1 | [๑๓๐] พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ย่อมมีคติ เป็น 2 เท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่นคือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (ลักขณสูตร) 16/1/8 16/1/9 |
2 | [๑๓๐] มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ (ลักขณสูตร) 16/2/4 16/2/6 |
3 | [๑๓๑-๑๓๓] ผู้ใดยึดมั่นในกุศลธรรม มั่นคงในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บำเพ็ญทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถ ปฏิบัติดีในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในธรรมเป็นกุศลธรรมอันยิ่งอื่นๆ ย่อมครอบงำ เทวดาในสวรรค์ โดยสถาน 10 เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะมีฝ่าพระบาทตั้งประดิษฐานเรียบ (ลักขณสูตร) 16/5/2 16/4/8 |
4 | [๑๓๔-๑๓๕] ผู้ใดนำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาความกลัว และ ความสะดุ้งจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ให้ทานพร้อมด้วยวัตถุ อันเป็นบริวาร ... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ใต้ฝ่าเท้าทั้ง 2 มีจักรเกิด (ลักขณสูตร) 16/7/14 16/6/13 |
5 | [๑๓๖-๑๓๗] ผู้ใดละการฆ่าสัตว์ เว้นการฆ่าสัตว์แล้ว วางศัสตรา มีความละอาย มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะมีลักษณะ ส้นพระบาทยาว มีนิ้วยาว มีพระวรกายตรง ดังกายพรหม (ลักขณสูตร) 16/9/14 16/8/8 |
6 | [๑๓๘-๑๓๙] ผู้ใดให้ของเคี้ยวและของควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีตและมีรสอร่อย.. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้ลักษณะ มีเนื้อเต็มในที่ 7 แห่งคือ ที่หลังมือ หลังเท้า ที่หัวไหล่ทั้งสอง ที่ลำคอ (ลักขณสูตร) 16/11/13 16/10/2 |
7 | [๑๔๐-๑๔๑] ผู้ใดเป็นผู้สงเคราะห์ประชาชน ด้วยสังคหวัตถุ 4... เมื่อเกิดเป็น มนุษย์จะมีฝ่ามือ ฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม มือและเท้า มีลายดังตาข่าย (ลักขณสูตร) 16/13/8 16/11/13 |
8 | [๑๔๒-๑๔๓] ผู้ใดเป็นผู้กล่าววาจา ประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม แนะนำ ประชาชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์ และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมเป็นปรกติ... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะมีเท้าดุจสังข์คว่ำ มีขนล้วน มีปลายช้อยขึ้นข้างบน ทุกๆ เส้น (ลักขณสูตร) 16/15/9 16/13/3 |
9 | [๑๔๔-๑๔๕] ผู้ใดเป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ วิชา จรณะหรือกรรม โดยความตั้งใจว่า ทำอย่างไรชนทั้งหลายนี้ พึงรู้เร็ว พึงสำเร็จเร็ว ไม่พึงลำบากนาน... เมื่อเกิดเป็น มนุษย์ จะมีแข้งเรียว ดังแข้งเนื้อทราย (ลักขณสูตร) 16/17/5 16/14/16 |
10 | [๑๔๖-๑๔๗] ผู้ใดเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้วซักถามถึงกรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ ที่ทำอยู่มีโทษ และไม่มีโทษ... เมื่อเกิดเป็น มนุษย์ย่อมมี ผิวสุขุมละเอียด ธุลีละอองไม่ติดร่างกาย (ลักขณสูตร) 16/18/20 16/16/1 |
11 | [๑๔๘-๑๔๙] ผู้ใดเป็นผู้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความแค้นใจ แม้คนหมู่มากว่าเอา ก็ไม่ขัดใจไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่จองผลาญ ไม่ทำความโกรธเคือง และความ เสียใจให้ปรากฏ และเป็นผู้ให้เครื่องลาด ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่ม มีเนื้อละเอียด... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมี ผิวดังทองคำ มีผิวหนังคล้ายทองคำ (ลักขณสูตร) 16/20/18 16/17/15 |
12 | [๑๕๐-๑๕๑] ผู้ใดเป็นผู้นำ พวกญาติมิตรสหาย ผู้มีใจดีที่สูญหายพลัดพรากไป นาน ให้กลับมาพบกัน ครั้นนำเขาให้พบพร้อมเพรียงกันแล้วก็ชื่นชม... เมื่อเกิด เป็นมนุษย์ ย่อมมี อวัยวะเพศเร้นอยู่ในฝัก (ลักขณสูตร) 16/22/15 16/19/2 |
13 | [๑๕๒-๑๕๓] ผู้ใดเมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ย่อมรู้จักชนที่เสมอกัน รู้จัก กันเอง รู้จักบุรุษ รู้จักบุรุษพิเศษ หยั่งทราบว่าบุคคลนี้ ควรแก่สักการะนี้ แล้วทำ ประโยชน์พิเศษในบุคคลนั้นๆ ... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมี ร่างกายเป็นปริมณฑล ดังต้นนิโครธ เมื่อยืนอยู่ไม่ต้องน้อมตัวลง สามารถลูบคลำหัวเข่าทั้ง 2 ด้วยฝ่ามือ ทั้ง 2 ได้ (ลักขณสูตร) 16/24/13 16/20/13 |
14 | [๑๕๔-๑๕๕] ผู้ใดเป็นผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล หวังความผาสุก ความเกษมจาก โยคะแก่ชนเป็นอันมาก ด้วยคิดว่าทำอย่างไร ชนเหล่านี้ พึงเจริญด้วยศรัทธาศีล สุตตะ ความรู้ การสละ ด้วยธรรม ด้วยปัญญา ทรัพย์... เจริญด้วยพวกพ้อง... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมี ส่วนร่างกายข้างหน้า ดังว่ากึ่งกายข้างหน้าราชสีห์ มีระหว่างข้างหลังเต็มดี มีลำคอกลมเสมอกัน (ลักขณสูตร) 16/26/14 16/22/2 |
15 | [๑๕๖-๑๕๗] ผู้ใดเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ก้อนหิน ท่อนไม้ หรือศัสตรา... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมี เส้นประสาท สำหรับนำรสอาหาร อันเลิศ แผ่ซ่านไปสม่ำเสมอทั่วร่างกาย (ลักขณสูตร) 16/28/18 16/23/22 |
16 | [๑๕๘-๑๕๙] ผู้ใดไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู ไม่ชำเลืองตาดูเป็นผู้ตรง มีใจตรงเป็น ปรกติ แลดูตรงๆ และแลดูชนหมู่มากด้วยสายตาน่ารัก... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมีดวงตาดำสนิท มีดวงตาดุจตาโค (ลักขณสูตร) 16/30/8 16/25/5 |
17 | [๑๖๐-๑๖๑] ผู้ใดเป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชนเป็นอันมาก ในกุศลธรรมด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถปฏิบัติดี ต่อมารดา บิดา สมณะพราหมณ์ เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรม อันยิ่งอื่นๆ ... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมี ศีรษะได้ปริมณฑล ดุจประกอบด้วย กรอบหน้า (ลักขณสูตร) 16/32/1 16/26/17 |
18 | [๑๖๒-๑๖๓] ผู้ใดละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือไม่พูดลวงโลก... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมีขนขุมละเส้น มีขนระหว่างคิ้ว สีขาวอ่อนเหมือนปุยฝ้าย (ลักขณสูตร) 16/33/17 16/28/6 |
19 | [๑๖๔-๑๖๕] ผู้ใดละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด สมานคนที่แตกร้าวกัน บ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้ว ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้ คนพร้อมเพรียงกัน... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมี ฟัน 40 ซี่ มีฟันไม่ห่าง (ลักขณสูตร) 16/35/11 16/29/19 |
20 | [๑๖๖-๑๖๗] ผู้ใดละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รักจับใจ ชนส่วนมากรักใคร่ชอบใจ... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมี ลิ้นใหญ่ มีเสียงดุจเสียงพรหม (ลักขณสูตร) 16/37/11 16/31/10 |
21 | [๑๖๘-๑๖๙] ผู้ใดละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่ เป็นจริง พูดอิงอรรถอิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ... เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมมีคาง ดุจคาง ราชสีห์ (ลักขณสูตร) 16/39/3 16/32/21 |
22 | [๑๗๐-๑๗๑] ผู้ใดละมิจฉาอาชีวะ อยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ เว้นขาดจากการโกง ด้วยตาชั่ง การรับสินบน... การกรรโชก... เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมมีฟันเสมอ กันมีฟันสี ขาวงาม (ลักขณสูตร) 16/40/17 16/34/5 |
23 | [๑๗๔-๑๗๕] กรรมกิเลส 4 ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิด ในกาม การพูดเท็จ บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ (สิงคาลกสูตร) 16/78/18 16/71/15 |
24 | [๑๗๘] อบายมุข เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/80/2 16/72/15 |
25 | [๑๗๙] โทษในการเสพน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/80/10 16/72/23 |
26 | [๑๘๐] โทษในการเที่ยว ในตรอกต่างๆ ในเวลากลาง คืน 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/80/16 16/73/5 |
27 | [๑๘๑] โทษในการเที่ยวดูมหรสพ 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/81/2 16/73/11 |
28 | [๑๘๒] โทษในการเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/81/7 16/73/15 |
29 | [๑๘๓] โทษในการคบคนชั่วเป็นมิตร 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/81/14 16/73/22 |
30 | [๑๘๔] โทษในการเกียจคร้าน 6 ประการ (สิงคาลกสูตร) 16/81/19 16/74/1 |
31 | [๑๘๖-๑๙๐] คนเทียมมิตร 4 จำพวก คือ คนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ คนชักชวนในทางฉิบหาย (สิงคาลกสูตร) 16/84/2 16/75/15 |
32 | [๑๙๒-๑๙๖] คนผู้เป็นมิตรแท้ 4 จำพวก (สิงคาลกสูตร) 16/85/15 16/77/2 |
33 | [๑๙๗] คฤหัสถ์ ผู้สามารถ ครั้นสะสมทรัพย์ไว้แล้ว พึงแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือใช้สอยส่วนหนึ่ง ประกอบการงานด้วยสองส่วน. พึงเก็บส่วนที่สี่ ไว้ใช้ยามมีอันตราย (สิงคาลกสูตร) 16/87/10 16/78/10 |
34 | [๑๙๘] ทิศ 6 คือ มารดา บิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาส และกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณะพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน (สิงคาลกสูตร) 16/87/17 16/78/16 |
35 | [๑๙๙] บุตรพึงบำรุง มารดา บิดา ด้วยสถาน 5 มารดา บิดา ย่อมอนุเคราะห์ บุตรด้วย สถาน 5 (สิงคาลกสูตร) 16/88/3 16/78/21 |
36 | [๒๐๐] ศิษย์พึงบำรุงอาจารย์ด้วยสถาน 5 อาจารย์ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วย สถาน 5 (สิงคาลกสูตร) 16/88/16 16/79/9 |
37 | [๒๐๑] สามีพึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน 5 ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 5 (สิงคาลกสูตร) 16/89/9 16/79/20 |
38 | [๒๐๒] พึงบำรุงมิตรด้วยสถาน 5 มิตรย่อมอนุเคราะห์ด้วยสถาน 5 (สิงคาลกสูตร) 16/89/19 16/80/6 |
39 | [๒๐๓] พึงบำรุงทาสกรรมกรด้วยสถาน 5 ทาสกรรมกรย่อมอนุเคราะห์ด้วย สถาน 5 (สิงคาลกสูตร) 16/90/12 16/80/18 |
40 | [๒๐๔] พึงบำรุงสมณะพราหมณ์ ด้วยสถาน 5 สมณะพราหมณ์ย่อมอนุเคราะห์ ด้วยสถาน 6 (สิงคาลกสูตร) 16/91/3 16/81/6 |
41 | [๒๐๕] การให้ การเจรจาไพเราะ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ ความเป็นผู้มี ตนเสมอ ในธรรมทั้งหลาย ในคนนั้นๆ ตามควร เป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว น้ำใจในโลก (สิงคาลกสูตร) 16/92/11 16/82/9 |
42 | ที่มาของสถานที่ อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต (อ.สิงคาลกสูตร) 16/94/10 16/83/14 |
43 | พ่อ แม่ ของสิงคาลกบุตรคฤหบดีนั้น เป็นพระโสดาบันทั้งคู่ (อ.สิงคาลกสูตร) 16/95/6 16/84/9 |
44 | สุรา 5 ชนิด และของดอง(เมรัย) 5 ชนิด (อ.สิงคาลกสูตร) 16/100/5 16/89/2 |
45 | ผู้ประสงค์จะนำหญิงสาวไปจากเรือนของเขา ชื่อว่า อาวาหะ ผู้ประสงค์จะให้ หญิงสาวอยู่ในเรือนของเขา ชื่อว่า วิวาหะ (อ.สิงคาลกสูตร) 16/104/6 16/92/19 |
46 | [๒๐๘] ยักษ์โดยมาก มิได้เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าเลย (อาฏานาฏิยสูตร) 16/123/17 16/111/18 |
47 | [๒๐๘] ท้าวเวสวัณมหาราช กราบทูลให้พระพุทธเจ้าเรียน อาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด (อาฏานาฏิยสูตร) 16/124/16 16/112/13 |
48 | [๒๐๙] คำนอบน้อมต่อ พระพุทธเจ้า 7 พระองค์ (อาฏานาฏิยสูตร) 16/125/1 16/112/20 |
49 | [๒๑๐] ท้าวธตรัฏฐ์มหาราช อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นราชาของคนธรรพ์มีโอรส 91 องค์ ทุกองค์ ชื่อว่า อินทะ (อาฏานาฏิยสูตร) 16/126/11 16/113/23 |
50 | [๒๑๑] ท้าววิรุฬหมหาราช อยู่ทางทิศใต้ เป็นราชาของพวกกุมภัณฑ์มีโอรส 91องค์ ทุกองค์ ชื่อว่า อินทะ (อาฏานาฏิยสูตร) 16/127/20 16/115/2 |
51 | [๒๑๒] ท้าววิรูปักษ์มหาราช อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นราชาของพวกนาคมีโอรส 91 องค์ ทุกองค์ ชื่อว่า อินทะ (อาฏานาฏิยสูตร) 16/129/12 16/116/8 |
52 | [๒๑๒] พรรณนาอุตตรกุรุทวีป (อาฏานาฏิยสูตร) 16/130/16 16/117/6 |
53 | [๒๑๓] ท้าวกุเวรมหาราช อยู่ทางทิศเหนือ เป็นราชาของพวกยักษ์มีโอรส 91 องค์ ทุกองค์ ชื่อว่า อินทะ (อาฏานาฏิยสูตร) 16/133/4 16/119/2 |
54 | [๒๑๔-๒๑๘] วิธีป้องกันอมนุษย์ (อาฏานาฏิยสูตร) 16/134/11 16/120/2 |
55 | [๒๑๙] พระพุทธเจ้าตรัสให้ภิกษุ จงเรียน จงขวนขวาย จงทรงอาฏานาฏิยรักษ์ไว้ อาฏานาฏิยรักษ์นี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่ เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญ แห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย . (อาฏานาฏิยสูตร) 16/140/13 16/125/6 |
56 | ความหมายของศัพท์ว่า กัปปะ ได้แก่ความเชื่ออย่างยิ่ง โวหาร กาล บัญญัติ การตัด วิกัป เลส ความเป็นโดยรอบ (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/143/8 16/128/1 |
57 | ชื่อว่า กุมภัณฑ์ เพราะมีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อ (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/148/12 16/132/22 |
58 | มนุษย์ ในอุตตรกุรุทวีปนั้น ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ในอาภรณ์ น้ำดื่ม ของบริโภค ไม่กำหนัดในเมื่อเห็นมารดา หรือน้องสาว กินข้าวสาลีซึ่งเกิดเอง ในอุตตรกุรุทวีป มีหิน ชื่อ โชติกปาสาณะ เขาจะวางหิน 3 ก้อน เอาข้าวสาลี ใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งบนหินไฟตั้งขึ้นจากหิน ไม่มีเถ้า และควัน ไม่ต้องแกงหรือผัด รสในข้าวย่อมถูกใจผู้บริโภคอย่างดี (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/149/1 16/133/8 |
59 | ท้าวกุเวรนี้ เคยเป็นพรามหณ์ ชื่อกุเวร ได้สร้างโรงหีบอ้อย 7 โรง เอาผลกำไร ทำบุญให้ทานตลอด 2 หมื่นปี ตายแล้วเป็นเทพบุตรอยู่ในจาตุมหาราชิกา ต่อมาได้ครองราชสมบัติ ในราชธานี ชื่อวิสาณะ จึงเรียกท้าวเวสวัณ . (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/151/8 16/135/16 |
60 | พระปริตร ย่อมไม่เป็นเดช แก่ผู้กล่าวผิดอรรถบ้าง บาลีบ้าง ไม่ทำให้คล่องแคล่ว แม้เมื่อเรียนเพราะลาภเป็นเหตุ แล้วกล่าวอยู่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/153/15 16/137/21 |
61 | ขั้นตอนในการสวดพระปริตร (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/154/17 16/138/22 |
62 | ผู้ถูกยักษ์สิง ทำให้โรคกำเริบบ่อยๆ ทำให้มีเนื้อและเลือดน้อย แม้ถูกติดตาม ก่อกวน ก็เรียกว่าสิงเหมือนกัน (อ.อาฏานาฏิยสูตร) 16/156/2 16/140/1 |
63 | [๒๒๒] พวกเจ้ามัลละ นิมนต์พระพุทธเจ้าใช้ท้องพระโรงหลังใหม่ ก่อนที่พวก เจ้าทั้งหลายจะใช้ (สังคีติสูตร) 16/157/8 16/141/9 |
64 | [๒๒๔] พระพุทธองค์ ทรงเมื่อยแล้ว จึงสั่งให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงพักผ่อน (สังคีติสูตร) 16/159/7 16/143/1 |
65 | [๒๒๕] พระสารีบุตรสังคายนาพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (สังคีติสูตร) 16/160/18 16/144/11 |
66 | [๒๒๖] สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยสังขาร (สังคีติสูตร) 16/161/20 16/145/9 |
67 | อรรถกถาอธิบายไว้ 16/270/9 16/260/4 |
68 | [๒๒๘] ธาตุ 3 คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, ธาตุอีก 3 คือ รูปธาตุ อรูปธาตุ นิโรธธาตุ (สังคีติสูตร) 16/167/5 16/155/10 |
69 | อรรถกถาอธิบายไว้ 16/292/20 16/280/1 |
70 | [๒๒๘] สังโยชน์ 3 คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน ความลังเลสงสัย ความเชื่อถือ ด้วยอำนาจศีลพรต (สังคีติสูตร) 16/168/10 16/156/13 |
71 | อรรถกถาอธิบายไว้ 16/294/9 16/281/9 |
72 | [๒๒๘] ทุกขตา 3 คือ ความเป็นทุกข์เพราะทนได้ยาก เพราะการปรุงแต่ง เพราะความแปรปรวน (สังคีติสูตร) 16/170/2 16/158/13 |
73 | อรรถกถาอธิบายไว้ 16/300/15 16/286/23 |
74 | [๒๒๘] ข้อที่พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษา 3 อย่าง (สังคีติสูตร) 16/170/14 16/159/8 |
75 | [๒๒๘] อัคคี 3 คือ ไฟคืออาหุเณยบุคคล ไฟคือทักขิเณยบุคคล ไฟคือคฤหบดี . (สังคีติสูตร) 16/171/13 16/160/5 |
76 | [๒๒๘] สังขาร 3 ได้แก่ อภิสังขาร(สภาพปรุงแต่งแห่งการกระทำของบุคคล) คือ บุญ, อภิสังขารคือ บาป , อภิสังขารคือ อเนญชา(ไม่หวั่นไหว) (สังคีติสูตร) 16/171/21 16/160/13 |
77 | [๒๒๘] บุญกิริยาวัตถุ 3 คือ บุญสำเร็จ ด้วยการบริจาคทาน บุญสำเร็จด้วย รักษาศีล บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา (สังคีติสูตร) 16/172/11 16/161/5 |
78 | [๒๒๘] กามอุบัติ 3 อย่าง (สังคีติสูตร) 16/172/19 16/161/13 |
79 | [๒๒๘ ] ปัญญาอีก 3 คือ ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม (สังคีติสูตร) 16/173/19 16/162/16 |
80 | [๒๒๘] ปาฏิหาริย์ 3 คือ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ คำสอนเป็น อัศจรรย์ (สังคีติสูตร) 16/177/8 16/166/14 |
81 | [๒๓๐] สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) 4 อย่าง (สังคีติสูตร) 16/179/2 16/168/5 |
82 | [๒๓๓] สมาธิภาวนา 4 คือ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อการหยั่งรู้ เพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อสิ้นอาสวะ (สังคีติสูตร) 16/180/10 16/169/13 |
83 | [๒๓๗] อริยวงศ์ 4 คือ.. (สังคีติสูตร) 16/183/12 16/172/10 |
84 | [๒๔๐] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน 4 คือ การคบสัตบุรุษ การฟังพระสัทธรรม การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (สังคีติสูตร) 16/187/2 16/176/4 |
85 | [๒๔๘] ปฏิปทา 4 คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ช้า , ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว, ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า , ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้เร็ว (สังคีติสูตร) 16/189/19 16/179/7 |
86 | [๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ 4 คือ ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว ต้องย้อนถาม แล้วจึงแก้ ต้องจำแนกแล้วจึงแก้ ปัญหาที่ควรงดเสีย (สังคีติสูตร) 16/191/19 16/181/12 |
87 | [๒๖๓] กำเนิด 4 คือ สัตว์ที่เกิดในไข่ ที่เกิดในครรภ์ ที่เกิดในเหงื่อไคล ที่เกิด ผุดขึ้น (สังคีติสูตร) 16/193/23 16/184/3 |
88 | [๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ 4 (สังคีติสูตร) 16/194/5 16/184/7 |
89 | [๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธิ 4 (ความบริสุทธิ์แห่งผลทาน) (สังคีติสูตร) 16/195/8 16/185/10 |
90 | [๒๖๗] สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ) (สังคีติสูตร) 16/195/13 16/185/15 |
91 | [๒๗๕] บุคคลอีก 4 คือ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อผู้อื่น, ปฏิบัติเพื่อ ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อตน, ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อผู้อื่น, ปฏิบัติทั้ง เพื่อประโยชน์ตน และผู้อื่น (สังคีติสูตร) 16/198/2 16/188/8 |
92 | [๒๗๖] บุคคล 4 คือ ผู้มืดมา มืดไป , ผู้มืดมา สว่างไป , ผู้สว่างมา มืดไป , ผู้สว่างมา สว่างไป (สังคีติสูตร) 16/198/11 16/188/17 |
93 | [๒๘๔-๒๘๕] สังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 , สังโยชน์ เบื้องบน 5 ... (สังคีติสูตร) 16/201/5 16/192/1 |
94 | [๒๘๘] พยสนะ (ความฉิบหาย) 5 อย่าง อนึ่ง เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือ ทิฏฐิ พินาศ สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อสิ้นชีวิต (สังคีติสูตร) 16/202/12 16/193/10 |
95 | [๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติ 5 ประการ (สังคีติสูตร) 16/203/11 16/194/13 |
96 | [๒๙๓] องค์แห่งความเพียร 5 ประการ (สังคีติสูตร) 16/205/4 16/196/8 |
97 | [๒๙๖] เจโตขีลา ตะปูปักใจ 5 ประการ (สังคีติสูตร) 16/206/8 16/197/14 |
98 | [๒๙๗] วินิพันธา ความผูกพันใจ 5 ประการ (สังคีติสูตร) 16/207/5 16/198/10 |
99 | [๓๐๐] อินทรีย์ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (สังคีติสูตร) 16/208/19 16/200/5 |
100 | [๓๐๒] แดนแห่งวิมุตติ (ความหลุดพ้น) 5 ประการ (สังคีติสูตร) 16/211/2 16/202/5 |
101 | [๓๑๓] สคารวะ ความเคารพ 6 (สังคีติสูตร) 16/215/20 16/207/16 |
102 | [๓๑๗] สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง 6 ประการ (สังคีติสูตร) 16/217/8 16/209/17 |
103 | [๓๑๘] วิวาทมูล มูลแห่งการวิวาท 6 ประการ (สังคีติสูตร) 16/218/16 16/211/3 |
104 | [๓๒๖] อริยทรัพย์ 7 ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา (สังคีติสูตร) 16/227/13 16/219/13 |
105 | [๓๓๑] สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ) 7 ประการ คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้บริษัท รู้บุคคล (สังคีติสูตร) 16/229/9 16/221/14 |
106 | [๓๓๒] นิททสวัตถุ (ธรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งพระขีณาสพ) 7 ประการ (สังคีติสูตร) 16/229/18 16/222/1 |
107 | [๓๓๕] วิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) 7 ประการ (สังคีติสูตร) 16/231/2 16/223/13 |
108 | [๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ของทำบุญ) 7 ประเภท (สังคีติสูตร) 16/231/23 16/224/14 |
109 | [๓๔๓] กุสีตวัตถุ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) 8 ประการ (สังคีติสูตร) 16/234/20 16/228/11 |
110 | [๓๔๔] วัตถุแห่งการปรารภ ความเพียร 8 ประการ (สังคีติสูตร) 16/237/2 16/230/6 |
111 | [๓๔๖] ทานุปปัตติ (ผลที่เกิดจากการให้ทาน) 8 ประการ (สังคีติสูตร) 16/239/18 16/232/17 |
112 | [๓๔๙] อภิภายตนะ (อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) 8 ประการ (สังคีติสูตร) 16/242/21 16/235/16 |
113 | [๓๕๐] วิโมกข์ (ความหลุดพ้น) 8 ประการ (สังคีติสูตร) 16/245/2 16/237/12 |
114 | [๓๕๑] เหตุแห่งความอาฆาต 9 ประการ (สังคีติสูตร) 16/246/14 16/239/1 |
115 | [๓๕๓] สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์) 9 ประการ (สังคีติสูตร) 16/248/18 16/241/4 |
116 | [๓๕๔] กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัยเพื่อการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ 9 ประการ (สังคีติสูตร) 16/250/2 16/242/6 |
117 | [๓๕๕] อนุปุพพวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ) 9 อย่าง (สังคีติสูตร) 16/252/12 16/244/2 |
118 | [๓๕๗] นาถกรณธรรม (ธรรมอันกระทำที่พึ่งแห่งตน) 10 ประการ (สังคีติสูตร) 16/255/8 16/246/9 |
119 | [๓๕๘] แดนกสิณ 10 (สังคีติสูตร) 16/258/4 16/248/19 |
120 | [๓๖๐] กุศลกรรมบถ 10 (สังคีติสูตร) 16/259/2 16/249/19 |
121 | เหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ ทรงเมื่อยหลัง (อ.สังคีติสูตร) 16/269/10 16/259/4 |
122 | ผู้รังเกียจ จิต ยินดีในฌาน 4 ไม่เสื่อมจากฌาน สิ้นชีวิตแล้ว ไปเกิดในอสัญญภพ ตายอิริยาบถใด ก็ไปเกิดด้วยอิริยาบถนั้น ตลอด 500 กัป (อ.สังคีติสูตร) 16/271/16 16/261/7 |
123 | นาม ได้แก่ อรูปขันธ์ ชื่อว่านาม ด้วยอรรถว่าน้อมไป, รูปหมายถึงมหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 (อ.สังคีติสูตร) 16/275/2 16/264/4 |
124 | อามิสปฏิสันถาร ในพ่อแม่ ชาววัด ไวยาวัจกร พระราชา และโจรไม่ควรจะ เอาส่วนดีๆ ไว้เสียก่อน แล้วให้ส่วนไม่ดี (อ.สังคีติสูตร) 16/282/16 16/270/25 |
125 | ศีลวิบัติ คือ ความล่วงละเมิดทางกาย ฯลฯ ความเป็นผู้ทุศีลทุกอย่าง ชื่อว่า ศีลวิบัติ (อ.สังคีติสูตร) 16/285/11 16/273/6 |
126 | ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความสลดใจ คือ การเห็น ความเกิด แก่ เจ็บ ตายว่าเป็นภัย . (อ.สังคีติสูตร) 16/287/6 16/274/23 |
127 | คำว่า ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร คือ การทำโดยตั้งใจ ทำติดต่อกัน ทำไม่หยุดไม่ย่อหย่อน ทำให้มีขึ้น ทำให้มาก ในการเจริญ กุศลธรรมทั้งหลาย . (อ.สังคีติสูตร) 16/287/19 16/275/10 |
128 | ในบรรดามานะ 9 เหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา, คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอเขา. คนเลวกว่าเขา มานะว่า เราเลวกว่าเขา. ทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นมานะอย่างเข้มข้น จะฆ่าเสียได้ด้วย อรหัตตมรรค มานะที่เหลือ ฆ่าเสีย ได้ด้วย มรรคชั้นต้น (อ.สังคีติสูตร) 16/299/8 16/285/20 |
129 | พระขีณาสพที่ฟังมาน้อย เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมต้องอาบัติ (อ.สังคีติสูตร) 16/302/5 16/288/6 |
130 | มารติดตามพระโพธิสัตว์อยู่ถึง 6 ปี ในเวลาที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วอีก 1 ปี ก็มิได้เห็น โทษผิดอันหนึ่งอันใดเลย (อ.สังคีติสูตร) 16/303/14 16/289/12 |
131 | พุทธธรรม 18 ประการ คือ พระตถาคตไม่มีกายทุจริต... ไม่มีอกุศลจิต (อ.สังคีติสูตร) 16/303/21 16/289/20 |
132 | ภิกษุณีสาว ยืนมองร่างคนเฝ้าประตู เธอถูกไฟราคะเผา ยืนตายในที่นั้นเอง (อ.สังคีติสูตร) 16/304/17 16/290/12 |
133 | นายมิตตวินทุกะ ผู้ไม่เชื่อฟังมารดาที่ขอร้องอยู่ ได้เตะมารดาล้มลงแล้วไป ค้าขาย จนได้ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว (อ.สังคีติสูตร) 16/305/15 16/291/5 |
134 | ตัวอย่าง ของผู้หญิงนอกใจสามี ย่อมไปเกิดในอบาย (อ.สังคีติสูตร) 16/307/9 16/292/15 |
135 | คฤหัสถ์ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุ สงฆ์ ย่อมไปนรก (อ.สังคีติสูตร) 16/308/6 16/293/8 |
136 | อาเนญชาภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง ซึ่งอรูปนั้นเอง ที่เป็นวิบาก ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน สงบ (อ.สังคีติสูตร) 16/311/11 16/296/7 |
137 | บุญกิริยาวัตถุ 10 (อ.สังคีติสูตร) 16/312/8 16/297/2 |
138 | เทวดาเหล่านิมมานรดี ยินดีในของเนรมิต ที่ตนเนรมิตแล้ว ส่วนเทวดาเหล่า ปรนิมมิตวสวดี ผู้มีกามที่ผู้อื่นเนรมิตให้ เพราะว่าเทวดาพวกอื่นรู้ใจของเทวดา เหล่านั้นแล้ว ก็เนรมิตกามโภคะตามที่ชอบใจให้ (อ.สังคีติสูตร) 16/315/9 16/299/16 |
139 | อาวุธ คือสุตะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก เพราะว่าภิกษุอาศัยอาวุธนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ครั่นคร้าม ข้ามล่วงสงสารกันดารได้ (อ.สังคีติสูตร) 16/317/12 16/301/14 |
140 | ศีล 5 ก็ดี ศีล 10 ก็ดี ที่บุคคลปรารถนาพระนิพพาน สมาทานแล้วจัดเป็นศีล อันยิ่งเหมือนกัน (อ.สังคีติสูตร) 16/319/7 16/303/7 |
141 | ความหมายของคำว่า สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ (อ.สังคีติสูตร) 16/320/4 16/304/2 |
142 | ผ้าบังสุกุล 23 ชนิด (อ.สังคีติสูตร) 16/330/15 16/314/4 |
143 | สันโดษในจีวร 20 ประเภท และเรื่องพระบังสุกูลเถระ ได้ผ้าเปื้อนอุจจาระมาทำจีวร และ ได้เจริญวิปัสสนาบรรลุผล 3 ต่อมาได้บรรลุพระอรหัต (อ.สังคีติสูตร) 16/332/4 16/315/9 |
144 | สันโดษในบิณฑบาต 15 ประการ (อ.สังคีติสูตร) 16/338/12 16/320/26 |
145 | แม้ไทยธรรม(ของทำบุญ) มีมาก ถึงทายก(ผู้ให้) ก็ต้องการถวายมาก ภิกษุพึง รับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น ก็ภิกษุผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับย่อมทำความ เลื่อมใสของพวกมนุษย์ให้แปดเปื้อน (อ.สังคีติสูตร) 16/339/11 16/321/22 |
146 | เสนาสนะ มี 15 ชนิด คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน วิหาร เพิง ปราสาท ปราสาทโล้น ถ้ำ ที่เร้น ป้อม เรือนยอดเดียว พุ่มไม้ไผ่ โคนต้นไม้ก็หรือว่า ที่ๆ สมควรแก่ภิกษุ (อ.สังคีติสูตร) 16/340/16 16/323/2 |
147 | ที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ , ที่ชื่อว่าโยคะ เพราะอรรถว่า ประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า คันถะ ด้วยสามารถผูกสัตว์ไว้, กายคันถะ คือ ผูกร้อยรัด นามกาย และรูปกายไว้ในวัฏฏะ (อ.สังคีติสูตร) 16/353/16 16/334/24 |
148 | อธิบาย กำเนิด 4 (อ.สังคีติสูตร) 16/354/17 16/336/1 |
149 | ผู้ตระหนี่อาวาส ตายแล้ว เป็นเปรต หรือ งูเหลือม (อ.สังคีติสูตร) 16/359/12 16/340/12 |
150 | วิจิกิจฉาฆ่าโดยโสดาปัตติมรรค, กุกกุจจะกามราคสังโยชน์ ฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้, กามฉันท์ที่เป็นนิวรณ์ ถีนมิทธะฆ่าได้ด้วยอรหัตตมรรค,ถีนะ เป็นความ ขัดข้องทางจิต มิทธะ เป็นความขัดข้องของขันธ์ 3 (อ.สังคีติสูตร) 16/360/4 16/341/1 |
151 | พระโสดาบัน พระสกทาคามี ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในกามภพ สำหรับพระอนาคามี ยังมีเครื่องผูกมัด ไว้ในรูปภพ และอรูปภพ (อ.สังคีติสูตร) 16/360/10 16/341/7 |
152 | ก็ครั้นสอบสวนบุคคลแล้ว ผู้ใดเป็นบุคคลเหลาะแหละ พูดเท็จ ยกโทษมิใช่ยศ ขึ้นแก่พวกภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้เว้นการทำโอกาส ก็โจทได้ (อ.สังคีติสูตร) 16/362/17 16/343/11 |
153 | ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ของบุคคลใดเป็นสภาพมีกำลัง ความเพียรที่ตั้งไว้ ของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ (อ.สังคีติสูตร) 16/363/15 16/344/10 |
154 | ข้อว่า สุทธา ได้แก่ พระอนาคามี และพระขีณาสพ ซึ่งปราศจากกิเลสมลทิน, อธิบายประเภท แห่งพระอนาคามี (อ.สังคีติสูตร) 16/364/12 16/345/6 |
155 | ผู้ใดทำอสุภฌาน ให้เป็นบาท พิจารณาสังขาร ทั้งหลาย บรรลุมรรคผลที่ 3 เห็นพระนิพพานด้วยอนาคามิผล รู้ว่า ชื่อว่า กามทั้งหลายไม่มีอีก (อ.สังคีติสูตร) 16/368/9 16/349/12 |
156 | เมื่อภิกษุ 2 รูปวิวาทกัน ย่อมเกิดแยกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งมนุษย์ และเทวดา จนกระทั่ง ถึงพรหมโลก (อ.สังคีติสูตร) 16/373/2 16/353/24 |
157 | ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว การเห็นพระพุทธเจ้า หรือภิกษุสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่ง ความรักที่ตั้งมั่นแล้ว การเห็นกสิณนิมิต และอสุภนิมิต เป็นต้น ชื่อว่าทัสสนานุตตริยะ(การเห็นอันยอดเยี่ยม) การฟังพระพุทธวจนะ พระไตรปิฎก ชื่อว่า สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) (อ.สังคีติสูตร) 16/375/19 16/356/20 |
158 | อธิบายคำว่า ความพร้อมหน้าในวิธีระงับอธิกรณ์ ด้วยสัมมุขาวินัย (อ.สังคีติสูตร) 16/383/5 16/363/22 |
159 | การฝึกจิต ซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลง ด้วยทาน และวาจาที่อ่อนหวาน (อ.สังคีติสูตร) 16/389/8 16/368/22 |
160 | ในอสงไขยกัป ที่พระพุทธเจ้าไม่บังเกิด ชั้นสุทธาวาสย่อมว่างเปล่า (อ.สังคีติสูตร) 16/392/1 16/370/22 |
161 | วินิจฉัย กรรมบถ ข้อว่า กาเมสุมิจฉาจาร ของชาย และ หญิง (อ.สังคีติสูตร) 16/396/3 16/374/17 |
162 | [๓๖๙] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะ ที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน (ความยึดมั่น) (ทสุตตรสูตร) 16/405/3 16/383/22 |
163 | [๓๗๘] ธรรม 2 อย่าง มีอุปการะมาก คือ สติ และสัมปชัญญะ (ทสุตตรสูตร) 16/406/7 16/384/23 |
164 | [๓๘๙] ธรรม 3 อย่าง มีอุปการะมาก คือ การคบคนดี การฟังธรรม การปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม (ทสุตตรสูตร) 16/408/1 16/386/7 |
165 | [๓๙๐] ธรรม 3 อย่าง ควรเจริญ ได้แก่ สมาธิ 3 คือ สมาธิมีวิตก มีวิจาร สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร (ทสุตตรสูตร) 16/408/4 16/386/10 |
166 | [๓๙๑]ธรรม 3 อย่าง ควรกำหนดรู้ ได้แก่ เวทนา 3 คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ (ทสุตตรสูตร) 16/408/7 16/386/13 |
167 | [๓๙๒] ธรรม 3 อย่าง ควรละได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา (ทสุตตรสูตร) 16/408/10 16/386/16 |
168 | [๔๐๐] จักร 4 เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือ การอยู่ในประเทศอันสมควร เข้าหา สัตบุรุษ ตั้งตนไว้ชอบ ความเป็นผู้ทำบุญไว้ก่อน (ทสุตตรสูตร) 16/409/18 16/387/21 |
169 | [๔๐๗] ญาณ 4 ควรให้เกิดขึ้น คือ ความรู้ในธรรม ความรู้ในการคล้อยตาม ความรู้ในการกำหนด ความรู้ในการสมมติ (ทสุตตรสูตร) 16/411/1 16/389/21 |
170 | [๔๑๓] อุปทานขันธ์ 5 เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ (ทสุตตรสูตร) 16/412/16 16/391/22 |
171 | [๔๑๙] วิมุตตายตนะ(เหตุแห่งความหลุดพ้น) 5 เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง (ทสุตตรสูตร) 16/416/9 16/394/25 |
172 | [๔๒๓] อนุสสติ(ความระลึกถึง) 6 เป็นธรรมที่ควรเจริญ ได้แก่ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ (ทสุตตรสูตร) 16/420/8 16/398/20 |
173 | [๔๒๖] อคารวะ(ความไม่เคารพ) 6 เป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม (ทสุตตรสูตร) 16/420/17 16/399/21 |
174 | [๔๓๔] สัมโพชฌงค์(องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ ) 7 เป็นธรรมที่ควรเจริญ (ทสุตตรสูตร) 16/426/6 16/405/22 |
175 | [๔๔๘] ธรรม 8 อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ได้แก่ เหตุของผู้เกียจคร้าน 8 (ทสุตตรสูตร) 16/433/1 16/414/23 |
176 | [๔๕๒] อภิภายตนะ 8 (อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง (ทสุตตรสูตร) 16/439/21 16/420/22 |
177 | [๔๕๕] ธรรม 9 อย่าง มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรมมีโยนิโสมนสิการ เป็นมูล 9 (ทสุตตรสูตร) 16/442/10 16/423/19 |
178 | [๔๕๘] ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 เป็นธรรมที่ควรละ (ทสุตตรสูตร) 16/444/5 16/425/24 |
179 | [๔๖๑] นานัตตะ(สภาวะที่ต่างกัน) เป็นธรรมที่แทงตลอดได้ยาก (ทสุตตรสูตร) 16/446/5 16/428/11 |
180 | [๔๖๔]อนุปุพพนิโรธ(ความดับไปตามลำดับ) 9 เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (ทสุตตรสูตร) 16/447/18 16/430/14 |
181 | [๔๖๖] นาถกรณธรรม 10 (ธรรมที่กระทำที่พึ่ง) เป็นธรรมมีอุปการะมาก (ทสุตตรสูตร) 16/448/13 16/431/11 |
182 | [๔๗๓] สัญญา(ความกำหนดหมาย) 10 เป็นธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น (ทสุตตรสูตร) 16/454/1 16/439/4 |
183 | พระพุทธเจ้าให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต. ให้เมตตากัมมัฏฐานแก่ ภิกษุผู้โทสะจริต. ให้อุทเทส(การเรียนการสอน) ปริปุจฉา(การสอบถาม) การฟังธรรม และสนทนาธรรมตามกาลแก่ภิกษุผู้ โมหะจริต. ให้อานาปานัสสติ แก่ภิกษุผู้วิตกจริต. ทรงประกาศคุณแห่งพระรัตนตรัย แก่ภิกษุผู้สัทธาจริต. ตรัสพระสูตรอันลึกซึ้งมี อนิจจตา เป็นต้น แก่ภิกษุผู้ญาณจริต. (อ.ทสุตตรสูตร) 16/456/19 16/442/20 |
184 | ปัญญาในฌาน 2 ชื่อว่า ปีติแผ่ไปปัญญาในฌาน 3 ชื่อว่า สุขแผ่ไป ปัญญารู้ใจ ของผู้อื่น ชื่อว่าใจแผ่ไป ทิพยจักษุ ชื่อว่า แสงสว่างแผ่ไป (อ.ทสุตตรสูตร) 16/467/2 16/452/19 |
185 | ความปรารถนาน้อย 4 อย่าง คือความปรารถนาน้อยในปัจจัย ในคุณธรรมเครื่องบรรลุ ในปริยัติ ในธุดงค์ (อ.ทสุตตรสูตร) 16/469/17 16/456/7 |
186 | มิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมหมดแรงด้วยวิปัสสนาแม้ก็จริงถึงอย่างนั้น ผู้บำเพ็ญก็ยัง ตัดไม่ได้ ก็มรรคบังเกิดขึ้นแล้วย่อมตัดมิจฉาทิฏฐินั้น ไม่ให้ออกไปอีก (อ.ทสุตตรสูตร) 16/473/10 16/460/5 |
187 | อรรถกถา ทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี ได้ถือ เอาสาระมาจาก มหาอรรถกถา . (อ.ทสุตตรสูตร) 16/475/3 16/462/4 |