1 | [๔๐๕-๔๑๑] ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระกัสสปพุทธเจ้าได้พยายาม ชักชวนพระโพธิสัตว์ชื่อโชติปาลมาณพ ซึ่งเป็นสหายที่รักด้วยการชักชวนด้วยวาจา จนจับที่ชายพกและจับที่ศีรษะ โชติปาละจึงยอมไปหาพระพุทธเจ้า (ฆฏิการสูตร) 21/2/8 21/2/11 |
2 | [๔๑๒-๔๑๓] โชติปาลมาณพ ขออุปสมบทต่อ พระกัสสปพุทธเจ้า (ฆฏิการสูตร) 21/6/16 21/6/13 |
3 | [๔๑๗-๔๒๐] พระกัสสปพุทธเจ้า ตรัสคุณสมบัติของฆฏิการะช่างหม้อ แก่พระเจ้ากิกิ และพระกัสสปพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง โดยการเข้าไปฉันอาหารในเรือนช่างหม้อ และสั่งให้ภิกษุมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือน ของช่างหม้อ ไปซ่อมหลังคากุฎีของพระองค์ เรือนของช่างหม้อมีอากาศเป็นหลังคาอยู่ได้ ตลอด 3 เดือน ฝนตกก็ไม่รั่ว (ฆฏิการสูตร) 21/10/2 21/9/14 |
4 | [๔๒๒] โชติปาลมาณพ ในครั้งนั้น ก็คือ พระพุทธเจ้าในครั้งนี้ (ฆฏิการสูตร) 21/13/18 21/13/6 |
5 | พระกัสสปพุทธเจ้าตรัสธรรมกถา เพื่อให้โชติปาละนั้นกลับได้สติ โดยนัยว่า ท่านปรารถนาสัพพัญญุตญาณ หยั่งลง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ธรรมดาคนเช่น ท่านไม่ควรอยู่ด้วยความประมาท. (อ.ฆฏิการสูตร) 21/17/12 21/17/14 |
6 | ธรรมดาพระโพธิสัตว์ย่อมบวช ในที่เฉพาะพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ครั้นบวชแล้ว ย่อมเรียน พระไตรปิฎก บำเพ็ญจนถึง อนุโลมญาณแล้ว จึงหยุด ไม่พยายามเพื่อมรรคผลต่อไป (อ.ฆฏิการสูตร) 21/18/3 21/18/2 |
7 | พระราชธิดาของพระเจ้ากิกิ ชื่ออุรัจฉทา ได้เป็นพระโสดาบัน และครองราชสมบัติ อยู่ 7 วัน พระเจ้ากิกิ ได้ทรงสดับอนุโมทนาของพระศาสดาก็ได้เป็นพระโสดาบัน 21/19/16 21/19/20 |
8 | ชาวบ้าน ช่วยอุบาสก ผู้ประกอบด้วยธรรมเพื่อบุญของตน (อ.ฆฏิการสูตร) 21/20/15 21/20/18 |
9 | การบัญญัติสิกขาบท ย่อมมีแก่พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น เขตแดนแห่งสิกขาบท ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อ.ฆฏิการสูตร) 21/21/23 21/21/25 |
10 | บริเวณบ้านของฆฏิการะ นั้น ฝนจะไม่ตกใส่ ลมและแดดไม่เบียดเบียนเป็น อย่างนี้ไปตลอดกัปหนึ่ง (อ.ฆฏิการสูตร) 21/22/14 21/22/18 |
11 | [๔๓๓-๔๓๔] เมื่อพระรัฐปาละ ทำความเพียรจนได้เป็นพระอรหันต์แล้ว จึงได้ กราบทูลขออนุญาตต่อพระพุทธเจ้าเพื่อไปเยี่ยมมารดาบิดา (รัฏฐปาลสูตร) 21/30/8 21/30/15 |
12 | [๔๓๖-๔๓๗] พระรัฐปาละ บอกให้ ทาสีของญาติท่าน นำขนมกุมมาสบูดที่จะ เททิ้งให้เทลงในบาตรของท่าน. ท่านพระรัฐปาละได้อาศัย ฝาเรือนแห่งหนึ่ง ฉันขนมกุมมาสบูดนั้น (รัฏฐปาลสูตร) 21/31/14 21/31/21 |
13 | [๔๓๙] พระรัฐปาละ กล่าวคาถาว่า... จงมาดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณี และ กุณฑล มีกระดูก อันหนังหุ้มห่อไว้งามพร้อมด้วยผ้า เท้าที่ย้อมด้วยสีแดงสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคนผู้แสวงหา ฝั่ง คือ พระนิพพานไม่ได้ (รัฏฐปาลสูตร) 21/34/3 21/34/11 |
14 | [๔๔๖-๔๕๑] ธัมมุทเทส(ยกข้อธรรมขึ้นแสดง) 4 ข้อ คือ 1.โลกอันชรานำเข้าไปไม่ ยั่งยืน 2. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน 3. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน 4. โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม (รัฏฐปาลสูตร) 21/38/17 21/38/19 |
15 | ประวัติของพระรัฐปาละ ในสมัย พระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.รัฏฐปาลสูตร) 21/47/11 21/46/9 |
16 | ปาลิตนาคราช ตั้งความปรารถนา ตำแหน่งดุจสามเณร ผู้เป็นโอรสของ พระพุทธเจ้า (อ.รัฏฐปาลสูตร) 21/48/7 21/47/5 |
17 | พระรัฐปาละ บรรลุพระอรหัต ในปีที่ 12. (อ.รัฏฐปาลสูตร) 21/52/12 21/51/14 |
18 | จริงอยู่ของใด มีอันจะต้องทิ้งไป เขาสละความหวงแหนแล้ว แม้กล่าวว่าจงนำมา จงเกลี่ยลงในบาตรนี้ ไม่จัดเป็นการขอ (อ.รัฏฐปาลสูตร) 21/54/5 21/53/7 |
19 | [๔๕๓-๔๕๔] พระเจ้ามฆเทวะ ตั้งวัตรอันงามไว้ว่า เมื่อเห็นผมหงอกบนศีรษะแล้ว ให้มอบราชสมบัติ แก่พระราชโอรสองค์ใหญ่ ให้บ้านส่วยแก่ช่างกลบก แล้ว ทรงออกผนวชเป็นบรรพชิต เจริญพรหมวิหาร 4 เมื่อสวรรคตได้เข้าถึงพรหมโลก (มฆเทวสูตร) 21/65/12 21/65/13 |
20 | [๔๕๗] วงศ์ของพระเจ้ามฆเทวะ ได้สืบวงศ์ต่อกันมา 84,000 ชั่วกษัตริย์ มีพระเจ้านิมิราช เป็นพระราชาองค์สุดท้าย ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต ทุกพระองค์ ทรงเล่นเป็นกุมาร 84,000 ปี เสวยสมบัติ 84,000 ปี เป็นบรรพชิต 84,000 ปี . (มฆเทวสูตร) 21/70/1 21/69/19 |
21 | [๔๕๙-๔๖๐] ท้าวสักกเทวราชใช้ให้ มาตลีเทพบุตร นำราชรถมารับพระเจ้านิมิราชไปสู่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์.เพราะเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะพบเห็น . (มฆเทวสูตร) 21/71/9 21/70/23 |
22 | [๔๖๓] พระเจ้านิมิราช มีพระราชบุตรนามว่ากฬารชนกะ ผู้ตัดวัตรอันงามที่ พระเจ้ามฆเทวราชทรงตั้งไว้. พระเจ้ามฆเทวะในครั้งนั้น ก็คือ พระพุทธองค์ของ เราในครั้งนี้ (มฆเทวสูตร) 21/76/2 21/75/10 |
23 | ปาฏิหาริกปักษ์ คือ วัน 7 ค่ำ , 9 ค่ำ , 13 ค่ำ, 1 ค่ำ ด้วยอำนาจวันรับ วันส่ง รวมทั้งวันอุโบสถ. (อ.มฆเทวสูตร) 21/79/1 21/77/18 |
24 | พระโพธิสัตว์ ทุกๆ พระองค์ ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิตก่อน ทรงสังเวชจึงออกบวช. (อ.มฆเทวสูตร) 21/79/15 21/78/7 |
25 | พระโพธิสัตว์ ลงมาสืบวงศ์ ต่อ กัลยาณวัตร เป็นพระเจ้านิมิราช. (อ.มฆเทวสูตร) 21/81/16 21/80/3 |
26 | พระเจ้านิมิราช ทรงมีคุณ 2 ประการ ที่ยิ่งกว่า พระราชาทุกพระองค์ คือ ทรง สละทรัพย์ ในประตูทั้ง 4 ประตูละหนึ่งแสนทุกวัน และทรงห้ามผู้มิได้รักษา อุโปสถเข้าเฝ้า. (อ.มฆเทวสูตร) 21/82/5 21/80/13 |
27 | ท้าวสักกเทวราช ทรงริษยา พระเจ้านิมิราช (อ.มฆเทวสูตร) 21/87/11 21/85/5 |
28 | พระโพธิสัตว์ เสด็จไปยังเทวโลกด้วยอัตตภาพมนุษย์ 4 ครั้ง (อ.มฆเทวสูตร) 21/88/6 21/85/24 |
29 | ภิกษุผู้มีศีล เมื่อไม่กระทำความเพียรด้วยคิดว่า เราไม่อาจได้พระอรหัต ชื่อว่า ย่อมตัด กัลยาวัตร ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ (อ.มฆเทวสูตร) 21/89/1 21/86/19 |
30 | [๔๘๓-๔๘๕] พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ได้ขอถึงพระกัจจานะ พระธรรม และ ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แต่พระกัจจานะได้ห้าม และบอกให้พระราชาถึงพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วนั้นว่า เป็นสรณะเถิด (มธุรสูตร) 21/98/20 21/95/17 |
31 | [๔๘๙-๔๙๐] พระพุทธเจ้าตรัสกับโพธิราชกุมาร ถึงสมัยก่อนตรัสรู้ พระองค์ได้ ออกบวชและไปหาอาฬารดาบส และอุทกดาบส โดยลำดับ. (โพธิราชกุมารสูตร) 21/105/2 21/102/7 |
32 | [๔๙๑-๔๙๔] อุปมา 3 ข้อ เปรียบด้วย ไม้สีไฟ ปรากฏแก่พระพุทธองค์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม. (โพธิราชกุมารสูตร) 21/109/3 21/106/5 |
33 | [๔๙๕-๕๐๑] ทรงบำเพ็ญเพียร ด้วยการกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น... และกลั้นลมหายใจเข้าออก. จนเทวดาบางพวกเข้าใจว่าพระพุทธองค์สวรรคต แล้ว (โพธิราชกุมารสูตร) 21/111/22 21/108/21 |
34 | [๕๐๒-๕๐๔] ทรงปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง แต่ก็ไม่ได้บรรลุ คุณวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยา ที่เผ็ดร้อนนี้. (โพธิราชกุมารสูตร) 21/114/22 21/111/16 |
35 | [๕๐๕-๕๐๘] ทรงระลึกเมื่องานวัปปมงคล ของพระเจ้าสุทโธทนะ พระโพธิสัตว์ ได้นั่งที่ร่มไม้หว้า บรรลุปฐมฌานอยู่ ทำให้ทรงคิดว่าทางนี้พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้ พระองค์จึงทรงบริโภคอาหารหยาบ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังแล้วบำเพ็ญจนตรัสรู้. (โพธิราชกุมารสูตร) 21/116/20 21/113/12 |
36 | [๕๐๙] สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู(โพธิราชกุมารสูตร) 21/119/22 21/116/12 |
37 | [๕๑๐-๕๑๑] ท้าวสหัมบดีพรหม ลงมาอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แก่สัตว์ทั้งหลาย (โพธิราชกุมารสูตร) 21/120/7 21/116/19 |
38 | [๕๑๒-๕๑๔] ทรงปรารภปฐมเทศนา เสด็จไปแสดงธรรม แก่ปัญจวัคคีย์. และ ได้พบอุปกาชีวก ระหว่างทาง (โพธิราชกุมารสูตร) 21/122/18 21/118/23 |
39 | [๕๑๘-๕๑๙] องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการ ภิกษุผู้มีความเพียร 5 นี้ เมื่อได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนำอยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ใน ปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ใช้เวลาเพียง 7 ปี เป็นอย่างสูง (โพธิราชกุมารสูตร) 21/130/2 21/125/13 |
40 | สาเหตุหนึ่งที่คนไม่มีลูก (อ.โพธิราชกุมารสูตร) 21/134/18 21/129/20 |
41 | เหตุที่พระพุทธองค์ไม่ให้เหยียบผ้าผืนน้อย (อ.โพธิราชกุมารสูตร) 21/135/4 21/130/2 |
42 | เรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต และโพธิราชกุมาร ก็เป็นโอรส ของคนทั้งสองนั้น (อ.โพธิราชกุมารสูตร) 21/136/8 21/131/8 |
43 | ศรัทธา มี 4 ประการ (อ.โพธิราชกุมารสูตร) 21/138/7 21/133/6 |
44 | ผู้มีธาตุอันเย็นจัด ก็กลัวความเย็น ผู้มีธาตุร้อนจัดก็กลัวความร้อน. ความเพียร ของคนเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ. จะสำเร็จแก่ผู้มีธาตุเป็นกลางๆ (อ.โพธิราชกุมารสูตร) 21/138/21 21/133/23 |
45 | ธรรมดาการถึงสรณะ ด้วยอจิตตกะ (ไม่มีเจตนา) ย่อมไม่มี (อ.โพธิราชกุมารสูตร) 21/140/1 21/135/5 |
46 | [๕๒๔-๕๒๕] องคุลิมาลคิดว่าแม้ม้ากำลังวิ่งอยู่ เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่เราไม่ สามารถวิ่งทัน สมณะนี้ผู้กำลังเดินอยู่เขาจึงบอกว่า จงหยุดก่อนสมณะ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเราหยุดแล้ว องคุลิมาลท่านเล่าจงหยุดเถิด และทรงขยายความให้รู้. องคุลิมาลโจร ขอบวช ได้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทารูปหนึ่ง. (อังคุลิมาลสูตร) 21/143/2 21/137/10 |
47 | [๕๓๐-๕๓๑] พระองคุลิมาลได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก พระพุทธองค์จึง ตรัสให้ท่าน เข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วใน อริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด (อังคุลิมาลสูตร) 21/148/13 21/142/7 |
48 | [๕๓๓] เมื่อพระองคุลิมาลบรรลุอรหันต์แล้ว ขณะเข้าไปบิณฑบาต ก้อนดิน ท่อนไม้ ที่บุคคลขว้างไปทางอื่น ก็มาถูกท่านหัวแตก บาตรแตก ผ้าฉีกขาด พระพุทธองค์ ตรัสว่า เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวยผลกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เธอ พึงหมกไหม้อยู่ในนรก ตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปี เป็นอันมาก ในปัจจุบันนี้เท่านั้น (อังคุลิมาลสูตร) 21/150/6 21/143/21 |
49 | [๕๓๔] ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล (อังคุลิมาลสูตร) 21/150/21 21/144/12 |
50 | กำเนิดของ องคุลิมาลโจร. (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/154/5 21/146/11 |
51 | องคุลิมาล นั้นได้เคยถวาย บริขาร 8 แก่ท่านผู้มีศีลในปางก่อน พระพุทธองค์จึง ทรงประทาน ความเป็นเอหิภิกขุให้ (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/159/17 21/152/3 |
52 | ตั่งที่ พระองคุลิมาลนั่งกล่าวคำสัตว์นั้น แม้ชาวบ้านเอาน้ำล้างตั่งไปรดหัวของ สัตว์ตัวเมียที่ครรภ์หลง สัตว์นั้นก็คลอดออกได้ง่าย แม้โรคอย่างอื่นก็สงบไป มหาปริตรนี้มีปาฏิหาริย์อยู่ตลอดกัป (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/163/16 21/155/25 |
53 | สัจจกิริยาไม่ใช่เวชกรรม (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/164/9 21/156/15 |
54 | พระองคุลิมาล เรียนมูลกัมมัฏฐาน เพื่อทำสมณธรรม จิตย่อมปรากฏ อาการของ พวกมนุษย์ที่ถูกท่านฆ่าเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นว่าให้ท่านทำสัจจกิริยาโดย อริยชาติเสียก่อน แล้วจึงจะเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหันต์ได้ (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/164/10 21/156/15 |
55 | ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม(กรรมให้ผลในปัจจุบัน) นั้นแม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยัง ให้ผลอยู่ (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/165/17 21/157/24 |
56 | การบริโภค 4 อย่าง ในการบริโภค 4 อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุทุศีล ชื่อว่า บริโภคด้วยความเป็นขโมย (อ.อังคุลิมาลสูตร) 21/168/14 21/160/23 |
57 | [๕๓๖] ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ และความตรอมใจ ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก (ปิยชาติกสูตร) 21/170/18 21/162/21 |
58 | [๕๕๓] ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง บ้างเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน และผู้อื่นบ้าง อกุศลธรรม ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ด้วยความประพฤติใด ความประพฤตินั้น สมณพราหมณ์ ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน (พาหิติยสูตร) 21/184/21 21/176/5 |
59 | [๕๖๒-๕๗๐] พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงกล่าววาจาเคารพต่อพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสให้ภิกษุทั้งหลาย จงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์ นี้ไว้ ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์. (ธรรมเจติยสูตร) 21/196/4 21/186/2 |
60 | พวกอมนุษย์ย่อมเคาะประตูสูงเกินไป งูก็เคาะต่ำเกินไป มนุษย์จึงไม่ควรเคาะ อย่างนั้น ควรเคาะที่ใกล้ช่องตรงกลาง นี้ เป็นมารยาทในการเคาะประตู. . (อ.ธรรมเจติยสูตร) 21/205/20 21/195/12 |
61 | เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ทั้ง 5 คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส (มงกุฎ) พระขรรค์ ฉัตร ฉลองพระบาท (อ.ธรรมเจติยสูตร) 21/206/2 21/195/17 |
62 | พระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคตอย่างคนอนาถา ที่ศาลาภายนอกกรุงราชคฤห์ . (อ.ธรรมเจติยสูตร) 21/209/7 21/199/1 |
63 | เมื่อกระทำความเคารพ ในรัตนะหนึ่ง ในบรรดารัตนะทั้ง 3 ก็ย่อมเป็นอันกระทำ ในทุกรัตนะทีเดียว (อ.ธรรมเจติยสูตร) 21/210/7 21/200/1 |
64 | [๕๗๕] สมณะ หรือพราหมณ์ จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวงในคราวเดียว เท่านั้น ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (กรรณกัตถลสูตร) 21/214/20 21/204/4 |
65 | [๕๗๗] องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการ (กรรณกัตถลสูตร) 21/215/17 21/205/2 |
66 | [๕๗๙] เดชอันใดอันความเพียรย่ำยีแล้ว เกิดขึ้นด้วยความเพียร ในข้อนี้ อาตมภาพ ย่อมไม่กล่าวการกระทำต่างกันอย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ (กรรณกัตถลสูตร) 21/218/10 21/207/21 |
67 | [๕๘๐] เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้ (กรรณกัตถลสูตร) 21/218/21 21/208/9 |
68 | [๕๘๒] พรหมใดมีทุกข์ พรหมนั้นมาสู่โลกนี้ พรหมใดไม่มีทุกข์ พรหมนั้นก็ไม่ มาสู่โลกนี้ (กรรณกัตถลสูตร) 21/221/11 21/210/20 |
69 | ความเพียรของปุถุชนก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระโสดาบัน ก็เป็นอย่างหนึ่งของ พระสกทาคามี ก็เป็นอย่างหนึ่ง ... (อ.กรรณกัตถลสูตร) 21/225/16 21/214/7 |
70 | [๕๘๗] พระพุทธเจ้าทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อุตตรมาณพได้เห็น พระคุยหฐาน (อวัยวะเพศชาย) อันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณ (หู) ทั้งสอง กลับไปมาสอดเข้าช่องพระนาสิก(จมูก) ทั้งสองกลับไปมา ทรงแผ่ พระชิวหาปิดมณฑลพระนลาฏ (หน้าผาก) ทั้งสิ้น. (พรหมายุสูตร) 21/233/15 21/221/19 |
71 | [๕๘๘] อุตตรมาณพ ได้ติดตามดูอิริยาบถของพระพุทธองค์ไปตลอด 7 เดือน 21/234/1 21/222/1 |
72 | [๕๘๙] มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ (พรหมายุสูตร) 21/234/12 21/222/13 |
73 | [๕๘๙-๕๙๐]อุตตรมาณพได้กล่าวอาการที่พระพุทธองค์ทรงพระดำเนินประทับยืน เสด็จเข้าละแวกบ้าน ประทับนั่งในละแวกบ้าน กำลังเสวยภัตตาหารในละแวกบ้าน แก่พรหมายุพราหมณ์ฟัง เมื่อพราหมณ์ฟังแล้ว ได้ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทานขึ้น 3 ครั้ง ว่าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. (พรหมายุสูตร) 21/236/9 21/224/10 |
74 | [๕๘๙] พระพุทธองค์เสวยอาหารประกอบด้วยองค์ 8 ประการ (พรหมายุสูตร) 21/237/15 21/225/16 |
75 | [๕๘๙] เสียงของพระพุทธองค์ ประกอบด้วย องค์ 8 ประการ (พรหมายุสูตร) 21/238/21 21/226/22 |
76 | [๕๙๒-๕๙๓] พรหมายุพราหมณ์ คิดว่า การที่เราไม่ทูลให้ทรงทราบเสียก่อน พึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าไม่สมควรเลย จึงให้มาณพคนหนึ่งไปแจ้งให้ พระพุทธองค์ทรงทราบก่อน (พรหมายุสูตร) 21/240/14 21/228/14 |
77 | [๕๙๗] ผู้ใดรู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ ผู้นั้นชื่อว่า เป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด .... (พรหมายุสูตร) 21/244/15 21/232/8 |
78 | [๖๐๓] พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พรหมายุพราหมณ์เป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรม ตามลำดับธรรม ไม่เบียดเบียนเรา ให้ลำบาก เพราะเหตุแห่งธรรมเลยพรหมายุพราหมณ์ เป็นอุปปาติกะ(อนาคามี) จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา (พรหมายุสูตร) 21/247/3 21/234/16 |
79 | ลักษณะมหาบุรุษ ได้แก่ ตำราประมาณ 12,000 เล่ม ที่แสดงลักษณะบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น มีบทคาถา ประมาณ 16,000 บท ที่มีชื่อว่า พุทธมนต์ (อ.พรหมายุสูตร) 21/249/10 21/236/8 |
80 | ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติ พวกเทพชั้นสุทธาวาส ได้แปลงตัวเป็นพราหมณ์ แล้ว เอาลักษณะมหาบุรุษมาใส่ไว้ในคัมภีร์ พระเวท แล้วสอนพวกพราหมณ์ว่า มนต์ เหล่านี้ ชื่อ พุทธมนต์ (อ.พรหมายุสูตร) 21/250/19 21/237/16 |
81 | มาร ตามจับผิดพระโพธิสัตว์อยู่ 6 ปี. หลังจาก ตรัสรู้อีก 1 ปี ก็มิได้เห็นโทษ ของพระองค์ แม้วิตกอันอาศัยเรือน ก็มิได้เห็น. (อ.พรหมายุสูตร) 21/259/19 21/246/14 |
82 | อธิบาย ลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการ (อ.พรหมายุสูตร) 21/260/22 21/247/14 |
83 | บริเวณฝ่าพระบาททั้งสอง ของพระพุทธเจ้า มีลายจักร และรูปต่างๆ ปรากฏอยู่ (อ.พรหมายุสูตร) 21/261/22 21/248/13 |
84 | พระนางอสันธิมิตตา กับนางสนม 700 ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะอาศัยเสียงของ นกการเวก (อ.พรหมายุสูตร) 21/270/10 21/256/14 |
85 | การห่มจีวร ที่ชื่อว่า รุ่มร่าม (อ.พรหมายุสูตร) 21/278/19 21/264/26 |
86 | [๖๐๙] พระพุทธองค์ตรัสตอบเสลพราหมณ์ว่า " เสลพราหมณ์เราเป็นพระราชา เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เราประกาศธรรมจักร อันเป็นจักรที่ใครๆ ประกาศไม่ได้." (เสลสูตร) 21/290/4 21/275/17 |
87 | [๖๑๑-๖๑๒] เสลพราหมณ์ และมาณพ 300 เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลีกออก จากหมู่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ในวันที่ 8 ก็ได้เป็นพระอรหันต์ (เสลสูตร) 21/293/15 21/278/7 |
88 | เกณิยชฏิล นั้น เป็นพราหมณ์มหาศาล แต่ถือบวชเป็นดาบส เพื่อต้องการรักษา ทรัพย์ กลางวัน ทรงผ้ากาสายะ และสวมชฎา กลางคืนเสวยกาม (อ.เสลสูตร) 21/295/8 21/279/12 |
89 | การรับหญิงสาวมา ชื่อว่าอาวาหะ การส่งหญิงสาวไป ชื่อว่าวิวาหะ (อ.เสลสูตร) 21/296/18 21/281/1 |
90 | ผู้ทุศีล ไม่ชื่อว่า เป็นบุตรของพระตถาคตเจ้า (อ.เสลสูตร) 21/300/6 21/284/18 |
91 | มาร 5 คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร . (อ.เสลสูตร) 21/301/11 21/285/20 |
92 | [๖๑๖] ...ก็พราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้เกิดจากช่องคลอดเหมือนกัน ยังกล่าว อย่างนี้ว่า พราหมณ์ เท่านั้น เป็นวรรณะประเสริฐ... (อัสสลายนสูตร) 21/306/4 21/290/4 |
93 | [๖๒๘] การสาปแช่งผู้ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่เป็นผล (อัสสลายนสูตร) 21/314/11 21/298/7 |
94 | [๖๒๘] การตั้งครรภ์ จะมีได้ด้วยอาการ 3 คือ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามี ระดู สัตว์ผู้จะเกิดในครรภ์ปรากฏ (อัสสลายนสูตร) 21/316/7 21/299/25 |
95 | อัสสลายนพราหมณ์ นี้ เป็นผู้มีศรัทธา ได้สร้างเจดีย์ ไว้ในนิเวศน์ของตน. และ ผู้ที่เกิดในวงศ์ของอัสสลายนพราหมณ์ เมื่อสร้างนิเวศน์แล้ว ก็สร้างเจดีย์ไว้ใน ภายในนิเวศน์ด้วย (อ.อัสสลายนสูตร) 21/321/20 21/305/5 |
96 | [๖๓๒] บุคคล 4 จำพวก มีผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายใน การทำตนให้เดือดร้อน เป็นต้น. (โฆฏมุขสูตร) 21/323/12 21/306/22 |
97 | [๖๓๓] บริษัท 2 จำพวก คือ บริษัทผู้กำหนัดยินดีในแก้วมณี และกุณฑลแสวง หาบุตร และภรรยา ทาสี และทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน และบริษัทผู้ไม่ กำเนิดยินดี ในแก้วมณี และกุณฑล ละบุตร และภรรยา... แล้วออกบวชเป็น บรรพชิต (โฆฏมุขสูตร) 21/325/7 21/308/14 |
98 | [๖๔๔-๖๔๕] โฆฏมุขพราหมณ์ ได้ขอถึงพระอุเทน กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ พระอุเทนได้ห้ามแล้วบอกให้ถึงพระพุทธเจ้า ผู้ปรินิพพานแล้วนั้น ว่าเป็น สรณะ. พราหมณ์ได้สร้าง โรงเลี้ยงถวาย แก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร (โฆฏมุขสูตร) 21/334/17 21/318/18 |
99 | โฆฏมุขพราหมณ์ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์ ครั้นรู้ความจริงแล้วจึงแปลงเพศ เป็นมนุษย์มาบอกน้องสาวให้นำเงินที่ตนฝังไว้มาปฏิสังขรณ์โรงฉัน. (อ.โฆฏมุขสูตร) 21/338/6 21/321/14 |
100 | [๖๕๑] มาณพชื่อว่ากาปทิกะ ครั้นเป็นเด็กโกนศีรษะมีอายุ 16 ปี ได้พูดสอดขึ้น ในระหว่างๆ เมื่อพราหมณ์ผู้แก่เฒ่ากำลังเจรจาอยู่กับพระพุทธเจ้า พระองค์ จึงห้ามเขาว่า อย่าพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ (จังกีสูตร) 21/346/1 21/328/9 |
101 | [๖๕๕] ธรรม 5 ประการ คือ ความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามกัน ความ ตรึกตามอาการ ความทนได้ ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ ทั้ง 5 ประการนี้ มีวิบาก เป็น 2 ส่วนในปัจจุบัน คือ เป็นจริง เป็นเท็จ (จังกีสูตร) 21/349/5 21/331/2 |
102 | [๖๕๖] ข้อปฏิบัติ เพื่อ ตามรักษาสัจจะ (จังกีสูตร) 21/349/21 21/331/19 |
103 | [๖๕๗] ข้อปฏิบัติ เพื่อ ตรัสรู้สัจจะ (จังกีสูตร) 21/350/16 21/332/14 |
104 | [๖๕๘] ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุสัจจะ ได้แก่ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มาก . (จังกีสูตร) 21/353/6 21/334/26 |
105 | [๖๕๙] ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ คือ ความเพียร , ปัญญาเครื่อง พิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร... ศรัทธา มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา (จังกีสูตร) 21/353/15 21/335/10 |
106 | มหาอำมาตย์ ผู้สามารถพยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วได้เรียกว่า นักการ. (อ.จังกีสูตร) 21/359/19 21/341/2 |
107 | ไม่มีผู้ใดสามารถวัดขนาดของพระพุทธเจ้าได้ (อ.จังกีสูตร) 21/364/12 21/345/20 |
108 | อสุรินทราหู สูงถึง 48,000 โยชน์ ต้องแหงนคอดูพระพุทธเจ้า (อ.จังกีสูตร) 21/365/3 21/346/9 |
109 | แม้พระพุทธเจ้าจะพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้า หากกล่าวคุณของกันและกัน ไปตลอดทั้งกัป กัปพึงสิ้นไปในระหว่างเป็นเวลาช้านาน พระคุณของ พระตถาคตหาสิ้นไม่ (อ.จังกีสูตร) 21/367/12 21/348/18 |
110 | ฤๅษีอัฏฐกะเป็นต้น เหล่านั้น ตรวจดูด้วยตาทิพย์ ไม่ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบเคียงกับพระดำรัสของพระกัสสปพุทธเจ้า แล้วร้อยกรอง มนต์ทั้งหลายไว้. ส่วนพราหมณ์พวกอื่นเติมการฆ่าสัตว์เป็นต้นเข้าไป ทำลายพระเวททั้งสาม ทำให้ผิดกับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า (อ.จังกีสูตร) 21/368/18 21/349/26 |
111 | [๖๖๔] เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ สิ่งนั้น เรากล่าวว่าพึงบำเรอ. (เอสุการีสูตร) 21/375/14 21/355/24 |
112 | [๖๖๖] พระพุทธองค์ ย่อมบัญญัติ โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์ อันมีอยู่ของบุรุษ (เอสุการีสูตร) 21/377/2 21/357/7 |
113 | [๖๗๖] ทำชั่ว เพราะพ่อแม่ นรกก็ไม่ยกเว้น (ธนัญชานิสูตร) 21/386/10 21/366/6 |
114 | [๖๘๐] ทำชั่ว เพราะญาติ นรกก็ไม่ยกเว้น (ธนัญชานิสูตร) 21/388/8 21/367/25 |
115 | [๖๘๕] ทำชั่ว เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย ทำนุบำรุงกาย นรกก็ไม่ยกเว้น 21/390/16 21/370/2 |
116 | [๖๙๖-๗๐๒] ธนัญชานิพราหมณ์ ป่วยใกล้ตาย พระสารีบุตรได้ไปแสดงธรรม แก่เขาโดยลำดับ จนถึงทางเพื่อความเป็นพรหม ครั้นพราหมณ์ ตายได้ไปเกิด ในพรหมโลกชั้นต่ำ (ธนัญชานิสูตร) 21/396/14 21/375/11 |
117 | [๗๐๗] บุคคล ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ, พรหมจรรย์ สัญญมะ(ความสำรวม) และ ทมะ(ความฝึกตน), กรรม 4 อย่างนี้ เป็นกรรมอัน สูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทำให้ผู้ประพฤติ ถึงพร้อมด้วยวิชชา 3 ระงับกิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว ดูก่อนวาเสฏฐะท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็น ท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้งทั้งหลาย (วาเสฏฐสูตร) 21/414/6 21/389/12 |
118 | [๗๑๐] จริงอยู่ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดี กุศลธรรม เครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่ง อธิกรณ์ คือ ปฏิบัติผิด . (สุภสูตร) 21/429/1 21/403/11 |
119 | [๗๒๘] ธรรม 5 ประการ คือ สัจจะ ตบะ(ความเพียร) พรหมจรรย์ การเรียนมนต์ การบริจาค ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ ยินดีกุศลนี้ พระพุทธองค์ กล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน (สุภสูตร) 21/438/19 21/412/22 |
120 | [๗๓๐] ปฏิปทา เพื่อความเป็นสหายของพรหม (สุภสูตร) 21/440/12 21/414/10 |
121 | ตัวอย่าง การเอาเงินให้ผู้ตาย ของพราหมณ์ (อ.สุภสูตร) 21/444/5 21/418/4 |
122 | ปีติอันอาศัยกามคุณ 5 เกิดขึ้นย่อมมีโทษเพราะมี ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ และโสกะ เป็นต้น. (อ.สุภสูตร) 21/447/8 21/421/6 |
123 | [๗๓๘-๗๔๐] ทรงแสดงสมัยที่พระองค์ออกบวช แล้วเข้าไปศึกษากับอาฬารดาบส และอุทกดาบส (สคารวสูตร) 21/453/13 21/426/16 |
124 | [๗๔๑-๗๔๓] อุปมา 3 ข้อ เปรียบด้วยไม้สีไฟ (สคารวสูตร) 21/457/14 21/430/13 |
125 | [๗๔๔-๗๕๒] ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา (สคารวสูตร) 21/459/20 21/432/23 |
126 | [๗๕๓-๗๕๗] ทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา แล้วทรงบำเพ็ญด้วย มัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้ (สคารวสูตร) 21/464/15 21/437/11 |
127 | นางธนัญชานี พราหมณี นั้นเป็นอริยสาวิกาโสดาบัน (อ.สคารวสูตร) 21/468/5 21/440/13 |
128 | ฆ่าความโกรธ แล้วอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้วย่อมไม่เศร้าโศก พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอด อร่อย เพราะฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก (อ.สคารวสูตร) 21/469/14 21/441/23 |