) 25/162/425/162/4 25/140/11 |
84 | [๕๙๖] ตุทุปัจเจกพรหม เป็นพระอนาคามี เคยเป็นอุปัชฌายะของพระโกกาลิกะ ได้ลงมาเตือน พระโกกาลิกะ แต่ กลับถูกพระโกกาลิกะตำหนิ (ตุทุพรหมสูตร) 25/163/425/163/4 25/141/9 |
85 | [๕๙๗] ผู้ติเตียน พระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีประมาณแห่งอายุถึงแสนสามสิบหกนิรัพพุท กับห้าอัพพุท(อัพพุทะ มีจำนวนเลขศูนย์ 61 ตัว) (ตุทุพรหมสูตร) 25/164/525/164/5 25/142/9 |
86 | [๕๙๘-๖๐๐] พระโกกาลิกะตำหนิพระอัครสาวก ว่ามีความปรารถนาลามก พระพุทธองค์ทรงห้ามถึง 3 ครั้ง ก็ไม่ฟังครั้นกลับไปแล้ว ก็ป่วยมีตุ่มขึ้นเต็มตัว ตายไปตกปทุมนรก. (ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/167/425/167/4 25/144/19 |
87 | ปทุมนรก เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีมหานรก ผู้ที่ตกนรกนี้ ต้องไหม้อยู่สิ้นเวลา ปทุมหนึ่ง การคำนวณปทุมนั้น มีศูนย์อยู่ 124 ตัว (เชิงอรรถ) 25/168/2325/168/23 25/146/25 |
88 | [๖๐๔] พระพุทธองค์เปรียบเกวียนบรรทุกงาได้ 20 ขารี 100 ปี เก็บออก 1 เมล็ด เมล็ดงานั้นพึงหมดไป เพราะความเพียรนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนอัพพุทนรกหนึ่ง ยังไม่สิ้น ไปเลย. (หน่วยในการนับจากอัพพุทนรก ถึง ปทุมนรก). (ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/170/225/170/2 25/147/1 |
89 | [๖๐๕] "... ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติหรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้น ชื่อว่า สั่งสมโทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ประสบความสุข..." . .(ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/170/1725/170/17 25/147/16 |
90 | เหตุที่พระโกกาลิกะ ผูกอาฆาตในพระอัครสาวก (อ.ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/172/425/172/4 25/148/12 |
91 | เมื่อมนุษย์ติเตียนพระโกกาลิกะ พวกอารักขเทวดาก็ติเตียนเช่นเดียวกัน ได้เกิด การติเตียน อย่างเดียวกันจนถึง อกนิฏฐภพ. (อ.ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/174/1925/174/19 25/151/4 |
92 | หน่วยแห่งการตวง : 4 แล่งชาวมคธ เป็น 1 แล่ง ในโกศลรัฐ. 4 แล่ง โดยแล่งนั้น เป็น 1 อาฬหกะ 4 อาฬหกะ เป็น 1 โทณะ (ทะนาน). 4 โทณะเป็น 1 มานิกะ (เครื่องตวง). 4 มานิกะ เป็น 1 ขาริ โดยขารินั้น เป็น 20 ขาริกะ(อ.ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/175/525/175/5 25/151/16 |
93 | จำนวนนับจาก ร้อยแสน จนถึง นิรัพพุทะหนึ่ง (อ.ทุติยโกกาลิกสูตร) 25/175/1225/175/12 25/151/24 |
94 | [๖๐๗] สนังกุมารพรหมกล่าวต่อพระพุทธองค์ว่า " กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร แต่ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดในเทวดา และมนุษย์ " (สนังกุมารสูตร) 25/176/1125/176/11 25/153/11 |
95 | สนังกุมารพรหม ในเวลาเป็นกุมารมีผม 5 แหยม เจริญฌานบังเกิดในพรหมโลก เที่ยวไปด้วยเพศกุมารนั้นเอง. (อ.สนังกุมารสูตร) 25/177/425/177/4 25/154/4 |
96 | [๖๑๐] เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ แล้วหลีกจากพระเวฬุวันไปยังคยาสีสะประเทศ ไม่นานนัก ท้าวสหัมบดีพรหม มากล่าวต่อพระพุทธเจ้าว่า " ผลกล้วยแลย่อมฆ่า ต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่วเหมือน ลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น. " (เทวทัตตสูตร) 25/178/1025/178/10 25/155/12 |
97 | [๖๑๒] ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดาทรงกระทำความเพียร และชน ทั้งหลายก็ทำความเพียร จึงมากล่าวคาถา ปรารภความเพียรที่เหมาะแก่คำ สอนว่า " ภิกษุพึงเสพที่นอนและที่นั่งอันสงัด พึงประพฤติเพื่อความหลุดพ้น จากสัญโยชน์... " (อันธกวินทสูตร) 25/179/1125/179/11 25/156/11 |
98 | [๖๑๕-๖๑๙] พระสิขีพุทธเจ้า กับพระอภิภูได้ขึ้นไปยังพรหมโลก แล้วพระอภิภูยืน แสดงธรรมบนพรหมโลก ได้ยินเสียงไปทั่วหมื่นโลกธาตุ (อรุณวตีสูตร) 25/183/1325/183/13 25/160/2 |
99 | พระอภิภูทำอย่างไร จึงรู้กันได้ทั่ว หมื่นโลกธาตุ ? (อ.อรุณวตีสูตร) 25/188/225/188/2 25/164/1 |
100 | [๖๒๐] " เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด." นี้เป็นวาจา ครั้งสุดท้ายของพระตถาคต (ปรินิพพานสูตร) 25/189/325/189/3 25/164/13 |
101 | [๖๒๒-๖๒๕] เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม ท้าวสักกเทวราช พระอานนท์ และพระอนุรุทธะได้ กล่าวคาถา พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพาน นั้น .(ปรินิพพานสูตร) 25/190/425/190/4 25/165/15 |
102 | ชื่อว่าการตาย ภายในนิโรธสมาบัติ ไม่มี (อ.ปรินิพพานสูตร) 25/192/2125/192/21 25/167/25 |
103 | ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวก โดยที่สุดกระทั่งมดดำมดแดงทั้งหมด. ย่อมตายด้วยอัพยากตทุกขสัจจะอันเป็น ภวังคจิตทั้งนั้น. (อ.ปรินิพพานสูตร) 25/193/1925/193/19 25/168/22 |
104 | [๖๒๙] " บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่ เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความ โกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก " (ธนัญชานีสูตร) 25/196/1325/196/13 25/172/10 |
105 | นางธนัญชานี เป็นอริยสาวกผู้โสดาบัน นางมักเปล่งอุทานด้วยความนอบน้อมต่อ พระพุทธเจ้า (อ.ธนัญชานีสูตร) 25/198/225/198/2 25/173/17 |
106 | [๖๓๓] "... ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะ สงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก... " (อักโกสกสูตร) 25/203/1125/203/11 25/178/17 |
107 | การด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 คือ เจ้าเป็นโจร เป็นคนโง่ เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติเท่านั้น. .(อ.อักโกสกสูตร) 25/205/125/205/1 25/180/3 |
108 | [๖๓๖] " ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความ อดกลั้นได้ เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่... " (อสุรินทกสูตร) 25/206/1425/206/14 25/181/16 |
109 | [๖๓๙] " ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย ซึ่งเป็นบุรุษผู้หมดจด ไม่มีกิเลส เป็นเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับสนองผู้นั้น ผู้เป็นพาลนั้นเอง เปรียบเหมือนธุลี อันละเอียด ที่บุคคลซัดไปสู่ที่ทวนลม ฉะนั้น " (พิลังคิกสูตร) 25/209/425/209/4 25/184/3 |
110 | พราหมณ์ชื่อภารทวาชะ ได้กระทำน้ำข้าวล้วนๆ และปรุงด้วยเครื่องปรุงมีประการ ต่างๆ ไว้ขาย รวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก. (อ.พิลังคิกสูตร) 25/210/625/210/6 25/185/4 |
111 | [๖๔๒] " ถ้าว่าท่านมีชื่อว่า อหิงสกะ ท่านพึงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อหิงสกะโดยแท้เพราะไม่เบียดเบียน ซึ่งผู้อื่น " . (อหิงสกสูตร) 25/211/1025/211/10 25/185/21 |
112 | [๖๔๖] " ภิกษุใดเป็นคนมีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญ มี ความเพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงสางตัณหาพายุ่งนี้ได้ ... " (ชฏาสูตร) 25/213/925/213/9 25/187/14 |
113 | [๖๕๐] " พราหมณ์ ผู้กล่าวถ้อยคำแม้มาก เป็นผู้เน่าและเศร้าหมองในภายใน อาศัยการโกหก ย่อมไม่เป็นพราหมณ์ เพราะชาติ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ สูทร คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีจิตมั่นคง มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่ง ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด พราหมณ์ " (สุทธิกสูตร) 25/215/725/215/7 25/188/20 |
114 | [๖๕๖] พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมรังเกียจ โภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม . (อัคคิกสูตร) 25/218/925/218/9 25/191/13 |
115 | พระพุทธเจ้าทรงดำริว่าพราหมณ์นี้ถือเอาข้าวปายาสอันเลิศเอาไปเผาไฟ ด้วย ตั้งใจจะให้มหาพรหมบริโภค ย่อมกระทำสิ่งที่ไร้ผล ก้าวลงสู่ทางอบายเมื่อไม่ละ ลัทธินี้ ก็จักทำอบายให้เต็ม. (อ.อัคคิกสูตร) 25/219/625/219/6 25/192/7 |
116 | [๖๖๕] " ... ดูก่อนพราหมณ์ มานะแลเป็นดุจภาระ คือ หาบของท่าน ความโกรธ ดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็นประดุจภาชนะเครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้งกอบ กูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นความรุ่งเรืองของบุรุษ... " (สุนทริกสูตร) 25/225/1125/225/11 25/197/8 |
117 | เทวดาในทวีปใหญ่ 4 ทวีปน้อย 2,000 ได้ใส่โอชะอันเป็นทิพย์ เข้าไปในข้าวปายาส ที่พราหมณ์ นำไปถวายพระพุทธเจ้า (อ.สุนทริกสูตร) 25/229/2125/229/21 25/201/16 |
118 | เหตุที่ สุนทริกพราหมณ์ เทข้าวปายาสลงในน้ำแล้วเกิดเสียงดังสนั่น เพราะเหตุ แห่งการอธิษฐานของพระพุทธเจ้า (อ.สุนทริกสูตร) 25/230/1625/230/16 25/202/11 |
119 | [๖๖๘-๖๗๐] พราหมณ์ ภารทวาชโคตร ได้ตามหาโคงาน 14 ตัว ที่หายไปในป่า และได้พบพระพุทธองค์ในป่า ได้ฟังธรรม แล้วขอบวชไม่นานได้บรรลุอรหันต์ . (พหุธิติสูตร) 25/234/625/234/6 25/205/21 |
120 | พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปลดกังวล เรื่องหนี้ให้ภิกษุแก่รูปหนึ่ง (อ.พหุธิติสูตร) 25/240/1525/240/15 25/211/6 |
121 | [๖๗๔] " ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็น งอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก... เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ " (กสิสูตร) 25/244/1225/244/12 25/215/10 |
122 | พระพุทธเจ้าย่อมมีกิจประจำวัน 5 อย่าง (อ.กสิสูตร) 25/248/1425/248/14 25/218/18 |
123 | ภายหลัง กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้ออกบวช บรรลุพระอรหันต์ (อ.กสิสูตร) 25/252/725/252/7 25/221/24 |
124 | กาลใดที่พระพุทธเจ้า ประสงค์จะเสด็จไปที่ไหนๆ แต่ผู้เดียวในเวลาบิณฑบาต พระองค์จะทรงปิดประตูพระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลาย รู้ด้วยสัญญานั้น (อ.กสิสูตร) 25/252/2025/252/20 25/222/14 |
125 | พืช 5 อย่าง คือ พืชเกิดแต่ราก พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ข้อ พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด (อ.กสิสูตร) 25/257/225/257/2 25/226/18 |
126 | [๖๗๗-๖๗๙] พระพุทธองค์เข้าไปบิณฑบาตยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์ 3 วัน ติดต่อกัน พราหมณ์นั้นให้ด้วยกลัวคนอื่นติเตียน ในวันที่ 3 จึงกล่าวว่าพระพุทธองค์ติดในรส จึงเสด็จมาบ่อยๆ (อุทัยสูตร) 25/265/1525/265/15 25/235/7 |
127 | [๖๘๐] พระพุทธองค์ ตรัสธรรม 16 ประการ ที่ควรทำบ่อย ๆ (อุทัยสูตร) 25/266/725/266/7 25/235/19 |
128 | [๖๘๒] พระพุทธเจ้าทรงประชวรด้วยโรคลม พระอุปวาณะจึงไปบิณฑบาตน้ำร้อน ที่บ้านของเทวหิตพราหมณ์ (เทวหิตสูตร) 25/269/1325/269/13 25/239/3 |
129 | [๖๘๖-๖๘๗] เทวหิตพราหมณ์ ถามว่าพึงให้ไทยธรรมที่ไหน ทานอันบุคคลให้ที่ ไหนมีผลมาก พระพุทธองค์ ตรัสว่าให้ในพระอรหันต์ มีผลมาก(เทวหิตสูตร) 25/270/1825/270/18 25/239/24 |
130 | เมื่อครั้นทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา 6 พรรษา ทรงเสวยถั่วเขียวและถั่วพู เป็นต้น อย่างละฟายมือ ลมในพระอุทรกำเริบ เพราะเสวยไม่ดี และบรรทมลำบาก สมัยต่อมา อาพาธนั้นก็ยังปรากฏตัวเป็นระยะ ๆ (อ.เทวหิตสูตร) 25/272/325/272/3 25/241/1 |
131 | อาชีพขายน้ำร้อน พร้อมกับผงสำหรับอาบน้ำ (อ.เทวหิตสูตร) 25/272/1725/272/17 25/241/15 |
132 | น้ำอ้อยละลายน้ำร้อน ดื่มหลังอาบน้ำเสร็จ เป็นยาแก้โรคลมในท้อง (อ.เทวหิตสูตร) 25/273/1725/273/17 25/242/12 |
133 | [๖๘๙-๖๙๐] ไม้เท้าดีกว่าลูก (มหาศาลสูตร) 25/274/1725/274/17 25/243/12 |
134 | สมัยนั้น พวกมนุษย์มีประเพณีว่า ผู้ใดกินของของบิดามารดา ไม่เลี้ยงดูบิดา มารดา ผู้นั้นควรให้ตายเสีย ดังนั้นเมื่อพราหมณ์แก่ กล่าวคาถาที่พระพุทธเจ้า สอนในที่ประชุมพราหมณ์ ทำให้ลูกๆ ของพราหมณ์แก่ นำบิดาไปเลี้ยงดูอย่างดี. .(อ.มหาศาลสูตร) 25/280/1225/280/12 25/248/12 |
135 | เมื่อเรือนของลูกคนโต มีงานมงคล พราหมณ์ ให้นิมนต์ พระพุทธเจ้า และภิกษุ ประมาณ 500 รูป จบเทศนา พราหมณ์และลูก 4 คน ลูกสะใภ้ 4 คนตั้งอยู่ใน โสดาปัตติผล (อ.มหาศาลสูตร) 25/282/325/282/3 25/249/25 |
136 | [๖๙๙] " ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็นที่ 4 พึงมี ความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงบุคคลเหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดี แล้วจึงเป็นการดี บุคคลพึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ ผู้เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เพราะอนุสัยนั้น. " . (มานัตถัทธสูตร) 25/284/1425/284/14 25/252/10 |
137 | [๗๐๓] " คำอันเป็นสุภาษิต อันบุคคลผู้ยินดี จะเป็นข้าศึก มีจิตเศร้าหมองมาก ไปด้วยความแข่งดี จะรู้แจ้งด้วยดีไม่ได้ ส่วนว่าบุคคลใด กำจัดความแข่งดีและ ความไม่เลื่อมใสแห่งใจ ถอนความอาฆาตได้แล้ว ผู้นั้นแล พึงรู้คำอันเป็นสุภาษิต " . (ปัจจนิกสูตร) 25/286/1625/286/16 25/254/13 |
138 | [๗๐๗] " เราไม่มีกรณียกิจในป่าดอก เพราะเราถอนรากเหง้าป่าอันเป็นข้าศึกเสีย แล้วเราไม่มีป่า คือ กิเลส ปราศจาก ลูกศร คือ กิเลส ละความกระสันเสียแล้ว จึงยินดีอยู่ผู้เดียวในป่า. " (นวกัมมิกสูตร) 25/288/1525/288/15 25/256/6 |
139 | [๗๑๑] " ความมุ่งหวังหรือความเพลิดเพลินอย่างใดๆ ในอารมณ์หลายชนิดซึ่งมี ประจำอยู่ทุกเมื่อ นานาประการ หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่นซึ่งมีอวิชชา เป็นมูลรากก่อให้เกิดทั้งหมด เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว... เราควรเป็น พรหมแกล้วกล้าเพ่งอยู่ " (กัฏฐหารสูตร) 25/291/625/291/6 25/258/16 |
140 | [๗๑๓-๗๑๔] มาตุโปสกพราหมณ์ ถามว่า ข้าพเจ้าแสวงหาอาหารโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดาบิดา ทำเช่นนี้ควรทำ หรือไม่ พระศาสดาตรัสว่า ชอบยิ่งด้วยว่าผู้ใด แสวงหาอาหารโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดาบิดาผู้นั้น ย่อมได้บุญเป็นอันมาก . (มาตุโปสกสูตร) 25/294/425/294/4 25/261/10 |
141 | [๗๑๗] " บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วยการขอคนอื่นไม่ บุคคลสมาทาน ธรรมเป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดในโลกนี้ละบุญ และละบาปเสียแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็น ภิกษุ " (ภิกขกสูตร) 25/296/225/296/2 25/263/11 |
142 | [๗๒๒] " ดูก่อนพราหมณ์ ห้วงน้ำ คือ ธรรมมีศีลเป็นท่า ไม่ขุ่น สัตบุรุษสรรเสริญ ต่อสัตบุรุษ ซึ่งเป็นท่าที่บุคคลผู้ถึงเวทอาบแล้ว บุคคลผู้มีตัวไม่เปียกเท่านั้น จึงจะข้ามถึงฝั่งได้ " (สังครวสูตร) 25/298/1525/298/15 25/265/25 |
143 | เหตุที่พระอานนท์ ทูลขอร้องให้พระพุทธองค์ เข้าไปหาสังครวพราหมณ์ เพราะ ว่าเป็นสหายของพระเถระ และเมื่อเขาเลื่อมใสแล้ว ตระกูล 500 ตระกูลก็จะ ประพฤติตาม (อ.สังครวสูตร) 25/299/1025/299/10 25/266/16 |
144 | [๗๒๕] " ในที่ใดไม่มีคนสงบที่นั้นไม่ชื่อว่า สภา คนเหล่าใดไม่กล่าวธรรมคนเหล่านั้น ไม่ชื่อว่า คนสงบ คนละราคะ โทสะ และโมหะแล้วกล่าวธรรมอยู่ คนเหล่านั้นชื่อว่า คนสงบ " (โขมทุสสสูตร) 25/300/1425/300/14 25/367/18 |
145 | พระพุทธองค์ ทรงบันดาลให้ฝนตก เพื่อจะเข้าไปสู่สภาที่พวกพราหมณ์ และ คฤหบดี ชาวโขมทุสสนิคม ประชุมกันอยู่ (อ.โขมทุสสสูตร) 25/301/1325/301/13 25/268/15 |
146 | [๗๒๗-๗๒๙] พระวังคีสะบวชใหม่เป็นผู้เฝ้าวิหาร ครั้งนั้นสตรีเป็นอันมาก ประดับประดาร่างกาย เข้าไปเที่ยวดูที่อยู่ของพวกภิกษุ ท่านจึงเกิดความกระสันขึ้น แล้วบรรเทาความกระสัน นั้นด้วยตนเอง (นิกขันตสูตร) 25/303/525/303/5 25/270/5 |
147 | เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว มนุษย์พากันรื้อเจดีย์ อันเป็นถิ่นของยักษ์และนาค สร้างเป็นวิหาร (อ.นิกขันตสูตร) 25/305/425/305/4 25/271/21 |
148 | [๗๓๑-๗๓๒] เมื่อความกระสันบังเกิดขึ้น แก่พระวังคีสะ ท่านได้บรรเทาความกระสัน นั้นทำความยินดีให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง แล้วแต่งคาถา บรรเทาความกระสันเกี่ยวกับ กามคุณ 5 (อรติสูตร) 25/307/725/307/7 25/274/7 |
149 | [๗๓๓-๗๓๔] พระวังคีสะ นึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก ด้วยปฏิภาณ ของตน แล้วเกิดความเดือดร้อนใจจึงแต่งคาถาเกี่ยวกับมานะ (เปสลาติมัญญนาสูตร) 25/311/325/311/3 25/277/20 |
150 | [๗๓๕-๗๓๗] พระอานนท์ แนะนำวิธีระงับความกำหนัดให้พระวังคีสะ . (อานันทสูตร) 25/313/725/313/7 25/280/3 |
151 | [๗๓๘-๗๓๙] วาจาอันประกอบด้วยองค์ 4 เป็นวาจาสุภาษิต คือ กล่าวดีแล้วเป็น ธรรม วาจาอันเป็นที่รัก, เป็นจริง. (สุภาสิตสูตร) 25/315/1525/315/15 25/282/6 |
152 | ภิกษุ 60 รูป ฟังเพลงขับของเด็กหญิง ผู้รักษาไร่ข้าวกล้าข้างทาง เกี่ยวกับชาติ มรณะ แล้วบรรลุพระอรหัต (อ.สุภาสิตสูตร) 25/319/1625/319/16 25/285/19 |
153 | พระติสสะ ฟังเพลงของหญิงผู้เก็บดอกบัว แล้วบรรลุพระอรหัตต์ (อ.สุภาสิตสูตร) 25/319/1925/319/19 25/285/22 |
154 | บุรุษผู้หนึ่งกลับจากดง พร้อมกับบุตร 7 คน ฟังเพลงขับของสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งกำลัง ตำข้าว เมื่อพิจารณาอยู่ ก็บรรลุปัจเจกโพธิญาณ (อ.สุภาสิตสูตร) 25/320/525/320/5 25/286/4 |
155 | [๗๔๒-๗๔๓] พระวังคีสะแต่งคาถาสรรเสริญพระสารีบุตรว่าเป็นนักปราชญ์มี ปัญญาลึกซึ้ง. (สารีปุตตสูตร) 25/322/1925/322/19 25/288/13 |
156 | [๗๔๔] พระพุทธเจ้าทรงปวารณาต่อภิกษุอรหันต์ ประมาณ 500 รูป ว่าเธอทั้งหลาย จะไม่ติเตียนกรรมไรๆ ที่เป็นไปทางกาย หรือทางวาจาของเราบ้างหรือ . (ปวารณาสูตร) 25/325/325/325/3 25/290/18 |
157 | [๗๔๕] พระสารีบุตรรีบลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง บอกความที่ พระพุทธองค์ ไม่มีที่ต้องติ (อ.ปวารณาสูตร) 25/325/1225/325/12 25/291/5 |
158 | ความบริสุทธิ์ 4 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษา (อ.ปวารณาสูตร) 25/329/1325/329/13 25/294/20 |
159 | [๗๔๘-๗๕๐] พระวังคีสะกล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ ทรงถามพระเถระว่า คาถาเหล่านี้ได้คิดไว้ก่อนล่วงหน้า หรือเกิดขึ้นโดยฉับพลัน พระเถระกราบทูลว่า เกิดขึ้นโดยฉับพลัน. (ปโรสหัสสสูตร) 25/332/125/332/1 25/297/10 |
160 | ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่า พระวังคีสะ ไม่สนใจ กิจวัตร เที่ยวแต่งคาถาเรื่อยไป พระพุทธองค์จึงแสดงให้เห็นปฏิภาณของพระเถระ (อ.ปโรสหัสสสูตร) 25/335/925/335/9 25/300/1 |
161 | [๗๕๒-๗๕๓] พระวังคีสะกล่าวสรรเสริญ พระอัญญาโกณฑัญญะ (โกณฑัญญสูตร) 25/337/1125/337/11 25/301/19 |
162 | พระอัญญาโกณฑัญญะ อาศัยอยู่ริมสระมันทากินี ช้างฉัททันตะเป็นผู้อุปัฏฐาก อยู่ 12 ปี อาศัยบิณฑบาต กับเทพบุตรนาคทันตะ ณ เขาไกรลาส .(อ.โกณฑัญญสูตร) 25/340/825/340/8 25/304/6 |
163 | นาคทันตเทพบุตร นั้น ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้ถวายสลากน้ำนม พร้อม ด้วยเนยใส ตลอด 20,000 ปี (อ.โกณฑัญญสูตร) 25/341/1325/341/13 25/305/12 |
164 | งานศพพระอัญญาโกณฑัญญะ มีภิกษุประมาณ 500 รูป มาสาธยายตลอดคืน พระอนุรุทธะแสดงธรรม เมื่อพระศาสดาเหยียดพระหัตถ์ ไปที่แผ่นดิน เจดีย์ ได้ชำแรกแผ่นดินออกมา ที่ประตูวิหารเวฬุวัน และพระองค์ทรงบรรจุพระธาตุไว้ ในเจดีย์นั้น. (อ.โกณฑัญญสูตร) 25/343/225/343/2 25/307/1 |
165 | [๗๕๕-๗๕๖] พระวังคีสะกล่าวสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ เฉพาะพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้า (โมคคัลลานสูตร) 25/344/2025/344/20 25/308/18 |
166 | [๗๕๘-๗๕๙] พระวังคีสะกล่าวชมเชยพระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ล่วงภิกษุ อุบาสก และเทวดาหลายพัน. (คัคคราสูตร) 25/346/1625/346/16 25/310/19 |
167 | [๗๖๐] ท่านพระวังคีสะ เป็นผู้บรรลุพระอรหัตแล้วไม่นาน เสวยวิมุตติสุขอยู่ได้ ภาษิตคาถาไว้ (วังคีสสูตร) 25/348/325/348/3 25/312/7 |
168 | พระวังคีสะ ตอนเป็นปริพาชก รู้มนตร์เคาะกะโหลก แล้วรู้คติว่า คนนี้ไปเกิดที่ไหน แต่ไม่สามารถรู้คติของ กะโหลกพระอรหันต์ จึงขอบวช มีพระนิโครธกัปปะเป็น อุปัชฌาย์ (อ.วังคีสสูตร) 25/349/1125/349/11 25/313/8 |
169 | [๗๖๑-๗๖๒] ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ป่า ได้ตรึกอกุศลวิตกอิงอาศัยเรือน เทวดาที่สิงอยู่ ในป่านั้นมีความเอ็นดู จึงมาเตือนให้สลดใจ (วิเวกสูตร) 25/353/425/353/4 25/317/4 |
170 | [๗๖๓-๗๖๕] เทวดาที่สิงอยู่ในป่ามีความเอ็นดู จึงเตือนภิกษุผู้นอนหลับกลางวัน รูปหนึ่ง แต่ท่านเป็น พระอรหันต์แล้ว (อุปัฏฐานสูตร) 25/355/325/355/3 25/319/3 |
171 | แม้พระขีณาสพ ก็มีความกระวนกระวายทางกายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่าน จึงหลับเพื่อบรรเทาความกระวนกระวายทางกาย (อ.อุปัฏฐานสูตร) 25/356/1325/356/13 25/320/6 |
172 | [๗๖๖-๗๖๗] พระกัสสปโคตรกล่าวสอนนายพรานเนื้อ ทั้งที่เขาฟังอยู่ แต่ในใจ เขาคิดถึงแต่เนื้อที่วิ่งหนีไป ถึงแม้พระเถระจะทำให้ไฟลุกโพลงขึ้นที่นิ้วหัวแม่มือ ก็ตาม เทวดาจึงเตือนให้พระกัสสปโคตรสลดใจ. (กัสสปโคตตสูตร) 25/358/325/358/3 25/321/19 |
173 | [๗๖๘-๗๗๐] ภิกษุผู้ทรงพระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย มากรูปเรียน กัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา แล้วไปจำพรรษาในป่า เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ไปตามที่ชอบใจ เทวดาที่สิงในที่นั้น คร่ำครวญหา (สัมพหุลสูตร) 25/360/1225/360/12 25/324/3 |
174 | [๗๗๑-๗๗๒] เทวดาเตือน พระอานนท์ ซึ่งเป็นผู้มากไปด้วยการรับแขกฝ่าย คฤหัสถ์ จนเกินเวลาอยู่ หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว (อานันทสูตร) 25/363/325/363/3 25/326/11 |
175 | [๗๗๔-๗๗๗] เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่ง ชื่อ ชาลินี เป็นภรรยาเก่าของ พระอนุรุทธะ มาบอกให้ท่านตั้งจิตไว้ในหมู่เทพ ชั้นดาวดึงส์ (อนุรุทธสูตร) 25/365/525/365/5 25/328/13 |
176 | เมื่อบุคคลตั้งอยู่ในสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ย่อมตั้งอยู่ด้วยเหตุ 8 ประการ คือ ด้วยอำนาจราคะ ....ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอุทธัจจะ(อ.อนุรุทธสูตร) 25/366/1525/366/15 25/329/22 |
177 | เทพธิดานั้น ได้มีความเสน่หาเป็นกำลังในพระอนุรุทธะ นางมาตามเวลาปัดกวาด บริเวณ ตั้งน้ำล้างหน้า น้ำฉันไว้ เมื่อพระเถระต้องการจีวร นางนำผ้าทิพย์ไปวาง ไว้ที่กองขยะแล้วหลีกไป พระเถระจึงนำผ้านั้นไปทำจีวร แม้พระอัครสาวกก็มา ช่วยกันทำจีวร. (อ.อนุรุทธสูตร) 25/366/2125/366/21 25/330/4 |
178 | [๗๗๘-๗๗๙] เทวดาเตือนพระนาคทัตตะ ผู้เข้าไปสู่บ้านแต่เช้าตรู่ และกลับมา หลังเที่ยง (นาคทัตตสูตร) 25/368/325/368/3 25/331/3 |
179 | [๗๘๐-๗๘๒] ภิกษุรูปหนึ่ง ไปอยู่คลุกคลีในสกุลแห่งหนึ่งเกินเวลา เทวดาผู้สิงอยู่ ในป่านั้นได้เนรมิตเพศแห่งหญิงแม่เรือนในตระกูล นั้นเข้าไปเตือนภิกษุนั้น . (กุลฆรณีสูตร) 25/369/1125/369/11 25/332/13 |
180 | ภิกษุนั้นเรียน กรรมฐาน ในสำนักพระศาสดา แล้วไปอาศัยตระกูลหนึ่ง บำเพ็ญจน บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงเข้าไปแต่ตระกูลนั้น. เทวดาไม่รู้ว่า ท่านเป็นพระอรหัต แล้ว เห็นท่านคลุกคลีอยู่ตระกูลเดียว เกรงว่าท่านจะทำลายตระกูลนี้ . (อ.กุลฆรณีสูตร) 25/370/825/370/8 25/333/9 |
181 | [๗๘๓-๗๘๕] ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง พำนักในแนวป่า ได้ยินเสียงกึกก้องแห่งดนตรี แล้วคร่ำครวญว่าตัวเองเป็นเหมือนท่อนไม้ในป่า เทวดาในป่านั้นจึงเตือนให้สังเวช. . (วัชชีปุตตสูตร) 25/371/1825/371/18 25/334/19 |
182 | การรื่นเริงที่เขาป่าวร้อง การเล่นในเดือน 12 ตกแต่งด้วยธงไปทั่วพระนคร จริงอยู่ นักขัตฤกษ์นี้ มีติดต่อเป็นอันเดียวกันตลอด ถึงชั้นจาตุมหาราชิกา. (อ.วัชชีปุตตสูตร) 25/372/1625/372/16 25/335/20 |
183 | [๗๘๖-๗๘๘] ภิกษุรูปหนึ่งเรียนและสาธยายโดยมาก เพราะอาศัยความดับแห่ง เสียง เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต เทวดาจึงถามท่านว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ ท่องเหมือนก่อน. (สัชฌายสูตร) 25/373/1525/373/15 25/336/20 |
184 | [๗๘๙-๗๙๐] เทวดาเตือนภิกษุผู้อยู่ป่ารูปหนึ่ง ผู้ตรึกอกุศลวิตก ให้ใคร่ครวญ โดยแยบคาย (อโยนิโสมนสิการสูตร) 25/376/325/376/3 25/339/3 |
185 | [๗๙๑-๗๙๒] เทวดากับภิกษุผู้อยู่ป่า กล่าวคาถา ว่าด้วยเวลากำลังเที่ยงวัน . (มัชฌันติกสูตร) 25/377/1225/377/12 25/340/8 |
186 | [๗๙๓-๗๙๔] ภิกษุมากรูปด้วยกัน พำนักอยู่ในป่า ล้วนเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เห่อเหิม ขี้โอ่ ปากกล้าพูดเหลวไหล เทวดาจึงมาต่อว่าภิกษุเหล่านั้น (ปากตินทริยสูตร) 25/378/1125/378/11 25/341/7 |
187 | [๗๙๕-๘๐๐] ภิกษุรูปหนึ่ง เรียนกรรมฐานกับพระศาสดาแล้ว จะพิจารณาเอา กลิ่นเป็นอารมณ์ จึงดมกลิ่นดอกบัว แต่เทวดากลัวว่า ตัณหาในกลิ่นของท่านจะ มากขึ้นจึงเตือนว่าท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น (ปทุมปุปผสูตร) 25/380/325/380/3 25/342/15 |
188 | [๘๐๓] สภาวะในครรภ์ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ (อินทกสูตร) 25/384/1425/384/14 25/347/13 |
189 | 42 สัปดาห์ที่อยู่ในครรภ์มารดา (อ.อินทกสูตร) 25/385/2125/385/21 25/349/1 |
190 | [๘๐๖] " ดูก่อนสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คน มีปัญญาไม่ควรที่จะไหว ตามเหตุนั้นด้วยใจ ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดู " (สักกสูตร) 25/388/425/388/4 25/351/6 |
191 | ยักษ์ ชื่อ สักกะ เป็นฝ่ายมาร (อ.สักกสูตร) 25/388/1325/388/13 25/351/14 |
192 | [๘๑๐] ราคะ โทสะ ความไม่ยินดี ความยินดี ความสยดสยอง ความตรึกในใจ เกิดแต่อัตภาพนี้ แล้วดักจิตไว้ได้ (สูจิโลมสูตร) 25/390/625/390/6 25/353/1 |
193 | สูจิโลมยักษ์ เคยบวชในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า เดินทางมาแต่ที่ไกล มีเหงื่อไคลท่วมตัว ไม่ลาดเตียงของสงฆ์ที่เขาแต่งตั้งไว้ดีแล้ว นอนด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ จึงเกิดเป็นยักษ์มีขนแหลมแข็งทั่วตัว (อ.สูจิโลมสูตร) 25/391/825/391/8 25/353/22 |
194 | ขรยักษ์ เป็นอุบาสก สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้นอนบนเครื่องลาดอันวิจิตรของสงฆ์ โดยไม่ปูลาดของตนก่อน จึงเกิดเป็นยักษ์ มีหลังแข็ง เหมือนจระเข้ (อ.สูจิโลมสูตร) 25/392/225/392/2 25/354/15 |
195 | อมนุษย์ ทำสัตว์ให้เป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านได้อย่างไร ? (อ.สูจิโลมสูตร) 25/393/225/393/2 25/355/15 |
196 | ในที่สุดแห่งเทศนา ยักษ์สูจิโลมะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล หัวหูด และขนที่แข็งหาย ไปหมด มีอัตภาพงดงาม ได้ปกครองภุมมเทวดา (อ.สูจิโลมสูตร) 25/394/1425/394/14 25/357/6 |
197 | [๘๑๒-๘๑๓] ยักษ์ ชื่อมณิภัททะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วกล่าวว่า " ความเจริญ ย่อมมี แก่คนมีสติทุกเมื่อ... " พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติ ทุกเมื่อคนมีสติย่อมได้ความสุข ความดี ย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ แต่คนมีสติยัง ไม่หลุดพ้นจากเวร... ผู้มีส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร." . (มณิภัททสูตร) 25/395/525/395/5 25/357/19 |
198 | ส่วนแห่งเมตตาของพระอรหันต์ใด มีอยู่ในสรรพสัตว์ ชื่อว่าเวรของพระอรหันต์นั้น จึงไม่มีกับบุคคลไรๆ (อ.มณิภัททสูตร) 25/396/1025/396/10 25/358/20 |
199 | [๘๑๔-๘๑๖] สานุสามเณร ถูกยักษ์สิง (สานุสูตร) 25/397/325/397/3 25/359/3 |
200 | สามเณร อุทิศส่วนบุญในการกล่าวบทสรภัญญะ ให้บิดา มารดา แม้มารดาใน อัตภาพก่อนของสามเณร ก็ยินดี รับเอาบุญด้วย(อ.สานุสูตร) 25/399/1525/399/15 25/361/5 |
201 | สิงเพราะหวังดี (อ.สานุสูตร) 25/400/2025/400/20 25/362/4 |
202 | สานุสามเณร ได้อุปสมบท แล้วเรียนพระพุทธพจน์ ทรงไตรปิฎก บรรลุความเป็น พระอรหันต์ เป็นพระธรรมกถึกผู้ใหญ่ ดำรงอยู่ได้ 120 ปี (อ.สานุสูตร) 25/402/1925/402/19 25/364/1 |
203 | [๘๒๐-๘๒๑] ยักษ์ ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดี จะทำให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ. (ปิยังกรสูตร) 25/403/1025/403/10 25/364/16 |
204 | ยักษ์ ที่แสวงหากินของเสีย คือ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นอาหาร . (อ.ปิยังกรสูตร) 25/404/725/404/7 25/365/10 |
205 | นางยักษิณีมารดาปุนัพพสุ อุ้มธิดาชื่ออุตตรา ไปแสวงหาอาหารหวังจะได้เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งที่ไหลออกจากบาตรหรือที่ตกพื้น ในวิหารเชตวัน แล้วยืนฟังธรรม พระศาสดาอยู่ นางยักษิณีกับบุตรชื่อปุนัพพสุ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ภาวะฝี และ หิดก็หายไป ส่วนอุตตราก็ได้สมบัติด้วยอานุภาพของแม่ และนางกับลูก ได้อยู่ต้นไม้ ใกล้พระคันธกุฎี (อ.ปุนัพพสุสูตร) 25/407/1925/407/19 25/368/13 |
206 | [๘๒๖-๘๒๙] อนาถบิณฑิกคฤหบดี นอนรำพึงถึงพระพุทธเจ้าสำคัญว่า สว่างแล้ว เดินไป ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่าง ได้ส่งเสียงให้คฤหบดีก้าวไปข้างหน้าเพื่อเฝ้า พระพุทธเจ้า (สุทัตตสูตร) 25/410/825/410/8 25/371/4 |
207 | กรุงราชคฤห์ มีมนุษย์เกลื่อนกล่น ภายในเมือง 9 โกฏิ ภายนอกเมือง 9 โกฏิ รวมได้มนุษย์ 18 โกฏิ (อ.สุทัตตสูตร) 25/416/125/416/1 25/376/3 |
208 | อนาถบิณฑิกเศรษฐี ฟังธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. (อ.สุทัตตสูตร) 25/418/525/418/5 25/378/5 |
209 | [๘๓๓] ยักษ์ผู้เลื่อมใส สุกกาภิกษุณี ได้กล่าวสรรเสริญภิกษุณีนั้น ไปตามถนน ตามตรอก ในกรุงราชคฤห์ (ปฐมสุกกาสูตร) 25/419/625/419/6 25/378/21 |
210 | [๘๓๔-๘๓๕] อุบาสกคนหนึ่ง ได้ถวายอาหารแก่สุกกาภิกษุณี ยักษ์ผู้เลื่อมใส่ สุกกาภิกษุณีก็กล่าวสรรเสริญ ไปตามถนน ตามตรอก ในกรุงราชคฤห์ . (ทุติยสุกกาสูตร) 25/421/825/421/8 25/380/18 |
211 | [๘๓๖-๘๓๗] อุบาสกคนหนึ่ง ได้ถวายจีวรแก่ จีราภิกษุณี ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งใน จีราภิกษุณีก็กล่าวสรรเสริญ ไปตามถนน ตามตรอก ในกรุงราชคฤห์ (จีราสูตร) 25/422/725/422/7 25/381/13 |
212 | [๘๔๑] " ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมอันบุคคลประพฤติดี แล้วนำความสุขมาให้ ความสัตย์แลเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ ทั้งหลายกล่าว ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด " (อาฬวกสูตร) 25/424/1525/424/15 25/383/15 |
213 | [๘๔๓] " คนข้ามโอฆะได้ด้วย ศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา " (อาฬวกสูตร) 25/425/525/425/5 25/383/23 |
214 | [๘๔๕] " ...บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม 4 ประการ นี้คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก... " . (อาฬวกสูตร) 25/425/1525/425/15 25/384/6 |
215 | กำหนดเขตให้ฆ่า (อ.อาฬวกสูตร) 25/427/1725/427/17 25/385/18 |
216 | คนในชมพูทวีปได้ยินเสียง 4 อย่างทั่วกัน (อ.อาฬวกสูตร) 25/433/1825/433/18 25/391/10 |
217 | อาวุธ 4 อย่าง ประเสริฐในโลก คือ วชิราวุธของท้าวสักกะ คทาวุธของท้าวเวสวัณ นัยนาวุธของพญายม ทุสสาวุธของอาฬวกยักษ์ (อ.อาฬวกสูตร) 25/435/1925/435/19 25/393/9 |
218 | ในที่สุดแห่งคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสด้วยธรรมมีพระอรหัตเป็นยอดนี้ อาฬวกยักษ์ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. (อ.อาฬวกสูตร) 25/445/225/445/2 25/401/21 |
219 | หัตถกะอาฬวกะ ตั้งอยู่ในอนาคามิผล เรียนพระพุทธพจน์ ทั้งปวง มีอุบาสก 500 เป็นบริวาร เป็นเลิศของอุบาสกสาวกผู้สงเคราะห์ชุมชนด้วยวัตถุ 4(อ.อาฬวกสูตร) 25/453/1025/453/10 25/409/19 |
220 | [๘๔๘] ท้าวสักกะ ทรงบัญชาให้ สุวีระเทพบุตร ไปป้องกันพวกอสูรไว้ เทพบุตร นั้นรับคำแล้ว มัวประมาทเสียถึง 3 ครั้ง (สุวีรสูตร) 25/454/1125/454/11 25/411/10 |
221 | [๘๕๔] " พวกเธอบวชในธรรมวินัย ที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่นเพียรพยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง มรรคผลที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ " .(สุวีรสูตร) 25/456/1425/456/14 25/413/9 |
222 | ที่มาของชื่อว่า อสูร (อ.สุวีรสูตร) 25/457/1525/457/15 25/414/8 |
223 | แนวป้องกันทั้ง 5 ตั้งอยู่ระหว่างเมืองที่ไม่มีใครรบได้ คือ นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์ ท้าวมหาราชทั้ง 4 (อ.สุวีรสูตร) 25/458/125/458/1 25/414/14 |
224 | เทวนครและอสุรนคร ชื่อกรุงอยุธยา เพราะเป็นเมืองที่ไม่มีใครรบได้(อ.สุวีรสูตร) 25/458/525/458/5 25/414/17 |
225 | ได้ยินว่า กุมภัณฑ์ นั้นเป็นพวกทานพ และรากษส (อ.สุวีรสูตร) 25/458/1825/458/18 25/415/4 |
226 | พวกอสูรนั้น เป็นเช่นเดียวกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยสมบัติ คือ อายุ ผิวพรรณ เกียรติยศ และความเป็นใหญ่ (อ.สุวีรสูตร) 25/459/225/459/2 25/415/11 |
227 | [๘๕๖] ท้าวสักกะทรงบัญชา สุสิมเทวบุตร ให้ไปป้องกันพวกอสูร เทวบุตรนั้น รับคำแล้วมัวประมาทเสีย ถึง 3 ครั้ง (สุสิมสูตร) 25/461/225/461/2 25/417/7 |
228 | สุสิมเทพบุตร คือ บุตรองค์หนึ่งในระหว่างบุตรพันองค์ของท้าวสักกะ (อ.สุสิมสูตร) 25/463/1025/463/10 25/419/3 |
229 | [๘๖๔] ในสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ประชิดกันแล้ว ท้าวสักกะบอกแก่ เหล่าเทวดา ถ้าเกิดความกลัวให้แลดูยอดธงของ ท้าวสักกะหรือท้าวปชาบดี ท้าววรุณ ท้าวอีสาน เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงอยู่ ความกลัวก็หายไปบ้าง ไม่หายไปบ้าง (ธชัคคสูตร) 25/464/225/464/2 25/419/12 |
230 | [๘๖๕] พระพุทธองค์ตรัสให้ภิกษุผู้อยู่ป่า โคนไม้หรือเรือนว่าง เมื่อเกิดความกลัว ให้ระลึกถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ (ธชัคคสูตร) 25/465/425/465/4 25/420/17 |
231 | [๘๖๖] ธชัคคปริต (ธชัคคสูตร) 25/466/625/466/6 25/421/20 |
232 | ท้าวปชาปติ นั้น มีผิวพรรณ เหมือนกับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากัน ได้ที่นั่งที่ 2 ท้าววรุณได้ที่นั่งที่ 3 ท้าวอีสานได้ที่นั่ง ที่ 4 (อ.ธชัคคสูตร) 25/467/1325/467/13 25/422/22 |
233 | ธชัคคปริตนี้มีอานุภาพในแสนโกฏิจักรวาล บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตรนี้ ย่อมพ้น จากทุกข์ มียักขภัย และโจรภัย เป็นต้น, ตัวอย่างคนงานฉาบเจดีย์ตกจากชั้นบน นึกถึงปริตนี้แล้วปลอดภัย. (อ.ธชัคคสูตร) 25/467/1925/467/19 25/423/6 |
234 | [๘๖๘-๘๗๕] พวกอสูรแพ้สงคราม ท้าวเวปจิตติถูกจับมัดในที่ทั้ง 5 ยังด่าบริภาษ ท้าวสักกะด้วยคำหยาบ ท้าวสักกะทรงนิ่ง อดทนต่อคำด่าได้ (เวปจิตติสูตร) 25/468/1325/468/13 25/423/21 |
235 | [๘๗๖] ท้าวสักกะ อาศัยผลบุญ มีความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยัง พรรณนาคุณของความอดทน และความสงบเสงี่ยมได้ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทน และสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ (เวปจิตติสูตร) 25/471/1625/471/16 25/426/4 |
236 | ผู้ใดมีกำลังย่อมอดทนได้ ท่านกล่าวขันตินั้น ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างยิ่ง. กำลังที่ เกิดจากความไม่รู้ ชื่อว่า กำลังของคนโง่ (อ.เวปจิตติสูตร) 25/473/825/473/8 25/427/22 |
237 | [๘๗๘-๘๘๓] สงครามระหว่างพวกเทวดากับอสูร เอาชนะกันด้วยการกล่าว คำสุภาษิต. ท้าวสักกะเป็นฝ่ายชนะ เพราะกล่าวถ้อยคำเป็นสุภาษิต . (สุภาสิตชยสูตร) 25/474/525/474/5 25/428/18 |
238 | [๘๘๔-๘๘๖] คราวหนึ่งเทวดารบแพ้พวกอสูร พวกอสูรได้ชวนกันไล่ติดตามพวก เทวดา. ท้าวสักกะได้สั่งให้มาตลีเทพสารถีหันรถกลับ เพราะกลัวรถจะไปเหยียบ ลูกครุฑในป่างิ้วตาย. พวกอสูรเข้าใจว่าท้าวสักกะมีพวกมาสมทบอีกต่างตกใจ หนีกลับเข้าเมืองอสูร เป็นอันว่าท้าวสักกะ ได้ชัยชนะโดยธรรม (กุลาวกสูตร) 25/478/425/478/4 25/432/6 |
239 | [๘๘๗-๘๘๙] ท้าวสักกะคิดว่าไม่ควรประทุษร้าย แม้แก่ผู้ที่เป็นข้าศึก (นทุพภิยสูตร) 25/480/425/480/4 25/434/4 |
240 | [๘๙๑-๘๙๔] ท้าวสักกะกับวิโรจนะจอมอสูร ได้ผลัดกันกล่าวคาถาในสำนัก พระพุทธเจ้า (วิโรจนอสุรินทสูตร) 25/482/725/482/7 25/436/8 |
241 | [๘๙๕-๘๙๘] ท้าวสักกะเข้าไปหาฤๅษีผู้มีศีล ด้วยความเคารพถอดรองเท้ายืนอยู่ ใต้ลม ส่วนท้าวเวปจิตติสวมรองเท้ากั้นร่ม สะพายดาบเข้าไป. (อารัญญกสูตร) 25/484/925/484/9 25/438/4 |
242 | พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ทั้งนั้น. (อ.อารัญญกสูตร) 25/486/525/486/5 25/439/17 |
243 | [๙๐๐-๙๐๔] จอมอสูร ถูกสาป (สมุททกสูตร) 25/486/1325/486/13 25/440/5 |
244 | ท้าวสมพรจอมอสูร หลังจากถูกสาป ก็มีใจหวั่นไหว เกิดอาการไข้ จึงชื่อว่า เวปจิตติ (อ.สมุททกสูตร) 25/489/925/489/9 25/442/13 |
245 | [๙๐๖] ท้าวสักกะเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ประพฤติวัตรบท 7 ประการ ตลอดชีวิต (ปฐมเทวสูตร) 25/490/625/490/6 25/444/6 |
246 | [๙๐๙] ได้ชื่อว่า ท้าวสักกะ เพราะได้ให้ทานโดยเคารพ, ครั้นเป็นมนุษย์ ชื่อมฆะ จึงเรียกว่า ท้าวมฆวา, เพราะได้ให้ทานมาก่อน จึงเรียกว่าท้าวปุรินททะ, เพราะ ให้ที่พักอาศัย จึงเรียกว่าท้าววาสวะ, เพราะทรงคิดเนื้อความตั้งพันโดยครู่เดียว จึงเรียกว่า ท้าวสหัสนัยน์, เพราะมีนางสุชาเป็นปชาบดี จึงเรียกว่า ท้าวสุชัมบดี เป็นอิสราธิบดี บนดาวดึงส์ จึงเรียกว่า เทวานมินทะ (ทุติยเทวสูตร) 25/492/525/492/5 25/446/5 |
247 | [๙๑๓-๙๑๔] พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นท้าวสักกะ และ เหตุที่ได้ชื่อ ต่างๆ ของท้าวสักกะ แก่เจ้ามหาลีลิจฉวี (ตติยเทวสูตร) 25/494/1625/494/16 25/448/15 |
248 | ประวัติย่อของท้าวสักกะ กับสหาย 33 คน (อ.ตติยเทวสูตร) 25/496/1525/496/15 25/450/7 |
249 | [๙๑๗-๙๑๘] มนุษย์ผู้กำพร้ายากไร้ แต่ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์ รุ่งเรือง กว่าเทวดาเหล่าอื่น ด้วยรัศมี และยศ. (ทฬิททสูตร) 25/497/1825/497/18 25/451/8 |
250 | บุพกรรมของ สุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน (อ.ทฬิททสูตร) 25/499/1625/499/16 25/453/3 |
251 | [๙๒๑] พระอรหันต์ อยู่ในที่ใด ที่นั้นเป็นภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์ (รามเณยยกสูตร) 25/502/925/502/9 25/455/10 |
252 | [๙๒๔] ให้ทานในผู้ปฏิบัติ 4 จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล 4 จำพวก นั่นคือ พระสงฆ์ทานที่ให้แล้วในสงฆ์มีผลมาก (ยชมานสูตร) 25/504/425/504/4 25/456/16 |
253 | พวกชาวอังคะและมคธะ จะเอาเนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น เผาไฟเพื่อบูชา ท้าวมหาพรหมทุกปี ท้าวสักกะจึงแปลงเป็นพรหม แล้วพาคนเหล่านั้นไปเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า (อ.ยชมานสูตร) 25/504/1225/504/12 25/457/3 |
254 | [๙๒๖-๙๒๗] ท้าวสักกะกล่าวคำสุภาษิต ในสำนักพระพุทธเจ้าแต่ท้าวสหัมบดีพรหมค้านว่าไม่ควรกล่าวอย่างนั้น แล้วกล่าวคำของตน (วันทนสูตร) 25/506/825/506/8 25/458/14 |
255 | [๙๓๐] ท้าวสักกะนอบน้อมต่อนักบวชผู้มีศีล และคฤหัสถ์ผู้ทำบุญ มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงดูภรรยาโดยชอบธรรม (ปฐมสักกนมัสสนสูตร) 25/508/1225/508/12 25/460/22 |
256 | [๙๓๕] ท้าวสักกะนมัสการ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเสขะ 7 จำพวก ก่อนขึ้นรถไปชมอุทยาน. (ทุติยสักกนมัสสนสูตร) 25/511/825/511/8 25/463/8 |
257 | [๙๔๐] ท้าวสักกะ น้อมมนัสการพระภิกษุสงฆ์ ก่อนขึ้นรถไปชมอุทยาน . (ตติยสักกนมัสสนสูตร) 25/514/325/514/3 25/465/16 |
258 | [๙๔๕] " บุคคลฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ดูก่อนท้าววาสวะ พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ การฆ่า ความโกรธ อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน เพราะว่า บุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสีย แล้วย่อมไม่เศร้าโศก " (ฆัตวาสูตร) 25/517/1425/517/14 25/469/14 |
259 | [๙๔๖-๙๔๙] ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวทราม ต่ำเตี้ยพุงพลุ้ย นั่งบนอาสนะของท้าวสักกะ เทวดาทั้งหลาย ต่างตำหนิ ยักษ์นั้นก็ยิ่งรูปงามขึ้น. (ทุพพัณณิยสูตร) 25/518/725/518/7 25/470/7 |
260 | ยักษ์ที่นั่งบนอาสนะของท้าวสักกะนั้น เป็นรูปาวจรพรหม มาเพื่อทดลองท้าวสักกะ .(อ.ทุพพัณณิยสูตร) 25/520/525/520/5 25/472/7 |
261 | [๙๕๐-๙๕๑] ท้าวเวปจิตติจอมอสูรป่วย เพราะหมู่ฤๅษีสาป ท้าวสักกะเข้าไปหา ถามถึงสัมพริมายา จอมอสูรตอบว่า ผู้มีมายาย่อมตกนรกตลอดร้อยปี เหมือน สัมพริจอมอสูร (มายาสูตร) 25/521/425/521/4 25/473/4 |
262 | [๙๕๔] คนพาล 2 จำพวก คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ผู้ไม่รับตามสมควร แก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ. บัณฑิตมี 2 จำพวก คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ผู้รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ (อัจจยสูตร) 25/523/1625/523/16 25/475/15 |
263 | [๙๕๗] ท้าวสักกะจอมเทพตรัส แก่เหล่าเทวดาเรื่องความโกรธว่า " ความโกรธ อย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย และท่านทั้งหลาย อย่าได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธ และความไม่เบียดเบียน ย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ ก็ความ โกรธเปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก ฉะนี้แล "(อักโกธสูตร) 25/525/1025/525/10 25/477/7 |