1 | [๑] อันตรายจะพึงมี แก่ผู้ขุ่นเคือง น้อยใจ หรือ เพลิดเพลิน ในเมื่อมีคนเหล่าอื่นกล่าวติ หรือชม พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ (พรหมชาลสูตร) 11/3/14 11/3/10 |
2 | [๑] ให้ชาวพุทธยืนยันโดยความเป็นจริง ในเมื่อมีผู้ติ หรือชมพระพุทธเจ้าพระธรรม พระสงฆ์ (พรหมชาลสูตร) 11/4/1 11/3/19 |
3 | [๒-๘] จุลศีล (พรหมชาลสูตร) 11/4/17 11/4/7 |
4 | [๙-๑๘] มัชฌิมศีล (พรหมชาลสูตร) 11/7/17 11/6/20 |
5 | [๑๙-๒๕] มหาศีล (พรหมชาลสูตร) 11/11/8 11/10/2 |
6 | [๒๖] ธรรมที่ พระตถาคต ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งนั้น เป็นธรรมที่ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต (พรหมชาลสูตร) 11/15/7 11/13/6 |
7 | [๒๗-๓๐] สมณพราหมณ์ พวกหนึ่งมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ 4 ประการ คือ 1.พวกที่ระลึกชาติก่อนได้ ถึงหลายแสนชาติ 2. พวกที่ ระลึกชาติก่อนได้ถึง 10 สังวัฏฏวิวัฏฏกัป 3. พวกที่ระลึกชาติก่อนได้ถึง 40 สังวัฏฏกัปวิวัฏฏกัป 4. พวกที่เป็นนักตรึกนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตน ตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรองได้ (พรหมชาลสูตร) 11/15/17 11/13/16 |
8 | [๓๑] เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์โดยมาก ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม (พรหมชาลสูตร) 11/23/4 11/19/20 |
9 | [๓๑] เมื่อโลกเจริญขึ้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งในอาภัสสรพรหม ลงมาเกิดก่อนสัตว์อื่น แล้วมีความเห็นว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้เนรมิต เป็นบิดาของหมู่ สัตว์ สัตว์เหล่านี้เราเนรมิตขึ้น (พรหมชาลสูตร) 11/23/8 11/20/1 |
10 | [๓๒] พวกเทวดา ขิฑฑาปโทสิกะ พากันหมกมุ่นอยู่ ในความรื่นรมย์ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เพราะหลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงจุติ(พรหมชาลสูตร) 11/25/13 11/21/25 |
11 | [๓๓] พวกเทวดา มโนปโทสิกะ มักเพ่งโทษกันและกัน เกินขอบเขต มุ่งร้ายกัน และกัน จึงลำบากกาย ลำบากใจ พากันจุติ (พรหมชาลสูตร) 11/26/19 11/22/26 |
12 | [๔๓] เทวดาชื่ออสัญญีสัตว์ ย่อมจุติ เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ก็เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง จุติจากหมู่นั้นมาเกิดแล้วระลึกชาติก่อนได้ทำให้มี ความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ (พรหมชาลสูตร) 11/38/20 11/33/8 |
13 | [๕๐] สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของ สัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ 5 คือ 1.ความพรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ 2.บรรลุปฐมฌาน 3.บรรลุทุติยฌาน 4. บรรลุตติยฌาน 5.บรรลุจตุตถฌาน จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็นธรรมอย่างยิ่ง(พรหมชาลสูตร) 11/52/7 11/45/3 |
14 | [๖๓] ในทิฏฐิ ทั้ง 62 นั้น เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเท่านั้น .(พรหมชาลสูตร) 11/59/8 11/51/14 |
15 | [๙๐] เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษกับ ทั้งอุบายเป็นเครื่องออก ไปจากผัสสายตนะทั้ง 6 เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่ง กว่าสมณพราหมณ์ที่มีความเห็นด้วยวัตถุ 62 เหล่านั้นทั้งหมด (พรหมชาลสูตร) 11/65/8 11/57/2 |
16 | [๙๐] หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่ เห็นกายของพระพุทธเจ้าอีก (พรหมชาลสูตร) 11/66/8 11/57/24 |
17 | จุดเริ่มต้นการปฐมสังคายนา (อ.พรหมชาลสูตร) 11/70/13 11/61/13 |
18 | พระอานนท์ เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้า 82,000 พระธรรมขันธ์ เรียนจากภิกษุ 2,000 รวมเป็น 84,000 พระธรรมขันธ์ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/73/16 11/64/11 |
19 | พระอานนท์ บรรลุพระอรหัต (อ.พรหมชาลสูตร) 11/81/21 11/71/15 |
20 | ทีฆนิกาย พระอานนท์นำไปสอน, มัชฌิมนิกาย ลูกศิษย์พระสารีบุตรนำไปสอน, สังยุตตนิกาย พระมหากัสสปนำไปสอน, อังคุตตรนิกาย พระอนุรุทธนำไปสอน (อ.พรหมชาลสูตร) 11/89/12 11/78/4 |
21 | พระพุทธพจน์ มี 3 ด้วยอำนาจแห่งปิฎก คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก (อ.พรหมชาลสูตร) 11/92/16 11/80/19 |
22 | ทีฆนิกาย มี 34 สูตร มัชฌิมนิกายมี 152 สูตร สังยุตตนิกายมี 7,762 สูตร อังคุตตรนิกาย มี 9,550 สูตร ขุททกนิกายมี 15 ประเภท คือ ขุททกปาฐะ... จริยาปิฎก (อ.พรหมชาลสูตร) 11/92/21 11/81/2 |
23 | คำว่าวินัย เพราะมีนัยต่างๆ เพราะมีนัยพิเศษ เพราะฝึกกายและวาจา .(อ.พรหมชาลสูตร) 11/93/10 11/81/11 |
24 | คำว่าสูตร เพราะเปิดเผยซึ่งประโยชน์ เพราะกล่าวประโยชน์ตรัสไว้เหมาะสม เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันอย่างดี เพราะมี ส่วนเสมอด้วยสายบรรทัด (อ.พรหมชาลสูตร) 11/94/6 11/82/1 |
25 | คำว่า อภิธรรม เพราะเป็นที่รวมธรรมที่มีความเจริญ ที่กำหนดเป็นมาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด และเป็นธรรมอันยิ่ง (อ.พรหมชาลสูตร) 11/95/11 11/83/1 |
26 | ในปิฎกทั้ง 3 นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้เหมือน มหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง (อ.พรหมชาลสูตร) 11/101/3 11/87/9 |
27 | ปริยัติ 3 ประเภท (อ.พรหมชาลสูตร) 11/102/17 11/88/18 |
28 | ผลที่ภิกษุปฏิบัติชั่วในปิฎก 3 ย่อมถึงความวิบัติ ต่างด้วยความเป็นผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีความเห็นผิด และเป็นบ้า (อ.พรหมชาลสูตร) 11/105/9 11/90/21 |
29 | ขึ้นชื่อว่าสัตว์ ถึง 2 คน มีอัธยาศัยอย่างเดียวกัน หาได้ยากในโลก .(อ.พรหมชาลสูตร) 11/145/22 11/124/8 |
30 | พุทธกิจ 5 อย่าง (อ.พรหมชาลสูตร) 11/147/5 11/125/10 |
31 | เหตุที่ทรงตั้งพระสูตร 4 ประการ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/156/14 11/133/3 |
32 | ปุถุชน มี 2 คือ อันธปุถุชน๑ กัลยาณปุถุชน๑ ; ผู้มีการเรียน การฟัง การทรงจำ การพิจารณา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ชื่อว่ากัลยาณปุถุชน (อ.พรหมชาลสูตร) 11/170/12 11/145/5 |
33 | ความหมายของคำว่า ตถาคต 8 อย่าง (อ.พรหมชาลสูตร) 11/171/14 11/146/2 |
34 | คำถาม 5 อย่าง (อ.พรหมชาลสูตร) 11/184/11 11/157/7 |
35 | การฆ่าสัตว์นั้น มีโทษน้อยในสัตว์เล็ก มีโทษมากในสัตว์ใหญ่ เพราะมีความ พยายามมาก , ปาณาติบาตมี องค์ 5 มีประโยค 6 (อ.พรหมชาลสูตร) 11/186/17 11/159/6 |
36 | การลักทรัพย์ของผู้มีคุณมาก ชื่อว่ามีโทษมาก, การลักทรัพย์ มีองค์ มีประโยค 6 (อ.พรหมชาลสูตร) 11/190/1 11/162/1 |
37 | สำหรับบรรพชิต มุสาวาท ที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่า เป็นของบริบูรณ์ เช่น วันนี้น้ำมันในบ้านไหลเหมือนแม่น้ำ ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้ น้ำมันหรือเนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เคยเห็นเลย ว่าเห็น แล้วมีโทษมาก (อ.พรหมชาลสูตร) 11/192/3 11/163/24 |
38 | วาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/196/6 11/167/8 |
39 | การรับธัญชาติดิบ การรับเนื้อดิบ ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย แม้การจับต้อง ก็ไม่ควร (อ.พรหมชาลสูตร) 11/201/9 11/171/14 |
40 | วินิจฉัยเรื่อง การสะสมผ้า ยาน ที่นอน ของหอม เป็นต้น (อ.พรหมชาลสูตร) 11/208/5 11/177/1 |
41 | กลิ่นกายของทารก ที่คลอดจากครรภ์มารดา จะหมดไปในเวลาที่มีอายุ ประมาณ 12 ปี (อ.พรหมชาลสูตร) 11/216/13 11/183/17 |
42 | ที่วัดแห่งหนึ่ง เขาเขียนภาพจิตรกรรม เป็นรูปเหี้ยกำลังพ่นไฟ ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายเกิดทะเลาะกันใหญ่ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/226/13 11/191/11 |
43 | ครรภ์ ย่อมพินาศด้วยเหตุ 3 อย่าง คือ ลม เชื้อโรค กรรม (อ.พรหมชาลสูตร) 11/229/14 11/193/20 |
44 | ในการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ผู้อื่นไม่มีปรีชาสามารถ เรื่องนี้เป็นวิสัยของ พระตถาคต เท่านั้น (อ.พรหมชาลสูตร) 11/236/5 11/198/26 |
45 | เดียรถีย์ ผู้มีปัญญาหลักแหลม ระลึกชาติได้ 40 สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ไม่เกิน กว่านั้น (อ.พรหมชาลสูตร) 11/245/13 11/206/8 |
46 | นักตรึกมี 4 จำพวก (อ.พรหมชาลสูตร) 11/246/6 11/207/1 |
47 | ความดิ้นรนนั้น มี 4 อย่าง คือ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/252/15 11/212/18 |
48 | เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะ มีเตโชธาตุแรง กรัชกายอ่อนแอ เทวดาเหล่านั้น เลยเวลาอาหารมื้อเดียว เท่านั้นก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/256/12 11/215/19 |
49 | พวกเทวดาที่ชื่อว่ามโนปโทสิกะ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช (อ.พรหมชาลสูตร) 11/257/16 11/216/18 |
50 | ปลาชนิดหนึ่ง ชื่อ อมรา แปลว่าปลาไหล (อ.พรหมชาลสูตร) 11/259/18 11/218/15 |
51 | อสัญญีสัตว์นั้น ปรากฏแต่เพียงรูปขันธ์จะดำรงอยู่ได้ตลอดกาลเท่าที่กำลังฌาน มีอยู่เท่านั้น (อ.พรหมชาลสูตร) 11/264/6 11/222/13 |
52 | พระสูตรมีอนุสนธิ (การสืบเนื่องกันมา) 3 อย่าง (อ.พรหมชาลสูตร) 11/272/3 11/229/7 |
53 | อายตนะ ศัพท์นี้ย่อมเป็นไปในอรรถว่าที่เกิด ที่ประชุม เหตุ และบัญญัติ .(อ.พรหมชาลสูตร) 11/275/20 11/232/18 |
54 | เมื่อต้นไม้ถูกพิษของหนามกระเบนปัก ย่อมซูบซีด และตายไปโดยลำดับ .(อ.พรหมชาลสูตร) 11/281/21 11/237/26 |
55 | แผ่นดินไหวด้วยเหตุ 8 ประการ (อ.พรหมชาลสูตร) 11/285/1 11/240/12 |
56 | [๑๐๒] เมื่อบวชแล้ว พึงสำรวมระวัง ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อม ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ สันโดษ... (สามัญญผลสูตร) 11/309/3 11/262/17 |
57 | [๑๒๗-๑๓๐] พระพุทธองค์ทรงแสดงการบรรลุปฐมฌาน-จตุตถฌาน . (สามัญญผลสูตร) 11/323/12 11/276/1 |
58 | [๑๓๑] ทรงแสดงการน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ให้รู้ชัดว่า กายของเรามีรูป ประกอบด้วย มหาภูต 4 (สามัญญผลสูตร) 11/326/1 11/278/14 |
59 | [๑๓๒-๑๓๘] ทรงแสดงการน้อมจิตไปเพื่อเนรมิตรูปอันเกิดแต่จิต เพื่อแสดงฤทธิ์ เพื่อทิพยโสต เพื่อกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น เพื่อระลึกชาติย้อนหลังได้ เพื่อรู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย เพื่ออาสวักขยญาณ (สามัญญผลสูตร) 11/326/22 11/279/13 |
60 | [๑๓๙] การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะ (สามัญญผลสูตร) 11/336/4 11/288/7 |
61 | พระนครราชคฤห์นี้ เป็นเมืองในพุทธกาล และในจักรพรรดิกาล ในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ครอบครอง (อ.สามัญญผลสูตร) 11/337/11 11/289/10 |
62 | ในกาลก่อน พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงฉลองพระบาท เข้าไปในลานพระเจดีย์ และเอาพระบาทที่ยังไม่ได้ล้างเหยียบเสื่อ ที่เขาปูไว้สำหรับนั่งจึงถูกมีดโกนผ่า พื้นพระบาททั้ง 2 ข้าง ตายไปเป็นยักษ์ชื่อ ชนวสภะ รับใช้ท้าวเวสวรรณในชั้น จตุมหาราช (อ.สามัญญผลสูตร) 11/344/15 11/295/9 |
63 | พระเทวทัตรากเลือด นอนป่วยอยู่ 9 เดือน (อ.สามัญญผลสูตร) 11/346/5 11/296/17 |
64 | ที่มาของศาสดาทั้ง 6 มีปูรณกัสสปะเป็นต้น (อ.สามัญญผลสูตร) 11/352/15 11/301/14 |
65 | ภัยมี 4 อย่าง คือ ภัยเพราะจิตสะดุ้ง ภัยเพราะญาณ ภัยเพราะอารมณ์ ภัยเพราะโอตตัปปะ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/362/19 11/309/20 |
66 | หมอชีวกนี้ทรงกำลัง 5 ช้างสาร (อ.สามัญญผลสูตร) 11/364/15 11/311/6 |
67 | วงศ์พระเจ้าอชาตศัตรูถูกพระโอรสฆ่าตายถึง 5 ชั่วรัชกาล(อ.สามัญญผลสูตร) 11/368/12 11/314/15 |
68 | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน ? โสดาปัตติผล - อรหัตผล นี้เป็น สามัญญผล (อ.สามัญญผลสูตร) 11/375/10 11/320/3 |
69 | โลกมี 3 อย่าง คือ โอกาสโลก สัตว์โลก สังขารโลก (อ.สามัญญผลสูตร) 11/399/20 11/340/3 |
70 | อาณาเขต มัชฌิมประเทศ โดยยาว 300 โยชน์ โดยกว้าง 250 โยชน์ โดยรอบ 900 โยชน์ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้ เท่านั้น (อ.สามัญญผลสูตร) 11/400/3 11/340/7 |
71 | พรหมผู้มีอานุภาพใหญ่ แผ่แสงสว่างไปใน 1000 จักรวาล ด้วยองคุลีหนึ่ง (นิ้วมือเดียว) (อ.สามัญญผลสูตร) 11/402/8 11/342/1 |
72 | ก็ผู้ใดแสดงธรรม ด้วยคิดว่า เราจักได้ลาภ หรือสักการะ เพราะอาศัย ธรรมเทศนานี้ เทศนาของผู้นั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/406/7 11/345/9 |
73 | ความหมายของคำว่า พรหมจรรย์ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/406/12 11/345/15 |
74 | สัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) มี 4 อย่าง (อ.สามัญญผลสูตร) 11/416/19 11/354/7 |
75 | เรื่องภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรไปหาไม้สีฟัน เห็นอสุภ พิจารณาสังขารทำให้ แจ้งผลทั้ง 3 (อ.สามัญญผลสูตร) 11/418/13 11/355/21 |
76 | พระมหาปุสสเทวเถระ บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร 19 ปี คือ ถ้าละกรรมฐานที่ใด จะถอยกลับมายังทีเดิมอีก ได้บรรลุพระอรหัตในพรรษา 20 (อ.สามัญญผลสูตร) 11/423/15 11/359/26 |
77 | พระมหานาคเถระ บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ทีแรกอธิษฐานเดินจงกรมอยู่ 7 ปี และบำเพ็ญวัตรอีก 16 ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต (อ.สามัญญผลสูตร) 11/424/10 11/360/16 |
78 | ข้อพิจารณาปฏิกูลสัญญาในอาหาร ด้วยอำนาจอุปมาว่า น้ำมันหยอดเพลา ยาพอกแผล และเนื้อของบุตรเป็นต้น (อ.สามัญญผลสูตร) 11/426/4 11/362/1 |
79 | ภิกษุบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือ นำกรรมฐานไป และนำกลับมา ถ้าไม่ได้ บรรลุพระอรหัต ในขณะมีชีวิต ก็จะไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ... เมื่อไปเกิดพบ พระพุทธเจ้าก็จะได้เป็นพระอรหันต์ ประเภทขิปปาภิญญา(อ.สามัญญผลสูตร) 11/426/11 11/362/8 |
80 | ทุกๆ ขณะที่ภิกษุยืน คู้หรือเหยียดมือและเท้านานเกินไป เวทนาย่อมเกิดขึ้น จิตย่อมไม่ได้อารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานย่อมจะเสีย แต่ถ้าคู้หรือเหยียดออกพอดี เวทนาย่อมไม่เกิดขึ้น กรรมฐานย่อมถึงความสำเร็จ เธอย่อมบรรลุคุณวิเศษได้ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/433/10 11/368/11 |
81 | การทำงานของร่างกาย ในการเคี้ยวอาหาร การขับถ่ายเป็นต้น ย่อมมี ด้วยความแผ่ไป แห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น (อ.สามัญญผลสูตร) 11/439/4 11/372/23 |
82 | สันโดษ คือ ความยินดีปัจจัย ตามมีตามได้ 12 อย่าง (อ.สามัญญผลสูตร) 11/444/11 11/377/8 |
83 | เทวดาทุบศีรษะภิกษุชั่วผู้อยู่ป่า (อ.สามัญญผลสูตร) 11/450/13 11/382/8 |
84 | ความหมายของคำว่า เสนาสนะ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/451/6 11/382/23 |
85 | ดำรงสติไว้ตรงหน้า คือ ตั้งสติมุ่งตรงต่อกรรมฐาน หรือตั้งกรรมฐานไว้ตรงหน้า สตินี้ย่อมเป็นอันตั้งมั่นจดจ่อ อยู่ตรงปลายจมูก หรือแถวๆ หน้า(อ.สามัญญผลสูตร) 11/453/20 11/384/23 |
86 | ข้อเปรียบเทียบที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงกามฉันท์ ที่ยังละไม่ได้เหมือนหนี้ แสดงนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนโรค (อ.สามัญญผลสูตร) 11/457/9 11/387/18 |
87 | เมื่อเอาผ้าสะอาด คลุมตลอดศีรษะ ไออุ่นแต่ศีรษะย่อมแผ่ไปทั่วผ้าทั้งผืนทีเดียว (อ.สามัญญผลสูตร) 11/465/19 11/394/21 |
88 | ภิกษุไม่ทำการพิจารณา โดยอนิจจลักษณะ เป็นต้น, เมื่อระลึกถึงขันธ์ หรือได้ เห็นรูปที่น่ากลัว ความกลัว และความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้น (อ.สามัญญผลสูตร) 11/469/9 11/397/18 |
89 | คนที่คอยจ้องโทษผู้อื่น มุ่งแต่จะยกโทษอยู่เป็นนิจ อาสวะของเขาย่อมเจริญ เขาย่อมไกลจากนิพพาน (อ.สามัญญผลสูตร) 11/473/19 11/401/11 |
90 | อธิบายคำว่า ชาติสิ้นแล้วของพระอรหันต์ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/475/3 11/402/11 |
91 | พระดำรัสของพระพุทธเจ้าดีนัก เพราะประกอบด้วยเหตุ 16 อย่าง(อ.สามัญญผลสูตร) 11/480/1 11/406/17 |
92 | ชื่อว่า พระสงฆ์ คือ ผู้ที่เข้ากันได้ โดยการรวมกัน ด้วยทิฏฐิและศีล โดยอรรถก็คือ หมู่แห่ง พระอริยบุคคล 8 (อ.สามัญญผลสูตร) 11/483/3 11/408/22 |
93 | ความหมายของ สรณะ พุทธะ ธรรม สงฆ์ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/483/17 11/409/9 |
94 | การถือ สรณะ ที่เป็นโลกิยะ มี 4 อย่าง (อ.สามัญญผลสูตร) 11/485/3 11/410/11 |
95 | การนอบน้อม มี 4 อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ เพราะกลัว เพราะเป็นอาจารย์ เพราะถือว่าเป็นทักขิไณยบุคคล (อ.สามัญญผลสูตร) 11/486/21 11/411/22 |
96 | ผู้ใดไหว้พระพุทธเจ้าด้วยคิดว่า เป็นญาติ เป็นอาจารย์ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะ เลย (อ.สามัญญผลสูตร) 11/487/3 11/412/1 |
97 | เมื่อ อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ถือสรณะแล้ว ไหว้ญาติที่บวชเป็นเดียรถีย์ไหว้พระราชา หรือไหว้แม้เดียรถีย์ ผู้สอนศิลปะดังนี้ ก็ไม่ขาดสรณคมน์(อ.สามัญญผลสูตร) 11/487/17 11/412/15 |
98 | ผลของการถึงไตรสรณะ ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/488/2 11/412/22 |
99 | อุบาสก คือ คฤหัสถ์ คนใดคนหนึ่ง ที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง (อ.สามัญญผลสูตร) 11/490/9 11/415/5 |
100 | อาชีพ 5 อย่างที่อุบาสก ไม่ควรทำ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/491/1 11/415/17 |
101 | อุบาสก ผู้ประกอบด้วยธรรม 5 อย่าง ย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล อุบาสกที่น่า รังเกียจ (อ.สามัญญผลสูตร) 11/491/13 11/416/2 |
102 | พระเจ้าอชาตศัตรูตกโลหกุมภี 60,000 ปี ก็ในอนาคต จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า ชีวิตวิเสส (อ.สามัญญผลสูตร) 11/496/3 11/419/14 |
103 | [๑๔๙] พระเจ้าอุกกากราช มีนางทาสีคนหนึ่งชื่อ ทิสา นางคลอดบุตรคนหนึ่ง ชื่อกัณหะ พอเกิดมาก็พูดได้ ซึ่งคนสมัยนั้นเรียก ปีศาจว่า คนดำ(อัมพัฏฐสูตร) 11/504/20 11/428/6 |
104 | [๑๕๑-๑๕๒] ผู้ใดถูกตถาคตถามปัญหาอันประกอบด้วยเหตุถึง 3 ครั้ง แล้วไม่แก้ ศีรษะของผู้นั้นจะถูกยักษ์ ชื่อวชิรปาณี ทุบให้แตกเป็น 7 เสี่ยง .(อัมพัฏฐสูตร) 11/506/20 11/429/23 |
105 | [๑๖๑] กษัตริย์ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึง พร้อมด้วยวิชา และจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ .(อัมพัฏฐสูตร) 11/512/2 11/434/9 |
106 | [๑๖๓-๑๖๖] ทางเสื่อม 4 ประการ ของสมณะ หรือ พราหมณ์ ผู้ไม่อาจ บรรลุวิชชาสมบัติ และจรณะสมบัติ (อัมพัฏฐสูตร) 11/513/13 11/435/19 |
107 | [๑๖๘] พราหมณ์โปกขรสาติ กินเมือง ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทาน .(อัมพัฏฐสูตร) 11/516/8 11/438/5 |
108 | [๑๖๙] ฤๅษี 10 ตน ผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพวกพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์นั้น .(อัมพัฏฐสูตร) 11/517/2 11/438/20 |
109 | [๑๗๐] พระพุทธเจ้าทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อัมพัฏฐมาณพ ได้เห็น พระคุยหะ (อวัยวะเพศ) เร้นอยู่ในฝัก และพระชิวหาใหญ่ (อัมพัฏฐสูตร) 11/519/7 11/440/11 |
110 | [๑๗๗] พราหมณ์โปกขรสาติ เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบ ธรรมข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อถือผู้อื่น ในคำสอนของพระพุทธเจ้า (อัมพัฏฐสูตร) 11/523/9 11/444/2 |
111 | การเสด็จจาริกของพระพุทธเจ้า มี 2 อย่าง (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/526/3 11/445/24 |
112 | พระพุทธองค์เสด็จจาริกไป ก็เพราะความเอ็นดูสัตว์โลก ทรงดำริว่า ชนเหล่า ใดที่เป็นคนเข็ญใจ ยังโง่เขลา เป็นคนแก่ และคนเจ็บป่วย บางพวกจักกระทำ จิตให้เลื่อมใส บางพวกจักถวายอาหารสักทัพพีหนึ่ง บางพวกจักละความเห็นผิด .(อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/530/10 11/449/15 |
113 | พราหมณ์โปกขรสาติ เกิดในดอกบัวหลวง ดาบส เป็นผู้เลี้ยงดู(อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/533/20 11/452/17 |
114 | อธิบายความหมายของคำว่า ไตรเพท (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/538/10 11/456/20 |
115 | พวกเทวดาชั้นสุทธาวาส ทราบว่าพระพุทธเจ้าจักอุบัติขึ้น จึงได้รีบใส่ลักษณะ ของมหาบุรุษ ลงในคัมภีร์ของพราหมณ์ แล้วแปลงเพศ เป็นพราหมณ์กล่าวสอน พุทธมนต์ (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/540/20 11/458/25 |
116 | ธรรมเนียมการเคาะประตู อมนุษย์ย่อมเคาะสูงเกินไป งูย่อมเคาะต่ำเกินไป คนควรเคาะตรงที่ใกล้รูกุญแจตรงกลาง (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/546/16 11/464/6 |
117 | ต้นศากยวงศ์ และโกลิยวงศ์ นับแต่พระเจ้ามหาสมมติราช แห่งปฐมกัป .(อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/555/7 11/472/15 |
118 | ยักษ์วชิรปาณี คือ ท้าวสักกะ (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/564/14 11/480/14 |
119 | กัณหะดาบสไปเรียน วิชาที่ธนูยิงไม่เข้า ชื่อว่าอัมพัฏฐะ แล้วมาขอราชธิดา ของพระเจ้าโอกกากราช จึงเป็นที่มาของ กัณหายนโคตร (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/566/10 11/482/3 |
120 | พระพุทธองค์ตรัสระบุชัดถึง สมาบัติแม้ทั้ง 8 ว่าเป็นจรณะ (ข้อปฏิบัติ) ส่วนปัญญา แม้ทั้ง 8 นั้น นับแต่วิปัสสนาญาณไป ตรัสระบุชัดว่าเป็นวิชชา (ความรู้แจ้ง) (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/571/4 11/486/22 |
121 | การบวชเป็นดาบสท่านกล่าวว่า เป็นปากทางแห่งความพินาศของศาสนา .(อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/571/19 11/487/16 |
122 | ดาบสนั้น มี 8 จำพวก (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/573/16 11/489/8 |
123 | พราหมณ์โปกขรสาตินั้น รู้มนต์ชื่อ อาวัฏฏนี (มนต์ที่ดลใจทำให้งงงวย)แต่เป็นบัณฑิต ฉลาดในวิชาการเกษตร (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/575/20 11/491/10 |
124 | ฤๅษี อัฏฐกะ เป็นต้นนั้น มองดูด้วยทิพยจักษุ ไม่กระทำการทำร้ายผู้อื่นแต่งมนต์ เทียบเคียงกับคำสอน ของพระกัสสปพุทธเจ้า แต่พวกพราหมณ์นอกนี้ ใส่การ ฆ่าสัตว์ลงไป ทำลายเวททั้ง 3 ได้กระทำให้ผิดเพี้ยน กับพระพุทธวจนะ (อ.อัมพัฏฐสูตร) 11/578/17 11/494/1 |