1 | [๔] สิ่งที่รกชัฏ คือ มนุษย์. สิ่งที่ตื้น คือ สัตว์. และบุคคล 4 จำพวก มีอยู่ หาได้ อยู่ในโลก คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน ฯลฯ (กันทรกสูตร) 20/4/9 20/4/6 |
2 | [๑๑-๑๗] ทรงแสดงกถาว่าด้วยพระพุทธคุณ , ความถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ, การละนิวรณ์, ฌาน 4, ญาณป็นเครื่องระลึกชาติได้, จนถึง ความตรัสรู้ (กันทรกสูตร) 20/10/6 20/9/18 |
3 | อัศจรรย์ นั้นมี 2 อย่าง คือ อัศจรรย์ในการติเตียน อัศจรรย์ในการสรรเสริญ (กันทรกสูตร) 20/19/23 20/19/4 |
4 | ภิกษุเที่ยวไปใน อโคจร 6 และสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหา อันไม่สมควร 21 อย่าง ชื่อว่าไม่เลี้ยงชีพด้วยปัญญา ครั้นตายไปก็จะเป็นสมณยักษ์ เสวยทุกข์ ใหญ่ (อ.กันทรกสูตร) 20/20/22 20/21/15 |
5 | แม้เมื่ออยู่เฉพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ย่อมมีอันตรายแก่มรรคผลได้ เพราะความเสื่อมของกิริยา หรือเพราะบาปมิตร (อ.กันทรกสูตร) 20/26/17 20/26/26 |
6 | [๒๐] พระอานนท์แสดง รูปฌาน 4 อันภิกษุย่อมพิจารณารู้ชัดว่า แม้ธรรมเหล่านี้ มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยงมีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะ และวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้ (อัฏฐกนาครสูตร) 20/29/16 20/30/4 |
7 | [๒๑] พระอานนท์แสดง อัปปมัญญา 4 (ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ) อันภิกษุ พิจารณาย่อมรู้ชัดว่า แม้ธรรมเหล่านี้มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง มีความดับเป็น ธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในสมถะ และวิปัสสนา ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือละสังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 ได้ (อัฏฐกนาครสูตร) 20/32/7 20/32/16 |
8 | [๒๒] พระอานนท์ แสดงอรูปฌาน 4 อันภิกษุพิจารณาย่อมรู้ชัดว่า แม้ธรรม เหล่านี้มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง มีความดับเป็นธรรมดาดังนี้ เธอตั้งอยู่ในสมถะ และวิปัสสนา ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือละสังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 ได้ (อัฏฐกนาครสูตร) 20/35/10 20/35/9 |
9 | [๒๖-๓๓] อริยสาวก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ประการ เป็นผู้ได้ฌาน 4 โดยไม่ยากไม่ลำบากอย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าว อริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมควรจะตรัสรู้ (เสขปฏิปทาสูตร) 20/44/20 20/43/21 |
10 | [๓๔] ความเป็นผู้มีวิชชา (ความรู้) และจรณะ (เครื่องดำเนิน) (เสขปฏิปทาสูตร) 20/50/21 20/49/10 |
11 | พวกเจ้าศากยะได้ นิมนต์พระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ ให้ใช้สอยสันถาคารหลัง ใหม่ ก่อนพวกตนจะใช้สอย (อ.เสขปฏิปทาสูตร) 20/54/8 20/52/5 |
12 | อานิสงส์ในอาวาสทาน (อ.เสขปฏิปทาสูตร) 20/63/12 20/60/19 |
13 | สิกขาแม้ทั้ง 3 ก็รวมอยู่ในเสขปฏิปทา (อ.เสขปฏิปทาสูตร) 20/65/11 20/62/19 |
14 | [๓๘-๔๖] ธรรมเครื่องตัดโวหาร 8 ประการ (โปตลิยสูตร) 20/75/4 20/72/7 |
15 | [๔๗-๕๓] พระพุทธองค์เปรียบกามทั้งหลาย ด้วยร่างกระดูก ชิ้นเนื้อคบเพลิง หญ้า หลุมถ่านเพลิง ความฝัน ของยืม ผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก (โปตลิยสูตร) 20/81/7 20/77/13 |
16 | [๕๔] ทรงแสดงวิชชา 3 ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างโดย ประการทั้งปวง (โปตลิยสูตร) 20/86/6 20/81/22 |
17 | ต้นกำเนิดแม่น้ำ 5 สาย คือ คงคา ยุมนา อจิรวดี สรภู มหี (อ.โปตลิยสูตร) 20/89/9 20/84/21 |
18 | [๕๗] เนื้อที่เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ (ชีวกสูตร) 20/100/1 20/95/22 |
19 | [๖๐] ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่ บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ 5 ประการ (ชีวกสูตร) 20/103/7 20/98/22 |
20 | ปฏิจจ กัมมัง แปลว่า กระทำเจาะจงตน หรือเป็นชื่อของนิมิตตกรรม. กรรมที่ อาศัยตนเป็นเหตุกระทำมีอยู่ในเนื้อนั้น (อ.ชีวกสูตร) 20/105/16 20/101/4 |
21 | วินิจฉัยส่วนที่สงสัย 3 อย่าง ในเนื้อที่เขานำมาถวาย (อ.ชีวกสูตร) 20/106/11 20/102/1 |
22 | ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นเนื้อที่เขาทำเจาะจง มารู้ภายหลังที่ฉันแล้ว ไม่ต้องแสดงอาบัติ. ส่วนภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ (อ.ชีวกสูตร) 20/108/16 20/103/24 |
23 | [๖๔] พระพุทธเจ้าบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้ 3 ประการ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และทรงบัญญัติมโนกรรมว่า มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม (อุปาลิวาทสูตร) 20/114/8 20/109/5 |
24 | [๖๘-๗๐] อุบาลีคฤหบดี ชาวเมืองนาลันทา สาวกคฤหัสถ์ของนิครนถ์นาฏบุตร ไปเพื่อจะยกวาทะต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า ถ้าท่านจะพึงมั่นอยู่ในคำสัตย์ เจรจากัน เราทั้งสองปราศรัยกันได้ (อุปาลิวาทสูตร) 20/118/10 20/112/20 |
25 | [๗๑-๗๔] อุบาลีคฤหบดี แสดงตนเป็นอุบาสก และได้ฟังธรรมพระพุทธองค์. จบเทศนา ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน (อุปาลิวาทสูตร) 20/123/6 20/117/4 |
26 | [๘๓] นิครนถ์นาฏบุตร ทนดูสักการะ ที่อุบาลีคฤหบดี กระทำต่อพระพุทธเจ้าไม่ได้ โลหิตอันร้อนได้พลุ่งออกจากปากในที่นั้นเอง (อุปาลิวาทสูตร) 20/135/19 20/128/24 |
27 | พระพุทธเจ้า เมื่อตรัส มโนกรรมฝ่ายอกุศล ว่ามีโทษมาก จึงตรัส หมายถึง นิยตมิจฉาทิฏฐิ (อ.อุปาลิวาทสูตร) 20/139/1 20/131/24 |
28 | เรื่องป่า ทัณฑกี (อ.อุปาลิวาทสูตร) 20/144/22 20/138-142 |
29 | เรื่องป่า กลิงคะ (อ.อุปาลิวาทสูตร) 20/150-15320/150-153 20/142/21 |
30 | เรื่องป่า มาตังคะ (อ.อุปาลิวาทสูตร) 20/153/18 20/146/7 |
31 | ยักษ์บิดคอคน (อ.อุปาลิวาทสูตร) 20/166/1 20/156/16 |
32 | เทวดาชั้นจาตุมหาราชเสวยทิพยสุขทิพยสมบัติ 90 ล้านปี ชั้นดาวดึงส์ 360 ล้านปี (อ.อุปาลิวาทสูตร) 20/177/15 20/166/14 |
33 | [๘๕] ผู้มีความเห็นผิดมีคติ 2 อย่าง คือ นรก หรือ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (กุกกุโรวาทสูตร) 20/187/7 20/177/5 |
34 | [๘๘] กรรม 4 ประการ คือ กรรมดำมีวิบากดำ กรรมขาวมีวิบากขาว กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาวเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม (กุกกุโรวาทสูตร) 20/189/10 20/179/8 |
35 | กัมมทายาทา คือ ทายาทของกรรม เรากล่าวกรรมนั้นแหละ ว่าเป็นทายาท คือ เป็นมรดกของสัตว์เหล่านั้น. (อ.กุกกุโรวาทสูตร) 20/198/7 20/187/25 |
36 | มนุษย์ เทวดาทั้งหลาย เหล่าภุมมเทวดา เหล่าเวมานิกเปรต สัตว์ดิรัจฉาน บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์ (อ.กุกกุโรวาทสูตร) 20/198/21 20/188/16 |
37 | ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ถ้าประสงค์จะอุปสมบท ต้องตั้งอยู่ในภูมิของสามเณร แล้วสมาทานอยู่ปริวาส 4 เดือน (อ.กุกกุโรวาทสูตร) 20/199/14 20/189/8 |
38 | พระพุทธเจ้า บอกภิกษุรูปหนึ่งว่า เธอไปให้เสนิยะ อาบน้ำแล้วให้บรรพชาแล้ว นำตัวมา ภิกษุนั้นกระทำดังนั้นแล้ว พระพุทธองค์นั่งในท่ามกลางสงฆ์ให้เขา อุปสมบทแล้ว เป็นอันว่า เสนิยะ ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระพุทธเจ้า (อ.กุกกุโรวาทสูตร) 20/200/9 20/190/3 |
39 | [๙๒] อภัยราชกุมาร ถวายอาหารอันประณีต แด่พระพุทธเจ้า ให้อิ่มหนำเพียง พอด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยเสร็จ ทรงชักพระหัตถ์ จากบาตรแล้ว อภัยราชกุมารทรงถือ อาสนะต่ำอันหนึ่ง ประทับนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อถามปัญหา (อภยราชกุมารสูตร) 20/204/2 20/193/13 |
40 | [๙๔] พระตถาคตย่อมรู้วาจาที่เหมาะสม ควรใช้และไม่ควรใช้ รู้กาลที่จะพยากรณ์ วาจานั้น เพราะพระตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย (อภยราชกุมารสูตร) 20/206/11 20/195/15 |
41 | เรื่อง ชายแก่กับนักเลงเหล้า 4 คน (อ.อภยราชกุมารสูตร) 20/212/1 20/201/9 |
42 | [๙๙] พระพุทธเจ้าทรงแสดง แม้เวทนา 2 ถึงเวทนา 108 ผู้ใดไม่รู้ตามด้วยดี ไม่สำคัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่ทรงแสดงโดยปริยาย อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ความบาดหมางทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกัน และกันด้วยหอกคือปาก อยู่ (พหุเวทนิยสูตร) 20/217/1 20/205/22 |
43 | [๑๐๐-๑๐๒] พระพุทธเจ้าทรงแสดง สุขที่ยิ่งกว่า กามคุณ 5 คือ สุขในรูปฌาน อรูปฌาน และสัญญาเวทยิตนิโรธ (พหุเวทนิยสูตร) 20/217/12 20/206/12 |
44 | นิโรธ ชื่อว่า สุขโดยเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวย (อ.พหุเวทนิยสูตร) 20/222/5 20/210/22 |
45 | [๑๐๔] พราหมณ์ และคฤหบดี ชาวบ้านศาลา ยังไม่มีศาสนา และคำสอนที่เป็น ที่ศรัทธายึดถือ (อปัณณกสูตร) 20/224/6 20/212/16 |
46 | [๑๐๕-๑๒๑] พระพุทธเจ้าทรงแสดง อปัณณกธรรม(ธรรมที่ไม่ผิด) และชี้แจง วาทะที่ขัดกัน ของสมณพราหมณ์บางพวก (อปัณณกสูตร) 20/224/19 20/213/5 |
47 | [๑๒๒-๑๒๓] ทรงแสดงบุคคล 4 จำพวก มีผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน เป็นต้น (อปัณณกสูตร) 20/242/2 20/229/2 |
48 | ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชนิดดิ่งทีเดียว ห้ามทางสวรรค์ ห้ามทางพระนิพพาน ในอันดับ แห่งอัตภาพนั้น สัตว์นี้เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน ชื่อว่า เป็นตอแห่งวัฏฏะ (อ.อปัณณกสูตร) 20/259/18 20/245/1 |
49 | [๑๒๗] บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรม แม้น้อยหนึ่งไม่มี (จูฬราหุโลวาทสูตร) 20/265/11 20/251/9 |
50 | [๑๒๘-๑๓๑] บุคคลพิจารณาเสียก่อนแล้ว จึงทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ. ถ้ากรรมใด เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร พึงแสดงเปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย แล้วพึงสำรวมต่อไป (จูฬราหุโลวาทสูตร) 20/265/15 20/251/13 |
51 | พระพุทธองค์ตรัสกับสามเณรราหุลว่า ดูก่อนราหุล ชื่อว่าสามเณรไม่ควรกล่าว ติรัจฉานกถา (อ.จูฬราหุโลวาทสูตร) 20/272/19 20/258/2 |
52 | พระพุทธองค์ ตรัสกุมารกปัญหา และอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้ เมื่อพระราหุล เป็นสามเณร อายุ 7 พรรษา ตรัสมหาราหุโลวาทสูตร ตอนเป็นสามเณรอายุ 18 พรรษา ตรัสจุลลราหุโลวาทสูตร เมื่อพระราหุลเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา (อ.จูฬราหุโลวาทสูตร) 20/273/17 20/258/22 |
53 | บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ บุคคลนั้นจะไม่พึงทำกรรม น้อยหนึ่งในการล่วงอาบัติทุกกฏ เป็นต้น. ไม่มี เพราะผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่จะไม่ทำ บาปไม่มี ฉะนั้นเธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวเท็จ แม้เพราะหัวเราะ, แม้เพราะ ใคร่จะเล่นก็ตาม. (อ.จูฬราหุโลวาทสูตร) 20/275/18 20/260/17 |
54 | ในฐานะอย่างไรเล่า จึงควรชำระกายกรรม วจีกรรม ในฐานะอย่างไรจึงควร จึงควรชำระ มโนกรรม (อ.จูฬราหุโลวาทสูตร) 20/276/10 20/261/8 |
55 | [๑๓๓] รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต อยู่ไกล อยู่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ทั้งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณด้วย (มหาราหุโลวาทสูตร) 20/278/9 20/262/11 |
56 | [๑๓๕-๑๓๙] ทรงแสดง ธาตุ 5 คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ แก่พระราหุล (มหาราหุโลวาทสูตร) 20/279/9 20/263/12 |
57 | [๑๔๐-๑๔๔] ทรงแสดงแก่พระราหุล ให้เจริญภาวนา เสมอด้วยธาตุ 5 (มหาราหุโลวาทสูตร) 20/282/2 20/266/2 |
58 | [๑๔๕-๑๔๖] การเจริญภาวนาธรรม 6 อย่าง, การเจริญอานาปานสติภาวนา (อภยราชกุมารสูตร) 20/283/18 20/267/16 |
59 | ผู้ยินดีในอัตภาพร่างกาย ว่างาม ว่าผ่องใส เมื่อกิเลสเติบโตขึ้นในภายในย่อม ไม่เห็นตามความเป็นจริง จักถือ ปฏิสนธิในนรกบ้าง เดียรัจฉานบ้าง ปิตติวิสัย บ้าง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง (อ.มหาราหุโลวาทสูตร) 20/288/6 20/271/23 |
60 | พระราหุล เป็นผู้เลิศของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่การศึกษา และผู้บวชด้วยศรัทธา (อ.มหาราหุโลวาทสูตร) 20/290/5 20/273/18 |
61 | การเจริญอานาปานสติ มีผลมาก อย่างไร ? (อ.มหาราหุโลวาทสูตร) 20/292/19 20/276/1 |
62 | [๑๕๒] พระพุทธเจ้า ไม่ทรงพยากรณ์ในทิฏฐิ 10 เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. (จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร) 20/304/7 20/288/4 |
63 | [๑๕๖-๑๕๘] ข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสผูกใจสัตว์ อย่างหยาบ) 5 อย่าง (มหามาลุงกยโอวาทสูตร) 20/311/19 20/295/2 |
64 | [๑๕๙] เหตุที่ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ เป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญา วิมุตติ เพราะความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น (มหามาลุงกยโอวาทสูตร) 20/314/20 20/299/17 |
65 | อรรถกถาอธิบายไว้ 20/319/18 20/304/1 |
66 | [๑๖๐] " เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ" (ภัททาลิสูตร) 20/321/10 20/305/8 |
67 | [๑๖๒-๑๖๕] พระภัททาลิมาขอขมาพระพุทธเจ้า ซึ่งตนได้ประกาศความไม่ อุตสาหะขึ้นในเมื่อพระพุทธองค์กำลังทรง บัญญัติสิกขาบท. พระพุทธองค์ทรง ตำหนิหลายประการ แล้วก็อดโทษให้ (ภัททาลิสูตร) 20/322/9 20/306/8 |
68 | [๑๖๖] ภิกษุผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาบท ถึงไปอยู่เสนาสนะอันสงัด พระศาสดา ก็ติเตียนได้... เทวดาก็ติเตียนได้ ตนเองก็ติเตียนตนได้ จึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ (ภัททาลิสูตร) 20/325/20 20/309/8 |
69 | [๑๖๙-๑๗๑] เหตุปัจจัย สำหรับข่มแล้วข่มเล่า ซึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ภัททาลิสูตร) 20/330/2 20/313/2 |
70 | [๑๗๒] เหตุที่เมื่อก่อน มีสิกขาบทน้อย แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลเป็นอันมาก แต่เดี๋ยวนี้มีสิกขาบทมาก แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อย (ภัททาลิสูตร) 20/333/17 20/316/12 |
71 | [๑๗๔] ธรรม 10 ประการ เปรียบด้วยม้าอาชาไนย (ภัททาลิสูตร) 20/335/2 20/317/20 |
72 | ความหมาย ที่พระพุทธองค์ให้พระภัททาลิฉันส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่ง มาฉันอีก (อ.ภัททาลิสูตร) 20/337/9 20/319/19 |
73 | พระภัททาลิ เคยเกิดในกำเนิดกา ในชาติลำดับมาจึงเป็นผู้หิวบ่อย (อ.ภัททาลิสูตร) 20/337/17 20/320/5 |
74 | ความผิดที่ปรากฏ ในระหว่างมหาชน จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยาก (อ.ภัททาลิสูตร) 20/339/4 20/321/9 |
75 | ภิกษุปุถุชน ถือว่า ยังเป็นคนภายนอกศาสนาของพระพุทธองค์ (อ.ภัททาลิสูตร) 20/341/6 20/322/22 |
76 | ภิกษุผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาบท เมื่อไปอยู่ป่า นอกจากเทวดาจะติเตียนแล้ว ยังแสดงอารมณ์อันน่ากลัวเพื่อให้หนี และเมื่อภิกษุนั้นนึกถึงศีล ฐานะอัน เศร้าหมองย่อมปรากฏจิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด มีความรำคาญ แล้วลุกหลีกไป (อ.ภัททาลิสูตร) 20/341/15 20/323/16 |
77 | เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติสัทธรรม ก็ชื่อว่าอันตรธาน (อ.ภัททาลิสูตร) 20/344/12 20/326/7 |
78 | ความสามารถของม้าสินธพ (อ.ภัททาลิสูตร) 20/349/8 20/331/5 |
79 | [๑๗๖] ก่อนที่ยังไม่ได้ บัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายฉันทั้งเวลาเช้า กลางวัน เย็น พระองค์ทรงบัญญัติให้ งดการฉันในกลางวันก่อน ต่อมาจึงให้งดการ ฉันในเวลาเย็น. มีอยู่ที่ภิกษุไปบิณฑบาตกลางคืน (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/353/9 20/335/10 |
80 | [๑๗๖] ชาวบ้านด่าภิกษุว่า พ่อแม่ของภิกษุตายเสียแล้ว ท่านเอามีดที่คมเชือด ท้องเสียยังจะดีกว่า การที่ท่านเที่ยวบิณฑบาตในเวลาค่ำมืดเพราะเหตุแห่งท้อง (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/354/16 20/336/16 |
81 | [๑๗๗] โทษเพียงเล็กน้อย ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ใคร่ในการศึกษา. ย่อมเป็นเครื่อง ผูกอันมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/355/13 20/337/9 |
82 | [๑๗๘-๑๘๐] ทรงแสดงเครื่องผูก มีอุปมาด้วยช้างต้น คนจน คนมั่งมี (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/356/10 20/338/5 |
83 | [๑๘๑] ทรงแสดง บุคคล 4 จำพวก (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/360/15 20/342/7 |
84 | [๑๘๒] ความสุขโสมนัส ที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ 5 นี้ ทรงกล่าวว่า กามสุข ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชนไม่ใช่สุขของพระอริยะ อันบุคคลไม่ควร เสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัวแต่สุขนั้น (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/362/13 20/344/2 |
85 | [๑๘๔] ฌานที่ 1 ถึง ฌานที่ 3 พระพุทธองค์ตรัสว่า ยังมีอะไรหวั่นไหว ส่วน ฌานที่ 4 นั้น ไม่หวั่นไหว (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/363/8 20/344/19 |
86 | [๑๘๕] ฌานที่1 จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น.ทรงกล่าวว่าไม่ควร ทำความอาลัย จงละเสีย (ลฑุกิโกปมสูตร) 20/364/4 20/345/13 |
87 | พระอุทายี ในสูตรนี้ คือ พระมหาอุทายีเถระ (อ.ลฑุกิโกปมสูตร) 20/366/14 20/348/5 |
88 | โมฆบุรุษ มีศรัทธาอ่อน และเพราะมีปัญญาอ่อน แม้โทษเพียงวัตถุแห่งอาบัติ ทุกกฏ ก็เป็นของใหญ่ละได้ยาก ดุจวัตถุแห่งปาราชิก (อ.ลฑุกิโกปมสูตร) 20/369/20 20/351/7 |
89 | พระอนาคามี ก็ยังยินดีว่า โอสุข โอสุข ตราบเท่าที่ ยังมีความอยากได้ในภพ ของเทวดาอยู่. ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้ (อ.ลฑุกิโกปมสูตร) 20/373/10 20/354/19 |
90 | [๑๘๖-๑๘๘] พระพุทธเจ้าประณาม ภิกษุอาคันตุกะ ประมาณ 500 มีพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า. ดังนั้น เจ้าศากยะ ชาวเมืองจาตุมา และท้าวสหัมบดีพรหม จึงทูลวิงวอน เพื่อให้พระองค์ยินดีที่จะโอวาทภิกษุสงฆ์ ด้วยเปรียบต้นกล้าอ่อน และลูกโคที่ไม่เห็นแม่ (จาตุมสูตร) 20/376/4 20/357/5 |
91 | [๑๘๙] เมื่อพระพุทธองค์ประณามภิกษุสงฆ์ พระสารีบุตรคิดว่าพระองค์ทรงมี ความขวนขวายน้อย แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อยประกอบตาม ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่ ส่วนพระมหาโมคคัลลานะ คิดว่าให้ พระพุทธองค์อยู่เป็นสุข ส่วนตนกับพระสารีบุตรจักช่วยกันปกครอง ภิกษุสงฆ์ (จาตุมสูตร) 20/380/2 20/360/18 |
92 | [๑๙๐-๑๙๔] ภัย 4 อย่าง คือ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ ปลาร้าย (จาตุมสูตร) 20/381/7 20/361/22 |
93 | [๑๙๗] พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงอดกลั้น ของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของ บางอย่าง (นฬกปานสูตร) 20/394/12 20/374/8 |
94 | [๑๙๘-๒๐๒] พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์สาวกทั้งหลาย ผู้ตายไปแล้วว่าเกิด ที่ไหน ก็เพื่อให้ผู้ที่เคยได้เห็นได้ยิน เรื่องของสาวกเหล่านั้น จะน้อมจิตไปเพื่อ ความเป็นอย่างนั้นบ้าง เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้น (นฬกปานสูตร) 20/394/15 20/374/11 |
95 | สิ่งปาฏิหาริย์ ที่ตั้งอยู่ ตลอดกัป 4 อย่าง (อ.นฬกปานสูตร) 20/403/13 20/383/11 |
96 | [๒๐๔-๒๒๑] พระสารีบุตรได้ปรารภ ถึงโคลิสสานิภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ซึ่งมีมารยาทหยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ แล้วพระเถระได้แสดง ข้อ ปฏิบัติอันภิกษุ ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ พึงประพฤติ เมื่อเข้าไปสู่สงฆ์ อยู่ใน สงฆ์ (โคลิสสานิสูตร) 20/407/8 20/386/15 |
97 | ภิกษุอยู่ใกล้อาสนะที่ถึงแก่ตนพระเถระกล่าวว่า นั่งเถิด จึงควรนั่ง หากพระเถระ ไม่กล่าวควรถามว่าท่านครับ ผมจะนั่งได้หรือ? ตั้งแต่เวลากล่าวถามเมื่อพระเถระ กล่าวว่า นั่งเถิด หรือแม้เมื่อท่านไม่กล่าว ก็ควรนั่งได้ (โคลิสสานิสูตร) 20/414/6 20/392/16 |
98 | [๒๒๒] ตรัสให้ ภิกษุทั้งหลาย เว้นการฉันในราตรี เพื่อความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ (กีฏาคิริสูตร) 20/417/4 20/395/6 |
99 | [๒๓๐-๒๓๗] บุคคล 7 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก (กีฏาคิริสูตร) 20/424/20 20/402/5 |
100 | [๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผล ด้วยการไป ครั้งแรกเท่านั้น หามิได้. แต่การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการศึกษา โดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ (กีฏาคิริสูตร) 20/428/13 20/405/13 |
101 | [๒๓๙] สภาพ 2 คือ อรหัตผล หรืออนาคามีผลย่อมมีแก่สาวกผู้ประพฤติด้วย ตั้งใจว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาเราเป็นสาวก พระพุทธเจ้าย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชา แก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลง ในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. (กีฏาคิริสูตร) 20/429/22 20/406/20 |
102 | พวกพระฉัพพัคคีย์ : พระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ อยู่สาวัตถี, พระเมตติยะ และภุมมชกะ อยู่เมืองราชคฤห์, พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะอยู่กีฏาคิรีนิคม (อ.กีฏาคิริสูตร) 20/431/20 20/408/17 |
103 | อธิบายพระอริยะ 7 จำพวก (อ.กีฏาคิริสูตร) 20/433/5 20/409/21 |
104 | [๒๔๒] เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระพุทธองค์ทรงบรรลุวิชชา 3 ชื่อว่า พยากรณ์ ถูกสมควรแก่ธรรม. พระองค์เพียงต้องการเท่านั้น ย่อมระลึกชาติได้เป็นอันมาก ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ (จูฬวัจฉโคตตสูตร) 20/441/19 20/418/22 |
105 | [๒๔๓] ตั้งแต่ภัทรกัปนี้ไปได้ 91 กัป มีอาชีวกคนเดียวที่เป็นกรรมวาที กิริยวาที ได้ไปสวรรค์ และลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญจากความดี โดยที่สุดแม้จากคุณ เครื่องไปสู่สวรรค์ (จูฬวัจฉโคตตสูตร) 20/444/1 20/420/21 |
106 | คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง (จูฬวัจฉโคตตสูตร) 20/445/17 20/422/17 |
107 | [๒๔๗] ทิฏฐิ 10 คือ ความเห็นว่าโลกเที่ยง เป็นต้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม... ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน. (อัคคิวัจฉโคตตสูตร) 20/449/3 20/427/7 |
108 | [๒๕๐] ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะ หยั่งถึงได้ด้วยความตรึกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันผู้มีความเห็น เป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักอาจารย์อื่น รู้ได้ยาก. (อัคคิวัจฉโคตตสูตร) 20/450/20 20/429/15 |
109 | ความถือว่าเรา เป็นทิฏฐิ. ความถือว่าของเรา เป็นตัณหา. ความถือตัวอันนอน อยู่ในสันดาน เป็นมานะ. (อ.อัคคิวัจฉโคตตสูตร) 20/454/14 20/434/3 |
110 | [๒๕๔-๒๕๖] พระพุทธเจ้า แสดงกุศลมูล 3 อกุศลมูล 3. กุศลกรรมบถและ อกุศลกรรมบถ 10 และบอกความที่มี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ได้บรรลุธรรมจำนวนมาก ในศาสนานี้ แก่ปริพาชกวัจฉโคตร. (มหาวัจฉโคตตสูตร) 20/456/17 20/436/7 |
111 | [๒๖๐-๒๖๖] ปริพาชกวัจฉโคตร ได้อุปสมบทแล้ว 15 วัน ก็ได้เป็นพระอนาคามี พระพุทธองค์ให้เจริญธรรม 2 คือ สมถะ และวิปัสสนา พร้อมกับแสดงถึง อภิญญา 6 คือ แสดงฤทธิ์ได้ ได้ยินเสียงทิพย์ รู้ใจผู้อื่น ระลึกชาติได้ รู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ สิ้นอาสวะ (มหาวัจฉโคตตสูตร) 20/464/2 20/442/20 |
112 | [๒๗๒] กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง 4 มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญ ด้วยข้าวสุก และขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย เป็นธรรมดา ควรพิจารณาเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... (ทีฆนขสูตร) 20/475/16 20/453/21 |
113 | [๒๗๓] ทรงแสดงข้อพิจารณา เวทนา 3 และภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่ วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ. (ทีฆนขสูตร) 20/476/4 20/454/6 |
114 | [๒๗๔] ขณะที่พระพุทธเจ้า แสดงสูตรนี้อยู่ พระสารีบุตรซึ่งถวายงานพัด อยู่ข้าง หลังพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุพระอรหัต ส่วนทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล (ทีฆนขสูตร) 20/477/1 20/455/2 |
115 | ถ้ำสูกรขาตา มีมาตั้งแต่ ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า (อ.ทีฆนขสูตร) 20/478/4 20/456/5 |
116 | ดูก่อนจิตตคฤหบดี ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กันในโลก ภาษาของชาวโลกโวหาร ของชาวโลก บัญญัติของชาวโลก แต่ไม่ยึดถือด้วยทิฏฐิ. (อ.ทีฆนขสูตร) 20/484/7 20/462/6 |
117 | เมื่อจบเทศนานี้ พระพุทธองค์เสด็จลงจาก ภูเขาคิชฌกูฏ ไปยังเวฬุวันได้ทรง ประชุมพระสาวก มีภิกษุที่เป็นเอหิภิกขุ 1,250 รูป ทำวิสุทธิอุโปสถในวันเพ็ญ มาฆฤกษ์ภิกษุที่มาประชุม ล้วนเป็นพระอรหันต์ ทรงอภิญญา (อ.ทีฆนขสูตร) 20/485/1 20/463/1 |
118 | [๒๘๓-๒๘๖] ทรงเปรียบ ผู้บริโภคกาม เหมือน คนโรคเรื้อน (มาคัณฑิยสูตร) 20/492/5 20/469/19 |
119 | [๒๘๗] ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทาง ทั้งหลายอันให้ถึง อมตธรรม ทางมีองค์ 8 เป็นทางอันเกษม (มาคัณฑิยสูตร) 20/496/3 20/473/11 |
120 | [๒๘๘-๒๙๐] ทรงเปรียบ ผู้บริโภคกาม เหมือน คนตาบอด (มาคัณฑิยสูตร) 20/496/20 20/474/2 |
121 | [๒๙๐] "เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูป เท่านั้น... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้" (มาคัณฑิยสูตร) 20/500/3 20/476/25 |
122 | ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุสำรวมในทวารทั้งปวงย่อมพ้น จากทุกข์ทั้งปวง (อ.มาคัณฑิยสูตร) 20/503/20 20/480/22 |
123 | [๒๙๔-๓๐๒] พระอานนท์แสดงลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาส ที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ 4 ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ถึงเมื่ออยู่ก็ พึงยังกุศลธรรมเครื่อง ออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ (สันทกสูตร) 20/514/11 20/491/11 |
124 | [๓๐๔-๓๐๗] พรหมจรรย์อันเว้น ความยินดี 4 ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ ประพฤติ (สันทกสูตร) 20/524/10 20/500/18 |
125 | [๓๐๙-๓๑๐] พรหมจรรย์ที่วิญญูชน พึงอยู่โดยส่วนเดียวและเมื่ออยู่ ก็พึงยัง กุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ ให้สำเร็จได้ (สันทกสูตร) 20/528/9 20/504/10 |
126 | [๓๑๑] พระอรหันต์ ไม่ล่วงฐานะ 5. (สันทกสูตร) 20/535/1 20/508/20 |
127 | การพูดอันเป็นการขัดขวางทางสวรรค์ และนิพพาน ชื่อว่าติรัจฉานกถา (สันทกสูตร) 20/538/2 20/512/1 |
128 | [๓๒๔] บางครั้งพระพุทธเจ้า บริโภคอาหาร เสมอขอบปากบาตรก็มี ยิ่งกว่าก็มี (มหาสกุลุทายิสูตร) 20/556/1 20/531/8 |
129 | [๓๒๙-๓๓๒] ธรรม 5 ประการ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลาย สักการะเคารพ นับถือบูชา แล้ว พึ่งพระพุทธองค์อยู่ (มหาสกุลุทายิสูตร) 20/558/19 20/534/4 |
130 | [๓๓๓-๓๕๕] ปฏิปทาเพื่อให้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา มีสติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, อริยมรรค 8, วิโมกข์ 8, อภิภายตนะ 8, กสิณายตนะ10, ฌาน 4, พิจารณากายอันประกอบด้วย มหาภูต 4, เนรมิตกายอื่นจากกายนี้, ... สิ้นอาสวะ (มหาสกุลุทายิสูตร) 20/561/9 20/536/5 |
131 | เรื่องสามเณรผู้มีฤทธิ์ ได้เสื่อมจากฌาน และลาสิกขา เพราะธิดาช่างหูก (อ.มหาสกุลุทายิสูตร) 20/585/20 20/558/23 |
132 | เรื่องภิกษุ 30 รูป และสามเณร ได้เห็นคนเก็บถ่านฟืน ผู้เคยเป็นสมณะ ที่มีฤทธิ์ มาก. คนเก็บฟืนนั้นได้เตือนสติ เมื่อชายผู้นั้นกล่าวอยู่ ภิกษุ 30 รูป เหล่านั้น ถึงความสลดใจ เห็นแจ้งอยู่ ได้บรรลุพระอรหันต์ ณ ที่นั้นเอง (อ.มหาสกุลุทายิสูตร) 20/590/3 20/562/24 |
133 | ความลามกเกิดขึ้น 4 อย่าง คือ เกิดขึ้นในปัจจุบัน , เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้ว ปราศไป , เกิดขึ้นเพราะทำโอกาส , เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ (อ.มหาสกุลุทายิสูตร) 20/591/12 20/564/7 |
134 | อภิภายตนะ คือ เหตุเครื่องครอบงำ ธรรมอันเป็นข้าศึกบ้าง อารมณ์บ้าง (อ.มหาสกุลุทายิสูตร) 20/596/22 20/569/14 |
135 | อภิภายตนะเล็กน้อยเป็นที่สบายแก่ วิตกจริต , อภิภายตนะหาประมาณมิได้ เป็นที่สบายแก่โมหะจริต, รูปผิวทอง เป็นที่สบายแก่โทสจริต, รูปผิวทรามเป็น ที่สบายแก่ราคะจริต (อ.มหาสกุลุทายิสูตร) 20/598/17 20/571/10 |
136 | มโนมยิทธิ (อ.มหาสกุลุทายิสูตร) 20/602/7 20/574/19 |
137 | [๓๖๔] ความดำริอันเป็นอกุศล มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน ปฐมฌานเป็นที่ดับแห่ง ความดำริอันเป็นอกุศล (สมณมุณฑิกสูตร) 20/611/4 20/583/6 |
138 | [๓๖๕] ความดำริอันเป็นกุศล มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน ทุติยฌานเป็นที่ดับแห่ง ความดำริอันเป็นกุศล (สมณมุณฑิกสูตร) 20/612/2 20/584/4 |
139 | [๓๖๖] พระพุทธเจ้าบัญญัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ว่าเป็นผู้มี กุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติ อันอุดม ไม่มีใครรบได้ (สมณมุณฑิกสูตร) 20/613/2 20/585/2 |
140 | จิตของเด็กอ่อน มีอารมณ์ในอดีตเป็นไป เด็กอ่อนมาจากนรกระลึกถึงทุกข์ใน นรกย่อมร้องไห้ มาจากเทวโลก ระลึกสมบัติในเทวโลกย่อมหัวเราะ (อ.สมณมุณฑิกสูตร) 20/616/4 20/588/3 |
141 | ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมบริบูรณ์ในโสดาปัตติผล (อ.สมณมุณฑิกสูตร) 20/617/10 20/589/10 |
142 | ความดำริเป็นอกุศล ย่อมดับไม่เหลือ เพราะการบรรลุอนาคามิผล (อ.สมณมุณฑิกสูตร) 20/618/4 20/590/7 |
143 | [๓๘๒-๓๘๔] ฌาน 4 เป็นปฏิปทาที่มีเหตุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งโลกที่มีสุขโดย ส่วนเดียว (จูฬสกุลุทายิสูตร) 20/629/12 20/600/19 |
144 | [๓๘๕-๓๘๖] ธรรมที่ยิ่งกว่าประณีต กว่าการที่จะทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดย ส่วนเดียว (จูฬสกุลุทายิสูตร) 20/631/4 20/602/8 |
145 | ปีศาจฝุ่น คือ ปีศาจที่เกิดในที่ไม่สะอาด ด้วยว่าปีศาจนั้น ถือเอารากไม้แล้ว ไม่ปรากฏกาย (อ.จูฬสกุลุทายิสูตร) 20/637/1 20/607/14 |
146 | บุรพกรรม ที่ทำให้สกุลุทายิปริพาชกไม่ได้บวช และในสมัยของพระเจ้าธรรมาโศกราช เขาได้มาบวช แล้วได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่า พระอัสสคุตตเถระได้ เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี (อ.จูฬสกุลุทายิสูตร) 20/640/11 20/611/7 |
147 | [๔๐๑] บุรุษผู้รู้ความ เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรงขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนัก ก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่าการที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูกคือ อวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น (เวขณสสูตร) 20/648/7 20/617/21 |