1 | [๒] ปุถุชน เพราะไม่ได้กำหนดรู้ ธาตุ สัตว์ เทวดา มาร... สักกายทิฏฐิ พระนิพพาน จึงสำคัญ หมายว่า เป็นของเรา (มูลปริยายสูตร) 17/1/17 17/2/2 |
2 | [๓] เสขบุคคล ควรกำหนดรู้ ธาตุ สัตว์ เทวดา มาร... สักกายทิฏฐิ พระนิพพาน อย่าสำคัญว่า ของเรา (มูลปริยายสูตร) 17/8/14 17/7/13 |
3 | [๔] พระอรหันตขีณาสพ กำหนดรู้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นแล้วย่อมไม่ ยินดียิ่ง ซึ่งธาตุ สัตว์ เทวดา มาร... สักกายทิฏฐิ พระนิพพาน (มูลปริยายสูตร) 17/9/11 17/8/10 |
4 | มัชฌิมนิกาย เป็นพระสูตรขนาดกลางมี 3 ปัณณาสก์ โดยวรรคมี 15 วรรค โดยสูตรมี 152 สูตร (อ.มูลปริยายสูตร) 17/18/5 17/16/23 |
5 | คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. เพราะว่าคนทั้งหลายเรียกครูใน โลกว่า ภควา (อ.มูลปริยายสูตร) 17/32/18 17/29/17 |
6 | ผู้คนทั้งหลาย พากันถือเอาข้าวและน้ำ เป็นต้น ไปดื่มกินเที่ยวเล่นอยู่ในป่า และขอให้ได้ลูกชาย ลูกหญิง ที่ป่าสุภควันย่อมสมปรารถนา จึงเป็นที่มา ของชื่อนั้น (อ.มูลปริยายสูตร) 17/35/5 17/31/16 |
7 | ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ, เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่ออาหาร . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/40/1 17/35/13 |
8 | พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ย่อมทั่วไป แก่บริษัททุกเหล่า แม้เมื่อเทวดา และมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ พระองค์ทรงเรียกภิกษุทั้งหลาย เพราะเป็นผู้เจริญที่สุด . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/41/8 17/36/13 |
9 | เหตุที่ทรง ยกพระสูตรขึ้นแสดง มี 4 ประการ คือ ตามอัธยาศัยของพระองค์ ตาม อัธยาศัยของผู้อื่น ด้วยอำนาจการถาม เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น (อ.มูลปริยายสูตร) 17/44/1 17/38/15 |
10 | ภิกษุที่เคยเป็นพราหมณ์ 500 คน มีมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์ จึงไม่ ไปอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ไม่ไปฟังธรรม พระองค์จึงแสดงสูตรนี้ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/46/2 17/40/6 |
11 | ความหมายของคำว่า ปุถุชน (อ.มูลปริยายสูตร) 17/54/2 17/46/2 |
12 | พระอริยะทั้งหลาย ถึงบุคคลจะเห็นด้วยตา หรือตาทิพย์ ก็ยังไม่ชื่อว่าได้เห็น อริยะ ต้องเห็นด้วยญาณ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/56/16 17/48/11 |
13 | อยู่กับพระอริยะ แต่ไม่รู้จักพระอริยะ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/57/6 17/48/21 |
14 | วินัย 2 อย่าง คือ สังวรวินัย 5 (การระวังปิดกั้นบาป), ปหานวินัย(การละกิเลส 5) . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/58/9 17/49/18 |
15 | การเทศนาของพระพุทธเจ้ามี 4 ประการ คือ ธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็น ที่ตั้ง, บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง, บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง, พระธรรมเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (อ.มูลปริยายสูตร) 17/62/2 17/52/11 |
16 | ปฐวี (ดิน) มี 4 อย่าง (อ.มูลปริยายสูตร) 17/63/12 17/53/17 |
17 | ปุถุชน ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก มีเหล็กและโลหะเป็นต้น ด้วยความสำคัญ 3 อย่าง คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ. (อ.มูลปริยายสูตร) 17/67/1 17/56/11 |
18 | เราตถาคตกล่าวว่า ผู้ใด ยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์ ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้น ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/70/20 17/59/16 |
19 | ปริญญา(ความรู้) 3 คือ ญาตปริญญา (รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะ) ตีรณปริญญา (รู้ชั้นพิจารณา เช่น ไตรลักษณ์ ) ปหานปริญญา(รู้ถึงขั้นละได้) (อ.มูลปริยายสูตร) 17/71/10 17/60/2 |
20 | อาโป(น้ำ) 4 อย่าง (อ.มูลปริยายสูตร) 17/72/13 17/61/3 |
21 | เตโชธาตุ(ไฟ) 4 อย่าง, เตโชธาตุที่เป็นเหตุให้ร่างกายอบอุ่น ทรุดโทรม กระวนกระวาย เผาอาหารให้ย่อย พึงทราบว่า เตโชธาตุภายใน (อ.มูลปริยายสูตร) 17/73/15 17/61/23 |
22 | อธิบายวาโยธาตุ(ลม) ที่เป็นภายใน และภายนอก (อ.มูลปริยายสูตร) 17/74/4 17/62/11 |
23 | ความหมายของ ภูต ใช้ใน อรรถเป็นต้นว่า ขันธ์ 5, อมนุษย์, ธาตุ, มีอยู่, พระขีณาสพ, สัตว์, ต้นไม้. สัตว์ทั้งหลายต่ำกว่าชั้นจาตุมมหาราชท่านประสงค์ เอาว่า ภูต ในสูตรนี้ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/75/19 17/63/22 |
24 | ที่ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมเล่น สนุกสนาน รุ่งเรือง ด้วยกามคุณ 5 หรือ ด้วยฤทธิ์ของตน เทพมี 3 จำพวก คือ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/79/20 17/67/4 |
25 | พญามาร ท่านประสงค์เอาว่า ปชาบดี ในที่นี้โดยความเป็นใหญ่กว่า ปชา กล่าวคือ หมู่สัตว์ ย่อมอยู่ในเทวโลก ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี (อ.มูลปริยายสูตร) 17/80/14 17/67/19 |
26 | ท้าวมหาพรหม พระตถาคต พราหมณ์ มารดาบิดา สิ่งที่ประเสริฐที่สุด เรียกว่า พรหม (อ.มูลปริยายสูตร) 17/82/12 17/69/7 |
27 | อาภัสสรพรหม มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากกาย คล้ายเปลวไฟ พึงทราบว่าปริตรตาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหม ก็อยู่ในชั้นเดียวกันคือ ภูมิของฌาน 2 . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/83/11 17/70/1 |
28 | สุภกิณหพรหม มีรัศมีแพรวพราว ไปด้วยสีที่สวยงาม. พึงทราบว่าปริตตสุภพรหม อัปปมาณสุภพรหม ก็อยู่ในชั้นเดียวกัน คือ ภูมิของฌาน 3(อ.มูลปริยายสูตร) 17/83/19 17/70/8 |
29 | เวหัปผลพรหม ได้แก่ พรหมชั้นฌาน 4 อยู่ชั้นเดียวกันกับ อสัญญีสัตว์ พรหม ทั้ง 2 พวกนั้น เรียกกันว่า อภิภู (อ.มูลปริยายสูตร) 17/84/7 17/70/15 |
30 | พระอนาคามี และพระขีณาสพชั้นสุทธาวาส ย่อมมีเฉพาะในเวลาที่พระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นเท่านั้น ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัลป ในกาลนั้น ภูมินั้น ย่อมว่างเปล่า (อ.มูลปริยายสูตร) 17/85/16 17/71/16 |
31 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย กำหนัดยินดี หลงใหล ติดใจในรูปหญิง สัตว์เหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจของรูปหญิง ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/87/6 17/72/23 |
32 | ปุถุชน ย่อมสำคัญนิพพานว่าเป็นของเรา เพราะปุถุชน นั้น สำคัญผิด . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/92/5 17/77/7 |
33 | เสขบุคคล กับปุถุชน ย่อมเสมอกันโดยทางอารมณ์ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/94/9 17/79/3 |
34 | บุคคลแม้ใด เป็นกัลยาณปุถุชนเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีความสำรวม รู้จัก ประมาณในอาหาร ตามประกอบความเพียรด้วยคิดว่า เราจักบรรลุสามัญญผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นท่านเรียกว่า เสขะ เพราะกำลังศึกษา (อ.มูลปริยายสูตร) 17/95/12 17/79/26 |
35 | ความหมายของคำว่า พระขีณาสพ (อ.มูลปริยายสูตร) 17/99/19 17/83/12 |
36 | วิมุตติ มี 2 คือ ความหลุดพ้นแห่งจิต ๑. พระนิพพาน ๑. (อ.มูลปริยายสูตร) 17/101/21 17/85/8 |
37 | พระอรหันต์นั้น ท่านเห็นโทษในความกำหนัด พิจารณาเห็นทุกข์อยู่เป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว ด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์. ท่านเห็นโทษในโทสะ พิจารณาเห็นโดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอนิมิตตวิโมกข์. ท่านเห็นโทษในโมหะ พิจารณาในความเป็นอนัตตาอยู่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยสุญญตวิโมกข์. . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/103/13 17/86/21 |
38 | พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ 8 อย่าง (อ.มูลปริยายสูตร) 17/105/5 17/88/6 |
39 | อธิบาย "อรหัง สัมมา สัมพุทโธ" (อ.มูลปริยายสูตร) 17/121/12 17/100/19 |
40 | พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวก ไม่มีความแตกต่างกัน ในการละกิเลส ด้วยมรรคนั้น ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีความแตกต่างกัน ในเรื่องความรอบรู้ . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/122/9 17/101/10 |
41 | บทว่า โพธิ หมายถึง ต้นไม้บ้าง มรรคบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง นิพพานบ้าง . (อ.มูลปริยายสูตร) 17/127/18 17/105/15 |
42 | เรื่องย่อของชาดก ที่พระโพธิสัตว์กำจัดมานะ ของลูกศิษย์ 500 (อ.มูลปริยายสูตร) 17/132/8 17/109/2 |
43 | [๑๑] พระพุทธองค์ ตรัสว่า " เรากล่าวความสิ้นอาสวะไว้ สำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าว ความสิ้นอาสวะไว้ สำหรับภิกษุผู้ไม่รู้ ไม่เห็น ", ตรัส การละอาสวะ 7 ประการ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/138/10 17/113/11 |
44 | [๑๒] เพราะไม่ได้เห็น พระอริยะ และไม่ได้รับการแนะนำทำให้ไม่รู้สิ่งควร และ สิ่งไม่ควรมนสิการ (พิจารณา) ปุถุชนจึงยังมีทิฏฐิ ในความเป็นเรา เป็นของเรา ย่อมไม่พ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ ... ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/139/4 17/114/2 |
45 | [๑๒] เพราะการเห็น พระอริยเจ้าทั้งหลาย และได้รับการแนะนำ ทำให้รู้สิ่งควร และ สิ่งไม่ควรมนสิการ เมื่ออริยสาวกมนสิการโดยแยบคาย ย่อมละสังโยชน์ 3 ได้ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/141/3 17/115/19 |
46 | [๑๓] ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว สำรวมในอินทรีย์ 6 มีตา เป็นต้น อาสวะ และ ความเร่าร้อน ที่กระทำความคับแค้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สำรวมอยู่ อย่างนี้ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/142/5 17/116/16 |
47 | [๑๔] ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพปัจจัย 4 อาสวะและความเร่าร้อนอัน กระทำความคับแค้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาแล้วเสพอยู่อย่างนี้ . (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/143/7 17/117/14 |
48 | [๑๕] ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลาน อดกลั้นต่อคำที่ผู้อื่น กล่าวชั่ว ต่อเวทนาอันอาจพร่าชีวิตได้ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำ ความคับแค้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/144/7 17/118/11 |
49 | [๑๖] ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว หลีกหนีอันตราย มีช้าง ม้า งู มิตรชั่ว และสถานที่มิใช่โคจร อาสวะ และความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/145/2 17/119/2 |
50 | [๑๗] ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วอดกลั้น ละบรรเทาซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก( ความคิดในความเบียดเบียน ) ธรรมที่บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญให้ถึงความไม่มี อาสวะ และความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น ย่อมไม่มี แก่ภิกษุนั้น ผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/145/16 17/119/15 |
51 | [๑๘] ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7 (องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้) อันอาศัยความสงัด ความปราศจากราคะ ความดับ อาสวะ และความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น ย่อมไม่มี แก่ภิกษุนั้น ผู้อบรมอยู่อย่างนี้ (สัพพาสวสังวรสูตร) 17/146/11 17/120/5 |
52 | ที่ชื่อว่า เมืองสาวัตถี เพราะมีความสมบูรณ์ มีเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง . (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/148/6 17/121/13 |
53 | คหบดี ชื่อ สุทัตตะได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ เพราะให้อาหาร แก่คนอนาถาเป็น ประจำ (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/149/11 17/122/16 |
54 | ที่ชื่อว่าอาสวะ เพราะไหลไป เพราะหมักดองอยู่นาน (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/151/6 17/124/2 |
55 | อธิบายคำว่า สังวร, " เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องห้ามกระแส กระแสเหล่านั้น บุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา " (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/153/11 17/126/2 |
56 | อาสวะบางเหล่า ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ การอุทเทศ(การท่องจำ) ปริปุจฉา (การสอบถาม) ปริยัติ(การเล่าเรียน) นวกรรม(การก่อสร้าง) โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย) (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/160/1 17/131/20 |
57 | พระมหาติสสคุตตเถระ ไปบิณฑบาตเห็นรูป ที่เป็นข้าศึก จึงไปเจริญอสุภกัมมัฏฐานในสำนัก พระมหาสังฆรักขิตเถระ ตัดราคะได้เป็นพระอนาคามี . (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/161/1 17/132/17 |
58 | กามาสวะ เป็นปฏิปักษ์ต่อ อัปปณิหิตวิโมกข์, ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เป็น ปฏิปักษ์ต่ออนิมิตตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์ (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/164/2 17/135/7 |
59 | ผู้เจริญกรรมฐานในสัจจะ 4 และอุบายการพิจารณาให้ถูกทาง โดยกำหนด ภูตรูป 4 จนถึง โสดาปัตติมรรค (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/173/4 17/142/25 |
60 | โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ทัสสนะ (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/176/11 17/145/21 |
61 | อาสวะที่พึงละเพราะสังวรนั้น เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ของโสดาปัตติมรรคและ ของมรรคทั้ง 3 เหล่านั้น ทั้งหมด (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/177/7 17/146/13 |
62 | ในขณะแห่งชวนจิต ถ้าโทษเครื่องทุศีล ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้านเกิดขึ้นนี้ เป็นการไม่สังวร (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/179/6 17/148/8 |
63 | พระโลมสนาคเถระ พิจารณา โลกันตริยนรก ในสมัยหิมะตก ไม่ยอมละทิ้ง กัมมัฏฐานเลย ให้เวลาผ่านไปในกลางแจ้ง (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/183/7 17/152/2 |
64 | พระปธานิยเถระ ถูกงูพิษกัดขณะนั่งฟังธรรม ท่านพิจารณาถึงศีล ของตนแล้ว เกิดปีติ พิษงูจึงแล่นกลับลงดิน ท่านเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหันต์ . (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/184/6 17/152/23 |
65 | พระทีฆภาณกอภัยเถระ ถูกภิกษุอื่น ด่าตลอดทาง ก็ไม่โต้ตอบพิจารณาอยู่ แต่กับกัมมัฏฐานของตนเท่านั้น (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/184/14 17/153/7 |
66 | พระปธานิยเถระ ผู้อยู่ที่จิตลดาบรรพต ยืนบำเพ็ญเพียรตลอดคืน ลมได้เกิด ขึ้นในท้อง ท่านอดกลั้นนอนสงบนิ่ง ลมได้แล่นเสียดหัวใจไป จนถึงสะดือท่านข่ม เวทนา เจริญวิปัสสนาเพียงชั่วครู่ ก็ได้เป็นพระอนาคามีแล้วปรินิพพาน . (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/185/17 17/154/5 |
67 | สถานที่เป็นที่ทิ้งของสกปรก เรี่ยราดด้วยของไม่สะอาด ย่อมเป็นที่ควรเว้นเพราะ เป็นที่อมนุษย์อยู่ (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/187/13 17/155/17 |
68 | มหาวิตก 9 คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก วิตกถึงญาติ วิตกถึง ชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกประกอบด้วยความเอ็นดูต่อผู้อื่น วิตกประกอบ ด้วยสักการะ และเกียรติยศ วิตกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/190/14 17/158/6 |
69 | อธิบายลักษณะ แห่งโพชฌงค์ 7 (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/192/1 17/159/16 |
70 | ภิกษุทั้งหลายก็เรา ตถาคต กล่าวสตินั้นแล ว่า มีประโยชน์แก่ธรรมทั้งปวง . (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/195/3 17/162/6 |
71 | สมัยใด จิตเป็นธรรมชาติหดหู่ เหมาะที่จะเจริญธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ,จิตฟุ้งซ่าน เหมาะที่จะเจริญปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา โดยมีสติเป็นเอกให้สำเร็จประโยชน์ แก่โพชฌงค์ทุกข้อ (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/195/16 17/162/15 |
72 | การปล่อยวาง มี 2 อย่าง คือ ปล่อยวางโดยการสละ ปล่อยวางโดยการแล่นไป . (อ.สัพพาสวสังวรสูตร) 17/197/19 17/164/9 |
73 | [๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาท ของเราตถาคตเลย (ธรรมทายาทสูตร) 17/202/7 17/168/8 |
74 | [๒๔] ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมถูกตำหนิด้วยเหตุ 3 ประการ คือ 1.ไม่ศึกษา ความสงัดตามพระศาสดา 2.ไม่ละธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ 3. มักมาก ย่อหย่อน ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ 5 (ธรรมทายาทสูตร) 17/206/4 17/171/14 |
75 | [๒๕] ภิกษุผู้เป็นธรรมทายาท ได้รับสรรเสริญ 3 ประการ คือ 1. ศึกษาความสงัด ตามพระศาสดา 2.ละธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ 3.ไม่มักมากในลาภ ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ 5 (ธรรมทายาทสูตร) 17/207/14 17/172/19 |
76 | [๒๖]ธรรมอันลามกได้แก่ โลภะ โทสะ ผูกโกรธ ริษยา ตระหนี่ มายาโอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่น มัวเมา เลินเล่อ ภิกษุอาศัยข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อละธรรมอันลามกเหล่านั้น (ธรรมทายาทสูตร) 17/209/2 17/173/22 |
77 | ลาภสักการะ เป็นอันมากเกิดขึ้นแก่พระพุทธองค์ เพราะได้ทรงสั่งสมทานบารมี ให้บริบูรณ์แล้ว ตั้ง 4 อสงไขย พระบารมี ทุกข้อ เป็นเหมือนมาจับกลุ่ม ให้ผลใน อัตภาพเดียวนี้ บังเกิดเป็นดุจห้วงน้ำใหญ่ คือ ลาภสักการะ (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/211/10 17/175/8 |
78 | พระตถาคตไม่สามารถจะบัญญัติสิกขาบท ห้ามว่าปัจจัยเป็นของไม่สมควร จึงทรงแสดง ธรรมทายาทปฏิปทา ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทแห่ง กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อการศึกษา (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/213/4 17/176/15 |
79 | ธรรมโดยตรงได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1,ธรรมโดยอ้อม ได้แก่ การให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถบูชาพระรัตนตรัย ฟังธรรม ทำฌานและสมาบัติให้เกิด หวังอยู่เพื่อนิพพาน (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/214/13 17/177/15 |
80 | ธรรมโดยตรง และโดยอ้อม ทั้งอามิสโดยตรงและโดยอ้อม ชื่อว่า เป็นของ พระพุทธเจ้าทั้งนั้น (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/217/8 17/179/22 |
81 | ภิกษุผู้เห็นแก่ ปัจจัยย่อมสิ้นเดชอับแสงระหว่างบริษัท 4 คล้ายกับถ่านไฟ ที่ดับแล้ว ส่วนภิกษุผู้มีจิตหวนกลับจากปัจจัย เป็นผู้หนักในธรรมประพฤติ ครอบงำอามิสอยู่เป็นนิตย์ ย่อมมีเดชคล้ายกับราชสีห์ (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/219/8 17/181/6 |
82 | ชาวโลก เห็นพระมีมรรยาทไม่เหมาะสม ย่อมติเตียนถึงอาจารย์ และอุปัชฌาย์ ด้วย (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/220/21 17/182/11 |
83 | ปวารณา มี 4 อย่าง คือ 1. ปวารณาของภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว 2.ปวารณา ด้วยปัจจัย 3. ปวารณาทั้งที่มีของอยู่พร้อม 4. ปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการ แล้ว (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/223/4 17/184/6 |
84 | ภิกษุผู้มี โภชนะอันตนให้สิ้นสุดแล้ว ชื่อว่า มีโภชนะอันตนฉันแล้ว ภิกษุผู้อิ่ม แล้วชื่อว่า ห้ามภัตรแล้วด้วยการห้ามเมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว ภิกษุผู้เพียงพอ แก่ความต้องการแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/224/16 17/185/10 |
85 | บิณฑบาตเป็นของภิกษุ ไม่ควรฉันเพราะเหตุ 5 ประการ (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/228/16 17/188/16 |
86 | กถาวัตถุ 10 บริบูรณ์ จักช่วยให้สิกขา 3 บริบูรณ์ (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/234/1 17/192/13 |
87 | พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสพระธรรมเทศนายังไม่ทันจบ เสด็จเข้าพระคันธกุฎีเพื่อเหตุ 2 ประการ คือ 1.เพื่อยกย่องบุคคล 2.เพื่อยกย่องธรรม ในกรณียกย่องธรรม พระองค์จะทรงหายตัวไปพระคันธกุฎี (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/236/10 17/194/11 |
88 | ความหมาย และลักษณะ ของมรรคมีองค์ 8 , ความจริงแล้ว องค์แต่ละองค์ คือ มรรคนั่นเอง (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/249/18 17/204/20 |
89 | ลักษณะธรรมที่ควรละ มีโลภะ โทสะ เป็นต้น (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/252/17 17/207/2 |
90 | ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรม ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท . (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/255/6 17/208/26 |
91 | สัมมาทิฏฐิ ประเสริฐที่สุดในบรรดากุศลธรรมทั้งปวง (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/257/16 17/210/17 |
92 | ผู้บำเพ็ญ บางท่านเจริญสมถะ นำหน้าวิปัสสนา หรือเจริญวิปัสสนานำหน้า สมถะแต่ในขณะแห่งโลกุตตรมรรคแล้ว สมถะและวิปัสสนาย่อมอยู่เป็นคู่กัน อย่างแยกกันไม่ออก (อ.ธรรมทายาทสูตร) 17/258/8 17/211/4 |
93 | [๓๑-๔๔] ทรงแสดงความที่พระองค์มี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อาชีวะ บริสุทธิ์ ไม่มีความอยากได้มาก ...มีจิตตั้งมั่น มีปัญญา ย่อมเป็นผู้มีขนเรียบ โดยยิ่งเมื่ออยู่ในป่า (ภยเภรวสูตร) 17/261/8 17/214/9 |
94 | [๔๕] พระพุทธองค์ กำจัดความกลัวโดยเข้าไป ยังสถานที่ที่น่ากลัวยิ่งขึ้น ถ้าความกลัวเกิดขึ้นอิริยาบถใด จะไม่เปลี่ยนอิริยาบถนั้น จนกว่าความกลัวนั้น จะหายไป (ภยเภรวสูตร) 17/268/1 17/220/1 |
95 | [๕๑] พระพุทธองค์ ทรงเห็นอำนาจประโยชน์ 2 อย่าง คือ 1. เห็นความอยู่เป็นสุข ในปัจจุบันของตน 2. อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังจึงเสพเสนาสนะ อันสงัดที่เป็นป่า และเป็นป่าเปลี่ยว (ภยเภรวสูตร) 17/272/9 17/223/15 |
96 | คำว่า ชาณุสโสณี เป็นตำแหน่งปุโรหิต ที่พระราชาได้พระราชทาน (อ.ภยเภรวสูตร) 17/274/9 17/224/14 |
97 | การนั่งที่มีโทษ 6 อย่าง (อ.ภยเภรวสูตร) 17/277/10 17/226/20 |
98 | กุลบุตร 2 จำพวก คือ กุลบุตรโดยกำเนิด กุลบุตรโดยอาจาระ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/278/7 17/227/5 |
99 | เสนาสนะป่าท่าน กำหนดประมาณ 500 ช่วงธนู (อ.ภยเภรวสูตร) 17/281/6 17/229/7 |
100 | พระโพธิสัตว์ คือ สัตว์ผู้ควรที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ นับจำเดิม แต่ อภินิหาร สำเร็จลงด้วยความประชุมพร้อมแห่งธรรม 8 ประการ แทบเบื้อง พระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า (อ.ภยเภรวสูตร) 17/283/10 17/230/20 |
101 | ถีนะ(ความท้อถอย,ท้อแท้) ซึ่งเป็นความพิการของจิต มิทธะ(ความง่วงเหงา) ซึ่ง เป็นความพิการของกองนามที่เหลือ (เวทนา สัญญา สังขาร) สมณพราหมณ์ ที่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้วมักจะหลับ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/289/11 17/235/16 |
102 | พระปิยคามิกะ ไปอยู่ป่าช้าเพื่อหวังลาภสักการะ ได้เห็นวัวแก่ตอนกลางคืน คิดว่า ท้าวสักกะ จึงได้ยืนไหว้อ้อนวอนอยู่ตลอดคืน (อ.ภยเภรวสูตร) 17/291/11 17/237/6 |
103 | สติมี 2 อย่าง คือ สติประกอบด้วยปัญญา สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมหย่อนกำลัง สติที่หย่อนกำลัง จะทำหน้าที่ ของสติไม่ได้ ภิกษุหลงลืมสติ ขาดสัมปชัญญะ(ปัญญา) ย่อมไม่สามารถจะ ทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้เลย (อ.ภยเภรวสูตร) 17/292/18 17/238/6 |
104 | ที่ชื่อว่า จาตุทฺทสี ได้แก่ ราตรีหนึ่งซึ่งทำให้ครบ14 วัน จำเดิม แต่วันแรก แห่งปักษ์ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/296/5 17/240/18 |
105 | ความหมายของคำว่า อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/297/2 17/241/10 |
106 | สถานที่ที่มนุษย์ทั้งหลาย นำเครื่องสังเวย ไปสังเวย บูชา มีดอกไม้ ธูป เนื้อ เลือด สุรา เป็นต้น ย่อมเป็นที่ชุมนุมของพวกยักษ์ รากษส และปีศาจ . (อ.ภยเภรวสูตร) 17/298/3 17/242/4 |
107 | ผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ย่อมสำคัญผิดได้ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/301/8 17/244/21 |
108 | พระโคทัตตเถระ และพระกาลิเทวเถระ มีญานเครื่องกำหนดเวลา (อ.ภยเภรวสูตร) 17/303/14 17/246/17 |
109 | ความหมายของ คำว่า อัตถาย หิตาย สุขาย (อ.ภยเภรวสูตร) 17/305/12 17/248/3 |
110 | ฌานเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา, ฌานเป็นบาทแห่งอภิญญา, ฌานเป็น บาทแห่งการเข้านิโรธ , ฌานเป็นบาทแห่งภพ. (อ.ภยเภรวสูตร) 17/308/8 17/250/14 |
111 | ในภพดุสิต พระโพธิสัตว์ เป็นเทพบุตร นามว่า เสตเกตุ มีอายุ 576 ล้านปี . (อ.ภยเภรวสูตร) 17/310/16 17/252/14 |
112 | คำว่า ชาติสิ้นแล้ว หมายถึง ชาติไหนสิ้น ? (อ.ภยเภรวสูตร) 17/315/6 17/255/23 |
113 | ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะ มีความว่า ทรงไว้ซึ่งบุคคลทั้งหลาย ผู้ได้บรรลุมรรค ผู้ทำให้ แจ้งซึ่งนิโรธแล้ว และผู้ปฏิบัติตาม คำที่ พระพุทธเจ้า พร่ำสอนเป็นประจำมิให้ ตกไปในอบาย 4 (อ.ภยเภรวสูตร) 17/324/21 17/263/9 |
114 | ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะหมายความว่า รวมกันด้วยเครื่องรวม คือ ทิฏฐิ และศีล เมื่อว่าโดยความหมาย คือ หมู่พระอริยบุคคล 8 จำพวก (อ.ภยเภรวสูตร) 17/326/2 17/264/5 |
115 | ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะย่อมกำจัด ทำความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความทุกข์ กิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ของบุคคลผู้ถึงสรณะ ให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะ นั่นแล (อ.ภยเภรวสูตร) 17/326/18 17/264/20 |
116 | การถึงสรณะ มี 2 คือ การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระ การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ . (อ.ภยเภรวสูตร) 17/327/19 17/265/14 |
117 | การถึงสรณะ มี 4 อย่าง คือ 1. การมอบตน 2. การมีพระรัตนตรัยเป็นเครื่อง นำทาง 3. การยอมเป็นศิษย์ 4.การประนมมือเคารพ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/328/8 17/265/25 |
118 | การไหว้ 4 อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ เพราะความกลัว เพราะเป็นอาจารย์ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล (อ.ภยเภรวสูตร) 17/330/12 17/267/14 |
119 | การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระ ย่อมมีสามัญญผล 4 เป็นวิบาก ส่วนการถึงสรณะ ที่เป็นโลกิยะ ย่อมมีภพสมบัติ และโภคสมบัติ เป็นผล (อ.ภยเภรวสูตร) 17/332/4 17/268/19 |
120 | การถึงสรณะ ที่เป็นโลกิยะ ย่อมเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความสงสัย และ ความรู้ผิด เป็นต้นในพระรัตนตรัย (อ.ภยเภรวสูตร) 17/334/1 17/270/2 |
121 | การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ มีการหมดสภาพอยู่ 2 อย่าง คือ มีโทษ ไม่มีโทษ . (อ.ภยเภรวสูตร) 17/334/6 17/270/6 |
122 | อุบาสก คือ คฤหัสถ์ คนใดคนหนึ่งผู้ถึงไตรสรณะ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/335/3 17/270/23 |
123 | การค้าขาย 5 อย่าง ที่อุบาสกไม่ควรทำ (อ.ภยเภรวสูตร) 17/335/19 17/271/11 |
124 | อุบาสกจัณฑาล อุบาสกเศร้าหมอง ด้วยเหตุ 5 (อ.ภยเภรวสูตร) 17/336/7 17/271/23 |
125 | [๕๔] บุคคล 4 จำพวก ที่รู้ และไม่รู้ว่าตนเองมี อังคณกิเลส (กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่ กิเลสที่เผ็ดร้อนต่างๆ ) (อนังคณสูตร) 17/339/8 17/274/9 |
126 | [๕๕] ความแตกต่างระหว่างคน 2 พวก ที่มีอังคณกิเลสเหมือนกัน คนหนึ่งบัณฑิต กล่าวว่า เลวทราม คนหนึ่งประเสริฐ และระหว่างคน 2 พวก ที่ไม่มีอังคณกิเลส เหมือนกัน คนหนึ่งบัณฑิต กล่าวว่า เลวทราม คนหนึ่งประเสริฐ (อนังคณสูตร) 17/340/10 17/275/8 |
127 | [๕๖-๖๙] อังคณะ เป็นชื่อของอิจฉาวจร คือ อกุศลที่เป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง ความอยาก ได้แก่ ความโกรธและความน้อยใจ นานัปการ 19 อย่าง . (อนังคณสูตร) 17/344/4 17/278/19 |
128 | [๗๐] ภิกษุใดยังละ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลไม่ได้ถึงแม้ จะสมาทานธุดงค์วัตร ก็ไม่เป็นที่เคารพสักการะ ของชนทั้งหลายผู้เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ (อนังคณสูตร) 17/352/17 17/287/6 |
129 | เทศนามี 2 คือ เทศนาเกี่ยวกับสมมติ เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์ (อ.อนังคณสูตร) 17/358/15 17/292/1 |
130 | พระพุทธเจ้าได้ตรัส ถ้อยคำระบุบุคคล ด้วยเหตุ 8 ประการ (อ.อนังคณสูตร) 17/360/17 17/293/13 |
131 | ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทั้งหลายจะไม่ทรงละทิ้ง สมมติของโลก ทรงดำรงอยู่ใน ถ้อยคำของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในการเจรจาของชาวโลกนั้นแหละ ทรงแสดงธรรม (อ.อนังคณสูตร) 17/362/19 17/294/21 |
132 | กิเลส พระพุทธองค์ ตรัสเรียกว่า อังคณะ(เป็นเหมือนเนิน) กิเลสเพียงดังเนินนั้น ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ หมายถึง มลทินอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ เปือกตม (อ.อนังคณสูตร) 17/363/9 17/295/5 |
133 | ภิกษุทุศีล มีความต้องการลาภ ถึงแม้เข้าไป บิณฑบาต ตั้ง 100 บ้าน ก็จะออกมา ด้วยบาตรเปล่า (อ.อนังคณสูตร) 17/372/19 17/301/15 |
134 | ความขุ่นเคือง สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ความน้อยใจ สงเคราะห์เข้าใน เวทนาขันธ์ (อ.อนังคณสูตร) 17/374/2 17/302/12 |
135 | จีวรเศร้าหมองเพราะเหตุ 3 ประการ คือ เศร้าหมองเพราะศัสตรา เศร้าหมอง เพราะด้าย เศร้าหมองเพราะสีย้อม (อ.อนังคณสูตร) 17/386/20 17/310/25 |
136 | [๗๓-๙๐] พระพุทธองค์ ทรงแสดง ความหวัง 17 อย่าง ซึ่งถ้าภิกษุหวังอยู่ พึงทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นเบื้องต้น (อากังเขยยสูตร) 17/398-40617/398-406 17/319-326 |
137 | ความถึงพร้อม มี 3 อย่าง คือ ความบริบูรณ์ ความพรั่งพร้อม และความหวาน . (อ.อากังเขยยสูตร) 17/407/4 17/326/21 |
138 | ศีลที่ ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย จะจัดเป็นศีลที่บริบูรณ์ไม่ได้ เปรียบเหมือนนาที่ ประกอบด้วยโทษ 4 อย่าง. (อ.อากังเขยยสูตร) 17/408/7 17/327/19 |
139 | ความเป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมย่อมมีได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ เพราะการเห็นโทษ ในการวิบัติแห่งศีล เพราะเห็นอานิสงส์ในการถึงพร้อมแห่งศีล (อ.อากังเขยยสูตร) 17/409/20 17/329/5 |
140 | ปาฏิโมกขสังวร ศีลนั้นของผู้ใด ไม่ด่างพร้อย ผู้นั้นย่อมสามารถที่จะรักษาศีล ที่เหลือให้ดำรงอยู่ตามปกติได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะไม่ขาด ก็อาจรักษา ชีวิตไว้ได้ (อ.อากังเขยยสูตร) 17/410/18 17/329/24 |
141 | จิตเป็น เอกัคคตา จะอนุรักษ์ศีลไว้ได้ (อ.อากังเขยยสูตร) 17/416/13 17/335/3 |
142 | การกำหนดสังขาร ย่อมตามอนุรักษ์ศีลไว้ได้ (อ.อากังเขยยสูตร) 17/416/20 17/335/10 |
143 | ภิกษาทัพพีเดียว หรือ บรรณศาลาที่พื้นดินยาว ประมาณ 5 ศอกก็ดี ที่บุคคล ทำถวายแก่ท่านผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น ย่อมรักษาเขาไว้ได้จาก ทุคติ วินิบาต เป็นเวลาหลายแสนกัลป์ และยังเป็นปัจจัยแห่งการดับรอบด้วยอมตธาตุ . (อ.อากังเขยยสูตร) 17/419/12 17/337/17 |
144 | บุคคลผู้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อระลึกถึงภิกษุที่เป็นญาติ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยความ เลื่อมใสแห่งจิต ที่ระลึกถึงนั้น มีอานิสงส์มาก สามารถเพื่อจะยังหมู่สัตว์ให้ข้าม พ้นจากทุคติ ตลอดหลายแสนกัป และให้ถึงอมตมหานิพพานในที่สุด . (อ.อากังเขยยสูตร) 17/420/8 17/338/9 |
145 | เทวดาผู้สถิตต้นไม้ ไล่พระมหาทัตตเถระ เพราะศีลของท่าน ทำให้เทวดาเหล่านี้ อยู่ไม่เป็นสุข (อ.อากังเขยยสูตร) 17/422/6 17/340/4 |
146 | ภิกษุบางรูปเป็นผู้ได้ฌาน แต่ไม่อาจจะเข้าฌาน ในขณะที่ตนต้องการได้ บางรูป ย่อมเข้าได้ในขณะที่ตนต้องการ และข่มธรรมที่เป็นข้าศึกโดยไม่ยากแต่ไม่สามารถ เพื่อจะออกในขณะที่ตนกำหนดไว้ได้ (อ.อากังเขยยสูตร) 17/424/11 17/342/2 |
147 | ความหมาย ที่พระสกทาคามี เป็นผู้มีการกลับมาสู่โลกนี้ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจปฏิสนธิ (อ.อากังเขยยสูตร) 17/428/16 17/346/4 |
148 | ที่แท้ อภิญญา 5 ประการ ซึ่งเป็นโลกิยะ ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน. และ การทำฤทธิ์ ย่อมสำเร็จแก่บุคคล ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค โดยง่าย . (อ.อากังเขยยสูตร) 17/430/12 17/347/19 |
149 | [๙๒] เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ (วัตถูปมสูตร) 17/433/7 17/351/8 |
150 | [๙๓] ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง ของจิต 16 ประการ (วัตถูปมสูตร) 17/433/16 17/351/18 |
151 | [๙๕] ทรงแสดงถึงผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส่ อันแน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ว่าแม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ... (วัตถูปมสูตร) 17/434/18 17/352/15 |
152 | [๙๖] ภิกษุมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาต ข้าวสาลี ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อยการฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีอันตรายเลย ท่านประสงค์เอาตั้งแต่อนาคามิมรรคขึ้นไป (วัตถูปมสูตร) 17/435/19 17/353/13 |
153 | อรรถกถาอธิบายไว้ (อ.วัตถูปมสูตร) 17/455/18 17/371/3 |
154 | จิตนี้เป็นธรรมชาติ ประภัสสร ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลส ที่จรมา จิตนั้นเมื่อได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ บุคคลก็สามารถทำให้ประภัสสร ยิ่งขึ้นอีกได้ ความพยายามในการชำระจิตนั้น ย่อมไม่ไร้ผล (อ.วัตถูปมสูตร) 17/442/14 17/359/13 |
155 | พวกพระทุศีลอาสารับใช้ผู้อื่น ประพฤติอนาจาร เที่ยวไปในสถานที่อันไม่สมควร เมื่อตายไปย่อมไปสู่นรกบ้าง กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ชื่อว่าเป็น สมณยักษ์ สมณเปรต (อ.วัตถูปมสูตร) 17/443/8 17/360/3 |
156 | ปลาอานนท์ ชอบเอาหางอวดปลาพวกอื่น และเอาหัวอวดงู ให้ปลา และงู เหล่านั้น รู้ว่าเราเป็นเช่นกับพวกท่าน บุคคลผู้คุยโต ก็เช่นกัน (อ.วัตถูปมสูตร) 17/446/16 17/362/24 |
157 | ความแข่งดี มี 2 คือ ฝ่ายอกุศล และกุศล (อ.วัตถูปมสูตร) 17/447/5 17/363/10 |
158 | แม้ในภูมิสุทธาวาส โลภะย่อมเกิดขึ้นก่อน ด้วยอำนาจ ความยินดีในภพ . (อ.วัตถูปมสูตร) 17/448/8 17/364/9 |
159 | การละ มีอยู่ 2 อย่าง คือ ละตามลำดับกิเลส ละตามมรรค, โสดาปัตติมรรค ย่อมละ ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา โอ้อวด. อนาคามิมรรค ย่อมละความพยาบาท ความโกรธ ความผูกโกรธ ความเลินเล่อ. อรหันตมรรค ย่อมละความเพ่งเล็ง ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา (อ.วัตถูปมสูตร) 17/448/19 17/364/22 |
160 | ในกาลใด ภิกษุละวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรม) ได้ ในการนั้น เธอย่อม ประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า (อ.วัตถูปมสูตร) 17/450/13 17/366/10 |
161 | บทว่า เวท หมายเอาคัมภีร์บ้าง ญาณ บ้าง โสมนัสบ้าง (อ.วัตถูปมสูตร) 17/453/21 17/369/12 |
162 | แนวทางพิจารณาของพระอนาคามีที่ได้เจริญพรหมวิหาร เพื่อบรรลุมรรคปัญญา หลุดพ้นจากอาสวะ (อ.วัตถูปมสูตร) 17/459/1 17/373/24 |
163 | [๑๐๒] ฌาน 1 ถึงฌาน 4 พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสแต่ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในวินัยของพระอริยะ (สัลเลขสูตร) 17/470/2 17/384/2 |
164 | [๑๐๓] อากาสานัญจายตนฌาน - เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พระพุทธองค์ ตรัสว่าไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัย ของพระอริยะ (สัลเลขสูตร) 17/471/15 17/385/13 |
165 | [๑๐๔] ภิกษุพึงทำความขัดเกลากิเลสในพุทธศาสนา นี้ คือ งดเว้นจากกิเลส 44 ประเภท (สัลเลขสูตร) 17/473/10 17/387/4 |
166 | [๑๐๕] แม้จิตตุปบาท(ความนึกคิดที่เกิดขึ้นในขณะหนึ่งๆ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เราตถาคตยังกล่าวว่า มีอุปการะมาก จะกล่าวไปใย ในการจัดแจงด้วยกายและ วาจาเล่า (สัลเลขสูตร) 17/478/4 17/390/19 |
167 | [๑๐๖] การงดเว้นจากอกุศลธรรม 44 ประเภท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ ประกอบอกุศลธรรม เหล่านั้น (สัลเลขสูตร) 17/478/14 17/391/4 |
168 | [๑๐๘] ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกฝนตน ยังไม่ได้แนะนำตน ยังดับกิเลสไม่ได้ด้วยตน จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ . (สัลเลขสูตร) 17/482/13 17/393/24 |
169 | [๑๐๙] " กิจอันใดที่ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้เอ็นดูอนุเคราะห์เหล่าสาวก ควรทำกิจนั้น เราตถาคตได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย นั่นควงไม้ นั่นเรือนร้าง เธอทั้งหลายจงเพ่งดูเถิด อย่าประมาท. อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใน ภายหลังเลย " (สัลเลขสูตร) 17/486/10 17/396/10 |
170 | เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อมีผู้ถวายบังคม ตรัสระบุชื่อ ของผู้นั้นๆ ว่า จงเป็นสุข ๆ เถิด (อ.สัลเลขสูตร) 17/488/1 17/397/19 |
171 | มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เกี่ยวกับ อัตตา และโลกนั้นมี 8 ประการ . (อ.สัลเลขสูตร) 17/489/7 17/399/2 |
172 | ผู้ใดเมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสที่ข่มไว้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา ย่อมเข้าใจว่า ตนเองเป็น พระโสดาบันบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง (อ.สัลเลขสูตร) 17/493/2 17/402/4 |
173 | เรื่องพระธรรมทินนาเถระ สอนลูกศิษย์ไม่นานก็บรรลุคุณวิเศษ พวกสงฆ์ชาว ติสสมหาวิหาร คิดว่าเป็นไปไม่ได้ จึงส่งภิกษุมาเรียกท่านให้ไปพบ แต่ท่าน ไม่ไป ภิกษุที่มาเรียกก็ได้บรรลุอรหัตในสำนักท่าน จึงไม่ได้กลับไปบอกสงฆ์ . (อ.สัลเลขสูตร) 17/493/15 17/402/17 |
174 | พระมหาเถระในหังกนวิหาร รูปหนึ่ง ในจิตตลดาบรรพต สำคัญว่าตนเป็น พระอรหันต์ จนพรรษา 60 ล่วงแล้ว (อ.สัลเลขสูตร) 17/494/13 17/403/11 |
175 | ฌานที่ไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ไม่เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แต่เป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน (อ.สัลเลขสูตร) 17/497/9 17/405/19 |
176 | ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในศาสนาพุทธ มีผลมากกว่า ทาน ที่ให้แก่คนนอกศาสนา ที่ได้สมาบัติ 8 แม้มีอภิญญา 5 ก็ตาม (อ.สัลเลขสูตร) 17/499/14 17/407/16 |
177 | ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในทักขิณาวิภังคสูตรนั้น พระองค์ ทรงประสงค์เอาตั้งแต่การ ถึงสรณะ เป็นต้นไป (อ.สัลเลขสูตร) 17/500/1 17/408/1 |
178 | อธิบายความมีอุปการะมาก ของการเกิดขึ้นแห่งจิตในกุศลธรรม (อ.สัลเลขสูตร) 17/509/8 17/415/24 |
179 | พระพุทธองค์ ทรงเรียกเบญจกามคุณว่า ผู้จมปลัก (อ.สัลเลขสูตร) 17/513/16 17/419/16 |
180 | พระธรรมกถึกทั้งหลาย เป็นเหมือนกับผู้อ่านพระราชหัตถเลขา ส่วนพระธรรมเทศนานั้น ก็เป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้านั้นเอง เหมือนกับพระบรมราชโองการ อนึ่ง ชนเหล่าใด ฟังธรรมเทศนาแล้ว ได้บรรลุธรรมพึงทราบว่า พระพุทธเจ้านั่นเอง ทรงยกคนเหล่านั้นขึ้น ส่วนพระธรรมกถึกจะได้ก็เพียง คำสรรเสริญเท่านั้น. (อ.สัลเลขสูตร) 17/514/12 17/420/8 |
181 | [๑๑๑] อกุศล และ รากแห่งอกุศล , กุศลและรากแห่งกุศล (สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/521/4 17/426/1 |
182 | [๑๑๓] อาหาร 4 อย่าง เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร และปฏิปทาให้ ถึงความดับแห่งอาหาร (สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/522/15 17/427/8 |
183 | [๑๑๗] ความหมายของ ชรา และมรณะ (สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/526/8 17/430/12 |
184 | [๑๑๘] ความหมายของ ชาติ (สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/527/17 17/431/18 |
185 | [๑๑๙] ภพมี 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ (สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/528/18 17/432/14 |
186 | [๑๒๐] อุปาทาน มี 4 อย่าง คือ ความยึดมั่นด้วยอำนาจกาม ความยึดมั่นด้วย อำนาจทิฏฐิ ความยึดมั่นด้วยอำนาจศีลและพรต ความยึดมั่นด้วยอำนาจวาทะ ว่าตน (สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/529/16 17/433/9 |
187 | สัมมาทิฏฐิ มี 2 อย่าง คือ โลกิยะ และโลกุตตระ, คนที่มีสัมมาทิฏฐิ มี 3 ประเภท คือ ปุถุชน เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) . (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/542/3 17/443/22 |
188 | ปาณาติบาต นั้นมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/546/11 17/447/16 |
189 | อทินนาทาน คือ การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ มีองค์ประกอบ 5 อย่าง . (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/547/6 17/448/5 |
190 | กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ประกอบ 4 อย่าง (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/549/12 17/450/5 |
191 | มุสาวาท มีองค์ประกอบ 4 อย่าง (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/550/16 17/451/3 |
192 | เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ ของมารดาผู้ด่าบุตร (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/552/5 17/452/10 |
193 | วิรัติ (เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว) แยกออกเป็น 3 อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ (เว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้า) สมาทานวิรัติ (เว้นด้วยการสมาทาน) สมุจเฉทวิรัติ (เว้นได้โดยเด็ดขาด) (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/558/15 17/458/2 |
194 | เรื่องนายจักกนะ ปล่อยกระต่ายที่จะนำไป เป็นยารักษามารดา แล้วตั้งสัตยาธิษฐาน ให้มารดาหายป่วย, เรื่องอุบาสก ผู้สมาทานศีลกับภิกษุ แล้วไม่ฆ่างูใหญ่ ที่รัดตนอยู่ (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/559/2 17/458/9 |
195 | ความหมายของคำว่า ภูต และสัมภเวสี (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/566/11 17/464/19 |
196 | กวฬิงการาหาร เป็นชื่อของโอชะที่มีข้าวสุก และขนมสดเป็นต้น เป็นที่ตั้ง. ใน จำนวนวัตถุ และโอชา (รสที่ซึมซาบ) 2 อย่างนั้น วัตถุบรรเทาความกระวนกระวายได้แต่ไม่อาจจะรักษาชีวิตไว้ได้ ส่วนโอชารักษาชีวิตได้ แต่ไม่อาจบรรเทา ความกระวนกระวาย (หิว) ได้ (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/568/5 17/466/8 |
197 | กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู ชีวิตไว้ย่อมนำรูปมา. ผัสสะเมื่อถูกต้องย่อมนำเวทนา มา. มโนสัญเจตนาเมื่อประมวลมาย่อมนำภพมา. วิญญาณเมื่อรู้อยู่นั่นแหละ ย่อมนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมา (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/572/10 17/469/24 |
198 | ภัยในอาหาร 4 อย่าง (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/574/2 17/471/4 |
199 | ข้อเปรียบเทียบในการครอบงำอาหาร 4 ด้วยสามีภรรยากินเนื้อบุตร . (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/576/7 17/473/2 |
200 | มีชรา อีก 2 อย่าง คือ ชราไม่มีร่องรอยให้เห็น ชรามีร่องรองให้เห็น, ชราของ แก้วมณี ทอง เงิน ชื่อว่าชราไม่มีร่องรอยให้เห็น (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/586/12 17/481/19 |
201 | ชื่อว่า ชาติ เพราะ อรรถว่า เกิด ประกอบแล้วด้วยสามารถแห่งอายตนะยังไม่ บริบูรณ์ ชื่อว่า สัญชาติเพราะอรรถว่า เกิดครบแล้วด้วยสามารถแห่งอายตนะ บริบูรณ์แล้ว (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/589/4 17/483/20 |
202 | กรรมภพ และอุปปัตติภพ ชื่อว่า กามภพ (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/590/11 17/485/3 |
203 | ชื่อว่า สีลัพพัตตุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่นศีล และพรตบ้าง เพราะศีลและ พรตนั้น ยึดมั่นเองบ้าง การยึดมั่นด้วยตนเองโดยความเชื่อมั่นว่าศีล และพรต ทั้งหลาย มีศีลของโค และวัตรของโค เป็นต้น เป็นของบริสุทธิ์ด้วยอาการอย่างนี้ จึงชื่อว่า สีลัพพัตตุปาทาน (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/592/14 17/486/24 |
204 | นามมีการน้อมไป เป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ. เวทนา ได้แก่ เวทนาขันธ์. สัญญาได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการ ได้แก่ สังขารขันธ์ . (อ.สัมมาทิฏฐิสูตร) 17/598/14 17/492/3 |
205 | [๑๔๖] ความหมายของ ชาติ, ชรา, มรณะ, โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น . (สติปัฏฐานสูตร) 17/621/11 17/512/19 |
206 | [๑๔๙] อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ 8 (สติปัฏฐานสูตร) 17/627/5 17/518/15 |
207 | [๑๕๑] อานิสงส์ แห่งการเจริญสติปัฏฐาน 4 (สติปัฏฐานสูตร) 17/629/13 17/520/16 |
208 | พวกที่มาจากทวีปทั้ง 3 สมัยพระเจ้ามันธาตุ มาตั้งถิ่นฐานในชนบทของชมพูทวีป . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/634/4 17/525/9 |
209 | ชาวกุรุรัฐ เป็นผู้มีร่างกาย และจิตใจเหมาะสมเป็นนิจ มีกำลังปัญญา สามารถ รับฟัง พระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งได้ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/636/12 17/527/6 |
210 | นกแขกเต้า บริกรรม คำว่า กระดูก กระดูก (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/638/9 17/528/17 |
211 | พระติสสะทุบกระดูกขาทั้ง 2 ข้างของตน เพื่อเป็นเครื่องค้ำประกัน กับโจร 500 ที่ภรรยาของน้องชายท่านส่งมาเพื่อฆ่าท่าน แล้วท่านก็เจริญวิปัสสนาได้บรรลุ พระอรหัต เวลารุ่งอรุณ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/647/4 17/535/17 |
212 | ภิกษุ 30 รูป จำพรรษาด้วยกัน เสือคาบภิกษุรูปหนึ่งไปกิน ภิกษุนั้น ได้บรรลุ พระอรหัตคาปากเสือนั่นเอง (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/648/5 17/536/14 |
213 | พระทีปมัลลเถระ บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเท้าบวม ก็เดินจงกรมด้วยเข่า นายพราน เข้าใจว่าท่านเป็นเนื้อ จึงแทงท่าน ท่านเอาม้วนหญ้าอุดปากแผลไว้ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/649/13 17/537/16 |
214 | สุพรหมเทวบุตร กับนางอัปสร 500 ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/651/5 17/539/1 |
215 | เอกายนมรรคทางสายนี้ จะนำอุปัทวะทั้ง 4 ออกไป คือ ความโศก ความคร่ำครวญ, ความทุกข์, ความเสียใจ. และนำคุณวิเศษ 3 มาให้ คือ ความหมดจด, ญายธรรม (ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง) ที่ควรรู้,นิพพานความดับ. (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/654/3 17/541/14 |
216 | ความหมายของคำว่า สติปัฏฐาน (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/656/2 17/543/2 |
217 | สติปัฏฐาน 4 ที่เหมาะสมกับ เวไนยสัตว์ (สัตว์ที่พึงสอนได้) จริตต่างๆ . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/659/2 17/545/18 |
218 | กายานุปัสสนา มี 14 วิธี เวทนานุปัสสนามี 9 วิธี จิตตานุปัสสนา มี 16 วิธี ธัมมานุปัสสนา มี 5 วิธี (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/661/7 17/547/13 |
219 | ผู้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ สงบแล้ว ฝึกแล้ว มีคติที่แน่นอน ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมชื่อว่า เป็นพราหมณ์เป็นสมณะ เป็นภิกษุ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/663/9 17/549/5 |
220 | ภิกษุผู้ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติว่าด้วยการพิจารณากายในกายนี้ พึงทราบว่าจะพิจารณา เห็นกายนี้ ด้วยอำนาจของอนุปัสสนา 7 ประการ มีอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด ดับตัณหา ละการยึดมั่น (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/667/11 17/552/10 |
221 | ควรพิจารณา สุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ ทุกขเวทนาควรให้เห็นโดยความ เป็นลูกศร ความไม่ทุกข์ ไม่สุข ควรให้เห็นโดยเป็นของไม่เที่ยง (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/673/21 17/558/9 |
222 | อุปมาจิตเหมือนลูกวัวพยศ ต้องฝึกด้วยการเอาเชือกผูกมัดไว้กับหลัก . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/677/2 17/561/2 |
223 | เสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน ผู้ที่จะเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ควรอยู่ในเสนาสนะ อันเงียบสงัด (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/678/6 17/562/3 |
224 | ช่องทางแห่งการออกไปจากทุกข์ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าออก . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/680/7 17/563/17 |
225 | ทุกๆ อิริยาบถมีได้โดย การแผ่ขยายของลมที่เกิดจากกิริยาของจิต . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/685/2 17/567/19 |
226 | สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) มี 4 อย่าง (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/689/10 17/571/7 |
227 | เรื่องภิกษุหนุ่ม พาสามเณรไปหาไม้ชำระฟัน เห็นอสุภารมณ์ได้บรรลุผล 3 (อนาคามี) ทั้ง ภิกษุ และสามเณร (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/691/12 17/573/2 |
228 | เรื่องพระมหาปุสสเทวเถระ ได้บำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร (วัตรของผู้เดินกลับไป กลับมา) ได้บรรลุอรหัตภายใน 20 พรรษา ในวันบรรลุอรหัตนั้น เทวดาที่ปลายทาง จงกรม ได้ยืนชูนิ้วแทนประทีป ท้าวมหาราช ท้าวสักกะ ท้าวสหัมบดีพรหม ก็มาบำรุงท่าน (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/697/5 17/578/2 |
229 | เรื่องพระมหานาคเถระ บำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร ได้อธิษฐานจงกรมอย่างเดียว สิ้นเวลา 7 ปี บำเพ็ญอีก 16 ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต และ เรื่องภิกษุ 50 รูป ที่จำพรรษาที่กลัมพติตถวิหาร (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/698/3 17/578/19 |
230 | อานิสงส์ ของการบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/700/7 17/580/21 |
231 | หน้าที่ของจิตแต่ละขณะ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/704/17 17/584/13 |
232 | เมื่อคู้มือ หรือเท้าเข้ามาวางไว้นานๆ. หรือเหยียดมือหรือเท้าออกไปวางไว้นานๆ เวทนาจะเกิดขึ้นทุกๆ ครั้ง . จิตก็จะไม่ได้อารมณ์เลิศอันเดียว กรรมฐานก็จะ ล้มเหลว จะไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/708/5 17/587/12 |
233 | ผู้ใดมีความไม่สบายเพราะโภชนะใด โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะ (ไม่เป็นที่สบาย) สำหรับผู้นั้น ส่วนเมื่อเธอฉันโภชนะใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น กุศลธรรม ทั้งหลายเสื่อมสิ้นไป โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะ โดยถ่ายเดียวเท่านั้น . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/713/13 17/592/5 |
234 | เมื่อถึงเวลาถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ แล้วไม่ถ่าย เหงื่อจะไหลออกทั่วร่างกาย นัยน์ตาจะพร่า จิตไม่เป็นเอกัคคตา (มีอารมณ์เป็นอันเดียว) และโรคอื่นๆ ก็จะ เกิดขึ้น (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/715/12 17/593/22 |
235 | เพราะมีธรรม 3 อย่าง คือ อายุ ไออุ่น วิญญาณ กายนี้จึงทนต่อ การผลัดเปลี่ยน อิริยาบถได้ แต่เพราะไม่มีธรรม 3 เหล่านี้ ร่างกายจึงมีสภาพเป็นของเน่าเปื่อย เป็นธรรมดา (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/725/7 17/602/3 |
236 | อานาปานสติ และปฏิกูลมนสิการ เป็นกัมมัฏฐานที่ให้บรรลุอัปปนาสมาธิ ส่วน อิริยาบถบรรพ จตุสัมปชัญญบรรพ ธาตุมนสิการ ป่าช้า 9 เป็นกัมมัฏฐานที่ ให้บรรลุอุปจารสมาธิ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/728/12 17/605/4 |
237 | พระเถระรูปหนึ่ง ยับยั้งเวทนาไว้เกิดลมเสียดแทงถึงหัวใจ. ไส้ใหญ่ได้ออกมา กองอยู่บนเตียง ท่านประกอบความเพียรแล้วได้บรรลุพระอรหันต์ ประเภทชีวิต สมสีสี ปรินิพพาน (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/730/8 17/606/21 |
238 | ความฝังใจในอรูปกรรมฐานมี 3 อย่าง คือ ด้วยอำนาจผัสสะ ด้วยอำนาจแห่ง เวทนา ด้วยอำนาจแห่งจิต (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/731/17 17/608/6 |
239 | อุบายการพิจารณาเวทนา จนถึงพระอรหัต (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/733/4 17/609/7 |
240 | ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/743/14 17/618/21 |
241 | ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/745/14 17/620/17 |
242 | ความเพียร 3 ประเภท คือ ความเพียรเริ่มแรก, ความเพียรที่มีพลังมากกว่าเริ่ม ครั้งแรกแรก, ความเพียรที่ก้าวไปสู่ฐานะยิ่งๆ ขึ้นไป (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/747/16 17/622/17 |
243 | ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาซึมเซา) . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/748/10 17/623/8 |
244 | ธรรม 6 อย่างย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ) . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/750/9 17/625/2 |
245 | อุธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ตัดขาดด้วยอรหัตตมรรค กุกกุจจะ(ความรำคาญ) ตัดขาด ด้วยอนาคามิมรรค (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/751/3 17/625/17 |
246 | ธรรม 6 อย่าง ย่อมเป็น ไปเพื่อละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/752/3 17/626/15 |
247 | การเกิดของสังโยชน์ (เครื่องผูก) (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/756/2 17/630/8 |
248 | ธรรมทั้ง 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ความเฟ้นธรรม) (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/760/20 17/634/17 |
249 | อินทรีย์ (สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ที่ควรปรับให้เสมอกัน คือ ศรัทธากับ ปัญญาเสมอกัน และ สมาธิกับวิริยะเสมอกัน ก็แลสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/762/17 17/636/8 |
250 | ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกิดแห่งวิริยสัมโพชฌงค์(ความเพียร) . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/765/1 17/638/4 |
251 | พระมหามิตตเถระ อาศัยความยำเกรงในบิณฑบาต ที่มหาอุบาสิกา กระทำกับ ตน จึงเข้าถ้ำบำเพ็ญได้บรรลุพระอรหัต แล้วจึงเข้าไปรับบิณฑบาตในบ้าน มหาอุบาสิกานั้น (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/767/2 17/639/21 |
252 | ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเกิดแห่งปีติสัมโพชฌงค์(ความซาบซ่าน) . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/771/4 17/643/4 |
253 | ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกายสงบใจ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/772/14 17/644/8 |
254 | ธรรม11 ประการย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/774/9 17/645/21 |
255 | ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/777/5 17/648/8 |
256 | อธิบาย ความหมาย ของ " การหลีกเว้นบุคคล ผู้ผูกพันในสัตว์ และสังขาร" . (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/778/2 17/649/3 |
257 | พระพุทธเจ้าทรงแสดง สติปัฏฐานสูตร เป็นธรรมเครื่องนำออกในระยะ 7 ปี ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล (ผู้พอจะแนะนำสั่งสอนได้) ผู้มีสติปัญญาปานกลาง เท่านั้น (อ.สติปัฏฐานสูตร) 17/782/17 17/653/11 |