1 | [๑๕๔] สมณะทั้ง 4 มีในพระศาสนานี้เท่านั้น ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจาก สมณะผู้รู้ทั่วถึง (จูฬสีหนาทสูตร) 18/1/13 18/1/14 |
2 | [๑๕๔] ภิกษุเห็นธรรม 4 ประการ ที่มีอยู่ในตน อันพระพุทธเจ้าตรัสไว้จึงกล่าว ได้ว่าสมณะทั้ง 4 มีในพระศาสนานี้ เท่านั้น คือ 1.ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า 2. ความเลื่อมใส่ในพระธรรม 3. ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีล 4. ทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตผู้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน เป็นที่น่ารักน่าพอใจมีอยู่ (จูฬสีหนาทสูตร) 18/2/9 18/2/11 |
3 | [๑๕๖-๑๕๗] อุปาทาน (ความยึดมั่น) 4 อย่าง (จูฬสีหนาทสูตร) 18/5/14 18/5/12 |
4 | ก็โลกสันนิวาส นี้มีประมาณ 4 ดำรงอยู่แล้วโดย 4 อย่าง คือ ผู้มีประมาณในรูป มีประมาณในเสียง มีประมาณในความเศร้าหมอง มีประมาณในธรรม . (จูฬสีหนาทสูตร) 18/10/13 18/9/14 |
5 | พระโสดาบันเป็น สมณะที่ 1 พระสกทาคามีเป็นสมณะที่ 2 พระอนาคามีเป็น สมณะที่ 3 พระอรหันต์เป็นสมณะที่ 4 (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/15/15 18/14/5 |
6 | ทิฏฐิ 62 ชื่อว่า ติตถะ(ท่าข้าม), เจ้าลัทธิ ชื่อว่า ติตถกร, ผู้ถือลัทธิของเจ้าลัทธิ นั้นแล้ว บวช ชื่อว่า เดียรถีย์ (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/19/14 18/18/4 |
7 | ศีล 5 ชื่อว่า อริยกันตศีล(ศีลอันพระอริยเจ้ารัก) จริงอยู่พระอริยสาวกแม้อยู่ใน ระหว่างภพ เมื่อไม่รู้ความที่ตนเป็นพระอริยเจ้า ก็ไม่ล่วงละเมิดศีล 5 เหล่านั้น . (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/21/3 18/19/14 |
8 | เดียรถีย์ทั้งหลายผู้ได้สมาบัติ 8 ก็ดี ผู้เอามือลูบคลำพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ก็ตาม ไม่อาจเพื่อจะเปลื้อง อัตตวาทะ (ความเป็นตัวตน) ได้ (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/27/21 18/26/9 |
9 | ศาสดาในศาสนา ที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ตายแล้วไปเกิดเป็นสิงโต เสือ หมีบ้าง. ส่วนสาวกทั้งหลายของ ศาสดานั้น ไปเกิดเป็นหมูบ้างกระต่ายบ้าง จึงฆ่ากันกินโดยไม่เอ็นดูว่าสัตว์เหล่านี้เคยเป็นอุปัฏฐากของเรา . (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/28/21 18/27/8 |
10 | เรื่องสุนัขจิ้งจอก ขี้เมาหลอก พราหมณ์โง่ ให้นำตนไป ด้วยเงิน 200 . (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/31/4 18/29/10 |
11 | เรื่องนกฮูกบินตามต้อนรับพระพุทธเจ้า วันหนึ่งได้ลงมาไหว้พระพุทธองค์และ ภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงพยากรณ์ว่า นกฮูกนี้จะไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป ครั้น เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อโสมนัส . (อ.จูฬสีหนาทสูตร) 18/33/1 18/31/1 |
12 | [๑๖๖] กำลังของพระตถาคต 10 ประการ (มหาสีหนาทสูตร) 18/40/2 18/37/18 |
13 | [๑๖๗] เวสารัชชธรรม(ความแกล้วกล้า) ของพระตถาคต 4 ประการ (มหาสีหนาทสูตร) 18/44/5 18/41/9 |
14 | [๑๖๘] บริษัท 8 ที่พระพุทธเจ้า สนทนาด้วย โดยไม่สะทกสะท้าน (มหาสีหนาทสูตร) 18/45/15 18/42/20 |
15 | [๑๖๙] กำเนิด 4 ประการ (มหาสีหนาทสูตร) 18/46/18 18/43/23 |
16 | [๑๗๐] คติ 5 ประการ คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา . (มหาสีหนาทสูตร) 18/47/16 18/44/19 |
17 | [๑๗๖] ผู้ใดว่าพระพุทธเจ้าไม่มีคุณธรรมอันยิ่ง พอแก่ความเป็น พระอริยะ ได้แสดงธรรมตามที่ประมวลด้วย ค้นคิดได้เอง ถ้าผู้นั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละ ความคิดนั้น ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก (มหาสีหนาทสูตร) 18/53/17 18/50/16 |
18 | [๑๗๗-๑๘๕] พรหมจรรย์ และวัตรที่พระโพธิสัตว์เคยบำเพ็ญ และเป็นเยี่ยมกว่า ผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย (มหาสีหนาทสูตร) 18/54/4 18/51-55 |
19 | [๑๘๗-๑๘๙] ก็สังสารวัฏที่พระพุทธองค์ไม่เคยเที่ยวไป ความอุบัติ(การเกิด) ที่พระพุทธองค์ไม่เคยเข้าถึงแล้ว อาวาสที่พระพุทธองค์ ไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวนานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสเป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก . (มหาสีหนาทสูตร) 18/60/16 18/57/2 |
20 | [๑๙๒] พระธรรมเทศนาของพระตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่ง ธรรมของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญญาของพระตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น (มหาสีหนาทสูตร) 18/62/12 18/58/20 |
21 | ที่มาของ เมืองเวสาลี (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/64/6 18/60/8 |
22 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค และผลในอัตภาพนั้น ว่าโมฆบุรุษ ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรค หรือผล ไม่มีในขณะนั้นก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/70/21 18/66/20 |
23 | พระตถาคตมีกำลังกาย เท่ากับ กำลังช้างหมื่นล้าน ด้วยการนับช้างธรรมดา . (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/74/4 18/69/23 |
24 | ข้อแตกต่างของทศพลญาณ กับสัพพัญญุตญาณ (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/80/9 18/76/11 |
25 | กองอาบัติ 7 กอง แม้ทุกกฏ และทุพภาษิตก็ทำอันตรายแก่มรรค และผลทั้งหลาย ได้ (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/84/3 18/80/1 |
26 | พระพุทธเจ้าเสด็จไปจักรวาลอื่น (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/85/12 18/81/9 |
27 | สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเกิดในฐานะที่น่าปรารถนามี เนยใส น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น. ส่วนภุมเทวดาทั้งหลาย มีกำเนิด 4 ส่วนมนุษย์ที่เกิดจากไข่ ก็มี (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/87/7 18/83/5 |
28 | ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความเป็นผู้มีใจสูงแล้ว (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/88/8 18/84/7 |
29 | ความหมาย ของคำว่า พรหมจรรย์ (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/94/13 18/90/9 |
30 | พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทุกกรกิริยา และวัตรของอเจลก ในกัปที่ 91 (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/101/4 18/96/18 |
31 | พระตถาคตทั้งหลาย ผู้อันลักษณะมี ฟันหลุด เป็นต้น. ไม่ครอบงำแล้วในส่วนแห่ง อายุที่ 5 เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางวรรณะของสรีระยังไม่เกิดขึ้นย่อมปรินิพพาน ในกาลที่เป็นที่รักที่ชอบ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (อ.มหาสีหนาทสูตร) 18/111/8 18/107/1 |
32 | [๑๙๗] ความสุข ความโสมนัส อันอาศัยกามคุณ 5 เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกาม ทั้งหลาย (มหาทุกขักขันธสูตร) 18/115/12 18/110/11 |
33 | [๑๙๘] โทษของกาม (มหาทุกขักขันธสูตร) 18/115/21 18/110/20 |
34 | [๒๐๑] ความสุข ความโสมนัสอันใด ที่บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณของรูปทั้งหลาย (มหาทุกขักขันธสูตร) 18/120/3 18/114/20 |
35 | [๒๐๒] โทษของรูป (มหาทุกขักขันธสูตร) 18/120/12 18/115/3 |
36 | [๒๐๕] คุณของเวทนา (มหาทุกขักขันธสูตร) 18/123/13 18/118/5 |
37 | [๒๐๖] ข้อที่ เวทนาไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ ของเวทนาทั้งหลาย (มหาทุกขักขันธสูตร) 18/124/19 18/119/10 |
38 | พระตถาคตทรงบัญญัติ ความรอบรู้กามทั้งหลาย ด้วยอนาคามิมรรค ทรงบัญญัติ ความรอบรู้ รูปและเวทนาทั้งหลาย ด้วยอรหัตมรรค (อ.มหาทุกขักขันธสูตร) 18/126/20 18/121/9 |
39 | อธิบาย การทำกรรมกรณ์ 26 อย่าง (อ.มหาทุกขักขันธสูตร) 18/132/1 18/126/18 |
40 | [๒๑๐] ถ้าละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ก็ไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม (จูฬทุกขักขันธสูตร) 18/135/13 18/130/15 |
41 | [๒๑๒-๒๑๘] คุณ และโทษของกามทั้งหลาย (จูฬทุกขักขันธสูตร) 18/136/15 18/131/15 |
42 | พระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธเถระ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอานันทเถระ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอานันทเถระเป็น พระกนิษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้ามหานามะทรงแก่กว่าเป็นสกทาคามี อริยสาวก (อ.จูฬทุกขักขันธสูตร) 18/145/13 18/139/15 |
43 | พระอริยสาวก เกิดความสงสัย ในสิ่งที่ยังละไม่ได้เพราะ ความเป็นผู้ไม่ฉลาด ในบัญญัติ (อ.จูฬทุกขักขันธสูตร) 18/146/11 18/140/13 |
44 | [๒๒๒] ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก 16 ประการ (อนุมานสูตร) 18/152/7 18/146/8 |
45 | [๒๒๓] ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย 16 ประการ (อนุมานสูตร) 18/155/2 18/148/22 |
46 | [๒๒๗] ภิกษุใดไม่ละตะปูตรึงใจ 5 ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ 5 ประการ ภิกษุนั้น จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ (เจโตขีลสูตร) 18/170/7 18/163/8 |
47 | [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ 5 ประการ (เจโตขีลสูตร) 18/170/11 18/163/12 |
48 | [๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ 5 ประการ (เจโตขีลสูตร) 18/172/7 18/165/2 |
49 | [๒๓๓] ภิกษุประกอบด้วยองค์ 15 รวมทั้งความขะมักเขม้น เป็นผู้ควรแก่ ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้เปรียบเหมือน ไข่ที่แม่ไก่กกไว้โดยชอบ แล้ว ย่อมออกมาได้โดยสวัสดี (เจโตขีลสูตร) 18/179/2 18/170/18 |
50 | [๒๓๕] ภิกษุเข้าไปอาศัยป่าชัฏใด อยู่แล้วสติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตก็ไม่ ตั้งมั่น ทั้งปัจจัย 4 ก็หาได้โดยยาก. ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้นใน เวลากลางคืน หรือในกลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่ (วนปัตถสูตร) 18/186/10 18/177/11 |
51 | [๒๓๖] ภิกษุเข้าไปอาศัยป่าชัฏใด อยู่แล้วสติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตก็ไม่ ตั้งมั่น แต่หาปัจจัย 4 ก็หาได้ไม่ยาก. ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏ นั้น ไม่ควรอยู่ (วนปัตถสูตร) 18/187/5 18/178/2 |
52 | [๒๓๗] ภิกษุอาศัยป่าชัฏใด อยู่แล้วสติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ปรากฏ จิตย่อมตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ถึงความสิ้นไป ส่วนปัจจัย 4 เครื่องอุดหนุนชีวิต หาได้โดย ยาก ภิกษุนั้นแม้รู้แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย (วนปัตถสูตร) 18/188/1 18/178/21 |
53 | [๒๓๘] ภิกษุอาศัยป่าชัฏใดอยู่แล้ว สติก็ปรากฏจิตก็ตั้งมั่นอาสวะก็ถึงความ สิ้นไป และปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิตก็หาได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าชัฏ นั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป (วนปัตถสูตร) 18/188/19 18/179/15 |
54 | [๒๔๒] ภิกษุเข้าไปอาศัยบุคคลใดอยู่ สติก็ปรากฏจิตย่อมตั้งมั่น อาสวะก็ถึงความ สิ้นไป และปัจจัย เครื่องอุดหนุนชีวิตก็หาได้โดยไม่ยากภิกษุนั้น ควรพัวพันอยู่กะ บุคคลนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปแม้จะถูกขับไล่ก็ตาม (วนปัตถสูตร) 18/191/20 18/182/7 |
55 | [๒๔๘] จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัย ตา และรูป เพราะประชุมธรรม 3 ประการ จึงเกิดผัสสะเพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำ เวทนาอันนั้น จำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น ตรึกถึงเวทนาใดก็เนิ่นช้าอยู่ ที่เวทนานั้น เนิ่นช้าในเวทนาใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้น. (มธุปิณฑิกสูตร) 18/200/21 18/190/19 |
56 | [๒๔๘] เมื่อตามี รูปมี จักขุวิญญาณมี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ... เมื่อการบัญญัติ วิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้ (มธุปิณฑิกสูตร) 18/201/21 18/191/18 |
57 | พระตถาคตย่อมไม่ทรงทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลก ครั้นพระองค์ตรัสว่าไม่ เที่ยง ก็กล่าวว่าเที่ยง เมื่อตรัสว่าทุกข์อนัตตา ไม่งามก็กล่าวว่างามชื่อว่า ทะเลาะ กับพระตถาคต (อ.มธุปิณฑิกสูตร) 18/207/17 18/197/18 |
58 | กิเลสทั้งหลายเมื่อจะเกิดขึ้นย่อมเกิดเพราะอาศัยอายตนะ 12 แม้เมื่อจะดับก็ ย่อมดับในเพราะอายตนะ 12 เช่นเดียวกัน กิเลสเกิดขึ้นในที่ใด ก็ย่อมดับใน ที่นั้น (อ.มธุปิณฑิกสูตร) 18/209/21 18/199/23 |
59 | [๒๕๒] พระพุทธองค์แยกวิตกให้เป็น 2 ส่วน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก นี้เป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก (ความคิดที่จะออกจากกาม) อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก นี้เป็นส่วนหนึ่ง (เทวธาวิตักกสูตร) 18/215/9 18/205/9 |
60 | [๒๕๓] ทรงอธิบายการปรารภความเพียร จน บรรลุ วิชชา3 (เทวธาวิตักกสูตร) 18/219/10 18/209/2 |
61 | [๒๕๗-๒๖๑] ภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึง นิมิต 5 ประการ ตามเวลาอันสมควร เพื่อละวิตกอันเป็นบาปอกุศล (วิตักกสัณฐานสูตร) 18/234/8 18/224/9 |
62 | เมื่อ โมหะ เกิดขึ้นในธรรมใด ภิกษุอาศัยธรรม 5 ประการ ย่อมละโมหะได้ . (วิตักกสัณฐานสูตร) 18/243/6 18/231/26 |
63 | เรื่องติสสสามเณรผู้อยากจะสึก แต่พระอุปัชฌาย์ให้สร้างที่พักในถ้ำให้เมื่อเสร็จ แล้ว ก็ให้สามเณรนั้นใช้สอยก่อน สามเณรได้ภาวนาในถ้ำนั้น ได้บรรลุพระอรหัต ปรินิพพานแล้วในถ้ำนั้น (อ.วิตักกสัณฐานสูตร) 18/247/9 18/235/4 |
64 | เรื่องกระต่าย ตื่นตูม (อ.วิตักกสัณฐานสูตร) 18/249/15 18/236/24 |
65 | [๒๖๔] พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ พระโมลิยผัคคุนะ ที่อยู่คลุกคลี กับพวกภิกษุณี จนเกินขอบเขต และให้ศึกษาว่า แม้ผู้ใดติเตียนหรือทำร้ายภิกษุณีเหล่านั้น อยู่ต่อหน้าเธอ ก็ตามให้ละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย (กกจูปมสูตร) 18/255/11 18/241/15 |
66 | [๒๖๕] พระพุทธเจ้า ฉันอาหารหนเดียว ทำให้มีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก จึงตรัสให้ ภิกษุทั้งหลาย จงฉันอาหาร หนเดียวเถิด (กกจูปมสูตร) 18/256/12 18/242/13 |
67 | [๒๖๖] แม่บ้านชื่อ เวเทหิกา ถูกคนใช้ชื่อ กาลี ทดสอบว่าไม่มีความโกรธ จริงหรือ... (กกจูปมสูตร) 18/257/15 18/243/14 |
68 | [๒๖๗-๒๗๑] ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวมีอยู่ 5 ประการ เมื่อบุคคล ใดกล่าวโดย 5 ประการนี้ ให้ศึกษาว่า จิตของเราจะไม่แปรปรวน จะไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจะแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น เปรียบเหมือนแผ่นดิน เปรียบเหมือนเขียน ภาพในอากาศเป็นต้น (กกจูปมสูตร) 18/259/22 18/245/24 |
69 | [๒๗๒] " หากจะมีโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า เอาเลื่อยที่มีด้ามสองข้างเลื่อย อวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้าย ต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุ หรือภิกษณีรูปนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอนของเรา " (กกจูปมสูตร) 18/264/11 18/250/6 |
70 | เวลามี 3 คือ กาลเวลา(ขอบเขตคือเวลา), สีมเวลา(ขอบเขตคือเขตแดน), สีลเวลา (ขอบเขตคือศีล) (อ.กกจูปมสูตร) 18/266/17 18/251/14 |
71 | พระพุทธเจ้าตรัสถึงกาล ให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางวันในสูตร นี้ แต่ในภัททาลิสูตร ตรัสถึงกาล (เวลา) ให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน (อ.กกจูปมสูตร) 18/270/4 18/254/17 |
72 | ความว่า ผู้ใดไม่ว่าภิกษุ หรือภิกษุณี เคืองใจ อดกลั้น การเลื่อย ด้วยเลื่อย นั้น ไม่ได้ ผู้นั้นไม่ชื่อว่า เป็นผู้กระทำตามคำสอนของเรา ก็แต่ว่าอาบัติย่อมไม่มี แก่เธอในเพราะอดกลั้นไม่ได้นั้น (อ.กกจูปมสูตร) 18/278/1 18/262/4 |
73 | [๒๗๖] " โมฆบุรุษเธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน" (อลคัททูปมสูตร) 18/283/10 18/267/6 |
74 | [๒๗๘] การเล่าเรียนธรรมเพื่อข่มผู้อื่นหรือหมายเปลื้อง คำกล่าวร้ายของผู้อื่น เปรียบเหมือนจับงูที่ขนด หรือที่หาง ย่อมเป็นไป เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน (อลคัททูปมสูตร) 18/285/1 18/268/22 |
75 | [๒๗๙] " เธอทั้งหลายรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้ อย่างนั้นเถิด ก็แล เธอทั้งหลายไม่รู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถาม เรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้
" (อลคัททูปมสูตร) 18/287/5 18/270/23 |
76 | [๒๘๐] " เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่น เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการ ยึดถือฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้ว แก่ท่าน ทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า" . (อลคัททูปมสูตร) 18/288/8 18/271/24 |
77 | [๒๘๒] พระพุทธองค์ตรัสตอบภิกษุรูปหนึ่งว่า เมื่อความพินาศแห่งบริขาร ภายนอกไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้... (อลคัททูปมสูตร) 18/289/16 18/273/7 |
78 | [๒๘๖] " เทวดาทั้งหลาย ทั้งพระอินทร์ ทั้งพรหม ทั้งปชาบดี แสวงหาภิกษุผู้ มีจิตอันหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่พบว่า วิญญาณของตถาคตอาศัยแล้วซึ่ง ที่นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เราเรียกตถาคต(บุคคลเช่นนั้น) ในปัจจุบันว่าอันใครๆ ไม่พบ คือไม่มี... " (อลคัททูปมสูตร) 18/295/6 18/278/13 |
79 | [๒๘๗] "ชนพึงนำไป พึงเผาหรือ พึงกระทำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ใน พระวิหารเชตวันนี้ ตามความปรารถนา ท่านทั้งหลาย พึงดำริอย่างนี้ บ้าง หรือหนอว่า ชนย่อมนำไป ย่อมเผาหรือย่อมกระทำเราทั้งหลาย ตามความ ปรารถนา
" (อลคัททูปมสูตร) 18/296/21 18/280/12 |
80 | [๒๘๘] " ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏแยกขยาย แล้วบุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า" (อลคัททูปมสูตร) 18/298/10 18/281/22 |
81 | อันตรายิกธรรม (ธรรมทำอันตราย) มี 5 อย่าง, การทำร้ายนางภิกษุณีย่อมทำ อันตรายต่อนิพพาน ไม่ทำอันตรายต่อสวรรค์ การเข้าไปว่าร้ายพระอริยะย่อม ทำอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าอดโทษ. อาบัติ 7 กองที่ภิกษุจงใจ ล่วงละเมิดแล้ว ย่อมทำอันตราย ตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตน ว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี เบื้องหน้าแต่นั้น หากระทำอันตรายไม่ (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/299/8 18/282/10 |
82 | การสอบถามเหตุว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ ชื่อว่าสมนุภาสน์ . (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/300/20 18/284/2 |
83 | ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า ผู้สามารถจะกล่าวคำ 2 คำ (พูดไม่ตรงกัน) ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/301/10 18/284/18 |
84 | วินิจฉัยคำว่า สูตร เคยยะ เวยยากรณะ อิติวุตตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ . (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/304/5 18/287/17 |
85 | ปริยัติ (การเล่าเรียน) มี 3 อย่าง (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/305/16 18/289/2 |
86 | ปริยัติ ที่ปุถุชนเรียนเพื่อรักษาพระพุทธวจนะไม่ให้สูญหายไป ไม่จัดเป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/306/7 18/289/21 |
87 | พระพุทธเจ้าให้ช่วยกัน ขจัดสมณะหยากไย่ จงกวาดสมณะกองขยะ . (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/322/1 18/306/9 |
88 | เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนา เกิดความเชื่อ ความรัก อย่างหนึ่ง ในพระทศพล ภิกษุเหล่านั้น มีคติที่แน่นอน เหมือนถูกจับมือไปวางไว้ในสวรรค์ พระเถระเก่าๆ เรียกภิกษุ เหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน (อ.อลคัททูปมสูตร) 18/323/6 18/307/11 |
89 | [๒๙๑] พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ ปัญหา15 ข้อ ที่เทวดากล่าวต่อพระกุมารกัสสปะ (วัมมิกสูตร) 18/326/22 18/311/2 |
90 | ประวัติย่อของพระกุมารกัสสปะ (อ.วัมมิกสูตร) 18/329/11 18/313/5 |
91 | พระสรีรธาตุ ของพระพุทธเจ้าผู้มีชนมายุน้อย ย่อมกระจัดกระจายไปด้วยอานุภาพ แห่งการอธิษฐาน ส่วนพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน พระสรีรธาตุตั้งอยู่เป็น แท่งเดียวกัน เหมือนแท่งทองคำ (อ.วัมมิกสูตร) 18/331/1 18/315/1 |
92 | การชักชวนคนสร้างเจดีย์ ของยโสธรอุบาสก สมัยพระกัสสปพุทธเจ้า . (อ.วัมมิกสูตร) 18/331/20 18/315/24 |
93 | เทวดาที่มากล่าวปัญหาแก่พระกุมารกัสสปะ นั้น เป็นพระอนาคามี ซึ่งเคยขึ้น ภูเขาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ในครั้งศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าอันตรธาน . (อ.วัมมิกสูตร) 18/336/14 18/321/10 |
94 | กายนี้เป็นเรือนคลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล เป็นสุสาน ของหมู่หนอน ประมาณ 80,000 ตระกูล (อ.วัมมิกสูตร) 18/340/6 19/325/3 |
95 | " กามเป็นดังเปือกตม กามเป็นดังทางอ้อม และเป็นภัย ภัยนั้นเรากล่าวว่ามีมูล 3 เราประกาศกิเลสเป็นดังธุลี และเป็นดังควันไฟ ดูก่อนท่านท้าวพรหมทัต ขอพระองค์โปรดละมันเสียแล้วทรงผนวช " (อ.วัมมิกสูตร) 18/341/16 18/326/16 |
96 | [๒๙๖-๒๙๘] พระปุณณมันตานีบุตร ตอบคำถาม พระสารีบุตร เรื่องวิสุทธิ 7 อุปมาด้วยรถ 7 ผลัด (รถวินีตสูตร) 18/349/13 18/335/10 |
97 | กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบทนั้นแล เรียกว่า ชาติภูมิ (อ.รถวินีตสูตร) 18/357/7 18/342/12 |
98 | พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรม (อ.รถวินีตสูตร) 18/358/12 18/343/15 |
99 | พระพุทธเจ้า เสด็จกลับพระเชตวัน เพราะหญิงรับใช้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อ ปุณณา (อ.รถวินีตสูตร) 18/359/6 18/344/11 |
100 | เมื่อพระนันทเถระ แสดงธรรมอยู่ พระพุทธเจ้ายืนฟังธรรมอยู่นอกวิหารจนสว่าง . (อ.รถวินีตสูตร) 18/360/9 18/345/10 |
101 | ผู้ปฏิบัติ 4 ประเภท มีผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นต้น (อ.รถวินีตสูตร) 18/360/18 18/345/20 |
102 | พระโลฬุทายี ไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น (อ.รถวินีตสูตร) 18/361/7 18/346/8 |
103 | ความอวดอ้างคุณ ที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่าความเป็น ผู้มีความปรารถนาลามก (อ.รถวินีตสูตร) 18/362/17 18/347/22 |
104 | กองไฟ ทะเล คนมักมาก ทั้ง 3 ประเภทนี้ ถึงจะให้ของจนเต็มเล่มเกวียน ก็ไม่ทำให้อิ่มได้ (อ.รถวินีตสูตร) 18/363/6 18/348/8 |
105 | ความมักน้อยของ พระมัชฌันติกเถระ สมัยพระเจ้าธรรมาโศกราช . (อ.รถวินีตสูตร) 18/363/15 18/348/15 |
106 | ภิกษุผู้มักน้อย 4 ประเภท คือ มักน้อยในปัจจัย ในธุดงค์ ในปริยัติ ในอธิคม . (อ.รถวินีตสูตร) 18/364/3 18/349/3 |
107 | ความสันโดษ 12 อย่าง (อ.รถวินีตสูตร) 18/365/22 18/350/25 |
108 | การคลุกคลี 5 อย่าง (อ.รถวินีตสูตร) 18/369/1 18/353/23 |
109 | ภิกษุหนุ่มเหาะไป ได้ยินเสียง ลูกสาวช่างทองไปสระปทุม กับหญิงสาว 5 คน อาบน้ำประดับดอกปทุม ขับร้องด้วยเสียงอันไพเราะ เกิดกามราคะเสื่อมฌาน ถึงความพินาศ (อ.รถวินีตสูตร) 18/369/13 18/354/9 |
110 | ภิกษุหนุ่มไปเรียน ได้มีกุลธิดาคนหนึ่งหลงรัก นางได้อดอาหารตาย ต่อมา ภิกษุนั้นรู้ว่านางตายและได้เห็นผ้าที่นางนุ่งซึ่งภิกษุทั้งหลายแบ่งกัน จึงเกิด ไฟราคะเผาตาย (อ.รถวินีตสูตร) 18/369/21 18/354/19 |
111 | สามเณรีให้ที่รองบาตร แก่สามเณรน้อย อายุ 7 ขวบ พอได้มาเจอกันอีกครั้ง ตอนอายุ 60 ปี แม้ทั้งสองก็ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ ต่อไปได้จึงสึกทั้งคู่ . (อ.รถวินีตสูตร) 18/371/4 18/355/24 |
112 | การจาริกของพระพุทธเจ้านี้ มี 2 อย่าง (อ.รถวินีตสูตร) 18/375/11 18/360/8 |
113 | พระพุทธเจ้า ย่อมเสด็จจาริก ด้วยเหตุ 4 ประการ (อ.รถวินีตสูตร) 18/378/19 18/363/16 |
114 | [๓๐๖] พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบ ป่าหญ้าเป็นชื่อ ของกามคุณทั้ง 5, พรานเนื้อ เป็นชื่อของมารผู้มีบาปธรรม , บริวารของพรานเนื้อ เป็นชื่อของ บริวารของมาร , ฝูงเนื้อเป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย (นิวาปสูตร) 18/396/7 18/381/10 |
115 | [๓๐๗-๓๐๙] สมณพราหมณ์ 3 พวก ที่ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ . (นิวาปสูตร) 18/396/11 18/381/16 |
116 | [๓๑๐-๓๑๑] สมณพราหมณ์พวกที่ 4 หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ทำลาย จักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยด้วยปฐมฌาน จนถึงสมาบัติ และสิ้นอาสวะ ในที่สุด (นิวาปสูตร) 18/399/13 18/384/23 |
117 | มารนั้นไม่สามารถจะมองเห็นร่าง คือ ญาณของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาท ของวิปัสสนานั้น ด้วยตาเนื้อของมารได้ (อ.นิวาปสูตร) 18/409/8 18/394/13 |
118 | [๓๑๓] เมื่อภิกษุนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือ สนทนาธรรมกันหรือ นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ (ปาสราสิสูตร) 18/411/14 18/397/15 |
119 | [๓๑๔] การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ : ตนเองเป็นผู้มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้า...เป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งเหล่านี้อีก (ปาสราสิสูตร) 18/411/21 18/397/22 |
120 | [๓๑๕] การแสวงหาที่ประเสริฐ (ปาสราสิสูตร) 18/413/14 18/399/22 |
121 | [๓๑๖-๓๒๖] พระพุทธองค์ทรงเล่าถึงตอนที่พระองค์ แสวงหาทางตรัสรู้จนได้ ตรัสรู้ และแสดงธรรมแก่ ภิกษุปัญจวัคคีย์ (ปาสราสิสูตร) 18/414/4 18/400/14 |
122 | [๓๒๗] สมณพราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งใฝ่ฝัน ลุ่มหลงติดพัน ไม่เห็นโทษไม่มี ปัญญาที่จะคิดนำตนออกย่อมบริโภคกามคุณ 5 สมณพราหมณ์พวกนั้นบัญฑิต พึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ (ปาสราสิสูตร) 18/427/4 18/413/25 |
123 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงได้ยาก เหมือนงูพิษ เหมือนไกรสรราชสีห์เหมือน พญาช้าง (อ.ปาสราสิสูตร) 18/431/11 18/417/15 |
124 | พระพุทธเจ้าในปฐมโพธิกาลประทับอยู่ไม่ประจำ 20 พรรษา ภายหลังประทับ ประจำกรุงสาวัตถี 25 พรรษา วันหนึ่งๆ ทรงใช้สองสถานที่เพื่ออนุเคราะห์แก่ 2 ตระกูล (อ.ปาสราสิสูตร) 18/432/20 18/418/25 |
125 | เจดียสถานอันติดแน่น 4 แห่ง คือ มหาโพธิบัลลังก์ สถานที่ประกาศพระธรรมจักร ที่ประดิษฐานบันไดครั้งเสด็จลงจากเทวโลก ณ สังกัสสนคร ที่ตั้งพระแท่น ปรินิพพาน (อ.ปาสราสิสูตร) 18/434/17 18/420/20 |
126 | พระพุทธเจ้าทรง นุ่งผ้าอาบน้ำ เสด็จลงสรงน้ำ ที่ท่าบุพพโกฏฐกะ (อ.ปาสราสิสูตร) 18/435/6 18/421/7 |
127 | ในครั้งพุทธกาล ภิกษุ ถึงจะอยู่รูปเดียวในที่ใดๆ ก็จัดพุทธอาสน์ ไว้ในที่นั้นๆ ทั้งนั้น (อ.ปาสราสิสูตร) 18/437/2 18/423/7 |
128 | ในอากิญจัญญายตนภพ มีอายุสูงสุด 60,000 กัป (อ.ปาสราสิสูตร) 18/442/4 18/428/20 |
129 | ในวันตรัสรู้ เมื่อพระโพธิสัตว์แทงตลอดปฏิจจสมุปบาท ในปัจฉิมยามหมื่นโลกธาตุ ก็หวั่นไหว (อ.ปาสราสิสูตร) 18/448/12 18/435/8 |
130 | ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ได้เป็นพระเถระชื่อ สหกะ ทำปฐมฌานให้บังเกิด แล้วไปเกิดเป็น พรหมอายุกัปหนึ่ง ในภูมิแห่ง ปฐมฌาน (อ.ปาสราสิสูตร) 18/449/1 18/435/20 |
131 | บุคคล 4 จำพวก : บุคคลใด ฟังมาก กล่าวมาก ทรงจำมาก สอนมากก็ตาม ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่า ปทปรมะ (อ.ปาสราสิสูตร) 18/453/3 18/440/2 |
132 | พระพุทธองค์ ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรม ในสัปดาห์ที่ 8 หลังตรัสรู้ . (อ.ปาสราสิสูตร) 18/454/17 18/441/17 |
133 | เทวดาช่วยนางสุชาดาทำอาหาร (อ.ปาสราสิสูตร) 18/455/16 18/442/16 |
134 | พระพุทธรัศมี มีปรากฏหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาอภิธรรมในสัปดาห์ ที่ 5 หลังการตรัสรู้ (อ.ปาสราสิสูตร) 18/458/1 18/444/25 |
135 | พราหมณ์ 8 คน ที่ทำนายพระลักษณะในเวลาที่พระโพธิสัตว์เกิด (อ.ปาสราสิสูตร) 18/461/5 18/447/25 |
136 | เรื่องอุปกาชีวก (อ.ปาสราสิสูตร) 18/464/17 18/451/18 |
137 | [๓๓๑] เมื่อปิโลติกปริพาชก กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าให้ชาณุโสณีพราหมณ์ ฟังแล้ว พราหมณ์นั้นได้ลงจากรถที่เทียมด้วยลา ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ประนมอัญชลี ไปทางทิศที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่แล้วเปล่งวาจานอบน้อม 3 ครั้ง (จูฬหัตถิปโทปมสูตร) 18/475/6 18/462/3 |
138 | [๓๓๓] กุลบุตรผู้บวชแล้ว ต้องถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย คือ ละการฆ่าสัตว์... ย่อมทำความรู้สึกตัวใน การเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง (จูฬหัตถิปโทปมสูตร) 18/477/19 18/464/18 |
139 | [๓๓๔-๓๓๘] ภิกษุเมื่อ ถึงพร้อมด้วยศีล แล้วละนิวรณ์ 5 ... เมื่อจิตเป็นสมาธิ ควรแก่การงาน ย่อมน้อมจิตไปเพื่อทำอาสวะให้สิ้น (จูฬหัตถิปโทปมสูตร) 18/479/20 18/466/21 |
140 | ปิโลติกปริพาชก เป็นหนุ่มอยู่ในปฐมวัย มีวรรณดังทองคำ เป็นพุทธอุปัฏฐาก กระทำอุปัฏฐากพระตถาคต และพระมหาเถระ (อ.จูลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/485/20 18/472/20 |
141 | พระตถาคต พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ พุทธมารดา พุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ พราหมณ์มหาศาล และคหบดีมหาศาลเหล่าอื่น ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้ทั้งนั้น (อ.จูลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/492/4 18/479/6 |
142 | พระธรรมกถึกแสดง ศีลเป็นเบื้องต้น แสดงมรรคเป็นเบื้องกลางแสดงนิพพาน เป็นเบื้องปลาย นี้เป็นจุดยืนของพระธรรมกถึก (อ.จูลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/496/1 18/482/26 |
143 | บริขาร 8 บริขาร 12 (อ.จูลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/508/1 18/495/7 |
144 | เทวดาตีศีรษะ ภิกษุชั่วผู้อยู่ป่า (อ.จูลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/511/10 18/498/9 |
145 | ภิกษุนั่งตั้งกายข้างบนให้ตรง หนังเนื้อเอ็นไม่ขัดกัน เมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาก็ ไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เดียว กัมมัฏฐานก็ไม่ตกไป ย่อมเข้าถึงความเจริญ งอกงาม (อ.จูลลหัตถิปโทปมสูตร) 18/513/12 18/500/11 |
146 | [๓๔๐] รอยเท้าเหล่าใด เหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้า เหล่านั้น ทั้งหมดย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์เข้าในอริยสัจ 4 ฉันนั้นเหมือนกัน . (มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/516/7 18/503/8 |
147 | [๓๔๑] ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ? โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดมั่น ) เป็นทุกข์ (มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/516/15 18/503/16 |
148 | [๓๔๒-๓๔๕] ว่าด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม (มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/517/4 18/504/2 |
149 | [๓๔๖] การสงเคราะห์ การประชุมพร้อมหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ 5 18/525/16 18/512/4 |
150 | การสงเคราะห์ 4 อย่าง (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/529/10 18/515/13 |
151 | สิกขา 3 เหล่านี้ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาเพราะสิกขาบท 150 สิกขาบท นั้น รวมอยู่ในสิกขาทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์ ทั้งหลาย ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างทั้งนั้น (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/530/10 18/516/13 |
152 | ชีวิต อัตตภาพ และสุขทุกข์ ทั้งมวล ล้วนประกอบด้วยจิต ดวงเดียวขณะย่อมเป็น ไปฉับผลัน (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/537/20 18/523/21 |
153 | ที่ได้ชื่อว่า ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/540/16 18/526/18 |
154 | ด้วยเตโชธาตุอันใด เมื่อมันกำเริบกายนี้ก็ร้อนเกิดไออุ่น โดยภาวะที่คร่ำคร่าไปชั่ว วันหนึ่ง เป็นต้น กายนี้ย่อมทรุดโทรมด้วยเตโชธาตุใด บุคคลก็มีอินทรีย์บกพร่อง หมดกำลัง หนังเหี่ยว ผมหงอก เป็นต้น ด้วยเตโชธาตุนั้น (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/541/18 18/527/23 |
155 | เมื่อเวลาที่โลกพินาศด้วยเตโชธาตุ เตโชธาตุก็ไหม้แสนโกฏิจักรวาล แม้เพียง ขี้เถ้าก็ไม่เหลืออยู่ (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/542/11 18/528/17 |
156 | เมื่อคราวโลกย่อยยับด้วยลมนี้ ท่านแสดงการเปลี่ยนแปลงแห่งวาโยธาตุ ด้วย อำนาจการกำจัดแสนโกฏิจักรวาล (อ.มหาหัตถิปโทปมสูตร) 18/543/4 18/529/10 |
157 | [๓๔๗] ลาภสักการะ และความสรรเสริญในธรรมวินัย นี้ เปรียบเหมือนกิ่ง และใบ (มหาสาโรปมสูตร) 18/546/3 18/533/4 |
158 | [๓๔๘] ศีล เปรียบเหมือน สะเก็ด (มหาสาโรปมสูตร) 18/547/15 18/534/15 |
159 | [๓๔๙] สมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก (มหาสาโรปมสูตร) 18/549/5 18/536/5 |
160 | [๓๕๐] ญาณทัสสนะ เปรียบเหมือน กระพี้ (มหาสาโรปมสูตร) 18/551/4 18/538/3 |
161 | อรรถกถา อธิบายว่า ก็ทิพยจักษุ อยู่สุดท้ายของอภิญญา 5 ทิพยจักษุนั้น ท่านกล่าวว่า ญาณทัสสนะในสูตรนี้ (อ.มหาสาโรปมสูตร) 18/557/1 18/544/3 |
162 | [๓๕๑-๓๕๒] อสมยวิโมกข์ (อริยมรรค 4 ผล 4 นิพพาน) เปรียบเหมือน แก่น. . (มหาสาโรปมสูตร) 18/553/8 18/540/6 |
163 | อรรถกถา อธิบายไว้ (อ.มหาสาโรปมสูตร) 18/557/5 18/544/8 |
164 | สมยวิโมกข์ ได้แก่ สมาบัติที่เป็นโลกิยะคือ รูปาวจรสมาบัติ 4 อรูปาวจรสมาบัติ 4 . (อ.มหาสาโรปมสูตร) 18/557/8 18/544/10 |
165 | [๓๕๕-๓๕๘] ลาภสักการะ และความสรรเสริญ เปรียบเสมือน กิ่งและใบ, ศีลเปรียบเหมือนสะเก็ด, สมาธิเปรียบเหมือนเปลือก, ญาณทัสสนะเป็นกระพี้. (จูฬสาโรปมสูตร) 18/560/15 18/548/17 |
166 | [๓๕๙-๓๖๐] รูปฌาน และอรูปฌาน ที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนาเป็นธรรมที่ยิ่งกว่า ญาณทัสสนะ, ความสิ้นอาสวะ และเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบเปรียบเหมือนแก่น (จูฬสาโรปมสูตร) 18/564/10 18/552/17 |
167 | อรรถกถาอธิบายไว้ 18/570/16 18/558/23 |