1 | [๓๖๑] นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้ห้ามพระพุทธเจ้าไม่ให้เข้าไปยังป่าโคสิงคสาลวัน ซึ่งพระอนุรุทธะ พระนันทิยะ พระกิมิละ กำลังทำความเพียรอยู่ . (จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/1/419/1/4 19/1/9 |
2 | [๓๖๕] ธรรมเครื่องอยู่สำราญ 9 อย่าง (จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/4/1019/4/10 19/4/18 |
3 | [๓๖๗] ทีฆปรชนยักษ์ ได้ประกาศว่าเป็นลาภของชาววัชชี ที่มีพระพุทธเจ้า และพระเถระทั้ง 3 คือ พระอนุรุทธะ พระนันทิยะ พระกิมิละ มาพักอยู่ เสียงประกาศได้แพร่ต่อกันไปจนถึงพรหมโลก (จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/8/1019/8/10 19/8/9 |
4 | พระพุทธเจ้าปล่อยให้ภิกษุล้างพระบาท ก็เพื่อกำหนดฤดูของพระวรกาย และ เพื่อให้จิตของภิกษุเหล่านั้นร่าเริง (อ.จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/15/819/15/8 19/15/12 |
5 | วัตรในโรงฉันในที่ทำภัตตกิจในป่า ภายนอกวิหาร (อ.จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/18/1419/18/14 19/19/3 |
6 | ในวัน14 ค่ำ15 ค่ำ 8 ค่ำ พระเถระทั้ง 3 รูป ถามตอบปัญหาในพระไตรปิฎก จนอรุณขึ้น (อ.จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/19/2419/19/24 19/20/16 |
7 | ทีฆปรชนยักษ์ เป็นเทวราชองค์หนึ่ง ในจำนวนยักษ์เสนาบดี 28 องค์ (อ.จูฬโคสิงคสาลสูตร) 19/22/6 19/22/6 19/23/8 |
8 | [๓๖๙-๓๘๒] พระสารีบุตร ถามว่า ป่าโคสิงคสาลวันนี้ จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร พระเถระทั้งหลายมี พระมหากัสสปะ พระมหาโมคคัลลานะ พระอนุรุทธะ พระกังขาเรวตะ พระอานนท์ ได้ตอบตามอัธยาศัย ของตน ๆ แล้วเข้าไปกราบทูล พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสสรรเสริญความสิ้นอาสวะ เพื่ออนุเคราะห์ชนผู้เกิด ภายหลังจะได้ประพฤติตาม. (มหาโคสิงคสาลสูตร) 19/24-36 19/24-36 19/25-37 |
9 | [๓๘๔] นายโคบาล (คนเลี้ยงวัว) ประกอบด้วยองค์11 ประการแล้ว ไม่ควรจะ รักษาหมู่โค และ ไม่ทำหมู่โคให้เจริญได้ (มหาโคปาลสูตร) 19/52/819/52/8 19/54/2 |
10 | [๓๘๔-๓๘๕] ภิกษุประกอบด้วยองค์11 ประการ ไม่ควรถึงความเจริญใน ธรรมวินัยนี้ (มหาโคปาลสูตร) 19/52/1719/52/17 19/54/13 |
11 | [๓๘๖-๓๘๗] ภิกษุประกอบด้วยองค์11 ประการ ควรจะถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ (มหาโคปาลสูตร) 19/56/319/56/3 19/57/14 |
12 | [๓๘๗] ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง และรูปทั้งปวง ก็คือ มหาภูตรูปทั้ง 4 และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ทั้ง 4. ภิกษุเป็นผู้รู้ จักรูปอย่างนี้ (มหาโคปาลสูตร) 19/56/1019/56/10 19/57/22 |
13 | ส่วนแห่งรูป 25 คือ ตา หู จมูก ลิ้น... ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยง อาหารคือ คำข้าว (อ.มหาโคปาลสูตร) 19/63/11 19/63/11 19/64/25 |
14 | ภิกษุไม่สุมควัน คือ ไม่ทำธรรมกถา หรือสรภัญญะ อุปนิสินนกถา (การนั่งคุย สนทนา เพื่อตอบคำซักถาม แนะนำชี้แจง ให้คำปรึกษา) หรืออนุโมทนา แต่นั้น พวกมนุษย์ ย่อมไม่รู้จักว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูต มีคุณดังนี้ (อ.มหาโคปาลสูตร) 19/65/419/65/4 19/66/20 |
15 | ปวารณา มี 2 คือ ปวารณาด้วยวาจา ปวารณาด้วยปัจจัย (อ.มหาโคปาลสูตร) 19/66/2119/66/21 19/68/20 |
16 | พวกภิกษุใหม่ เมื่อไม่ได้ การสงเคราะห์ แต่สำนักของพระเถระทั้งหลาย โดย ประการทั้งปวง ย่อมไม่อาจ เพื่อจะดำรงอยู่ในศาสนานี้ได้ (อ.มหาโคปาลสูตร) 19/67/16 19/67/16 19/69/16 |
17 | [๓๙๑] " ภิกษุทั้งหลาย ตัวเราเป็นผู้ฉลาดต่อโลกหนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาด ต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจมฤตยู. ชนเหล่าใดจักสำคัญสิ่งที่ ควรฟัง ควรเชื่อต่อเรานั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ และสุขแก่ชนพวกนั้น ตลอดกาลนาน " (จูฬโคปาลสูตร) 19/70/19 19/70/19 19/72/19 |
18 | [๓๙๖] พระพุทธเจ้าแนะนำ สั่งสอนสาวก อย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน (จูฬสัจจกสูตร) 19/79/119/79/1 19/80/7 |
19 | [๔๐๑] ด้วยเหตุเพียงไร จึงชื่อว่า เป็นผู้ได้ทำตามคำสั่งสอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ถึงความแกล้วกล้าปราศจากความครั่นคร้าม ไม่ต้อง เชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา (จูฬสัจจกสูตร) 19/84/119/84/1 19/86/21 |
20 | [๔๐๒] ภิกษุที่พ้นจากอาสวะแล้ว ย่อมประกอบด้วยคุณที่เลิศไม่มีคุณอื่นจะ ยิ่งกว่า 3 ประการ คือ ญาณเครื่องเห็นอันเลิศ ความปฏิบัติอันเลิศ ความพ้น อันเลิศ (จูฬสัจจกสูตร) 19/85/2 19/85/2 19/88/8 |
21 | [๔๐๓-๔๐๔] เจ้าลิจฉวี ทั้งหลายได้นำ อาหารประมาณ 500 หม้อ ไปให้แก่ สัจจกนิครนถ์ และสัจจกนิครนถ์ ได้ถวายอาหารเหล่านั้น แด่พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลบุญนั้นว่า ผลบุญในทานที่ถวาย แด่พระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ เป็นของสัจจกนิครนถ์ ส่วนผลบุญในทานที่ให้ แก่สัจจกนิครนถ์เป็นของทายกทั้งหลาย (จูฬสัจจกสูตร) 19/85/2119/85/21 19/89/1 |
22 | เรื่องราวของ บิดา มารดา และพี่สาว 4 คน ของสัจจกนิครนถ์ (อ.จูฬสัจจกสูตร) 19/87/1019/87/10 19/90/13 |
23 | เมื่อภิกษุเดินจงกรม เพื่อบรรเทาความง่วงภายหลังอาหาร ประกอบความเพียร ในกลางวัน สรงน้ำให้ร่างกายได้รับความสบายแล้ว นั่งบำเพ็ญสมณธรรม จิตก็ มีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่ง (อ.จูฬสัจจกสูตร) 19/93/519/93/5 19/96/10 |
24 | บุคคลมี 2 จำพวก คือ พุทธเวไนย สาวกเวไนย ในสาวกเวไนยพระสาวกแนะนำ บ้าง พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบ้าง ส่วนพุทธเวไนย พระสาวกไม่สามารถแนะนำ พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแนะนำ (อ.จูฬสัจจกสูตร) 19/97/1719/97/17 19/101/14 |
25 | ผู้ใดไม่ตอบชี้แจง เมื่อปัญหาอันพระพุทธเจ้าตรัสถามแล้วถึง 3 ครั้ง ศีรษะของ ผู้นั้นย่อมแตกโดย 7 เสี่ยง (อ.จูฬสัจจกสูตร) 19/99/1819/99/18 19/103/20 |
26 | ยักษ์ ชื่อ วชิรปาณี ก็คือท้าวสักกเทวราชนั่นเอง (อ.จูฬสัจจกสูตร) 19/100/1 19/100/1 19/104/1 |
27 | [๔๐๙] ทำอย่างไร จึงเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้ว(มหาสัจจกสูตร) 19/111/719/111/7 19/116/3 |
28 | [๔๑๐-๔๑๓] ทรงแสดงธรรม ครั้งที่พระองค์ออกบวช และอยู่ในสำนักของ อาฬารดาบสกาลามโคตร และอุททกดาบสรามบุตร (มหาสัจจกสูตร) 19/112/1419/112/14 19/117/7 |
29 | [๔๑๔-๔๒๒] อุปมา 3 ข้อ เนื่องด้วยไม้สีไฟ, ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา โดยกลั้น ลมหายใจเข้าออก จนเทวดาบางพวกเข้าใจว่าพระองค์ตายแล้ว (มหาสัจจกสูตร) 19/117/1819/117/18 19/122/9 |
30 | [๔๒๓-๔๒๙] ทรงเห็นโทษในการอดอาหารอันยิ่ง จึงเสวยอาหารหยาบ แล้ว บำเพ็ญจนได้ตรัสรู้ (มหาสัจจกสูตร) 19/124/119/124/1 19/127/21 |
31 | วิปัสสนาเป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์ สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ ใกล้ต่อสุข 19/135/719/135/7 19/138/25 |
32 | เทวดาที่สถิตอยู่ที่สุดทางจงกรม เห็นพระโพธิสัตว์ ล้มบนทางจงกรม เข้าใจว่า พระองค์ตาย จึงไปบอก แก่พระเจ้าสุทโธทนมหาราช (อ.มหาสัจจกสูตร) 19/138/919/138/9 19/142/19 |
33 | พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเข้าผลสมาบัติได้ในคราวหายใจเข้า ในคราวหายใจ ออก. (อ.มหาสัจจกสูตร) 19/142/1119/142/11 19/147/12 |
34 | ทรงแสดงธรรม เพื่อเป็นวาสนา แก่สัจจกนิครนถ์ เพราะในอนาคต อีก 200 ปี หลังพุทธปรินิพพาน เขาจะไปเกิดที่ตัมพปัณณิทวีป(ศรีลังกา)และได้บวชบรรลุ พระอรหันต์ ชื่อกาลพุทธรักขิต (อ.มหาสัจจกสูตร) 19/143/2219/143/22 19/149/2 |
35 | พระราชาถวายราชสมบัติ แก่พระกาลพุทธรักขิต แม้พระเถระก็มอบราชสมบัติ คืนแก่พระราชา (อ.มหาสัจจกสูตร) 19/146/14 19/146/14 19/151/17 |
36 | [๔๓๔] พระพุทธองค์ ทรงกล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติ ที่ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลส เป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วนเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/147/1119/147/11 19/152/12 |
37 | [๔๓๕-๔๓๘] พระมหาโมคคัลลานะ ขึ้นไปถามท้าวสักกเทวราช ถึงธรรมที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ ท้าวสักกะฟัง แต่ท้าวสักกะพา พระเถระเที่ยวชม ปราสาท พระเถระจึงเอาหัวแม่เท้ากดเวชยันตปราสาท เขย่าให้หวั่นไหวทำให้ ท้าวสักกะเกิดความสังเวช. (จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/148/719/148/7 19/153/6 |
38 | เรื่องย่อ ของนางวิสาขา และ บุพพาราม (อ.จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/154/619/154/6 19/158/14 |
39 | ขันธ์ 5 อายตนะ12 ธาตุ18 ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง (อ.จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/157/419/157/4 19/161/18 |
40 | เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงแสดงธรรมอยู่ อันบริษัทในที่สุดแห่งจักรวาลย่อม ได้ยินพระสุรเสียงเป็นอันเดียวกัน แต่เลยที่สุดแห่งบริษัทแล้ว พระสุรเสียงจะไม่ แผ่ไปภายนอก (อ.จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/159/1819/159/18 19/164/10 |
41 | ท้าวสักกะ เป็นผู้ตัดสินคดีความของเทวดา ตั้งแต่พื้นดินไป เพื่อต้องการ ต้นกัลปพฤกษ์ และมาตุคาม เป็นต้น (อ.จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/161/1019/161/10 19/166/4 |
42 | เรื่องราว ของท้าวสักกะ ตอนเป็น มฆมาณพ (อ.จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/163/419/163/4 19/167/22 |
43 | พระมหาโมคคัลลานะ เข้าอาโปกสินแล้วอธิษฐานว่า " ขอโอกาสอันเป็นที่ตั้งเฉพาะ ปราสาท จงเป็นน้ำ" แล้วเอาหัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท (อ.จูฬตัณหาสังขยสูตร) 19/165/12 19/165/12 19/170/8 |
44 | [๔๔๒] " โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบ บาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิ ที่ตนถือชั่วแล้ว" (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/171/619/171/6 19/174/25 |
45 | [๔๔๔] ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/172/1419/172/14 19/176/6 |
46 | [๔๔๖] อาหาร 4 อย่าง (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/176/219/176/2 19/179/9 |
47 | [๔๕๒-๔๕๓] อาศัยความประชุมพร้อม 3 ประการ ความเกิดแห่งทารกจึงมี และ น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิต ในอริยวินัย (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/185/919/185/9 19/188/2 |
48 | [๔๕๔] กถาว่าด้วยพุทธคุณ (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/187/519/187/5 19/190/2 |
49 | [๔๕๕] ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/187/2219/187/22 19/190/19 |
50 | [๔๕๖-๔๕๘] การชำระจิต (มหาตัณหาสังขยสูตร) 19/190/22 19/190/22 19/193/12 |
51 | [๔๕๙] ภิกษุควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักสมาทานประพฤติธรรม ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็นพราหมณ์ด้วย... ใช่แต่เท่านั้น พวกเรา บริโภค ปัจจัย 4 ของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลายนั้น ของทายก เหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. (มหาอัสสปุรสูตร) 19/205/719/205/7 19/207/14 |
52 | [๔๖๐] ก็ธรรมทำความเป็นสมณะ และทำความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุควรศึกษาอยู่ อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริ(ความ ละอาย) และโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)... เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือน แก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ มรรค ผลนิพพาน ที่พวกเธอ ปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย (มหาอัสสปุรสูตร) 19/205/1719/205/17 19/208/4 |
53 | [๔๖๑-๔๖๔] กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป คือ ภิกษุควรศึกษาว่า เราทั้งหลายจักมี กายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และมีอาชีวะบริสุทธิ์ (มหาอัสสปุรสูตร) 19/206/419/206/4 19/208/14 |
54 | [๔๖๕-๔๗๐] ภิกษุควรศึกษาว่าเราทั้งหลาย จักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ ทั้งหลาย รู้จักประมาณในอาหาร เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จักประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะอันสงัด ย่อมชำระจิตให้ ปราศจาก นิวรณ์ 5 (ธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต) (มหาอัสสปุรสูตร) 19/207/2119/207/21 19/210/6 |
55 | [๔๗๑-๔๗๗] ฌาน 4, ญาณเพื่อระลึกชาติในอดีต, ญาณเพื่อรู้จุติ และอุปบัติ ของสัตว์ทั้งหลาย , อาสวักขยญาณ. (มหาอัสสปุรสูตร) 19/212/2019/212/20 19/215/2 |
56 | [๔๗๘] ความหมายของ คำว่า สมณะ พราหมณ์ นหาตกะ เวทคู สตติยะ อริยะ อรหันต์ (มหาอัสสปุรสูตร) 19/216/419/216/4 19/218/23 |
57 | ชาวอัสสปุระ จะจัดแจง เรื่องบิณฑบาต จนภิกษุฉันเสร็จแล้ว จึงทำการงาน ของตน ในขณะทำการงานหรืออยู่บ้าน ก็ย่อมกล่าวคุณความดีของภิกษุสงฆ์ นั่นแหละ (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/218/1119/218/11 19/220/20 |
58 | กิจของสมณะ อัน สมณะ พึงกระทำมี 3 อย่าง คือ สมาทานอธิศีลสิกขา สมาทาน อธิจิตตสิกขา สมาทานอธิปัญญาสิกขา (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/219/1019/219/10 19/221/22 |
59 | หิริ และโอตตัปปะ ชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก เพราะรักษาโลก 19/220/2119/220/21 19/223/8 |
60 | ภิกษุใดยินดีทอง และเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน มโนสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์ (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/223/22 19/223/22 19/226/6 |
61 | ภิกษุใดทำวิญญัติบริโภค (ทำเลศนัยให้ได้บริโภค) อาชีวะของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์ (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/224/519/224/5 19/226/13 |
62 | การนอน 4 อย่าง (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/224/2319/224/23 19/227/8 |
63 | ข้อเปรียบเทียบ นิวรณ์ 5 เช่นกับผู้มีหนี้, โรค, เรือนจำ, ทาส, ผู้เดินทางไกลกันดาร (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/227/1119/227/11 19/230/5 |
64 | เมื่อบุรุษอาบน้ำชำระดีแล้ว นั่งห่มผ้าขาวคลุมศีรษะ ความอบอุ่นของร่างกาย ย่อมแผ่ไปตลอดผ้าทั้งหมด ทีเดียว (อ.มหาอัสสปุรสูตร) 19/234/819/234/8 19/237/3 |
65 | [๔๘๐] ภิกษุใด ยังละไม่ได้ซึ่งกิเลส เครื่องเศร้าหมองใจ12 อย่าง มีความ เพ่งเล็งพัสดุของผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุจะให้สัตว์เกิดในอบาย จึงไม่กล่าวว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่สมณะ. (จูฬอัสสปุรสูตร) 19/237/1519/237/15 19/240/11 |
66 | [๔๘๑-๔๘๒] ถึงบุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิอยู่ ก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการ สักว่าครองผ้าสังฆาฏิไม่ ส่วนภิกษุใดละได้ ซึ่งกิเลส12 อย่าง ที่เป็นมลทินโทษ เป็นของจับใจ ดุจน้ำฝาดของสมณะ จึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่ สมณะ (จูฬอัสสปุรสูตร) 19/238/919/238/9 19/241/2 |
67 | อาวุธที่คมยิ่ง ทำจากผงเหล็กที่ให้นกกะเรียนกิน 7 ครั้ง (อ.จูฬอัสสปุรสูตร) 19/242/14 19/242/14 19/246/19 |
68 | [๔๘๔] ความประพฤติไม่เป็นธรรม และความประพฤติไม่สม่ำเสมอ ทางกายมี 3, ทางวาจา มี 4, ทางใจ มี 3 เป็นเหตุให้ เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตาย ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (สาเลยยกสูตร) 19/247/419/247/4 19/252/7 |
69 | [๔๘๕] ความประพฤติเป็นธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอ ทางกายมี 3, ทางวาจา มี 4, ทางใจ มี 3 เป็นเหตุให้ เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจาก ตายจึงเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ (สาเลยยกสูตร) 19/250/119/250/1 19/254/22 |
70 | [๔๘๖] ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติเรียบร้อยเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่าเมื่อ ตายไปขอให้เป็น กษัตริย์มหาศาล เป็นเทวดา เป็นพรหม หรือขอให้หลุดพ้น จากอาสวะ นี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้ (สาเลยยกสูตร) 19/252/1919/252/19 19/257/12 |
71 | ก็ด้วยอาการเพียงแต่แลดู ด้วยความเพ่งเล็งเท่านั้น การแตกกรรมบถยังไม่มี ต่อเมื่อน้อมมาเป็นของตนว่า ทำอย่างไรหนอ ของนี้จะเป็นของเราได้ กรรมบถ จึงแตก(ขาด) (อ.สาเลยยกสูตร) 19/264/919/264/9 19/269/10 |
72 | ผู้มีจิตพยาบาทนี้ ด้วยเหตุเพียงกำเริบ (โกรธ) กรรมบถก็ยังไม่แตก จะแตกก็ เพราะคิดเป็นต้นว่า จงถูกฆ่า (อ.สาเลยยกสูตร) 19/264/1619/264/16 19/269/16 |
73 | การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ , การเซ่นสรวง เรียกว่า หุตะ (อ.สาเลยยกสูตร) 19/265/119/265/1 19/269/26 |
74 | เทวโลก 26 ชั้น (อ.สาเลยยกสูตร) 19/266/319/266/3 19/271/5 |
75 | กุศลกรรมบถ10 ข้อ ก็คือ ศีล, การบริกรรมกสิณ ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีศีลเท่านั้น . (อ.สาเลยยกสูตร) 19/266/2019/266/20 19/271/24 |
76 | [๔๘๙] บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติ ไม่ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อย10 ประการ อันเป็นเหตุให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตาย ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (เวรัญชกสูตร) 19/270/319/270/3 19/274/15 |
77 | [๔๙๐] บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย10 ประการ อันเป็นเหตุให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตาย ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ (เวรัญชกสูตร) 19/272/5 19/272/5 19/276/13 |
78 | [๔๙๑] ถ้าบุคคลที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่าถ้าตายไป พึงได้เป็นกษัตริย์ เทวดา พรหม หรือ พึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ก็ย่อมเป็นไปได้ (เวรัญชกสูตร) 19/274/7 19/274/7 19/278/10 |
79 | [๔๙๔] คนมีปัญญาชั่ว ก็เพราะเขาไม่รู้ชัดไม่เข้าใจ แจ่มแจ้งในอริยสัจ 4, คนมี ปัญญา ก็เพราะเขาเข้าใจ ชัดแจ่มแจ้ง ในอริยสัจ 4 (มหาเวทัลลสูตร) 19/278/819/278/8 19/282/1 |
80 | [๔๙๔] ที่เรียกว่า วิญญาณ ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมรู้แจ่ม ย่อมรู้แจ้งว่าสุข ทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข (มหาเวทัลลสูตร) 19/279/919/279/9 19/282/20 |
81 | [๔๙๕] ปัญญา และวิญญาณ ธรรมทั้งสองคละกันแยกกันไม่ได้ เหตุที่ทำให้ แตกต่างกันของธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาอันบุคคลต้องอบรม วิญญาณอัน บุคคลต้องกำหนดรู้ (มหาเวทัลลสูตร) 19/279/1619/279/16 19/283/2 |
82 | [๔๙๕] ที่เรียกว่า เวทนา เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย ย่อมรู้สึก , ที่เรียกว่า สัญญา เพราะเป็นธรรมชาติที่จำได้ ย่อมหมายรู้, เวทนารู้สึกสิ่งใด สัญญาก็จำ สิ่งนั้น สัญญาจำสิ่งใดวิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ จึงเกี่ยวข้องกัน แยกกันไม่ออก (มหาเวทัลลสูตร) 19/280/619/280/6 19/283/14 |
83 | [๔๙๗] ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้น มี 2 อย่าง คือ เสียงจากคนอื่น และการเอาใจใส่อย่างมีเหตุผล, ความเห็นถูกต้อง ที่ประคับประคองไว้ด้วยองค์ 5 (มีวิปัสสนา เป็นองค์ที่ 5) ย่อม มีเจโตวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยใจ) มีปัญญาวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นผล (มหาเวทัลลสูตร) 19/281/1719/281/17 19/284/21 |
84 | อรรถกถาอธิบายไว้ 19/308/2319/308/23 19/308/26 |
85 | [๔๙๙] ฌานที่1 ย่อมละนิวรณ์ 5 และประกอบด้วยองค์ 5 คือ ความตรึก ความตรอง ความอิ่มเอิบ ความสบาย ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว (มหาเวทัลลสูตร) 19/283/119/283/1 19/285/23 |
86 | [๕๐๐] อินทรีย์ 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใช้ทำหน้าที่แทนกันไม่ได้แต่ใจใช้ ทำหน้าที่ รับอารมณ์แทนอินทรีย์เหล่านั้นได้ (มหาเวทัลลสูตร) 19/283/1919/283/19 19/286/13 |
87 | อรรถกถาอธิบายไว้ 19/313/119/313/1 19/312/17 |
88 | [๕๐๒] ร่างกายดำรงอยู่ได้ ด้วย อายุ ไออุ่น วิญญาณ (มหาเวทัลลสูตร) 19/285/819/285/8 19/287/24 |
89 | [๕๐๒] ความแตกต่างของคนตายแล้ว กับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ(มหาเวทัลลสูตร) 19/285/1319/285/13 19/288/3 |
90 | อรรถกถาอธิบายไว้ 19/316/1719/316/17 19/316/7 |
91 | [๕๐๓] ปัจจัย 4 อย่าง แห่งการเข้าเจโตวิมุตติ (มหาเวทัลลสูตร) 19/286/119/286/1 19/288/11 |
92 | [๕๐๓] ปัจจัยแห่งการเข้าถึง การดำรงอยู่ และการออก จากเจโตวิมุตติที่ไม่มี เครื่องหมาย (มหาเวทัลลสูตร) 19/286/819/286/8 19/288/18 |
93 | [๕๐๔] เจโตวิมุตติ ที่ไม่จำกัดขอบเขต, ที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไร น้อยหนึ่งก็ ไม่มี , ที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ , ที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเหล่านี้ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และพยัญชนะก็ต่างกัน . (มหาเวทัลลสูตร) 19/287/1619/287/16 19/289/19 |
94 | [๕๐๔] เจโตวิมุตติ ที่ไม่จำกัดขอบเขต , ที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ ไม่มี , ที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์, ที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเหล่านี้ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้น ที่ต่างกัน (มหาเวทัลลสูตร) 19/289/319/289/3 19/290/23 |
95 | อรรถกถาอธิบายไว้ 19/321/119/321/1 19/320/19 |
96 | การถามมี 5 อย่าง คือ ถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็น ถามเพื่อเทียบเคียง สิ่งที่ เห็นแล้ว ถามเพื่อตัดความสงสัย ถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ ถามเพื่อการแสดง . (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/291/819/291/8 19/292/10 |
97 | พระมหากัจจายนะ เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกธรรมโดยย่อ ให้พิสดาร (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/293/919/293/9 19/294/4 |
98 | พระปุณณมันตานีบุตร เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุ ผู้แสดงธรรมอย่างวิจิตร (ธรรมมกถึก) (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/293/1719/293/17 19/294/12 |
99 | พระกุมารกัสสปะ เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้กล่าวธรรมอย่างวิจิตร (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/294/319/294/3 19/294/20 |
100 | พระอานนท์ เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้มีคติ ผู้มีสติ ผู้ได้ฟังมาก ผู้อุปัฏฐาก ผู้มีธิติ (ปัญญาเครื่องทรงจำ) (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/294/1519/294/15 19/295/7 |
101 | พระมหาโกฏฐิกะ เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้บรรลุปัญญาที่แตกฉาน (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/295/319/295/3 19/295/18 |
102 | การพิจารณาสำหรับผู้ทำกัมมัฏฐาน ที่ยึดเอาความจริง 4 อย่าง มาเป็นอารมณ์ อย่างย่อ (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/296/1419/296/14 19/297/1 |
103 | ผู้ที่เรียนจบ ปิฎก 3 แต่ไม่มี แม้การกำหนดด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็น ทุกข์ และความไม่มีตัวตนเลยนี้ ไม่ชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/298/619/298/6 19/298/15 |
104 | เมื่อบรรลุสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เมื่อบรรลุสิ่งที่ อยู่เหนือโลก ความรู้ชัดย่อม เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/299/1719/299/17 19/299/25 |
105 | ความแตกต่าง ของคำว่า ความรู้จำ ความรู้แจ้ง ความรู้ชัด (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/305/719/305/7 19/305/8 |
106 | ปัญญา มี 2 อย่าง คือ ปัญญาในสมาธิ และปัญญาในวิปัสสนา (อ.มหาเวทัลลสูตร) 19/308/1019/308/10 19/308/11 |
107 | [๕๐๖] อุปาทานขันธ์ 5 (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) พระพุทธองค์ตรัสว่า กายของตน (จูฬเวทัลลสูตร) 19/324/1119/324/11 19/323/12 |
108 | [๕๐๖] ธรรมเป็นที่เกิดพร้อมแห่งสักกายะ ได้แก่ ตัณหา 3 อย่าง กามตัณหา (ความอยากได้กาม) ภวตัณหา (ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่) วิภวตัณหา (ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่) (จูฬเวทัลลสูตร) 19/324/1619/324/16 19/323/16 |
109 | [๕๐๖] อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสักกายะ (จูฬเวทัลลสูตร) 19/325/919/325/9 19/324/6 |
110 | [๕๐๖] ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ 5 อันใด ฉันทราคะ นั่นแล เป็นอุปาทานใน อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้น (จูฬเวทัลลสูตร) 19/325/1819/325/18 19/324/16 |
111 | [๕๐๗] ความเห็นว่ากายแห่งตน ได้แก่ การตามเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นตน, เห็นตนว่ามีขันธ์ 5, เห็นขันธ์ 5 ในตน, เห็นตนในขันธ์ 5 (จูฬเวทัลลสูตร) 19/326/119/326/1 19/324/19 |
112 | [๕๐๘] เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์ด้วยกองศีล, เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตไว้ชอบ สงเคราะห์ด้วยกองสมาธิ , ความเห็นชอบ ความดำริชอบ สงเคราะห์ด้วยกองปัญญา. (จูฬเวทัลลสูตร) 19/327/919/327/9 19/325/23 |
113 | [๕๐๘] สมาธิ คือ ความที่จิตเป็นสภาพมีอารมณ์เดียว , สติปัฏฐาน 4 เป็น เครื่องหมายของสมาธิ, สัมมัปปธาน 4 เป็นบริขารของสมาธิ, การทำสิ่งเหล่านี้ ให้เจริญขึ้นเป็นสมาธิภาวนา (จูฬเวทัลลสูตร) 19/327/1819/327/18 19/326/7 |
114 | [๕๐๙] สังขารมี 3 คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร, ลมหายใจเข้าออกเป็น กายสังขาร, วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร, สัญญา และเวทนาเป็นจิตตสังขาร. . (จูฬเวทัลลสูตร) 19/328/119/328/1 19/326/11 |
115 | [๕๑๐] เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับไปก่อน ต่อนั้นกายสังขาร ภายหลังจิตตสังขาร (จูฬเวทัลลสูตร) 19/329/119/329/1 19/327/8 |
116 | [๕๑๐] ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว ย่อมรู้สึกว่ามีความว่าง, รู้สึกไม่มีนิมิต, รู้สึกหาที่ตั้งไม่ได้. (จูฬเวทัลลสูตร) 19/329/1219/329/12 19/327/21 |
117 | วิสาขอุบาสก ได้เป็นพระโสดาบัน พร้อมพระเจ้าพิมพิสาร ในอีกวันหนึ่งก็ได้ ฟังธรรมสำเร็จ สกทาคามิผล ภายหลังได้ฟังธรรมอีกจึงได้อนาคามิผลส่วนนาง ธรรมทินนา ผู้เป็นภรรยา ได้บวช และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/334/919/334/9 19/331/19 |
118 | สมาธิโดยธรรมดาของตนแล้ว ย่อมไม่สามารถจะแนบแน่นได้ แต่เมื่อความเพียรกำลังทำหน้าที่ประคับประคองให้สำเร็จ ความระลึกก็กำลังทำหน้าที่ เคล้าคลึงให้สำเร็จอยู่ , สมาธิกลายเป็นธรรมชาติที่ได้อุปการะจึงสามารถให้ แนบแน่นได้ (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/342/1719/342/17 19/340/4 |
119 | ข้อเปรียบเทียบ ความเห็นชอบ และความดำริชอบ ดั่งเจ้าหน้าที่การเงินดู เหรียญกษาปณ์ (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/343/1719/343/17 19/341/2 |
120 | ธรรมดาผู้จะแก้ปัญหาต้องอยู่ในสำนักอาจารย์ เล่าเรียนพุทธพจน์ ให้ทราบ อรรถรสแล้ว จึงค่อยพูด ก็การเสพคุ้น การอบรม การทำให้มากนี้ ประกอบด้วย ขณะจิตเดียว ธรรมดาโลกุตรมรรค ที่ให้ถึงความสิ้นไปแห่งกิเลสประกอบ ด้วยขณะจิตเดียวเท่านั้น (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/345/1619/345/16 19/342/26 |
121 | ลำดับในการออกจากนิโรธ (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/348/1119/348/11 19/345/22 |
122 | ภิกษุใดกำหนดสังขารโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิมิตตาวิปัสสนา, ภิกษุใด กำหนดสังขารโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่า อัปปณิหิตาวิปัสสนา, ภิกษุใดกำหนด สังขารโดยความเป็นของไม่ใช่ตน ชื่อว่า สุญญตาวิปัสสนา (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/350/119/350/1 19/347/10 |
123 | ถอนปฏิฆะ (ความขัดใจ) ได้เด็ดขาด ด้วยอนาคามิมรรค (อ.จูฬเวทัลลสูตร) 19/353/219/353/2 19/350/17 |
124 | [๕๑๕] ธรรมสมาทาน มี 4 อย่าง (จูฬธัมมสมาทานสูตร) 19/356/819/356/8 19/353/13 |
125 | [๕๑๖] เทวดาที่สิงอยู่ตามต้นไม้ ต้นหญ้า (จูฬธัมมสมาทานสูตร) 19/357/1619/357/16 19/354/18 |
126 | [๕๑๘] ถึงแม้จะทุกข์ ร้องให้มีน้ำตานองหน้าอยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ (จูฬธัมมสมาทานสูตร) 19/361/1319/361/13 19/358/7 |
127 | เทวดาที่สิงอยู่ตามสวนดอกไม้ สวนผลไม้ ตามต้นสมุนไพร (จูฬธัมมสมาทานสูตร) 19/364/1119/364/11 19/360/14 |
128 | เมื่อกิ่งไม้ทุกกิ่งหักหมด วิมานของเทวดาก็ย่อมพินาศ เทวดาได้อุ้มลูกน้อยยืน คร่ำครวญ (อ.จูฬธัมมสมาทานสูตร) 19/365/919/365/9 19/361/10 |
129 | เหตุที่บางคนราคะกล้า บางคนราคะไม่กล้า (อ.จูฬธัมมสมาทานสูตร) 19/366/919/366/9 19/362/9 |
130 | [๕๒๒] ผู้ทำการเสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ คบสิ่งที่ไม่ควรคบ จึงประสบความไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/369/419/369/4 19/365/1 |
131 | [๕๒๓] การถือมั่น สิ่งทั้งหลาย เหล่านี้ มี 4 อย่าง (มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/370/319/370/3 19/365/25 |
132 | [๕๒๖] บุคคลบางคนทำอกุศลกรรมบถ10 พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส บ้าง เมื่อตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/373/719/373/7 19/369/3 |
133 | [๕๒๗] บุคคลบางคนทำอกุศลกรรมบถ10 พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส บ้าง เมื่อตายย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/374/1219/374/12 19/370/4 |
134 | [๕๒๘] บุคคลบางคนทำกุศลกรรมบถ10 พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส บ้าง เมื่อตายย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. (มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/375/1919/375/19 19/371/5 |
135 | [๕๒๙] บุคคลบางคนทำกุศลกรรมบถ10 พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส บ้าง เมื่อตายย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ (มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/377/1019/377/10 19/372/9 |
136 | ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ที่วัดบังกูร กำลังท่องสูตรนี้ มีเทวดาให้สาธุการ เพราะทุกพยัญชนะเหมือนกับตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ว่ากันว่าวันนั้น เทพองค์นี้ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล (อ.มหาธรรมสมาทานสูตร) 19/385/1019/385/10 19/379/25 |
137 | [๕๓๗] ภิกษุผู้จะสอบสวน เมื่อไม่รู้กระบวนจิตผู้อื่น พึงสอบสวนพระตถาคต ในสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา และฟังด้วยหู ว่าสิ่งเศร้าหมองของพระตถาคตมี หรือไม่ เป็นต้น (วีมังสกสูตร) 19/387/1919/387/19 19/381/21 |
138 | ผู้จะสอบสวน มี 3 คือ ผู้สอบสวนในอรรถ ผู้สอบสวนในสังขาร ผู้สอบสวนใน พระศาสดา (อ.วีมังสกสูตร) 19/393/319/393/3 19/385/15 |
139 | พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนี้ คือ ความเป็นผู้มีมิตรงาม ความเป็นผู้มีสหายงาม ความ เป็นผู้โน้มไปในมิตรที่งาม (อ.วีมังสกสูตร) 19/394/319/394/3 19/386/15 |
140 | พระพุทธองค์ทรงปวารณาต่อหมู่ภิกษุว่า พวกเธอย่อมไม่ติเตียนมารยาททางกาย และทางวาจาของเราบ้าง หรือ (อ.วีมังสกสูตร) 19/396/1919/396/19 19/389/5 |
141 | อุตตรมาณพ ตามดูพระพุทธเจ้าอยู่ 7 เดือน ก็ไม่เห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีใน ทางกาย และวาจา ของพระองค์เลย ส่วนเทวปุตตมาร ตามพระโพธิสัตว์อยู่ 6 ปี หลังตรัสรู้แล้วอีก1 ปี ก็ไม่เห็นโทษไรๆ จึงไหว้แล้วหลีกไป (อ.วีมังสกสูตร) 19/397/919/397/9 19/389/19 |
142 | สิ่งที่พระตถาคตไม่ต้องระวัง 4 อย่าง (อ.วีมังสกสูตร) 19/398/419/398/4 19/390/12 |
143 | ภัยมี 4 อย่าง, เสขบุคคลทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย 3 ประการ (อ.วีมังสกสูตร) 19/402/1219/402/12 19/394/22 |
144 | เรื่อง พระเถระ นั่งในตระกูลอุปัฏฐากแต่ภิกษุที่มาบิณฑบาตภายหลังมองดูซ้ำๆ เห็นว่า นั่งเตียงเดียวกันกับ ธิดาอำมาตย์ (อ.วีมังสกสูตร) 19/402/2119/402/21 19/395/5 |
145 | สูรอุบาสกนั่งฟังธรรมพระพุทธองค์ แล้วได้เป็นพระโสดาบัน มารเนรมิตเป็นรูป เปรียบพระพุทธเจ้าเข้าไปหาเขายังเรือน แล้วกล่าวว่าได้พูดผิดไปว่ารูปไม่เที่ยง เป็นต้น อุบาสก รู้ว่าเป็นมารจึงไล่หนี (อ.วีมังสกสูตร) 19/408/1319/408/13 19/400/7 |
146 | [๕๔๒] ธรรม 6 ประการ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน (โกสัมพิยสูตร) 19/411/2219/411/22 19/403/4 |
147 | [๕๔๓-๕๕๐] อริยสาวกผู้ประกอบด้วยญาณ 7 ประการ ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อม ด้วยโสดาปัตติผล (โกสัมพิยสูตร) 19/413/1919/413/19 19/405/4 |
148 | [๕๔๖] อริยสาวกเมื่อต้องอาบัติ จะรีบแสดง เปิดเผยทำให้ตื้น เหมือนเด็กอ่อน ถูกถ่านไฟด้วยมือ หรือเท้าแล้วก็ชักหนีเร็วพลัน (โกสัมพิยสูตร) 19/415/619/415/6 19/406/14 |
149 | เรื่องนายโกตุหลิก จนถึงโฆสิตเศรษฐี (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/418/919/418/9 19/409/4 |
150 | คนรับใช้ของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้รักษาอุโบสถ ครึ่งวัน ตายไปเป็น เทวดาที่ต้นไทร (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/420/619/420/6 19/410/23 |
151 | สาเหตุการทะเลาะกันของ พระฝ่ายทรงวินัย และฝ่ายทรงพระสูตร (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/423/1519/423/15 19/413/25 |
152 | ที่ชื่อว่า เมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของภิกษุ และของคฤหัสถ์ (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/425/1819/425/18 19/415/25 |
153 | ภิกษุผู้มีศีล ย่อมไม่ ถือเอาสิ่งของที่เป็นของภิกษุทุศีล (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/428/1019/428/10 19/418/8 |
154 | ผู้พ้นจากความกังวลเท่านั้น จึงควรกับธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/428/1619/428/16 19/418/13 |
155 | ผู้มีศีล ไม่ให้ของแก่ ผู้ทุศีล ก็ควร (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/429/119/429/1 19/418/20 |
156 | พระติสสะผู้บำเพ็ญสาราณิยธรรมเต็มแล้ว ได้ถวายบิณฑบาต แก่พระมหาเถระ 50 รูป (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/429/2319/429/23 19/419/16 |
157 | เทวดาผู้สิงอยู่ต้นไม้ได้ถวายบิณฑบาต แก่ภิกษุ12 รูป ภิกษุณี12 รูปอยู่ 7 ปี . (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/432/319/432/3 19/421/14 |
158 | อธิบายคำว่า ศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/433/1419/433/14 19/423/3 |
159 | ศีลของพระโสดาบันสม่ำเสมอกัน ด้วยศีลของพระโสดาบันอื่นๆ แม้ในเทวโลก . (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/434/619/434/6 19/423/21 |
160 | โลกุตตรมรรค มีขณะจิตเดียวเท่านั้น (อ.โกสัมพิยสูตร) 19/440/519/440/5 19/428/25 |
161 | [๕๕๒] พกพรหมมีความเห็นผิดว่า พรหมสถานนี้แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ สถานที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี . (พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/441/919/441/9 19/429/15 |
162 | [๕๕๓] มารสิงพรหม (พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/442/919/442/9 19/430/16 |
163 | [๕๕๔] อำนาจของ พกพรหม เป็นไปในพันจักรวาล ย่อมรู้จักสัตว์ที่เลว และ ประณีตรู้จักสัตว์ที่มีราคะ และไม่มีราคะ รู้จักความมา และความไปของสัตว์ ทั้งหลาย (พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/444/2119/444/21 19/433/3 |
164 | มารไม่สามารถเข้าสอดแทรก(เข้าสิง)มหาพรหม หรือพวกพรหมปุโรหิตได้ (พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/450/519/450/5 19/438/21 |
165 | พวกสัตว์ ขณะที่อยู่ในไข่ และในมดลูก , ขณะจิตแรกของพวกสัตว์ ที่เกิดตาม เหงื่อไคล และอิริยาบถแรกของพวกสัตว์ผู้ผุดเกิด เรียกว่า ภัพย์ (กำลังจะเกิด) ส่วนที่ออกจากไข่ หรือคลอดแล้ว ขณะจิตที่สองของพวกเกิดตามเหงื่อไคล และในอิริยาบถที่สอง ของพวกสัตว์ผุดเกิด เรียกว่า ภูต. (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/450/2119/450/21 19/439/14 |
166 | พรหมที่มีอำนาจครอบ 2 พัน ถึง1 แสนจักรวาล ก็มี (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/454/919/454/9 19/443/10 |
167 | พกพรหม เคยเป็นฤๅษี ไม่เสื่อมจากฌาน ตายแล้ว เกิดในชั้นเวหัปผลา มีอายุ 500 กัป ลงมาชั้น สุภกิณหา 64 กัป มาอยู่ชั้นอาภัสสรา 8 กัป และมาอยู่ในชั้น ฌานที่หนึ่งนานจนลืมหมด จึงเกิดความเห็นว่าเที่ยงขึ้นมา (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/454/1819/454/18 19/443/21 |
168 | พกพรหม ตอนบวชเป็นดาบส ได้ช่วยพวกพ่อค้าเกวียนในทะเลทราย (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/455/1019/455/10 19/444/12 |
169 | พกพรหม ตอนบวชเป็นดาบส ได้ช่วยชาวบ้านที่ถูกโจรปล้น และต้อนไปเป็นเชลย . (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/456/1519/456/15 19/445/14 |
170 | พกพรหม ตอนบวชเป็นดาบส ได้ช่วยคนที่กำลังสนุกสนาน บนแพจากนาคดุร้าย (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/457/919/457/9 19/446/5 |
171 | พกพรหมเคยเป็นดาบส ชื่อเกสวะ ส่วนพระโพธิสัตว์ เป็นลูกศิษย์ ชื่อนายกัปป์ . (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/458/6 19/458/6 19/446/24 |
172 | นอกจากพระนิพพานแล้ว ไม่มีสิ่งอื่นที่มีแสงสว่างกว่า มีความโชติช่วงกว่ามีที่ สุดที่หมดจดกว่า พระนิพพานเป็นแดนเกิดจากที่ทั้งปวง และไม่มีกัมมัฏฐานใด ที่ชื่อว่าไม่เป็นท่าของพระนิพพาน (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/460/1719/460/17 19/449/10 |
173 | พกพรหมไม่สามารถหายตัวต่อหน้าพระพุทธเจ้าได้ (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/461/1419/461/14 19/450/2 |
174 | พระพุทธองค์ตรัสพระคาถา แล้วเสด็จหายพระองค์ เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ บรรลุมรรคผล (อ.พรหมนิมันตนิกสูตร) 19/462/1119/462/11 19/451/2 |
175 | [๕๕๗] มารเข้าไปในท้องของพระมหาโมคคัลลานะ (มารตัชชนียสูตร) 19/465/519/465/5 19/453/10 |
176 | [๕๕๙] พระสัญชีวะนั่งเข้าสมาบัติ อยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ชาวบ้านนึกว่า ท่านตาย จึงเอาฟืนมาเผา พอรุ่งขึ้นท่านก็เข้าไปบิณฑบาต จึงได้ชื่อว่า สัญชีวะ (มารตัชชนียสูตร) 19/466/2219/466/22 19/455/1 |
177 | [๕๖๐] ทูสีมารดลใจชาวบ้านให้ด่า เบียดเบียนภิกษุ ชนเหล่านั้นตายไป ย่อม เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก (มารตัชชนียสูตร) 19/467/1219/467/12 19/455/15 |
178 | [๕๖๒] ทูสีมาร ชักชวนชาวบ้าน ให้สักการะ เคารพ ภิกษุผู้มีศีล ชนเหล่านั้น ตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ (มารตัชชนียสูตร) 19/469/1119/469/11 19/458/4 |
179 | [๕๖๔-๕๖๕] ทูสีมารเข้าสิงเด็ก แล้วขว้างก้อนหิน ใส่หัวพระวิธุระ พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงชำเลืองดู ทูสีมารแล้วตรัสว่า "ทูสีมารนี้มิได้รู้ประมาณเลย" พร้อมกัน นั้นทูสีมารก็เคลื่อนลงมหานรก (มารตัชชนียสูตร) 19/470/1519/470/15 19/459/6 |
180 | กลิ่นของพวกมนุษย์ ย่อมเบียดเบียนพวกอากาศ เทวดาซึ่งอยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์ (อ.มารตัชชนียสูตร) 19/475/819/475/8 19/463/20 |
181 | อาการที่ ทูสีมาร ทำให้ชาวบ้านด่าภิกษุ (อ.มารตัชชนียสูตร) 19/478/1619/478/16 19/466/13 |
182 | อาการที่ทูสีมาร ทำให้ชาวบ้าน สักการะเคารพ ภิกษุทั้งหลาย(อ.มารตัชชนียสูตร) 19/479/2119/479/21 19/467/14 |
183 | การทรมานในนรกที่ทูสีมารได้รับ (อ.มารตัชชนียสูตร) 19/483/919/483/9 19/470/17 |