1 | [๒] เมื่อพระพุทธองค์ ได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม ของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่ได้แสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ . (ปาฏิกสูตร) 15/4/115/4/1 15/3/23 |
2 | [๓] ผู้หนีจากธรรมวินัย นี้ เหมือนสัตว์ที่ตก อบาย นรก ฉะนั้น (ปาฏิกสูตร) 15/5/1915/5/19 15/5/14 |
3 | [๔] พระพุทธเจ้าทรงตำหนิพระสุนักขัตตะ ผู้เป็นพระติดตามว่าโมฆบุรุษ แม้คน เช่นเธอ ก็ยังปฏิญานตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ และ พระสุนักขัตตะก็ไม่เชื่อ พระตถาคต (ปาฏิกสูตร) 15/6/1015/6/10 15/6/3 |
4 | [๔] เหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสูรกายทุกชนิด (ปาฏิกสูตร) 15/7/315/7/3 15/6/19 |
5 | [๑๒] พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมในบริษัทนั้นจบแล้วจึงเหาะขึ้นสูงชั่ว 7 ลำตาล เนรมิตไฟ และควันกลบสูง 7 ชั่วลำตาล กลับมาปรากฏที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน . (ปาฏิกสูตร) 15/26/115/26/1 15/24/5 |
6 | [๑๓] ที่มาของแนวความคิดที่ว่า พระอิศวรสร้างโลก มหาพรหม สร้างโลก (ปาฏิกสูตร) 15/27/415/27/4 15/25/8 |
7 | [๑๔] พวกเทวดา ชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ จนเกินเวลา สติก็หลงลืม จึงจุติจากชั้นนั้น (ปาฏิกสูตร) 15/30/215/30/2 15/28/6 |
8 | [๑๕] พวกเทวดา ชื่อว่า มโนปโทสิกะ มักเพ่งโทษกันและกัน คิดมุ่งร้ายกัน และกันจึงลำบากกาย ลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น (ปาฏิกสูตร) 15/31/12 15/31/12 15/29/15 |
9 | [๑๗] จบสูตรนี้ พระพุทธองค์ตรัสให้ปริพาชก ชื่อ ภัคควะโคตร รักษาความ เลื่อมใสในพระองค์ เท่าที่เขามีอยู่ให้ดี ก็พอ (ปาฏิกสูตร) 15/34/315/34/3 15/32/11 |
10 | อสูรกาลกัญชิกา มีอัตภาพยาว 3 คาวุต มีเนื้อ และเลือดน้อย มีตาติดอยู่บนหัว เหมือนปู ปากเท่ารูเข็มอยู่บนหัว ต้องก้มตัวลงใช้ปากกินอาหาร (ปาฏิกสูตร) 15/41/16 15/41/16 15/40/6 |
11 | ปริพาชก ชื่อ ภัควะโคตร แม้ฟังพระสูตรอย่างมากมาย ก็ไม่สามารถทำกิเลส ให้สิ้นไปได้ ก็การเทศนาพระสูตรนี้ ได้เป็นปัจจัย เพื่อวาสนาในภพต่อไปของเขา . (อ.ปาฏิกสูตร) 15/56/2015/56/20 15/56/1 |
12 | [๑๙] แม้เหล่าปริพาชก ซึ่งกำลังสนทนาติรัจฉานกถาอยู่ ก็ยังพากันให้สงบเสียง ลง เมื่อเห็นสันธานคฤหบดี สาวกของพระพุทธเจ้ากำลังเข้ามา (อุทุมพริกสูตร) 15/58/1515/58/15 15/57/17 |
13 | [๒๔] อุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) ของผู้มีตบะ (อุทุมพริกสูตร) 15/64/715/64/7 15/62/23 |
14 | [๒๖] บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ เป็นผู้สำรวม ด้วยสังวร 4 ประการ (อุทุมพริกสูตร) 15/71/215/71/2 15/69/13 |
15 | [๓๑] นิโครธ ปริพาชก ได้กล่าวทูลขอขมาที่ได้กล่าววาจาล่วงเกินพระพุทธเจ้า ด้วยความโง่ ความหลง (อุทุมพริกสูตร) 15/77/2315/77/23 15/77/2 |
16 | [๓๑] พระพุทธองค์ตรัสว่า " บุรุษผู้รู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอนที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชโดยชอบเพื่อประโยชน์อันใด จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ นั้น อันมีพรหมจรรย์เป็นที่สุดอย่างยิ่ง ด้วยความรู้ยิ่งของตนเอง... . (อุทุมพริกสูตร) 15/78/915/78/9 15/77/11 |
17 | [๓๑] " พระพุทธองค์แสดงธรรม เพื่อให้ละอกุศลธรรมมิได้เพื่อต้องการลูกศิษย์ " . (อุทุมพริกสูตร) 15/79/1215/79/12 15/78/21 |
18 | [๓๒] เมื่อจบเทศนา พระพุทธองค์ก็รู้ว่า พวกปริพาชก 3,000 คนเหล่านี้ ถูกมาร ดลใจ จึงเหาะขึ้นไปในอากาศ ปรากฏอยู่บนภูเขาคิฌชกูฏ (อุทุมพริกสูตร) 15/80/415/80/4 15/79/10 |
19 | สาวกคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นพระอนาคามี ในกรุงราชคฤห์ มี 500 คน แต่ละคน มีบริวาร คนละ 500 (อ.อุทุมพริกสูตร) 15/82/1015/82/10 15/81/7 |
20 | ลาภ และสักการะในพระศาสนา เป็นเช่นกิ่งไม้และใบไม้ ศีลเช่นกับสะเก็ด ฌานและสมาบัติ เช่นกับเปลือก โลกิยอภิญญาเช่นกับกระพี้ มรรคและผลเป็นแก่น (อ.อุทุมพริกสูตร) 15/93/815/93/8 15/92/19 |
21 | มารคิดว่า พระศาสดาแสดงกำลังพระพุทธเจ้าคุกคามเหลือเกิน แสดงธรรม แก่ปริพาชกเหล่านี้ น่าจะมีตรัสรู้ธรรมบ้าง จึงดลจิตปริพาชกเหล่านั้น พระศาสดา รู้ว่า ปริพาชกเหล่านี้ จะไม่บรรลุธรรมจึงไม่ห้ามมาร (อ.อุทุมพริกสูตร) 15/97/915/97/9 15/96/24 |
22 | [๓๓] ภิกษุจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรม เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย (จักกวัตติสูตร) 15/99/715/99/7 15/99/8 |
23 | [๓๔] เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิบวชแล้ว 7 วัน จักรแก้ว อันเป็นทิพย์จะอันตรธานไป . (จักกวัตติสูตร) 15/101/1515/101/15 15/101/10 |
24 | [๓๕] จักกวัตติวัตรอันประเสริฐ (ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ) (จักกวัตติสูตร) 15/102/1015/102/10 15/102/3 |
25 | อรรถกถาอธิบายไว้ 15/131/115/131/1 15/128/23 |
26 | [๓๘-๓๙] พระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่ 7 มิได้เข้าไปถามข้อ ปฏิบัติกับพระราชฤๅษี ปกครองเมืองตามมัตติของตน ทำให้บ้านเมืองไม่เจริญ จึงได้ประชุมถามข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วพระองค์ก็ทรงทำตาม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์แก่คนจน จึงเกิดอทินนาทานแพร่หลายขึ้น . (จักกวัตติสูตร) 15/107/315/107/3 15/106/10 |
27 | [๔๒-๔๕] เมื่ออทินนาทานแพร่หลาย ศัสตราก็แพร่หลาย ปาณาติบาตแพร่หลาย มุสาวาทก็ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย (จักกวัตติสูตร) 15/111/515/111/5 15/109/22 |
28 | [๔๕] เมื่อมนุษย์ มีอายุ 1,000 ปี มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ก็แพร่หลาย (จักกวัตติสูตร) 15/113/1715/113/17 15/112/4 |
29 | [๔๕] เมื่อมนุษย์มีอายุ 500 ปี ธรรม 3 ประการ ย่อมแพร่หลาย คือ ความ กำหนัด ในฐานะอันไม่สมควร เช่น มารดา น้าหญิง บิดา ความโลภที่รุนแรง ขวนขวายแต่จะบริโภค ความกำหนัด ระหว่างชายกับชาย หญิงกับหญิง (จักกวัตติสูตร) 15/113/2215/113/22 15/112/9 |
30 | [๔๕-๔๖] เมื่อมนุษย์ มีอายุ 250 ปีความไม่ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาในสมณะ ในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้แพร่หลาย (จักกวัตติสูตร) 15/114/415/114/4 15/112/15 |
31 | [๔๗] เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี จักมีสัตถันตรกัป(กัปพินาศด้วยศัสตรา)สิ้น 7 วัน . (จักกวัตติสูตร) 15/116/17 15/116/17 15/115/5 |
32 | [๔๗] หลังจากสิ้น สัตถันตรกัปแล้ว พวกมนุษย์ที่เหลือ ก็รักษากุศลธรรมขึ้น ทำให้มีอายุขัย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (จักกวัตติสูตร) 15/117/515/117/5 15/115/18 |
33 | [๔๘] เมื่อมนุษย์ มีอายุ 80,000 ปี เด็กหญิงอายุ 500 ปี จึงสมควรมีสามีได้ ผู้คน จะแออัดยัดเยียดกัน และจะมีการป่วย 3 อย่าง คือ ความอยากกิน ความไม่ อยากกิน ความแก่ (จักกวัตติสูตร) 15/118/1515/118/15 15/117/1 |
34 | [๔๘] เมื่อมนุษย์มีอายุ 80,000 ปี พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า เมตไตรย์จักอุบัติ และพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่าสังขะ จะได้บวชในพระศาสนา และบรรลุ พระอรหัต (จักกวัตติสูตร) 15/119/1415/119/14 15/117/23 |
35 | [๕๐] ตรัสว่าเราไม่เล็งเห็นแม้กำลังอื่นสักอย่างหนึ่ง อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่น กุศลธรรมทั้งหลาย (จักกวัตติสูตร) 15/123/1315/123/13 15/121/18 |
36 | กุศล 2 อย่าง คือ กุศลเป็นทางไปสู่วัฏฏะ กุศลเป็นทางไปสู่วิวัฏฏะ (อ.จักกวัตติสูตร) 15/128/515/128/5 15/126/4 |
37 | อันตรกัปมี 3 คือ กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วย ทุพภิกขภัย เพราะความโลภ สัตว์จะไปเกิดเป็นเปรตโดยมาก. กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วยโรคเพราะความ หลง สัตว์จะไปเกิดในสวรรค์โดยมาก. กัปที่โลกพินาศด้วยศัสตราในระหว่าง เพราะโทสะ สัตว์จะไปเกิดในนรก โดยมาก. (อ.จักกวัตติสูตร) 15/138/1015/138/10 15/136/13 |
38 | พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดในเวลา สัตว์ที่มีอายุเจริญ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ มีอายุเจริญ ถึงอสงไขยแล้ว กลับลดลงไปอีก จะตั้งอยู่ในกาลที่มนุษย์มีอายุ 80,000 ปี พระเมตไตรย์พุทธเจ้า จักอุบัติขึ้น (อ.จักกวัตติสูตร) 15/140/1715/140/17 15/139/1 |
39 | ปราสาท ที่พระเจ้ามหาปนาทะ ใช้นั้น พระเจ้าสังขะจะให้นำขึ้นมาใช้อีก (อ.จักกวัตติสูตร) 15/141/515/141/5 15/139/11 |
40 | [๕๑] ที่ว่าพราหมณ์ เกิดจากปากของพรหม พระพุทธองค์ตรัสว่า ก็พราหมณ์ เหล่านั้นเป็นผู้เกิดจากทางช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น (อัคคัญญสูตร) 15/147/115/147/1 15/144/25 |
41 | [๕๒-๕๓] วรรณะ 4 มีกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ทั้ง 4 เหล่านี้ มี 2 ฝ่าย คือฝ่ายประพฤติกุศล ย่อมไม่ถูกติเตียน ฝ่ายประพฤติอกุศลย่อมถูกติเตียน (อัคคัญญสูตร) 15/147/915/147/9 15/145/6 |
42 | [๕๓] ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า (อัคคัญญสูตร) 15/149/1215/149/12 15/147/7 |
43 | [๕๕] คำว่า ธรรมกาย พรหมกาย ธรรมภูต พรหมภูต เป็นชื่อของพระตถาคต . (อัคคัญญสูตร) 15/150/2015/150/20 15/148/11 |
44 | [๕๖-๕๗] การพินาศ และการบังเกิดแห่งโลก ; สัตว์จากอาภัสสรพรหม มาเกิดมี รัศมี มีวิมาน มีปีติเป็นอาหาร จักรวาลมีแต่น้ำเป็นเวลานาน จึงเกิดง้วนดิน สัตว์ ได้ชิมดูจึงเกิดความอยากในรส ทำให้รัศมีกายหายไป ต่อมาจึงเกิดพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนักษัตร กลางคืน กลางวัน... ฤดู ปี (อัคคัญญสูตร) 15/150/2215/150/22 15/148/14 |
45 | [๕๙] สัตว์กินข้าวสาลี ที่เกิดเองโดยยาวนาน เพศชาย หญิงก็ปรากฏ และได้ เสพเมถุนธรรม (อัคคัญญสูตร) 15/154/2215/154/22 15/152/9 |
46 | [๖๐] เมื่อเริ่มมีการสั่งสม ข้าวสาลี จึงมีรำ มีแกลบ หุ้มเมล็ด และต้นที่ถูก เกี่ยวแล้วก็ไม่งอกขึ้นเองอีก (อัคคัญญสูตร) 15/157/915/157/9 15/154/17 |
47 | [๖๑-๖๒] เมื่อเกิดการแบ่งข้าวสาลี และกั้นเขตคัน กันขึ้น ต่อมาจึงเกิดการ ลักขโมย การครหา พูดเท็จ การจับท่อนไม้ทุบตีกัน (อัคคัญญสูตร) 15/159/415/159/4 15/156/7 |
48 | [๖๒-๖๓] ผู้มีรูปงามกว่า ประเสริฐกว่า ถูกตั้งให้เป็นหัวหน้า จึงมีอักษรว่า มหาสมมติ และ กษัตริย์เป็นคำที่ 2 อักขระว่า ราชา เพราะยังชนเหล่าอื่นให้ ยินดี โดยธรรมเป็นคำที่ 3. (อัคคัญญสูตร) 15/160/315/160/3 15/157/1 |
49 | [๖๔] อักขระว่า พราหมณ์ เพราะสัตว์ทั้งหลายพากันลอยอกุศลธรรมทิ้ง (อัคคัญญสูตร) 15/161/815/161/8 15/158/4 |
50 | [๖๔] พวกทำฌาน ไม่สำเร็จ ก็เที่ยวไปรอบหมู่บ้าน ทำคัมภีร์ จึงเกิดอักขระว่า อัชฌายิกา (อัคคัญญสูตร) 15/162/115/162/1 15/158/19 |
51 | [๖๕] พวกที่ยึดมั่นเมถุนธรรม แยกไปประกอบการงาน จึงมีอักขระว่า เวสสา เป็นที่มาของพวกแพศย์ (อัคคัญญสูตร) 15/162/1715/162/17 15/159/8 |
52 | [๖๖] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ที่ติเตียนการกระทำของตนจึงออกบวช เป็นสมณะ (อัคคัญญสูตร) 15/163/515/163/5 15/159/18 |
53 | [๗๒] กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความรังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึง พร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย . (อัคคัญญสูตร) 15/165/315/165/3 15/161/17 |
54 | ประวัติย่อนางวิสาขา (อ.อัคคัญญสูตร) 15/166/615/166/6 15/162/8 |
55 | วิหารเชตวัน อยู่ทิศใต้ วิหารบุพพาราม อยู่ทิศตะวันออก ของเมืองสาวัตถี . (อ.อัคคัญญสูตร) 15/167/1715/167/17 15/163/19 |
56 | สุรอัมพัฏฐอุบาสกนั้น ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นพระโสดาบัน ได้กลับ ไปเรือน มารแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้าไปหาอุบาสก แล้วบอกว่าคำใดที่เรา กล่าวแก่ท่านนั้น เรากล่าวผิดไป (อ.อัคคัญญสูตร) 15/174/1515/174/15 15/170/14 |
57 | พระอาทิตย์เกิดก่อน ด้วยอำนาจความปรารถนาของสัตว์ เมื่อรัศมีเฉพาะตัว หายไป พระจันทร์เกิดที่หลัง (อ.อัคคัญญสูตร) 15/178/815/178/8 15/174/10 |
58 | วิถีโคจรของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ; วิถีแพะฝนแล้ง วิถีช้างฝนจะตกแรง ทั่วฟ้า วิถีโคฝนจะตกสม่ำเสมอตามฤดูกาล (อ.อัคคัญญสูตร) 15/179/2315/179/23 15/175/22 |
59 | ธรรมดาว่า สถานที่ ที่ให้ผลพร้อมกัน ทั้ง 2 ฝ่าย คือ กุศลและอกุศลพร้อมกัน หามีไม่ ฝ่ายใดมีกำลังมากกว่า ฝ่ายนั้นก็จะให้ผลก่อน (อ.อัคคัญญสูตร) 15/185/1515/185/15 15/182/8 |
60 | [๗๔] พระสารีบุตรรู้ยิ่งในธรรมนั้นๆ ได้ถึงความสำเร็จธรรมบางส่วน ในธรรม ทั้งหลาย (สัมปสาทนียสูตร) 15/189/1815/189/18 15/186/14 |
61 | [๗๗] การก้าวลงสู่ครรภ์ 4 คือ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา เป็นข้อที่ 1... . (สัมปสาทนียสูตร) 15/190/2115/190/21 15/187/18 |
62 | [๗๘] วิธีแห่งการดักใจคน 4 อย่าง คือ ด้วยนิมิต, ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ เทวดา, ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร, กำหนดรู้ใจของผู้ได้สมาธิซึ่งยังมี วิตกวิจาร ด้วยใจ (สัมปสาทนียสูตร) 15/191/1515/191/15 15/188/12 |
63 | [๗๙] ทัศนสมาบัติ 4 อย่าง (สัมปสาทนียสูตร) 15/192/2315/192/23 15/189/18 |
64 | [๘๐] บุคคล 7 จำพวก คือ อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี สัทธานุสารี (สัมปสาทนียสูตร) 15/195/415/195/4 15/191/18 |
65 | [๘๑-๘๒] โพชฌงค์ 7 และปฏิปทา 4 ได้แก่ ปฏิบัติลำบากรู้ช้า ปฏิบัติลำบากรู้เร็ว ปฏิบัติสะดวกรู้ช้า ปฏิบัติสะดวกรู้เร็ว (สัมปสาทนียสูตร) 15/195/915/195/9 15/192/2 |
66 | [๘๓] ภัสสสมาจาร (มารยาทเกี่ยวด้วยคำพูด) ไม่โกหก ไม่ส่อเสียด ไม่กล่าว วาจาแข่งดี ไม่มุ่งความชนะ กล่าวแต่วาจาซึ่งไตร่ตรองด้วยปัญญาอันควร ฝังไว้ในใจตามกาลอันควร (สัมปสาทนียสูตร) 15/196/1215/196/12 15/193/2 |
67 | [๘๔] ศีลสมาจาร (สัมปสาทนียสูตร) 15/196/1915/196/19 15/193/9 |
68 | [๘๕-๘๖] อนุสาสนวิธี (วิธีสั่งสอน) 4 อย่าง, ธรรมฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคล 4 อย่าง (สัมปสาทนียสูตร) 15/197/615/197/6 15/193/20 |
69 | [๙๐] อิทธิวิธี 2 อย่าง คือ ฤทธิ์ ที่ประกอบด้วยอาสวะ, ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ เป็นของพระอริยะ พระอริยะย่อมเป็นผู้มีสัญญาในปฏิกูลว่า ไม่เป็นปฏิกูล ก็ได้... วางเฉยก็ได้ (สัมปสาทนียสูตร) 15/203/1015/203/10 15/199/14 |
70 | [๙๑] พระพุทธเจ้า 2 พระองค์ จะเกิดพร้อมกัน ในโลกธาตุเดียวกันนั้น ไม่ใช่ ฐานะไม่ใช่โอกาส นั่นเป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ (สัมปสาทนียสูตร) 15/206/1615/206/16 15/202/14 |
71 | [๙๓] พระอุทายี ได้แสดงความน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ซึ่งความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา มีอยู่แก่พระตถาคต ผู้มีฤทธิ์ มีอนุภาพมาก แต่ไม่เคยแสดงพระองค์ ให้ปรากฏ พระพุทธเจ้าตรัสให้พระสารีบุตร แสดงสูตรนี้เนืองๆ เพื่อไม่ให้ โมฆบุรุษเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธองค์ (สัมปสาทนียสูตร) 15/207/715/207/7 15/202/26 |
72 | พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำอื่น พรรณนาเฉพาะพระพุทธคุณตลอดกัลป์ กัลป์พึง สิ้นไปในระหว่าง เวลายืดยาวนาน แต่คุณของพระตถาคตหาสิ้นไปไม่ (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/215/115/215/1 15/209/12 |
73 | อรหัตตมรรคญาณ ชื่อว่าสัมโพธิ (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/216/1315/216/13 15/210/21 |
74 | พระอัครสาวก และพระปัจเจกโพธิสัตว์ เมื่อจะลงสู่ครรภ์ และอยู่ในครรภ์ ย่อมรู้สึกตัว แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/229/615/229/6 15/223/6 |
75 | ปุถุชน ผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนเท่านั้น หารู้จิตของพระอริยะ ทั้งหลายได้ไม่ (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/231/2215/231/22 15/225/22 |
76 | เขตแดน มี 3 อย่าง คือ หมื่น โลกธาตุ ชื่อว่าชาติเขต, แสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่า อาณาเขต ส่วนวิสัยเขต ไม่มีปริมาณเลย (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/247/1415/247/14 15/242/14 |
77 | อันตรธาน มี 3 อย่างคือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน . (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/249/115/249/1 15/244/2 |
78 | วงศ์ของสมณะผู้นุ่งผ้าขาว ไม่สามารถจะดำรงศาสนาไว้ได้ ตั้งแต่กาล ของ พระพุทธเจ้ากัสสปะ (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/250/1415/250/14 15/245/14 |
79 | ปรินิพพาน มี 3 อย่าง คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน ธาตุปรินิพพานในเวลา ศาสนาทรุดลง พระธาตุทั้งหมดจะไปรวมกันที่มหาเจดีย์ในศรีลังกา ไปที่ราชาย ตนเจดีย์ ในนาคทวีปไปที่มหาโพธิบัลลังก์ ไฟจะลุกขึ้นเผาเมื่อพระธาตุไหม้หมด เป็นอันว่าศาสนาอันตรธาน (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/250/2315/250/23 15/245/23 |
80 | เหตุที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/251/2315/251/23 15/246/22 |
81 | พระเถระชื่อ อุทายี มี 3 องค์ คือ พระโลฬุทายี กาฬุทายี มหาอุทายี ในสูตรนี้ ประสงค์เอาพระมหาอุทายี (อ.สัมปสาทนียสูตร) 15/257/1 15/257/1 15/251/12 |
82 | [๙๖] ศาสดาที่ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรม ที่ศาสดานั้น ประกาศไว้ไม่ดี ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน และผู้ที่เขาชักชวนแล้ว ปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นอย่างนั้น ในธรรมที่ไม่เป็นทางนำออกจากทุกข์คนทั้งหมดนั้น จะประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก (ปาสาทิกสูตร) 15/261/1315/261/13 15/255/5 |
83 | [๙๘] พระศาสดาที่เป็นสัมมาสัมพุทธะ ส่วนสาวกไม่ปฏิบัติตามคำสอนของ พระศาสดา สาวกควรถูกติเตียน และผู้ใดชักชวนสาวกนั้นว่า ท่านจงปฏิบัติตาม ธรรมของพระศาสดา ผู้ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว ปฏิบัติตาม คนทั้งหมดนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก (ปาสาทิกสูตร) 15/263/1215/263/12 15/257/2 |
84 | [๑๐๕-๑๐๗] พระศาสดาเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ มีภิกษุสาวกเป็นเถระ มีภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา ทั้งที่ประพฤติพรหมจรรย์ และที่อยู่ครองเรือน บริโภคกาม เป็นพรหมจรรย์ ที่สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง (ปาสาทิกสูตร) 15/270/1115/270/11 15/263/9 |
85 | [๑๐๘] ควรพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวม ตรวจสอบอรรถและพยัญชนะ ในธรรมที่ทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย (ปาสาทิกสูตร) 15/272/1515/272/15 15/265/11 |
86 | [๑๑๓] ทรงอนุญาต จีวร เพื่อบำบัดหนาว ป้องกันเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์ เลื้อยคลาน ปกปิดอวัยวะ ทรงอนุญาตบิณฑบาต เพื่อให้กายดำรงอยู่ได้ เสนาสนะ เพื่อบำบัดหนาว ร้อน เหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลาน เภสัชเพื่อกำจัดเวทนา จากอาพาธ (ปาสาทิกสูตร) 15/275/615/275/6 15/267/22 |
87 | [๑๑๕-๑๑๖] การประกอบตน ให้ติดความสุข 4 อย่าง มีอานิสงส์ 4 อย่าง (ปาสาทิกสูตร) 15/277/215/277/2 15/269/17 |
88 | [๑๑๗] ฐานะ 9 ที่พระอรหันต์ไม่ควรล่วงเกิน (ปาสาทิกสูตร) 15/279/1115/279/11 15/272/2 |
89 | [๑๑๙] พระพุทธองค์ ตรัสเหตุที่มีพระนามว่า ตถาคต (ปาสาทิกสูตร) 15/281/415/281/4 15/273/15 |
90 | พวกศากยะพวกหนึ่ง ชื่อ เวธัญญา ศึกษาการทำธนู (อ.ปาสาทิกสูตร) 15/291/315/291/3 15/282/11 |
91 | ความนับถือซึ่งกันและกัน ของพระสารีบุตร กับพระอานนท์ (อ.ปาสาทิกสูตร) 15/294/1615/294/16 15/285/24 |
92 | การบูชาธรรมรัตนะ จงบูชาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต (อ.ปาสาทิกสูตร) 15/295/315/295/3 15/286/8 |
93 | ภิกษุผู้รู้ซึ่งอรรถ รู้ซึ่งพยัญชนะ ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นพระพุทธะ พระพุทธองค์ทรง ตั้งภิกษุ พหูสูตในตำแหน่งของพระองค์ (อ.ปาสาทิกสูตร) 15/301/1815/301/18 15/293/22 |
94 | คฤหัสถ์ ที่บรรลุพระอรหัต ย่อมปรินิพพาน หรือบวช , ภุมมเทวดาผู้บรรลุพระ อรหัตแล้ว ก็ยังดำรงอยู่ได้ (อ.ปาสาทิกสูตร) 15/303/915/303/9 15/295/22 |