1 | [๗] ธรรม 5 ประการ มี วิบาก 2 ทางในปัจจุบัน คือ ความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ (เทวทหสูตร) 22/6/18 22/6/9 |
2 | [๑๑] วาทะ 10 ประการ ของพวกนิครนถ์ นั้น น่าตำหนิ และแสดงถึงความเพียร ก็ไร้ผล. (เทวทหสูตร) 22/11/1 22/10/4 |
3 | [๑๒] ทำอย่างไรความพยายามจึงจะมีผล ความเพียรจึงจะมีผล คือ 1. ไม่เอา ทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ ทับถม 2.ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม 3. ไม่เป็น ผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น (เทวทหสูตร) 22/13/1 22/12/7 |
4 | [๒๗] วาทะ 10 ประการ อันชอบด้วยเหตุของพระตถาคต ย่อมถึงฐานะควร สรรเสริญ (เทวทหสูตร) 22/22/11 22/21/5 |
5 | เรื่องคนเข็ญใจ ชื่อปุณณะ ได้ทำบุญกับพระสารีบุตร ซึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ. แล้วได้เป็นเศรษฐี ในวันนั้น. (อ.เทวทหสูตร) 22/27/14 22/26/17 |
6 | เรื่องภรรยาของคนเข็ญใจ ชื่อกาฬวฬิยะ ได้ทำบุญกับพระมหากัสสปเถระ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ พระพุทธองค์ พยากรณ์ว่า อีก 7 วัน นายกาฬวฬิยะ จะได้ฉัตรเศรษฐี. (อ.เทวทหสูตร) 22/28/20 22/27/20 |
7 | นันทยักษ์ เห็นพระสารีบุตร มีผมที่ปลงไว้ใหม่ๆ นั่งอยู่กลางแจ้งในเวลา กลางคืน ใคร่จะตีศีรษะพระเถระ แม้จะถูกห้ามปรามก็ยังตีจนได้ แล้วก็จม ลงในแผ่นดินไปเกิดในนรก (อ.เทวทหสูตร) 22/30/18 22/29/15 |
8 | ข้อเปรียบเทียบ ภิกษุกับการรักษาร่างกาย เปรียบด้วยบุรุษผู้มีความกำหนัดต่อ ภรรยาที่นอกใจ (อ.เทวทหสูตร) 22/34/11 22/33/5 |
9 | [๓๕] ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ของสมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะว่า อัตตา และโลกเที่ยงนั้น จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม เขาว่า ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐินั้น ไม่ใช่ฐานะ ที่มีได้ (ปัญจัตตยสูตร) 22/45/3 22/42/24 |
10 | [๔๐] สมณะ หรือพราหมณ์ บางคนในโลกนี้.... ก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ ก็มิใช่สุขก็มิใช่ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน แต่ก็ยัง ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ (ปัญจัตตยสูตร) 22/50/3 22/47/12 |
11 | [๔๑] บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะ ทั้ง 6 ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น. (ปัญจัตตยสูตร) 22/51/4 22/48/11 |
12 | สัตว์ 4 จำพวก ย่อมกลัวต่อสิ่งที่ไม่ควรกลัว ได้แก่ ไส้เดือนย่อมไม่กินดินเพราะ กลัวว่า แผ่นดินจะหมด นกกะเรียนย่อมยืนเท้าเดียว เพราะกลัวว่าแผ่นดินจะ ทรุด, นกต้อยตีวิดนอนหงาย เพราะกลัวว่าฟ้าจะถล่ม พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะกลัวว่าโลกจะขาดสูญ. (อ.ปัญจัตตยสูตร) 22/58/10 22/55/20 |
13 | ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด อุปาทายรูป (รูปที่ อาศัยมหาภูต 4) ที่ยาว สั้น ละเอียด หยาบ งาม และไม่งาม ย่อมไม่ ตั้งอยู่ในที่นั้น นามรูปย่อมดับหมดในที่นั้น. (อ.ปัญจัตตยสูตร) 22/64/2 22/61/11 |
14 | [๔๔-๔๘] เมื่อภิกษุทั้งหลาย นั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกัน ในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป. พระพุทธองค์จึงทรงแสดงข้อแก้ไข ในความถือต่างกัน ในอรรถและพยัญชนะ ข้อใด เป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น (กินติสูตร) 22/66/1 22/62/22 |
15 | [๔๙] การสอบสวนบุคคล ผู้ต้องอาบัติ ถ้าตนอาจจะพูดให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็ควรพูด (กินติสูตร) 22/68/15 22/65/9 |
16 | [๔๙] การสอบสวนบุคคล ผู้ต้องอาบัติ ถ้าจะลำบาก และขัดใจไม่สามารถให้ เขาอยู่ในกุศลได้ ให้ใช้อุเบกขาในบุคคลเช่นนี้ (กินติสูตร) 22/69/20 22/66/11 |
17 | อรรถ และพยัญชนะที่เป็นเหตุให้เข้าใจความนั่นแล เป็นธรรมและวินัย. ในพระสูตร พยัญชนะย่อมชื่อว่า ไม่เป็นประมาณเลย แต่พระวินัย ต้องบริสุทธิ์ทั้งอรรถ (ใจความ) และพยัญชนะ (อักษร) (อ.กินติสูตร) 22/73/1 22/69/8 |
18 | [๕๔] เมื่อพระพุทธเจ้าล่วงลับไป บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระพุทธเจ้าอยู่นั้น จะพึง ก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุ อาชีวะอันยิ่ง หรือปาติโมกข์อันยิ่งนั้นเล็กน้อย. ส่วนวิวาทที่เกิด เพราะเหตุ มรรค หรือปฏิปทานั้น เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. (สามคามสูตร) 22/79/15 22/75/13 |
19 | [๕๕-๕๖] มูลเหตุแห่งความวิวาท 6 อย่าง มีภิกษุเป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ เป็นต้น (สามคามสูตร) 22/80/7 22/76/2 |
20 | [๕๗-๖๔] อธิกรณ์ (เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ) 4 อย่าง และวิธีระงับอธิกรณ์ 7 อย่าง (สามคามสูตร) 22/81/22 22/78/2 |
21 | [๖๕-๖๖] สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน 6 อย่าง ภิกษุ พึงสมาทาน สาราณียธรรมนี้ ประพฤติเถิดข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. (สามคามสูตร) 22/86/5 22/82/4 |
22 | นิครนถ์นาฏบุตร เป็นชาวนาลันทา เมื่อใกล้ตายเขาคิดตกลงใจว่า ลัทธิของเรา ไม่เป็นสาระ เราฉิบหายก่อน คนที่เหลืออย่าได้แออัดในอบายเลยจึงทำอุบาย ให้ลูกศิษย์แตกเป็น 2 ฝ่าย ในคำสอนของตน เพื่อเขาเหล่านั้นจะได้ไปถาม พระพุทธเจ้า (อ.สามคามสูตร) 22/90/10 22/85/20 |
23 | อานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงไป ธรรมและวินัย อันนั้น จะเป็นศาสดาของพวกเธอ . (อ.สามคามสูตร) 22/91/20 22/87/4 |
24 | ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ ด้วยทรัพย์ อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณ น้อย เหมือนคนก่อกองไฟกองน้อย ให้เป็นกองใหญ่ฉะนั้น (อ.สามคามสูตร) 22/93/1 22/88/3 |
25 | เมื่อภิกษุ 2 รูปวิวาทกัน ย่อมเกิดแตกเป็น 2 ฝ่าย จนถึง พรหมโลก. . (อ.สามคามสูตร) 22/93/13 22/88/15 |
26 | ตัวอย่าง ภิกษุผู้บอกกรรมฐานผิดๆ ให้แก่ภิกษุ และชาวบ้าน ภิกษุผู้ประพฤติ ตาม ถ้ายังไม่ละลัทธินั้นตราบใด. สวรรค์ก็ดี มรรคก็ดี ก็ถูกห้ามอยู่ตราบนั้น . (อ.สามคามสูตร) 22/95/14 22/90/20 |
27 | ความหมาย ของอธิกรณ์ 4 และวิธีระงับอธิกรณ์ (อ.สามคามสูตร) 22/99/1 22/94/7 |
28 | เมื่อว่าโดยปริยายพระสูตร สภาวะนี้ คือ การกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ ให้พินาศ การสำรวม การละ การพิจารณา ชื่อว่า วินัย (อ.สามคามสูตร) 22/103/11 22/98/15 |
29 | [๖๙] ภิกษุที่มาพยากรณ์ อรหันตผลในสำนักของพระพุทธเจ้า นั้น ที่บรรลุจริง ก็มี ที่สำคัญตนว่าได้บรรลุก็มี พวกที่สำคัญผิดนี้ พระองค์จะแสดงธรรมแก่ ภิกษุเหล่านั้น. (สุนักขัตตสูตร) 22/107/20 22/102/23 |
30 | [๗๑-๗๔] บุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส(เครื่องล่อให้ติดอยู่ในโลก) ถนัดแต่ เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมคบแต่คนชนิดเดียวกัน. พวกที่ถนัด อาเนญชสมาบัติ, อากิญจัญญายตนสมาบัติ, เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ย่อมคบแต่คนชนิดเดียวกัน. (สุนักขัตตสูตร) 22/109/6 22/104/3 |
31 | [๗๖] ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์ไม่เป็นที่สบายของใจ อันน้อมไปใน นิพพานโดยชอบ ได้แก่ การเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบาย เป็นต้น แล้วราคะพึงตาม กำจัดจิต ภิกษุนั้นพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย , ก็ความตายนี้ในอริยวินัย ได้แก่ ลักษณะที่ภิกษุบอกคืนสิกขา, ส่วนทุกข์ปางตาย ได้แก่ ลักษณะ ที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมอง ข้อใดข้อหนึ่ง. (สุนักขัตตสูตร) 22/114/8 22/108/21 |
32 | [๗๗] อุปมาในสูตรนี้ คำว่า แผลเป็นชื่อของ อายตนะภายใน, โทษ คือ พิษเป็น ชื่อของตัณหา, เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ , ศัสตราเป็นชื่อของปัญญาของพระอริยะ , หมอผ่าตัด เป็นชื่อของ พระตถาคต. (สุนักขัตตสูตร) 22/117/8 22/111/15 |
33 | ความว่า อัญญา คือ พระอรหัต (อ.สุนักขัตตสูตร) 22/119/5 22/113/3 |
34 | ไม่เป็นสัปปายะ(เป็นที่สบาย) แก่ปุถุชนด้วยอารมณ์ใด ก็ไม่เป็นสัปปายะเลย แม้แก่พระขีณาสพ ด้วยอารมณ์นั้น. (อ.สุนักขัตตสูตร) 22/122/19 22/116/22 |
35 | พระขีณาสพ จักน้อมกายเข้าไป หรือจักยังจิตให้เกิดขึ้น เพื่อเสพกามคุณ 5 นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ (อ.สุนักขัตตสูตร) 22/124/7 22/118/10 |
36 | [๘๑] ลักษณะของกาม ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคนพาล กามทั้งที่มีใน ภพนี้ และภพหน้า เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจร ของมาร บาปอกุศลทางใจ เหล่านี้ คือ ความเพ่งเล็ง, พยาบาท, การแข่งดี. เป็นอยู่ในกามนี้ กามนั่นเอง ย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ ในธรรมวินัยนี้ (อาเนญชสัปปายสูตร) 22/125/7 22/119/7 |
37 | [๘๒-๘๔] ปฏิปทา มีอาเนญชสมาบัติ (สมาบัติอันไม่หวั่นไหว) เป็นที่สบาย ข้อที่ 1-3 (อาเนญชสัปปายสูตร) 22/125/15 22/119/15 |
38 | [๘๕-๘๗] ปฏิปทามี อากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย ข้อที่ 1-3 . (อาเนญชสัปปายสูตร) 22/127/6 22/121/1 |
39 | [๘๘] ปฏิปทามี เนวสัญญานาสัญญายาตนสมาบัติเป็นที่สบาย . (อาเนญชสัปปายสูตร) 22/128/10 22/122/4 |
40 | [๙๐] ภิกษุผู้ยึดมั่นในอุเบกขาอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้ (อาเนญชสัปปายสูตร) 22/129/7 22/123/1 |
41 | [๙๒] " กิจใดอันศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อน ในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ " (อาเนญชสัปปายสูตร) 22/130/16 22/124/9 |
42 | ความผ่องใส มี 2 อย่าง คือ ความผ่องใสด้วยการน้อมใจเชื่อ ความผ่องใส ด้วยการได้มา (อ.อาเนญชสัปปายสูตร) 22/133/17 22/127/15 |
43 | ภิกษุทำฌาน 3 ให้เป็นบาท ในการเจริญวิปัสสนา เมื่อไม่ได้ทำให้แจ้งพระอรหัต แต่นั้นก็ถอยมาเข้า ฌาน 4
(อ.อาเนญชสัปปายสูตร) 22/135/1 22/128/20 |
44 | หากว่า บุญปรุงแต่งสังขารนั้น วิญญาณย่อมเข้าถึงบุญ , หากอกุศลปรุงแต่ง สังขารนั้นวิญญาณย่อมเข้าถึงอกุศล, หากอาเนญชะ ปรุงแต่งสังขารนั้น วิญญาณย่อม เข้าถึง อาเนญชะ (อ.อาเนญชสัปปายสูตร) 22/136/12 22/130/5 |
45 | ภิกษุผู้มีอาลัยในวิปัสสนา ย่อมไม่ปรินิพพานในศาสนาของเรา ก็ภิกษุใดมีอาลัย ในวิหาร บริเวณ และอุปัฏฐาก เป็นต้น ข้อที่จะพึงกล่าวในภิกษุนั้นย่อมไม่มี . (อ.อาเนญชสัปปายสูตร) 22/140/16 22/134/15 |
46 | แสดงวิปัสสนาของพระสุกขวิปัสสก ซึ่งหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น . (อ.อาเนญชสัปปายสูตร) 22/141/9 22/135/9 |
47 | [๙๔-๑๐๐] การศึกษา และการปฏิบัติเป็นไปโดยลำดับในธรรมวินัยนี้ . (คณกโมคคัลลานสูตร) 22/144/1 22/137/23 |
48 | [๑๐๓] พระตถาคตเป็นผู้บอกหนทาง. (คณกโมคคัลลานสูตร) 22/149/1 22/142/13 |
49 | พระขีณาสพ 2 รูป ไปอยู่ป่า พระเถระไม่อาจทำ แนบสนิทผลสมาบัติได้ แม้แต่ วันเดียว เพราะวิตกถึงเรื่องเสนาสนะไม่ถึงแก่สามเณร ส่วนสามเณรนั้นทำเวลา ทั้ง 3 เดือน ให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติ (อ.คณกโมคคัลลานสูตร) 22/152/4 22/145/3 |
50 | [๑๐๖] พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสบอก มรรคที่ยังไม่มีใครบอก และทรงฉลาดใน มรรค ส่วนสาวกเป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่ . (โคปกโมคคัลลานสูตร) 22/154/1 22/146/21 |
51 | [๑๐๘-๑๐๙] พระพุทธเจ้ามิได้ตั้งภิกษุ แม้รูปหนึ่ง ให้เป็นที่พึ่งของภิกษุทั้งหลาย และสงฆ์ก็มิได้สมมติภิกษุรูปใด ให้เป็นที่พึ่งของภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระพุทธองค์ ล่วงลับไปแล้ว แต่ภิกษุทั้งหลาย มีธรรมเป็นที่พึ่ง (โคปกโมคคัลลานสูตร) 22/155/6 22/147/25 |
52 | [๑๑๓] ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส 10 ประการ ภิกษุใดมีธรรมเหล่านี้ ภิกษุ ทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และย่อมเข้าไปอาศัยภิกษุนั้นอยู่ . (โคปกโมคคัลลานสูตร) 22/158/14 22/150/23 |
53 | [๑๑๗] ฌานที่พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ และฌานที่ทรงสรรเสริญ. . (โคปกโมคคัลลานสูตร) 22/162/11 22/154/9 |
54 | วัสสการพราหมณ์นั้น เห็นพระมหากัจจายนเถระ ลงจากเขาคิชฌกูฏ จึงกล่าวว่า นั่นเหมือนลิง แล้วไม่ยอมขอขมา เมื่อเขาตายจึงเกิดเป็นลิงอยู่ในเวฬุวันวิหาร นั่นเอง (อ.โคปกโมคคัลลานสูตร) 22/167/13 22/158/18 |
55 | [๑๒๑] อุปาทานขันธ์ 5 มีฉันทะเป็นมูล. ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ 5 นั่นแล เป็นตัวอุปาทาน(ความยึดมั่น) ในอุปาทานขันธ์ 5 นั้น (มหาปุณณมสูตร) 22/170/4 22/160/25 |
56 | [๑๒๓] เหตุที่เรียกชื่อว่า ขันธ์ มีรูปขันธ์ เป็นต้น (มหาปุณณมสูตร) 22/170/19 22/161/15 |
57 | [๑๒๔] มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ รูปขันธ์, ผัสสะ(การถูกต้อง) เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, นามรูปเป็น ปัจจัย แห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์. (มหาปุณณมสูตร) 22/171/18 22/162/14 |
58 | [๑๒๗] คุณ และโทษของขันธ์ 5 (มหาปุณณมสูตร) 22/173/7 22/163/22 |
59 | [๑๒๘] เหตุละ มานานุสัย คือ ความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมี วิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดภายนอก (มหาปุณณมสูตร) 22/174/5 22/164/21 |
60 | [๑๓๑] อสัตบุรุษ (บุรุษชั่ว) จะพึงรู้จัก อสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ หรือจะพึง รู้จักสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส. (จูฬปุณณมสูตร) 22/185/8 22/175/8 |
61 | [๑๓๔] อสัตบุรุษ เป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ คือ อสัตบุรุษ ในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความละอาย ไม่มีความกลัวบาป มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย (จูฬปุณณมสูตร) 22/186/5 22/176/2 |
62 | [๑๔๑] คติของอสัตบุรุษ คือ นรก หรือสัตว์เดียรัจฉาน. (จูฬปุณณมสูตร) 22/187/16 22/177/10 |
63 | [๑๕๑-๑๕๒] สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผลจึงให้ทาน , คติของสัตบุรุษ คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความเป็นใหญ่ในมนุษย์ (จูฬปุณณมสูตร) 22/189/20 22/179/10 |
64 | [๑๕๔-๑๖๓] พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ พระสารีบุตรว่าเป็นบัณฑิต เป็นผู้มี ปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา เฉียบแหลม มีปัญญาคม และได้ทรงแสดงธรรมที่พระสารีบุตรได้รู้แจ้งแล้ว ตามลำดับบทด้วยสามารถแห่งสมาบัติ หรือ องค์ฌาน. (อนุปทสูตร) 22/194/9 22/183/9 |
65 | [๑๖๕] ผู้กล่าวชอบพึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่าเป็นพุทธชิโนรสเกิดจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้าเกิดแต่ธรรม เป็นผู้อันธรรมเนรมิตขึ้น เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่ อามิสทายาท ภิกษุรูปนั้น ก็คือ พระสารีบุตร (อนุปทสูตร) 22/200/12 22/189/11 |
66 | การกล่าวคุณในสำนักของบุคคลผู้เป็นวิสภาคกัน ย่อมไม่ควร คนที่เป็นวิสภาค กัน(ต่างกัน) เมื่อใครๆ กล่าว สรรเสริญเขาก็จะกล่าวตำหนิอย่างเดียว. . (อ.อนุปทสูตร) 22/201/18 22/190/18 |
67 | บุคคลเป็นบัณฑิต ด้วยเหตุ 4 ประการ คือ เป็นผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้ . (อ.อนุปทสูตร) 22/202/4 22/191/5 |
68 | อธิบายคำว่า ปัญญามาก ปัญญากว้าง ปัญญาร่าเริง ปัญญาว่องไว ปัญญาคม ปัญญาหลักแหลม (อ.อนุปทสูตร) 22/202/8 22/191/14 |
69 | ลักษณะของธรรมที่พระสารีบุตรกำหนดได้ แล้ว ตามลำดับบท คือ วิตกมีการ ยกจิตขึ้นเป็นลักษณะ... มนสิการมีการใส่ใจด้วยความยินดี เป็นลักษณะเป็นไป. . (อ.อนุปทสูตร) 22/207/10 22/196/16 |
70 | [๑๖๗-๑๗๗] พระพุทธองค์ทรงแสดง หลักการตรวจสอบภิกษุผู้พยากรณ์ อรหัตผล (ฉวิโสธนสูตร) 22/213/9 22/202/9 |
71 | ความหมายของธาตุทั้ง 6. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัย ปฐวีธาตุ โดยปริยาย หนึ่งเหมือนกัน เพราะวัตถุรูปทั้งหลาย ที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัย อยู่กับปฐวีธาตุ (อ.ฉวิโสธนสูตร) 22/225/11 22/213/2 |
72 | ความหมายของคำว่า ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา (อ.ฉวิโสธนสูตร) 22/226/20 22/214/16 |
73 | หมวดธรรม 6 หมวดในสูตรนี้ พึงชำระให้ถูกต้อง โดยปริยายที่ขยายความไว้ใน พระวินัย อย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอะไร ? บรรลุอย่างไร ? บรรลุเมื่อไร ? ละกิเลส พวกไหน ? ได้ธรรมพวกไหน ? (อ.ฉวิโสธนสูตร) 22/228/1 22/215/16 |
74 | เรื่องตัวอย่าง พระทีฆภาณกอภยเถระ (อ.ฉวิโสธนสูตร) 22/231/1 22/218/8 |
75 | [๑๗๙-๑๙๗] พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมของอสัตบุรุษ คือ การยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่ตนมาจากตระกูลสูง มาจากสกุลที่มีโภคะมาก เป็นคนเด่นมียศ... ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. ส่วนสัตบุรุษจะไม่ยกตนข่มผู้อื่น เธอจะ ทำให้เป็นไปส่วนตัว ในเรื่องนั้นๆ (สัปปุริสสูตร) 22/232/12 22/220/12 |
76 | [๑๙๙] ธรรมที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ 7 อย่าง (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/247/12 22/236/12 |
77 | [๒๐๑] ความประพฤติทางกายที่เป็นเหตุให้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง. (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/249/10 22/238/2 |
78 | [๒๐๔] ความประพฤติทางวาจาที่เป็นเหตุให้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง. (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/251/10 22/239/20 |
79 | [๒๐๗] ความประพฤติทางใจที่เป็นเหตุให้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง. (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/254/5 22/242/3 |
80 | [๒๑๖] ความเห็นที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อม. . (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/259/2 22/246/1 |
81 | [๒๒๙] สิ่งที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/271/4 22/254/18 |
82 | [๒๓๐-๒๓๒] สิ่งที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ อื่นๆ อีก ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ หมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท บุคคล (เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/275/3 22/257/21 |
83 | พระอนาคามี ย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์ เบียดเบียน ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร... . (อ.สวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/287/5 22/267/13 |
84 | ผู้ที่ร่ำเรียนบาลี และอรรถกถา แล้วทำตามคำสอน จึงจะได้ชื่อว่า ผู้รู้เนื้อความ ภาษิตของพระพุทธองค์ (อ.สวิตัพพาเสวิตัพพสูตร) 22/288/15 22/269/4 |
85 | [๒๓๕] ภัย อุปัทวะ อุปสรรค ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต . (พหุธาตุกสูตร) 22/290/8 22/270/8 |
86 | [๒๓๖] ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และ ฉลาดในฐานะ และอฐานะ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นบัณฑิต (พหุธาตุกสูตร) 22/291/7 22/271/5 |
87 | [๒๓๗-๒๔๒] ธาตุ 18 ธาตุ 6 ธาตุ 3 ธาตุ 2 (พหุธาตุกสูตร) 22/291/13 22/271/12 |
88 | [๒๔๕] ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ และอฐานะ 28 ประการ (พหุธาตุกสูตร) 22/294/16 22/275/5 |
89 | ความหมาย ของคำว่า ภัย อุปัทวะ อุปสรรค. (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/301/5 22/281/2 |
90 | สังขตะ แปลว่า อันปัจจัยทั้งหลาย มาร่วมกันทำ . คำนี้เป็นชื่อของขันธ์ 5 , ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ คำนี้เป็นชื่อของพระนิพพาน (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/305/22 22/285/15 |
91 | ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ได้แก่ พระโสดาบันอริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยมรรคทิฏฐิ . (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/306/20 22/286/13 |
92 | พระอริยสาวก ผู้ยังเวียนว่ายตายเกิด อาจไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวกในชาติ ต่อไป (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/308/11 22/288/6 |
93 | สงฆ์ย่อมแตกกันโดยอาการ 5 คือ โดยกรรม โดยอุทเทส โดยโวหาร โดยการ สวดประกาศ โดยการให้จับสลาก (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/309/1 22/288/22 |
94 | การฆ่ามารดา บิดา นั้นหมายเอาชาติที่เป็นมนุษย์ ของมารดา บิดา และบุตร เท่านั้น จึงจะเป็นอนันตริยกรรม (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/310/12 22/290/8 |
95 | ผู้ฆ่าพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น จึงเป็นอนันตริยกรรม ถ้าฆ่าพระอริยบุคคล นอกนั้น ไม่เป็นอนันตริยกรรมแต่เป็นกรรมหนัก (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/311/6 22/291/4 |
96 | ความหมาย ของ กรรมที่ตั้งอยู่ชั่วกัป. (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/313/20 22/293/14 |
97 | ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ภิกษุที่เป็นปกตัตตะมีสังวาส เสมอกันอยู่ในสีมาเดียวกัน จึงจะทำลายสงฆ์ได้ . (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/314/20 22/294/17 |
98 | เขตมี 3 คือ หมื่นโลกธาตุ ชื่อว่าชาติเขต แสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่าอาณาเขต ส่วน วิสัยเขตไม่มีประมาณ. เพราะว่าพระญาณมีเท่าใดสิ่งที่ควรรู้มีเท่านั้น . (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/315/12 22/295/9 |
99 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น. (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/316/3 22/295/23 |
100 | อันตรธาน 3 อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน . (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/316/23 22/296/20 |
101 | วงศ์ของสมณะ ผู้ครองผ้าขาว ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ จำเดิมแต่สมัย ของพระกัสสปพุทธเจ้า (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/318/20 22/298/16 |
102 | ปรินิพพานมี 3 คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน ธาตุปรินิพพาน, ในคราว พระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุจะ เสด็จมาชุมนุมที่เกาะลังกา (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/319/1 22/298/22 |
103 | เหตุที่พระพุทธเจ้า 2 พระองค์ไม่อุบัติ พร้อมกัน (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/320/6 22/300/1 |
104 | ไม่มีเพศหญิง เพศชายในพรหมโลก พรหมทั้งหลาย มีสัณฐานเป็นบุรุษอย่างเดียว . (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/327/1 22/306/16 |
105 | ความพร้อมเพรียงมี 5 อย่าง คือ ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวลมาแห่ง เจตนา แห่งกรรม แห่งวิบาก แห่งการปรากฏขึ้น. (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/328/7 22/307/19 |
106 | ตัวอย่าง นิมิตปรากฏ : พระโสณเถระ ตั้งเครื่องบูชาด้วยดอกไม้ ให้หลวงพ่อ ของท่าน ซึ่งกำลังใกล้ตาย และมีนิมิตแห่งนรกปรากฏ พระเถระได้บอกให้บูชา พระพุทธเจ้า นิมิตของสวรรค์จึงปรากฏแทน. (อ.พหุธาตุกสูตร) 22/329/10 22/309/2 |
107 | [๒๔๙] พระปัจเจกพุทธเจ้า 500 องค์ ได้อาศัยที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน เวลาท่าน เข้าไปสู่ภูเขานี้คนแลเห็น แต่ท่านเข้าไปแล้วคนแลไม่เห็น มนุษย์ทั้งหลายจึง พูดว่าภูเขาลูกนี้กลืนกินฤๅษีเหล่านี้ ชื่อว่า อิสิคิลิ ๆ จึงเกิดขึ้น (อิสิคิลิสูตร) 22/333/3 22/313/3 |
108 | [๒๕๐-๒๕๑] พระนามของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า (อิสิคิลิสูตร) 22/333/11 22/313/12 |
109 | ประวัติย่อ ของนางปทุมวดี ผู้ตั้งความปรารถนาให้ได้บุตร 500 คน . (อ.อิสิคิลิสูตร) 22/337/5 22/316/17 |
110 | [๒๕๓-๒๕๔] สัมมาสมาธิ ที่เป็นอริยะ มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ ความ เห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ. บรรดาองค์ประกอบ 7 นั้น ความเห็นชอบเป็นประธาน . (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/341/13 22/320/14 |
111 | [๒๕๖-๒๕๘] ความเห็นชอบ มี 2 อย่าง คือ ความเห็นชอบที่ยังเป็นโลกิยะเป็น ส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อย่างหนึ่ง ความเห็นชอบที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/342/10 22/321/10 |
112 | [๒๕๘] ธรรม 3 ประการนี้ คือ ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม ความเห็นชอบ (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/343/14 22/322/9 |
113 | [๒๕๙] บรรดาองค์ประกอบทั้ง 7 นั้น ความเห็นชอบย่อมเป็นประธานอย่างไร ? . (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/343/17 22/322/12 |
114 | [๒๖๑-๒๖๓] ความดำริชอบ มี 2 อย่าง คือ ความดำริชอบที่เป็นโลกียะ เป็นส่วน แห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง ความดำริชอบที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง. ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ย่อมห้อมล้อมเป็น ไปตามความดำริชอบ (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/344/6 22/323/2 |
115 | [๒๖๘] ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ย่อมห้อมล้อม เป็น ไปตาม ความเจรจาชอบ (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/346/19 22/324/22 |
116 | [๒๗๓] ความเห็นชอบ, ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ ย่อมห้อมล้อมเป็น ไปตามสัมมากัมมันตะ. (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/348/9 22/326/5 |
117 | [๒๗๙] ความเห็นชอบ ย่อมเป็นประธานอย่างนี้ คือ ผู้มีความเห็นชอบ ความ ดำริชอบก็มีพอเหมาะ.... ผู้มีสมาธิชอบ ความรู้ชอบ ก็มีพอเหมาะ, ผู้มีความ รู้ชอบ ความหลุดพ้นชอบก็มีพอเหมาะ ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบ ด้วยองค์ 8 จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ 10 (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/350/2 22/327/14 |
118 | [๒๘๑] ถ้าใครติเตียน ความเห็นชอบ เขาต้องบูชาสรรเสริญ สมณพราหมณ์ ผู้มี ความเห็นผิด (มหาจัตตารีสกสูตร) 22/351/15 22/328/25 |
119 | ความเห็นชอบ ที่เป็นหัวหน้า มี 2 ส่วน คือ ความเห็นชอบในวิปัสสนา ที่เกิดขึ้นก่อน และ ความเห็นชอบในมรรค (อ.มหาจัตตารีสกสูตร) 22/353/10 22/330/12 |
120 | เมื่อมีวิตก วิตกย่อมยกจิตขึ้นในอารมณ์ แต่เมื่อไม่มีวิตก จิตก็ขึ้นสู่อารมณ์ได้ ตามธรรมดาของตนเอง เหมือนคนที่ชำนาญ มีชาติตระกูลสูงย่อมเข้าพระราชวัง ได้ฉะนั้น (อ.มหาจัตตารีสกสูตร) 22/356/1 22/332/23 |
121 | ความหมาย ของคำว่า อารติ วิรติ ปฏิวิรติ เวรมณี (อ.มหาจัตตารีสกสูตร) 22/357/1 22/333/19 |
122 | ความเห็นชอบ 5 ประการ (อ.มหาจัตตารีสกสูตร) 22/360/1 22/337/2 |
123 | นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ย่อมถูกห้ามทางสวรรค์ และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควร เพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับต่อจากชาตินั้น (อ.มหาจัตตารีสกสูตร) 22/361/15 22/338/16 |
124 | [๒๘๗] อานาปานสติที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว จะให้สติปัฏฐาน 4, โพชฌงค์ 7, วิชชา และวิมุตติ บริบูรณ์ได้ (อานาปานสติสูตร) 22/367/1 22/342/14 |
125 | [๒๘๙] เราตถาคตกล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ว่า เป็น กายชนิดหนึ่งใน จำพวกกายทั้งหลาย (อานาปานสติสูตร) 22/369/4 22/345/1 |
126 | [๒๘๙] เราตถาคตกล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่า เป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในจำพวกเวทนาทั้งหลาย (อานาปานสติสูตร) 22/369/16 22/345/16 |
127 | [๒๘๙] เราตถาคต ไม่กล่าวว่ามี อานาปานสติ สำหรับภิกษุผู้เผลอสติ. . (อานาปานสติสูตร) 22/370/5 22/346/5 |
128 | [๒๙๐] เจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างไร โพชฌงค์ 7 จึงจะบริบูรณ์ (อ.อานาปานสติสูตร) 22/371/2 22/347/2 |
129 | ธรรมดา ปวารณาสงเคราะห์ สงฆ์ย่อมให้ด้วย ญัตติทุติยกรรม (อ.อานาปานสติสูตร) 22/377/1 22/352/8 |
130 | ปีติย่อมเป็นอัน กำหนดรู้แล้ว โดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยอารมณ์ โดยความ ไม่หลง (อ.อานาปานสติสูตร) 22/380/16 22/355/24 |
131 | [๒๙๔-๓๐๖] วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลานิสงส์มาก (กายคตาสติสูตร) 22/386/5 22/360/25 |
132 | [๓๐๘-๓๑๐] ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อม ได้ช่องย่อมได้อารมณ์ (กายคตาสติสูตร) 22/394/8 22/368/8 |
133 | [๓๑๗] อานิสงส์การเจริญกายคตาสติ 10 ประการ (กายคตาสติสูตร) 22/398/2 22/371/18 |
134 | วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ1. มโนมยิทธิ1. อภิญญา 6. (อ.กายคตาสติสูตร) 22/401/17 22/375/4 |
135 | [๓๑๙-๓๒๑] ปฏิปทาเพื่อเป็นกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล เทวดา ในสวรรค์. อันอาศัยศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา และตั้งจิตปรารถนา เพื่อความเป็นอย่างนั้น (สังขารูปปัตติสูตร) 22/404/13 22/377/13 |
136 | [๓๒๒-๓๒๕] ปฏิปทาเพื่อเป็นสหัสสพรหม (น้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่ง) จนถึง สตสหัสสพรหม (น้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่ง) (สังขารูปปัตติสูตร) 22/406/18 22/379/17 |
137 | [๓๒๖-๓๓๑] ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอาภา 3 ชั้น จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ (สังขารูปปัตติสูตร) 22/409/20 22/382/8 |
138 | [๓๓๒] ปฏิปทาเพื่อให้บรรลุ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ (สังขารูปปัตติสูตร) 22/414/12 22/385/21 |
139 | การแผ่ไปมี 5 อย่าง คือ แผ่ไปด้วยจิต แผ่ไปด้วยกสิณ แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ แผ่ไป ด้วยแสงสว่าง แผ่ไปด้วยสรีระ (อ.สังขารูปปัตติสูตร) 22/417/23 22/388/10 |
140 | ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา นั้นเป็นศีล. บุคคลตั้งอยู่ในศีลนี้ แล้วกระทำ กสิณบริกรรม ทำสมาบัติ ให้เกิดขึ้นในกาลนั้นย่อมบังเกิดในรูปพรหม เมื่อเจริญ วิปัสสนา แล้วทำให้แจ้งอนาคามิผล ย่อมเกิดในสุทธาวาส (อ.สังขารูปปัตติสูตร) 22/419/1 22/389/9 |