1 | [๑๘๙] บุคคลประกอบด้วยองค์ 2 พวกพราหมณ์ ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นบัณฑิตมีปัญญา (โสณทัณฑสูตร) 12/12/612/12/6 12/11/8 |
2 | [๑๙๔] ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีใน บุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น... ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของ ผู้มีปัญญา และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญา ว่าเป็นยอดในโลก . (โสณทัณฑสูตร) 12/15/112/15/1 12/13/21 |
3 | [๑๙๘] พราหมณ์โสณทัณฑะ แม้ประกาศตนเป็นอุบาสก ก็ยังเกรงคน ใน ชุมนุมชนจะดูหมิ่น เมื่อเขาไปในยาน ถ้าเห็นพระพุทธองค์ จะยกปฏักขึ้น แทน การลงจากยาน จะลดร่มลง แทนการอภิวาทด้วยศีรษะ (โสณทัณฑสูตร) 12/16/2212/16/22 12/15/18 |
4 | ส่วนที่ 3 อันเป็นที่สุดแห่ง 100 ปี ชื่อว่าปัจฉิมวัย (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/24/112/24/1 12/22/9 |
5 | พระตถาคตอุบัติขึ้นแล้ว นั่นแหละ มีขุมทรัพย์ 4 ขุมเกิดขึ้น พระองค์ทรงละเงิน ทองมากมายแล้ว ออกผนวช (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/25/1412/25/14 12/23/22 |
6 | ใครๆ ไม่สามารถวัดขนาดของพระพุทธเจ้าได้ (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/26/812/26/8 12/24/15 |
7 | ท้าวอสุรินทราหู สูงถึง 4,800 โยชน์ ก็ยังได้ชูคอ ขึ้นมองดูพระพุทธเจ้า ซึ่งทรง ประทับนอนอยู่ (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/27/112/27/1 12/25/6 |
8 | พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ย่อมถวายอารักขา ปีศาจ ที่เบียดเบียนมนุษย์ย่อมหลีกไป ด้วยอานุภาพของเทวดาเหล่านั้น . (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/30/1212/30/12 12/28/9 |
9 | หากว่าแม้พระพุทธเจ้า พึงตรัสพระคุณของพระพุทธเจ้าไม่ตรัสอย่างอื่นเลย ในกัปหนึ่ง กัปก็จะพึงหมดสิ้นไปในระหว่าง เป็นเวลานาน พระคุณของ พระตถาคตหาสิ้นไปไม่ (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/31/912/31/9 12/29/6 |
10 | ศีลของปุถุชนใด ไม่ขาดตกบกพร่อง ตลอด 60 ปี แม้ในเวลาใกล้ตายเขาฆ่า กิเลสได้ ชำระปัญญาด้วยศีล ย่อมถือเอาพระอรหัตได้ ดุจพระมหาสัฏฐิวัสสเถระ ผู้นอนร้องครวญครางอยู่ เพราะเวทนากล้า แล้วข่มเวทนาเสียได้บรรลุ พระอรหัต (อ.โสณทัณฑสูตร) 12/35/912/35/9 12/33/11 |
11 | [๒๐๖] พระเจ้ามหาวิชิตราช ได้เพิ่มข้าวปลูก และข้าวกินแก่พลเมือง ได้ให้ เพิ่มทุนให้แก่พ่อค้า และให้เบี้ยเลี้ยง และเงินเดือนแก่ข้าราชการ ทำให้บ้านเมือง สงบสุข (กูฏทันตสูตร) 12/48/1512/48/15 12/44/19 |
12 | [๒๑๐] ยัญวิธี(ความบริบูรณ์แห่งทาน) 3 ประการ คือ ไม่ควรเดือดร้อนใจก่อน ให้ทาน ขณะกำลังให้ทาน และหลังจากให้ทานแล้ว (กูฏทันตสูตร) 12/52/2312/52/23 12/48/18 |
13 | อรรถกถาอธิบายไว้ 12/79/1112/79/11 12/74/5 |
14 | [๒๑๑] ผู้ให้ทานพึงคิดว่า ตนให้ทานแก่ชนผู้มีศีล แม้ว่าชนเหล่านั้นจะ มีศีลหรือ ไม่ก็ตาม (กูฏทันตสูตร) 12/53/1212/53/12 12/49/7 |
15 | [๒๓๐] นิตยทาน ที่ตระกูลทำสืบต่อกันมา ถวายเจาะจงบรรพชิตที่มีศีล พระอรหันต์ ย่อมเข้าไปสู่ที่นั้นทำให้นิตยทานนั้น มีผลมากกว่า ยัญสมบัติ ทั้ง 3 ประการ . (กูฏทันตสูตร) 12/65/1412/65/14 12/61/2 |
16 | [๒๓๒] บุคคลที่สร้างวิหาร อุทิศแก่พระสงฆ์ ผู้มาแต่ 4 ทิศ มีผลมากกว่า นิตยทานที่ถวายเจาะจง พระอรหันต์ (กูฏทันตสูตร) 12/66/212/66/2 12/61/12 |
17 | [๒๓๓] บุคคลผู้มีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ มีผลมากกว่าวิหารทาน (กูฏทันตสูตร) 12/66/1412/66/14 12/62/2 |
18 | [๒๓๔] บุคคลผู้มีจิตเลื่อมใส ถึงตรัยสรณะ สมาทานศีล 5 มีผลมากกว่าการถึง สรณคมน์ (กูฏทันตสูตร) 12/67/212/67/2 12/62/14 |
19 | [๒๓๗] กูฏทันตพราหมณ์ บรรลุโสดาปัตติผล (กูฏทันตสูตร) 12/69/1112/69/11 12/64/19 |
20 | ธรรมดาคนที่จะให้ทาน ได้ปรึกษากับบัณฑิตสักคนหนึ่งก่อน แล้วให้จึงจะควร . (อ.กูฏทันตสูตร) 12/73/2212/73/22 12/68/24 |
21 | พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนมีปัญญา มีวิจารณญาณ ย่อมตั้งตัวได้ด้วยทรัพย์อัน เป็นต้นทุน แม้เพียงเล็กน้อย เหมือนคนเริ่มก่อไฟกองน้อยก่อน (อ.กูฏทันตสูตร) 12/75/1012/75/10 12/70/9 |
22 | ทาน 3 ระดับ คือ เป็นนายของทาน เป็นสหายให้ทาน เป็นทาสแห่งไทยธรรม . (อ.กูฏทันตสูตร) 12/77/812/77/8 12/72/9 |
23 | อนุกูลยัญ คือ ทานที่เขากระทำด้วยคิดว่า พ่อ และปู่ ของพวกเราเคยทำมา ตัวอย่างเช่น เด็กหญิงคนหนึ่งในตระกูล ของอนาถบิณฑิกะแม้ถูกความยากจน ครอบงำแล้ว ก็ยังถวายสลากภัต (อ.กูฏทันตสูตร) 12/83/2012/83/20 12/78/14 |
24 | ทานที่เขาถวาย คือ บริจาคแก่สงฆ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ยัญ (อ.กูฏทันตสูตร) 12/84/2012/84/20 12/79/12 |
25 | วิรัติ (การงดเว้น) มี 3 ได้แก่ การงดเว้นที่เกิดซึ่งหน้า การงดเว้นของผู้รับ สิกขาบท การงดเว้นของพระอริยะ (อ.กูฏทันตสูตร) 12/87/1412/87/14 12/81/17 |
26 | ผู้ใดรับสิกขาบท ทั้ง 5 รวมกัน เมื่อสิกขาบทหนึ่งทำลาย ย่อมทำลายไปหมด. ผู้ใดรับทีละข้อ ผู้นั้นล่วงละเมิดข้อใด ข้อนั้นเท่านั้น ทำลาย (อ.กูฏทันตสูตร) 12/88/412/88/4 12/82/4 |
27 | ศีล 5 จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าเลิศ เป็นของเก่าแก่ ไม่มีใครรังเกียจผู้ที่รู้ดี ไม่ดูแคลน (อ.กูฏทันตสูตร) 12/88/1912/88/19 12/82/19 |
28 | สรณคมน์ นั้นแหละ เป็นใหญ่กว่าศีล 5 โดยแท้ แต่ศีล 5 นี้ ท่านกล่าวว่ามีผล มากกว่าด้วยอำนาจแห่งศีล ที่บุคคลตั้งอยู่ ในสรณะแล้วรักษา (อ.กูฏทันตสูตร) 12/89/1512/89/15 12/83/12 |
29 | ปฐมฌาน ย่อมให้อายุในพรหมโลก 1 กัป (อ.กูฏทันตสูตร) 12/90/712/90/7 12/84/3 |
30 | ก็ขึ้นชื่อว่า ยัญอย่างอื่น ที่ประเสริฐกว่า พระอรหัตไม่มี (อ.กูฏทันตสูตร) 12/91/1412/91/14 12/85/4 |
31 | [๒๔๔-๒๔๙] ทำอย่างไร ? จึงจะเห็นรูป และได้ยินเสียงอันเป็นทิพย์ (มหาลิสูตร) 12/96/1012/96/10 12/89/18 |
32 | ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะ ได้ตีกกหู ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่สามารถบรรลุทิพยโสตได้ (อ.มหาลิสูตร) 12/106/1012/106/10 12/98/17 |
33 | ท่านเรียกว่า สังโยชน์ เพราะเป็นเครื่องผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ ที่แล้วด้วย วัฏฏทุกข์ (อ.มหาลิสูตร) 12/107/1512/107/15 12/100/1 |
34 | ปรินิพพายี คือ มีนิพพานธรรมในภพเบื้องหน้านั้นเทียว (อ.มหาลิสูตร) 12/108/512/108/5 12/100/16 |
35 | ลักษณะแห่งมรรค มีองค์ 8 (อ.มหาลิสูตร) 12/109/112/109/1 12/101/15 |
36 | ความมีอุปการะแก่กัน ในอริยมรรคทั้ง 8 (อ.มหาลิสูตร) 12/110/312/110/3 12/102/17 |
37 | ประวัตินายโกตูหลิก จนมาเกิดเป็นโฆษิตเศรษฐี (อ.ชาลิยสูตร) 12/115/712/115/7 12/107/21 |
38 | รักษาอุโบสถศีล ครึ่งวัน เมื่อตายไปเกิดเป็นเทวดา (อ.ชาลิยสูตร) 12/116/1412/116/14 12/109/3 |
39 | [๒๖๐] บุคคลผู้ประพฤติตบะ มีอาชีพเศร้าหมองบางคน ในโลกนี้ เบื้องหน้าจะตาย เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ก็มี (มหาสีหนาทสูตร) 12/120/1812/120/18 12/112/21 |
40 | [๒๖๗] เมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้ เรา เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง (มหาสีหนาทสูตร) 12/126/1812/126/18 12/117/23 |
41 | [๒๗๐] พระพุทธเจ้าตรัส สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา (มหาสีหนาทสูตร) 12/131/1312/131/13 12/122/12 |
42 | [๒๗๑] พระพุทธเจ้าผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อธิวิมุตติ 12/132/612/132/6 12/123/2 |
43 | การสรรเสริญพระศาสดา ก็เป็นอันสรรเสริญพระสงฆ์ แม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เท่ากับสรรเสริญพระศาสดาเหมือนกัน (อ.มหาสีหนาทสูตร) 12/141/412/141/4 12/130/15 |
44 | พระพุทธองค์ทรงบรรลือสีหนาท 110 ประการ เพราะเหตุนั้น สูตรนี้จึงเรียกว่า มหาสีหนาทสูตร (อ.มหาสีหนาทสูตร) 12/150/412/150/4 12/140/24 |
45 | [๒๗๖] แม้แต่พวกปริพาชก เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็ยังบอกเหล่า ปริพาชกว่าอย่าได้ทำเสียงดังนัก (โปฏฐปาทสูตร) 12/155/2112/155/21 12/145/21 |
46 | [๒๗๙-๒๘๖] สัญญาของคน มีเหตุ มีปัจจัย ทั้งเกิด ทั้งดับ สัญญาบางอย่าง เกิดขึ้นเพราะการศึกษาก็มี บางอย่างดับไปก็มี แล้วทรงอธิบายตั้งแต่สัญญา อันเกี่ยวด้วยกาม จนถึง สัญญานิโรธ (โปฏฐปาทสูตร) 12/157/1812/157/18 12/147/12 |
47 | [๒๘๖-๒๘๗] อากิญจัญญายตนสัญญานั้นเรียกว่า ยอดสัญญา (โปฏฐปาทสูตร) 12/160/1112/160/11 12/150/6 |
48 | [๒๘๘] สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง (โปฏฐปาทสูตร) 12/161/2012/161/20 12/151/14 |
49 | [๒๙๔-๒๙๕] พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่ปริพาชกบริษัท 3,000 คนไม่มีผู้เข้าใจ 12/165/412/165/4 12/154/18 |
50 | บรรพชิตในลัทธิเดียรถีย์ ภายนอกบางคน เห็นโทษในความเป็นไปของจิต เจริญสมาบัติว่า ความไม่มีจิตสงบ แล้วจุติจากโลกนี้ ไปตกอยู่ใน อสัญญีภพ สิ้น 500 กัลป์ (อ.โปฏฐปาทสูตร) 12/185/512/185/5 12/174/5 |
51 | ข้อเปรียบเทียบการออกจาก อากิญจัญญายตน แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน (อ.โปฏฐปาทสูตร) 12/190/1512/190/15 12/179/14 |
52 | จิตต์หัตถิสารีบุตร บวชแล้วสึกเป็นคฤหัสถ์ ถึง 7 ครั้ง เพราะเคยแสดงอานิสงส์ ในความเป็นคฤหัสถ์ แสดงโทษแห่งบรรพชาอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า (อ.โปฏฐปาทสูตร) 12/197/412/197/4 12/186/3 |
53 | กามภพ ตั้งแต่อเวจี ถึงปรนิมมิตวสวัสดี, รูปภพ ตั้งแต่ชั้นปฐมฌาน ถึงอกนิฏฐ- พรหมโลก, อรูปภพ ตั้งแต่ อากาสานัญจายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตน พรหมโลก (อ.โปฏฐปาทสูตร) 12/199/912/199/9 12/188/10 |
54 | กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มี 2 อย่าง คือ สมมติกถา และปรมัตถกถา . (อ.โปฏฐปาทสูตร) 12/202/1012/202/10 12/191/8 |
55 | [๓๑๗] พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญขันธ์ 3 และให้ชุมชนยึดมั่น ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ในขันธ์ 3 นี้ (สุภสูตร) 12/205/1712/205/17 12/194/16 |
56 | [๓๒๐] ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เหมือนพระราชา มหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแม้แต่ไหนๆ เพราะศัตรูนั้น (สุภสูตร) 12/207/1012/207/10 12/196/20 |
57 | โตเทยยพราหมณ์อยู่บ้านตุทิคาม เป็นคนขี้ตระหนี่ ครั้นตายไป ก็เกิดเป็นสุนัข อยู่ที่เรือนหลังนั้นเอง (อ.สุภสูตร) 12/223/812/223/8 12/210/11 |
58 | [๓๓๙-๓๔๒] ปาฏิหาริย์ 3 อย่าง , พระพุทธองค์ทรงอึดอัด ระอา รังเกียจใน อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ (เกวัฏฏสูตร) 12/229/512/229/5 12/216/2 |
59 | [๓๔๓-๓๔๘] ภิกษุรูปหนึ่งไปถามเทวดา ชั้นจตุมมหาราช จนถึงมหาพรหมว่า มหาภูตรูป 4 ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน สุดท้ายได้กลับมาถามพระพุทธองค์ . (เกวัฏฏสูตร) 12/231/1312/231/13 12/218/14 |
60 | [๓๔๕] เทวดา พรหมกายิกา ไม่รู้ที่อยู่ของมหาพรหม หรือทิศของที่มหาพรหมอยู่ แต่เมื่อแสงสว่างเกิดเอง โอภาสปรากฏนั้นแล เป็นบุพนิมิต เพื่อความปรากฏ แห่งพรหม (เกวัฏฏสูตร) 12/233/412/233/4 12/219/26 |
61 | [๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง แสดงไม่ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในธรรมชาตินี้... (เกวัฏฏสูตร) 12/235/1012/235/10 12/222/15 |
62 | บุคคลย่อมรู้ถึงจิตของคนอื่นได้ ด้วยวิชา จินดามณี (อ.เกวัฏฏสูตร) 12/238/112/238/1 12/225/6 |
63 | พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ แสดงธรรมแก่ภิกษุ 500 ที่ไปกับพระเทวทัตจนได้บรรลุอรหัตผล แล้วพาเหาะกลับมาเวฬุวันวิหาร (อ.เกวัฏฏสูตร) 12/238/1812/238/18 12/225/21 |
64 | อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ (รู้ใจผู้อื่น) ยังติเตียนได้ ยังมีโทษไม่ ยั่งยืนอยู่นาน จึงไม่นำสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ (อ.เกวัฏฏสูตร) 12/239/112/239/1 12/226/8 |
65 | บทว่า วิญญาณ คือ วิญญาณเดิมบ้าง วิญญาณที่ปรุงแต่งบ้าง จริงอยู่ เพราะวิญญาณเดิมดับ นาม และรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ . (อ.เกวัฏฏสูตร) 12/242/2012/242/20 12/230/4 |
66 | [๓๕๖] ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มีคติ 2 คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง (โลหิจจสูตร) 12/247/1912/247/19 12/234/11 |
67 | [๓๖๐-๓๖๒] ศาสดา 3 จำพวก ควรประท้วงได้ ในโลก และการประท้วงที่เป็น จริงแท้เป็นธรรมไม่มีโทษ (โลหิจจสูตร) 12/250/512/250/5 12/236/12 |
68 | [๓๖๓] สาวกได้บรรลุคุณวิเศษ อันโอฬาร (มรรคผลนิพพาน) ในศาสดาใด ศาสดานี้ไม่ควรประท้วงในโลก อนึ่งการประท้วงของผู้ประท้วงศาสดาเห็น ปานนั้น ชื่อว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ (โลหิจจสูตร) 12/252/912/252/9 12/238/10 |
69 | หากว่าความเห็นผิดนั้นสมบูรณ์ คือ เป็นความแน่นอน ย่อมเกิดในนรกโดย ส่วนเดียว หากยังไม่แน่นอน ย่อมเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน (อ.โลหิจจสูตร) 12/256/212/256/2 12/241/12 |
70 | [๓๗๗] กามคุณ 5 ในวินัย ของพระอริยเจ้า เรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่า เครื่องจองจำบ้าง (เตวิชชสูตร) 12/268/512/268/5 12/254/5 |
71 | [๓๗๘] นิวรณ์ 5 ในวินัยของพระอริยเจ้าเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง (เตวิชชสูตร) 12/268/2212/268/22 12/254/22 |
72 | [๓๘๓-๓๘๔] พระพุทธเจ้าทรงแสดงหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม . (เตวิชชสูตร) 12/271/2112/271/21 12/257/10 |
73 | ธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ ได้แก่ ศีล 5 ศีล 10 กุศลกรรมบถ 10 . (อ.เตวิชชสูตร) 12/280/912/280/9 12/264/22 |