1 | [๒] " ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายัง เพียรอยู่ เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียรข้ามโอฆะ ได้แล้ว อย่างนี้แล " (โอฆตรณสูตร) 24/2/524/2/5 24/2/8 |
2 | สังยุตตนิกาย มี 5 วรรค คือ สคาถวรรค นิทานวรรค ขันธวรรค สฬายตนวรรคมหาวรรค เมื่อว่าโดยสูตร มี 7,762 สูตร (อ.โอฆตรณสูตร) 24/5/924/5/9 24/5/15 |
3 | คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด เป็นคำสูงสุด พระพุทธเจ้านั้นควรแก่การเคารพ โดยฐานะครู เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรง พระนามว่า ภควา .(อ.โอฆตรณสูตร) 24/21/2124/21/21 24/18/4 |
4 | เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่ที่บำรุง ของพระพุทธเจ้า หรือ สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมมาในเวลามัชฌิมยาม เท่านั้น(อ.โอฆตรณสูตร) 24/26/724/26/7 24/21/15 |
5 | เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่มนุษยโลกละวรรณะ และฤทธิ์ตามปกติ แล้วทำอัตภาพ ให้หยาบ (อ.โอฆตรณสูตร) 24/27/1824/27/18 24/22/11 |
6 | การยืนเว้นโทษ 6 อย่าง(อ.โอฆตรณสูตร) 24/32/824/32/8 24/25/18 |
7 | โอฆะ (กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์) 4 ประการ(อ.โอฆตรณสูตร) 24/33/1624/33/16 24/26/19 |
8 | เทศนาของพระพุทธเจ้า มี 2 อย่าง คือ แสดงโดยนิคคหมุขะ (เพื่อข่ม) และ อนุคคหมุขะ (เพื่ออนุเคราะห์) (อ.โอฆตรณสูตร) 24/35/624/35/6 24/28/1 |
9 | ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าว ข่มบุคคลผู้ควรข่มเราจักยกย่อง บุคคลผู้ควรยกย่อง ภิกษุใดมีธรรมเป็นสาระ ภิกษุนั้นจักดำรง อยู่ (อ.โอฆตรณสูตร) 24/35/1224/35/12 24/28/7 |
10 | อธิบาย คำว่า เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. เมื่อบุคคลเพียรอยู่ ชื่อว่า ย่อมลอย. (อ.โอฆตรณสูตร) 24/37/324/37/3 24/29/14 |
11 | [๖] " ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล เพราะความสิ้น แห่งสัญญา และวิญญาณ เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย เราย่อมรู้จักมรรค เป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัดของ สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ " (นิโมกขสูตร) 24/40/1724/40/17 24/32/2 |
12 | [๘] " ชีวิต คือ อายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้า ไปแล้วย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด " (อุปเนยยสูตร) 24/44/924/44/9 24/34/16 |
13 | เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่า เป็นอยู่ เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้ว นี้เป็นบัญญัติเนื่อง ด้วยปรมัตถ์. (อ.อุปเนยยสูตร) 24/47/724/47/7 24/36/4 |
14 | เทวดาในสูตรนี้ เกิดในพรหมโลก ที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังตาย กำลังเกิด ที่มีอายุน้อย เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝน พอถูกกระทบก็แตกไป .(อ.อุปเนยยสูตร) 24/48/324/48/3 24/36/20 |
15 | [๑๐] " กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละ ลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ ในมรณะพึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด. (อัจเจนติสูตร) 24/49/824/49/8 24/37/19 |
16 | [๑๒] " บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ 5 อย่าง ควรละสังโยชน์เป็นส่วน เบื้องบน 5 อย่าง ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง 5 อย่าง ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง 5 อย่าง เรากล่าวว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะ แล้ว " (กติฉินทิสูตร) 24/52/824/52/8 24/39/9 |
17 | โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ) จะพึงตัดได้ด้วยอนาคามิมรรค. . (อ.กติฉินทิสูตร) 24/53/1324/53/13 24/40/6 |
18 | ธรรมเป็นเครื่องข้อง 5 อย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ .(อ.กติฉินทิสูตร) 24/54/124/54/1 24/40/13 |
19 | [๑๔] เมื่อสัทธินทรีย์ 5 อย่าง ตื่นอยู่ กามฉันทาทินิวรณ์ 5 อย่าง นับว่าหลับ เมื่อกามฉันทาทินิวรณ์ 5 อย่างหลับ สัทธินทรีย์ 5 อย่าง นับว่าตื่นบุคคลหมักหมม ธุลีเพราะนิวรณ์ 5 อย่าง บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ 5 อย่าง " (ชาครสูตร) 24/55/924/55/9 24/41/10 |
20 | [๑๖] " ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดแทงตลอดดีแล้ว ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปใน วาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอ ในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ " (อัปปฏิวิทิตสูตร) 24/57/1024/57/10 24/42/20 |
21 | ผู้ตรัสรู้ 4 จำพวก คือ พระสัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ และ สุตพุทธะ (อ.อัปปฏิวิทิตสูตร) 24/58/1524/58/15 24/43/19 |
22 | [๑๘] " ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดไม่ลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปใน วาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลายรู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอ ในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ " (สุสัมมุฏฐสูตร) 24/60/1024/60/10 24/44/17 |
23 | [๒๐] " บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้วเป็น ผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่าไม่ประมาทแล้ว บุคคลนั้นพึงข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏเป็นที่ตั้ง แห่งมัจจุ(ความตาย)ได้ " (มานกามสูตร) 24/62/1024/62/10 24/45/20 |
24 | ศีล 5 ศีล10 ชื่อว่า ศีล ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมเป็นไปในกาลที่พระพุทธเจ้าทรง อุบัติขึ้นจึงชื่อว่า อธิศีล. (อ.มานกามสูตร) 24/65/124/65/1 24/47/20 |
25 | [๒๒] " ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมา ไม่ถึง เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า วรรณะ(ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใสด้วยเหตุนั้น เพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังไม่มาถึง และความ โศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว พวกพาล ภิกษุจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอน เสียแล้ว ฉะนั้น. " (อรัญญสูตร) 24/66/924/66/9 24/48/16 |
26 | เมื่อจิตผ่องใส โลหิตก็ผ่องใส วรรณะย่อมผ่องใส (อ.อรัญญสูตร) 24/67/1524/67/15 24/49/14 |
27 | พระเจ้าธรรมิกราช จักมีในอนาคต (อ.อรัญญสูตร) 24/68/1524/68/15 24/50/6 |
28 | [๒๕] เทวดาผู้เป็นอริยสาวก กล่าวกับเทวดาองค์หนึ่งว่า " ดูก่อนท่านผู้เขลาท่าน ย่อมไม่รู้จักคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดาเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นสุข " (นันทนสูตร) 24/70/1524/70/15 24/52/15 |
29 | บัญญัติ ชื่อว่า ตาวติงสกายะ นี้เกิดขึ้นในเทวโลกเพราะอาศัยเทวบุตร 33 องค์ อุบัติขึ้นในที่นั้น. (อ.นันทนสูตร) 24/71/1524/71/15 24/53/13 |
30 | เมื่อ มรณนิมิต 5 เกิดขึ้นแก่เทวดา ญาติจะพาไปหาท้าวสักกะ แล้วพาไปสวน นันทนวัน จุติในที่นั้น. (อ.นันทนสูตร) 24/72/324/72/3 24/53/24 |
31 | [๒๗] " บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศก เพราะบุตรทั้งหลาย บุคคลมีโค ย่อมเศร้าโศก เพราะโคทั้งหลายเหมือนกัน ฉะนั้น เพราะอุปธิ(กามคุณ 5) เป็นความเศร้าโศก ของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่เศร้าโศกเลย " (นันทิสูตร) 24/75/1124/75/11 24/56/9 |
32 | อุปธิ 4 อย่าง คือ อุปธิ คือกาม อุปธิ คือขันธ์ อุปธิ คือ กิเลส อุปธิ คือ อภิสังขาร .(อ.นันทิสูตร) 24/76/1624/76/16 24/57/7 |
33 | หากว่าสัตว์ นั้นมีความรักใคร่ มีความพอใจเกิดแล้ว กามเหล่านั้นย่อมยังเขาให้ ย่อยยับไป เหมือนบุคคลถูกลูกศรแทงแล้ว ย่อมพินาศ ฉะนั้น. (อ.นันทิสูตร) 24/78/19 24/78/19 24/58/15 |
34 | [๒๙] " ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มีแสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระอันยอดเยี่ยม " (นัตถิปุตตสมสูตร) 24/80/10 24/80/10 24/59/9 |
35 | ปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่น ให้เป็นแสงสว่างอันประเสริฐหาสิ่งอื่น เสมอมิได้ ทั้งย่อมกำจัดความมืด อันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีต เป็นต้น ได้ด้วย (อ.นัตถิปุตตสมสูตร) 24/82/424/82/4 24/60/15 |
36 | [๓๑] " พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ 2 เท้า สัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่า สัตว์ 4 เท้า ภรรยาที่ปรนนิบัติดี ประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย บุตรใดเป็นผู้เชื่อฟัง บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย " (ขัตติยสูตร) 24/83/1124/83/11 24/61/9 |
37 | ม้า ชื่อ คุฬวรรณ พาพระราชา ข้ามน้ำได้โดยขนหางไม่เปียก. (อ.ขัตติยสูตร) 24/84/1824/84/18 24/62/10 |
38 | [๓๓] " เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่า ครวญครางนั้น เป็นความยินดีปรากฏแก่เรา " (สกมานสูตร) 24/86/924/86/9 24/63/10 |
39 | เทวดาผู้รำคาญ เสียง สัตว์ อันเป็นที่รบกวน (อ.สกมานสูตร) 24/87/924/87/9 24/64/4 |
40 | [๓๕] " เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต ด้วยความเพียร อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ได้ " . (นิททาตันทิสูตร) 24/89/924/89/9 24/65/8 |
41 | [๓๗] คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะ สิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย พึงติดขัดอยู่ทุกๆ อารมณ์... (ทุกกรสูตร) 24/92/924/92/9 24/67/8 |
42 | ภิกษุยั้งวิตกที่เกิดขึ้นในใจ ในการรักษาอารมณ์ของตน ย่อมไม่ให้ช่องแก่มาร . (อ.ทุกกรสูตร) 24/94/524/94/5 24/68/22 |
43 | [๓๙] " ขีณาสวภิกษุพวกใด เป็นผู้เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ มีสติประพฤติอยู่ ในกาลทั้งปวง ขีณาสวภิกษุพวกนั้น บรรลุนิพพานเป็นส่วนสุดแห่งทุกข์แล้วย่อม ประพฤติเรียบร้อย ในบุคคลผู้ไม่เรียบร้อย " (หิริสูตร) 24/95/924/95/9 24/69/16 |
44 | บุคคลผู้ชื่อว่า พ้นจากการด่าด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง ย่อมไม่มี(อ.หิริสูตร) 24/96/1124/96/11 24/70/12 |
45 | [๔๓] " ท่านกล่าวมารดาว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าวภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าว บุตรว่าเป็นเครื่องสืบต่อ ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องผูกแก่เรา " (กุฏิกาสูตร) 24/97/1924/97/19 24/71/16 |
46 | [๔๔-๕๑] พระสมิทธิ เป็นผู้มีรูปงาม เทวดาองค์หนึ่ง มาถามท่านด้วยความยินดี ในกาม และได้ติดตามพระสมิทธิไปถามต่อพระพุทธองค์ (สมิทธิสูตร) 24/100/424/100/4 24/73/4 |
47 | [๕๓] บุคคลใดสำคัญว่าเราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา บุคคล นั้นพึงวิวาทกับเขา ขีณาสวภิกษุ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวอยู่ในมานะ 3 อย่าง... (อ.สมิทธิสูตร) 24/105/124/105/1 24/77/7 |
48 | โลกของเปรตจำนวนมากแวดล้อมเมืองราชคฤห์ แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาในระหว่าง มหาโลหกุมภี ทั้ง 2 แม่น้ำตโปทานี้ จึงเดือดพล่าน ไหลมาอยู่ (อ.สมิทธิสูตร) 24/106/1324/106/13 24/78/10 |
49 | วัตรในการอาบน้ำ (อ.สมิทธิสูตร) 24/108/124/108/1 24/79/15 |
50 | ภุมมเทวดาผู้อยู่ที่ป่านั้น แลดูพระสมิทธิแล้ว ไม่อาจข่มใจไว้ได้ เป็นผู้น้อมไปใน กาม จึงคิดจะเล้าโลมพระเถระ (อ.สมิทธิสูตร) 24/108/1924/108/19 24/80/5 |
51 | ธรรม 5 อย่าง อันใครๆ ไม่พึงรู้ในโลกแห่งสัตว์ที่เป็นไปอยู่ คือ ชีวิต พยาธิ กาล ที่เป็นที่ทอดทิ้งร่างกายหรือที่ตาย และคติ (ที่เกิด) (อ.สมิทธิสูตร) 24/109/1324/109/13 24/80/24 |
52 | การยึดมั่นในขันธ์ 5 โดยอาการ 8 อย่าง (อ.สมิทธิสูตร) 24/116/1224/116/12 24/86/16 |
53 | การกำหนดรู้ด้วย ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา (รู้ขั้นรู้จัก) ตีรณปริญญา (รู้ขั้น พิจารณา) ปหานปริญญา (รู้ถึงขั้นละได้) (อ.สมิทธิสูตร) 24/117/124/117/1 24/87/3 |
54 | [๕๗] " ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบเพื่ออันละสักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วย หอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ" (สัตติสูตร) 24/123/1124/123/11 24/92/10 |
55 | [๕๙] " บุคคลใดย่อมประทุษร้ายแก่นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจาก กิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็นพาลแท้ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไป ทวนลม ฉะนั้น. " (ผุสติสูตร) 24/126/924/126/9 24/94/8 |
56 | [๖๑] " นรชนผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้ มีความเพียรมีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏ นี้ได้...นามก็ดี รูปก็ดี และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่ นั้น(ชฏาสูตร) 24/128/924/128/9 24/95/19 |
57 | ชฏาเป็นชื่อ ของตัณหาเพียงดังข่าย. (อ.ชฏาสูตร) 24/129/424/129/4 24/96/9 |
58 | ปัญญา 3 วาระ คือ สชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด) , วิปัสสนาปัญญา , ปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปในกิจทั้งปวง(อ.ชฏาสูตร) 24/131/324/131/3 24/97/24 |
59 | ภิกษุอาศัยแผ่นดิน คือศีล แล้วยกศาสตรา คือวิปัสสนาปัญญาอันตนลับดีแล้ว ด้วยศิลาคือสมาธิด้วยมือ คือปาริหาริยปัญญา อันกำลังคือความเพียรประคับ ประคองแล้ว พึงถาง พึงตัด พึงทำลายซึ่งชัฏ คือ ตัณหาอันประจำอยู่ ในสันดาน แห่งตนนั้นแม้ทั้งหมด (อ.ชฏาสูตร) 24/131/924/131/9 24/98/3 |
60 | [๖๓] " บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ " (มโนนิวารณสูตร) 24/133/924/133/9 24/99/8 |
61 | ไม่พึงห้ามใจโดยประการทั้งปวง คือว่า ธรรมอะไรๆ ที่กล่าวแล้วไม่ควรห้ามใจ ไปเสียทั้งหมด เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุให้ใจมาสู่ความสำรวม โดยนัยว่าเราจัก ให้ทาน จักรักษาศีล บุคคลไม่พึงห้าม เพราะว่า ข้อนี้ เป็นความเจริญโดยแท้ .(อ.มโนนิวารณสูตร) 24/134/1224/134/12 24/100/1 |
62 | [๖๕] พระอรหันต์ เป็นผู้ฉลาดทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน .(อรหันตสูตร) 24/135/724/135/7 24/100/17 |
63 | พระอรหันต์ ย่อมพูดไปตามโวหารของชาวโลก (อ.อรหันตสูตร) 24/137/424/137/4 24/102/1 |
64 | [๖๙] แสงสว่างทั้งหลาย ในโลกมีอยู่ 4 อย่าง.... พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่า แสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างของพระสัมพุทธเจ้า เป็นแสงสว่างอย่างเยี่ยม . (ปัชโชตสูตร) 24/139/924/139/9 24/103/9 |
65 | แสงสว่างอันเกิดขึ้น เพราะความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าแสงสว่าง แห่งพระพุทธเจ้า (อ.ปัชโชตสูตร) 24/140/1924/140/19 24/104/4 |
66 | [๗๑] " น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้ " (สรสูตร) 24/141/724/141/7 24/104/16 |
67 | [๗๓] " บุคคลทั้งหลาย ละเรือน ละบุตร ละปศุสัตว์ที่รัก บวชแล้วกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้น เป็นผู้ไม่ขวนขวายในโลก" (มหัทธนสูตร) 24/143/1124/143/11 24/105/20 |
68 | [๗๕] " ตัดความผูกโกรธด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัดด้วย ความปรารถนาและความโลภ อันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมีอวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออกไป(จากทุกข์) จึงจักมีได้. " (จตุจักกสูตร) 24/145/924/145/9 24/107/8 |
69 | [๗๗] " กามคุณ 5 มีใจเป็นที่ 6 บัณฑิตประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิกความ พอใจในนามรูปนี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้. (เอณิชังฆสูตร) 24/148/1024/148/10 24/109/10 |
70 | [๘๕] " บุคคลนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษ แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง " (สัพภิสูตร) 24/153/924/153/9 24/112/26 |
71 | พ่อค้าและคน 700 ในเรือซึ่งกำลังอับปาง ได้รับสรณะ และศีล กับบุรุษผู้เป็น บัณฑิตคนหนึ่ง ชนทั้งหมดนั้นไปบังเกิดขึ้นในภพดาวดึงส์ (อ.สัพภิสูตร) 24/153/1924/153/19 24/113/10 |
72 | เรื่อง อธิมุตกะสามเณรรักษาสัจจะจึงได้โจร 500 เป็นศิษย์บวชตาม.(อ.สัพภิสูตร) 24/157/424/157/4 24/115/11 |
73 | [๙๑] " บุคคลแม้ใดพึงประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยาและเมื่อของ มีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น "(มัจฉริสูตร) 24/163/524/163/5 24/119/18 |
74 | เพราะความไม่บริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ถึงให้แม้มากก็มีผลน้อย ไม่ถึงส่วนแห่งร้อย ของผู้ให้ทานน้อย ด้วยความบริสุทธิ์ (อ. มัจฉริสูตร) 24/168/124/168/1 24/122/9 |
75 | [๑๐๑] " ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว โดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่ธรรมบท(นิพพาน) แหละประเสริฐกว่าทาน เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี ใน กาลก่อนกว่าก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้จริง. "(สาธุสูตร) 24/175/1724/175/17 24/127/4 |
76 | ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดี พระพุทธเจ้าสรรเสริญ(อ.สาธุสูตร) 24/178/1324/178/13 24/129/4 |
77 | เทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้พระพุทธเจ้านั้นด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือ ว่าด้วยการปฏิบัติตาม เทวดา และ มนุษย์เหล่านั้นรู้สัจจธรรม 4 และละวิจิกิจฉา แล้วเป็นผู้ล่วงพ้นธรรมเป็นเครื่องข้อง บัณฑิตย่อมสรรเสริญ.(อ.นสันติสูตร) 24/186/324/186/3 24/134/9 |
78 | เทวดา อาศัยการบริโภคปัจจัย 4 ของพระพุทธเจ้า แล้วมาเพ่งโทษว่า ถ้อยคำ ของพระองค์ กับการกระทำของพระองค์ เป็นไปคนละอย่าง เมื่อพระองค์ตรัส ตอบแล้ว เทวดาเหล่านั้นได้ขอขมาโทษ (อ.อุชฌานสัญญี สูตร) 24/190/524/190/5 24/136/19 |
79 | ฌาน(การเพ่ง) มี 2 คือ เพ่งอยู่ซึ่งลักษณะ เพ่งอยู่ซึ่งอารมณ์ (อ.สัทธาสูตร) 24/199/1224/199/12 24/142/11 |
80 | [๑๒๑] ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่ไป สู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์ แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์ (สมยสูตร) 24/201/20 24/201/20 24/144/13 |
81 | เจ้าศากยะ และโกลิยะ ทะเลาะกันเรื่องน้ำ (อ.สมยสูตร) 24/202/1424/202/14 24/145/6 |
82 | พวกเทวดาหมื่นจักรวาล ประชุมกัน (อ.สมยสูตร) 24/212/1424/212/14 24/153/3 |
83 | ทิ้งก้อนหินเท่าภูเขา จากพรหมโลก ลงมาโลกมนุษย์ นี้ 4 เดือน จึงตกถึงแผ่นดิน 24/213/1124/213/11 24/153/21 |
84 | เทพทั้งหลาย เนรมิตอัตภาพให้เล็กในที่เท่าปลายขน อยู่ได้ 20 องค์ (อ.สมยสูตร) 24/214/1 24/214/1 24/154/5 |
85 | พระเทวทัต ทิ้งก้อนหินลงมาใส่พระพุทธองค์ ทำพระโลหิตให้ห้อ (อ.สกลิกสูตร) 24/224/124/224/1 24/162/13 |
86 | การนอน 4 อย่าง คือ การนอนของผู้มีปกติเสพกาม การนอนของเปรต การ นอนของสีหะ การนอนของพระตถาคต (อ.สกลิกสูตร) 24/225/824/225/8 24/163/20 |
87 | [๑๓๒] ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีปัญญาทราม ติเตียนธรรมอันประเสริฐเที่ยวไปอยู่ ชนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงโรรุวนรกอันร้ายกาจ ประสบทุกข์ตลอดกาลนาน... . (ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร) 24/230/1824/230/18 24/168/8 |
88 | ท้าวปัชชุนนะเป็นเจ้าแห่งฝนและลม อยู่ชั้นจาตุมหาราชิกา(อ.ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร) 24/231/9 24/231/9 24/168/19 |
89 | โรรุวนรก มี 2 คือ ธูมโรรุวนรก ชาลโรรุวนรก (อ.ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร) 24/232/124/232/1 24/169/9 |
90 | [๑๓๓-๑๓๔] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อ จุลลโกกนทา ลงมาไหว้พระพุทธเจ้า ณ กูฏาคารศาลา (ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร) 24/233/424/233/4 24/170/4 |
91 | [๑๓๖] เทวดาองค์หนึ่งกล่าวต่อพระพุทธเจ้าว่า... " บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อม ด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วยการตายจากไป ผู้มีปัญญารู้ชัด ดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและ ให้ทาน เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามควรแล้ว จะไม่ถูกติฉินเข้าถึงสถานที่อันเป็นสวรรค์ " (อาทิตตสูตร) 24/237/524/237/5 24/172/21 |
92 | [๑๓๘] " บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ให้ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุข ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ และผู้ที่ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่า ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้ อมฤตธรรม." (กินททสูตร) 24/239/1124/239/11 24/174/12 |
93 | บุคคลให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อมทำ บันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยานเหมือนกัน. . (อ.กินททสูตร) 24/240/1324/240/13 24/175/16 |
94 | การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดี ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ความสิ้นตันหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง . (อ.กินททสูตร) 24/242/524/242/5 24/176/20 |
95 | [๑๔๐] " ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้วให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อม พะนอ(ค้ำจุน) เขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงนำความ ตระหนี่ออกไปเสียพึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็นตัวมลทินแล้วให้ทาน เพราะบุญ ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า " (อันนสูตร) 24/243/824/243/8 24/177/7 |
96 | [๑๔๑] เทวดาองค์หนึ่งกล่าวปริศนาธรรมต่อพระพุทธองค์ว่า " บาดาลมีรากอัน เดียว มีความวนสอง มีมลทินสาม มีเครื่องลาดห้า เป็นทะเลหมุนไปได้สิบสองด้าน ฤๅษีข้ามพ้นแล้ว " (เอกมูลสูตร) 24/245/424/245/4 24/178/4 |
97 | ตัณหานั้นท่านเรียกว่า บาดาล (อ.เอกมูลสูตร) 24/246/424/246/4 24/178/21 |
98 | [๑๔๒] เทวดาองค์หนึ่งสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า " ท่านทั้งหลายเชิญดูพระพุทธเจ้า องค์นั้น ผู้มีพระนามไม่ทราม ผู้ทรงเห็นประโยชน์อันละเอียด ผู้ให้ซึ่งปัญญาไม่ทรง ข้องอยู่ในอาลัย คือ กาม ตรัสรู้ธรรมทุกอย่าง มีพระปรีชาดี ทรงก้าวไปในทาง อันประเสริฐ ผู้ทรงแสวงคุณอันใหญ่ " (อโนมิยสูตร) 24/247/424/247/4 24/179/4 |
99 | [๑๔๔] " ทางนั้นชื่อว่า เป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่า ไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือ ธรรม , หิริ เป็นฝาของรถนั้น สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น เรา กล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐิ นำหน้าว่าเป็นสารถี ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิง หรือชายก็ตาม เขา(ย่อมไป) ใกล้พระนิพพานด้วยยานนี้แหละ " (อัจฉราสูตร) 24/249/824/249/8 24/180/11 |
100 | ภิกษุรูปหนึ่งบวชได้ 5 พรรษา ทำความเพียรแล้วตายในที่จงกรม ได้เกิดในภพ ดาวดึงส์ มีนางอัปสร 1,000 ครั้นเทวบุตรนั้นได้สติ จึงรีบลงมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่สุดของการแสดงธรรม เทวบุตรนั้นบรรลุโสดาปัตติผล (อ.อัจฉราสูตร) 24/250/324/250/3 24/181/4 |
101 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อนว่า เธอจง ชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิแก่ผู้เริ่มทำครั้งแรก แต่ว่าบุคคลผู้เคย ประกอบทั่วแล้ว ย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียว ซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้ง อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค. (อ.อัจฉราสูตร) 24/252/1724/252/17 24/183/8 |
102 | [๑๔๖] " ชนเหล่าใด สร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้ (ใช้ร่มเงา) สร้าง สะพาน และชนเหล่าใด ให้โรงน้ำเป็นทาน และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัยชนเหล่านั้น ย่อมมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ใน ธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์ " (วนโรปสูตร) 24/255/924/255/9 24/185/17 |
103 | [๑๔๗] อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวชมเชย และพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น : สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรม 5 นั้น คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล ชีวิตอันอุดม. (เชตวนสูตร) 24/257/424/257/4 24/187/6 |
104 | [๑๔๙] " คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการ กีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่ คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือ ยมโลก ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดขึ้นในสกุลคนยากจน...." (มัจฉริสูตร) 24/260/1224/260/12 24/189/22 |
105 | [๑๕๑] " ชนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว รู้ถ้อยคำ ปราศจากความ ตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพ แรงกล้า ชนเหล่านี้ ย่อมปรากฏในสวรรค์ อันเป็นที่อุบัติ หากถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง... " (มัจฉริสูตร) 24/261/1324/261/13 24/190/17 |
106 | ผู้ทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้ทานอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอันตรายแก่คน 3 พวก คือ ทำอันตรายสวรรค์ของทายก ทำอันตรายลาภของปฏิคาหก และทำลายตัวเอง . (อ.มัจฉริสูตร) 24/263/624/263/6 24/191/25 |
107 | [๑๕๒] ฆฏิกรพรหม ลงมากราบทูลพระพุทธเจ้า ถึงภิกษุ 7 รูป ผู้เข้าถึง อวิหาพรหมโลก แล้วบรรลุพระอรหันต์ คือ ท่านอุปกะ ท่านผลคัณฑะ ท่านปุกกุสาติ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ ท่านพหุทันตี ท่านสิงคิย (ฆฏิกรสุตร) 24/265/424/265/4 24/193/4 |
108 | [๑๕๙] " ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา ศรัทธาตั้งมั่น แล้วยังประโยชน์ ให้สำเร็จ ปัญญาเป็นรัตนะของคน ทั้งหลาย บุญอันโจรลักไปไม่ได้ " (ชราสูตร) 24/270/1024/270/10 24/197/10 |
109 | [๑๖๑] " ศีล เพราะไม่ชำรุด จึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ ศรัทธาดำรงมั่นแล้วยัง ประโยชน์ให้สำเร็จ ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย บุญอันบุคคลพึงนำไปให้ พ้นจากพวกโจรได้ " (อชารสาสูตร) 24/273/924/273/9 24/199/21 |
110 | ชนทั้งหลายแม้จะเป็นอาจารย์ และอุปัชฌาย์ เป็นต้น ย่อมไม่สงเคราะห์บุคคล ผู้มีศีลวิบัติแล้ว (อ.อชารสาสูตร) 24/273/1724/273/17 24/200/7 |
111 | [๑๖๓] " พวกเกวียน พวกโคต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรใน เรือนของตน สหายเป็นมิตรของผู้มีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ บุญที่ตนทำเองเป็นมิตร ติดตามไปถึงภพหน้า " (มิตตสูตร) 24/274/824/274/8 24/201/2 |
112 | ชนทั้งหลายผู้เป็นสหายในการดื่มน้ำเมา มีสุรา เป็นต้น ไม่ชื่อว่า เป็นมิตร. . (อ.มิตตสูตร) 24/275/624/275/6 24/201/19 |
113 | [๑๖๕] " บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง เหล่าสัตว์ มีชีวิต ที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีพอยู่ " (วัตถุสูตร) 24/276/824/276/8 24/202/9 |
114 | [๑๖๗] " ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของเขา " (ปฐมชนสูตร) 24/277/824/277/8 24/203/9 |
115 | [๑๖๙] " ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร สัตว์ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ " (ทุติยชนสูตร) 24/278/824/278/8 24/204/9 |
116 | [๑๗๑] " ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร กรรมเป็นที่พำนักของสัตว์นั้น " (ตติยชนสูตร) 24/278/1824/278/18 24/205/9 |
117 | [๑๗๓] " ราคะ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นทางผิด วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็น มลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมติดอยู่ในหญิงนี้ ตบะ และพรหมจรรย์นั้น มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง. (อุปปถสูตร) 24/279/824/279/8 24/206/9 |
118 | [๑๗๕] " ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญาย่อมปกครองคนนั้น สัตว์ยินดีในพระนิพพาน จึงพ้นจากทุกข์ ทั้งปวงได้ " (ทุติยสูตร) 24/281/724/281/7 24/207/16 |
119 | บทว่า ทุติยา แปลว่า เป็นเพื่อนของผู้ไปสู่สวรรค์ และพระนิพพาน. (อ.ทุติยสูตร) 24/281/12 24/281/12 24/208/4 |
120 | [๑๗๗] " ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถา อักขระเป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถา คาถาอาศัยแล้วซึ่งชื่อ กวีเป็นที่อาศัยของคาถา " (กวิสูตร) 24/282/824/282/8 24/208/16 |
121 | [๑๗๙] " ชื่อย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไป กว่าชื่อไม่มีสิ่งทั้งปวง เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ ชื่อ " (นามสูตร) 24/284/1024/284/10 24/210/10 |
122 | [๑๘๑] " โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกใสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตาม อำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ จิต." (จิตตสูตร) 24/286/724/286/7 24/211/16 |
123 | [๑๘๓] " โลกอันตัณหาย่อมนำไป นตัณหาย่อมเสือกใสไป โลกทั้งหมดเป็นไป ตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ ตัณหา." (ตัณหาสูตร) 24/287/824/287/8 24/212/15 |
124 | [๑๘๕] " โลกอันมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยว ไปของโลกนั้น เพราะละตัณหาเสียได้ขาดจึงเรียกว่า นิพพาน " (สัญโญชนสูตร) 24/288/824/288/8 24/213/8 |
125 | [๑๘๗] " โลกอันมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของของโลกนั้น เพราะละตัณหาเสียได้ขาดจึงตัดเครื่องผูกได้หมด " (พันธนสูตร) 24/289/824/289/8 24/214/8 |
126 | [๑๘๙] " โลกอันมฤตยูกำจัดแล้ว อันชราล้อมไว้แล้ว อันลูกศรคือตัณหาเสียบ แล้วอันความอยากเผาให้ร้อนแล้ว ในกาลทุกเมื่อ " (อัพภาหตสูตร) 24/290/724/290/7 24/215/9 |
127 | [๑๙๑] " โลกอันตัณหาดักไว้ อันชราล้อมไว้ โลกอันมฤตยูปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้ว ในทุกข์ " (อุฑฑิตสูตร) 24/291/724/291/7 24/216/9 |
128 | [๑๙๓] " โลกอันมฤตยูปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์ โลกอันตัณหาดักไว้ อันชรา ล้อมไว้ " (ปิหิตสูตร) 24/292/724/292/7 24/217/11 |
129 | [๑๙๕] " โลกอันความอยากผูกไว้ เพราะกำจัดความอยากเสียได้ จึงหลุดพ้นเพราะ ละความอยากได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด " (อิจฉาสูตร) 24/293/224/293/2 24/218/10 |
130 | [๑๙๗] " เมื่ออายตนะ 6 เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมทำความชมเชยใน อายตนะ 6 โลกยึดถืออายตนะ 6 นั่นแหละย่อมเดือดร้อนเพราะอายตนะ 6 " . (โลกสูตร) 24/294/724/294/7 24/219/9 |
131 | [๑๙๙] " ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสียจึงไม่เศร้าโศก แน่ะ เทวดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอด หวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก " (ฆัตวาสูตร) 24/296/1024/296/10 24/221/11 |
132 | [๒๐๑] " ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ พระราชาเป็นสง่าของ แว่นแคว้น ภัสดาเป็นสง่าของสตรี " (รถสูตร) 24/298/824/298/8 24/223/2 |
133 | [๒๐๓] " ศรัทธาเป็น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมที่ บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้, ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ยิ่งกว่ารสทั้งหลาย, คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ " . (วิตตสูตร) 24/300/1024/300/10 24/224/12 |
134 | [๒๐๖] " บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็น ประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็นผู้ประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลง คารม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ " (วุฏฐิสูตร) 24/302/1524/302/15 24/226/14 |
135 | [๒๐๘] " บุคคลตั้งวาจา และใจไว้โดยชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย อยู่ครองเรือน ที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้อ่อนโยน มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทราบ ถ้อยคำ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม 4 อย่างเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้ดำรงในธรรมไม่ต้องกลัวปรโลก " . (ภีตสูตร) 24/305/1024/305/10 24/228/19 |
136 | [๒๑๐] "... โลกมีช่องอยู่ 6 ช่อง ที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือ ความเกียจคร้าน ความประมาท ความไม่หมั่น ความไม่สำรวม ความมักหลับ ความอ้างเลศไม่ทำงาน พึงเว้น ช่องทั้ง 6 เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. " (นชีรติสูตร) 24/308/2024/308/20 24/231/17 |
137 | [๒๑๒] " อำนาจเป็นใหญ่ในโลก หญิงเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย ความโกรธ เป็นดังสนิมศัสตราในโลก พวกโจรเป็นเสนียดในโลก โจรนำของไปอยู่ย่อม ถูกห้าม แต่สมณะนำไปกลับเป็นที่รัก สมณะมาหาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี ต้อนรับ " (อิสสรสูตร) 24/310/1124/310/11 24/233/12 |
138 | พระพุทธเจ้าตรัสว่า หญิงเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย คือ เป็นภัณฑะอัน ประเสริฐ เพราะเป็นภัณฑะที่ไม่พึงทอดทิ้ง แม้พระโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักรพรรดิ แม้ทั้งหมด ย่อมเกิดในท้องของมารดาเท่านั้น (อ.อิสสรสูตร) 24/311/524/311/5 24/234/6 |
139 | สมณะไม่นำของที่เขาถวายไป ผู้ถวายย่อมเดือดร้อนเพราะเสื่อมจากบุญ (อ.อิสสรสูตร) 24/311/1424/311/14 24/234/16 |
140 | [๒๑๔] " บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน ไม่พึงสละซึ่งตน วาจาที่ดีควรปล่อย แต่วาจาที่ลามก ไม่ควรปล่อย " (กามสูตร) 24/312/824/312/8 24/235/9 |
141 | บุคคลไม่พึง ทำตนให้เป็นทาสผู้อื่น และไม่พึงสละซึ่งตนให้แก่สัตว์ มีเสือและ สิงโต เป็นต้น ยกเว้นพระโพธิสัตว์ (อ.กามสูตร) 24/312/1324/312/13 24/235/14 |
142 | [๒๑๖] " ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งสะเบียง สิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ ทั้งหลาย ความอยากย่อมเสือกใสนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก สัตว์เป็น อันมากติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง. " (ปาเถยยสูตร) 24/313/924/313/9 24/236/11 |
143 | สิริ ได้แก่ ความเป็นใหญ่ (อ.ปาเถยยสูตร) 24/314/624/314/6 24/237/6 |
144 | [๒๑๘] " ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก... " . (ปัชชโชตสูตร) 24/315/1224/315/12 24/238/2 |
145 | [๒๒๐] "... มารดา บิดา หรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้นผู้ตั้งมั่น(ในศีล) คือสมณะ ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาทสมณะ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ " (อรณสูตร) 24/317/1224/317/12 24/239/14 |
146 | พวกเทพย่อมอภิวาทสมณะผู้สมบูรณ์แล้วด้วยศีล (อ.อรณสูตร) 24/318/1424/318/14 24/240/17 |
147 | [๒๒๑-๒๒๒] กัสสปเทวบุตร เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วแสดงคำสั่งสอนของภิกษุ ว่า " บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต ศึกษาการเข้าไปนั่งใกล้สมณะ ศึกษาการนั่งใน ที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และ ศึกษาการสงบระงับจิต " (ปฐมกัสสปสูตร) 24/320/724/320/7 24/242/8 |
148 | พระพุทธเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ใน พรรษาที่ 7 นับแต่ตรัสรู้แล้วทรงเข้า จำพรรษา ณ เทวบุรี(ดาวดึงส์) (อ.ปฐมกัสสปสูตร) 24/321/824/321/8 24/243/12 |
149 | [๒๒๓] กัสสปเทวบุตร กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระพุทธเจ้าว่า " ภิกษุพึงเป็นผู้ เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย อนึ่ง ภิกษุ ผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยแล้ว " (ทัติยกัสสปสูตร) 24/323/224/323/2 24/245/3 |
150 | [๒๒๖] " บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมไม่ เศร้าโศก ดูก่อนท้าววัตรภู พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธซึ่งมี รากเป็นพิษ มียอดหวานด้วยว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก " . (มาฆสูตร) 24/325/1224/325/12 24/246/17 |
151 | ท้าวสักกะ ชื่อว่าวัตรภู เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำอสูรที่ชื่อว่า วัตรภู (อ.มาฆสูตร) 24/326/324/326/3 24/247/3 |
152 | [๒๒๘] แสงสว่างในโลกมี 4 อย่าง พระพุทธเจ้า ประเสริฐสุดกว่าแสงสว่าง ทั้งหลาย (มาคธสูตร) 24/327/824/327/8 24/247/15 |
153 | สิ้นกิเลสแล้วถ้าประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ ถ้าไม่ประสงค์ จะอยู่ตามสบาย ก็ได้ (อ.ทามลิสูตร) 24/329/1524/329/15 24/249/15 |
154 | [๒๓๒] " ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีลแห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่นแล้วย่อม กระทำสมณธรรมแม้ที่ทำได้โดยยาก ความยินดีย่อมนำสุขมาให้ แก่บุคคลผู้ถึง แล้ว ซึ่งการการบวชไม่มีเรือน " (กามทสูตร) 24/330/624/330/6 24/250/7 |
155 | [๒๓๓] " ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้วใน ภาวนา ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก " .(กามทสูตร) 24/330/1424/330/14 24/250/14 |
156 | [๒๓๔] " ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูก่อนกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมตัดข่ายแห่ง มัจจุไป." (กามทสูตร) 24/331/224/331/2 24/250/20 |
157 | [๒๓๗] " ดูก่อนปัญจาลจัณฑเทวบุตร ชนเหล่าใดแม้อยู่ในที่คับแคบแต่กลับได้ซึ่ง สติเพื่อการบรรลุธรรมคือ พระนิพพาน ชนเหล่านั้นชื่อว่าตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ .(ปัญจาลจัณฑสูตร) 24/334/924/334/9 24/253/14 |
158 | ที่คับแคบ มี 2 ได้แก่ที่คับแคบ คือ นิวรณ์ และกามคุณ . (อ.ปัญจาลจัณฑสูตร) 24/334/1524/334/15 24/254/3 |
159 | [๒๔๐] "...หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดีย่อมบาดมือนั่นเองฉันใด ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น... " พระพุทธองค์ให้ภิกษุทั้งหลายจงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำ ตายนคาถาไว้เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. (ตายนสูตร) 24/338/324/338/3 24/256/7 |
160 | ตายนเทพบุตรนี้เคยเป็นเจ้าลัทธิ แต่ได้ให้อาหารในวันอุโบสถตั้งอาหารไว้สำหรับ คนอนาถา ทำที่พัก ให้ขุดสระโบกขรณีทั้งหลาย ได้ทำความดีมากแม้อย่างอื่น จึงบังเกิดในสวรรค์ (อ.ตายนสูตร) 24/338/1624/338/16 24/256/19 |
161 | [๒๔๑-๒๔๕] จันทิมเทวบุตร ถูกอสุรินทราหู เข้าจับแล้ว จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ครั้นพระองค์ รับทราบจึงสั่งให้ ปล่อยเทวบุตรนั้นเสีย อสุรินทราหูกลัวศีรษะจะ แตก 7 เสี่ยง จึงรีบปล่อย จันทิมเทวบุตร (จันทิมสูตร) 24/340/224/340/2 24/258/7 |
162 | [๒๔๖-๒๕๐] สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหู เข้าจับแล้ว จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ครั้นพระองค์รับทราบจึงสั่งให้ปล่อย เทวบุตรนั้นเสีย. อสุรินทราหูกลัวศีรษะแตก 7 เสี่ยง จึงรีบปล่อยสุริยเทวบุตร. (สุริยสูตร) 24/342/224/342/2 24/260/3 |
163 | อสุรินทราหู นั้น มีอัตภาพใหญ่ เห็นจันทระและสุริยะส่องสว่างอยู่ มีความริษยา จึงอมวิมานของเทวบุตรทั้งสองไว้ในปาก แล้วคิดจะฆ่าเสีย, จันทระและสุริยเทวบุตร บรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ทรงตรัสมหาสมัยสูตร. (อ.สุริยสูตร) 24/344/824/344/8 24/261/16 |
164 | [๒๕๓] " ก็ชนเหล่าใดเข้าถึงฌาน ไม่ประมาทละกิเลสได้ ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน ประดุจปลา ทำลายข่ายได้แล้ว ฉะนั้น. " (จันทิมสสูตร) 24/346/1624/346/16 24/263/15 |
165 | [๒๕๕] " ชนเหล่าใดเป็นผู้เพ่งพินิจตามศึกษาในข้อสั่งสอน อันเรากล่าวไว้แล้ว ชนเหล่านั้น ไม่ประมาทอยู่ในกาล ก็ไม่พึงตกอยู่ในอำนาจแห่งมัจจุ " (เวณฑุสูตร) 24/348/924/348/9 24/265/1 |
166 | [๒๕๗] ทีฆลัฏฐิเทวบุตร ได้กล่าวคาถา ต่อพระพุทธองค์ว่า " ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติ เพ่งพินิจฌานมีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังความไม่เกิดขึ้นแห่งหทัย คือ พระอรหัตผล รู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว มีใจดีอันตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัย แล้ว มีพระอรหัตผลนั้น เป็นอานิสงส์. " (ทีฆลัฏฐิสูตร) 24/349/924/349/9 24/266/4 |
167 | [๒๕๙] " บุคคลใด มีศีล มีปัญญาอบรมตนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ ปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาดสิ้นอาสวะแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกาย สุดท้าย บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้ มีปัญญา บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้ เทวดาทั้งหลาย บูชาบุคคลชนิดนั้น " . (นันทนสูตร) 24/350/1324/350/13 24/267/12 |
168 | [๒๖๑] " บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลทุกเมื่อ มีปัญญา มีใจตั่งมั่นดีแล้ว ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญาล่วงรูป สัญโญชน์ได้ สิ้นภพเป็นที่เพลิดเพลินแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก " (จันทนสูตร) 24/352/9 24/352/9 24/268/17 |
169 | อภิสังขาร คือ กรรม 3 ได้แก่ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร (อ.จันทนสูตร) 24/353/124/353/1 24/269/8 |
170 | [๒๖๓] " ภิกษุพึงมีสติ เพื่อการละสักกายทิฏฐิ งดเว้นเสียประดุจบุคคลถูกแทง ด้วยหอก ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่ " (วาสุทัตตสูตร) 24/354/824/354/8 24/270/9 |
171 | [๒๖๕] " เรายังมองไม่เห็นความสวัสดี แห่งสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญาและ ความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง " . (สุพรหมสูตร) 24/355/1024/355/10 24/271/10 |
172 | สุพรหมเทวบุตร เห็นนางอัปสร 500 ไปเกิดในนรก และอีก 7 วัน ตนเองกับนางอัปสรที่เหลือ ก็จะไปเกิดในนรกเช่นกัน จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อจบเทศนา เทพบุตรก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.สุพรหมสูตร) 24/356/324/356/3 24/271/18 |
173 | [๒๗๑] " ผู้มีทุกข์นั่นแหละจึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์ ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลินไม่มีทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ " (กกุธสูตร) 24/359/1224/359/12 24/274/22 |
174 | กกุธเทพบุตร นี้ เป็นบุตรอุปัฏฐาก ของพระมหาโมคคัลลานะ ในโกฬนครทำฌาน ให้เกิดแล้ว เมื่อตายไป ได้อุบัติในพรหมโลก. (อ.กกุธสูตร) 24/360/324/360/3 24/275/6 |
175 | [๒๗๔] " ชีวิตมีอายุน้อยถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้วย่อมต้านทานไม่ได้ ผู้เห็นภัยในความตายนี้ มุ่งต่อสันติพึงละโลกามิส (เครื่องล่อใจให้ติด ในโลก) เสีย " (อุตตรสูตร) 24/361/924/361/9 24/276/11 |
176 | [๒๗๖] สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ด้วยส่วน 5 นี้ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล และ ชีวิตอันอุดม (อนาถปิณฑิกสูตร) 24/363/824/363/8 24/278/4 |
177 | [๒๘๐] " บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ พวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง " (สิวสูตร) 24/366/1924/366/19 24/281/15 |
178 | [๒๘๑] เขมเทพบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระพุทธเจ้าว่า "...บุคคลออกนอกธรรม หันไปประพฤติตามอธรรมก็ฉันนั้น เป็นคนเขลาเบาปัญญา ดำเนินไปทางมฤตยู ต้องซบเซาอยู่ เหมือนพ่อค้าเกวียนมีเพลาเกวียนหัก ฉะนั้น " (เขมสูตร) 24/367/624/367/6 24/282/5 |
179 | [๒๘๓] " ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและน้ำนั้นด้วยศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล ย่อมพะนอชนเหล่านั้น ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้นพึงเปลื้องความตระหนี่เสีย ครอบงำมลทิน คือ ความตระหนี่เสียให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่ง ของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า " (เสรีสูตร) 24/369/824/369/8 24/283/16 |
180 | [๒๘๕] เสรีเทพบุตรเคยเป็นพระราชา ได้ให้ทานที่ประตูเมืองทั้ง 4 แก่ฝ่ายในพวก เจ้าพระราชวงศ์ ทหาร พราหมณ์คฤหบดี และให้ทรัพย์จากชนบทกึ่งหนึ่งแก่พวก เจ้าหน้าที่ตลอด 80,000 ปี (เสรีสูตร) 24/370/424/370/4 24/284/7 |
181 | ทายก แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ , ทานบดี ได้แก่ เป็นเจ้าแห่งทานที่ให้แล้วไม่ใช่ เป็นทาส ไม่ใช่เป็นสหาย (อ.เสรีสูตร) 24/372/1024/372/10 24/286/9 |
182 | คนเหล่าใดเที่ยวสรรเสริญทานโดยนัยว่า ให้ทานที่น่าปรารถนาแล้ว ท่านผู้เจริญ จะไปพรหมโลก เป็นต้น ชื่อว่า วณิพก ชนเหล่าใดกล่าวว่า โปรดให้สักฟายมือเถิด โปรดให้สักขันจอกเถิด ดังนี้ เที่ยวขอไป ชื่อว่า ยาจก. (อ.เสรีสูตร) 24/373/1024/373/10 24/287/10 |
183 | [๒๘๗] ภิกษุ 7 รูป ผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอวิหา เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว คือ ท่านอุปกะ ท่านผลคัณฑะ ท่านปุกกุสาติ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ ท่านพาหุรัคคิ ท่านสิงคิยะ (ฆฏิการสูตร) 24/374/424/374/4 24/288/5 |
184 | [๒๙๓-๒๙๔] ในวันอุโบสถวันหนึ่ง ชันตุเทพบุตรได้เข้าไปต่อว่าภิกษุผู้ประมาท เย่อหยิ่งฟุ้งเฟ้อ ปากกล้าวาจาพล่อยๆ ปล่อยตัวเยี่ยงคฤหัสถ์ ว่าภิกษุเหล่านี้เป็น เหมือนเปรต. (ชันตุสูตร) 24/377/524/377/5 24/290/8 |
185 | [๒๙๗] ฤๅษีชื่อโรหิตัสสะมีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ เดินทางก้าวละจักรวาล เพื่อหาที่สุดโลกตลอด 100 ปี ก็ยังไม่ถึงที่สุดโลก แต่ตายก่อน (โรหิตัสสสูตร) 24/381/19 24/381/19 24/294/3 |
186 | [๒๙๘] " .... ก็แต่ว่าเราบัญญัติโลกเหตุให้เกิดโลก การดับของโลกและทางให้ถึง ความดับโลก ในเรือนร่าง มีประมาณ วาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจ ครอง " (โรหิตัสสสูตร) 24/382/1224/382/12 24/294/18 |
187 | โรหิตัสสฤๅษีเกิดในยุคที่มนุษย์มีอายุยืน แต่เริ่มเดินทางหาที่สุดโลก เมื่ออายุขัย เหลือ 100 ปี จึงตายแล้วมาบังเกิดในจักรวาลนี้อีก (อ.โรหิตัสสสูตร) 24/383/1924/383/19 24/296/5 |
188 | [๓๐๐] " กาลย่อมล่วงไปราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเล็งเห็น ภัยในมรณะนี้ มุ่งต่อสันติ ควรละโลกามิส (เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก)เสีย " . (นันทสูตร) 24/385/924/385/9 24/297/13 |
189 | [๓๐๒] " บุคคลตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็นเครื่องรัดด้วยความปรารถนาและ ความโลภอันชั่วช้าด้วย ถอนตัณหาพร้อมทั้งอวิชชา อันเป็นมูลรากเสียได้อย่างนี้ จึงออกไปจากทุกข์ได้ " (นันทิวิสาลสูตร) 24/386/224/386/2 24/298/9 |
190 | [๓๐๖] เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญ ท่านพระสารีบุตรอยู่ ได้เป็นผู้ปลื้มใจเบิกบานเกิดปีติโสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณ แพรวพราวอยู่ (สุสิมสูตร) 24/388/1224/388/12 24/300/8 |
191 | [๓๑๒] " สารีบุตรใครๆ ก็รู้จักว่าเป็นบัณฑิตไม่ใช่คนมักโกรธ มักน้อย สงบเสงี่ยม อบรม ฝึกฝนมาดี จำนงอยู่ก็แต่กาลเป็นที่ปรินิพพาน " (สุสิมสูตร) 24/389/1924/389/19 24/301/14 |
192 | สามเณรอายุ 7 ขวบ ทักท้วง พระสารีบุตร ที่นุ่งผ้าไม่เรียบร้อย (อ.สุสิมสูตร) 24/396/124/396/1 24/308/2 |
193 | เมื่อพระตถาคต และพระอานนท์ กำลังกล่าวคุณของพระสารีบุตรอยู่ บรรดาเหล่า เทวดาก็พากันกล่าวคุณของพระสารีบุตร ไปจนถึงหมื่นจักรวาล (อ.สุสิมสูตร) 24/397/424/397/4 24/309/4 |
194 | พระขีณาสพย่อมไม่กระหยิ่มยินดีความตาย ไม่มุ่งหมายความเป็น แต่ปรารถนา อธิบายว่า ยืนคอยดูกาลเวลา เหมือนบุรุษยืนคอยค่าจ้างไปวันหนึ่ง ๆ . (อ.สุสิมสูตร) 24/398/1424/398/14 24/310/19 |
195 | [๓๑๙] มารสิงเทวดา (นานาติตถิยสูตร) 24/401/124/401/1 24/312/13 |
196 | [๓๒๐] รูปทั้งหมด เป็นเหยื่อล่อ ที่มารดักสัตว์ไว้ (นานาติตถิยสูตร) 24/401/924/401/9 24/312/20 |
197 | เทพบุตรผู้เป็นสาวกของเดียรถีย์ แต่เชื่อกรรม จึงได้กระทำบุญทั้งหลาย มีทาน เป็นต้น แล้วบังเกิดในสวรรค์ (อ.นานาติตถิยสูตร) 24/402/324/402/3 24/313/14 |
198 | [๓๒๕-๓๒๖] ของ 4 อย่าง ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย คือ กษัตริย์ งู ไฟ ภิกษุ .(ทหรสูตร) 24/407/924/407/9 24/319/6 |
199 | ที่ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะให้เกิด ความยินดี , ที่ชื่อว่า สาราณียะ เพราะเป็น ถ้อยคำที่ควรระลึกถึง ตลอดกาลนาน (อ.ทหรสูตร) 24/410/1224/410/12 24/321/12 |
200 | หลาหล (โกลาหล) มี 3 คือ กัปหลาหล พุทธหลาหล จักกวัตติหลาหล .(อ.ทหรสูตร) 24/412/124/412/1 24/323/7 |
201 | พวกศาสดาทั้ง 6 ปฏิญญาว่าตนเป็นพุทธะ มีมหาชนแวดล้อม พระราชาจึง นิมนต์ เข้าไปในพระราชวัง ด้วยพระราชอำนาจของพระราชา พวกศาสดาทั้ง 6 ไม่อาจนั่งบนอาสนะได้ พากันนั่งบนแผ่นกระดาน และพื้นดิน.(อ.ทหรสูตร) 24/412/13 24/412/13 24/323/19 |
202 | ภิกษุรูปใดไม่ด่าตอบผู้ด่า ไม่ทะเลาะตอบผู้ทะเลาะ ไม่ประหารตอบผู้ประหาร ไม่ผิดในภิกษุ(ผู้ด่า)นั้น ด้วยเดชแห่งศีลของภิกษุนั้น ย่อมเผาภิกษุ(ผู้ด่า)นั้นได้. . (อ.ทหรสูตร) 24/416/1524/416/15 24/327/19 |
203 | ผู้ประสงค์ จะฟังเรื่องที่ยังไม่ได้ฟัง ไม่พึงใช้ภิกษุให้ทำตัวเป็นหมอ หรือรับใช้ ก่อสร้าง เป็นต้น พึงบำรุง ด้วยปัจจัย 4 โดยเคารพ ทำความคุ้นเคยกับภิกษุ อาศัยภิกษุนั้น ก็จักได้ฟังพระพุทธพจน์ ที่ไม่เคยฟัง (อ.ทหรสูตร) 24/417/1924/417/19 24/329/1 |
204 | [๓๒๙] ธรรม 3 อย่าง เมื่อบังเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความ ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สบาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ .(ปุริสสูตร) 24/420/1224/420/12 24/331/14 |
205 | [๓๓๐] " โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เกิดขึ้นในตนย่อม ฆ่าบุคคลผู้ใจบาปเหมือน ขุยไผ่ ย่อมฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น " (ปุริสสูตร) 24/421/624/421/6 24/332/7 |
206 | [๓๓๒] คนเกิดมาแล้ว ที่จะพ้นจากชรา มรณะ ไม่มีเลย... แม้ร่างกายแห่งพระอรหันต์ ก็เป็นสภาพแตกดับ ต้องทอดทิ้งเป็นธรรมดา (ราชสูตร) 24/422/1024/422/10 24/333/9 |
207 | [๓๓๓] " ราชรถอันวิจิตรดี ย่อมคร่ำคร่าโดยแท้ อนึ่งแม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชรา แต่ว่า ธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่ สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้ " (ราชสูตร) 24/423/1 24/423/1 24/334/1 |
208 | กษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ 100 โกฏิ พราหมณ์มหาศาลมีทรัพย์ 80 โกฏิ คฤหบดีมหาศาล มีทรัพย์ 40 โกฏิ (อ.ราชสูตร) 24/423/924/423/9 24/334/10 |
209 | [๓๓๖] ผู้รักตนไม่พึงทำบาป เพราะบุญ และบาป ย่อมติดตามตนเหมือนเงา..(ปิยสูตร) 24/427/15 24/427/15 24/338/9 |
210 | [๓๓๙] " การสำรวมทางกายเป็นการดี การสำรวมทางวาจาเป็นการดี การสำรวม ทางใจเป็นการดี การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้ว มีความละอายต่อบาป เรากล่าวว่าเป็นผู้รักษาตน " (อัตตรักขิตสูตร) 24/430/824/430/8 24/340/18 |
211 | [๓๔๑] สัตว์เหล่าใด ได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ย่อมไม่มัวเมาไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ใน กามคุณ และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก. .(อัปปกสูตร) 24/431/1424/431/14 24/342/3 |
212 | [๓๔๒] ผู้กำหนัดกล้าในทรัพย์ หมกมุ่นในกามคุณ ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่ผู้นั้นใน ภายหลัง (อัปปกสูตร) 24/432/124/432/1 24/342/11 |
213 | [๓๔๕] " สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมากหมกมุ่น ในกามคุณ ย่อมไม่รู้สึกตัว ว่าก้าวล่วงเหมือนพวกปลากำลังเข้าไปสู่เครื่องดักซึ่ง อ้าดักอยู่ ไม่รู้สึกตัวฉะนั้น... " (อัตถกรณสูตร) 24/433/1724/433/17 24/343/20 |
214 | พวกอำมาตย์ รับสินบนก่อนนั่งพิจารณาคดี ต่อหน้าพระเจ้าปเสนทิโกศล. .(อ.อัตถกรณสูตร) 24/434/524/434/5 24/344/7 |
215 | [๓๔๘] " บุคคลค้นหาด้วยจิตตลอดทุกทิศ ไม่ได้พบใคร ซึ่งเป็นที่รัก ยิ่งกว่าตนใน ที่ไหนๆ เลย สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น ก็รักษาตนมากเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักษาตน จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น " (มัลลิกาสูตร) 24/436/324/436/3 24/346/1 |
216 | พระนางมัลลิกา เป็นลูกช่างทำดอกไม้ วันหนึ่ง ได้ถวายขนมแด่พระพุทธเจ้าและ ได้ปรนนิบัติ พระเจ้าปเสนทิโกศล ที่รบแพ้พระเจ้าอชาตศัตรูมาพระราชาเห็น ข้อวัตรนั้น จึงตั้งให้เป็นอัครมเหสี (อ.มัลลิกาสูตร) 24/436/1124/436/11 24/346/9 |
217 | [๓๕๑] พระพุทธเจ้าย่อมแนะนำยัญ ที่มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่าสัตว์ ยัญนั้นย่อมมีผลมาก เทวดาก็เลื่อมใส (ยัญญสูตร) 24/439/124/439/1 24/349/1 |
218 | ยัญ 5 อย่าง ของพราหมณ์ ที่พระพุทธเจ้าไม่แนะนำ (เชิงอรรถ) 24/439/824/439/8 24/349/6 |
219 | บุตรเศรษฐี 4 คน กระทำผิดในภรรยาผู้อื่น บังเกิดในโลหกุมภีนรกขุมนันโทปนันทา .(อ.ยัญญสูตร) 24/443/1124/443/11 24/353/9 |
220 | พระราชาแต่โบราณได้มีสังคหวัตถุ 4 เพื่อสงเคราะห์ แต่ต่อมาครั้งพระเจ้าโอกกากราช พวกพราหมณ์ ได้เปลี่ยน สังคหวัตถุ 4 และสมบัติของรัฐเสีย แล้วตั้ง ยัญ 5 ขึ้นมา. (อ.ยัญญสูตร) 24/445/1924/445/19 24/455/1 |
221 | [๓๕๓] ...ความรักใคร่นักในแก้วมณี และกุณฑล และความอาลัยในบุตร และภรรยา ทั้งหลาย เป็นเครื่องจองจำที่มั่นพาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจองจำที่หย่อนๆ แต่แก้ยาก... . (พันธนสูตร) 24/448/1524/448/15 24/357/15 |
222 | แก้วมณี 8 เหลี่ยม ที่ท้าวสักกะประทานแก่พระเจ้ากุสราช สืบๆ กันตามประเพณี ได้หายไป พระอานนท์เป็นผู้บอกอุบายให้พระราชาได้แก้วมณีนั้น คืนมา .(อ.พันธนสูตร) 24/449/824/449/8 24/358/5 |
223 | ในคราวคับขันต้องการคนกล้า ในคราวปรึกษาต้องการคนไม่พูดพล่าม ในคราว มีข้าวน้ำต้องการคนรัก ในคราวเกิดคดีต้องการบัณฑิต (อ.พันธนสูตร) 24/450/9 24/450/9 24/359/1 |
224 | [๓๕๖] ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยการงาน กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา (ชฏิลสูตร) 24/453/1124/453/11 24/361/12 |
225 | [๓๕๘] " คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจเพราะผิวพรรณ และรูปร่าง ไม่ควรไว้วางใจ เพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว... " (ชฏิลสูตร) 24/454/1424/454/14 24/362/11 |
226 | ประวัติย่อ ของนางวิสาขา และ ปุพพาราม (อ.ชฏิลสูตร) 24/455/724/455/7 24/363/3 |
227 | [๓๖๐-๓๖๑] พระราชา 5 พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นหัวหน้าเข้าเฝ้า ถามพระพุทธเจ้า ถึงอะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่สุด แห่งความพอใจนั่นแหละ เป็นยอดในกามคุณ 5 (ปัญจราชสูตร) 24/459/1924/459/19 24/367/9 |
228 | อารมณ์ที่น่าพอใจมี 2 คือ อารมณ์ที่น่าพอใจของบุคคล อารมณ์ที่น่าพอใจโดย สมมติ (อ.ปัญจราชสูตร) 24/462/324/462/3 24/369/9 |
229 | [๓๖๕] " มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนา เบาบาง เขาย่อมแก่ช้า อายุยืน " (โทณปากสูตร) 24/465/924/465/9 24/372/2 |
230 | [๓๗๑] " ผู้ชำนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ บุคคลละความชนะ และ ความแพ้เสียแล้ว จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข " (ปฐมสังคามวัตถุสูตร) 24/470/1624/470/16 24/376/18 |
231 | พระเจ้าปเสนทิโกศล รบกับ พระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อต้องการหมู่บ้านกาสี .(อ.ปฐมสังคามวัตถุสูตร) 24/471/724/471/7 24/377/8 |
232 | [๓๗๕] ".... ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชำนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่า ย่อมได้รับการด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้งเคียดตอบฉะนั้น เพราะ ความหมุนกลับแห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้นย่อมถูกเขาแย่งชิง. "(ทุติยสังคามวัตถุสูตร) 24/474/2324/474/23 24/380/7 |
233 | [๓๗๖-๓๗๗] พระนางมัลลิกาประสูติพระธิดา พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงไม่ทรง เบิกบานพระทัย พระพุทธองค์ทรงทราบจึงได้ตรัสว่า " ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็น ใหญ่ยิ่งกว่าปวงชน แท้จริงแม้สตรีบางคนก็เป็นผู้ประเสริฐ.... " (ธีตุสูตร) 24/477/424/477/4 24/382/4 |
234 | [๓๗๙] ความไม่ประมาท เป็นธรรมที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ ในภายหน้า เปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่สัญจรไปบนแผ่นดินย่อม รวมลงในรอยเท้าช้าง (ปฐมอัปปมาทสูตร) 24/479/1224/479/12 24/384/9 |
235 | [๓๘๒] ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ ทั้งหมด และภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี จักเจริญอริยมรรค มีองค์แปด จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้ (ทุติยอัปปมาทสูตร) 24/482/1224/482/12 24/386/16 |
236 | [๓๘๕] " บุคคลผู้ปรารถนา โภคะอันโอฬารต่อๆ ไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย ... " . (ทุติยอัปปมาทสูตร) 24/485/724/485/7 24/389/4 |
237 | มรรค 4 ผล 4 วิชชา 3 อภิญญา 6 ทั้งหมด มีมิตรดีเป็นมูลทั้งนั้น .(อ.ทุติยอัปปมาทสูตร) 24/487/1524/487/15 24/391/4 |
238 | อธิบาย อริยมรรคมีองค์ 8 และลักษณะของมรรค. (อ.ทุติยอัปปมาทสูตร) 24/487/1924/487/19 24/391/9 |
239 | [๓๘๗] ผู้มีทรัพย์ แล้วไม่บริโภค ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข ไม่เลี้ยงดูมารดา บิดา บุตร ธิดา ภรรยา ทาสกรรมกร และมิตร ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำบุญอันมีผล เพื่อสวรรค์ ทรัพย์นั้นย่อมไม่เกิดประโยชน์ ดุจสระน้ำของอมนุษย์.(ปฐมาปุตตกสูตร) 24/491/14 24/491/14 24/394/18 |
240 | [๓๘๙] " น้ำมีอยู่ในถิ่นของอมนุษย์ คนย่อมงดน้ำที่ไม่พึงดื่มนั้น ฉันใด คนชั่วได้ ทรัพย์แล้ว ย่อมไม่บริโภคด้วยตนเอง ย่อมไม่ให้ทาน ฉันนั้น..." (ปฐมาปุตตกสูตร) 24/493/13 24/493/13 24/396/4 |
241 | [๔๙๑] เศรษฐีนั้นได้ สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าตครสิขี แล้วภายหลังนึกเสียดาย ด้วยผลบุญนั้น เขาจึงได้เกิดเป็นเศรษฐี 7 ครั้ง แต่ไม่ ได้ใช้สอยทรัพย์ให้มีความสุข. และเพราะเคยฆ่าลูกพี่ชาย จึงไปตกนรกหลายแสนปี และบัดนี้จึงไม่มีทายาทรับมรดก. ก็บุญเก่าของเศรษฐีนั้นหมดแล้ว และบุญใหม่ ก็ไม่ได้สะสมไว้ เขาจึงถูกเผาอยู่ในมหาโรรุวนรก.(ทุติยาปุตตกสูตร) 24/496/1424/496/14 24/398/16 |
242 | [๓๙๓-๓๙๘] บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก คือ บุคคลผู้มืดมามืดไป ผู้มืดมากลับสว่างไป ผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป ผู้สว่างมาแล้วสว่างไป (ปุคคลสูตร) 24/502/924/502/9 24/404/10 |
243 | ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวดังตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น. (อ.ปุคคลสูตร) 24/508/1424/508/14 24/408/18 |
244 | [๔๐๑] " สัตว์ทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไป ตามกรรม เข้าถึงผลแห่งบุญ และบาป คือ ผู้มีกรรมเป็นบาป จักไปสู่นรก ส่วนผู้มี กรรมเป็นบุญ จักไปสู่สุคติ... " (อัยยิกาสูตร) 24/511/1224/511/12 24/411/9 |
245 | [๔๐๓] ธรรม 3 อย่าง เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง (โลกสูตร) 24/513/624/513/6 24/413/1 |
246 | [๔๐๕] พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถามว่า ทานควรให้ในที่ไหน ? พระพุทธเจ้าตรัส ตอบว่า ควรให้ในที่ที่จิตเลื่อมใส .(อิสสัตถสูตร) 24/514/324/514/3 24/414/4 |
247 | [๔๐๖] ทานที่ให้แล้วแก่ ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่ .(อิสสัตถสูตร) 24/514/924/514/9 24/414/11 |
248 | [๔๐๙] ทานที่ให้แล้วในกุลบุตร ผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ย่อมมีผลมาก (อิสสัตถสูตร) 24/515/1724/515/17 24/415/19 |
249 | [๔๑๕] " ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา จดท้องฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง 4 ทิศ แม้ฉันใด ชรา และมัจจุ ก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย... เพราะฉะนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา เมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ใน พระพุทธเจ้า ในพระธรรมและในพระสงฆ์ ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริฐผู้นั้น.... "(ปัพพโตปมสูตร) 24/524/2024/524/20 24/423/12 |