1 | [๓๓๔] ภิกษุผู้ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ ว่างจากสัญญาว่าบ้าน เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ และสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น อันยังมีอยู่ว่ามี แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของ ภิกษุนั้น. (จูฬสุญญตสูตร) 23/2/123/2/1 23/2/3 |
2 | [๓๓๕-๓๔๑] การก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ที่ว่าด้วย ปฐวีสัญญา, อากาสานัญจายตนสัญญา, วิญญาณัญจายตนสัญญา, อากิญจัญญายตนสัญญา, เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา, เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต (อ.จูฬสุญญตสูตร) 23/2/1823/2/18 23/2/22 |
3 | ภิกษุทำปฐวีกสิณ บริกรรมให้เป็นกัมมัฏฐานประจำ ยังฌานให้เกิด เจริญวิปัสสนา สามารถบรรลุอรหัตได้ (อ.จูฬสุญญตสูตร) 23/11/1223/11/12 23/11/19 |
4 | [๓๔๕] ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีกัน จักเป็น ผู้ได้สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ (มหาสุญญตสูตร) 23/15/123/15/1 23/15/2 |
5 | [๓๔๕] "เราย่อมไม่พิจารณาเห็น แม้รูปอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ไม่เกิดความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความตรอมใจ เพราะความแปรปรวน และความเป็นอย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่ง บุคคลกำหนัดแล้ว " (มหาสุญญตสูตร) 23/15/1523/15/15 23/15/18 |
6 | [๓๔๗] ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ตั้งมั่นได้อย่างไร ? (มหาสุญญตสูตร) 23/16/723/16/7 23/16/7 |
7 | [๓๔๗] อาการที่ภิกษุ รู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายใน . (มหาสุญญตสูตร) 23/17/123/17/1 23/16/19 |
8 | [๓๔๘-๓๕๐] อาการที่เป็นอันรู้สึกตัวในเรื่อง การเดิน ยืน นั่ง นอน พูด คิด และกามคุณ 5 อุปาทานขันธ์ 5 (มหาสุญญตสูตร) 23/18/423/18/4 23/17/20 |
9 | [๓๕๑] สาวกควรจะใกล้ชิดติดตาม ศาสดาเพื่อฟังเรื่องราว ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลา กิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ส่วนเดียว... เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. (มหาสุญญตสูตร) 23/21/1523/21/15 23/20/21 |
10 | [๓๕๒] อุปัทวะ ของอาจารย์ ย่อมมีได้อย่างไร ? (มหาสุญญตสูตร) 23/22/623/22/6 23/21/9 |
11 | [๓๕๓] อุปัทวะ ของศิษย์ ย่อมมีได้อย่างไร ? (มหาสุญญตสูตร) 23/22/1723/22/17 23/21/20 |
12 | [๓๕๔] อุปัทวะ ของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมมีได้อย่างไร ? (มหาสุญญตสูตร) 23/23/623/23/6 23/22/6 |
13 | [๓๕๕] ผู้ประพฤติ หลีกเลี่ยง คำสอนของศาสดา ชื่อว่า เรียกร้องศาสดาด้วย ความเป็นข้าศึก (มหาสุญญตสูตร) 23/24/1223/24/12 23/23/8 |
14 | [๓๕๖] "ดูก่อนอานนท์ เราจะไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อ ประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้ว ๆ จึงบอกจักยกย่อง แล้วๆจึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ " (มหาสุญญตสูตร) 23/25/923/25/9 23/24/1 |
15 | นรกหมื่นโยชน์ แน่นไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย เหมือนทะนานที่เต็มไปด้วยผงดีบุก หมู่ปลวกในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ย่อมจะประมาณ หรือกำหนดไม่ได้นครเปรต มีคาวุตหนึ่งก็มี ครึ่งโยชน์ก็มี เต็มไปด้วยเปรต ย่อมอยู่กันเป็นคณะอย่างนี้ การอยู่เป็นคณะนี้ ได้ประพฤติปฏิบัติกันมาแล้วในวัฏฏะ. (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/26/1723/26/17 23/25/7 |
16 | ทรงตำหนิการคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ แทนการบัญญัติสิกขาบท เพื่อเป็นเหมือน กระจกส่อง สำหรับภิกษุ ผู้ใคร่ต่อการศึกษา (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/27/1423/27/14 23/26/3 |
17 | พระพุทธองค์ ตำหนิพระอานนท์ ที่ช่วยเหลือหมู่คณะ ในฐานะที่ไม่ควรช่วยเหลือ . (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/29/123/29/1 23/27/15 |
18 | ฌาน 4 และ อรูปสมาบัติ 4 จัดเป็นวิโมกข์ ชั่วสมัย (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/29/1723/29/17 23/28/9 |
19 | พระวิปัสสีโพธิสัตว์ แวดล้อมไปด้วยนักบวช 84,000 รูป อยู่ 7 ปี ก็ยังไม่ตรัสรู้. ครั้นหลีกออกจากหมู่อยู่คนเดียว 7 วัน ก็ยังคุณแห่งสัพพัญญูให้เกิดแล้ว . (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/30/223/30/2 23/28/19 |
20 | ภิกษุผู้มีสมถวิปัสสนายังอ่อน พึงปรารถนา สัปปายะ (ความเหมาะสม) 7 อย่าง คือ อาวาส โคจร การสนทนา บุคคล อาหาร ฤดู อิริยาบถ (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/33/423/33/4 23/32/7 |
21 | มารย่อมไม่เห็นจิตของภิกษุ ผู้นั่งเข้าสมาบัติ 8 มีวิปัสสนาเป็นบาท คือ ไม่อาจ เพื่อจะรู้ว่าจิตของภิกษุนั้นอาศัย อารมณ์ ชื่อนี้เป็นไป (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/34/1523/34/15 23/34/1 |
22 | ภิกษุเมื่อ จงใจล่วงอาบัติ แม้เพียงทุกกฏ และทุพภาษิต ย่อมชื่อว่า ประพฤติ หลีกเลี่ยง คำสอนของศาสดา (อ.มหาสุญญตสูตร) 23/36/2023/36/20 23/36/13 |
23 | [๓๖๐-๓๗๘] พระอานนท์แสดงความอัศจรรย์ ของพระพุทธเจ้า 20 ข้อ ตั้งแต่ ทรงอยู่สวรรค์ ชั้นดุสิต. จนประสูติ (อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/39/2023/39/20 23/39/1 |
24 | [๓๗๙] เวทนา สัญญา วิตกของพระตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป นี้ก็เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระตถาคต . (อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/46/823/46/8 23/45/1 |
25 | วิมุตติ (ความหลุดพ้น) 5 อย่าง (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/48/523/48/5 23/47/6 |
26 | พระโพธิสัตว์ ไม่ดำรงอยู่ในเทวโลกจนตลอดอายุ จะกลั้นใจตายแล้วมาเกิดใน มนุษย์โลก (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/49/2023/49/20 23/48/24 |
27 | บุพนิมิต 5 อย่าง ก่อนการจุติของเทวดา คือ ดอกไม้เหี่ยว ผ้าเศร้าหมอง เหงื่อไหลออกจากรักแร้ กายเริ่มเศร้าหมอง อยู่บนอาสนะของตนไม่ได้ นิมิตนี้จะปรากฏก่อนใน 7 วันของมนุษย์ (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/50/823/50/8 23/49/11 |
28 | พระโพธิสัตว์ สถิตอยู่ สวรรค์ ชั้นดุสิต 576 ล้านปี (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/50/1223/50/12 23/49/17 |
29 | บุพนิมิต 5 นั้น จะปรากฏ เฉพาะเหล่าเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/51/323/51/3 23/50/5 |
30 | มหาวิโลกนะ (การตรวจดูอันยิ่งใหญ่) 5 ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และการกำหนดอายุของพระมารดา (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/51/2123/51/21 23/50/23 |
31 | ในเทวโลกทุกชั้น ย่อมมีสวนนันทวันทั้งนั้น (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/53/2323/53/23 23/53/1 |
32 | การก้าวลงสู่ครรภ์ มี 4 อย่าง (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/56/423/56/4 23/55/5 |
33 | อานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย มีดังนี้ คือ รัศมีของผ้านุ่ง สรีระ เครื่องประดับ วิมาน ย่อมแผ่ไปได้ 12 โยชน์ (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/57/1323/57/13 23/56/13 |
34 | หมู่สัตว์ กระทำกรรมอะไร จึงบังเกิดในโลกันตริกนรก (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/58/823/58/8 23/57/9 |
35 | ท้าวมหาราชทั้ง 4 มีอยู่ทุกจักรวาลๆ ละ 4 องค์ (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/59/823/59/8 23/58/9 |
36 | เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ คนทั้งหลายพากันไปไหว้ นั่งกระโหย่ง ถือศีล ในสำนักของดาบส และปริพาชกทั้งหลาย (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/60/1723/60/17 23/59/16 |
37 | เหตุที่มารดาของพระโพธิสัตว์ตาย ภายใน 7 วัน หลังจากประสูติพระโพธิสัตว์ . (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/62/1623/62/16 23/61/17 |
38 | ในปฐมวัย อัตตภาพของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีฉันทราคะรุนแรง ด้วยเหตุนั้น สตรีที่ตั้งครรภ์ในเวลานั้น ย่อมไม่สามารถจะถนอมครรภ์นั้นไว้ได้. ครรภ์ย่อม มีโรคมากมาย (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/63/223/63/2 23/61/25 |
39 | วินิจฉัย บุพนิมิตแห่งการประสูติพระโพธิสัตว์ มีข้อที่พระองค์ ประทับยืนบน แผ่นดิน ด้วยพระบาทอันราบเรียบ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งอิทธิบาท 4 เป็นต้น. (อ.อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร) 23/67/123/67/1 23/65/24 |
40 | [๓๘๑-๓๘๒] ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกว่ากามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เคยเกิดขึ้นเลยตลอด 80 พรรษาที่บวชมา (พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/72/1423/72/14 23/70/15 |
41 | [๓๘๓] ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร ไม่รู้จักใช้ศัสตราตัดจีวร... ไม่รู้ จักสำเร็จการนอน ตลอด 80 พรรษาที่บวชมา (พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/73/2123/73/21 23/71/19 |
42 | [๓๘๔] ท่านพระพักกุละ ได้เป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเพียง 7 วันเท่านั้น ต่อวันที่ 8 พระอรหัตผลจึงเกิดขึ้น. (พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/75/123/75/1 23/72/20 |
43 | ประวัติของท่านพักกุละ เกิดอยู่โกสัมพี เมื่อพวกพี่เลี้ยง นำทารกให้อาบน้ำ ปลาได้คาบไป เพราะคิดว่าเป็นอาหาร (อ.พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/77/823/77/8 23/74/9 |
44 | ท่านพักกุลเถระ นั้น ผลัดเปลี่ยน จีวรทุก ๆ ครึ่งเดือน ท่านจะให้จีวรเก่า แก่ บรรพชิตทั้งหลายที่ท่านพบ (อ.พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/80/1123/80/11 23/77/7 |
45 | พระนิโครธ สมัยพระเจ้าอโศกธรรมราช เปลี่ยนจีวร วันละ 3 ครั้ง (อ.พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/81/223/81/2 23/77/21 |
46 | เหตุที่ท่านพักกุลเถระไม่เคยมีอาพาธเลย. (อ.พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร) 23/82/1023/82/10 23/79/5 |
47 | [๓๙๔] ผู้ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกามถูกความเร่าร้อน เพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักรู้หรือจักทำให้แจ้งซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยการออกบวช นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ (ทันตภูมิสูตร) 23/88/423/88/4 23/84/2 |
48 | [๓๙๕-๔๐๒] พระพุทธเจ้าทรง ฝึกกุลบุตร เปรียบด้วยการฝึกช้าง (ทันตภูมิสูตร) 23/88/1723/88/17 23/84/15 |
49 | [๔๑๑] สมณะหรือพราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีความเห็นผิด ฯลฯ มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวัง หรือไม่ทำความหวัง ก็ตาม แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล เปรียบเหมือน บุรุษต้องการนมสด แต่รีดนม เอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน (ภูมิชสูตร) 23/103/1923/103/19 23/97/16 |
50 | [๔๑๔-๔๑๕] สมณะ หรือพราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวัง หรือไม่ทำความหวัง ก็ตาม แล้วประพฤติพรหมจรรย์เขาก็สามารถบรรลุผลได้ เปรียบเหมือน บุรุษต้องการน้ำมัน เขา ก็สามารถได้น้ำมันโดยวิธีแยบคาย (ภูมิชสูตร) 23/105/2123/105/21 23/99/12 |
51 | [๔๒๒-๔๒๓] เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต) ที่หาประมาณมิได้ และเจโตวิมุตติ ที่เป็นมหัคคตะ (แผ่ขยายออกไป) นั้น ต่างกันทั้ง อรรถ และพยัญชนะ (อนุรุทธสูตร) 23/111/1623/111/16 23/104/14 |
52 | [๔๒๔] การเข้าถึงภพมี 4 อย่าง คือ เทวดาพวกมีรัศมีเล็กน้อย พวกมีรัศมี หาประมาณมิได้ พวกมีรัศมีเศร้าหมอง พวกมีรัศมีบริสุทธิ์ (อนุรุทธสูตร) 23/113/723/113/7 23/105/23 |
53 | เหตุที่ทำให้ เทพชั้นปริตตาภา เทพชั้นอัปปมาณาภา มีแสงสว่างริบหรี่ก็มี มีแสงสว่างจ้าก็มี (อนุรุทธสูตร) 23/121/523/121/5 23/112/14 |
54 | พระอนุรุทธเถระ เคยบำเพ็ญบารมี บวชเป็นฤๅษี ยังสมาบัติให้เกิด ได้กำเนิด ในพรหมโลก 300 ครั้ง ติดต่อกันไป (อนุรุทธสูตร) 23/122/1923/122/19 23/114/7 |
55 | [๔๔๓] ก็ชนเหล่าใดผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้น ได้ลักของ ของเรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ... (อุปักกิเลสสูตร) 23/126/123/126/1 23/116/13 |
56 | [๔๕๒-๔๖๓] เหตุที่ทำให้ แสงสว่าง และการเห็นรูปในสมาธิ นั้นหายไป เพราะความลังเลสงสัย, ความไม่ใส่ใจ, ความง่วงเหงา, ความหวาดเสียว, ความตื่นเต้น, ความชั่วหยาบ, ความเพียรที่ปรารภเกินไป, ความเพียรหย่อน เกินไป, ตัณหาคอยกระซิบ, ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน, ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป, สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง. (อุปักกิเลสสูตร) 23/131/523/131/5 23/121/5 |
57 | [๔๖๔] สมัยใด ไม่ใส่ใจนิมิต คือ รูป ใส่ใจนิมิต คือ แสงสว่าง สมัยนั้น ย่อม รู้สึกแสงสว่าง แต่ไม่เห็นรูป เมื่อใส่ใจนิมิต คือ รูป ไม่ใส่นิมิต คือ แสงสว่าง ย่อมเห็นรูปอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง (อุปักกิเลสสูตร) 23/136/223/136/2 23/125/17 |
58 | [๔๖๕-๔๖๖] พึงละธรรมเครื่อง เกาะจิตให้เศร้าหมอง 11 ประการ แล้วเจริญ สมาธิโดยส่วน 3. (อุปักกิเลสสูตร) 23/136/1423/136/14 23/126/2 |
59 | ชาวบ้านลงทัณฑกรรม แก่ภิกษุที่ทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี โดยการไม่ถวาย อาหารแก่ภิกษุเหล่านั้น จนกว่าจะให้พระศาสดา ทรงอดโทษ. (อ.อุปักกิเลสสูตร) 23/140/323/140/3 23/129/2 |
60 | [๔๖๘-๔๗๑] ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นพาลของคนพาล มี 3 อย่าง คือ คนพาลมักคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว. ฉะนั้น พวกบัณฑิต จึงรู้ได้ว่านี่เป็นคนพาล และคนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส 3 อย่างในปัจจุบัน (พาลบัณฑิตสูตร) 23/147/623/147/6 23/136/8 |
61 | [๔๗๒-๔๗๔] แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงนรกเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ง่ายนัก. (พาลบัณฑิตสูตร) 23/150/823/150/8 23/138/21 |
62 | [๔๗๕] การจองจำ 5 ประการ ที่นายนิรยบาลกระทำแก่สัตว์นรก(พาลบัณฑิตสูตร) 23/152/223/152/2 23/140/9 |
63 | [๔๗๖-๔๘๐] คนพาลผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส เมื่อทำกรรมลามกตายแล้ว จะได้เกิดเป็นสัตว์ จำพวกมีหญ้าเป็นอาหาร มีคูถเป็นอาหาร พวกที่เกิดแก่ตายใน ที่มืดพวกเกิดแก่ตายในน้ำ พวกเกิดแก่ตายในของโสโครก. (พาลบัณฑิตสูตร) 23/153/1223/153/12 23/141/18 |
64 | [๔๘๑] ทรงเปรียบคนพาลผู้ไปสู่วินิบาต คราวหนึ่งแล้วกว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ นั้นแสนยาก ดุจทุ่นมีบ่วงตาเดียวกับ เต่าตาบอดในมหาสมุทร. (พาลบัณฑิตสูตร) 23/155/1123/155/11 23/143/9 |
65 | [๔๘๒] คนพาลนั้น ถ้าจะมาสู่ความเป็นมนุษย์บางครั้งบางคราว ย่อมเกิดในสกุล ต่ำเป็นคนจนมีชีวิตเป็นไปลำบาก เขาจะประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. (พาลบัณฑิตสูตร) 23/156/323/156/3 23/143/24 |
66 | [๔๘๙-๔๙๖] แก้ว 7 ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ (พาลบัณฑิตสูตร) 23/160/123/160/1 23/147/1 |
67 | อรรถกถาอธิบายไว้ 23/171/1923/171/19 23/158/8 |
68 | [๔๙๗-๕๐๐] พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วย ความสัมฤทธิผล 4 อย่าง 23/165/123/165/1 23/151/16 |
69 | [๕๐๑] สุขโสมนัสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ (พาลบัณฑิตสูตร) 23/166/1123/166/11 23/152/25 |
70 | [๕๐๖-๕๑๑] พระยายมถามสัตว์นรกถึงเทวทูตทั้ง 5 คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย. การถูกทำโทษ (เทวทูตสูตร) 23/190/623/190/6 23/177/3 |
71 | [๕๑๒-๕๑๓] การจองจำ 5 ประการ ที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก (เทวทูตสูตร) 23/196/1623/196/16 23/182/17 |
72 | [๕๑๔-๕๑๗] มหานรก (เทวทูตสูตร) 23/197/823/197/8 23/183/8 |
73 | [๕๑๘-๕๒๓] นรกคูถ นรกเถ้ารึง ป่างิ้วใหญ่ ป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบ แม่น้ำใหญ่ น้ำเป็นด่าง... (เทวทูตสูตร) 23/199/223/199/2 23/185/2 |
74 | [๕๒๔] พระยายมปรารถนาความเป็นมนุษย์ ขอให้ได้พบพระพุทธเจ้าขอให้ได้ ฟังธรรม และรู้ทั่วถึงธรรมของพระพุทธองค์ (เทวทูตสูตร) 23/200/1723/200/17 23/186/17 |
75 | [๕๒๕] นรชนเหล่าใดยังเป็นมาณพ อันเทวทูตตักเตือนแล้วประมาทอยู่นรชน เหล่านั้น จะเข้าถึงหมู่สัตว์เลวเศร้าโศกสิ้นกาลนาน (เทวทูตสูตร) 23/201/623/201/6 23/187/2 |
76 | พระราชาของเวมานิกเปรต ชื่อว่าพญายม (อ.เทวทูตสูตร) 23/202/1923/202/19 23/188/17 |
77 | ผู้ใดทำบาปกรรมไม่มาก จะได้การถามถึงเทวทูตทั้ง 5 จากพญายม แต่ผู้ใดทำ กรรมมาก ผู้นั้นจะไปเกิดในนรกเลย (อ.เทวทูตสูตร) 23/205/123/205/1 23/190/25 |
78 | ตัวอย่าง ทมิฬ ชื่อ ฑีฆทันตะ(ตายแล้ว) เกิดใกล้อุสสุทนรกได้ยินเสียงเปลวไฟอยู่ แต่เขานึกถึง การที่เขาบูชาเจดีย์ด้วยผ้าสีแดงได้ จึงไปเกิดบนสวรรค์ (อ.เทวทูตสูตร) 23/205/623/205/6 23/191/6 |
79 | ให้ส่วนบุญแก่พญายมราช (อ.เทวทูตสูตร) 23/205/1623/205/16 23/191/17 |
80 | ขนาดของ อเวจีมหานรก และ ความหมายของ อเวจี (อ.เทวทูตสูตร) 23/205/2223/205/22 23/191/25 |
81 | เทวทูตสูตร นี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงเว้นเลย (อ.เทวทูตสูตร) 23/208/1423/208/14 23/195/11 |
82 | [๕๒๗] พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เพราะว่า ความผัดเพี้ยน กับมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนี ผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวัน และกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ. (ภัทเทกรัตตสูตร) 23/210/1323/210/13 23/197/13 |
83 | [๕๒๘-๕๓๓] วิภังค์(คำจำแนกความ) ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ (ภัทเทกรัตตสูตร) 23/211/723/211/7 23/198/7 |
84 | [๕๓๗-๕๔๔] พระอานนท์ กล่าวอุเทศ และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ แก่ภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา (อานันทภัทเทกรัตตสูตร) 23/219/1923/219/19 23/205/22 |
85 | [๕๔๙-๕๕๐] เทวดา บอกพระสมิทธิให้เล่าเรียน และทรงจำอุเทศ และวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ (มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร) 23/226/923/226/9 23/211/10 |
86 | [๕๕๑-๕๖๒] พระสมิทธิเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ๆ ทรงแสดง แต่คาถา ของบุคคล ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ภิกษุทั้งหลายจึง ไปถามพระมหากัจจายนะ พระเถระเป็นผู้ อธิบายขยายความให้ ภิกษุเหล่านั้นฟัง (มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร) 23/228/423/228/4 23/212/23 |
87 | แม่น้ำตโปทา ไหลมาในระหว่าง มหาโลหกุมภีนรก แม่น้ำนั้น จึงเดือดพล่าน ไหลมา. (อ.มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร) 23/240/323/240/3 23/223/4 |
88 | [๕๖๕-๕๗๘] จันทนเทวบุตร บอกให้ พระโลมสกังคิยะ เรียนอุเทศ และวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรี เดียวเจริญ. พระเถระจึงเดินทางไปถามพระพุทธองค์ ๆ ทรงแสดงให้ฟังทั้ง อุเทศ และวิภังค์ (โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร) 23/242/323/242/3 23/225/8 |
89 | สมัยที่พระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ภพดาวดึงส์ อันเทวดาหมื่นจักรวาลมาประชุม กันแล้ว ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดาให้เป็นกายสักขี และได้ตรัสอุเทศ และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรี หนึ่งเจริญไว้ด้วย (อ.โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร) 23/249/2023/249/20 23/231/23 |
90 | [๕๘๑] สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น แดนเกิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้เลว และประณีตได้ (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/251/1723/251/17 23/233/10 |
91 | [๕๘๒] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงเป็นคน เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่น ในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่า สัตว์มีชีวิต (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/252/623/252/6 23/233/19 |
92 | [๕๘๔] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ มีโรคมาก คือ เป็นผู้มีปกติ เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ หรือศาสตรา (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/253/323/253/3 23/234/13 |
93 | [๕๘๖] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม คือ เป็นคนมักโกรธมากด้วยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/253/1723/253/17 23/235/3 |
94 | [๕๘๘] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจ อิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น. (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/254/1323/254/13 23/235/25 |
95 | [๕๙๐] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะ หรือ พราหมณ์ (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/255/823/255/8 23/236/19 |
96 | [๕๙๒] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่ กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่ สมควรแก่อาสนะ.... ไม่บูชาคนที่ควรบูชา. (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/256/323/256/3 23/237/13 |
97 | [๕๙๔] ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือ พราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล/อกุศล อะไรมีโทษ/ไม่มีโทษ อะไรควร เสพ/ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน . (จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/257/523/257/5 23/238/14 |
98 | สุภมาณพ ถูกเรียกโดย โวหารนี้ แม้ในกาลเป็นคนแก่ (อ.จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/260/323/260/3 23/240/20 |
99 | โตเทยยพราหมณ์ เป็นคนขี้ตระหนี่ ตายแล้ว เกิดเป็นสุนัข ในเรือนของตน สุภมาณพผู้เป็นบุตรได้เกิดความรักสุนัขตัวนี้มาก. (อ.จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/260/723/260/7 23/241/4 |
100 | กรรมมี 4 ประเภท คือ อุปปีฬกกรรม(กรรมที่เข้าไปเบียดเบียน) อุปัจเฉทกกรรม (กรรมตัดรอน) ชนกกรรม(กรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ) อุปัตถัมภกกรรม(กรรม สนับสนุน) (อ.จูฬกัมมวิภังคสูตร) 23/263/1823/263/18 23/244/15 |
101 | [๖๐๓] พระพุทธองค์ ทรงจำแนก มหากัมมวิภังค์ ตรัสบุคคล 4 จำพวก คือ ผู้มักประกอบอกุศลกรรมบถ 10 เมื่อตายแล้วไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี ไปสวรรค์ก็มี, ผู้มักประกอบกุศลกรรมบถ 10 เมื่อตายแล้วไปสวรรค์ ก็มี ไปอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี (มหากัมมวิภังคสูตร) 23/271/123/271/1 23/251/25 |
102 | [๖๑๓] ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้วเข้า ถึงสวรรค์ เพราะว่าเขาทำกรรมที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาล ภายหลัง หรือ มีสัมมาทิฏฐิ พรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย (มหากัมมวิภังคสูตร) 23/277/1423/277/14 23/258/18 |
103 | [๖๑๕] ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้ เพราะว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็น ทุกข์ไว้ในกาลก่อนๆ หรือ ในกาลภายหลัง หรือว่า มีความเห็นผิดพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย (มหากัมมวิภังคสูตร) 23/278/623/278/6 23/259/11 |
104 | [๖๑๖] กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี. กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าควร ก็มี.กรรมที่ควรแท้ และส่องให้เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควร ก็มี. (มหากัมมวิภังคสูตร) 23/278/1323/278/13 23/259/21 |
105 | อรรถกถาอธิบายไว้ 23/283/1323/283/13 23/265/10 |
106 | [๖๑๘] พึงทราบ อายตนะภายใน 6 ภายนอก 6 หมวดวิญญาณ 6 หมวด ผัสสะ 6 ความนึกหน่วงของใจ 18 ทางดำเนินของสัตว์ 36 ใน 36 นั้น จงอาศัย ทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ 3 ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่อันเรา เรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่ง สฬายตนวิภังค์ (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/285/1023/285/10 23/266/21 |
107 | [๖๒๓] ความนึกหน่วงของใจ 18 คือ เพราะเห็นรูปด้วยตา ใจย่อมนึกหน่วง รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา... (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/286/1423/286/14 23/267/25 |
108 | [๖๒๕] โสมนัสอาศัย เรือน 6 (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/287/823/287/8 23/268/16 |
109 | [๖๒๗] โทมนัสอาศัย เรือน 6 (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/288/1923/288/19 23/269/26 |
110 | [๖๓๐] อุเบกขาอาศัย เนกขัมมะ 6 (อาศัยวิปัสสนา) (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/291/323/291/3 23/272/4 |
111 | [๖๓๒] อุเบกขาที่มี ความเป็นต่าง ๆ อาศัย อารมณ์ต่าง ๆ ก็มี อุเบกขาที่ มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/292/1823/292/18 23/273/23 |
112 | [๖๓๓-๖๓๖] การตั้งสติ 3 ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดา ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/293/1423/293/14 23/274/17 |
113 | [๖๓๗] สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกนั้น พระพุทธองค์ทรงเปรียบกับ การฝึกช้างที่ควร ฝึกให้วิ่งได้ ทั่วทั้ง 8 ทิศ (สฬายตนวิภังคสูตร) 23/295/123/295/1 23/275/24 |
114 | [๖๓๙] ภิกษุพึงพิจารณา โดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่ สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และ เหตุเกิดทุกข์ ต่อไป (อุทเทสวิภังคสูตร) 23/304/923/304/9 23/285/11 |
115 | [๖๔๔-๖๔๕] ที่เรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก และความรู้สึกไม่ ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก เมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ (อุทเทสวิภังคสูตร) 23/308/123/308/1 23/288/25 |
116 | [๖๔๖-๖๔๗] ที่เรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน และจิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน. (อุทเทสวิภังคสูตร) 23/309/123/309/1 23/290/7 |
117 | [๖๔๘-๖๔๙] ที่เรียกว่า เป็นอันสะดุ้งเพราะตามถือมั่น และเป็นอันไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น. (อุทเทสวิภังคสูตร) 23/311/1623/311/16 23/292/7 |
118 | [๖๕๔] อุเทศแห่งอรณวิภังค์ คือ ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม... ไม่พึง ปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย (อรณวิภังคสูตร) 23/319/1023/319/10 23/299/11 |
119 | [๖๕๕] ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกามอันเลว ไม่พึงประกอบความเพียร เครื่องประกอบตนให้ลำบาก (อรณวิภังคสูตร) 23/320/123/320/1 23/299/24 |
120 | [๖๕๗-๖๕๘] ที่กล่าวว่า พึงรู้จักการยกย่อง และการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. (อรณวิภังคสูตร) 23/321/1023/321/10 23/301/6 |
121 | [๖๕๙] ที่กล่าวว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้วพึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความ สุขภายใน (อรณวิภังคสูตร) 23/324/523/324/5 23/303/20 |
122 | [๖๖๐] ที่กล่าวว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า (อรณวิภังคสูตร) 23/325/323/325/3 23/304/15 |
123 | [๖๖๑-๖๖๒] ที่กล่าวว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำ ภาษาชนบท ไม่พึงกล่าวล่วงเลยคำพูดสามัญ. (อรณวิภังคสูตร) 23/325/1723/325/17 23/305/4 |
124 | [๖๖๓-๖๗๑] ความปฏิบัติผิด และความปฏิบัติชอบ ในสูตรนี้ (อรณวิภังคสูตร) 23/327/323/327/3 23/306/10 |
125 | พระสุภูติเถระ เป็นเลิศในทาง อรณวิหารี และเลิศในทางทักขิไณย. ท่านเข้า เมตตาฌาน ที่ประตูเรือน ออกจากฌาน แล้วรับไทยธรรม. (อ.อรณวิภังคสูตร) 23/333/123/333/1 23/311/23 |
126 | [๖๗๘] คนเรานี้มีธาตุ 6 มีแดนสัมผัส 6 มีความหน่วงนึกของใจ 18 มีธรรม ที่ควรตั้งไว้ในใจ 4... ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูน จาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก. (ธาตุวิภังคสูตร) 23/336/323/336/3 23/314/16 |
127 | [๖๘๔-๖๘๙] ธาตุ 6 มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ. (ธาตุวิภังคสูตร) 23/337/1423/337/14 23/316/4 |
128 | [๖๙๖-๖๙๗] ท่านปุกกุสาติ ได้ถูกแม่โคขวิดตาย ขณะกำลังเที่ยวหาบาตร จีวรอยู่. ปุกกุสาติกุลบุตรนี้ เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์ อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ 5 เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น (ธาตุวิภังคสูตร) 23/345/2023/345/20 23/324/12 |
129 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะไม่ทรงแรมคืน ในปัจจันตชนบท (อ.ธาตุวิภังคสูตร) 23/352/1023/352/10 23/330/17 |
130 | การจารึกธรรม ในครั้งพุทธกาล (อ.ธาตุวิภังคสูตร) 23/352/1623/352/16 23/330/23 |
131 | อรูปาวจรฌาน ชื่อว่า ธรรม. รูปาวจรฌาน เรียกว่า อนุธรรม เพราะเป็นธรรม คล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้น. (อ.ธาตุวิภังคสูตร) 23/370/1723/370/17 23/348/25 |
132 | อากาสานัญจายตนพรหม มีอายุ 20,000 กัป... เนวสัญญานาสัญญายตน พรหมมีอายุ 84,000 กัป (อ.ธาตุวิภังคสูตร) 23/371/2023/371/20 23/350/1 |
133 | บาตร และจีวร อันสำเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้าย เท่านั้น. (อ.ธาตุวิภังคสูตร) 23/377/1823/377/18 23/356/10 |
134 | ชนที่สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลก มี 7 คน ได้บรรลุพระอรหัต. (อ.ธาตุวิภังคสูตร) 23/379/1223/379/12 23/358/6 |
135 | [๖๙๙] พระพุทธเจ้าสรรเสริญ พระสารีบุตร ว่าเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด ส่วน พระมหาโมคคัลลานะ เปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว พระสารีบุตร ย่อมแนะนำ โสดาปัตติผล. พระมหาโมคคัลลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูงขึ้นไป . (สัจจวิภังคสูตร) 23/381/1723/381/17 23/360/10 |
136 | [๗๐๑] ความหมายของ คำว่า ชาติ ชรา มรณะ.... อุปายาส (สัจจวิภังคสูตร) 23/382/1323/382/13 23/361/8 |
137 | [๗๐๔] อธิบาย มรรคมีองค์ 8 (สัจจวิภังคสูตร) 23/385/1223/385/12 23/363/24 |
138 | พระพุทธองค์ไม่สรรเสริญภพ แม้มีประมาณน้อย เปรียบเหมือนคูถแม้มีประมาณ น้อย ก็มีกลิ่นเหม็น. (อ.สัจจวิภังคสูตร) 23/389/423/389/4 23/367/4 |
139 | [๗๐๗] พระพุทธเจ้า ตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี ถวายคู่ผ้าใหม่แก่สงฆ์เมื่อ ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้ บูชาทั้งพระพุทธเจ้า และสงฆ์ (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/391/1023/391/10 23/368/18 |
140 | [๗๐๙] บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงตรัยสรณะ, รักษาศีล หรือได้เป็น พระอริยะ พระพุทธองค์ ไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ ตอบแทนบุคคลนี้ ด้วยดีเพียง กราบไหว้ ลุกรับ และให้ปัจจัย 4 (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/392/1323/392/13 23/370/3 |
141 | [๗๑๐] ทานที่ให้เจาะจงบุคคล 14 ประเภท (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/393/823/393/8 23/371/1 |
142 | [๗๑๑] ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉานหวังผลได้ 100 เท่า ให้แก่ปุถุชนผู้ทุศีลหวัง ผลได้ 1000 เท่า (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/394/123/394/1 23/371/18 |
143 | [๗๑๒] ทักษิณา ที่ถึงแล้วในสงฆ์ มี 7 อย่าง (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/394/1123/394/11 23/372/4 |
144 | [๗๑๓] "เราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ โดยปริยายไร ๆ เลย " (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/395/123/395/1 23/372/16 |
145 | [๗๑๔-๗๑๙] ความบริสุทธิ์แห่งทาน มี 4 อย่าง (ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/395/623/395/6 23/372/22 |
146 | พระพุทธศาสนา จักตั้งอยู่ ถึง 5,000 ปี (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/401/1523/401/15 23/378/7 |
147 | พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงให้นันทกุมาร แก่แม่นม ส่วนตัวพระองค์เอง เลี้ยงพระโพธิสัตว์ (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/402/1823/402/18 23/379/11 |
148 | ความหมายของ คำว่า อภิวาทนะ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/403/923/403/9 23/380/5 |
149 | ที่ชื่อว่า ให้ผลร้อยเท่า คือ อายุ วรรณะ สุข พละ ปฏิภาณ อย่างละร้อยเท่า 23/405/123/405/1 23/381/22 |
150 | อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะ โดยที่สุดเบื้องต่ำ ชื่อว่าปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/405/923/405/9 23/382/6 |
151 | ภิกษุผู้มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นสมณะแต่ชื่อ (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/407/623/407/6 23/384/6 |
152 | ทาน ที่ได้ชื่อว่าถึงสงฆ์ และไม่ถึงสงฆ์ (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/407/1723/407/17 23/384/18 |
153 | สงฆ์ แต่ละยุคไม่ควรนำไปเข้ากัน พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น(อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/408/1923/408/19 23/386/1 |
154 | ให้ทานแก่ พระทุศีล อมนุษย์ไม่ได้บุญ (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/409/1923/409/19 23/387/3 |
155 | ทานที่พระอรหันต์ ให้แก่พระอรหันต์ นั้นแหละ เป็นทานอันเลิศ (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/410/723/410/7 23/387/19 |
156 | ทานย่อมให้ผลในอัตภาพนั้น แก่ผู้ทำความถึงพร้อม 4 ประการ คือ 1.ของที่นำมา ทำบุญเกิดขึ้นโดยธรรม 2. ความที่เจตนาด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนา เป็นต้น เป็น ธรรมใหญ่ 3. ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศ 4. ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็น ผู้ออกแล้วจากนิโรธในวันนั้น (อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) 23/410/1723/410/17 23/388/5 |
157 | [๗๒๑-๗๒๖] อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วยหนัก จึงส่งคนไปนิมนต์พระสารีบุตรโดย มีพระอานนท์เป็นพระติดตาม เข้าไปแสดงธรรมให้ฟัง (อนาถปิณฑิโกวาทสูตร) 23/412/1823/412/18 23/389/20 |
158 | [๗๒๗-๗๓๖] พระสารีบุตรแสดงธรรม แก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่าด้วยความไม่ ยึดมั่นอายตนภายใน 6, อายตนภายนอก 6, พวกวิญญาณ 6, พวกผัสสะ 6, พวกเวทนา 6, ธาตุ 6, ขันธ์ 5, อรูป 4, โลกนี้ และโลกหน้า (อนาถปิณฑิโกวาทสูตร) 23/414/1323/414/13 23/391/8 |
159 | [๗๓๘] เมื่อพระสารีบุตรหลีกไปไม่นาน อนาถบิณฑิกคฤหบดีก็ตายไปเกิดอยู่ สวรรค์ชั้นดุสิต และได้ลงมาเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า (อนาถปิณฑิโกวาทสูตร) 23/420/423/420/4 23/396/4 |
160 | สมัยที่เกิดเวทนาชนิดที่มีความตายเป็นที่สุดขึ้นมานั้น ย่อมเป็นเหมือนกระพือลม บนไฟที่ลุกโพลง ตลอดเวลาที่ไออุ่นยังไม่ดับ ต่อให้ใช้ความเพียรใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่อาจทำให้เวทนานั้นระงับไปได้ แต่จะระงับไปได้ก็ต่อเมื่อไออุ่นดับไปแล้ว . (อ.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร) 23/423/1423/423/14 23/398/18 |
161 | อนาถบิณฑิกอุบาสกนี้ ยินดียิ่งในทานมีคติแบบโพธิสัตว์ตลอดเวลา 24 ปี โดย มากพระพุทธเจ้าตรัสแต่ทานกถา เท่านั้นแก่อุบาสก. (อ.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร) 23/425/723/425/7 23/400/10 |
162 | อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้น พอเกิดในชั้นดุสิตก็เห็นอัตภาพขนาด 3 คาวุตและ สมบัติของตน จึงสำรวจดูว่าเราได้ทำอะไรไว้ในถิ่นมนุษย์ ได้เห็นการกระทำ อย่างยิ่งในไตรรัตน์ จึงคิดว่าความเป็นเทพนี้เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท จึงรีบ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า (อ.อนาถปิณฑิโกวาทสูตร) 23/426/223/426/2 23/401/4 |
163 | [๗๔๒-๗๔๘] พระฉันนะ ป่วยหนัก ใกล้ตาย พระสารีบุตร และพระจุนทะได้ เข้าไปเยี่ยมพระฉันนะ จึงบอกว่าขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันนภิกษุจักหา ศาสตรามาฆ่าตัวตาย อย่างมิให้ถูกตำหนิได้. (ฉันโนวาทสูตร) 23/428/723/428/7 23/403/9 |
164 | [๗๕๓] " บุคคลใดแลทิ้งกายนี้ และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่าควร ถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาสตรามาฆ่าตัวตาย อย่างไม่ควรถูกตำหนิ " (ฉันโนวาทสูตร) 23/433/823/433/8 23/407/18 |
165 | พระฉันนะ สำเร็จพระอรหันต์ เป็นสมสีสี แล้วก็ปรินิพพาน (อ.ฉันโนวาทสูตร) 23/435/823/435/8 23/409/15 |
166 | [๗๕๔-๗๕๖] พระปุณณะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขอโอวาทโดยย่อ. พระองค์ทรง แสดง ทุกข์ที่เกิดจาก ความเพลิดเพลินในอายตนะ และความดับทุกข์นั้น. (ปุณโณวาทสูตร) 23/436/223/436/2 23/410/9 |
167 | [๗๕๗-๗๖๒] ทรงสอบถามพระปุณณะว่าจะทำอย่างไร ? เมื่อพวกมนุษย์ชาว สุนาปรันตชนบทผู้ดุร้าย หยาบคายนั้นจะด่า หรือจะประหารท่านพระปุณณะ ด้วยศาสตรา. (ปุณโณวาทสูตร) 23/438/423/438/4 23/412/8 |
168 | เรื่อง พระปุณณะ กับชาวสุนาปรันตชนบท. (อ.ปุณโณวาทสูตร) 23/443/1023/443/10 23/416/13 |
169 | จันทน์แดง ขนาดยาว 4 นิ้ว ก็ราคาตั้งแสน (อ.ปุณโณวาทสูตร) 23/445/2023/445/20 23/418/25 |
170 | คนทำลายป่า เทวดาโกรธ (อ.ปุณโณวาทสูตร) 23/446/123/446/1 23/419/4 |
171 | พระพุทธเจ้าเสด็จ มาสุนาปรันตชนบท ตั้งแต่ ชาวบ้านเริ่มสร้างโรงประรำ (อ.ปุณโณวาทสูตร) 23/447/123/447/1 23/420/3 |
172 | ดาบสสัจจพันธ์ได้ฟังธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นเอหิภิกษุ (อ.ปุณโณวาทสูตร) 23/448/723/448/7 23/421/7 |
173 | พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา และบนหลังแผ่นหิน ที่ภูเขาสัจจพันธ์ (อ.ปุณโณวาทสูตร) 23/449/623/449/6 23/422/8 |
174 | [๗๖๘] ท่านพระนันทกะ ได้เข้าไปโอวาท พวกภิกษุณี และ เปิดโอกาสให้ ซักถามได้ (นันทโกวาทสูตร) 23/451/423/451/4 23/424/2 |
175 | [๗๖๙-๗๗๘] ท่านพระนันทกะ ได้เข้าไปโอวาทภิกษุณี ด้วย อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6 กองแห่งวิญญาณ 6 เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายใน เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอก โพชฌงค์ 7 (นันทโกวาทสูตร) 23/451/1323/451/13 23/424/10 |
176 | [๗๙๔] บรรดาภิกษุณี ทั้งหมด 500 รูป ที่พระนันทกะโอวาทนั้น รูปสุดท้ายยัง เป็นถึงพระโสดาบัน (นันทโกวาทสูตร) 23/470/1023/470/10 23/441/12 |
177 | ในอดีตกาลท่านพระนันทกะเคยเป็นพระราชา ส่วนภิกษุณี 500 เหล่านั้น เป็น นางสนม. (อ.นันทโกวาทสูตร) 23/471/1623/471/16 23/442/19 |
178 | [๗๙๖-๘๐๙] พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระราหุล และมีเทวดาหลายพันแวดล้อม ในป่าอันธวัน ทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของ อายตนะภายใน และอายตนะ ภายนอกกองแห่งวิญญาณ 6 กองแห่งสัมผัส 6 และเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ กองแห่งผัสสะ 6 เป็นปัจจัย. จบเทศนาพระราหุลบรรลุ อรหันต์ เทวดาหลายพันองค์นั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม (จูฬราหุโลวาทสูตร) 23/477/823/477/8 23/448/9 |
179 | ธรรม 15 อย่าง เป็นเครื่องบ่มอินทรีย์ (อ.จูฬราหุโลวาทสูตร) 23/483/423/483/4 23/454/5 |
180 | ความปรารถนา ของพญานาคปาลิต กับเทวดา (อ.จูฬราหุโลวาทสูตร) 23/484/1723/484/17 23/455/22 |
181 | [๘๑๐] "เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก 6 หมวด พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป " (ฉฉักกสูตร) 23/486/223/486/2 23/456/15 |
182 | [๘๑๒-๘๑๓] อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6. (ฉฉักกสูตร) 23/486/1423/486/14 23/457/8 |
183 | [๘๑๔-๘๑๕] หมวดวิญญาณ 6 หมวดผัสสะ 6. (ฉฉักกสูตร) 23/487/323/487/3 23/457/18 |
184 | [๘๑๖-๘๑๗] หมวดเวทนา 6 หมวดตัณหา 6. (ฉฉักกสูตร) 23/487/2023/487/20 23/458/21 |
185 | [๘๑๘-๘๑๙] อายตนะภายในไม่เป็นตัวตน , อายตนะภายนอกไม่เป็นตัวตน หมวดวิญญาณ 6 ไม่เป็นตัวตน,หมวดผัสสะ 6 ไม่เป็นตัวตน, หมวดเวทนา 6 ไม่เป็นตัวตน, หมวดตัณหา 6 ไม่เป็นตัวตน. (ฉฉักกสูตร) 23/489/123/489/1 23/459/21 |
186 | [๘๒๐-๘๒๑] ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้น แห่งสักกายะ (กายของตน) และ ความดับแห่งสักกายะ (ฉฉักกสูตร) 23/492/823/492/8 23/462/19 |
187 | [๘๒๒-๘๒๓] ข้อที่บุคคลยังไม่ละราคานุสัย เพราะสุขเวทนายังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำ วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน ได้นั่นไม่ใช่ ฐานะที่มีได้ (ฉฉักกสูตร) 23/493/1423/493/14 23/464/7 |
188 | [๘๒๔] อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ... ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่าชาติ สิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี. ที่สุดเทศนา ภิกษุ 60 รูป บรรลุอรหันต์ (ฉฉักกสูตร) 23/496/123/496/1 23/466/19 |
189 | แม้เมื่อพระอัครสาวก และพระมหาสาวก แสดงสูตรนี้ ก็มีภิกษุ 60 รูป บรรลุเป็น พระอรหันต์ , พระมาไลยเทพในเกาะลังกา แสดงสูตรนี้ในที่ 60 แห่ง มีผู้หลุดพ้น แห่งละ 60 รูป. (อ.ฉฉักกสูตร) 23/498/2123/498/21 23/469/16 |
190 | [๘๒๙] อุปาทานขันธ์ 5 ชื่อว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้, อวิชชา และภวตัณหา ชื่อว่า ธรรมที่ควรละ สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำ ให้แจ้ง คือ วิชชา และวิมุตติ (สฬายตนวิภังสูตร) 23/504/523/504/5 23/474/13 |
191 | [๘๓๐] บุคคลที่ได้ ชื่อว่า มีมรรค 8 อันประเสริฐ ถึงความเจริญบริบูรณ์ (สฬายตนวิภังสูตร) 23/504/1423/504/14 23/474/23 |
192 | ภิกษุผู้มีวาจา การงาน และอาชีพหมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก 5 องค์ คือ ความ เห็น ความดำริ ความพยายาม ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่า เป็นองค์ที่ สนับสนุนในทุกกรณี (อ.สฬายตนวิภังสูตร) 23/507/1523/507/15 23/477/20 |
193 | [๘๓๓-๘๓๔] สมณพราหมณ์เช่นไร เป็นผู้ควรสักการะ และสมพราหมณ์เช่นไร เป็นผู้ไม่ควรสักการะ (นครวินเทยยสูตร) 23/510/423/510/4 23/480/11 |
194 | [๘๓๕] อาการ และความเป็นไป ของท่านผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ หรือ ผู้ปฏิบัติเพื่อความปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ (นครวินเทยยสูตร) 23/512/2023/512/20 23/483/1 |
195 | เราเองยังไม่มองเห็นรูปอย่างอื่น แม้สักรูปเดียว ที่ยึดจิตชายตั้งอยู่อย่างนี้เหมือน รูปหญิงนี้เลย (อ.นครวินเทยยสูตร) 23/514/1123/514/11 23/484/17 |
196 | [๘๓๗-๘๕๒] พระพุทธองค์ สรรเสริญ พระสารีบุตร ที่อยู่ด้วย สุญญตสมาบัติ และทรงแสดง การพิจารณา ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นภิกษุพึงสำเหนียกว่า จักพิจารณาแล้ว ๆ ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ 23/515/223/515/2 23/485/3 |
197 | สุญญตวิหาร คือ ผลสมาบัติ ที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นธรรมเครื่อง อยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่ของพระตถาคต เจ้าผู้เป็นมหาบุรุษ. (อ.ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร) 23/521/623/521/6 23/491/2 |
198 | การพิจารณาของภิกษุ แต่ละรูป ย่อมแตกต่างกันไป. (อ.ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร) 23/521/1723/521/17 23/491/16 |
199 | [๘๕๖-๘๖๑] ภิกษุเกิดความชอบใจ/ไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูป, ได้ยินเสียง ดมกลิ่น, ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ เธอรู้ชัดว่า เราเกิดความชอบใจ/ไม่ชอบใจ แล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้น เป็นสังขตะ(สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) หยาบอาศัยกันเกิดขึ้นยังมี สิ่งละเอียด ประณีตนั้น คือ อุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ/ไม่ชอบใจอันเกิดขึ้น แล้วเสีย... นี้เรียกว่า การเจริญอินทรีย์ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในธรรมวินัยของ พระอริยะ (อินทริยภาวนาสูตร) 23/524/923/524/9 23/493/15 |
200 | [๘๖๒] ที่ชื่อว่า พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ (อินทริยภาวนาสูตร) 23/527/1323/527/13 23/496/12 |
201 | [๘๖๓-๘๖๔] พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมสามารถเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นปฏิกูล หรือ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูล หรือ วางเฉย ในสิ่งนั้น ๆ ได้ (อินทริยภาวนาสูตร) 23/528/123/528/1 23/496/26 |
202 | ภิกษุผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าไม่น่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุย่อมแผ่เมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยเป็นธาตุ. ภิกษุผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าน่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยอสุภะ หรือน้อมนำเข้าไปโดยความไม่เที่ยง (อ.อินทริยภาวนาสูตร) 23/531/1123/531/11 23/500/15 |
203 | อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนีนี้ ถือเอาสาระจากมหาอรรถกถา . (อ.อินทริยภาวนาสูตร) 23/533/423/533/4 23/503/7 |