1 | [๑๒-๒๗] เรื่องธรรมดา ของพระโพธิสัตว์ ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า 13/12/1513/12/15 13/12/3 |
2 | [๒๙] มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ (มหาปทานสูตร) 13/18/913/18/9 13/17/12 |
3 | [๓๑] พระวิปัสสีกุมาร ทรงเห็นได้ไกลโดยรอบโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันและ กลางคืน (มหาปทานสูตร) 13/21/2113/21/21 13/20/14 |
4 | [๓๑] พระวิปัสสีกุมาร ไม่กระพริบพระเนตรเพ่งแลดู พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็ไม่กระพริบตาเพ่งแลดู (มหาปทานสูตร) 13/22/113/22/1 13/20/16 |
5 | [๓๘] พระวิปัสสีราชกุมาร ได้ทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุ (หนวด) ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต (มหาปทานสูตร) 13/32/2113/32/21 13/30/6 |
6 | [๔๒] ธรรมนี้ อันสัตว์ ที่ถูกราคะ และโทสะครอบงำแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ที่ถูกราคะย้อมไว้ถูกกองแห่งความมืดหุ้มห่อไว้แล้ว จักเห็นไม่ได้ซึ่งธรรม ที่มีปรกติไปทวนกระแสอันละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยากเป็นอณู (มหาปทานสูตร) 13/40/1413/40/14 13/37/19 |
7 | [๔๘] พระวิปัสสีพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรม แก่พระราชโอรส พระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ ก่อนผู้อื่น และทั้ง 2 ได้เป็นคู่อัครสาวก . (มหาปทานสูตร) 13/44/1813/44/18 13/41/17 |
8 | [๕๒] พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงแสดงปาติโมกข์ทุก ๆ 6 ปี (มหาปทานสูตร) 13/52/2213/52/22 13/49/14 |
9 | [๕๓] เมื่อใกล้ถึงวันสวดพระปาติโมกข์ เทวดาทั้งหลาย จะคอยประกาศเตือน ภิกษุ ในศาสนาของพระวิปัสสีพุทธเจ้า (มหาปทานสูตร) 13/54/813/54/8 13/50/23 |
10 | [๕๕] พระพุทธเจ้าเสด็จไปชั้นสุทธาวาส ซึ่งพระองค์มิได้เคยอยู่เลย และ ได้มีพรหมชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่สมัย พระวิปัสสีพุทธเจ้า ถึงพระกัสสปพุทธเจ้า เข้ามาเฝ้าพระองค์ (มหาปทานสูตร) 13/55/2113/55/21 13/52/10 |
11 | เดียรถีย์ผู้เป็นกรรมวาที สามารถระลึกชาติตามลำดับขันธ์ได้ 40 กัป แม้พระสาวกทั้งหลาย ก็ระลึกถึงตามลำดับขันธ์ได้แสนกัป (อ.มหาปทานสูตร) 13/70/1113/70/11 13/65/17 |
12 | เดียรถีย์ พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมระลึกถึง สิ่งที่ตนเห็น แล้ว กระทำแล้ว ฟังแล้วเท่านั้น (อ.มหาปทานสูตร) 13/71/1013/71/10 13/66/16 |
13 | ระยะกาล 4 อสงไขย แสนกัป และจำนวนพระพุทธเจ้าที่อุบัติในระหว่างนี้ . (อ.มหาปทานสูตร) 13/74/113/74/1 13/69/1 |
14 | ในกัปหนึ่งๆ จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ กี่พระองค์ พวกพรหมชั้นสุทธาวาสย่อม รู้ได้ ด้วยจำนวนบุพนิมิตดอกบัว ณ โพธิบัลลังก์ (อ.มหาปทานสูตร) 13/75/1813/75/18 13/70/26 |
15 | นางวิสาขา พราหมณ์โปกขรสาติ พราหมณ์พรหมายุ พราหมณ์เสละ พราหมณ์พาวริยะ พระอานนท์เถระ พระมหากัสสปเถระ อยู่ได้ 120 ปี พระอนุรุทธเถระอยู่ถึง 150 ปี พระพากุลเถระอยู่ 160 ปี (อ.มหาปทานสูตร) 13/77/113/77/1 13/72/9 |
16 | พระพุทธเจ้าทั้งปวงสามารถมีอายุได้ อสงไขยหนึ่ง แต่เพราะความวิบัติแห่ง ฤดูและโภชนะ พระองค์จึงไม่ตั้งอยู่ถึงอสงไขย จริงอยู่อายุย่อมเสื่อมบ้าง ย่อมเจริญบ้าง ด้วยอำนาจแห่งฤดู และโภชนะ (อ.มหาปทานสูตร) 13/77/613/77/6 13/72/14 |
17 | พระราชา เสนาบดี เศรษฐี ทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ดังนั้น เทวดา และพรหมผู้เป็นญาติมิตรเหล่านั้น ก็เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเหตุให้ฤดู ไม่เป็นไปตามฤดู ฝนไม่ตกตามฤดูกาล (อ.มหาปทานสูตร) 13/77/1213/77/12 13/72/21 |
18 | พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงอุบัติในขณะที่สัตว์มีอายุ 40,000 ปี กำหนดอายุไว้ 5 ส่วน ดำรงอยู่ 4 ส่วน เมื่อถึงส่วนที่ 5 ก็ปรินิพพาน (อ.มหาปทานสูตร) 13/79/513/79/5 13/74/10 |
19 | บัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์เป็นอย่างเดียวกัน แต่ต้นไม้เป็นอย่างอื่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ควงไม้ใด ไม้นั้นท่านเรียกว่าโพธิ (อ.มหาปทานสูตร) 13/81/513/81/5 13/76/10 |
20 | พระอัครสาวกของ พระกกุสันธพุทธเจ้า ชอบเข้าสมาบัติในป่า ชาวบ้านนึกว่า ตายจึงเผาท่าน ครั้นออกจากสมาบัติ ก็เข้าไปบิณฑบาต ชาวบ้านจึงรู้จักท่าน ว่าสัญชีวะ (อ.มหาปทานสูตร) 13/82/113/82/1 13/77/10 |
21 | พระพุทธองค์ตรัสให้เลือกพุทธอุปัฏฐาก พระอานนท์กราบทูลขอพร 8 ประการ คือ ข้อห้าม 4 ข้อ ข้อขอร้อง 4 ข้อ (อ.มหาปทานสูตร) 13/85/113/85/1 13/80/14 |
22 | สถานที่ 4 แห่ง ที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ เว้นไม่ได้ ย่อมมีในที่เดียวกันเท่านั้น . (อ.มหาปทานสูตร) 13/90/1913/90/19 13/86/2 |
23 | พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์มีความต่างกัน อยู่ 5 อย่าง ได้แก่ อายุ ประมาณ ตระกูล ความเพียร รัศมี (อ.มหาปทานสูตร) 13/91/513/91/5 13/86/11 |
24 | พระสุมังคลพุทธเจ้า มีรัศมี จากพระวรกายแผ่ไป 10,000 โลกธาตุเป็นนิจ . (อ.มหาปทานสูตร) 13/91/2213/91/22 13/87/5 |
25 | บุคคล และสิ่งที่เกิดร่วมกับ พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ 7 อย่าง (อ.มหาปทานสูตร) 13/92/313/92/3 13/87/9 |
26 | ความพ้นมี 5 อย่าง คือ พ้นด้วยข่มไว้ พ้นชั่วคราว พ้นเด็ดขาด พ้นอย่างสงบ พ้นออกไป (อ.มหาปทานสูตร) 13/93/1513/93/15 13/88/22 |
27 | พระวิปัสสีโพธิสัตว์อยู่สวรรค์ชั้นดุสิต ตลอด 576 ล้านปี (อ.มหาปทานสูตร) 13/95/513/95/5 13/90/13 |
28 | พวกเทวดาจักจุติโดย 7 วันมนุษย์ ย่อมมีบุพนิมิต 5 เกิดขึ้น คือ ดอกไม้เหี่ยว ผ้า เศร้าหมอง เหงื่อไหลจากรักแร้ทั้ง 2 ผิวพรรณหมอง เทวดาไม่ตั้งอยู่ในเทวอาสน์ บุพนิมิตเหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่เทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น (อ.มหาปทานสูตร) 13/95/1413/95/14 13/90/23 |
29 | พระโพธิสัตว์ก่อนลงมาตรัสรู้ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ 5 คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และอายุของพระมารดา (อ.มหาปทานสูตร) 13/96/2013/96/20 13/92/2 |
30 | มารดาของพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย มีอายุได้ 7 วัน หลังจากประสูติ . (อ.มหาปทานสูตร) 13/98/613/98/6 13/93/12 |
31 | แม้ในเทวโลกทั้งหมด ก็มีสวนนันทวันเหมือนกัน (อ.มหาปทานสูตร) 13/98/1213/98/12 13/93/18 |
32 | พระโพธิสัตว์ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ว่าเราจุติ แต่ไม่รู้จุติจิต แม้ถือปฏิสนธิ แล้วจึงรู้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้ (อ.มหาปทานสูตร) 13/98/1613/98/16 13/93/23 |
33 | นิยาม 5 อย่าง คือ กรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม ธรรมนิยาม . (อ.มหาปทานสูตร) 13/100/1613/100/16 13/95/19 |
34 | โลกันตรนรก อยู่ในระหว่างจักรวาลทั้ง 3 ดุจช่องว่าง ในท่ามกลางล้อเกวียน 3 ล้อ ผู้กระทำความผิด ต่อมารดาบิดา และสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมและ ทำกรรมร้ายกาจ มีฆ่าสัตว์ทุกวัน ย่อมเกิดในนรกนี้ (อ.มหาปทานสูตร) 13/102/113/102/1 13/97/3 |
35 | ท้าวจาตุมหาราชในแต่ละจักรวาล มีจักวาลละ 4 องค์ (อ.มหาปทานสูตร) 13/103/913/103/9 13/98/15 |
36 | เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ พวกมนุษย์นั่งกระหย่ง ไหว้รับศีล ในสำนักของ ดาบส และปริพาชก (อ.มหาปทานสูตร) 13/104/1513/104/15 13/99/18 |
37 | หญิงในปฐมวัย ฉันทราคะย่อมมีกำลัง ถ้าตั้งครรภ์ในตอนนั้น จะไม่สามารถ รักษาครรภ์ไว้ได้ ครรภ์ย่อมเจ็บมาก แต่ครั้นเลยส่วน 2 ของ มัชฌิมวัยใน ส่วนที่ 3 วัตถุย่อมเป็นของบริสุทธิ์ ทารกที่เกิดย่อมไม่มีโรค (อ.มหาปทานสูตร) 13/106/1813/106/18 13/101/21 |
38 | บุพนิมิตในการประสูติของพระโพธิสัตว์ มีการประดิษฐานบนแผ่นดินด้วยพระบาท เสมอกัน เป็นบุพนิมิต แห่งการได้อิทธิบาท 4 เป็นต้น (อ.มหาปทานสูตร) 13/109/1713/109/17 13/104/22 |
39 | ศิลปินทั้งปวง หรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงไม่สามารถสร้างรูปเปรียบพระพุทธองค์ได้ . (อ.มหาปทานสูตร) 13/121/1313/121/13 13/116/19 |
40 | พระนางอสันธิมิตตา พร้อมด้วยบริวาร 700 ได้ฟังเสียงนกการเวก ระลึกถึง พระสุรเสียงของพระพุทธเจ้ายังปีติให้เกิด ไม่ทรงละปีตินั้น ทรงดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผล (อ.มหาปทานสูตร) 13/127/1913/127/19 13/122/26 |
41 | พรหมชั้นสุทธาวาส และพรหมผู้เป็นขีณาสพ แสดงเทวทูต แก่พระโพธิสัตว์ . (อ.มหาปทานสูตร) 13/130/313/130/3 13/125/10 |
42 | การเห็นเทวทูตทั้ง 4 แล้วบวช เป็นวงศ์ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของ พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ (อ.มหาปทานสูตร) 13/132/813/132/8 13/128/9 |
43 | สถานที่ประทับระหว่าง 8 สัปดาห์ หลังการตรัสรู้ และความวิตก เรื่องการ แสดงธรรม ย่อมเกิดขึ้นแก่ พระพุทธเจ้าทั้งปวง (อ.มหาปทานสูตร) 13/141/613/141/6 13/137/17 |
44 | บุคคล 4 จำพวก ; บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงจำไว้ มาก สอนเขามาก ชื่อว่า ปทปรมะ (อ.มหาปทานสูตร) 13/148/1713/148/17 13/145/6 |
45 | พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัย ของอุปกาชีวก จึงได้เสด็จด้วยพระบาทเปล่า สิ้นทาง 18 โยชน์ (อ.มหาปทานสูตร) 13/152/813/152/8 13/148/8 |
46 | พระราชาให้ทำกำแพงไม้ตะเคียน ทั้ง 2 ข้างทาง ตั้งแต่วิหารจนถึงประตูเมือง เพื่อจะอุปัฏฐาก พระวิปัสสีพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน . (อ.มหาปทานสูตร) 13/156/2013/156/20 13/153/4 |
47 | ลูกสาวเศรษฐี ลวงคนใช้ ของเสนาบดี เพื่อถวายบิณฑบาต แก่พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระพุทธองค์ ทรงแลดูคนใช้ของเสนาบดี คนหนึ่งให้รับไว้ (อ.มหาปทานสูตร) 13/159/1413/159/14 13/155/23 |
48 | ความหมายของ ชื่อเทวดาชั้นสุทธาวาส ; ชื่อว่า อวิหา เพราะไม่ละ คือ ไม่เสื่อม จากสมบัติของตน ... (อ.มหาปทานสูตร) 13/163/1813/163/18 13/160/7 |
49 | [๕๗] พระพุทธเจ้าตรัสไม่ให้พระอานนท์ พูดว่าปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นของตื้น แล้วทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท (มหานิทานสูตร) 13/165/1213/165/12 13/161/13 |
50 | [๖๐] พระพุทธเจ้าตรัสว่าการบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วย อาการ เพศ นิมิต อุเทศ (มหานิทานสูตร) 13/174/613/174/6 13/168/18 |
51 | [๖๕] วิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ) 7 อายตนะ (ที่ติดต่อ) 2 อย่าง . (มหานิทานสูตร) 13/181/1513/181/15 13/175/4 |
52 | [๖๕] ภิกษุผู้รู้ชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออก ไปจากวิญญาณฐิติ 7 และ อายตนะ 2 เหล่านี้ ตามความเป็นจริงแล้วย่อม เป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น นี้เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ (มหานิทานสูตร) 13/183/1313/183/13 13/176/22 |
53 | [๖๖] วิโมกข์ (พ้นด้วยดีจากธรรมเป็นข้าศึก) 8 ประการ (มหานิทานสูตร) 13/183/1813/183/18 13/177/1 |
54 | [๖๖] ภิกษุเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งวิโมกข์ 8 ตามต้องการแล้วจึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน ภิกษุนี้เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ (มหานิทานสูตร) 13/184/1213/184/12 13/177/19 |
55 | พระเจ้ามันธาตุขึ้นไปครองราชสมบัติร่วมกันกับท้าวสักกะ จนท้าวสักกะ ทรงอุบัติ และจุติแล้ว ถึง 36 องค์ ก็ยังไม่ทรงอิ่มด้วยกาม (อ.มหานิทานสูตร) 13/187/113/187/1 13/180/4 |
56 | มนุษย์จาก 3 ทวีป ได้ตามพระเจ้ามันธาตุมาชมพูทวีป ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใน ชนบท ประเทศที่มนุษย์มาจากบุพพวิเทหะทวีปอาศัยอยู่ได้ ชื่อว่า วิเทหรัฐ ที่มาจากอมรโคยานทวีป ชื่อว่า อปรันตชนบท ที่มาจากอุตตรกุรุทวีป ชื่อว่า กุรุรัฐ (อ.มหานิทานสูตร) 13/187/713/187/7 13/180/10 |
57 | นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง คือ นั่งเว้นโทษของการนั่ง 6 อย่าง ได้แก่ นั่งไกลเกินไป ใกล้เกินไป เหนือลม สูงไป ตรงหน้าเกินไป หลังเกินไป (อ.มหานิทานสูตร) 13/189/413/189/4 13/182/4 |
58 | ปลาติมิ ใหญ่ 200 โยชน์ ปลาอานันทะ ใหญ่ 1,000 โยชน์ (อ.มหานิทานสูตร) 13/192/1713/192/17 13/185/20 |
59 | พญาครุฑ ใหญ่ประมาณ 150 โยชน์ อสุรินทราหู จากเส้นผมถึงปลายเท้า 4,800 โยชน์ (อ.มหานิทานสูตร) 13/193/813/193/8 13/186/10 |
60 | พระอานนท์ตั้งความปรารถนา เป็นพุทธอุปัฏฐาก ตั้งแต่ครั้งเกิดเป็นสุมนราช กุมาร น้องชายของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า (อ.มหานิทานสูตร) 13/199/313/199/3 13/191/26 |
61 | พระอานนท์ได้สดับธรรมกถาในสำนักของท่านปุณณมันตานีบุตร แล้วตั้งอยู่ ในโสดาปัตติผล (อ.มหานิทานสูตร) 13/200/1513/200/15 13/193/11 |
62 | พระพุทธองค์ทรงตำหนิพระอานนท์ (อ.มหานิทานสูตร) 13/203/113/203/1 13/196/7 |
63 | อบาย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย และอสูรกาย (อ.มหานิทานสูตร) 13/205/1513/205/15 13/198/23 |
64 | คนธรรพ์ คือ เทวดาที่สิงอยู่ตามโคนไม้ และต้นไม้ เป็นต้น (อ.มหานิทานสูตร) 13/207/2213/207/22 13/201/8 |
65 | การตรัสรู้ธรรม ย่อมมีได้ แก่เปรตจำพวก ติเหตุกะ เช่น ปิยังกรมาตา ได้ฟัง พระอนุรุทธะ สาธยายธรรม แล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล (อ.มหานิทานสูตร) 13/224/2213/224/22 13/218/17 |
66 | พรหมปาริสัชชะ มีอายุประมาณ 1 ใน 3 ของกัป, พรหมปุโรหิต มีอายุประมาณ กึ่งใน 2 กัป, มหาพรหม อายุประมาณ 1 กัป พรหมเหล่านั้นมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถปฐมฌาน (อ.มหานิทานสูตร) 13/225/813/225/8 13/219/2 |
67 | เทพปริตตาภา มีอายุประมาณ 2 กัป , เทพอัปปมาณาภา มีอายุประมาณ 4 กัป , เทพอาภัสสรา อายุประมาณ 8 กัป รัศมีจากสรีระของเทพเหล่านั้น ดุจเปลวเพลิงเป็นลำ (อ.มหานิทานสูตร) 13/226/313/226/3 13/219/21 |
68 | เทพปริตตสุภา มีอายุประมาณ 16 กัป , เทพอัปปมาณสุภา มีอายุประมาณ 32 กัป , เทพสุภกิณหา อายุประมาณ 64 กัป (อ.มหานิทานสูตร) 13/226/1413/226/14 13/220/6 |
69 | เทพสุทธาวาส ไม่เกิดในโลกที่ว่างพระพุทธเจ้า แสนกัปบ้าง 1 อสงไขยบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติในระหว่าง 16,000 กัป นั้นแลจึงเกิด (อ.มหานิทานสูตร) 13/226/2313/226/23 13/220/17 |
70 | พระอรหันต์ สุกขวิปัสสกะ ตั้งอยู่ในปฐมฌาน แล้วเป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา . (อ.มหานิทานสูตร) 13/228/1313/228/13 13/222/6 |
71 | [๖๘] ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม 7 ประการของเจ้าวัชชี (มหาปรินิพพานสูตร) 13/235/413/235/4 13/228/2 |
72 | [๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ยังจะไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอน สิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้วตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญ อย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/240/1213/240/12 13/232/20 |
73 | [๗๑-๗๔] อปริหานิยธรรม(ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) อีก 7 ประการ 13/241/1413/241/14 13/233/23 |
74 | [๗๕] อปริหานิยธรรม อีก 6 ประการ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/245/1713/245/17 13/238/1 |
75 | [๗๕] สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก, ปัญญาอันสมาธิอบรม แล้วมีผลมากมีอานิสงส์มาก, จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้ จากอาสวะทั้งหลายกล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/247/913/247/9 13/239/5 |
76 | [๗๙] โทษของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล มี 5 ประการ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/253/1013/253/10 13/245/2 |
77 | [๘๐] อานิสงส์ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของผู้มีศีล 5 ประการ . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/254/1013/254/10 13/245/23 |
78 | [๘๒] เทวดาผู้มีศักดิ์ต่าง ๆ พากันหวงแหนพื้นที่ บริเวณใด มนุษย์ผู้เป็นญาติ ของเทวดาเหล่านั้น ก็สร้างที่อยู่ขึ้น ในบริเวณนั้นๆ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/255/2113/255/21 13/247/4 |
79 | [๘๒] นครปาฏลิบุตร จักมีอันตราย 3 ประการคือ จากไฟ จากน้ำ หรือด้วย แตกสามัคคี (มหาปรินิพพานสูตร) 13/257/613/257/6 13/248/9 |
80 | [๘๔] ให้ส่วนบุญแก่เทวดา ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในที่นั้น จักประสบแต่สิ่งเจริญ ทุกเมื่อ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/258/913/258/9 13/249/12 |
81 | อรรถกถาอธิบายไว้ 13/372/113/372/1 13/363/17 |
82 | [๘๙] การถามหาคติที่ไปของผู้ตาย ต่อพระพุทธองค์ ข้อนี้เป็นการเบียดเบียน แก่พระองค์โดยแท้ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/264/1913/264/19 13/255/8 |
83 | [๘๙] พระพุทธเจ้าทรงแสดง แว่นธรรม 4 ประการ เพื่อให้สาวกพยากรณ์ตนเอง . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/265/713/265/7 13/255/20 |
84 | [๙๓] แม้พระพุทธเจ้า ก็มิได้มีความคิดว่า จะบริหารภิกษุสงฆ์ หรือให้ภิกษุสงฆ์ พึงยกย่องพระองค์ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/274/913/274/9 13/264/8 |
85 | [๙๓] พระพุทธเจ้าสั่งให้ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็น เกาะมีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย (มหาปรินิพพานสูตร) 13/274/1813/274/18 13/264/17 |
86 | [๙๓] เมื่อพระพุทธเจ้าล่วงลับไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเป็น ผู้ใคร่ในการศึกษา จักเป็น ผู้ประเสริฐสุดยอด (มหาปรินิพพานสูตร) 13/275/1013/275/10 13/265/13 |
87 | [๙๔] ผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4 ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน... อบรมไว้ปรารภ ด้วยดีโดยชอบ ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/276/1013/276/10 13/266/10 |
88 | [๙๕] มาร ทูลขอให้พระพุทธเจ้าจงปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/279/1513/279/15 13/269/11 |
89 | [๙๘] เหตุ 8 อย่างทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/280/2213/280/22 13/270/16 |
90 | [๙๙] บริษัท 8 คือ ขัตติยบริษัท... พรหมบริษัท ที่พระพุทธเจ้าเคยสนทนาด้วย . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/282/513/282/5 13/272/2 |
91 | [๑๐๘] ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/291/1313/291/13 13/284/1 |
92 | [๑๑๒-๑๑๖] ทรงแสดงมหาปเทศ(ข้ออ้างที่สำคัญ) 4 อย่าง ตรัส ณ อานนท เจดีย์ ในโภคนคร (มหาปรินิพพานสูตร) 13/293/613/293/6 13/285/20 |
93 | [๑๑๗] เสวยสุกรมัททวะ ที่บ้านนายจุนทะ เกิดอาพาธอย่างแรงกล้า มีเวทนากล้าเกิดแต่การประชวรลงพระโลหิต (มหาปรินิพพานสูตร) 13/297/213/297/2 13/289/10 |
94 | [๑๒๐-๑๒๑] ปุกกุสมัลลบุตร สาวกของอาฬารดาบส ได้ฟังพระพุทธองค์เล่าเรื่อง ฟ้าผ่าที่เมืองอาตุมา จึงถวายคู่ผ้า แด่พระพุทธองค์ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/299/1113/299/11 13/291/22 |
95 | [๑๒๒] ในกาลทั้ง 2 คราว กายของพระตถาคตย่อมบริสุทธิ์ฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก คือ ในเวลาราตรีที่ตรัสรู้ ในราตรีที่ปรินิพพาน (มหาปรินิพพานสูตร) 13/303/513/303/5 13/295/5 |
96 | [๑๒๖] บิณฑบาต 2 คราวที่ถวายพระพุทธองค์ มีผลสม่ำเสมอกัน มีวิบาก สม่ำเสมอกัน มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก (มหาปรินิพพานสูตร) 13/305/613/305/6 13/296/16 |
97 | [๑๒๙] ผู้ใดเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็ตามเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรมผู้นั้น ชื่อว่าสักการะเคารพนับถือ บูชา พระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/307/313/307/3 13/298/18 |
98 | [๑๓๐] พระพุทธองค์ ขับท่านพระอุปวาณะ ออกจากตรงหน้าพระองค์เพราะ บังเทวดาที่มาจาก หมื่นโลกธาตุ หาที่แค่ปลายขนทรายจรดลง ก็ไม่ว่างจาก เทวดา (มหาปรินิพพานสูตร) 13/307/1513/307/15 13/299/12 |
99 | [๑๓๑] สังเวชนียสถาน(สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช) 4 แห่ง (มหาปรินิพพานสูตร) 13/308/2013/308/20 13/300/17 |
100 | [๑๓๒] วิธีปฏิบัติในสตรี (มหาปรินิพพานสูตร) 13/309/1413/309/14 13/301/10 |
101 | [๑๓๓] พระพุทธองค์ ทรงห้ามภิกษุทั้งหลาย ขวนขวายเพื่อบูชาสรีระ ของ พระองค์เพราะคฤหัสถ์ ผู้เป็นบัณฑิตจะทำการบูชาสรีระ ของพระตถาคตเอง 13/309/1713/309/17 13/301/14 |
102 | [๑๓๔] ถูปารหบุคคล (บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา) 4 คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระเจ้าจักรพรรดิ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/310/1613/310/16 13/302/12 |
103 | [๑๓๖] อัพภูตธรรม (ความอัศจรรย์) 4 อย่าง มีในพระอานนท์ เหมือนในพระเจ้า จักรพรรดิ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/313/1013/313/10 13/305/4 |
104 | [๑๓๗] เมืองกุสินาราครั้งก่อนชื่อ กุสาวดี เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/315/113/315/1 13/306/18 |
105 | [๑๓๘-๑๔๐] สุภัททปริพาชก เข้าถามปัญหาพระพุทธเจ้าและได้เป็นปัจฉิมสาวก (สาวกองค์สุดท้ายที่เห็นพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า... สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ ก็ภิกษุเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย (มหาปรินิพพานสูตร) 13/317/213/317/2 13/308/23 |
106 | [๑๔๑] พระธรรมวินัยเป็นตัวแทนพระศาสดา (มหาปรินิพพานสูตร) 13/320/1713/320/17 13/313/2 |
107 | [๑๔๓] พระปัจฉิมวาจา " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด " (มหาปรินิพพานสูตร) 13/322/513/322/5 13/314/23 |
108 | [๑๕๓] พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ (มหาปรินิพพานสูตร) 13/328/1613/328/16 13/321/7 |
109 | [๑๕๖] หลังจากที่พระมหากัสสปะ และภิกษุ 500 ถวายบังคมพระสรีระ แล้ว ไฟที่เชิงตะกอน ก็ติดขึ้นเอง บรรดา ผ้า 500 คู่ เหล่านั้น เพลิงไหม้เพียง 2 ผืน เท่านั้น คือ ผืนในที่สุดกับผืนนอก (มหาปรินิพพานสูตร) 13/331/413/331/4 13/323/17 |
110 | [๑๕๙-๑๖๑] โทณพราหมณ์ แบ่งพระสรีระธาตุเป็น 8 ส่วน พระอังคารให้ พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ส่วนทะนานตวงพระธาตุโทณพราหมณ์ นำไป . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/333/1613/333/16 13/326/7 |
111 | [๑๖๒] สถานที่ ที่นำพระสรีระธาตุของพระพุทธเจ้าไปสักการะบูชากันอยู่.. . (มหาปรินิพพานสูตร) 13/335/213/335/2 13/327/18 |
112 | พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงอาฆาต พวกเจ้าลิจฉวี เรื่องของมีค่าจากเชิงเขา ตำบล ปัฏฏนคาม (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/338/113/338/1 13/329/17 |
113 | พวกเทวดาทำโรคไอ โรคในศีรษะ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้วให้กำเริบทั้งไม่ช่วยใน ยามสงคราม ถ้าไม่ได้บุญเพียงพอ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/343/1113/343/11 13/335/2 |
114 | ถิ่นใดไม่มี บรรพชิตผู้มีศีลอาศัยอยู่การอารักขาของเทวดาก็ย่อมไม่มี เหล่าอมนุษย์ ก็แน่นหนา ย่อมทำความป่วยไข้ ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/344/1413/344/14 13/336/5 |
115 | วัสสการพราหมณ์ วางแผนทำลายสามัคคีของเหล่าเจ้าวัชชี (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/346/313/346/3 13/337/18 |
116 | พวกภิกษุที่แสดงคำสั่งสอนนอกธรรม นอกวินัย ชื่อว่าถอดถอน ข้อที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/350/613/350/6 13/341/21 |
117 | เหตุที่พระมหากัสสปะ และคณะสงฆ์ ไม่เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย หลังจาก ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/350/1713/350/17 13/342/7 |
118 | ความหมายของคำว่า สังฆปริณายก (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/351/713/351/7 13/342/23 |
119 | ภิกษุใดกระทำกิจ มีกระทำจีวร ถลกบาตร ไม้กวาด เป็นต้น ในเวลาทำกิจ เหล่านั้นเท่านั้น ในเวลาอุเทศก็เรียน อุเทศ เวลากวาดลานเจดีย์ ก็ทำวัตรที่ ลานเจดีย์ ในเวลามนสิการก็ทำมนสิการ ภิกษุนั้นไม่ชื่อว่ามีการงานเป็นที่ยินดี . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/354/113/354/1 13/345/12 |
120 | ศรัทธา มี 4 อย่าง (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/355/2113/355/21 13/347/9 |
121 | ภิกษุ พหุสุตะ(ผู้เล่าเรียนมาก) นี้มี 4 อย่าง (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/356/1113/356/11 13/347/24 |
122 | ภิกษุที่ได้ชื่อว่า ปรารภความเพียรทางกาย และทางใจ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/356/1613/356/16 13/348/4 |
123 | ในสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ มีความปรากฏเป็นลักษณะ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีการพิจารณา เป็นลักษณะ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/357/1913/357/19 13/349/5 |
124 | ผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม ไม่ควรให้แก่ภิกษุทุศีล (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/360/2013/360/20 13/352/10 |
125 | พระติสสเถระ ผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม นำบิณฑบาตมาถวายพระมหาเถระ 50 รูป (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/361/2113/361/21 13/353/7 |
126 | เทวดาที่อยู่ต้นไทร บ้านภาตรคาม ให้การบำรุงภิกษุ 12 รูป และภิกษุณี 12 รูป อยู่ถึง 7 ปี (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/363/1913/363/19 13/355/3 |
127 | ความหมายของคำว่า ผู้มีศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/365/413/365/4 13/356/12 |
128 | ศีลของพระโสดาบัน เป็นต้น ย่อมเสมอกับศีลของพระโสดาบันเป็นต้นเหล่าอื่น ผู้อยู่ในเทวโลกก็ดี ความแตกต่างกันในศีล ที่ประกอบด้วยมรรคผลไม่มี . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/365/1913/365/19 13/357/1 |
129 | ภิกษุทุศีลย่อมถึงความเสื่อมจากศีล จากฌาน จากอริยทรัพย์ 7 เพราะความ ประมาทเป็นเหตุ เวลาใกล้ตายหลับตาก็เห็นอบาย เป็นประหนึ่ง ถูกหอก 100 เล่ม แทงที่ศีรษะ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/367/2213/367/22 13/359/11 |
130 | เทวดาผู้มีศรัทธา อยู่กับตระกูลผู้มีศรัทธา เทวดาผู้ไม่มีศรัทธาก็อยู่กับตระกูล ผู้ไม่มีศรัทธา (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/370/313/370/3 13/361/19 |
131 | อธิบายการเกิดอีกชาติเดียว ของพระสกทาคามี (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/374/813/374/8 13/366/11 |
132 | ดูก่อนอานนท์ นั่นเป็นความลำบากกายของตถาคตผู้ตรวจดูญาณคติ (รู้ความเป็นไป)... ของเหล่าสัตว์นั้นๆ แต่ความลำบากจิตไม่มี แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/374/2113/374/21 13/367/2 |
133 | อบาย เพราะปราศจากความเจริญ , ทุคติ เพราะ เป็นที่อาศัยแห่งทุกข์, วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปโดยไม่เหลือของคนชั่ว (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/375/313/375/3 13/367/9 |
134 | การพยากรณ์ แห่งพระอริยสาวก ในฐานะที่ควร โดยไม่ผิดวินัย พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/375/1413/375/14 13/367/22 |
135 | ขณิกสมาบัติย่อมข่มเวทนา เฉพาะในภายในสมาบัติได้ทีเดียว พอออกจาก สมาบัติ เวทนาย่อมครอบงำร่างกายอีก ส่วนสมาบัติของผู้กระทำหมวด 7 แห่ง รูปและอรูปให้หมดพุ่มหมดรก แล้วเข้าด้วยอำนาจแห่งมหาวิปัสสนา เมื่อออก จากสมาบัตินั้น ต่อเวลานาน เวทนาจึงจะเกิดขึ้น (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/378/2213/378/22 13/371/19 |
136 | พระราหุล ปรินิพพานในดาวดึงส์ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/382/113/382/1 13/374/23 |
137 | พระสารีบุตร มากราบลาพระพุทธเจ้าเพื่อนิพพาน (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/383/713/383/7 13/375/23 |
138 | พระสารีบุตร แสดงธรรมแก่นางสารีพราหมณี นางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/387/113/387/1 13/379/11 |
139 | พระพุทธเจ้าให้สร้างเจดีย์ใส่พระธาตุ ของพระสารีบุตร ไว้ที่เชตวันวิหาร พระธาตุเจดีย์ของพระมหาโมคคัลลานะ อยู่ที่เมืองราชคฤห์ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/388/113/388/1 13/380/10 |
140 | ความจริงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังไม่ถึงสภาวะ มีฟันหักเป็นต้น ย่อมปรินิพพาน ในเวลาที่ทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมหาชนทีเดียว (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/389/1013/389/10 13/381/20 |
141 | พระอานนท์ถูกมารดลใจได้อย่างไร ? (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/389/1813/389/18 13/382/4 |
142 | สามเณร สังฆรักขิต บรรลุอรหัตขณะโกนผม ขึ้นไปทำ เวชยันตปราสาทให้ไหว . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/394/1513/394/15 13/387/15 |
143 | พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมในจักรวาล อื่น (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/396/1913/396/19 13/389/17 |
144 | อภิภายตนะ (เหตุครอบงำธรรมที่เป็นข้าศึก) ที่เป็นที่สบายแก่จริตต่างๆ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/400/113/400/1 13/392/24 |
145 | กระดูกของพระพุทธเจ้าติดเป็นอันเดียวกัน เหมือนแท่งทองคำ เพราะฉะนั้น ในเวลาเหลียวหลังจึง ไม่สามารถเอี้ยวพระศอ(คอ) ได้ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/402/1813/402/18 13/396/3 |
146 | อธิบายมหาปเทศ 4 (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/406/713/406/7 13/399/18 |
147 | นายจุนทะ บุตรนายช่างทอง เป็นโสดาบัน เพราะเห็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก เท่านั้น ก็สร้างวัดในสวนมะม่วงของตน มอบถวาย (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/407/2113/407/21 13/401/7 |
148 | พวกเจ้ามัลละผลัดเปลี่ยนกัน ครองราชสมบัติ ตราบใดวาระของเจ้ามัลละ เหล่าใดยังไม่มาถึง ตราบนั้น เจ้ามัลละเหล่านั้น ก็กระทำการค้าขายไป . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/409/613/409/6 13/402/20 |
149 | ฟ้าผ่ามี 9 สาย (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/409/2113/409/21 13/403/15 |
150 | เหตุที่ทำให้กายของพระตถาคตบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ในกาลทั้ง 2 (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/411/913/411/9 13/405/3 |
151 | อธิบายความหมาย ที่บิณฑบาต 2 คราว ซึ่งถวายต่อพระพุทธเจ้ามีผลเสมอกัน . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/413/113/413/1 13/406/20 |
152 | ตระกูลช้าง 10 ตระกูล (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/415/713/415/7 13/409/4 |
153 | การนอน 4 คือ ผู้บริโภคกามนอน เปรตนอน ราชสีห์นอน พระตถาคตนอน . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/416/1613/416/16 13/410/11 |
154 | พวกเทวดาผู้มีอายุยืน ชื่อว่า วรุณ ทราบว่าพระโพธิสัตว์บังเกิด เพื่อเป็น พระพุทธเจ้า ก็เริ่มร้อยมาลัยด้วยตนเอง เพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้า แต่ร้อยยังไม่ ทันเสร็จ ก็ต้องรีบลงมา เพราะพระพุทธองค์จักปรินิพพานเวลาจวนรุ่ง . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/419/813/419/8 13/413/6 |
155 | พระพุทธเจ้าทรงคัดค้านการบูชาใหญ่ ก็เพื่อจะทรง อนุเคราะห์บริษัทอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะให้ พระศาสนาดำรงยั่งยืน อย่างหนึ่ง. จริงอยู่วิหาร 1,000 แห่ง เจดีย์ 1,000 เจดีย์ ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/421/613/421/6 13/415/1 |
156 | การกระทำ ที่ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/422/113/422/1 13/415/17 |
157 | เทวดา 60 องค์ ยืนในโอกาสแม้เพียงปลายเหล็กแหลมจรดกัน ไม่เบียดซึ่งกัน และกันเลย (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/423/413/423/4 13/417/1 |
158 | พระอุปวาณะ มีอานุภาพมาก เพราะท่านเคยเป็นอารักขเทวดา ในเจดีย์ของ พระกัสสปพุทธเจ้า เหล่าเทวดาสามารถมองทะลุปุถุชนได้ แต่มองทะลุเหล่า พระขีณาสพไม่ได้ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/423/16 13/423/16 13/417/14 |
159 | ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงตั้งจิตคิดว่า มารดาในสตรี ปูนมารดา ตั้งจิตคิดว่า พี่สาวในสตรีปูนพี่สาว ตั้งจิตคิดว่าลูกสาวในสตรีปูนลูกสาว จึงตรัสว่า อานนท์ พึงตั้งสติไว้ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/428/1013/428/10 13/422/15 |
160 | ที่ชื่อว่า ขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/432/1713/432/17 13/427/11 |
161 | บุพกรรมของสุภัททปริพาชก ครั้งเป็น 2 พี่น้องที่ถวายทานอันเลิศ ในข้าวกล้า ปีละ 9 ครั้ง (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/434/1413/434/14 13/429/13 |
162 | พระพุทธเจ้า หรือพระสาวก แม้มดดำมดแดง ต้องกระทำกาละด้วยภวังคจิต ที่เป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจทั้งนั้น (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/443/1613/443/16 13/438/23 |
163 | นางมัลลิกา ภรรยาของพันธุลเสนาบดี ถวายเครื่องประดับ มหาลดาประสาธน์ สวมพระสรีระของพระพุทธเจ้า เครื่องประดับนี้มี 3 คน คือ นางวิสาขา นาง มัลลิกา เรือนของโจรชื่อว่า เทวนานิยะ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/446/1813/446/18 13/442/11 |
164 | พระมหากัสสปะเข้าสมาบัติทุกประตูเรือน ออกจากสมาบัติแล้วจึงรับอาหาร เพื่ออนุเคราะห์มหาชน (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/448/2313/448/23 13/444/16 |
165 | เรื่องของสุภัททวุฑฒบรรพชิต ผู้อาฆาตในพระพุทธเจ้า (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/450/113/450/1 13/445/19 |
166 | เหล่าภิกษุผู้แสวงหาโภชนะ ล่วงไปถึงหลายโกฏิกัป พวกเธอบริโภคโภชนะที่ เป็นอกัปปิยะ(ไม่ควร) ของพวกเธอ อันเกิดขึ้นโดยไม่ชอบธรรม จักต้องไปบังเกิด ในอบาย หลายแสนอัตภาพ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/451/1713/451/17 13/447/10 |
167 | เทวดาที่อุปัฏฐาก ของพระมหากัสสปะ พากันอธิษฐานไม่ให้ติดไฟที่เชิงตะกอน จนกว่าพระเถระจะมา (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/453/2013/453/20 13/449/14 |
168 | พระธาตุที่ไม่กระจัดกระจายมี พระเขี้ยวแก้ว 4, พระรากขวัญ 2, พระอุณหิส 1 นอกนั้นกระจัดกระจาย เล็กสุดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ใหญ่สุดเท่าเมล็ดถั่วเขียว หักกลาง (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/456/113/456/1 13/451/18 |
169 | โทณพราหมณ์ ฉวยเอาพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา เก็บไว้ในระหว่างผ้าโพก ท้าวสักกะมาเอาไปบูชา ที่จุฬามณีเจดีย์ (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/463/613/463/6 13/458/26 |
170 | พระเจ้าอชาตศัตรู บูชาพระบรมธาตุสิ้นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน เหล่ามิจฉา ทิฏฐิพากันติเตียน แล้วไปเกิดในอบายประมาณ 86,000 คน พระมหากัสสปะ รวบรวมบรมธาตุเอาไว้ ที่กรุงราชคฤห์ ยกเว้นที่รามคาม ซึ่งนาคเก็บรักษาไว้ . (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/464/113/464/1 13/459/22 |
171 | สถานที่เก็บพระธาตุไว้ที่ราชคฤห์ ลึก 80 ศอก พระมหากัสสปะอธิษฐานให้ พวงมาลัยอย่าเหี่ยว ประทีบอย่าไหม้ แล้วให้จารึกไว้ที่แผ่นทองว่า แม้ในอนาคต ครั้งพระกุมารอโศก จะกระทำพระธาตุให้แพร่หลาย. ท้าวสักกะให้วิสสุกรรมเทพ ทำหุ่นยนต์ รักษาอยู่หน้าประตู (อ.มหาปรินิพพานสูตร) 13/466/513/466/5 13/462/2 |
172 | [๑๖๔-๑๗๐] พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีแก้ว 7 อย่าง คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว (มหาสุทัสสนสูตร) 13/475/1413/475/14 13/469/8 |
173 | [๑๗๑-๑๗๔] พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีฤทธิ์ 4 ประการ คือ มีรูปงาม อายุยืน มีโรคน้อย เป็นที่รักของพราหมณ์ คฤหบดี (มหาสุทัสสนสูตร) 13/480/613/480/6 13/473/20 |
174 | [๑๗๙] พระเจ้ามหาสุทัสสนะมีอานุภาพใหญ่ เป็นผลของกรรม 3 อย่าง คือ ทาน ทมะ (การฝึกฝนปรับปรุงตน), สัญญมะ (ศีล). (มหาสุทัสสนสูตร) 13/487/1813/487/18 13/481/5 |
175 | [๑๘๔] พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงเล่นอย่างพระกุมารอยู่ 84,000 ปี เป็น อุปราชอยู่ 84,000 ปี ครอบครองราชสมบัติอยู่ 84,000 ปี ประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ 84,000 ปี (มหาสุทัสสนสูตร) 13/498/213/498/2 13/491/5 |
176 | [๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้น แล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับ สังขารเหล่านั้น เป็นความสุขดังนี้ (มหาสุทัสสนสูตร) 13/500/1813/500/18 13/493/23 |
177 | พระโพธิสัตว์ บำรุงพระสาวกในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า จนตลอดชีวิต ได้สร้างศาลาล้อมรั้ว ขุดสระ เป็นต้น และถวายบริขารนักบวช (อ.มหาสุทัสสนสูตร) 13/521/1813/521/18 13/516/3 |
178 | การตายที่มีความห่วงใย เป็นเหตุให้เกิดเป็นยักษ์ สุนัข แพะ โค กระบือ หนู ไก่ และนกเป็นต้น ในเรือนของตน (อ.มหาสุทัสสนสูตร) 13/525/713/525/7 13/519/20 |
179 | ธรรมดาอานุภาพแห่งพระเจ้าจักรพรรดิย่อมอันตรธานในวันที่ 7 แห่งการบวช ส่วนสมบัติทั้งปวงนี้ คือ กำแพงรัตนะ 7 ชั้น ตาลรัตนะ สระ ธรรมปราสาท ธรรมาโบกขรณี จักรรัตนะอันตรธานแล้วในวันที่ 7 แห่งการตายของพระเจ้า จักรพรรดิ. (อ.มหาสุทัสสนสูตร) 13/527/1813/527/18 13/522/9 |
180 | [๑๙๑] พระอานนท์ได้ฟัง ชื่อ ชนวสภยักษ์ ทำให้ขนลุกชูชัน (ชนวสภสูตร) 13/533/1213/533/12 13/529/3 |
181 | [๑๙๑] พระเจ้าพิมพิสารเกิดเป็นยักษ์ ชื่อชนวสภะ เป็นสหายของท้าวเวสวัณ มหาราช เป็นครั้งที่ 7 นี้ (ชนวสภสูตร) 13/533/1713/533/17 13/529/9 |
182 | [๑๙๓] ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ผู้เป็นสาวกของพระสุคต ผู้ทรงภูริปัญญา บรรลุคุณ ธรรมวิเศษแล้ว ในสุธรรมาสภานี้ ไพโรจน์ล่วงเทพเหล่าอื่น ด้วยวรรณะ ด้วยยศ และอายุ (ชนวสภสูตร) 13/536/113/536/1 13/531/12 |
183 | [๑๙๘] เสียงของพรหม ประกอบด้วยองค์ 8 คือ แจ่มใส ชัดเจน นุ่มนวล น่าฟัง กลมกล่อม ไม่พร่า ลึก มีกังวาน (ชนวสภสูตร) 13/539/513/539/5 13/534/4 |
184 | [๒๐๐] อานิสงส์ของการเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วซึ่ง อิทธิบาท 4 ทำให้มีฤทธิ์ มากมีอานุภาพมาก (ชนวสภสูตร) 13/540/1613/540/16 13/535/12 |
185 | [๒๐๖] ชาวมคธ ที่ตายไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบัน ไม่ต่ำกว่า 2,400,000 คน . (ชนวสภสูตร) 13/546/113/546/1 13/541/9 |
186 | ก่อนเข้าพรรษา เทวดาชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราช ประชุมกันเพื่อการอารักขา อารามที่มีภิกษุไปจำพรรษาอยู่ (อ.ชนวสภสูตร) 13/550/1413/550/14 13/545/22 |
187 | แสงสว่างแห่งผ้า เครื่องประดับ วิมาน และสรีระของเทวดา ทั้งปวงย่อมแผ่ไป ไกล 12 โยชน์ (อ.ชนวสภสูตร) 13/551/1013/551/10 13/546/19 |